< Return to Video

คีส โมไลเคอร์ (Kees Moeliker): เป็ดที่ตายแล้วเปลี่ยนชีวิตผมไปอย่างไร

  • 0:00 - 0:04
    นี่คือพิพิธภัณฑ์ธรรมชาติวิทยา
    ในเมืองรอตเทอร์ดาม (Rotterdam) นะครับ
  • 0:04 - 0:06
    ที่ที่ผมทำงานเป็นเจ้าหน้าที่ภัณฑารักษ์
  • 0:06 - 0:09
    มันเป็นหน้าที่ของผม ที่จะทำให้แน่ใจว่า
    สิ่งของในพิพิธภัณฑ์ อยู่ในสภาพที่สมบูรณ์
  • 0:09 - 0:11
    และมีจำนวนเพิ่มขึ้น
  • 0:11 - 0:17
    หลักๆ เลยก็คือ ผมเก็บซากสัตว์ที่ตายแล้ว
  • 0:17 - 0:19
    ย้อนไปในปี 1995
  • 0:19 - 0:23
    เรามีตึกใหม่ทางด้านซ้ายของพิพิธภัณฑ์
  • 0:23 - 0:26
    มันสร้างมาจากกระจก
  • 0:26 - 0:31
    และไอ้ตึกนี้มันก็ช่วยให้ผมทำงานได้ดีเลยทีเดียว
  • 0:31 - 0:35
    ตึกนี้เป็นนักฆ่านกชั้นดีเลย
  • 0:35 - 0:38
    คุณอาจจะรู้ว่า นกไม่เข้าใจแนวคิด
  • 0:38 - 0:41
    เรื่องกระจก พวกนกมันมองไม่เห็น
  • 0:41 - 0:45
    ฉะนั้นมันจึงบินไปชนกระจกและตาย
  • 0:45 - 0:47
    มีสิ่งเดียวที่ผมทำก็คือ ออกไปข้างนอกตึก
  • 0:47 - 0:51
    เก็บซากพวกมัน และนำไปสตัฟฟ์
    สำหรับการโชว์ในพิพิธภัณฑ์
  • 0:51 - 0:54
    (เสียงหัวเราะ)
  • 0:54 - 0:56
    และในตอนนั้น
  • 0:56 - 0:59
    ผมได้พัฒนาหูของผม ให้สามารถจำแนกชนิดนก
  • 0:59 - 1:05
    เพียงแค่ฟังเสียงที่ชนกับกระจก
  • 1:05 - 1:09
    และในวันที่ 5 มิถุนายน 1995
  • 1:09 - 1:13
    วันที่ผมได้ยินเสียงชนกับกระจกอย่างดัง
  • 1:13 - 1:17
    ที่ทำให้ชีวิตผมเปลี่ยนไป
    แต่ชีวิตเป็ดตัวหนึ่งก็ต้องจบลงด้วย
  • 1:17 - 1:23
    และนี่คือสิ่งที่ผมได้เห็น เมื่อมองออกไปนอกกระจก
  • 1:23 - 1:26
    นี่คือเป็ดที่ตายแล้ว มันบินชนกับกระจก
  • 1:26 - 1:28
    และตายหน้าคว่ำ
  • 1:28 - 1:31
    แต่ข้างๆ มันเป็นเป็ดที่ยังมีชีวิตยู่
  • 1:31 - 1:33
    และลองมองดีๆนะครับ
  • 1:33 - 1:37
    เป็ดทั้งสองตัว เป็นตัวผู้
  • 1:38 - 1:41
    และนี่ก็คือสิ่งที่เกิดขึ้น
  • 1:41 - 1:44
    เป็ดที่ยังมีชีวิตอยู่ ขึ้นคร่อมบนเป็ดที่ตายแล้ว
  • 1:44 - 1:46
    และพยายามที่จะมีเพศสัมพันธ์ด้วย
  • 1:46 - 1:49
    แน่นอน ผมเป็นนักชีววิทยา เป็นนักปักษีวิทยา
  • 1:49 - 1:52
    ผมก็เลยพูดขึ้นว่า "มีอะไรบางอย่างทะแม่งๆแถวนี้แน่ๆ"
  • 1:52 - 1:58
    ตัวหนึ่งตายแล้ว ตัวหนึ่งยังเป็น
    มันต้องเป็นพวก ชอบร่วมเพศกับซากศพแน่ๆ
  • 1:58 - 2:01
    ผมพิจารณาดูแล้ว เป็ดทั้งสองเป็นตัวผู้
  • 2:01 - 2:05
    มันเป็นพวกรักร่วมเพศเดียวกัน แถมรักกับซากศพอีก
  • 2:05 - 2:10
    ดังนั้นผม.. (เสียงหัวเราะ)
  • 2:10 - 2:13
    ผมจึงเอากล้องถ่ายรูปผมมา เอาสมุดจดของผมมา
  • 2:13 - 2:19
    เอาเก้าอี้มา และเริ่มสังเกตการณ์พฤติกรรมนี้
  • 2:19 - 2:24
    หลังจากผ่านไป 75 นาที (เสียงหัวเราะ)
  • 2:24 - 2:29
    ผมเห็นมามากพอแล้วและก็รู้สึกหิวแล้วด้วย
  • 2:29 - 2:32
    และอยากกลับบ้านใจจะขาด
  • 2:32 - 2:35
    ผมก็เลยกลับแล้วก็เก็บซากเป็ดมาด้วย
  • 2:35 - 2:37
    และก่อนที่ผมจะเก็บมันไว้ในช่องแช่แข็ง
  • 2:37 - 2:42
    ผมก็ตรวจดูว่ามันเป็นตัวผู้จริงๆไหม
  • 2:42 - 2:46
    และนี่ก็คือรูปภาพหายาก ขององคชาตของเป็ด
  • 2:46 - 2:49
    ดังนั้นมันจึงเป็นตัวผู้แน่นอน
  • 2:49 - 2:52
    นี่คือรูปหายากเพราะนกมีเป็นหมื่นๆสปีชีส์
  • 2:52 - 2:57
    และมีแค่สามร้อยกว่าสปีชีส์เท่านั้น
    ที่เรามีรูปขององคชาตของมัน
  • 2:57 - 2:59
    [ตัวอย่างแรกของการรักร่วมเพศเดียวกันกับซากศพในนกเป็ดน้ำ]
  • 2:59 - 3:03
    ผมรู้ว่าผมได้เห็นบางอย่างที่พิเศษมากๆ
  • 3:03 - 3:09
    แต่มันทำให้ผมต้องใช้เวลาถึง 6 ปีในการตัดสินใจตีพิมพ์บทความนี้
  • 3:09 - 3:11
    (เสียงหัวเราะ)
  • 3:11 - 3:15
    ผมว่ามันเป็นหัวข้อที่แจ่มเลยนะสำหรับไว้คุยในงานวันเกิด
  • 3:15 - 3:17
    หรือที่เครื่องกดกาแฟ
  • 3:17 - 3:20
    แต่ถ้าเอาไปคุยกับเพื่อนๆ ในที่ทำงาน มันอีกเรื่องเลยนะ
  • 3:20 - 3:22
    ผมไม่มีโครงร่างจริงๆจังๆสำหรับเรื่องนี้
  • 3:22 - 3:25
    ดังนั้น 6 ปีต่อมาเพื่อนและเพื่อนร่วมงาน
    ก็ได้กระตุ้นให้ผมตีพิมพ์บทความนี้ออกมา
  • 3:25 - 3:28
    ดังนั้นผมจึงตีพิมพ์บทความเรื่อง
    "ตัวอย่างแรก ของการรักร่วมเพศเดียวกันกับซากศพ
  • 3:28 - 3:30
    ในนกเป็ดน้ำ"
  • 3:30 - 3:32
    สถานการณ์มันก็เป็นอย่างนี้นะครับ
  • 3:32 - 3:35
    เอ คือออฟฟิศของผม
  • 3:35 - 3:37
    บี คือจุดที่นกชนกับกระจก
  • 3:37 - 3:40
    และซี คือจุดที่่ผมมองมัน
  • 3:40 - 3:43
    กลับมาที่เป็ดตัวนี้อีกครั้งนะครับ
  • 3:43 - 3:45
    อย่างที่คุณรู้อยู่แล้วนะครับ ในวงการวิทยาศาสตร์
  • 3:45 - 3:47
    เมื่อคุณเขียนบทความพิเศษๆ
  • 3:47 - 3:50
    มีแค่ 6-7 คนเท่านั้นแหละที่อ่านมัน
  • 3:50 - 3:55
    (เสียงหัวเราะ)
  • 3:57 - 3:59
    แต่กลับว่า เริ่มมีสิ่งดีๆเกิดขึ้นกับผม
  • 3:59 - 4:04
    ผมได้รับโทรศัพท์จากคนที่ชื่อว่า
    มาร์ค เอบบราฮัม (Marc Abrahams)
  • 4:04 - 4:09
    และเขาก็บอกผมว่า
    "คุณได้รางวัลจากบทความเป็ดของคุณครับ
  • 4:09 - 4:12
    รางวัลอิกโนเบล (Ig Nobel)"
  • 4:12 - 4:14
    และรางวัลอิกโนเบลนั้นก็คือ
  • 4:14 - 4:19
    (เสียงหัวเราะและปรบมือ)
  • 4:19 - 4:21
    รางวัลที่เคารพเชิดชูการวิจัย
  • 4:21 - 4:24
    ที่ทำให้ผู้อ่านขำ แล้วทำให้พวกเขาคิด
  • 4:24 - 4:27
    เพื่อไปสู่กับเป้าหมายสูงสุด ที่จะทำให้มีคน
  • 4:27 - 4:30
    สนใจในวิทยาศาสตร์มากขึ้น
  • 4:30 - 4:34
    มันเป็นเรื่องทีดีเลยล่ะ ผมก็เลยรับรางวัลนี้ไว้
  • 4:34 - 4:37
    (เสียงหัวเราะ)
  • 4:37 - 4:40
    ผมขอบอกอีกทีก่อนนะครับว่า มาร์ค เอบบราฮัมไม่ได้
  • 4:40 - 4:42
    โทรหาผมจากสต๊อกโฮล์มหรอกนะ
  • 4:42 - 4:44
    เขาโทรหาผมจาก แคมบริดจ์ รัฐแมสซาชูเซตส์
  • 4:44 - 4:47
    ดังนั้นผมจึงเดินทางไปยังบอสตัน และต่อรถไปแคมบริดจ์
  • 4:47 - 4:50
    และผมก็ไปยังพิธีมอบรางวัลอิกโนเบลอันน่ายอดเยี่ยม
  • 4:50 - 4:53
    ที่จัดขึ้นในมหาวิทยาลัยฮาร์เวิร์ด
    และในพิธีมอบรางวัลนั้น
  • 4:53 - 4:58
    ช่างเป็นประสบการณ์ที่ดีเหลือเกินครับ
  • 4:58 - 5:01
    ผู้ได้รับรางวัลโนเบลจริงๆ จะเป็นคนมอบรางวัลให้
  • 5:01 - 5:03
    นั่นเป็นแค่เรื่องแรก
  • 5:03 - 5:06
    และยังมีอีก 9 คนที่ได้รับรางวัล
  • 5:06 - 5:09
    และนี่ก็คือเพื่อนที่ได้รับรางวัลเหมือนกับผมครับ
    นั่นคือคุณ ชาร์ล แพ๊กซ์ตัน (Charles Paxton)
  • 5:09 - 5:14
    ผู้ได้รางวัลในสาขาชีววิทยาไปในปี 2000
    สำหรับบทความของเขาที่มีชื่อว่า
  • 5:14 - 5:18
    "พฤติกรรมการเกี้ยวพาราสี ของนกกระจอกเทศที่มีต่อมนุษย์
  • 5:18 - 5:21
    ภายใต้เงื่อนไขการทำฟาร์มในประเทศอังกฤษ"
  • 5:21 - 5:25
    (เสียงหัวเราะ)
  • 5:25 - 5:28
    และผมคิดว่ายังมีผู้ได้รางวัลอิกโนเบล
  • 5:28 - 5:31
    อีกสองคนที่อยู่ในห้องนี้นะครับ
  • 5:31 - 5:35
    แดน คุณอยู่ไหนครับ แดน อาเรียลี่ (Dan Ariely)
  • 5:35 - 5:37
    ปรบมือให้แดนหน่อยครับ
  • 5:37 - 5:40
    (เสียงปรบมือ)
  • 5:40 - 5:44
    แดนได้รับรางวัลอิกโนเบลในสาขาแพทย์ศาสตร์
  • 5:44 - 5:48
    สำหรับการสาธิตว่าการให้ยาปลอมราคาแพง
  • 5:48 - 5:51
    ทำงานได้ดีกว่ากว่ายาปลอมราคาถูก
  • 5:51 - 5:55
    (เสียงหัวเราะ)
  • 5:55 - 5:58
    และรูปนี้คือหนึ่งนาทีแห่งเกียรติยศของผม
  • 5:58 - 6:02
    และสุนทรพจน์ของผม
  • 6:02 - 6:05
    และนี่ก็คือเจ้าเป็ดตัวนั้นนะครับ
  • 6:05 - 6:09
    เป็นครั้งแรกของมันนะครับ
    ที่ได้มาที่ชายฝั่งตะวันตกของสหรัฐ
  • 6:09 - 6:12
    ผมจะให้คุณลองจับมันนะครับ
  • 6:12 - 6:17
    (เสียงหัวเราะ)
  • 6:17 - 6:19
    ใช่ครับ
  • 6:19 - 6:20
    จับมันได้เลย
  • 6:20 - 6:23
    ขอเตือนนะครับว่า มันเป็นตัวอย่างจากพิพิธภัณฑ์
  • 6:23 - 6:28
    แต่ไม่มีโอกาสที่คุณจะติดไข้หวัดนกได้หรอกครับ
  • 6:28 - 6:32
    หลังจากที่ผมได้รางวัลนี้ ชีวิตผมก็เปลี่ยนไป
  • 6:32 - 6:34
    ในช่วงแรกๆนั้น ผู้คนเริ่มที่จะส่ง
  • 6:34 - 6:38
    ของที่เกี่ยวกับเป็ดมา ทุกๆอย่างเลยก็ว่าได้ มาให้ผม
  • 6:38 - 6:41
    ทำให้ผมมีของสะสมเกี่ยวเป็ดซะอย่างแจ๋วเลยที่เดียว
  • 6:41 - 6:43
    (เสียงหัวเราะ)
  • 6:43 - 6:50
    แต่ที่สำคัญนะครับ
  • 6:50 - 6:54
    ผู้คนเริ่มจะส่งข้อสังเกต
  • 6:54 - 6:56
    เกี่ยวกับพฤติกรรมสัตว์ที่น่าทึ่งมาให้ผม
  • 6:56 - 6:59
    และเชื่อผมได้เลยครับ
    ถ้าสัตว์มันมีพฤติกรรมสัตว์แปลกๆบนโลกใบนี้
  • 6:59 - 7:01
    ผมจะต้องรู้แน่นอน
  • 7:01 - 7:06
    (เสียงหัวเราะ)
  • 7:06 - 7:10
    นี่คือกวางมูสครับ
  • 7:10 - 7:12
    กวางมูสตัวนี้พยายามจะมีเพศสัมพันธ์
  • 7:12 - 7:15
    กับรูปปั้นทองแดงของวัวไบสัน
  • 7:15 - 7:19
    และนี่ก็ที่มอนทาน่าปี 2008
  • 7:19 - 7:23
    นี่ก็คือกบที่จะพยายามมีเพศสัมพันธ์กับปลาทอง
  • 7:23 - 7:26
    นี่ก็ในเนเธอร์แลนด์ปี 2011
  • 7:26 - 7:31
    สองตัวนี้เป็นคางคกยักษ์ในออสเตรเลียครับ
  • 7:31 - 7:32
    กบตัวล่างถูกรถทับ
  • 7:32 - 7:35
    กรุณาสังเกตดีๆนะครับว่ามันเป็นพวกร่วมเพศกับศพ
  • 7:35 - 7:37
    มันน่าทึ่งนะครับ ท่านั้น
  • 7:37 - 7:41
    ท่ามิชชั่นนารีนี้
    ถือเป็นสิ่งที่เกิดขึ้นยากมาก ในมวลหมู่สรรพสัตว์
  • 7:41 - 7:46
    นี่ก็คือฝูงนกพิราบในรอตเทอร์ดามครับ
  • 7:48 - 7:51
    นี่คือนกนางแอ่นในฮ่องกงปี 2004 ครับ
  • 7:51 - 7:55
    นี่คือไก่งวง
  • 7:55 - 8:01
    จากสถานพินิจและคุ้มครองเด็ก
    อีธาน อัลเลน (Ethan Allen) ในวิสคอนซิน
  • 8:01 - 8:04
    มันใช้เวลาทั้งวัน
  • 8:04 - 8:09
    และเด็กในสถานพินิจ ก็เลยพากันฮาเฮกับสิ่งที่มันทำ
  • 8:09 - 8:11
    ดังนั้น มันหมายความว่าอะไรกัน
  • 8:11 - 8:14
    ผมถามตัวเองว่า
  • 8:14 - 8:16
    ทำไมเรื่องแบบนี้ถึงเกิดขึ้นในธรรมชาตินะ
  • 8:16 - 8:17
    สิ่งที่ผมสรุปได้
  • 8:17 - 8:20
    จากกรณีศึกษาทั้งหลายแหล่นี้
  • 8:20 - 8:24
    นั่นคือ มันจะเกิดสิ่งนี้ขึ้น
  • 8:24 - 8:28
    ก็ต่อเมื่อสัตว์ตายทันที
  • 8:28 - 8:30
    และตายอย่างรวดเร็ว
  • 8:30 - 8:33
    และอยู่ในท่าที่เหมาะแก่การผสมพันธ์
  • 8:33 - 8:39
    อย่างน้อยๆ ผมก็คิดมาแบบนี้ตลอด
    จนกระทั่งได้เจอรูปพวกนี้
  • 8:39 - 8:41
    ในรูปนี้คุณจะเห็นเป็ดที่ตายแล้ว
  • 8:41 - 8:44
    มากว่าสามวัน
  • 8:44 - 8:46
    ตายนอนแหงนผึ่ง
  • 8:46 - 8:52
    ฉะนั้น ทฤษฎีผสมพันธุ์กับซากศพของผม พินาศซะแล้วครับ
  • 8:52 - 8:53
    อีกตัวอย่างหนึ่งของผลกระทบ
  • 8:53 - 8:55
    ของตึกกระจกที่มีต่อชีวิตของนก
  • 8:55 - 8:58
    นี่คือ แม็กซ์ผู้บ้าคลั่ง (Mad Max) เป็นนก Blackbird
    อาศัยในเมืองรอตเทอร์ดาม
  • 8:58 - 9:04
    สิ่งเดียวที่มันทำคือบินชนกับกระจก
  • 9:04 - 9:09
    ตั้งแต่ปี 2004 ถึง 2008 วันแล้ววันเล่า
  • 9:09 - 9:12
    และนี้คือวิดิโอสั้นๆ ของมันครับ
  • 9:12 - 9:14
    (เพลงขึ้นต้น) (เสียงกระทบกัน)
  • 9:20 - 9:21
    (เสียงกระทบกัน)
  • 9:34 - 9:36
    (เสียงกระทบกัน)
  • 9:45 - 9:46
    (เสียงกระทบกัน)
  • 9:47 - 9:49
    สิ่งที่มันทำ
  • 9:49 - 9:53
    คือพยายามสู้กับร่างมันเองในกระจกครับ
  • 9:53 - 9:56
    มันเห็นตัวมันเองในกระจก
    เป็นผู้บุกรุกเข้ามาในอาณาเขตของมัน
  • 9:56 - 9:59
    ที่พยายามบุกรุกมาตลอดเวลาที่มันอยู่
  • 9:59 - 10:00
    ซึ่งก็เป็นไปอย่างไร้จุดจบ
  • 10:00 - 10:04
    ในตอนแรก ที่ผมได้ศึกษาเจ้านกตัวนี้มากว่าสองปี
  • 10:04 - 10:07
    ผมคิดว่า สมองมันไม่ได้รับความเสียหาย
    จากการชนบ้างเลยหรอ
  • 10:07 - 10:10
    ไม่เลยครับ ผมจะให้ดูรูปของมันจากสไลด์
  • 10:10 - 10:12
    ที่ผมตัดมาจากวีดีโอ
  • 10:12 - 10:15
    และช่วงเวลาสุดท้ายก่อนที่มันจะชนกระจกนะครับ
  • 10:15 - 10:17
    มันเอาเท้าไปข้างหน้า
  • 10:17 - 10:22
    และชนกับกระจกครับ
  • 10:22 - 10:27
    ดังนั้นผมจึงอยากจะจบการบรรยายโดย
    ขอเชิญชวนพวกคุณมาในงานวันเป็ดตาย
  • 10:27 - 10:29
    ในวันที่ 5 มิถุนายน ของทุกๆปี
  • 10:29 - 10:33
    ในเวลา 5 โมง 45 นาที ตอนเย็น
  • 10:33 - 10:37
    โดยเราจะมาพร้อมเพรียงกันที่พิพิธภัณฑ์ธรรมชาติวิทยา
    ในเมืองรอตเทอร์ดาม
  • 10:37 - 10:39
    เป็ดก็จะออกมาจากพิธภัณฑ์
  • 10:39 - 10:42
    โดยเราจะมาสนทนากันเพื่อหาหนทางใหม่ๆ
  • 10:42 - 10:46
    ในการป้องกันนกเหล่านี้ จากการชนกระจกหน้าต่าง
  • 10:46 - 10:48
    คุณอาจจะรู้ หรืออาจจะไม่รู้ก็ได้
  • 10:48 - 10:51
    ว่านี่คือสาเหตุใหญ่
  • 10:51 - 10:52
    ของการตายของนกบนโลกใบนี้
  • 10:52 - 10:55
    แค่ที่อเมริกาเพียงแห่งเดียว นกหลายล้านต้องตาย
  • 10:55 - 10:58
    จากการชนกับตึกกระจกทั้งหลายแหล่
  • 10:58 - 11:04
    และเมื่องานวันเป็ดตายจบลง
    เราก็ไปภัตตาคารอาหารจีนต่อ
  • 11:04 - 11:09
    และเราก็ทานอาหารเย็นจากเป็ดถึง 6 ชุดเลย
  • 11:09 - 11:12
    ดังนั้นผมจึงหวังว่าจะได้เจอพวกคุณ
  • 11:12 - 11:15
    ในปีหน้า ที่รอตเทอร์ดาม ประเทศเนเธอร์แลนด์
  • 11:15 - 11:16
    ในวันเป็ดตาย
  • 11:16 - 11:17
    ขอบคุณครับ
  • 11:17 - 11:19
    (เสียงปรบมือ)
  • 11:19 - 11:25
    โอ้ ขอโทษที
  • 11:25 - 11:27
    ผมขอเป็ดผมคืนหน่อยนะครับ
  • 11:27 - 11:30
    (เสียงหัวเราะ) (เสียงปรบมือ)
  • 11:30 - 11:35
    ขอบคุณครับ
Title:
คีส โมไลเคอร์ (Kees Moeliker): เป็ดที่ตายแล้วเปลี่ยนชีวิตผมไปอย่างไร
Speaker:
Kees Moeliker
Description:

บ่ายวันหนึ่ง คีส โมไลเคอร์ ได้โอกาสในการวิจัยสิ่งที่นักปักษีวิทยาไม่กี่คนเท่านั้นที่จะพิศมัย เป็ดตัวหนึ่งบินเข้าชนกับตึกกระจก ที่เป็นออฟฟิศของเขา เป็ดตัวนั้นตายลง และสิ่งที่เกิดขึ้นหลังเหตุการณ์นั้น ก็ได้เปลี่ยนชีวิตของเขาไป

[คำเตือน: มีภาพและคำบรรยายเกี่ยวกับพฤติกรรมทางเพศในสัตว์]

more » « less
Video Language:
English
Team:
closed TED
Project:
TEDTalks
Duration:
11:52
Unnawut Leepaisalsuwanna approved Thai subtitles for How a dead duck changed my life
Unnawut Leepaisalsuwanna commented on Thai subtitles for How a dead duck changed my life
Unnawut Leepaisalsuwanna edited Thai subtitles for How a dead duck changed my life
Unnawut Leepaisalsuwanna edited Thai subtitles for How a dead duck changed my life
Kelwalin Dhanasarnsombut accepted Thai subtitles for How a dead duck changed my life
Kelwalin Dhanasarnsombut edited Thai subtitles for How a dead duck changed my life
Kelwalin Dhanasarnsombut edited Thai subtitles for How a dead duck changed my life
Kelwalin Dhanasarnsombut edited Thai subtitles for How a dead duck changed my life
Show all

Thai subtitles

Revisions