< Return to Video

พีเตอร์ แอทเทีย (Peter Attia): ถ้าเราผิดในเรื่องของโรคเบาหวาน

  • 0:00 - 0:01
    ผมจะไม่ลืมวันนั้นเลย
  • 0:01 - 0:05
    ย้อนหลังไปในฤดูใบไม้ผลิปี 2006
  • 0:05 - 0:07
    ตอนนั้นผมเป็นแพทย์ศัลยกรรมฝึกหัด
  • 0:07 - 0:09
    ที่โรงพยาบาลจอห์นส์ ฮอพกินส์
    (Johns Hopkins)
  • 0:09 - 0:11
    คอยรับคนไข้ฉุกเฉิน
  • 0:11 - 0:14
    ผมถูกเรียกมาที่ห้องฉุกเฉินตอนประมาณตีสอง
  • 0:14 - 0:16
    ให้มาดูหญิงคนหนึ่งที่มีแผลเน่าเปื่อย
    จากโรคเบาหวาน
  • 0:16 - 0:18
    ที่เท้าของเธอ
  • 0:18 - 0:22
    ผมยังคงจำ แบบว่ากลิ่นของเนื้อที่เน่านั้น
  • 0:22 - 0:26
    เมื่อผมดึงม่านออก เพื่อดูเธอ
  • 0:26 - 0:28
    และทุกๆคนที่นั่นก็เห็นพ้องกันว่าหญิงคนนี้ป่วยมาก
  • 0:28 - 0:29
    และเธอจำเป็นต้องอยู่โรงพยาบาล
  • 0:29 - 0:31
    แต่นั่นไม่ใช่สิ่งที่จะต้องถาม
  • 0:31 - 0:33
    คำถามที่ผมจะถามนั้นต่างออกไป
  • 0:33 - 0:37
    ซึ่งก็คือ จำเป็นต้องตัดขาเธอด้วยหรือไม่
  • 0:37 - 0:40
    เมื่อมองย้อนกลับไปในคืนนั้น
  • 0:40 - 0:45
    ผมอยากเหลือเกินที่จะเชื่อว่า
    ผมให้การรักษาผู้หญิงคนนั้น
  • 0:45 - 0:48
    ในคืนนั้น ด้วยความรู้สึกเข้าใจและเห็นใจ
  • 0:48 - 0:52
    เหมือนเช่น ที่ผมได้แสดงต่อหญิงสาวอายุ 27 ปี
    ที่เพิ่งจะแต่งงาน
  • 0:52 - 0:54
    ซึ่งมาที่ห้องฉุกเฉิน เมื่อสามคืนก่อนหน้านั้น
  • 0:54 - 0:56
    ด้วยอาการเจ็บโคนหลัง
  • 0:56 - 1:00
    ซึ่งพบว่ามันเป็นโรคมะเร็งตับอ่อน ที่ลุกลามไปมากแล้ว
  • 1:00 - 1:02
    ในกรณีเธอ ผมรู้ว่าผมไม่สามารถทำอะไรได้เลย
  • 1:02 - 1:04
    จะช่วยชีวิตเธอไว้ได้จริงๆ
  • 1:04 - 1:06
    มะเร็งนั้นได้ลุกลามมากเกินไปแล้ว
  • 1:06 - 1:09
    แต่ผมก็มุ่งมั่นที่จะให้แน่ใจได้ว่า
  • 1:09 - 1:11
    ผมจะทำทุกอย่างที่ทำได้ เพื่อให้เธออยู่รอด
  • 1:11 - 1:14
    อย่างสบายกว่านี้ ผมนำผ้าห่มอุ่นมาให้เธอ
  • 1:14 - 1:16
    และกาแฟหนึ่งถ้วย
  • 1:16 - 1:19
    ผมนำกาแฟมาให้พ่อแม่เธอด้วย
  • 1:19 - 1:22
    แต่ที่สำคัญกว่านะครับ
    ผมไม่ได้ด่วนตัดสินประณามเธอ
  • 1:22 - 1:24
    เพราะว่าเห็นได้ชัดว่า เธอไม่ได้ทำอะไรผิด
  • 1:24 - 1:26
    ที่เอาโรคนี้มาสู่ตัวเธอเอง
  • 1:26 - 1:29
    ดังนั้น ทำไม เพียงแค่สองสามคืนหลังจากนั้น
  • 1:29 - 1:32
    ขณะที่ผมยืนอยู่ในห้องฉุกเฉินเดิม และตัดสินใจ
  • 1:32 - 1:35
    ว่าคนไข้เบาหวานของผม จำเป็นต้องตัดขา
  • 1:35 - 1:39
    ทำไมผมจึงดูถูกดูแคลนเธออย่างขมขื่่นแบบนั้น
  • 1:39 - 1:42
    ไม่เหมือนดั่งเช่นกับผู้หญิงเมื่อคืนก่อนนั้น
  • 1:42 - 1:44
    หญิงคนนี้เป็นโรคเบาหวานชนิดที่ 2
  • 1:44 - 1:46
    เธออ้วน
  • 1:46 - 1:47
    และเราทุกคนรู้ว่า นั่นมาจากการกินมากจนเกินไป
  • 1:47 - 1:50
    และไม่ได้ออกกำลังกายอย่างเพียงพอ ใช่ไหมครับ
  • 1:50 - 1:52
    ผมหมายถึงว่า มันจะยากขนาดไหนกันเชียว
  • 1:52 - 1:55
    เมื่อผมก้มลงมองเธอบนเตียง ผมก็คิดในใจว่า
  • 1:55 - 1:58
    ถ้าคุณแค่พยายามเอาใจใส่ แม้เพียงนิดเดียว
  • 1:58 - 2:01
    คุณก็จะไม่ตกอยู่ในสภาพนี้ ในขณะนี้
  • 2:01 - 2:02
    แพทย์ที่คุณไม่เคยพบเห็นมาก่อน
  • 2:02 - 2:06
    กำลังจะตัดเท้าคุณทิ้ง
  • 2:06 - 2:10
    ทำไมผมจึงรู้สึกว่าถูกต้องแล้ว ที่ตัดสินเธออย่างนั้น
  • 2:10 - 2:13
    ผมอยากจะบอกว่า ผมก็ไม่ทราบ
  • 2:13 - 2:15
    แต่จริงๆแล้ว ผมรู้
  • 2:15 - 2:17
    ด้วยความอวดดีของคนหนุ่ม
  • 2:17 - 2:20
    ผมจึงคิดว่า ผมรู้จักเธอทะลุปรุโปร่ง
  • 2:20 - 2:22
    เธอกินมากเกินไป และเธอก็โชคไม่ดี
  • 2:22 - 2:25
    เธอก็เป็นโรคเบาหวาน จบเรื่อง
  • 2:25 - 2:27
    ถ้าพูดอย่างประชดประชันแล้ว ช่วงเวลานั้น
  • 2:27 - 2:29
    ผมกำลังทำวิจัยโรคมะเร็งอยู่ด้วย
  • 2:29 - 2:31
    เรื่อง การรักษามะเร็งผิวหนัง (melanoma)
    โดยใช้รากฐานภูมิคุ้มกัน
  • 2:31 - 2:35
    และในโลกวิจัยนั้น
    ผมถูกสอนให้ตั้งคำถามกับทุกๆสิ่ง
  • 2:35 - 2:37
    ให้ท้าทายกับสมมติฐานทั้งหมด
  • 2:37 - 2:41
    และรักษามันไว้ ให้ได้มาตรฐานวิทยาศาสตร์
    สูงสุดเท่าที่จะเป็นได้
  • 2:41 - 2:45
    แต่เมื่อมาถึงเรื่องโรค เช่น โรคเบาหวาน
  • 2:45 - 2:48
    ที่ฆ่าคนอเมริกันไปมากกว่ามะเร็งผิวหนังถึงแปดเท่า
  • 2:48 - 2:52
    ผมไม่เคยข้องใจแม้แต่สักครั้งเดียว ในความรู้เดิมๆ
  • 2:52 - 2:55
    แท้จริงแล้ว ผมแค่ทึกทักเอาเอง
    ว่าลำดับพยาธิวิทยาของโรคนั้น [ลำดับอาการ]
  • 2:55 - 2:57
    เป็นศาสตร์ที่คงที่ ไม่เปลี่ยนแปลง
  • 2:57 - 3:01
    สามปีต่อจากนั้น ผมก็พบว่าผมผิดไปมากมายเพียงใด
  • 3:01 - 3:03
    แต่ครั้งนี้ ผมเป็นผู้ป่วยซะเอง
  • 3:03 - 3:07
    แม้จะออกกำลังกายสามหรือสี่ชั่วโมงต่อวัน
  • 3:07 - 3:10
    และแม้จะรับประทานอาหาร
    ตามที่กำหนดไว้ในพีระมิดอาหาร ทุกประการ
  • 3:10 - 3:12
    นํ้าหนักตัวผมก็เพิ่มขึ้น และพัฒนาเป็นบางอย่าง
  • 3:12 - 3:14
    ที่เรียกว่า โรคอ้วนลงพุง (metabolic syndrome)
  • 3:14 - 3:16
    บางท่านอาจจะเคยได้ยินได้ฟังเรื่องนี้มาแล้ว
  • 3:16 - 3:19
    ผมกลายเป็นโรคภาวะดื้อต่ออินซูลิน (insulin-resistant)
  • 3:19 - 3:22
    คุณสามารถคิดถึงอินซูลินได้ว่า เป็นฮอร์โมนตัวสำคัญ
  • 3:22 - 3:26
    ซึ่งควบคุมว่าร่างกายเรา
    จะจัดการกับอาหารที่เรากินเข้าไปอย่างไร
  • 3:26 - 3:28
    ว่าเราจะเผาผลาญมันไป หรือจะเก็บสะสมมันไว้
  • 3:28 - 3:31
    สิ่งนี้ศัพท์เฉพาะเรียกกันว่า การแบ่งสันปันส่วนพลังงาน
    (fuel partitioning)
  • 3:31 - 3:34
    ทีนี้ ความล้มเหลวที่จะผลิตอินซูลินให้ได้เพียงพอ
    นั้นขัดต่อการดำรงชีวิต
  • 3:34 - 3:37
    และ อย่างที่ชื่อของมันบอก ภาวะดื้อต่ออินซูลิน
  • 3:37 - 3:39
    ก็คือ เมื่อเซลล์ของคุณต้านทานมากขึ้นเรื่อยๆ
  • 3:39 - 3:43
    ต่ออิทธิพลของอินซูลิน
  • 3:43 - 3:45
    ทันทีที่คุณเกิดภาวะดื้อต่ออินซูลิน
  • 3:45 - 3:46
    คุณก็กำลังดำเนินไปสู่การเป็นโรคเบาหวาน
  • 3:46 - 3:48
    ซึ่งก็คือ สิ่งที่เกิดขึ้นเมื่อตับอ่อนของคุณ
  • 3:48 - 3:52
    ทำงานไม่ทันกับความต้านทานนั้น
    และสร้างอินซูลินได้ไม่พอเพียง
  • 3:52 - 3:54
    ทีนี้ ระดับนํ้าตาลในเลือดของคุณก็จะเริ่มสูงขึ้น
  • 3:54 - 3:57
    และบรรดาอากัปอาการทั้งหลายก็พรั่งพรูเข้ามา
  • 3:57 - 4:01
    ชนิดที่ว่าหมุนหลุดการควบคุม และนำไปสู่การเกิดโรคหัวใจ
  • 4:01 - 4:04
    มะเร็ง หรือแม้โรคสมองเสื่อม (Alzheimer)
  • 4:04 - 4:09
    และการตัดอวัยวะ เหมือนกับผู้หญิงคนนั้น
    เมื่อสองสามปีก่อน
  • 4:09 - 4:12
    ด้วยความกลัว ผมจึงวุ่นอยู่กับ
    การเปลี่ยนแปลงอาหารที่ผมทานอย่างสุดๆ
  • 4:12 - 4:14
    โดยการเพิ่มและตัด สิ่งที่ถ้าพวกคุณส่วนใหญ่เห็นแล้ว
  • 4:14 - 4:17
    จะแทบช็อกแน่ๆ
  • 4:17 - 4:21
    ผมทำเช่นนั้นและลดนํ้าหนักไป 40 ปอนด์
    น่าแปลกนะครับ ในขณะที่ออกกำลังกายน้อยลง
  • 4:21 - 4:24
    อย่างที่คุณเห็น ผมคิดว่าผมไม่อ้วนแล้ว
  • 4:24 - 4:27
    แต่ที่สำคัญมากกว่านี้ ผมไม่มีอาการภาวะดื้อต่ออินซูลิน
  • 4:27 - 4:29
    แต่ที่สำคัญที่สุดนั้น ผมยังคงถูกทิ้งไว้กับ
  • 4:29 - 4:32
    คำถามสามข้อที่แผดเผาผมอยู่
    แบบไม่มอดดับไปไหน
  • 4:32 - 4:35
    สิ่งนี้เกิดกับผมได้อย่างไร ในเมื่อดูเหมือนว่าผม
  • 4:35 - 4:38
    ได้ทำทุกสิ่งอย่างถูกต้องแล้ว
  • 4:38 - 4:41
    ถ้าความรู้เดิมๆเกี่ยวกับโภชนาการ
    ทำให้ผมผิดพลาด
  • 4:41 - 4:44
    จะเป็นไปได้หรือไม่ ที่มันก็ทำให้คนอื่นผิดพลาดมาเช่นกัน
  • 4:44 - 4:46
    และด้วยพื้นฐานสำคัญที่ซ่อนอยู่ในคำถามเหล่านี้
  • 4:46 - 4:50
    ผมเกือบที่จะหมกมุ่นกับมันอย่างบ้าคลั่ง
  • 4:50 - 4:52
    ในความพยายามที่จะเข้าใจ ความสัมพันธ์ที่แท้จริง
  • 4:52 - 4:56
    ระหว่างโรคอ้วน กับภาวะดื้อต่ออินซูลิน
  • 4:56 - 4:59
    ปัจจุบัน นักวิจัยส่วนมากเชื่่อว่าโรคอ้วน
  • 4:59 - 5:02
    เป็นสาเหตุของภาวะดื้อต่ออินซูลิน
  • 5:02 - 5:04
    โดยตรรกะแล้ว ถ้าคุณต้องการรักษาภาวะดื้อต่ออินซูลิน
  • 5:04 - 5:06
    คุณก็ให้คนลดนํ้าหนัก ใช่หรือไม่ครับ
  • 5:06 - 5:09
    คุณรักษาโรคอ้วน
  • 5:09 - 5:12
    ถ้าเราทำมันย้อนกลับล่ะ
  • 5:12 - 5:15
    แล้วถ้าโรคอ้วน
    ไม่ได้เป็นสาเหตุของภาวะดื้อต่ออินซูลินเลย
  • 5:15 - 5:19
    แต่ที่จริงแล้ว ถ้ามันเป็นอาการหนึ่ง
    ของปัญหาที่อยู่ลึกลงไปมากกว่านั้น
  • 5:19 - 5:22
    เป็นดั่ง แค่ปลายยอดของภูเขานํ้าแข็งล่ะ
  • 5:22 - 5:24
    ผมก็รู้ว่า ฟังดูมันไม่เข้าท่า
    เพราะเป็นที่ชัดเจนว่าเราอยู่ท่ามกลาง
  • 5:24 - 5:28
    การระบาดของโรคอ้วน แต่ฟังผมก่อนนะครับ
  • 5:28 - 5:31
    แล้วถ้าโรคอ้วนเป็นกลไกเพื่อรับมือ
  • 5:31 - 5:34
    กับปัญหาที่ร้ายแรงมากกว่าสิ่งที่กำลังเป็นอยู่
  • 5:34 - 5:36
    ภายในเซลล์นั้นล่ะ
  • 5:36 - 5:38
    ผมไม่ได้แนะว่าโรคอ้วนนั้นไม่เป็นอันตราย
  • 5:38 - 5:41
    แต่สิ่งที่ผมกำลังเสนอแนะอยู่ขณะนี้ก็คือ
    มันอาจจะร้ายแรงน้อยกว่า
  • 5:41 - 5:43
    เมื่อเทียบกับการเผาผลาญอาหารที่ผิดปกตินั้น
  • 5:43 - 5:46
    คุณอาจคิดถึงภาวะดื้อต่ออินซูลินได้ว่า
    เหมือนกับความสามารถที่ลดลง
  • 5:46 - 5:48
    ของตัวเราเองในการแบ่งเชื้อพลังงาน
  • 5:48 - 5:51
    ตามที่ได้พูดเป็นนัยไว้แล้วเมื่อครู่นี้
  • 5:51 - 5:52
    เอาพลังงานจากที่เรารับประทานเข้าไป
  • 5:52 - 5:56
    เผาผลาญไปบ้างอย่างพอเหมาะ
    และเก็บเอาไว้บ้างอย่างพอเหมาะ
  • 5:56 - 5:58
    แต่เมื่อเราเป็นโรคภาวะดื้อต่ออินซูลิน
  • 5:58 - 6:01
    ความสมดุลย์ในร่างกายเบี่ยงเบนไปจากภาวะธำรงดุลย์
    (homeostasis)
  • 6:01 - 6:03
    ดังนั้น เมื่ออินซูลินบอกกับเซลล์ว่า
  • 6:03 - 6:05
    ฉันต้องการให้คุณเผาผลาญพลังงานให้มากขึ้น
  • 6:05 - 6:08
    มากกว่าที่เซลล์นั้นพิจารณาว่าปลอดภัย
    เซลล์ตัวนั้นก็ต้องบอกว่า
  • 6:08 - 6:12
    "ไม่ได้ครับ จริงๆผมควรจะสะสมพลังงานนี้ไว้มากกว่า"
  • 6:12 - 6:14
    และเพราะว่า จริงๆแล้วเซลล์ไขมัน (fat cell) จะขาด
  • 6:14 - 6:17
    กลไกเซลล์ที่ซับซ้อนส่วนใหญ่ที่พบได้ในเซลล์อื่นๆ
  • 6:17 - 6:19
    มันจึงน่าจะเป็นที่ที่ปลอดภัยที่สุด ที่จะเก็บสะสมพลังงานไว้
  • 6:19 - 6:24
    ดังนั้น สำหรับพวกเราจำนวนมาก
    คนอเมริกันประมาณ 75 ล้านคน
  • 6:24 - 6:28
    การตอบรับที่เหมาะสม ต่อภาวะดื้อต่ออินซูลิน
  • 6:28 - 6:33
    ที่่จริงแล้ว อาจเป็นการเก็บสะสมพลังงานไว้
    ในรูปไขมัน ไม่ใช่ในทางกลับกัน
  • 6:33 - 6:38
    กล่าวคือ การเป็นโรคภาวะดื้อต่ออินซูลิน
    เพื่อตอบสนองต่ออาการอ้วนขึ้น
  • 6:38 - 6:40
    สิ่งนี้เป็น ที่จริงแล้วไม่ได้ชัดเจนนัก
  • 6:40 - 6:44
    แต่ผลจากมันอาจเป็นอะไรที่ลึกซึ้ง
  • 6:44 - 6:46
    ลองพิจารณาการเปรียบเทียบต่อไปนี้ดู
  • 6:46 - 6:49
    คิดถึงรอยฟกชํ้าที่หน้าแข้งของคุณ
  • 6:49 - 6:53
    เมื่อคุณเลินเล่อเอาขาไปกระแทกกับโต๊ะกาแฟ
  • 6:53 - 6:56
    แน่นอน รอยฟกชํ้านั้นเจ็บปวดนัก
    และค่อนข้างจะแน่ใจได้ว่า
  • 6:56 - 6:59
    คุณคงไม่ชอบสีที่เปลี่ยนไปนั้น แต่เราทุกคนรู้ว่า
  • 6:59 - 7:02
    รอยฟกชํ้าโดยตัวของมันเองแล้ว ไม่ใช่ปัญหา
  • 7:02 - 7:06
    ความจริง มันตรงกันข้าม
    มันเป็นการตอบรับที่ดีต่ออาการบาดเจ็บ
  • 7:06 - 7:09
    เซลล์ภูมิคุ้มกันทั้งหลายนั้น
    รีบเร่งไปยังที่ที่ได้รับบาดเจ็บ
  • 7:09 - 7:12
    เพื่อกอบกู้เศษชิ้นส่วนของเซลล์
    และป้องกันการแพร่กระจาย
  • 7:12 - 7:14
    ของการอักเสบไปยังส่วนอื่นของร่างกาย
  • 7:14 - 7:18
    เอาละ ลองจินตนาการดูว่า
    ถ้าเราคิดว่ารอยฟกชํ้าเป็นปัญหา
  • 7:18 - 7:21
    และเราได้พัฒนาสถาบันทางการแพทย์ที่ยิ่งใหญ่
  • 7:21 - 7:24
    และแนวปฏิบัติเกี่ยวกับการรักษาโรคฟกชํ้า ซึ่งได้แก่
  • 7:24 - 7:27
    การพอกด้วยครีม ทานยาแก้ปวด และอื่นๆ
  • 7:27 - 7:30
    ในขณะที่ไม่สนใจกับข้อเท็จจริงที่ว่า ผู้คนนั้น
  • 7:30 - 7:33
    ก็ยังคงเอาหน้าแข้งไปกระแทกกับโต๊ะกาแฟ
    อยู่เหมือนเดิม
  • 7:33 - 7:36
    มันดีกว่าเพียงใด ถ้าเรารักษาที่ต้นเหตุ--
  • 7:36 - 7:38
    ด้วยการบอกผู้คนให้เอาใจใส่
  • 7:38 - 7:40
    เมื่อพวกเขาเดินอยู่ในห้องนั่งเล่น--
  • 7:40 - 7:43
    มากกว่าจะสนใจแผลฟกช้ำที่เกิดนั้น
  • 7:43 - 7:45
    การได้มาซึ่งสาเหตุและผลที่ถูกต้อง
  • 7:45 - 7:47
    ทำให้เกิดความแตกต่างขึ้นในโลกนี้
  • 7:47 - 7:50
    ถ้ามันไม่ถูกต้อง อุตสาหกรรมยา
  • 7:50 - 7:53
    ก็ยังคงทำกำไรได้เป็นกอบเป็นกำให้กับผู้ถือหุ้นในบริษัท
  • 7:53 - 7:57
    แต่สำหรับคนที่หน้าแข้งฟกชํ้าแล้ว มันไม่มีอะไรดีขึ้นเลย
  • 7:57 - 8:00
    เหตุและผล
  • 8:00 - 8:02
    ดังนั้นสิ่งที่ผมกำลังจะแนะก็คือ
  • 8:02 - 8:04
    มันอาจเป็นไปได้ว่า เราได้มาซึ่งเหตุและผลที่ไม่ถูกต้อง
  • 8:04 - 8:07
    ในเรื่องโรคอ้วนและโรคภาวะดื้อต่ออินซูลิน
  • 8:07 - 8:09
    บางที่ เราควรจะถามตัวเองว่า
  • 8:09 - 8:13
    เป็นไปได้หรือไม่ที่ ภาวะดื้อต่ออินซูลิน
    ทำให้เกิดนํ้าหนักตัวเพิ่มขึ้น
  • 8:13 - 8:15
    และทำให้เกิดโรคที่เกี่ยวข้องกับโรคอ้วน
  • 8:15 - 8:16
    อย่างน้อยที่สุดก็กับผู้คนส่วนมาก
  • 8:16 - 8:19
    ถ้าหากการเป็นโรคอ้วนนั้น
    เป็นเพียงการเผาผลาญในร่างกายที่ตอบรับ
  • 8:19 - 8:22
    ต่อบางสิ่งบางอย่างที่มีผลคุกคามกว่านั้นมาก
  • 8:22 - 8:24
    โรคระบาดที่ซ่อนอยู่
  • 8:24 - 8:26
    ที่เราควรจะปริวิตกกับมัน
  • 8:26 - 8:28
    เราลองมาดูข้อเท็จจริงเชิงเสนอแนะบางข้อ
  • 8:28 - 8:30
    เราทราบว่า ในสหรัฐอเมริกา
  • 8:30 - 8:33
    คนอเมริกัน30 ล้านคนที่อ้วน ไม่ได้เป็นโรคภาวะดื้อต่ออินซูลิน
  • 8:33 - 8:35
    และอีกอย่าง พวกเขานั้น ดูเหมือนจะไม่ได้มี
  • 8:35 - 8:38
    ความเสี่ยงต่อโรคอะไรไปมากกว่าคนที่ผอมเลย
  • 8:38 - 8:41
    ในทางกลับกัน เราทราบว่าคนผอมหกล้านคน
  • 8:41 - 8:45
    ในสหรัฐอเมริกา เป็นโรคภาวะดื้อต่ออินซูลิน
  • 8:45 - 8:48
    และ พวกเขาดูเหมือนจะมีความเสี่ยง
  • 8:48 - 8:50
    กับโรคเกี่ยวกับการเผาผลาญพวกนั้น
    ที่ผมได้กล่าวถึงเมื่อสักครู่นี้
  • 8:50 - 8:52
    ยิ่งกว่าเพื่อนๆที่อ้วนของเขาเสียอีก
  • 8:52 - 8:54
    ขณะนี้ ผมไม่ทราบว่าเป็นเพราะอะไร แต่อาจเป็นเพราะว่า
  • 8:54 - 8:57
    ในกรณีของเขาเหล่านั้น เซลล์ของเขา จริงๆมิอาจรู้
  • 8:57 - 9:00
    ว่าจะปฎิบัติให้ถูกต้องอย่างไรกับพลังงานที่มากเกินไปนั้น
  • 9:00 - 9:03
    ดังนั้น ถ้าคุณอ้วน
    โดยไม่เป็นโรคภาวะดื้อต่ออินซูลิน
  • 9:03 - 9:05
    และคุณผอมแต่เป็นโรคนั้น
  • 9:05 - 9:09
    สิ่งนี้ชี้ให้เห็นว่า โรคอ้วนอาจจะเป็นแค่เพียงตัวแทน
    ที่ทำให้เห็น
  • 9:09 - 9:12
    ว่าอะไรกำลังเกิดขึ้นอยู่
  • 9:12 - 9:15
    ดังนั้น เป็นไปได้ไหมที่เรากำลังทำสงครามผิดเป้าหมาย
  • 9:15 - 9:19
    ต่อสู้โรมรันกับโรคอ้วน
    แทนที่จะไปต่อสู้กับภาวะดื้อต่ออินซูลิน
  • 9:19 - 9:22
    ที่แย่ไปกว่านั้น
    ถ้าการกล่าวโทษความอ้วน
  • 9:22 - 9:25
    คือการที่เรากำลังกล่าวโทษเหยื่อที่เป็นโรคนั้นล่ะ
  • 9:25 - 9:28
    ถ้าแนวคิดพื้นฐานของเราเรื่องโรคอ้วนนั้น
  • 9:28 - 9:30
    มันเป็นเพียงความผิดพลาดล่ะ
  • 9:30 - 9:34
    โดยส่วนตัวแล้ว ผมไม่สามารถ
    ที่จะมีความหยิ่งยะโสอย่างสุดโต่งได้อีกต่อไปแล้ว
  • 9:34 - 9:37
    อย่าว่าแต่ความความแน่ใจอันสุดโต่งเลย
  • 9:37 - 9:40
    ผมมีแนวคิดของตัวเอง เกี่ยวกับสิ่งที่อาจเป็น
    หัวใจสำคัญของเรื่องนี้
  • 9:40 - 9:42
    แต่ผมก็เปิดกว้างต่อความคิดอื่นๆด้วย
  • 9:42 - 9:44
    เพราะว่าทุกๆคนถามผมอยู่เสมอ
    สมมติฐานของผม
  • 9:44 - 9:46
    ก็คือ
  • 9:46 - 9:49
    ถ้าคุณถามตัวเองว่า เซลล์พยายามจะปกป้องตัวมันเองจากอะไร
  • 9:49 - 9:51
    เมื่อมันเป็นโรคภาวะดื้อต่ออินซูลิน
  • 9:51 - 9:54
    คำตอบไม่น่าจะเป็น อาหารที่มากเกินไป
  • 9:54 - 9:57
    น่าจะเป็น กลูโคสที่มากเกินไป เช่น นํ้าตาลในเลือด
  • 9:57 - 9:59
    ทีนี้ เราทราบว่าข้าวที่สีจนขาว และแป้ง
  • 9:59 - 10:02
    ทำให้นํ้าตาลในเลือดสูงขึ้นในเวลาสั้นๆ
  • 10:02 - 10:03
    และมีเหตุผลที่จะเชื่อได้เสียด้วยว่า นํ้าตาล
  • 10:03 - 10:06
    อาจจะนำไปสู่ภาวะดื้อต่ออินซูลินโดยตรง
  • 10:06 - 10:10
    ดังนั้น ถ้าให้กระบวนการสรีรวิทยาพวกนี้ทำหน้าที่
  • 10:10 - 10:14
    ผมก็จะตั้งสมมติฐานว่า อาจเป็นการบริโภคที่เพิ่มขึ้น
  • 10:14 - 10:17
    ในอาหารจำพวก เมล็ดพืชที่ขัดจนขาว นํ้าตาลและแป้ง
    ที่ผลักดันให้เกิด
  • 10:17 - 10:21
    การระบาดของโรคอ้วน และโรคเบาหวาน
  • 10:21 - 10:23
    แต่โดยผ่านทางภาวะดื้อต่ออินซูลิน
  • 10:23 - 10:27
    ครับ และไม่จำเป็นต้อง แค่โดยการกินมากเกินไป
    และออกกำลังกายน้อยเกินไป
  • 10:27 - 10:30
    ตอนที่ผมนํ้าหนักลดลงไป 40 ปอนด์
    เมื่อสองสามปีก่อนนั้น
  • 10:30 - 10:32
    ผมทำเพียงแค่จำกัดสิ่งเหล่านั้น
  • 10:32 - 10:36
    ซึ่งเป็นนัยให้ยอมรับว่า ผมมีอคติ
  • 10:36 - 10:38
    จากพื้นฐานประสบการณ์ส่วนตัวของผม
  • 10:38 - 10:41
    แต่นั่นไม่ได้หมายความว่า อคติของผมนั้นผิด
  • 10:41 - 10:45
    และที่สำคัญที่สุด ทุกอย่างนี้สามารถทดสอบได้
    ทางวิทยาศาสตร์
  • 10:45 - 10:48
    แต่ขั้นแรกคือ การยอมรับความเป็นไปได้
  • 10:48 - 10:50
    ว่าความเชื่อในปัจจุบันของเราเรื่องโรคอ้วน
  • 10:50 - 10:53
    โรคเบาหวาน และภาวะดื้อต่ออินซูลิน อาจจะผิดก็ได้
  • 10:53 - 10:56
    ด้วยเหตุนี้ จึงต้องมีการทดสอบ
  • 10:56 - 10:58
    ผมขอเอาอาชีพของผมเป็นเดิมพัน
  • 10:58 - 11:03
    ทุกวันนี้ ผมอุทิศเวลาทั้งหมดของผม
    ในการทำงานแก้ปัญหานี้
  • 11:03 - 11:06
    และผมจะย่างไม่ว่าที่ใดก็ตามที่วิทยาศาสตร์พาผมไป
  • 11:06 - 11:09
    ผมได้ตัดสินใจแล้วว่า สิ่งที่ผมทำไม่ได้
    และจะไม่ทำอีกต่อไปนั้น
  • 11:09 - 11:12
    คือ แสร้งทำเป็นว่าผมมีคำตอบ
    ในขณะที่ผมไม่มี
  • 11:12 - 11:16
    ผมได้ถูกทำให้อ่อนน้อมถ่อมตัวเพียงพอแล้ว
    โดยทุกๆคนที่ผมไม่รู้จัก
  • 11:16 - 11:19
    ในปีที่แล้ว ผมโชคดีเพียงพอ
  • 11:19 - 11:22
    ที่ได้ทำงานแก้ปัญหานี้ กับกลุ่มวิจัยที่น่าทึ่งที่สุดในประเทศ
  • 11:22 - 11:25
    เรื่องโรคเบาหวานและโรคอ้วน
  • 11:25 - 11:27
    และส่วนที่ดีที่สุดก็คือ
  • 11:27 - 11:31
    เหมือนกับอับราฮัม ลินคอล์น
    ที่ล้อมรอบตัวเองด้วยทีมคู่แข่ง
  • 11:31 - 11:32
    เราก็ได้ทำสิ่งเดียวกันนั้น
  • 11:32 - 11:35
    เรารับกลุ่มคู่แข่งทางวิทยาศาสตร์ เข้ามาทำงาน
  • 11:35 - 11:39
    คนที่ดีที่สุดและฉลาดที่สุด
    ซึ่งทั้งหมดมีสมมติฐานที่แตกต่างกัน
  • 11:39 - 11:40
    ต่อเรื่องที่เป็นหัวใจสำคัญของโรคระบาดนี้
  • 11:40 - 11:43
    บางคนคิดว่า มันเป็นการบริโภคแคลอรี่มากเกินไป
  • 11:43 - 11:45
    คนอื่นๆคิดว่า มันเป็นไขมันในอาหารที่มากเกินไป
  • 11:45 - 11:49
    คนอื่นๆคิดว่า เป็นเมล็ดพืชที่ขัดจนขาวและแป้งที่มากเกินไป
  • 11:49 - 11:51
    แต่กลุ่มที่มาจากหลากหลายสาขาวิชา
  • 11:51 - 11:54
    นักวิจัยที่ช่างสงสัย
    และมีพรสวรรค์มากเหลือเกินนี้
  • 11:54 - 11:57
    เห็นตรงกันได้ในสองเรื่อง
  • 11:57 - 12:00
    ประการแรก ปัญหานี้สำคัญเกินกว่า
  • 12:00 - 12:03
    จะเพิกเฉยต่อไปอีก เพราะว่าเราคิดว่าเรารู้คำตอบแล้ว
  • 12:03 - 12:06
    ประการที่สอง ถ้าเราเต็มใจยอมรับว่ามันผิด
  • 12:06 - 12:08
    ถ้าเราเต็มใจที่จะท้าทายความรู้แบบเดิมๆนั้น
  • 12:08 - 12:11
    ด้วยการทดลองที่ดีที่สุด ที่วิทยาศาตร์นั้นจะมีให้
  • 12:11 - 12:14
    เราก็จะสามารถแก้ปัญหานี้ได้
  • 12:14 - 12:17
    ผมทราบว่า มันเย้ายวนใจที่เอาคำตอบในตอนนี้
  • 12:17 - 12:21
    ในรูปแบบของการปฏิบัติหรือนโยบาย
    คำสั่งควบคุมอาหารจากแพทย์ บางอย่าง เช่น
  • 12:21 - 12:23
    กินนี่สิ นั่นกินไม่ได้
  • 12:23 - 12:25
    แต่ถ้าเราต้องการที่จะได้คำตอบที่ถูกต้อง
  • 12:25 - 12:27
    เราจะต้องทำงานวิทยาศาสตร์ที่เคร่งครัดยิ่งกว่านี้มาก
  • 12:27 - 12:30
    ก่อนที่เราจะสามารถเขียนใบสั่งยาได้
  • 12:30 - 12:32
    โดนสรุป เพื่อจัดการปัญหานี้ โครงการวิจัยของเรา
  • 12:32 - 12:35
    จึงเน้นไปยังแนวคิดหลัก หรือคำถามสามข้อ
  • 12:35 - 12:38
    ข้อแรก อาหารต่างๆที่เราบริโภคเข้าไป
  • 12:38 - 12:41
    ส่งผลกระทบต่อการเผาผลาญ ฮอร์โมนและเอ็นไซม์ อย่างไร
  • 12:41 - 12:44
    และผ่านทางกลไกระดับโมเลกุลแตกต่างกันอย่างไรบ้าง
  • 12:44 - 12:46
    ข้อสอง จากพื้นฐานความเข้าใจอย่างถ่องแท้เหล่านี้
  • 12:46 - 12:49
    ผู้คนจะสามารถทำการเปลี่ยนแปลงที่สำคัญ
    ในเรื่องอาหารที่รับประทาน
  • 12:49 - 12:53
    ในวิธีการที่ปลอดภัยและนำไปปฏิบัติได้จริงหรือไม่
  • 12:53 - 12:56
    และข้อสุดท้าย ทันทีที่เราระบุได้ว่า
    อะไรที่ปลอดภัย
  • 12:56 - 12:59
    และสามารถนำไปใช้
    ในการควบคุมอาหารของตนได้แล้ว
  • 12:59 - 13:03
    เราจะทำอย่างไรจึงจะเปลี่ยนพฤติกรรมของพวกเขา
    ให้ไปในทิศทางนั้นได้
  • 13:03 - 13:05
    เพื่อที่มันจะได้เป็นมาตราฐาน
  • 13:05 - 13:07
    มากกว่าที่จะเป็นข้อยกเว้น
  • 13:07 - 13:09
    เพียงแค่เพราะว่าคุณรู้ว่าจะทำอะไร
    ไม่ได้หมายความว่า
  • 13:09 - 13:11
    คุณจะทำสิ่งนั้นอยู่เสมอๆ
  • 13:11 - 13:13
    บางครั้งเราต้องเอาสิ่งกระตุ้นทั้งหลายไว้รอบๆผู้คน
  • 13:13 - 13:15
    เพื่อให้ง่ายขึ้น และเชื่่อหรือไม่ครับ
  • 13:15 - 13:19
    ว่าสิ่งนั้นสามารถศึกษาได้ในเชิงวิทยาศาสตร์
  • 13:19 - 13:21
    ผมไม่รู้ว่า การเดินทางครั้งนี้จะสิ้นสุดลงอย่างไร
  • 13:21 - 13:26
    แต่สิ่งนี้ อย่างน้อยที่สุดก็
    ดูจะชัดเจนอย่างมากสำหรับผม
  • 13:26 - 13:31
    เราจะกล่าวโทษคนไข้ของเรา ที่อ้วนเกินไป
    และเป็นเบาหวานไม่ได้อีกต่อไป
  • 13:31 - 13:33
    เหมือนที่ผมเคยทำมาแล้ว
  • 13:33 - 13:36
    จริงๆแล้ว พวกเขาส่วนมากต้องการทำในสิ่งที่ถูกต้อง
  • 13:36 - 13:39
    แต่พวกเขาต้องรู้ว่า สิ่งนั้นคืออะไร
  • 13:39 - 13:42
    และมันจะต้องใช้ได้ผล
  • 13:42 - 13:47
    ผมฝันว่า สักวันหนึ่งเมื่อคนไข้ของเราสามารถ
  • 13:47 - 13:49
    สลัดนํ้าหนักที่มากเกินไปของเขาทิ้งไป
  • 13:49 - 13:51
    และรักษาตัวเองจากภาวะดื้อต่ออินซูลินได้
  • 13:51 - 13:54
    เพราะว่า ในฐานะที่เป็นผู้ประกอบวิชาชีพทางการแพทย์
  • 13:54 - 13:56
    เราได้สลัดความเชื่อและทัศนคติในอดึต
    ที่มากเกินของเราทิ้งไปแล้ว
  • 13:56 - 13:59
    และรักษาตัวเราเองจากการต่อต้านความคิดใหม่ๆ
    ได้อย่างพอเพียงแล้ว
  • 13:59 - 14:03
    เพื่อที่จะกลับไปยังอุดมการณ์ดั้งเดิมของเรา ซึ่งก็คือ
  • 14:03 - 14:07
    ใจที่เปิดกว้าง มีความกล้าที่จะโยนทิ้งความคิดเก่าๆ
    ของวันวานไปเสีย
  • 14:07 - 14:10
    เมื่อสิ่งเหล่านั้นดูจะใช้การไม่ได้แล้ว
  • 14:10 - 14:13
    และความเข้าใจที่ว่าความถูกต้องทางวิทยาศาสตร์นั้น
    ไม่ได้เป็นจุดสิ้นสุด
  • 14:13 - 14:16
    แต่มันค่อยๆเปลี่ยนไปตลอดเวลา
  • 14:16 - 14:19
    การคงไว้ซึ่งความเชื่อมั่นในแนวทางนี้
    จะเป็นประโยชน์กว่าต่อคนไข้ของเรา
  • 14:19 - 14:23
    และต่อวิทยาศาสตร์
  • 14:23 - 14:26
    ถ้าโรคอ้วนไม่ใช่อะไรที่มากไปกว่า เป็นตัวแทนของอาการ
  • 14:26 - 14:28
    เจ็บป่วยเกี่ยวกับการเผาผลาญของร่างกาย
  • 14:28 - 14:33
    มันจะดีอย่างไร ที่จะไปลงโทษ
    คนที่มีอาการนั้น
  • 14:33 - 14:37
    บางครั้ง ผมก็คิดย้อนกลับไปในคืนนั้น ในห้องฉุกเฉิน
  • 14:37 - 14:40
    เมื่อเจ็ดปีที่แล้ว
  • 14:40 - 14:43
    ผมหวังว่าจะได้พูดกับผู้หญิงคนนั้นอีก
  • 14:43 - 14:47
    ผมอยากจะบอกเธอให้รู้ว่า ผมเสียใจเพียงใด
  • 14:47 - 14:50
    ในฐานะที่เป็นแพทย์ ผมอยากจะพูดว่า ผมได้ให้
  • 14:50 - 14:53
    การรักษาในสถานพยาบาลอย่างดีที่สุด
    เท่าที่ผมจะทำได้
  • 14:53 - 14:57
    แต่ในฐานะที่เป็นมนุษย์
  • 14:57 - 14:59
    ผมทำให้คุณผิดหวัง
  • 14:59 - 15:04
    คุณไม่ต้องการการตัดสิน และการดูแคลนจากผม
  • 15:04 - 15:08
    คุณต้องการความเข้าใจ และความเห็นอกเห็นใจจากผม
  • 15:08 - 15:10
    และเหนือสิ่งอื่นใด คุณต้องการแพทย์
  • 15:10 - 15:13
    ที่เต็มใจที่จะพิจารณาว่า
  • 15:13 - 15:16
    บางทีคุณไม่ได้ทำให้ระบบนั้นผิดหวัง
  • 15:16 - 15:19
    บางทีระบบนั้น ซึ่งผมเป็นส่วนหนึ่ง
  • 15:19 - 15:22
    ทำให้คุณผิดหวัง
  • 15:22 - 15:24
    ถ้าคุณกำลังดูอยู่ในขณะนี้
  • 15:24 - 15:29
    ผมหวังว่าคุณจะยกโทษให้ผมนะครับ
  • 15:29 - 15:33
    (เสียงปรบมือ)
Title:
พีเตอร์ แอทเทีย (Peter Attia): ถ้าเราผิดในเรื่องของโรคเบาหวาน
Speaker:
Peter Attia
Description:

ในฐานะแพทย์ผ่าตัดหนุ่ม พีเตอร์ แอทเทีย รู้สึกดูถูกคนไข้ที่เป็นโรคเบาหวานคนหนึ่ง เขาคิดว่า เธอนํ้าหนักตัวมากเกินไป ดังนั้นจึงต้องรับผิดชอบกับความเป็นจริงที่ว่า เธอต้องถูกตัดเท้าทิ้ง แต่หลายปีหลังจากนั้น แอทเทียได้รับเรื่องแปลกใจทางการแพทย์ที่ไม่น่าสบายใจ ซึ่งได้นำเขาไปสู่ความฉงนสงสัยว่า
ความเข้าใจเรื่องโรคเบาหวานของเรานั้นถูกต้องแล้วหรือ
ลางบอกสาเหตุของโรคเบาหวานคือโรคอ้วนใช่หรือ และไม่ใช่ในทางกลับกันหรือ
มาดูกันว่า สมมติฐานที่มีอยู่อาจจะนำเราไปสู่การทำสงครามทางการแพทย์ที่ผิดๆได้อย่างไร

more » « less
Video Language:
English
Team:
closed TED
Project:
TEDTalks
Duration:
15:58
  • Thanks for your translation ka. I love it lots, especially the tone ka :)
    I have made few changes, basically cut it down to make it simple, correct some word functions and order, and some that I know the specific technical terms (such as fat cell = เซลล์ไขมัน ka). Let me know what do you think na ka. It's good work ka. I hope you don't mind my change na ka :)

    Best :)

Thai subtitles

Revisions

  • Revision 26 Edited (legacy editor)
    Kelwalin Dhanasarnsombut