นิก มาร์คส์: ดัชนีโลกมีสุข
-
0:02 - 0:04มาร์ติน ลูเธอร์ คิง
-
0:04 - 0:06ไม่ได้พูดว่า
-
0:06 - 0:08"ผมมีฝันร้าย"
-
0:08 - 0:11ตอนที่เขาสร้างแรงบันดาลใจให้กับขบวนการสิทธิพลเมือง
-
0:11 - 0:14เขาพูดว่า "ผมมีความฝัน"
-
0:14 - 0:16ผมก็มีความฝัน
-
0:16 - 0:18ผมมีความฝันว่าเราจะหยุดคิดได้
-
0:18 - 0:21ว่าอนาคตจะเป็นฝันร้าย
-
0:21 - 0:23เรื่องนี้ท้าทายแน่ๆ
-
0:23 - 0:25เพราะถ้าคุณนึกถึง
-
0:25 - 0:29ภาพยนตร์ยอดฮิตในช่วงไม่กี่ีปีที่ผ่านมา
-
0:29 - 0:32วิสัยทัศน์เกี่ยวกับมนุษยชาติในภาพยนตร์
-
0:32 - 0:34แทบทุกเรื่องคือการล่มสลาย
-
0:34 - 0:36ผมคิดว่าภาพยนตร์เรื่องนี้
-
0:36 - 0:39"เดอะ โรด" ทำให้คนดูหนักใจที่สุดเรื่องหนึ่ง
-
0:39 - 0:41มันถ่ายทำสวยมาก
-
0:41 - 0:43แต่ทุกสิ่งทุกอย่างแร้นแค้น
-
0:43 - 0:46ทุกอย่างตายแล้ว
-
0:46 - 0:48มีแต่พ่อลูกคู่หนึ่ง
-
0:48 - 0:51พยายามเอาตัวรอด เดินไปตามถนน
-
0:51 - 0:53ผมคิดว่าขบวนการสิ่งแวดล้อม
-
0:53 - 0:55ซึ่งผมก็เป็นส่วนหนึ่ง
-
0:55 - 0:57มีส่วนต้องรับผิดชอบ
-
0:57 - 0:59ที่สร้างภาพอนาคตแบบนี้
-
0:59 - 1:01นานเกินไปแล้ว
-
1:01 - 1:03ที่เราขายภาพแบบฝันร้าย
-
1:03 - 1:05ว่าอะไรจะเกิดขึ้น
-
1:05 - 1:08เราเน้นแนวโน้มที่เลวร้ายที่สุด
-
1:08 - 1:10เราเน้นแต่ปัญหา
-
1:10 - 1:12เราไม่ได้คิดมากพอ
-
1:12 - 1:14เกี่ยวกับวิธีแก้ปัญหา
-
1:14 - 1:16ในแง่หนึ่ง เราใช้ความกลัว
-
1:16 - 1:19เป็นตัวดึงดูดความสนใจของคน
-
1:19 - 1:22นักจิตวิทยาทุกคนบอกคุณได้
-
1:22 - 1:24ว่าความกลัวในสิ่งมีชีวิต
-
1:24 - 1:26ผูกติดกับกลไกหนีตาย
-
1:26 - 1:29มันเป็นส่วนหนึ่งของกลไกสู้และหนี
-
1:29 - 1:31เวลาที่สัตว์หวาดกลัว
-
1:31 - 1:33นึกถึงกวางก็ได้
-
1:33 - 1:36มันจะทำตัวแข็งและยืนนิ่งมากๆ
-
1:36 - 1:38เตรียมตัวกระโดดหนี
-
1:38 - 1:40ผมคิดว่าเรากำลังทำแบบนั้น
-
1:40 - 1:43เวลาที่เราขอให้คนมีส่วนร่วมกับวาระของเรา
-
1:43 - 1:46เรื่องความเสื่อมโทรมของสิ่งแวดล้อมและสภาพภูมิอากาศเปลี่ยนแปลง
-
1:46 - 1:49คนกำลังทำตัวแข็งและวิ่งหนี
-
1:49 - 1:51เพราะเรากำลังใช้ความกลัว
-
1:51 - 1:54ผมคิดว่ากลุ่มต่อสู้เพื่อสิ่งแวดล้อมจะต้องรู้จักโตเป็นผู้ใหญ่
-
1:54 - 1:56และเริ่มคิดว่า
-
1:56 - 1:58ความก้าวหน้าคืออะไร
-
1:58 - 2:01อะไรคือการปรับปรุงความเป็นอยู่ของมนุษย์?
-
2:01 - 2:03ผมคิดว่าปัญหาหนึ่งที่เราเจอ
-
2:03 - 2:06คือกลุ่มคนกลุ่มเดียวที่ครอบงำความคิด
-
2:06 - 2:08ในเชิงของความก้าวหน้า
-
2:08 - 2:11มองความก้าวหน้าแต่ในนิยามทางการเงิน
-
2:11 - 2:14นิยามทางเศรษฐศาสตร์
-
2:14 - 2:16มองว่าด้วยเหตุบางประการ ถ้าเราสามารถ
-
2:16 - 2:18ทำให้ตัวเลขที่ถูกต้องสูงขึ้นได้
-
2:18 - 2:21เราก็จะมีชีวิตที่ดีขึ้น
-
2:21 - 2:23ไม่ว่าจะเป็นตัวเลขดัชนีหุ้น
-
2:23 - 2:25ตัวเลขจีดีพี (ผลิตภัณฑ์มวลรวมในประเทศ)
-
2:25 - 2:27หรืออัตราการเติบโตทางเศรษฐกิจ
-
2:27 - 2:29ชีวิตเราจะดีขึ้น ไม่ว่าทางใดทางหนึ่ง
-
2:29 - 2:32นี่คือนิยามที่ดึงดูดความโลภของมนุษย์
-
2:32 - 2:34แทนที่จะเป็นความกลัว
-
2:34 - 2:36มันบอกว่า มากกว่าเดิมคือดีกว่าเดิม
-
2:36 - 2:39เอาล่ะครับ ในโลกตะวันตก เรามีพอแล้ว
-
2:39 - 2:42บางทีบางประเทศยังไม่พอ แต่เรามีพอแล้ว
-
2:42 - 2:45และเราก็รู้มานานแล้วว่านี่ไม่ใช่ตัวชี้วัด
-
2:45 - 2:47สวัสดิการของชาติที่ดีเลย
-
2:47 - 2:50อันที่จริง สถาปนิกผู้สร้างระบบบัญชีประชาชาติ
-
2:50 - 2:53ไซมอน คุซเนทส์ ในทศวรรษ 1930
-
2:53 - 2:55ก็บอกว่า "สวัสดิการของชาติ
-
2:55 - 2:58ไม่อาจบ่งชี้ด้วยรายได้ประชาชาติ"
-
2:58 - 3:00แต่เราได้สร้างระบบบัญชีประชาชาติ
-
3:00 - 3:02ที่ตั้งอยู่บนตัวเลขการผลิต
-
3:02 - 3:04สินค้าและบริการต่างๆ
-
3:04 - 3:07ซึ่งก็มีเหตุมีผลถ้าดูจากประวัติศาสตร์
-
3:07 - 3:10สมัยสงครามโลกครั้งที่สอง เราต้องผลิตของต่างๆ มากมาย
-
3:10 - 3:13และที่จริงเราก็ประสบความสำเร็จสูงมากในการผลิตของบางอย่าง
-
3:13 - 3:16จนทำลายยุโรปไปหลายส่วน และต้องฟื้นฟูมันขึ้นมาใหม่
-
3:16 - 3:18ระบบบัญชีประชาชาติของเรา
-
3:18 - 3:21จึงหมกมุ่นอยู่กับการนับว่าเราผลิตอะไรได้
-
3:21 - 3:24แต่นานมาแล้ว ในปี 1968
-
3:24 - 3:27โรเบิร์ต เคนเนดี ชายผู้เปี่ยมวิสัยทัศน์
-
3:27 - 3:30ในแคมเปญชิงตำแหน่งประธานาธิบดี ก่อนที่เขาจะถูกสังหาร
-
3:30 - 3:33ถอดรื้อนิยามของจีดีพี
-
3:33 - 3:35อย่างสละสลวยที่สุด
-
3:35 - 3:37ในประวัติศาสตร์
-
3:37 - 3:40เขาจบสุนทรพจน์ด้วยประโยคว่า
-
3:40 - 3:42"ผลผลิตมวลรวมประชาชาติ
-
3:42 - 3:45วัดทุกสิ่งทุกอย่าง ยกเว้น
-
3:45 - 3:47สิ่งที่ทำให้ชีวิตคุ้มค่าแก่การอยู่"
-
3:47 - 3:50เพี้ยนขนาดไหนครับ? ที่ตัวชี้วัดความก้าวหน้าของเรา
-
3:50 - 3:53ตัวชี้วัดความก้าวหน้าในสังคม
-
3:53 - 3:55กำลังวัดทุกสิ่งทุกอย่าง
-
3:55 - 3:58ยกเว้นสิ่งที่ทำให้ชีวิตคุ้มค่า?
-
3:58 - 4:01ผมเชื่อว่าถ้าเคนเนดียังมีชีวิตอยู่วันนี้
-
4:01 - 4:04เขาก็คงจะขอให้นักสถิติอย่างผม
-
4:04 - 4:06ออกไปดูว่า
-
4:06 - 4:08มีอะไรบ้างที่ทำให้ชีวิตมีคุณค่า
-
4:08 - 4:10เขาคงจะขอให้เราออกแบบ
-
4:10 - 4:12ระบบบัญชีประชาชาติเสียใหม่
-
4:12 - 4:14ให้ตั้งอยู่บนคุณค่า
-
4:14 - 4:17ที่สำคัญอย่างเช่นความยุติธรรมทางสังคม
-
4:17 - 4:19ความยั่งยืน
-
4:19 - 4:21และความอยู่ดีมีสุขของผู้คน
-
4:21 - 4:23และอันที่จริง นักสังคมศาสตร์ก็ออกไปแล้ว
-
4:23 - 4:25ออกไปถามคำถามเหล่านี้ทั่วโลก
-
4:25 - 4:27ภาพนี้มาจากผลการสำรวจระดับโลก
-
4:27 - 4:30ถามคนว่าพวกเขาต้องการอะไร
-
4:30 - 4:33ไม่น่าแปลกใจเลย คนทั่วโลก
-
4:33 - 4:35บอกว่าสิ่งที่พวกเขาต้องการ
-
4:35 - 4:37คือความสุข สำหรับตัวเอง
-
4:37 - 4:39ครอบครัว ลูกหลาน
-
4:39 - 4:41และชุมชนของพวกเขา
-
4:41 - 4:43โอเค พวกเขาคิดว่าเงินก็สำคัญเหมือนกัน
-
4:43 - 4:46แต่ก็ไม่สำคัญเท่ากับความสุข
-
4:46 - 4:49และสำคัญน้อยกว่าความรักมาก
-
4:49 - 4:52พวกเราล้วนต้องมีความรักและถูกรัก
-
4:52 - 4:54เงินไม่สำคัญเท่ากับสุขภาพ
-
4:54 - 4:57เราอยากมีสุขภาพดีและใช้ชีวิตจนสิ้นอายุขัย
-
4:57 - 5:00ดูเหมือนว่าเหล่านี้จะเป็นคุณค่าที่มนุษย์มีร่วมกัน
-
5:00 - 5:03แล้วทำไมนักสถิติถึงไม่วัดมัน?
-
5:03 - 5:06ทำไมเราถึงไม่คิดถึงความก้าวหน้าของชาติในแง่มุมเหล่านี้
-
5:06 - 5:09แทนที่จะวัดว่าเรามีสมบัติขนาดไหน?
-
5:09 - 5:12นี่คือสิ่งที่ผมทำตั้งแต่โตเป็นผู้ใหญ่
-
5:12 - 5:14คิอคิดว่าเราจะวัดความสุขได้ยังไง
-
5:14 - 5:16วัดความอยู่ดีมีสุขได้ยังไง
-
5:16 - 5:18วัดมันภายใต้ขีดจำกัดด้านสิ่งแวดล้อมได้ยังไง
-
5:18 - 5:20และที่องค์กรที่ผมทำงานให้
-
5:20 - 5:22คือมูลนิธิเศรษฐศาสตร์แบบใหม่
-
5:22 - 5:25เราได้สร้างดัชนีที่เราเรียกว่า ดัชนีโลกมีสุข
-
5:25 - 5:28เพราะเราคิดว่าคนควรมีความสุข และโลกก็ควรมีความสุข
-
5:28 - 5:31ทำไมเราไม่คิดตัววัดความก้าวหน้าที่แสดงมันล่ะ?
-
5:31 - 5:33สิ่งที่เราทำ
-
5:33 - 5:35คือเราบอกว่าผลลัพธ์สุดท้ายของแต่ละประเทศ
-
5:35 - 5:37คือระดับความสำเร็จ
-
5:37 - 5:40ของการสร้างชีวิตที่มีความสุขและมีสุขภาพดีให้กับพลเมือง
-
5:40 - 5:42นี่ควรเป็นเป้าหมาย
-
5:42 - 5:44ของทุกประเทศบนโลกนี้
-
5:44 - 5:46แต่เราก็ต้องตระหนักว่า
-
5:46 - 5:49เรื่องนี้มีปัจจัยการผลิตพื้นฐาน
-
5:49 - 5:52นั่นคือ ทรัพยากรของโลกที่เราใช้
-
5:52 - 5:55เรามีโลกใบเดียว เราทุกคนต้องใช้มันร่วมกัน
-
5:55 - 5:58โลกนี้คือทรัพยากรหายากที่แท้จริง
-
5:58 - 6:01ดาวเคราะห์ดวงเดียวที่เราอาศัยอยู่
-
6:01 - 6:04วิชาเศรษฐศาสตร์สนใจเรื่องความหายาก
-
6:04 - 6:06เมื่อมีทรัพยากรหายาก
-
6:06 - 6:08ที่อยากแปลงไปเป็น
-
6:08 - 6:10ผลลัพธ์ที่ต้องการ
-
6:10 - 6:13เศรษฐศาสตร์ก็คิดในมุมของประสิทธิภาพ
-
6:13 - 6:16คิดว่าเราได้อะไรบ้างจากปัจจัยที่ใช้ไป
-
6:16 - 6:18และนี่คือตัวชี้วัดที่บอกว่า เราผลิตความอยู่ดีมีสุข
-
6:18 - 6:21จากการใช้ทรัพยากรของโลกได้ดีเพียงใด
-
6:21 - 6:23ดัชนีโลกมีสุขเป็นตัววัดประสิทธิภาพ
-
6:23 - 6:26และวิธีที่ดีที่สุดที่จะสาธิตให้เห็น
-
6:26 - 6:28คือด้วยกราฟนี้
-
6:28 - 6:31และไล่ตามแกนแนวนอนของกราฟนี้
-
6:31 - 6:33คือ "รอยเท้านิเวศ"
-
6:33 - 6:36ซึ่งวัดว่าเราใช้ทรัพยากรไปเท่าไร
-
6:36 - 6:38และสร้างแรงกดดันต่อโลกเท่าไร
-
6:38 - 6:40ยิ่งมากยิ่งไม่ดี
-
6:40 - 6:42ที่แกนแนวตั้งของกราฟ
-
6:42 - 6:44คือตัววัดชื่อ "จำนวนปีที่มีสุข"
-
6:44 - 6:46มันสะท้อนความอยู่ดีมีสุขของแต่ละประเทศ
-
6:46 - 6:49คืออายุขัยเฉลี่ย ถ่วงน้ำหนักด้วยความสุข
-
6:49 - 6:52สะท้อนคุณภาพและปริมาณของชีวิตประชากร
-
6:52 - 6:55จุดสีเหลืองที่คุณเห็นคือค่าเฉลี่ยโลก
-
6:55 - 6:57ทีนี้ ประเทศจำนวนมาก
-
6:57 - 6:59กระจายอยู่รอบๆ ค่าเฉลี่ยนี้
-
6:59 - 7:02ทางด้านขวาบนสุดของกราฟ
-
7:02 - 7:05คือประเทศที่ผลิตความอยู่ดีมีสุขได้ค่อนข้างดี
-
7:05 - 7:07แต่ใช้ทรัพยากรของโลกไปเยอะมาก
-
7:07 - 7:09พวกนี้คือสหรัฐอเมริกา
-
7:09 - 7:12ประเทศในโลกตะวันตก แสดงด้วยสามเหลี่ยม
-
7:12 - 7:14มีประเทศตะวันออกกลางบางแห่งด้วย
-
7:14 - 7:17ในทางตรงกันข้าม มุมซ้ายล่างสุด
-
7:17 - 7:20คือประเทศที่ผลิตความอยู่ดีมีสุขไม่ค่อยได้
-
7:20 - 7:23ประเทศในทวีปแอฟริกาใต้ทะเลทรายซะฮารา
-
7:23 - 7:25ในภาษาของธอมัส ฮอบส์
-
7:25 - 7:27ชีวิตที่นั่นแสนสั้นและทารุณ
-
7:27 - 7:30อายุขัยเฉลี่ยในประเทศแถบนี้
-
7:30 - 7:33อยู่แค่ 40 ปีเท่านั้น
-
7:33 - 7:35โรคมาเลเรีย โรคเอดส์
-
7:35 - 7:37ซึ่งกำลังคร่าชีวิตคนเยอะมาก
-
7:37 - 7:39ในภูมิภาคแถบนี้
-
7:39 - 7:41ทีนี้มาดูข่าวดีกัน!
-
7:41 - 7:43มีบางประเทศในนี้ พวกสามเหลี่ยมสีเหลือง
-
7:43 - 7:45ที่กำลังทำได้ดีกว่าค่าเฉลี่ยโลก
-
7:45 - 7:47กำลังไปสู่มุมซ้ายบนของกราฟ
-
7:47 - 7:49นี่คือกราฟแห่งความหวัง
-
7:49 - 7:52เราอยากอยู่ในโซนซ้ายบน ที่ที่ชีวิตที่ดีไม่ทำร้ายโลก
-
7:52 - 7:54พวกนี้คือประเทศแถบอเมริกาใต้
-
7:54 - 7:56ประเทศที่อยู่บนสุดเลย
-
7:56 - 7:58คือประเทศที่ผมไม่เคยไป
-
7:58 - 8:00พวกคุณบางคนอาจจะเคย
-
8:00 - 8:02นี่คือคอสตาริกา
-
8:04 - 8:06คอสตาริกา
-
8:06 - 8:09อายุขัยเฉลี่ยที่นั่นคือ 78 ปีครึ่ง
-
8:09 - 8:12สูงกว่าสหรัฐอเมริกา
-
8:13 - 8:16ผลสำรวจทั่วโลกของแกลลัพฉบับล่าสุด
-
8:16 - 8:19บอกว่าคือชาติที่คนมีความสุขมากที่สุด
-
8:19 - 8:22มากกว่าสวิสเซอร์แลนด์ มากกว่าเดนมาร์ก
-
8:22 - 8:24เป็นชาติที่มีความสุขที่สุด
-
8:24 - 8:26พวกเขาทำแบบนี้ได้
-
8:26 - 8:28ด้วยการใช้ทรัพยากรเพียงหนึ่งในสี่
-
8:28 - 8:31ของระดับที่ใช้ในโลกตะวันตก
-
8:31 - 8:34หนึ่งในสี่ของทรัพยากร
-
8:34 - 8:37เกิดอะไรขึ้น?
-
8:37 - 8:39คอสตาริกากำลังทำอะไร?
-
8:39 - 8:41ข้อมูลบางส่วนบอกเราได้
-
8:41 - 8:44ไฟฟ้า 99% ที่พวกเขาใช้มาจากพลังงานทดแทน
-
8:44 - 8:46รัฐบาลของพวกเขาเป็นรัฐบาลแรกๆ
-
8:46 - 8:49ที่ประกาศว่าจะเป็นคาร์บอนสมดุลภายในปี 2021
-
8:49 - 8:52พวกเขาล้มเลิกกองทัพ
-
8:52 - 8:54ในปี 1949
-
8:54 - 8:561949
-
8:56 - 8:58และลงทุนในโครงการด้านสังคม
-
8:58 - 9:00สาธารณสุขและการศึกษา
-
9:00 - 9:03คอสตาริกามีอัตราการรู้หนังสือสูงที่สุดแห่งหนึ่งของทวีป
-
9:03 - 9:05และของโลก
-
9:05 - 9:07และก็รักสนุกแบบละติน
-
9:07 - 9:09มีความเหนียวแน่นทางสังคม
-
9:09 - 9:11(เสียงหัวเราะ)
-
9:11 - 9:14ความท้าทาย สิ่งที่เราอาจต้องนึกถึงคือ
-
9:14 - 9:16อนาคตของเรา
-
9:16 - 9:18อาจไม่ใช่อเมริกาเหนือ
-
9:18 - 9:20อาจไม่ใช่ยุโรปตะวันตก
-
9:20 - 9:23แต่อาจเป็นอเมริกาใต้
-
9:23 - 9:25และความท้าทายจริงๆ แล้ว
-
9:25 - 9:28คือการดึงค่าเฉลี่ยโลกให้ขึ้นไปตรงนั้น
-
9:28 - 9:30นี่คือสิ่งที่เราต้องทำ
-
9:30 - 9:32และถ้าเราจะทำอย่างนั้นได้
-
9:32 - 9:35เราก็ต้องดึงประเทศจากซ้ายล่างสุด
-
9:35 - 9:38และดึงประเทศจากขวาสุดของกราฟ
-
9:38 - 9:41แล้วเราก็จะสร้างโลกมีสุขได้
-
9:41 - 9:43นี่คือวิธีมองแบบหนึ่ง
-
9:43 - 9:45อีกวิธีคือ ดูจากกราฟเวลา
-
9:45 - 9:48เราไม่มีข้อมูลอดีตดีพอสำหรับทุกประเทศในโลก
-
9:48 - 9:51แต่เรามีข้อมูลที่ดีพอจากกลุ่มประเทศที่รวยที่สุด คือโออีซีดี
-
9:51 - 9:54และนี่คือระดับความอยู่ดีมีสุขผ่านกาลเวลา
-
9:54 - 9:56จะเห็นว่ามันโตขึ้นเล็กน้อย
-
9:56 - 9:58แต่นี่คือระดับรอยเท้านิเวศในช่วงเดียวกัน
-
9:58 - 10:01ดังนั้นในมุมมองของโลกมีสุข
-
10:01 - 10:03เห็นชัดว่าเรามีประสิทธิภาพแย่ลง
-
10:03 - 10:05ในการแปลงทรัพยากรที่หายากที่สุด
-
10:05 - 10:08ให้เป็นผลลัพธ์ที่เราต้องการ
-
10:08 - 10:11ผมคิดว่าประเด็นสำคัญคือ
-
10:11 - 10:13บางทีทุกคนในห้องนี้ด้วย
-
10:13 - 10:15จะอยากให้สังคมไปถึงปี 2050
-
10:15 - 10:18ได้โดยไม่มีหายนะรุนแรง
-
10:18 - 10:20เกิดขึ้น
-
10:20 - 10:222050 ไม่ไกลเลยนับจากวันนี้
-
10:22 - 10:24มันคือครึ่งชีวิตของมนุษย์
-
10:24 - 10:26เด็กที่ไปโรงเรียนในวันนี้
-
10:26 - 10:28จะมีอายุเท่าผมในปี 2050
-
10:28 - 10:31นี่ไม่ใช่อนาคตที่อยู่ไกล
-
10:31 - 10:34นี่คือเป้าของรัฐบาลอังกฤษ
-
10:34 - 10:37ในการลดการปล่อยคาร์บอนและก๊าซเรือนกระจก
-
10:38 - 10:41ผมอยากจะบอกว่า นี่ไม่ใช่วิถีธุรกิจแบบเดิมๆ
-
10:41 - 10:43นี่คือการเปลี่ยนโฉมหน้าของธุรกิจ
-
10:43 - 10:46เปลี่ยนวิธีที่เราสร้างองค์กรของเรา
-
10:46 - 10:49เปลี่ยนวิธีดำเนินโยบายรัฐ และเปลี่ยนวิธีใช้ชีวิต
-
10:49 - 10:51ประเด็นก็คือ
-
10:51 - 10:53เราต้องผลิตสร้างความอยู่ดีมีสุขต่อไป
-
10:53 - 10:55ไม่มีใครลงเลือกตั้ง
-
10:55 - 10:58และพูดว่าคุณภาพชีวิตจะแย่ลง
-
10:58 - 11:00ผมคิดว่าไม่มีใครหรอกครับ
-
11:00 - 11:02ที่อยากหยุดความก้าวหน้าของมนุษย์
-
11:02 - 11:04ผมคิดว่าเราอยากให้มันดำเนินต่อไป
-
11:04 - 11:06ผมคิดว่าถ้าเราอยากให้มนุษยชาติดำเนินต่อไป
-
11:06 - 11:09และตรงนี้คือจุดที่พวกที่ปฏิเสธสภาพภูมิอากาศเปลี่ยนแปลงคิด
-
11:09 - 11:12ผมคิดว่าพวกเขาอยากได้อย่างนั้น อยากเพิ่มคุณภาพชีวิต
-
11:12 - 11:15กอดสิ่งที่มีเอาไว้
-
11:15 - 11:17และถ้าเราอยากจะโน้มน้าวพวกเขา
-
11:17 - 11:19สิ่งที่เราต้องทำก็คือ
-
11:19 - 11:22เพิ่มประสิทธิภาพให้สูงขึ้นกว่าเดิม
-
11:22 - 11:25แน่นอนว่าการวาดกราฟนั้นง่ายมาก
-
11:25 - 11:28ประเด็นคือเราต้องเปลี่ยนเส้นเหล่านี้
-
11:28 - 11:30ตรงนี้คือจุดที่ผมคิดว่าเราเรียนรู้ได้
-
11:30 - 11:33จากทฤษฎีเชิงระบบ วิศวกรเชิงระบบ
-
11:33 - 11:35พวกเขาสร้างวงจรปฏิกิริยาตอบกลับ
-
11:35 - 11:38ใส่ข้อมูลที่ถูกต้องเข้าไปในเวลาที่ถูกต้อง
-
11:38 - 11:41ธรรมชาติมนุษย์ถูกจูงใจด้วย คำว่า "เดี๋ยวนี้"
-
11:41 - 11:43คุณติดมาตรวัดฉลาดในบ้าน
-
11:43 - 11:45มองเห็นว่ากำลังใช้ไฟฟ้าเท่าไหร่
-
11:45 - 11:47ต้องจ่ายค่าไฟเท่าไหร่
-
11:47 - 11:50แล้วลูกๆ ของคุณก็จะรีบปิดไฟทันที
-
11:50 - 11:53ในระดับสังคม เรื่องนี้จะเป็นแบบไหน?
-
11:53 - 11:55ทำไมเวลาที่ฟังข่าววิทยุทุกเช้า
-
11:55 - 11:58ผมจะได้รู้เรื่องดัชนีฟุทซี่ 100 ดัชนีดาวโจนส์ อัตราแลกเปลี่ยน
-
11:58 - 12:01ผมไม่รู้ด้วยซ้ำว่าอัตราแลกเปลี่ยนต้องเป็นเท่าไหร่ถึงจะเป็นข่าวดี
-
12:01 - 12:03ผมได้ยินเรื่องพวกนี้เพราะอะไร?
-
12:03 - 12:06ทำไมผมถึงไม่ได้ยินว่าเมื่อวานอังกฤษใช้พลังงานไปเท่าไหร่
-
12:06 - 12:08หรืออเมริกาใช้พลังงานเท่าไหร่?
-
12:08 - 12:10เราลดคาร์บอนได้ตรงเป้า
-
12:10 - 12:12ที่ตั้งไว้ ร้อยละ 3 ต่อปีหรือเปล่า?
-
12:12 - 12:14นี่คือวิธีที่คุณสร้างเป้าหมายร่วม
-
12:14 - 12:17คุณใส่ข้อมูลเข้าไปในสื่อ และเริ่มคิดถึงมัน
-
12:17 - 12:20เราต้องการวงจรปฏิกิริยาตอบกลับเชิงบวก
-
12:20 - 12:22เพื่อเพิ่มความอยู่ดีมีสุข
-
12:22 - 12:25ในระดับรัฐบาล รัฐอาจสร้างระบบบัญชีความอยู่ดีมีสุขประชาชาติ
-
12:25 - 12:28ในระดับธุรกิจ คุณอาจดูความอยู่ดีมีสุขของพนักงาน
-
12:28 - 12:30ซึ่งเรารู้แล้วว่าสัมพันธ์กับความคิดสร้างสรรค์
-
12:30 - 12:32ซึ่งเกี่ยวโยงกับนวัตกรรม
-
12:32 - 12:35เราต้องใช้นวัตกรรมมากมายในการรับมือกับประเด็นสิ่งแวดล้อม
-
12:35 - 12:38ในระดับปัจเจก เราก็ต้องอาศัยการกระตุ้นเหมือนกัน
-
12:39 - 12:42บางทีเราอาจไม่ต้องใช้ข้อมูล แต่เราต้องใช้คำเตือน
-
12:42 - 12:45ในอังกฤษ เรามีคำเตือนสาธารณะที่ใครๆ ก็จำได้
-
12:45 - 12:47ว่าให้กินผลไม้และผัก 5 ชนิดทุกวัน
-
12:47 - 12:50และการออกกำลังกาย ซึ่งผมไม่ถนัด
-
12:50 - 12:53เราจะพูดอย่างไรเกี่ยวกับความสุข?
-
12:53 - 12:55มีอะไร 5 อย่างที่คุณควรทำทุกวัน
-
12:55 - 12:57เพื่อจะมีความสุขมากขึ้น?
-
12:57 - 13:00เราทำโครงการให้กับกระทรวงวิทยาศาสตร์เมื่อไม่นานมานี้
-
13:00 - 13:03โครงการใหญ่ชื่อ 'โครงการมองการณ์ไกล'
-
13:03 - 13:05ใช้คนจำนวนมาก มีผู้เชี่ยวชาญเยอะมาก
-
13:05 - 13:08ทุกอย่างมีข้อมูลหลักฐานอ้างอิง เป็นตำราเล่มใหญ่
-
13:08 - 13:11แต่งานในส่วนของเราคือ อะไรที่เป็นกิจกรรม 5 อย่าง
-
13:11 - 13:13ที่ทำได้เพื่อเพิ่มความอยู่ดีมีสุขในชีวิต?
-
13:13 - 13:15ประเด็นของกิจกรรมเหล่านี้คือ
-
13:15 - 13:17มันไม่ใช่ความลับแห่งความสุขหรอก
-
13:17 - 13:20แต่มันก็เป็นสิ่งที่ผมคิดว่าจะล้นออกมาเป็นความสุข
-
13:20 - 13:23สิ่งแรกคือความเชื่อมโยง
-
13:23 - 13:25ความสัมพันธ์ทางสังคมของคุณ
-
13:25 - 13:28คือรากฐานที่สำคัญที่สุดในชีวิตคุณ
-
13:28 - 13:30คุณทุ่มเทเวลาให้กับคนที่คุณรัก
-
13:30 - 13:32ทุ่มเทพลังงานให้หรือเปล่า?
-
13:32 - 13:34สร้างความสัมพันธ์ให้มั่นคง
-
13:34 - 13:36สิ่งที่สองคือการมีชีวิตชีวา
-
13:36 - 13:39วิธีที่เร็วที่สุดที่จะออกจากอารมณ์บูด
-
13:39 - 13:42คือการออกไปเดินเล่นข้างนอก เปิดวิทยุ เต้นรำ
-
13:42 - 13:45การมีชีวิตชีวาช่วยสร้างอารมณ์เชิงบวก
-
13:45 - 13:48สิ่งที่สามคือสังเกตสิ่งต่างๆ
-
13:48 - 13:51คุณรู้ดีแค่ไหนเกี่ยวกับสิ่งที่กำลังเกิดขึ้นรอบโลก
-
13:51 - 13:54การเปลี่ยนแปลงของฤดูกาล คนรอบตัว?
-
13:54 - 13:57คุณสังเกตเห็นหรือเปล่าว่าอะไรกำลังพองตัวขึ้นในใจคุณ?
-
13:57 - 13:59เรามีหลักฐานที่สนับสนุนการเจริญสติ (ตามอยู่กับปัจจุบัน)
-
13:59 - 14:01หลักฐานจากการบำบัดพฤติกรรม
-
14:01 - 14:04ว่ามันสำคัญมากสำหรับความอยู่ดีมีสุข
-
14:04 - 14:06สิ่งที่สี่คือการเรียนรู้อย่างต่อเนื่อง
-
14:06 - 14:08และที่สำคัญคือ ต้องไม่หยุดเรียนรู้
-
14:08 - 14:10เรียนรู้ไปตลอดชีวิต
-
14:10 - 14:13คนแก่ที่ไม่หยุดเรียนรู้และอยากรู้อยากเห็น
-
14:13 - 14:16มีสุขภาพดีกว่าคนที่หยุดเรียนรู้มาก
-
14:16 - 14:18ไม่ต้องเป็นการเรียนในระบบ และไม่ต้องตั้งอยู่บนความรู้
-
14:18 - 14:20แค่อยากรู้อยากเห็นก็พอ
-
14:20 - 14:23มันอาจเป็นการเรียนรู้ที่จะทำอาหารจานใหม่
-
14:23 - 14:25เรียนดนตรีที่ลืมไปแล้วตั้งแต่เด็ก
-
14:25 - 14:27เรียนรู้อย่างไม่หยุดยั้ง
-
14:27 - 14:29สิ่งสำคัญประการสุดท้าย
-
14:29 - 14:31คือกิจกรรมที่ไม่เป็นเศรษฐศาสตร์ที่สุด
-
14:31 - 14:33นั่นคือ การให้
-
14:33 - 14:35ความีน้ำใจของเรา การเสียสละเพื่อประโยชน์ส่วนรวม
-
14:35 - 14:37ความเมตตากรุณาของเรา
-
14:37 - 14:39ล้วนผูกติดตามอย่างเป็นธรรมชาติ
-
14:39 - 14:41กับกลไกให้รางวัลในสมองของเรา
-
14:41 - 14:43เรารู้สึกดี เมื่อเราได้ให้
-
14:43 - 14:45คุณลองทำการทดลองนี้ดูก็ได้ โดยที่คุณให้เงิน
-
14:45 - 14:48100 ดอลลาร์กับคนสองกลุ่มตอนเช้า
-
14:48 - 14:51บอกกลุ่มแรกว่า ให้ใช้เงินเพื่อตัวเอง
-
14:51 - 14:53บอกกลุ่มที่สองว่า ให้ใช้เงินเพื่อคนอื่น
-
14:53 - 14:55แล้วก็วัดความสุขของพวกเขาเมื่อจบวัน
-
14:55 - 14:57คนที่เอาเงินไปใช้เพื่อคนอื่นนั้นมีความสุขมากกว่า
-
14:57 - 15:00คนที่ใช้เงินเพื่อตัวเองมาก
-
15:00 - 15:02วิธีห้าวิธีที่ว่ามานี้
-
15:02 - 15:05ซึ่งเราเขียนสั้นๆ บนโปสการ์ดได้
-
15:05 - 15:08ไม่ทำร้ายโลก
-
15:08 - 15:10ไม่มีคาร์บอน
-
15:10 - 15:13ไม่ต้องใช้สินค้าวัตถุเยอะแยะ
-
15:14 - 15:16ดังนั้นผมจึงคิดว่าเป็นไปได้แน่ๆ
-
15:16 - 15:18ที่่ความสุขจะไม่ทำร้ายโลก
-
15:18 - 15:20ทีนี้ ท่านมาร์ติน ลูเธอร์ คิง
-
15:20 - 15:22ในคืนก่อนตาย
-
15:22 - 15:24ได้กล่าวสุนทรพจน์ที่ยอดเยี่ยม
-
15:24 - 15:27ท่านบอกว่า "ผมรู้ดีว่ามีความท้าทายรออยู่เบื้องหน้า
-
15:27 - 15:29อาจมีความเดือดร้อนรออยู่
-
15:29 - 15:31แต่ผมไม่กลัวใคร ผมไม่สนใจ
-
15:31 - 15:34เพราะผมได้ไปถึงยอดเขา
-
15:34 - 15:36และมองเห็นดินแดนที่พระผู้เป็นเจ้าสัญญา"
-
15:36 - 15:38ท่านเป็นนักเทศน์(ของพระเจ้าผู้สรรค์สร้างโลก)
-
15:38 - 15:40แต่ผมเชื่อว่ากลุ่มรณรงค์ด้านสิ่งแวดล้อม
-
15:40 - 15:43และ อันที่จริง รวมถึงภาคธุรกิจ รัฐบาล
-
15:43 - 15:46ต้องไปให้ถึงยอดเขา
-
15:46 - 15:48มองลงมา
-
15:48 - 15:50และต้องมองให้เห็นดินแดนแห่งสัญญา
-
15:50 - 15:52ดินแดนที่อุดมสมบูรณ์
-
15:52 - 15:54และจะต้องมีวิสัยทัศน์
-
15:54 - 15:57ว่าโลกที่เราทุกคนอยากได้เป็นอย่างไร
-
15:57 - 15:59และไม่หยุดแค่นั้น เราต้องสร้าง 'การเปลี่ยนผ่านครั้งใหญ่'
-
15:59 - 16:01เพื่อไปสู่จุดนั้น
-
16:01 - 16:04และเราต้องปูทางที่ว่านี้ด้วยสิ่งดีๆ
-
16:04 - 16:07มนุษย์อยากมีความสุข
-
16:07 - 16:09ปูทางด้วยวิธีการ 5 วิธี
-
16:09 - 16:11และเราต้องมีป้ายบอกทาง
-
16:11 - 16:13รวบรวมคนและชี้ทางให้เห็น
-
16:13 - 16:15ป้ายอย่าง 'ดัชนีโลกมีสุข'
-
16:15 - 16:17และผมก็เชื่อว่า
-
16:17 - 16:19เราสามารถสร้างโลกที่เราทุกคนอยากได้
-
16:19 - 16:22โลกที่ความสุขไม่จำเป็นต้องทำร้ายโลก
-
16:22 - 16:28(เสียงปรบมือ)
- Title:
- นิก มาร์คส์: ดัชนีโลกมีสุข
- Speaker:
- Nic Marks
- Description:
-
นักสถิติ นิก มาร์คส์ ถามว่าทำไมเราถึงวัดความสำเร็จของประเทศด้วยผลิตภาพ แทนที่จะวัดจากความสุขและความอยู่ดีมีสุขของประชาชน เขาแนะนำดัชนีโลกมีสุข ซึ่งประเมินระดับความอยู่ดีมีสุขของแต่ละประเทศ เทียบกับทรัพยากรธรรมชาติที่ใช้ไป (เพราะชีวิตที่มีความสุขไม่จำเป็นจะต้องทำร้ายโลก) ประเทศไหนมีดัชนีโลกมีสุขสูงที่สุด? คุณอาจแปลกใจ
- Video Language:
- English
- Team:
closed TED
- Project:
- TEDTalks
- Duration:
- 16:29