< Return to Video

หมู่ตารางธาตุ (Groups of the Periodic Table)

  • 0:01 - 0:03
    ในวิดีโอตอนที่แล้ว
    เราได้พูดถึงว่า
  • 0:03 - 0:11
    ทำไมอะตอมทุกอะตอมจึง
    อยากมีอิเล็กตรอน 8 ตัวในชั้นนอกสุด
  • 0:11 - 0:15
    เพราะว่านี่เป็นการจัดเรียงอิเล็กตรอน
    ที่ทำให้อะตอมมีความเสถียร (คงตัว) มากที่สุด
  • 0:15 - 0:18
    และในความเป็นจริง
    เราจะสังเกตได้จากสิ่งรอบตัวเรา
  • 0:18 - 0:21
    จริง ๆ นะครับ
  • 0:21 - 0:24
    เราลองมาเริ่มดูกันนะครับว่า
    ในแต่ละ "หมู่ (group)" ของตารางธาตุ
  • 0:24 - 0:26
    จะมีอะไรเกิดขึ้นได้บ้าง
  • 0:26 - 0:30
    หมู่ หรือ "group" ในตารางธาตุ
    หมายถึงธาตุที่อยู่ในแถวเดียวกันจากบนลงล่าง
  • 0:30 - 0:32
    อย่างกลุ่มนี้ ตรงนี้ครับ
    ซึ่งจริง ๆ แล้ว ผมจะเริ่มที่กลุ่มนี้ก่อน
  • 0:32 - 0:36
    เพราะมันมีชื่อพิเศษ
  • 0:36 - 0:39
    กลุ่มนี้ตรงนี้ เราเรียกว่า แก๊สเฉื่อย (noble gases)
  • 0:39 - 0:43
    ถ้าคุณไล่จากบนลงล่างในกลุ่มนี้
    คุณเห็นไหมครับว่าธาตุเหล่านี้มีอะไรที่เหมือนกัน
  • 0:43 - 0:46
    ในคอลัมน์เดียวกันในตารางธาตุ
    มีอะไรที่เหมือนกันครับ?
  • 0:46 - 0:50
    ครับ..ในวิดีโอตอนที่แล้ว
    เราเห็นแล้วว่าธาตุทุกชนิดในคอลัมน์เดียวกัน
  • 0:50 - 0:53
    จะมีจำนวนเวเลนซ์อิเล็กตรอนเท่ากัน
  • 0:53 - 0:57
    หรือมีจำนวนอิเล็กตรอนในชั้นนอกสุดเท่ากัน
  • 0:57 - 0:58
    ซึ่งเราก็เห็นแล้วว่าเป็นอย่างนั้นจริง ๆ
  • 0:58 - 1:01
    คอลัมน์นี้ ตรงนี้ ..
    ซึ่งเราเรียนไปแล้วนะครับคือ โลหะอัลคาไล
  • 1:01 - 1:06
    จะมีอิเล็กตรอน 1 ตัวอยู่ที่ชั้นนอกสุด
  • 1:06 - 1:11
    และผมก็ได้บอกแล้วว่า
    ไฮโดรเจนนั้นไม่ถูกจัดเป็นโลหะอัลคาไล
  • 1:11 - 1:13
    เพราะว่ามันไม่ได้มีคุณสมบัติเป็นโลหะ
  • 1:13 - 1:17
    และมันก็ไม่ได้ต้องการที่อยากจะให้
    อิเล็กตรอนเหมือนที่โลหะเป็น
  • 1:17 - 1:21
    เมื่อเราพูดถึงคุณสมบัติของโลหะของธาตุหนึ่ง ๆ
  • 1:21 - 1:25
    เราจะนึกถึงว่า ธาตุนั้นมีแนวโน้ม
    ที่จะให้อิเล็กตรอนมากน้อยแค่ไหน
  • 1:25 - 1:26
    เราจะพูดเกี่ยวกับคุณสมบัติอื่นของโลหะ
  • 1:26 - 1:30
    โดยเฉพาะคุณสมบัติที่เรารู้สึกว่า
    ถ้าเป็นโลหะ ต้องเงามัน
  • 1:30 - 1:33
    นำไฟฟ้าได้
  • 1:33 - 1:34
    และเราจะดูด้วยว่ามันอยู่ในตารางธาตุกันอย่างไร
  • 1:34 - 1:36
    แต่ตอนนี้ กลับมาที่เรากำลังคุยกันอยู่ก่อนนะครับ
  • 1:36 - 1:38
    คอลัมน์นี้ ตรงนี้
  • 1:38 - 1:48
    เราเรียกว่า โลหะอัลคาไลเอิร์ธ
  • 1:48 - 1:54
    ธาตุในคอลัมน์นี้จะมีอิเล็กตรอน 2 ตัว
    ในชั้นนอกสุด
  • 1:54 - 1:56
    และจำได้ใช่ไหมครับว่า
    ธาตุทุกชนิดต้องการจะมีเวเลนซ์อิเล็กตรอน = 8
  • 1:56 - 2:00
    ถ้ามันเลือกวิธีที่จะหาอิเล็กตรอนมาเพิ่ม
    เพื่อให้ครบ 8 ตัว
  • 2:00 - 2:01
    ก็ต้องใช้เวลาเยอะทีเดียว
  • 2:01 - 2:06
    วิธีนี้ เราต้องหาอิเล็กตรอนมาเติมถึง 6 ตัว
  • 2:06 - 2:07
    แล้วใครล่ะครับที่จะไปเอามา?
  • 2:07 - 2:09
    เพราะไม่มีใครที่จะอยากให้อิเล็กตรอนเลย
  • 2:09 - 2:11
    ตอนนี้ มันเกือบจะมีอิเล็กตรอนครบ 8 อยู่แล้ว
  • 2:11 - 2:15
    ดังนั้น ถ้าเราให้อิเล็กตรอน น่าจะทำให้ครบ 8 อิเล็กตรอน
    ได้ง่ายกว่ามากนะครับ
  • 2:15 - 2:19
    ในความเป็นจริง เวลาคุณมีอิเล็กตรอนแค่ 1 ตัวที่จะให้ออกไป
  • 2:19 - 2:22
    ดังเช่นกรณี โลหะอัลคาไล
  • 2:22 - 2:25
    ถ้าคุณมีอิเล็กตรอนเพียง 1 ตัวที่จะให้ออกไป
    และมันก็อยากจะทำแบบนี้จริง ๆ ครับ
  • 2:25 - 2:30
    ดังนั้น ธาตุกลุ่มนี้ในธรรมชาติจะหายากมากครับ
    ที่จะเจอในรูปธาตุบริสุทธิ์
  • 2:30 - 2:33
    คำว่า "ธาตุบริสุทธิ์" ที่ผมพูดถึงนี้
    หมายความว่า มันมีแต่ลิเทียมอย่างเดียว
  • 2:33 - 2:37
    ไม่มีอย่างอื่นปนนะครับ
    หรือว่ามีโซเดียมอย่างเดียว
  • 2:37 - 2:38
    หรือมีโปตัสเซียมอย่างเดียว
  • 2:38 - 2:43
    ธาตุกลุ่มนี้เรามักจะพบมัน
    ทำปฏิกิริยากับอย่างสารอื่น
  • 2:43 - 2:44
    อาจจะเป็นธาตุอื่นที่อยู่อีกด้านหนึ่งของตารางธาตุ
  • 2:44 - 2:47
    เพราะว่าฝั่งนี้อยากจะให้อิเล็กตรอนมาก ๆ
  • 2:47 - 2:49
    ในขณะที่ฝั่งนี้ก็อยากจะได้อิเล็กตรอนมาก ๆ
  • 2:49 - 2:51
    ดังนั้น ก็เป็นไปได้ที่จะเกิดปฏิกิริยากันขึ้น
  • 2:51 - 2:56
    ส่วนธาตุกลุ่มนี้ (โลหะอัลคาไลเอิร์ธ)
    ก็มีความไวต่อการเกิดปฏิกิริยานะครับ
  • 2:56 - 2:59
    แต่อาจจะไม่เท่ากับโลหะอัลคาไล
  • 2:59 - 3:02
    และเนื่องจากธาตุกลุ่มนี้ก็
  • 3:02 - 3:06
    มีจำนวนอิเล็กตรอนใกล้เคียงกับ 8 เช่นกัน
  • 3:06 - 3:12
    แค่พยายามอีกนิดหน่อย..
  • 3:12 - 3:15
    เพียงเอาอิเล็กตรอนออกไป 2 ตัว
  • 3:15 - 3:17
    แต่กลุ่มนี้ (โลหะอัลคาไล) เอาอิเล็กตรอนออกไป
    แค่ตัวเดียว (ก็ได้ 8 อิเล็กตรอนแล้ว)
  • 3:17 - 3:20
    และเราก็เรียนแล้วว่า ธาตุกลุ่มนี้
    ก็มีอิเล็กตรอน 2 ตัวที่ชั้นนอกสุด
  • 3:20 - 3:23
    เราเรียกธาตุกลุ่มนี้ว่า....
  • 3:23 - 3:27
    โลหะทรานสิชัน...
    เพราะว่าเวลาคุณใส่อิเล็กตรอนเข้าไป
  • 3:27 - 3:31
    มันจะเข้าไปเติมในชั้น d ของชั้นรองลงไป
  • 3:31 - 3:32
    ใช่ไหมครับ?
  • 3:32 - 3:37
    ดังนั้น ชั้นนอกสุดจะมีอิเล็กตรอน 2 ตัวเสมอ
  • 3:37 - 3:45
    ตรงนี้เป็น period ที่ 4
    ธาตุทั้งหมดตรงนี้ จะมีชั้นนอกสุดเป็น 4s2
  • 3:45 - 3:53
    แต่เวลาเติมอิเล็กตรอน จะใส่ลงไปในชั้น 3d
  • 3:53 - 3:55
    ตรงนี้มีอิเล็กตรอน 2 ตัว
  • 3:55 - 3:57
    ดังนั้น ทั้งหมดตรงนี้จะมีอิเล็กตรอนที่ชั้นนอกสุด 2 ตัว
  • 3:57 - 4:01
    ทั้งหมดนี้ก็จะคล้ายกับโลหะอัลคาไลเอิร์ธ
  • 4:01 - 4:06
    ซึ่งต้องเสียอิเล็กตรอน 2 ตัว
    เพื่อจะทำให้ตัวเอง "มีความสุข"
  • 4:06 - 4:08
    ที่ผมคิดนะครับ...
  • 4:08 - 4:12
    ซึ่งมันอาจจะเป็นความจริง
  • 4:12 - 4:20
    ก็คือธาตุเหล่านี้มีอิเล็กตรอนสำรองอยู่ครับ
    ในกรณีที่มันต้องเสียเวเลนซ์อิเล็กตรอนไป
  • 4:20 - 4:26
    ตัวอย่าง เหล็กมี 2 เวเลนซ์อิเล็กตรอน
  • 4:26 - 4:30
    แบบนี้... ถ้ามันเสียอิเล็กตรอนไป
  • 4:30 - 4:36
    มันก็ยังมีอิเล็กตรอนสำรองอยู่
    ในชั้น d ที่อยู่รองลงไป
  • 4:36 - 4:41
    ดังนั้น ถ้ามันเสียอิเล็กตรอนในชั้น 4s2 ไป
  • 4:41 - 4:44
    ก็ยังมีอิเล็กตรอนในชั้น 3d ที่มีระดับพลังงานสูง
  • 4:44 - 4:46
    ซึ่งสามารถขึ้นมาแทนที่ได้
  • 4:46 - 4:48
    ส่วนตัวนี้ ผมใช้เครื่องหมายคำพูด " " นะครับ
    ก็เพราะว่า..
  • 4:48 - 4:51
    นี่เป็นวิธีที่ผมวาดภาพเอาเอง
  • 4:51 - 4:53
    และเหตุผลที่ว่าทำไมผมจึงพูดถึงเรื่องนี้
  • 4:53 - 4:58
    เพราะโลหะมักจะชอบให้อิเล็กตรอน
  • 4:58 - 5:00
    และธาตุเหล่านี้จะเกิดปฏิกิริยาด้วย
  • 5:00 - 5:04
    มันบอกว่า...เฮ้..มาเอาอิเล็กตรอนฉันไปสิ
  • 5:04 - 5:07
    และพวกนี้ ก็จะเริ่มบอกว่า
  • 5:07 - 5:09
    คุณเติมอิเล็กตรอนในชั้น d อยู่นั่นแหละ
    ผมเอาอิเล็กตรอน 2 ตัวนี้ไปก่อนแล้วนะ
  • 5:09 - 5:11
    แต่ผมไม่ได้มีอิเล็กตรอนแค่ 2 ตัวข้างนอกนั้นนี่ครับ
  • 5:11 - 5:14
    ผมยังมีอิเล็กตรอนอีก
  • 5:14 - 5:16
    เก็บไว้ในชั้น d
  • 5:16 - 5:19
    ดังนั้น สิ่งที่เกิดขึ้นในโลหะทรานสิชัน
  • 5:19 - 5:21
    ก็จะเหมือนกับที่พบในโลหะทั่วไป
  • 5:21 - 5:24
    ตรงนี้ก็เป็นโลหะนะครับ... อย่าดูทั้งหมู่นะครับ
  • 5:24 - 5:28
    ที่เป็นโลหะ ให้ดูที่สี ตรงนี้ครับ
  • 5:28 - 5:32
    กลุ่มนี้เป็นโลหะที่มีอิเล็กตรอนจำนวนมากที่จะให้ได้
  • 5:32 - 5:35
    ไม่เพียงแต่จะมีอิเล็กตรอนจำนวนมากตรงนี้
    แต่ยังมีอิเล็กตรอนที่อยู่ในชั้น d ด้วย
  • 5:35 - 5:38
    ซึ่งเวลามันอยู่ในสภาวะธาตุบริสุทธิ์
  • 5:38 - 5:40
    เวลาที่ผมพูดอย่างนี้ หมายความว่า
  • 5:40 - 5:41
    คุณจะมีกล่องใบใหญ่ ๆ 1 กล่องสำหรับอะลูมิเนียม
  • 5:41 - 5:46
    อะลูมิเนียม จะไม่ทำปฏิกิริยากับสารอื่น เช่น อ๊อกซิเจน
  • 5:46 - 5:48
    ดังนั้น มันก็จะอยู่เป็นก้อนอะลูมิเนียมอยู่อย่างนั้น
  • 5:48 - 5:48
    ใช่ไหมครับ?
  • 5:48 - 5:50
    ถ้าคุณมีอะลูมิเนียมอยู่จำนวนหนึ่ง
  • 5:50 - 5:52
    สิ่งที่เกิดขึ้นก็คือ จะมีพันธะโลหะ
    ซึ่งอะตอมของอะลูมิเนียมทั้งหมดนี้ก็จะบอกว่า..
  • 5:52 - 5:55
    คุณรู้มั้ย ผมมีอิเล็กตรอนเหลือตรงนี้
  • 5:55 - 5:59
    ในกรณีของอะลูมิเนียม
    มีอิเล็กตรอน 3 ตัวอยู่ที่ชั้นนอกสุด
  • 5:59 - 6:04
    แต่ผมมีอิเล็กตรอนในชั้น d ด้วย
  • 6:04 - 6:07
    ผมจะเอาอิเล็กตรอนมาแบ่งกับอะตอม
    อื่น ๆ ของอะลูกมิเนียมนะครับ
  • 6:07 - 6:09
    ดังนั้น คุณก็จะได้ "ทะเล" ของ
    อะตอมอะลูมิเนียม
  • 6:09 - 6:10
    ซึ่งดึงดูดกันอยู่
  • 6:10 - 6:13
    หรือคุณได้สร้าง "ทะเลอิเล็กตรอน"
    ของอะลูมิเนียม นั่นเอง
  • 6:13 - 6:16
    คุณจะมีอิเล็กตรอนจำนวนมาก
  • 6:16 - 6:23
    แทรกอยู่ระหว่างอะตอม
    และเนื่องจากอะตอมเหล่านี้ได้
  • 6:23 - 6:24
    ให้อิเล็กตรอนไปใช้ร่วมกันแล้ว
    มันก็เลยดึงดูดกัน
  • 6:24 - 6:25
    ถูกต้องไหมครับ?
  • 6:25 - 6:30
    ดังนั้น อะตอมจริง ๆ แล้ว
    ตรงนี้ ก็จะกลายเป็น Al3+
  • 6:30 - 6:31
    เพราะได้ให้อิเล็กตรอนไป 3 ตัว
  • 6:31 - 6:33
    ผมจะยังไม่พูดมากไปกว่านี้นะครับ
  • 6:33 - 6:35
    ตอนนี้ เพียงต้องการให้คุณเข้าใจว่า
    มันอยู่กันอย่างไร
  • 6:35 - 6:38
    และทำไมโลหะจึงนำไฟฟ้าได้ดีมาก
  • 6:38 - 6:41
    ก็เพราะว่า ไฟฟ้าคือการเคลื่อนที่ของอิเล็กตรอน
  • 6:41 - 6:46
    หากต้องการให้อิเล็กตรอนเคลื่อนที่
    คุณต้องมีอิเล็กตรอนจำนวนมากเผื่อไว้รอบ ๆ
  • 6:46 - 6:49
    ดังนั้น ธาตุที่อยู่บริเวณนี้
    จึงเป็นตัวนำไฟฟ้าที่ดีมาก
  • 6:49 - 6:54
    ที่จริงแล้ว เงิน (silver) เป็น
    ตัวนำไฟฟ้าที่ดีที่สุด
  • 6:54 - 6:57
    เงิน..ตรงนี้ครับ
    เป็นตัวนำไฟฟ้าที่ดีที่สุดบนโลกนี้
  • 6:57 - 7:01
    แต่เราไม่เอามาใช้ในสายไฟ
    แต่กลับใช้ทองแดงแทน
  • 7:01 - 7:04
    ก็เพราะว่า ทองแดงนั้นหาได้ง่ายกว่าเงิน
  • 7:04 - 7:06
    แต่จริง ๆ แล้ว เงินเป็นตัวนำไฟฟ้าที่ดีที่สุดครับ
  • 7:06 - 7:09
    ...ตามที่ผมคิด
  • 7:09 - 7:11
    เมื่อคุณเติมอิเล็กตรอนลงในออร์บิทัลหนึ่ง
  • 7:11 - 7:13
    ออร์บิทัลนั้นจะเข้าสู่สภาวะเสถียร (คงตัว)
  • 7:13 - 7:16
    ดังนั้น ธาตุเหล่านี้ มีอิเล็กตรอนในชั้น d เต็มหมดแล้ว
  • 7:16 - 7:19
    ในขณะที่ธาตุตรงนี้ (ทรานสิชัน)
    ชั้น d ยังไม่เต็ม
  • 7:19 - 7:22
    ดังนั้น มันจึงมีอิเล็กตรอนเผื่อจำนวนมาก
    ซึ่งดีมากสำหรับการนำไฟฟ้า
  • 7:22 - 7:24
    เอาละครับ นี่คือสิ่งที่ผมคิดเอา
  • 7:24 - 7:26
    ผมไม่เคยทำการทดลองเพื่อพิสูจน์ว่าจริงหรือไม่นะครับ
  • 7:26 - 7:29
    แต่อยากจะให้แนวคิดแก่คุณว่า
    ทำไมธาตุเหล่านี้จึงนำไฟฟ้าได้
  • 7:29 - 7:32
    สำหรับโลหะทรานสิชัน
  • 7:32 - 7:34
    ธาตุกลุ่มนี้เราถือว่าเป็นโลหะ
  • 7:34 - 7:36
    แต่จัดเป็นอีกกลุ่มหนึ่งคือ โลหะทรานสิชัน
  • 7:36 - 7:38
    ก็เพราะว่า มันยังมีที่ให้เติมอิเล็กตรอนในชั้น d
  • 7:38 - 7:41
    แต่โลหะทรานสิชันนี่ฟังดูแล้ว
  • 7:41 - 7:41
    ไม่น่าจะดีเท่าโลหะนะครับ
  • 7:41 - 7:46
    แต่ถ้าคุณมานั่งคิดถึงโลหะ
    ..คุณก็จะนึกถึง "เหล็ก" เป็นอันดับแรก
  • 7:46 - 7:49
    และผมก็ต้องคิดถึง เงิน ทองแดง และทอง ด้วย
  • 7:49 - 7:51
    ดังนั้น การที่เรียกธาตุเหล่านี้ว่าเป็น โลหะทรานสิชัน
    อาจจะไม่ค่อยยุติธรรมนักนะครับ
  • 7:51 - 7:55
    ผมไม่คิดว่าอะลูมิเนียมจะเป็นโลหะ
    มากไปกว่าที่เหล็กเป็น
  • 7:55 - 7:58
    แต่ในการจัดประเภทของธาตุในทางเคมี
  • 7:58 - 8:05
    อะลูมิเนียมมีความเป็นโลหะมากกว่า
    โลหะทรานสิชันตรงนี้
  • 8:05 - 8:07
    เดี๋ยวให้ผมเขียนเวเลนซ์อิเล็กตรอนก่อนนะครับ
  • 8:07 - 8:09
    ธาตุทั้งหมดตรงนี้มี 3 เวเลนซ์อิเล็กตรอน
  • 8:09 - 8:14
    4,5,6,7
  • 8:14 - 8:18
    ตรงนี้ จะมีอิเล็กตรอน 3 ตัวในชั้นนอกสุด
  • 8:18 - 8:21
    ดังนั้น ถ้ามันให้อิเล็กตรอน ก็น่าจะ
    ง่ายกว่ารับเข้ามา
  • 8:21 - 8:26
    แต่ก็ไม่แน่ครับ ในบางกรณี
    ก็อาจจะมีรับอิเล็กตรอนเหมือนกัน
  • 8:26 - 8:28
    โดยเฉพาะ โบรอน
  • 8:28 - 8:31
    มีบางครั้งที่โบรอนรับอิเล็กตรอน 5 ตัว
  • 8:31 - 8:33
    แม้ว่าดูจะยาก
  • 8:33 - 8:35
    แต่ก็ง่ายกว่าที่จะให้ 3 อิเล็กตรอน
  • 8:35 - 8:39
    ดังนั้น พวกที่เป็นโลหะจึงอยู่เฉพาะตรงนี้ (ไม่รวมโบรอน)
  • 8:39 - 8:43
    และอย่างที่คุณเห็นนะครับ
    ถ้าคุณดูไล่ลงมาในตารางธาตุ
  • 8:43 - 8:47
    คุณจะเจอโลหะที่มีเวเลนซ์อิเล็กตรอน
    จำนวนมากขึ้น
  • 8:47 - 8:51
    อย่างเช่น ตะกั่ว (lead)
  • 8:51 - 8:52
    ก็จัดเป็นโลหะ
  • 8:52 - 8:54
    แม้ว่าจะมี 4 เวเลนซ์อิเล็กตรอน
  • 8:54 - 9:00
    นี่ก็เพราะว่า อะตอมมันมีขนาดใหญ่มาก
    รัศมีใหญ่มาก
  • 9:00 - 9:03
    จนชั้นนอกสุดไกลจากนิวเคลียสมาก
  • 9:03 - 9:05
    ดังนั้น มันจะให้อิเล็กตรอนได้ง่าย
  • 9:05 - 9:09
    ถ้าคุณดูที่คาร์บอน
  • 9:09 - 9:10
    ซึ่งมีเวเลนซ์อิเล็กตรอนอยู่ใกล้กับนิวเคลียสมาก
  • 9:10 - 9:12
    ดังนั้น อิเล็กตรอนจะถูกปล่อย
    ออกไปยากมาก
  • 9:12 - 9:15
    คาร์บอนจึงชอบที่จะรับอิเล็กตรอน
    จากอะตอมอื่นมากกว่า
  • 9:15 - 9:17
    เพื่อให้ได้อิเล็กตรอนครบ 8 ตัว
  • 9:17 - 9:20
    ในขณะที่เวเลนซ์อิเล็กตรอนของธาตุกลุ่มนี้
    อยูไกลจากนิวเคลียสมาก
  • 9:20 - 9:23
    จึงมีโอกาสที่จะกำจัดอิเล็กตรอนออกไป
  • 9:23 - 9:25
    เพื่อให้ตัวเองมีอิเล็กตรอนครบ 8 ตัวในชั้นนอกสุด
  • 9:25 - 9:28
    คล้ายกับซีนอน
  • 9:28 - 9:32
    และถ้าคุณดูไปเรื่อย ๆ ถึงกลุ่มนี้
    ก็จะไม่ใช่โลหะอีกต่อไป
  • 9:32 - 9:33
    ถูกต้องไหมครับ?
  • 9:33 - 9:36
    เพราะธาตุเหล่านี้มีแนวโน้มที่จะ
    รับอิเล็กตรอน เวลาเกิดปฏิกิริยา
  • 9:36 - 9:39
    และช่องสีเหลืองนี้ เป็นกลุ่มที่
    มีความไวต่อการเกิดปฏิกิริยาสูงมาก
  • 9:39 - 9:44
    โดยเฉพาะการทำปฏิกิริยากับโลหะอัลคาไล
  • 9:44 - 9:46
    โลหะจะอยู่ตรงนี้
    ส่วนตรงนี้เราเรียกว่า ฮาโลเจน นะครับ
  • 9:46 - 9:49
    คุณอาจจะเคยได้ยินคำนี้มาก่อน
  • 9:49 - 9:55
    หลอดฮาโลเจน
  • 9:55 - 10:00
    การที่เราเรียกอย่างนั้น ไม่ได้เรียกผิดนะครับ
  • 10:00 - 10:03
    ผมอาจจะทำวิดีโอเกี่ยวกับหลอดฮาโลเจนในอนาคตนะครับ
  • 10:03 - 10:05
    สุดท้าย กลุ่มนี้เป็นแก๊สเฉื่อย
  • 10:05 - 10:08
    ที่น่าสนใจเกี่ยวกับแก๊สเฉื่อยก็คือ
  • 10:08 - 10:10
    มันมีอิเล็กตรอน 8 ตัวที่ชั้นนอกสุด
  • 10:10 - 10:12
    ใช่ไหมครับ
  • 10:12 - 10:12
    ยกเว้น ฮีเลียม
  • 10:12 - 10:14
    ซึ่งมีอิเล็กตรอน 2 ตัวที่ชั้นนอกสุด
    ถูกต้องไหมครับ?
  • 10:14 - 10:22
    การจัดเรียงอิเล็กตรอนของฮีเลียมคือ 1s2
  • 10:22 - 10:24
    นี่คือ นีออน
  • 10:24 - 10:28
    จะเป็น 1s2, 2s2, 2p6
  • 10:28 - 10:31
    ซึ่งมีอิเล็กตรอน 8 ตัวในชั้นนอกสุด
  • 10:31 - 10:31
    ดังนั้น มันก็มีความสุขแล้วครับ
  • 10:31 - 10:33
    อาร์กอน ก็เช่นเดียวกัน
  • 10:33 - 10:38
    ชั้นนอกสุดจะเป็น 3s2, 3p6
  • 10:38 - 10:41
    คริปตอน จะมีอิเล็กตรอนชั้นนอกสุดเป็น
  • 10:41 - 10:43
    4s2, 4p6
    (ในวิดีโอพูดผิด)
  • 10:43 - 10:48
    และก็มี 3d
  • 10:48 - 10:50
    แต่ว่าชั้นนอกสุดจะมีอิเล็กตรอนครบ 8 ตัว
  • 10:50 - 10:51
    ดังนั้น มันก็มีความสุข
  • 10:51 - 10:53
    ธาตุเหล่านี้ จึงไม่อยากจะไปทำปฏิกิริยากับใคร
  • 10:53 - 10:55
    คล้ายกับว่า ธาตุอื่น ๆ สามารถเกิด
    ปฏิกิริยาต่าง ๆ ได้
  • 10:55 - 10:58
    ก็เกิดไป
  • 10:58 - 10:59
    แต่พวกเรามีความสุขแล้ว
  • 10:59 - 11:01
    แล้วเราก็ไม่อยากให้หรือรับอิเล็กตรอนจากใคร
  • 11:01 - 11:08
    ธาตุกลุ่มนี้จึงเฉื่อยมาก ๆ
    (ไม่ทำปฏิกิริยากับใคร)
  • 11:08 - 11:12
    คุณทราบไหมครับ
    สมัยก่อน ตอนที่ยังมีการสร้างเรือเหาะ
  • 11:12 - 11:17
    ที่มีชื่อเสียงอย่างเรือเหาะฮินเดนเบอร์ก
  • 11:17 - 11:19
    ตอนนั้น เขาใช้ไฮโดรเจน
  • 11:19 - 11:22
    ซึ่งไฮโดรเจนเป็นธาตุที่ค่อนข้างจะ
    ไวต่อการเกิดปฏิกิริยา
  • 11:22 - 11:25
    และก็ติดไฟง่ายมาก
    ดังนั้น มันจึงระเบิดอย่างรวดเร็ว
  • 11:25 - 11:30
    สมัยนี้ เวลาทำลูกโป่งสำหรับตัวตลกหรือเด็ก ๆ
  • 11:30 - 11:34
    แทนที่จะใช้ไฮโดรเจน
    เดี๋ยวนี้นิยมใช้ฮีเลียมมากกว่า
  • 11:34 - 11:37
    เพราะฮีเลียมเป็นแก๊สเฉื่อย
    มีความไวต่อการเกิดปฏิกิริยาน้อยมาก
  • 11:37 - 11:41
    และก็มีโอกาสระเบิดได้น้อยมาก
  • 11:41 - 11:43
    ถ้าเอามาใช้ในงานวันเกิดเด็ก ๆ
  • 11:43 - 11:45
    เอาละครับ...ผมคงจบเพียงแค่นี้สำหรับวิดีโอตอนนี้
  • 11:45 - 11:48
    ในตอนต่อไป เราจะมาพูดกันนิดหน่อยเกี่ยวกับแนวโน้มของธาตุในตารางธาตุครับ
  • 11:48 - 11:51
    เกี่ยวกับแนวโน้มของคุณสมบัติต่าง ๆ
    ของธาตุในตารางธาตุครับ
Title:
หมู่ตารางธาตุ (Groups of the Periodic Table)
Description:

Properties of alkali, alkaline earth and transition metals. Halogens and noble gases.

more » « less
Video Language:
English
Duration:
11:51
Ornrat Lohitnavy edited Thai subtitles for Groups of the Periodic Table
Ornrat Lohitnavy edited Thai subtitles for Groups of the Periodic Table
Ornrat Lohitnavy edited Thai subtitles for Groups of the Periodic Table
Ornrat Lohitnavy edited Thai subtitles for Groups of the Periodic Table
Ornrat Lohitnavy edited Thai subtitles for Groups of the Periodic Table

Thai subtitles

Revisions