< Return to Video

บุกบ้านโออิรัน 5 วันบนเกาะซาโดะ นีงะตะ ft. Wiri | Point of View On Tour EP. 42 x Niigata

  • 0:01 - 0:03
    สวัสดีค่ะ วิวจากแชนเนล Point of View ค่ะ
  • 0:03 - 0:04
    วันนี้ฉากหลังดูแปลกตานะคะ
  • 0:04 - 0:08
    เพราะว่าตอนนี้วิวกลับมาอยู่ที่ประเทศญี่ปุ่นอีกครั้งนึงแล้วค่ะ
  • 0:08 - 0:11
    แล้วตอนนี้ก็ไม่อยู่เมืองเดิมด้วย ตอนนี้ย้ายเมืองใหม่อีกแล้วค่ะ
  • 0:11 - 0:12
    อยู่ที่เมืองนีงะตะนะคะ
  • 0:12 - 0:14
    ถามว่ามาทำอะไรที่นีงะตะ
  • 0:14 - 0:19
    บอกเลยว่าช่วงนี้วิวเห็นหลายๆ คนสนใจหัวข้อๆ นึง
    เกี่ยวกับประเทศญี่ปุ่นค่ะ
  • 0:19 - 0:21
    นั่นก็คือเรื่องของ โออิรัน นั่นเอง
  • 0:21 - 0:23
    ดังนั้นวิวก็เลยมาที่นีงะตะนะคะ
  • 0:23 - 0:26
    ซึ่งที่นี่ต้องบอกว่าเป็นย่านๆ นึง
    ที่เคยมีโออิรันอยู่จริงในอดีตนะคะ
  • 0:26 - 0:28
    แล้วก็เป็นย่านที่มีชื่อเสียงมากๆ ค่ะ
  • 0:28 - 0:32
    และแถวนี้ไม่ใช่มีแค่โออิรันนะคะ
    แต่ว่ามีอะไรที่น่าสนใจอีกเพียบเลยค่ะ
  • 0:32 - 0:34
    ดังนั้นวิวก็เลยอยากพาทุกคนมาเที่ยวที่นี่เนี่ยแหละค่ะ
  • 0:34 - 0:39
    อย่าลืมกดติดตามวิวให้ครบทุกช่องทางนะคะ จะได้ไม่พลาดข่าวสารดีๆ แล้วก็คลิปวิดีโอสนุกๆ จากช่อง Point of View
  • 0:39 - 0:44
    พร้อมจะไปฟังเรื่องราวที่ทั้งสนุกแล้วก็ได้สาระกันหรือยังคะ ถ้าพร้อมกันแล้วก็ไปฟังกันเลยค่ะ
  • 0:48 - 0:53
    นีงะตะเป็นจังหวัดที่ตั้งอยู่ในภูมิภาคชูบุของญี่ปุ่น
    ก็แถวๆ ภาคกลางประเทศเนี่ยแหละค่ะ
  • 0:53 - 0:59
    ซึ่งจังหวัดนี้นะคะ นอกจากจะเป็นบ้านเกิดของ
    วง NGT48 วงน้องสาวของวง AKB48 แล้ว
  • 0:59 - 1:03
    ยังถือว่าเป็นจังหวัดที่ข้าวอร่อยที่สุดในประเทศญี่ปุ่น
    อีกด้วยนะคะ
  • 1:03 - 1:05
    อย่างไรก็ตาม วันนี้เราไม่ได้จะมาทัวร์กินกันค่ะ
  • 1:05 - 1:07
    ใช่ เราไม่ได้จะมาทัวร์กินนะ
  • 1:07 - 1:12
    แต่!! เราจะมาตามรอยโออิรันหรือว่าโสเภณีชั้นสูงในอดีต
    ของญี่ปุ่นกันต่างหาก
  • 1:12 - 1:15
    ดังนั้นไปฟังเรื่องโออิรันกันดีกว่าค่ะ
  • 1:15 - 1:20
    ตอนนี้นะคะ วิวนั่งอยู่ในย่านฟุรุมะจิ
    ซึ่งเป็นย่านฮะนะมะจิที่มีชื่อเสียงค่ะ
  • 1:20 - 1:22
    เอาล่ะ ตอนนี้ศัพท์มากมายแล้วนะคะ
  • 1:22 - 1:28
    ฟุรุมะจิเป็นชื่อย่านนะคะ ส่วนฮะนะมะจิเป็นชื่อที่เค้าเอาไว้เรียกพวกย่านสถานเริงรมย์ต่างๆ ค่ะ
  • 1:28 - 1:31
    ก็คือเป็นย่านที่แบบว่า เที่ยวแบบดาร์กๆ นิดนึงของญี่ปุ่นสมัยก่อนเนี่ยนะคะ
  • 1:31 - 1:35
    ซึ่งปกติฮะนะมะจิเนี่ยจะประกอบไปด้วย 3 ส่วนด้วยกันค่ะ
  • 1:35 - 1:37
    อย่างแรกคือ เกอิชายะ หรือว่า บ้านเกอิชา นะคะ
  • 1:37 - 1:40
    สองก็คือ ยูคะคุ หรือว่า ย่านโคมแดง ค่ะ
  • 1:40 - 1:44
    แล้วก็สามก็คือ เรียวเท หรือว่า พวกร้านน้ำชา
    ร้านอาหารแบบญี่ปุ่นเนี่ยแหละค่ะ
  • 1:44 - 1:50
    ทีนี้ถามว่า มี 2 อย่างอยู่รวมกันใช่ไหมย่านโคมแดงกับบ้านเกอิชา 2 อย่างนี้ต่างกันยังไงนะคะ
  • 1:50 - 1:52
    ระหว่างเกอิชากับโออิรัน
  • 1:52 - 1:54
    ก็ต้องบอกว่าเอามาเทียบกันไม่ได้ค่ะ
  • 1:54 - 1:59
    เพราะว่าคำว่าโออิรันเป็นลำดับขั้นไม่ใช่เป็นชื่อเรียกนะคะ
    แม้ว่าคำว่า โออิรัน จะมีชื่อเสียงก็ตาม
  • 1:59 - 2:03
    จริงๆ แล้วเราจะต้องเทียบระหว่างเกอิชากับยูโจะค่ะ
  • 2:03 - 2:08
    ซึ่งยูโจะเนี่ยคือผู้หญิงที่ขายตัวเนอะ
    ในขณะที่เกอิชาจะเป็นผู้หญิงที่ขายศิลปะต่างๆ
  • 2:08 - 2:10
    ความแตกต่างอยู่ตรงนี้นะคะ
  • 2:10 - 2:17
    เกอิชาจะเป็นผู้หญิงที่เชี่ยวชาญด้านการเล่นดนตรี การชงชา แล้วก็ใช้ชีวิตโดยการเอนเตอร์เทรนผู้ชายต่างๆ ค่ะ
  • 2:17 - 2:22
    ถามว่ามีการขายไหม อาจจะมีบ้างนะคะ แต่น้อยมากๆ
    เพื่อที่ว่าจะได้มีแบบผู้สนับสนุนอะไรอย่างนี้
  • 2:22 - 2:24
    แล้วก็เกอิชาบางคนที่ประสบความสำเร็จเนี่ย
  • 2:24 - 2:29
    ก็จะสามารถมีผู้ที่มาอุปถัมภ์ตัวเองได้แล้วก็ออกจากการเป็นเกอิชาในที่สุดค่ะ
  • 2:29 - 2:33
    อย่างไรก็ตาม ตอนนี้เราไม่ได้มาพูดถึงเกอิชานะคะ
    เรามาพูดถึงโออิรันค่ะ
  • 2:33 - 2:35
    ทีนี้คำว่าโออิรันคืออะไร อ่ะ งงกันมั้ย
  • 2:35 - 2:38
    ก็คือ ยูโจะชั้นสูง นั่นเองนะคะ
  • 2:38 - 2:42
    ซึ่งก่อนที่จะมีคำว่า โออิรัน เนี่ย มันจะมีคำว่า เคอิเช มาก่อนค่ะ
  • 2:42 - 2:46
    คำว่า เคอิเช ก็คือ ยูโจะชั้นสูงที่ทำให้ปราสาทล่มสลาย
  • 2:46 - 2:49
    ก็เรียกได้ว่า สวยจนงามล่มเมืองประมาณนั้นค่ะ
  • 2:49 - 2:54
    คือประมาณว่า เจ้ามงเจ้าเมืองไม่เป็นอันปกครองบ้านเมืองเลยประมาณนั้นนะคะ
  • 2:54 - 2:57
    ทีเนี้ยกว่าจะเป็นโออิรันได้ ถามว่าต้องทำยังไงบ้าง
  • 2:57 - 3:00
    ก็ต้องบอกว่าไม่ใช่อยู่ดีๆ จะเป็นโออิรันแล้วเป็นได้นะคะ
  • 3:00 - 3:01
    จะต้องโดนฝึกตั้งแต่เด็กค่ะ
  • 3:01 - 3:05
    พวกที่อยู่ในธุรกิจค้าบริการเนอะ
    ก็ส่วนมากก็จะโดนขายตัวมาตั้งแต่เด็กๆ
  • 3:05 - 3:09
    โดนพ่อแม่เอามาขายให้กับบ้านของยูโจะ
    หรือว่าบ้านของเกอิชาใช่มั้ย
  • 3:09 - 3:11
    เหมือนที่เราดูในหนังนั่นแหละค่ะ
  • 3:11 - 3:13
    เสร็จแล้วเค้าก็จะเล็งกันตั้งแต่เด็กค่ะว่า
  • 3:13 - 3:16
    เฮ้ย คนนี้มีแวว คนนี้โตขึ้นมาได้เป็นโออิรันแน่ๆ
  • 3:16 - 3:18
    คอร์สการฝึกของเค้าถามว่าเค้าฝึกอะไร
  • 3:18 - 3:20
    ใจเย็นๆ อย่าเพิ่งคิดถึงเรื่องแบบนั้นนะคะ
  • 3:20 - 3:23
    สิ่งที่เค้าฝึกก็คือ ศิลปะ วิทยาการต่างๆ ค่ะ
  • 3:23 - 3:29
    ไม่ว่าจะเป็นการเล่นหมาก การชงชา การรินของ การวาดภาพ การต่อกลอน เล่นโกะอะไรเหล่านี้นะคะ
  • 3:29 - 3:31
    เรียกได้ว่าต้องได้หมดเลยค่ะ
  • 3:31 - 3:33
    เพราะว่าคนที่จะเป็นโออิรันได้เนี่ยนะคะ
  • 3:33 - 3:37
    ไม่ใช่แค่หน้าสวยอย่างเดียว แต่ว่าสมองต้องดีด้วยนะคะ
  • 3:37 - 3:42
    เพราะว่าความเซ็กซี่ของโออิรันเนี่ย ไม่ใช่แค่แบบว่ามาถึงดูหน้าแล้วก็ซื้อเลยจ้า ประมาณนั้นไม่ได้ค่ะ
  • 3:42 - 3:44
    จะต้องมีการนั่งคุยอะไรกันก่อน
  • 3:44 - 3:48
    แล้วก็แบบ หืม ผู้หญิงคนนี้ใช้ได้เลย ประมาณนั้นนะคะ
  • 3:48 - 3:51
    ทีนี้นอกจากการฝึกพวกศิลปะอะไรต่างๆ คล้ายเกอิชาแล้วเนี่ย
  • 3:51 - 3:55
    อีกอย่างนึงที่เค้าต้องฝึกก็คือ
    เรียนรู้เรื่องเกี่ยวกับร่างกายผู้ชายค่ะ
  • 3:55 - 3:58
    ประมาณว่าแบบ เออก็สุดท้าย มันก็งานขายอ่ะนะ
  • 3:58 - 4:03
    พอเรียนรู้จบกระบวนความอะไรต่างๆ ก็จะได้ไปเป็นยูโจะใช่มั้ย
  • 4:03 - 4:06
    ก็จะเริ่มมีการไต่ระดับขึ้นมาเรื่อยๆ ค่ะ
  • 4:06 - 4:11
    ส่วนใครที่ขายดีๆ มากๆ ฮิตมากๆ แล้วก็ค่าตัวแพงมากๆ
    ก็จะได้เป็นโออิรันเนี่ยแหละค่ะ
  • 4:11 - 4:14
    ซึ่งเค้าบอกว่าโออิรันเนี่ย ไม่ใช่ใครก็เป็นได้นะคะ
  • 4:14 - 4:18
    ในบรรดายูโจะ 1000 คนเนี่ย
    จะมีคนที่ได้เป็นโออิรันแค่ 1 คนเท่านั้นค่ะ
  • 4:18 - 4:20
    เรียกได้ว่าลำดับสูงมากจริงๆ นะ
  • 4:20 - 4:24
    ซึ่งต้องบอกว่าปัจจุบันเนี่ยนะคะ โออิรันเนี่ยผิดกฎหมายแล้วนะ
  • 4:24 - 4:27
    หลังจากที่มันมีกฎหมายห้ามค้าบริการอะไรออกมาค่ะ
  • 4:27 - 4:29
    พอผิดกฎหมายแล้วเกิดอะไรขึ้น
  • 4:29 - 4:31
    ก็เหลือแต่พวกเกอิชาอะไรต่างๆ ใช่มั้ย
  • 4:31 - 4:37
    ซึ่งเนื้องานดั้งเดิมของมันก็หายไปหมดแล้ว เหลือพวกแบบว่าการแต่งกายอะไรต่างๆ เป็นวัฒนธรรมของชาตินะคะ
  • 4:37 - 4:39
    ในฐานะผู้นำแฟชั่นใช่ไหมคะ ที่แบบสมัยเอโดะอะไรแบบนี้
  • 4:39 - 4:42
    โออิรันเป็นผู้นำแฟชั่นด้วยนะคะ ไม่ใช่ขายอย่างเดียว
  • 4:42 - 4:43
    ถือว่าเป็นสตรีชั้นสูง
  • 4:43 - 4:45
    แล้วเค้าก็ชื่นชมไงคะว่า โออิรันเนี่ยสวย
  • 4:45 - 4:49
    ดังนั้นพวกศิลปินต่างๆ ก็มักจะมาวาดรูปโออิรันเก็บไว้กันมากมายค่ะ
  • 4:49 - 4:52
    แล้วก็ส่งไปตามที่ต่างๆในประเทศนะคะ
  • 4:52 - 4:57
    เค้าก็จะดูกันว่า โออิรันที่มีชื่อเสียงคนนี้แต่งตัวแบบนี้
    ก็กลายเป็นแฟชั่นตรงนั้นตรงนี้ไปหมดค่ะ
  • 4:57 - 5:00
    เรียกได้ว่าเป็นผู้นำแฟชั่นในยุคนั้นเลยทีเดียวนะคะ
  • 5:00 - 5:04
    ดังนั้นปัจจุบันก็จะมีสตูดิโอให้เราถ่ายภาพสไตล์โออิรันต่างๆ มากมาย
  • 5:04 - 5:06
    เช่นเดียวกับที่ที่วิวนั่งอยู่ตอนนี้เนี่ยแหละค่ะ
  • 5:06 - 5:09
    ก็เป็นสตูดิโอให้เราถ่ายภาพสไตล์แบบโออิรันนะคะ
  • 5:09 - 5:12
    แต่ว่าจะไม่ใช่โออิรันแบบสมัยเอโดะนะ
  • 5:12 - 5:16
    เพราะว่า ความเป็นผู้นำแฟชั่นเนี่ยจะให้ 100 ปีผ่านไป
    แฟชั่นเหมือนเดิมก็ไม่ใช่นะคะ
  • 5:16 - 5:21
    ที่นี่ก็ให้เราสามารถมาแต่งกายเป็นโออิรันได้
    แต่จะเป็นโออิรันยุคเรวะค่ะ
  • 5:21 - 5:24
    เค้าจะประยุกต์ให้ทันสมัยขึ้นนิดนึงนะคะ
  • 5:24 - 5:28
    เดี๋ยวเราไปดูดีกว่าว่าโออิรันยุคเรวะเนี่ยแต่งกายยังไง
    อะไรยังไงบ้าง
  • 5:28 - 5:31
    ซึ่งมันก็ยังมีกลิ่นอายโออิรันในสมัยเอโดะอยู่เนี่ยแหละค่ะ
  • 5:31 - 5:34
    และเครื่องแต่งกายแต่ละชิ้นของโออิรันเนี่ยก็มีความหมายในตัวของมัน
  • 5:34 - 5:37
    เดี๋ยววิวไปอธิบายให้ฟังค่ะ ไปกันดีกว่า
  • 5:41 - 5:44
    ตอนนี้เราก็มาอยู่กับโออิรันของเราแล้วนะคะ
  • 5:44 - 5:47
    หน้าตาคุ้นๆ เหมือนจะใช่เหมือนจะไม่ใช่
  • 5:47 - 5:50
    เอ๊~ โออิรันของเราพูดไทยได้มั้ยคะ
    ได้นิดหน่อยค่ะ
  • 5:50 - 5:52
    พอจะพูดฝากช่องตัวเองได้มั้ยคะ
  • 5:52 - 5:56
    ฝากติดตามด้วยนะคะที่ช่อง WIRI นะคะ W I R I ค่ะ
  • 5:56 - 5:59
    พอพูดฝากช่องนี่คล่องเชียวนะคะ
    อ่า ได้ประโยคเดียวค่า
  • 5:59 - 6:03
    ตอนนี้เราก็ตามพี่ฝ้าย WIRI นะคะ มาแต่งตัวเป็นโออิรันนะคะ
  • 6:03 - 6:07
    เค้าก็จะจัดท่าจัดทางให้ถ่ายภาพออกมาได้สวยงามที่สุดนะคะ
  • 6:07 - 6:10
    ทำไมเกิดอะไรขึ้น ทำไมต้องใส่เต็มขนาดนี้คะ
  • 6:10 - 6:13
    คือว่า เยอะตั้งแต่การแต่งหน้า แต่งตัว แต่งทรงผมเลย
  • 6:13 - 6:16
    ทรงผมเยอะไหม นี่ถือว่าเยอะไหม
    เยอะ
  • 6:16 - 6:18
    เค้าบอกว่า เป็นการบอกลำดับขั้นโออิรันค่ะ
  • 6:18 - 6:20
    คือเป็นการวัดเรทติ้ง เป็นการเช็คเรทติ้ง
  • 6:20 - 6:22
    อย่างอันนี้คือเรทติ้งค่อนข้างดีนะคะ
  • 6:22 - 6:25
    เค้าบอกว่าเครื่องประดับแต่ละชิ้นที่อยู่บนหัวเนี่ยคือผู้ชายซื้อให้
  • 6:25 - 6:28
    ประมาณว่า คนนี้แหละฉันชอบ อ่ะ เอาไป 1 ชิ้น
  • 6:28 - 6:32
    ดังนั้น ทั้งหมดบนหัวของพี่ฝ้ายมีประมาณ 20-30 ชิ้นนะคะ
  • 6:32 - 6:33
    ก็ถือว่า..
    เราว่าเยอะกว่านั้นเอาจริง
  • 6:33 - 6:35
    เอาเป็นว่าเยอะมาก คือปักไม่ยั้งเลยนะคะ
  • 6:35 - 6:39
    คือเนื่องจากคุณป้าที่เป็นคนแต่งให้เค้าชอบพี่ฝ้ายมาก
    เค้าก็เลยปักให้ไม่ยั้งเลย
  • 6:39 - 6:42
    เค้าแบบเพิ่มเรทติ้งให้เราแบบตัวท็อปมากตอนนี้
    ใช่
  • 6:42 - 6:45
    ก็คือบนหัวเนี่ย ยิ่งเยอะยิ่งตัวท็อปนะคะ
  • 6:45 - 6:46
    นอกจากนั้นค่ะ การแต่งตัวทั้งหลายเนี่ย
  • 6:46 - 6:49
    เค้าบอกว่าจะเน้นให้หน้าเล็ก
    เพราะยิ่งหน้าเล็กยิ่งแปลว่าสวยนะคะ
  • 6:49 - 6:51
    ก็จะมีผมบังหน้า
  • 6:51 - 6:54
    แล้วก็เล็บเนี่ย เนี่ย ต้องเล็บอย่างนี้
    ใช้ชีวิตไม่ได้นะคะ
  • 6:54 - 6:58
    ก็คือต้องมีข้ารับใช้ มีอะไรต่างๆ
    เพื่อแสดงความว่า ฉันเป็นผู้หญิงสูงศักดิ์จ้า
  • 6:58 - 7:02
    แล้วก็นอกจากนี้ยังสามารถเอาเล็บไว้บังหน้าได้ด้วย
    จะดูหน้าเรียวเข้าไปอีก
  • 7:02 - 7:04
    เท่านั้นยังไม่พอ เห็นไหล่เซ็กซี่แบบนี้นะคะ
  • 7:04 - 7:06
    จริงๆ ไหล่ไม่ใช่จุดที่เซ็กซี่
  • 7:06 - 7:07
    จุดที่เซ็กซี่จริงๆ เนี่ย อยู่ตรงนี้
  • 7:07 - 7:08
    อยู่ที่ขาของเค้านะคะ
  • 7:08 - 7:11
    ซึ่งอาจจะไม่เห็นตรงนี้ อาจจะให้เห็นแบบวับๆ แวมๆ
  • 7:11 - 7:14
    คือปกติชุดญี่ปุ่นเนี่ยมันจะต้องมีการใส่ถุงเท้า ถูกมั้ย
  • 7:14 - 7:16
    เค้าเรียกว่า ทะบิ ใช่มั้ย ถุงเท้าแบบญี่ปุ่น
  • 7:16 - 7:17
    แต่!! โออิรันไม่ใส่ถุงเท้าค่ะ
  • 7:17 - 7:22
    ต่อให้เดินลุยหิมะอะไรก็ตาม
    ก็จะใส่เกี๊ยะเข้าไปเลยโดยที่ไม่ใส่ถุงเท้า
  • 7:22 - 7:24
    เพราะเค้าถือว่าเท้าเนี่ยเป็นสิ่งที่เซ็กซี่มาก
  • 7:24 - 7:25
    เหมือนจีนนี่แหละ
  • 7:25 - 7:26
    ใครเห็นเท้านี่แบบโป๊ โป๊มาก
  • 7:26 - 7:29
    ให้เห็นข้างบนยังไม่โป๊เท่าเห็นเท้าเลยนะคะ
  • 7:29 - 7:34
    อีกจุดนึงที่แตกต่างกันระหว่างพวกยูโจะหรือว่าอะไรพวกนี้ กับชุดกิโมโนปกติก็คือ ตรงนี้
  • 7:34 - 7:35
    นี่ โอบิ นะคะ
  • 7:35 - 7:38
    ก็คือปกติเค้าจะผูกไว้ข้างหลังกันใช่ไหม
  • 7:38 - 7:41
    แต่ว่าใครก็ตามที่ขายนะคะ เค้าก็จะผูกไว้ด้านหน้า
  • 7:41 - 7:44
    เป็นนัยยะว่าสามารถแกะออกเองได้จากด้านหน้า
  • 7:44 - 7:48
    ก็ประมาณนี้ก็เป็นเกี่ยวกับชุดของโออิรันนะคะที่เราพามาให้ดูในวันนี้
  • 7:48 - 7:51
    ตอนนี้ก็ปล่อยพี่ฝ้ายไปถ่ายรูปสวยๆ ต่อค่ะ
  • 7:51 - 7:55
    เดี๋ยวเราแอบโชว์รูปให้ดูค่ะว่าใครมาถ่ายรูปที่นี่จะสวยขนาดไหนนะคะ
  • 7:55 - 7:57
    ไป คนไม่สวยออกไปก่อน
  • 7:58 - 8:00
    ตอนนี้นะคะ โออิรันของเราก็ได้รูปมาเรียบร้อยแล้ว
  • 8:00 - 8:04
    ได้รูปมากี่รูปคะ
    ได้ท่าละ 1 รูปค่ะ รวมเป็น 4 รูป
  • 8:04 - 8:05
    ท้าด๊า~!!
  • 8:05 - 8:07
    มีความเป็น ตะกี้บอกว่าเหมือนอะไรนะคะ
  • 8:07 - 8:08
    นางพญาจิ้งจอก
    ใช่
  • 8:08 - 8:12
    เหมือนที่เพิ่งเล่าไปเลย จิ้งจอกเก้าหางใช่ไหม นั่นแหละค่ะ
  • 8:12 - 8:14
    อย่าลืมไปดูคลิปเก่านะจ๊ะ เล่าเรื่องจิ้งจอกเก้าหางไปแล้ว
  • 8:14 - 8:16
    แอบแทรกโฆษณา
    แน่นอน
  • 8:16 - 8:20
    ก็จบไปแล้วนะคะกับกิจกรรมถ่ายรูปโออิรันค่ะ ของเรา
  • 8:20 - 8:22
    สาเหตุที่เราต้องมาถ่ายรูปโออิรันแถบนี้นะคะ
  • 8:22 - 8:26
    เพราะจริงๆ ตรงนี้ก็อย่างที่บอกว่า เพราะมันมีโออิรันอาศัยอยู่จริงๆ ในสมัยก่อนนะคะ
  • 8:26 - 8:29
    แล้วก็มีย่านอะไรที่สวยงามต่างๆ มีบ้านเก่า
    มีอะไรให้ดูอยู่ด้วยนะคะ
  • 8:29 - 8:33
    แต่ว่าเนื่องจากตอนที่เรามาพายุเข้านะคะ
    ตอนนี้ก็ยังเข้าอยู่
  • 8:33 - 8:34
    เราก็เลยอดนะคะ
  • 8:34 - 8:36
    แต่ไม่เป็นไร เราจะพาไปดูอย่างอื่นแทน
  • 8:36 - 8:38
    จะบอกว่าบริเวณแถบนี้ยังมีอะไรที่น่าสนใจอีกเพียบ
  • 8:38 - 8:43
    คือเดี๋ยววิวจะพาทุกคนไปดูวิธีทำทองค่ะ
    ทำทอง
  • 8:43 - 8:46
    หาเงินยังไงมาเปย์โออิรันนะจ๊ะ
    อ่าฮะ ใช่ๆ
  • 8:46 - 8:49
    ไป เราไปดูวิธีทำทองกันดีกว่า ไป
  • 8:49 - 8:51
    อย่างที่บอกไปเมื่อกี้นะคะว่า
  • 8:51 - 8:54
    เราจบกิจกรรมที่เกี่ยวกับโออิรันกันกันแล้ว
  • 8:54 - 8:57
    แต่ว่าไม่ใช่ว่าทริปเราจะจบ
    อ่าใช่ เราจะไปต่อ
  • 8:57 - 9:00
    แถวนี้มีอะไรที่น่าสนใจอยู่อีกมากมายเติมไปหมดเลย
  • 9:00 - 9:05
    คือเรากำลังอยู่ที่ท่าเรือจะข้ามไปที่ซาโดะค่ะ
  • 9:05 - 9:06
    ใช่ เป็นเกาะชาโดะนะคะ
  • 9:06 - 9:10
    ที่เกาะซาโดะแห่งนี้ มีประวัติศาสตร์อันยาวนาน น่าสนใจ
  • 9:10 - 9:13
    แล้วเราก็จะไปคาเฟ่ต่างๆ มากมาย
  • 9:13 - 9:15
    แอบกระซิบนิดนึง สำหรับผู้หญิงทั้งหลายนะคะ
  • 9:15 - 9:20
    เค้าบอกว่า เกาะซาโดะเนี่ย เป็นเกาะที่ฮิตมากๆ ในหมู่ผู้หญิงชาวญี่ปุ่น
  • 9:20 - 9:22
    เดี๋ยวเราข้าวไปที่เกาะซาโดะกันค่ะ ไป
  • 9:22 - 9:26
    เอาล่ะทุกคน เราก็มาถึงเกาะซาโดะ หรือว่า Sado Island
    แล้วนะคะ
  • 9:26 - 9:32
    เมื่อประมาณ 400 ปีก่อนค่ะ อยู่ดีๆ ก็มีการค้นพบว่า
    อ้าว ที่นี่มีสิ่งที่น่าสนใจอยู่ค่ะ
  • 9:32 - 9:35
    ก็คือมีทองคำแล้วก็เงินนั่นเองนะคะ
  • 9:35 - 9:37
    มีแร่ทองคำกับแร่เงินค่ะ
  • 9:37 - 9:39
    ดังนั้นจากเดิมที่ไม่มีใครสนใจเนี่ยนะคะ
  • 9:39 - 9:43
    อยู่ดีๆ เค้าก็เลยบอกว่า ไม่ได้ๆๆ
    นี่มันเป็นแร่ทางเศรษฐกิจที่สำคัญ
  • 9:43 - 9:46
    ก็เลยมีการตั้งเหมืองแร่อะไรต่างๆ ขึ้นค่ะ
  • 9:46 - 9:50
    ดังนั้น เดี๋ยววิวจะพาทุกคนไปดูเหมืองแร่ทองคำของเมืองซาโดะนะคะ
  • 9:50 - 9:53
    ว่าคนญี่ปุ่นสมัยโบราณเนี่ย
    เวลาเค้าอยากได้ทอง อยากได้อะไรเนี่ย
  • 9:53 - 9:55
    เค้าทำเหมืองกันยังไง ขุดขึ้นมายังไงนะคะ
  • 9:55 - 9:57
    ไป ไปทำเหมืองกันดีกว่าค่ะ
  • 9:57 - 10:01
    ตอนนี้เราก็นั่งรถไป เตรียมจะไปทำทอง ไปเหมืองทองอะไรกัน
  • 10:01 - 10:06
    แต่ว่าเรามีเวลาเหลือนิดนึง
    ดังนั้นเค้าก็เลยจะพาเราไปดูอย่างอื่นก่อน
  • 10:06 - 10:07
    เค้าจะพาเราไปวัดเซซุอิจินะคะ
  • 10:07 - 10:12
    ซึ่งเมื่อกี้เราก็ถามเจ้าหน้าที่อย่างดีค่ะว่า
    วัดเซซุอิจิแห่งนี้มีความสำคัญยังไงบ้างคะ
  • 10:12 - 10:16
    ซึ่งคำตอบที่ได้ก็คือ ไม่มี
    ไม่มีนะคะ
  • 10:16 - 10:21
    เค้าบอกว่า ไน่(ไม่มี) แปลว่า ไม่สำคัญค่ะ
  • 10:21 - 10:24
    ไม่ๆๆ จริงๆ แล้ววัดเซซุอิจิเนี่ย ถ้าไปดูตัวคันจิอ่ะ
  • 10:24 - 10:28
    มันเขียนเหมือนกับคิโยมิซุเดระที่เกียวโต ใช่มั้ย
  • 10:28 - 10:30
    ก็คือวัดน้ำใสที่เราคุ้นเคยกันนั่นแหละ
  • 10:30 - 10:35
    เค้าบอกว่า คนสมัยก่อน เกาะซาโดะเนี่ยมันไกล
    จะไปไหว้ที่เกียวโตมันก็เดินทางยากอะไรยังงี้
  • 10:35 - 10:38
    สำหรับชาวซาโดะที่อยากไหว้ที่วัดคิโยมิซุ
  • 10:38 - 10:42
    เค้าก็สร้างจำลองไว้ให้ที่นี่แล้วจ้า เป็นวัดที่เก่าแก่พอสมควร
  • 10:42 - 10:43
    เดี๋ยวเราไปดูกันว่าเป็นยังไงนะคะ
  • 10:53 - 10:55
    นี่นะคะ เราก็ปีนบันไดขึ้นมาถึงแล้วค่ะ
  • 10:55 - 10:57
    ชันจริงๆ ตามคอนเซ็ปต์ของวัดญี่ปุ่นเลยนะคะ
  • 10:57 - 11:00
    ด้านหลังนี่ก็เป็นโบสถ์ของวัดนี้นะ
  • 11:00 - 11:04
    ก็หน้าตาเหมือนกับคิโยมิซุหรือเปล่านะคะสำหรับคนที่เคยไป
  • 11:04 - 11:06
    ก็จะมีระเบียงด้านบนเหมือนกันนั่นแหละค่ะ
  • 11:06 - 11:11
    นี่นะคะ เราก็เดินขึ้นมาถึงด้านบนระเบียงของวัดที่ทำเลียนแบบวัดน้ำใสแล้วนะ
  • 11:11 - 11:12
    แม้ว่าบรรยากาศจะไม่เหมือนนะคะ
  • 11:12 - 11:15
    แต่ก็จะได้บรรยากาศอีกแบบนึงที่เงียบสงบมากๆ เลยนะ
  • 11:15 - 11:20
    สำหรับใครที่แบบเคยอ่านการ์ตูน ดูซีรี่ย์อะไรของญี่ปุ่น
    ที่แบบมีวัดร้างกลางป่านะคะ
  • 11:20 - 11:24
    ที่นี่ก็ได้บรรยากาศประมาณนั้น
    เพราะว่าที่นี่ไม่มีพระจำศีลแล้วนะคะ
  • 11:24 - 11:26
    แต่ว่าก็น่าจะมีคนมาเที่ยวเรื่อยๆ แหละ
  • 11:26 - 11:29
    อย่างที่เรามานี่ก็มีคนมาเที่ยวเหมือนกัน
  • 11:29 - 11:32
    แต่จะไม่พลุกพล่านเท่าคิโยมิซุเกียวโตนะคะ
  • 11:32 - 11:33
    อย่างไรก็ตามค่ะ
  • 11:33 - 11:37
    วัดนี้ก็ถือว่าเป็นวัดที่เก่าแก่พอสมควรนะ
    สร้างมาประมาณ 300 ปีแล้วค่ะ
  • 11:37 - 11:41
    ก็ช่วงประมาณปลายกรุงศรีอยุธยาประมาณนั้นนะ
  • 11:41 - 11:44
    เอาจริงๆ สมัยนั้นน่ะชาวเกาะซาโดะเดินทางไปเกียวโตน่าจะยากมากนะคะ
  • 11:44 - 11:47
    ขนาดปัจจุบันเนี่ย จะไปยังมีต้องเป็นวันเลยนะคะ
  • 11:47 - 11:51
    นี่ก็คือสาเหตุที่ชาวเกาะซาโดะเลยสร้างวัดคิโยมิซุของตัวเอง
    ขึ้นมาที่นี่เนี่ยแหละค่ะ
  • 11:51 - 11:53
    ไป เราไปที่อื่นต่อกัน
  • 12:01 - 12:07
    ในที่สุดนะคะ เราก็มาถึงสถานที่ที่สอนเราเรื่องการขุดทอง
    ร่อนทองต่างๆ แล้วค่ะ
  • 12:07 - 12:10
    ก่อนที่เราจะไปดูการทำเหมืองทองในอดีตนะคะ
  • 12:10 - 12:15
    เรามาดูการร่อนทองสมัยปัจจุบันก่อน ว่าเค้าแบบจากแม่น้ำเนี่ย เค้าร่อนๆ ยังไงออกมาให้ได้ทองนะคะ
  • 12:15 - 12:17
    ซึ่งเข้ามาถึงเราก็จะมาเจอนี่ก่อนเลยค่ะ
  • 12:17 - 12:18
    ไดโคะคุเท็น นะคะ
  • 12:18 - 12:21
    เป็นเทพเจ้าแห่งความร่ำรวยอะไรต่างๆ ค่ะ
  • 12:21 - 12:25
    ก็มีความเชื่อกันว่า ถ้าเกิดสมมติว่าลูบพุงท่านนะคะ
    ก็จะได้รับความร่ำรวยค่ะ
  • 12:25 - 12:26
    อย่างนี้เป็นต้น
  • 12:27 - 12:30
    นี่เห็นไหม เป็นไง ลูบปุ๊ปได้ทองเข้ามาในมือปั๊ปนะคะ
  • 12:30 - 12:32
    แม้ว่าอันนี้จะดูเหมือนอย่างอื่น
  • 12:32 - 12:34
    อย่าคอมเมนต์มาว่ามันเหมือนอย่างอื่น
  • 12:34 - 12:39
    นี่คือน้องทองนะคะ ก็น้องเป็นก้อนทอง
    แล้วด้านล่างก็เป็นถาดที่เราใช้ร่อนทองนั่นเองค่ะ
  • 12:39 - 12:40
    ร่อนๆ
  • 12:40 - 12:42
    เดี๋ยวเราไปร่อนทองกันนะคะ ไป
  • 12:42 - 12:44
    ก่อนที่เราจะเข้าไปร่อนทองกันนะคะ
  • 12:44 - 12:46
    เราต้องมาเรียนรู้เรื่องเกี่ยวกับทองกันก่อนค่ะ
  • 12:46 - 12:50
    ก็เข้ามาด้านในนะ เค้าก็จะมีสิ่งต่างๆ ให้เราดูมากมายเลย
  • 12:50 - 12:53
    ไม่ว่าจะเป็นตัวอย่างทองว่าแบบ
    เออ ทองไซส์นี้มันเป็นยังไงนะคะ
  • 12:53 - 12:56
    แต่ละก้อนเนี่ยมันก็จะต้องมีการปั้มตราอะไรอย่างนี้
  • 12:56 - 12:59
    เพื่อที่จะเป็นการยืนยันว่าทองนี้ที่มาจากแหล่งนี้อะไรอย่างนี้
  • 12:59 - 13:02
    เพื่อที่ว่าจะได้เอาไปค้ำประกันอะไรได้นะคะ
  • 13:02 - 13:07
    คือถ้าทองไม่ได้ตีตราเนี่ยนะคะ อาจจะเป็นทองปลอม
    หรือว่าทองมันจะได้คุณภาพหรือเปล่า
  • 13:07 - 13:10
    ความบริสุทธิ์ของทองเท่าไหร่ อะไรประมาณนี้นะคะ
  • 13:10 - 13:13
    แล้วก็จุดเด่นของทองที่เราได้เรียนรู้กันที่นี่ก็คือ
  • 13:13 - 13:14
    นี่เลยนะคะ
  • 13:14 - 13:16
    เห็นแผ่นทองใหญ่ๆ ด้านหลังนี่มั้ยคะ
  • 13:16 - 13:19
    ทั้งหมดนี้ตีขึ้นมาจากทองก้อนแค่นี้เอง เท่านั้นเอง
  • 13:19 - 13:20
    เล็กๆ เลยนะคะ
  • 13:20 - 13:23
    เพราะว่าทองเนี่ยเป็นสสารที่มีลักษณะค่อนข้างนิ่มนะคะ
  • 13:23 - 13:26
    ดังนั้น ตีๆๆ ก็แผ่ออกมาได้
    คล้ายๆ กับทองคำเปลวประมาณนั้นค่ะ
  • 13:26 - 13:27
    ทองก้อนเล็กๆ นี้นะคะ
  • 13:27 - 13:34
    แค่แบบกรัมเดียวเนี่ย กลายเป็นเส้นแบบดิ้นทองเนี่ย
    ยาวถึง 3000 เมตรเลยทีเดียวนะคะ
  • 13:34 - 13:37
    ถามว่าเค้าเอาดิ้นทองไปทำอะไรนอกจากไปปักเสื้อผ้านะคะ
  • 13:37 - 13:40
    ก็คือเอามาทำแบบด้านในแผงวงจรอิเล็กทรอนิกส์นั่นเอง
  • 13:40 - 13:45
    อย่างที่หลายๆ คนน่าจะเห็นข่าวนะคะว่าตอนญี่ปุ่น
    จัดกีฬาโอลิมปิกที่จะมีขึ้นปีหน้าเนี่ย
  • 13:45 - 13:48
    เค้าก็รับบริจาคโทรศัพท์มือถือต่างๆ จากทั่วประเทศนะคะ
  • 13:48 - 13:51
    แล้วก็เอาทองที่อยู่ด้านในแผงอิเล็กทรอนิกส์เนี่ยมารวมกัน
  • 13:51 - 13:54
    แล้วก็หลอมออกมาเป็นเหรียญทองโอลิมปิกนั่นเองค่ะ
  • 13:54 - 13:55
    ซึ่งนอกจากนี้นะคะ
  • 13:55 - 13:59
    เราก็ได้เรียนรู้เรื่องเกี่ยวกับประวัติศาสตร์การขุดทอง
    บริเวณแถวนี้ด้วยว่า
  • 13:59 - 14:02
    ที่นี่เค้าเริ่มค้นพบทองกันเมื่อประมาณปีค.ศ.1000 นะคะ
  • 14:02 - 14:04
    เสร็จแล้วหลังจากนั้นประมาณ 600 ปีค่ะ
  • 14:04 - 14:08
    เค้าก็เริ่มตัดสินใจได้ว่า โอเค เรามาทำเหมืองทองกันเถอะจ้า
  • 14:08 - 14:10
    ประมาณปี 1600 ก็เลยเริ่มทำเหมืองทองตั้งแต่นั้นมาค่ะ
  • 14:10 - 14:14
    บริเวณเกาะซาโดะนะ มีแหล่งแร่ทองที่ใหญ่มาก
  • 14:14 - 14:17
    เรียกได้ว่าใหญ่เป็นอันดับต้นๆ ของประเทศญี่ปุ่นเลยที่เดียว
    นะคะ
  • 14:17 - 14:23
    เพราะว่าแค่เกาะแค่นี้ มีแหล่งที่สามารถค้นพบทองได้
    ทั้งหมดประมาณ 40 จุดด้วยกันค่ะ
  • 14:23 - 14:25
    ก็แบ่งออกเป็น 2 ประเภทด้วยกันนะคะ
  • 14:25 - 14:27
    ประเภทแรกคือ ทองจากภูเขา
  • 14:27 - 14:29
    ส่วนอีกอันนึงก็คือ ทองจากแม่น้ำค่ะ
  • 14:29 - 14:31
    คือทองจากภูเขาก็คือสินแร่ปกติที่มันอยู่ในหินใช่ไหม
  • 14:31 - 14:33
    ก็ต้องไปขุดๆ ออกมา
  • 14:33 - 14:34
    ส่วนที่อยู่ในแม่น้ำเนี่ย
  • 14:34 - 14:38
    ก็คือเหมือนกับว่าเวลาที่น้ำมันซัดโดนหิน
    หรือว่าเกิดดินถล่มอะไรอย่างนี้
  • 14:38 - 14:41
    พวกทองเศษๆ ต่างๆ มันก็จะตกลงมาในแม่น้ำใช่มั้ยคะ
  • 14:41 - 14:44
    ทีนี้ถามว่าทิ้งไปเลยจะโอเคเหรอ ก็ไม่โอเคใช่ไหม
  • 14:44 - 14:47
    ดังนั้นก็เลยเกิดการร่อนทองเกิดขึ้นค่ะ
  • 14:47 - 14:49
    ก็คือเอาพวกถาดอะไรเนี่ยค่ะ ไปร่อนๆๆ
  • 14:50 - 14:52
    เอาเศษทองที่อยู่ในแม่น้ำที่ขึ้นมาเป็นผงๆ
  • 14:52 - 14:55
    แล้วก็เอามาหลอมรวมกันได้เป็นทองอีกเหมือนกันค่ะ
  • 14:55 - 14:58
    ก็จะเป็นลักษณะทองที่แตกต่างกัน 2 แบบนะคะ
  • 14:58 - 14:59
    ไป ร่อนทองกันดีกว่า
  • 15:06 - 15:09
    ตอนนี้นะคะ เราก็ได้เวลามาร่อนทองกันแล้วค่ะ
  • 15:09 - 15:11
    ซึ่งอุปกรณ์ก็มีแค่นี้เลย
  • 15:11 - 15:14
    หนึ่งก็คือ หลอดน้อย เอาไว้ใส่ทองของเรานะคะ
  • 15:14 - 15:16
    แล้วก็สองคือ ตะแกรงร่อน ค่ะ
  • 15:16 - 15:18
    ซึ่งวิธีเนี่ย เค้าบอกว่าให้จ้วงลงไปลึกๆ นะคะ
  • 15:18 - 15:20
    เสร็จแล้วก็ตักทรายขึ้นมาใช่มั้ย
  • 15:20 - 15:22
    แล้วก็ร่อนๆๆ นะคะ เอาน้ำล้างไปเรื่อยๆ
  • 15:22 - 15:23
    แล้วค่อยๆ เทค่ะ
  • 15:23 - 15:26
    ซึ่งเห็นด้านในนี้มั้ย มันเป็นชั้นๆ ใช่มั้ย
  • 15:26 - 15:28
    ทองเนี่ยมันเป็นสิ่งที่หนักค่ะ
  • 15:28 - 15:30
    มันหนักกว่าทราย หนักกว่าน้ำ หนักกว่าทุกอย่าง
  • 15:30 - 15:32
    ดังนั้นมันจะตกลงสู้ด้านล่าง
  • 15:32 - 15:35
    แล้วก็ ทรายเนี่ยมันก็จะโดนล้างออกไปๆๆ
  • 15:35 - 15:37
    ดังนั้นทองก็จะเหลืออยู่ด้านในเนี่ยแหละค่ะ
  • 15:37 - 15:40
    เดี๋ยวเราลองทำกันดูว่าสามารถมั้ยนะคะ
  • 15:40 - 15:41
    ไป ลอง
  • 15:50 - 15:53
    โอ๊ย คุณพระ ร่อนจนปวดหลังแล้วนะคะทุกคน
  • 15:53 - 15:55
    ได้ทองมาแบบกระจิดริดมากนะคะ
  • 15:55 - 15:56
    แต่ก็ แต่ก็ได้นะ
  • 15:56 - 15:57
    ก็ทองจริงนะคะ
  • 15:57 - 16:00
    เมื่อกี้เค้าบอกว่า นี่คือทรายที่ตักมาจากแม่น้ำด้านข้างนะคะ
  • 16:00 - 16:02
    ก็คือตักขึ้นมาแล้วก็แค่ทำความสะอาดนะ
  • 16:02 - 16:05
    ก็คือเราอ่ะ ร่อนทองที่มาจากธรรมชาติจริงๆ เลยนะ
  • 16:05 - 16:08
    หลังจากที่ร่อนไปร่อนมาเนี่ยนะคะ ก็ยอมแพ้แล้วนะคะ
  • 16:08 - 16:10
    แล้วก็ได้ทองมาจำนวนเท่านี้
  • 16:10 - 16:11
    ให้ทุกคนดู
  • 16:11 - 16:13
    นี่นะคะ ได้ทองมาจำนวนเท่านี้นะคะ
  • 16:13 - 16:15
    ก็เขย่าดูจะมีเสียงนะคะ
  • 16:15 - 16:17
    ไม่แน่ใจว่าในกล้องจะได้ยินหรือเปล่า
  • 16:17 - 16:22
    แต่ว่าตอนนี้ เราสามารถเอาทองที่เราร่อนได้
    มาทำเป็นเครื่องประดับจ้า
  • 16:22 - 16:24
    มันมีนี่เป็นเครื่องประดับต่างๆ นะคะ
  • 16:24 - 16:28
    ซึ่งวิวก็เลือกไว้แล้วนะคะว่า วิวจะเอาเป็นสร้อยคอนะคะ
    อันนี่เอง
  • 16:28 - 16:29
    ไป ไปทำสร้อยกันดีกว่า
  • 16:32 - 16:35
    ก็ได้มาเรียบร้อยแล้วนะคะ สร้อยของน้องวิวนะคะ
  • 16:35 - 16:37
    ซึ่งจะบอกว่า ที่นี่ถ้าใครมาทำนะ
  • 16:37 - 16:38
    ราคาจริงๆ ไม่แพงเลยนะคะ
  • 16:38 - 16:40
    ราคาประมาณ 800 เยนเท่านั้นนะคะ
  • 16:40 - 16:41
    ก็ไม่ถึง 300 บาทแหละ
  • 16:41 - 16:43
    แล้วก็มีทั้งหมด 3 คอร์สด้วยกันนะคะ
  • 16:43 - 16:46
    คอร์สที่วิวทำเมื่อกี้นะคะ เป็นคอร์สสำหรับคนที่เพิ่งเริ่มต้น
    เลเวลหนึ่งค่ะ
  • 16:46 - 16:48
    ส่วนใครที่สามารถขึ้นมาหน่อยนะคะ
  • 16:48 - 16:49
    เค้าก็มีคอร์สนี้
  • 16:49 - 16:51
    นี่ เป็นแบบว่าเหมือนจำลองแม่น้ำขึ้นมานะคะ
  • 16:51 - 16:54
    ซึ่งหิน ดิน ทรายทั้งหมดที่อยู่ในนี้ก็คือแม่น้ำจริงนะคะ
  • 16:54 - 16:56
    รวมถึงที่เมื่อกี้เราร่อนด้วย
  • 16:56 - 16:59
    อันนี้จะยากขึ้นมาหน่อย เพราะว่าต้องใช้จอบขุดนะคะ
  • 16:59 - 17:00
    ขุดขึ้นมาแล้วก็มาร่อนค่ะ
  • 17:00 - 17:02
    คืออันนั้นน่ะมันมีแต่ทราย แต่อันนี้มีหินด้วยนะคะ
  • 17:02 - 17:04
    แล้วก็คอร์สที่ยากที่สุดค่ะ ก็คือ
  • 17:04 - 17:09
    ด้านนอกนู่นนะคะ คือนี่ ในแม่น้ำจริงด้านล่างนั้นนะคะ
  • 17:09 - 17:10
    นี่มีทองนะคะทุกคน
  • 17:10 - 17:12
    ก็เป็นคอร์สสำหรับผู้เชี่ยวชาญค่ะ
  • 17:12 - 17:15
    ซึ่งจะต้องมีการขุดหิน ยกหิน อะไรต่างๆ ด้วยนะคะ
  • 17:15 - 17:18
    แต่เค้าบอกว่าวันไหนที่พายุเข้า ไต้ฝุ่นอะไรอย่างนี้เนี่ยนะ
  • 17:18 - 17:20
    ด้านนอกเจอทองมากมายเลยค่ะ
  • 17:20 - 17:25
    ดังนั้นก็ ใครอยากมาทดสอบฝีมือท้าไต้ฝุ่น
    หาทางรวยทางลัดที่นี่
  • 17:25 - 17:28
    ก็เชิญด้านนอกนะคะในวันไต้ฝุ่นมา เชิญไปขุดแม่น้ำค่ะ
  • 17:28 - 17:32
    สำหรับวิวก็ ขั้นเริ่มต้นแค่นี้พอแล้วนะจ๊ะ ดิฉันยอมค่ะ
  • 17:32 - 17:34
    แอบเล่าให้ฟังนิดนึงนะคะ เป็นความรู้ค่ะ
  • 17:34 - 17:37
    คือคนสมัยโบราณที่เค้ามาขุดทอง ร่อนทองอะไรแถวนี้นะคะ
  • 17:37 - 17:41
    เนื่องจากว่า แน่นอนว่าทองเป็นสิ่งที่มีมูลค่าสูงมากนะคะ
  • 17:41 - 17:44
    ดังนั้นเค้าก็กลัวมาพวกคนงานเหมืองเนี่ยจะมาขโมยอะไรต่างๆ นะคะ
  • 17:44 - 17:49
    ซึ่งเราเคยเห็นกันใช่ไหมว่าในบางประเทศเค้าจะใช้วิธีค้นตัวก่อนเข้าและค้นตัวหลังเข้า
  • 17:49 - 17:51
    หรือว่าแถบแอฟริกาเวลาเค้าทำเหมืองเพชรเนี่ย
  • 17:51 - 17:55
    เค้าจะต้องมีการเอ็กซ์เรย์ใช่มั้ย
    ที่คนยังมีปัญหาสุขภาพมาถึงทุกวันนี้เลย
  • 17:55 - 17:59
    แต่ที่นี่เค้าใช้วิธีง่ายกว่านั้นค่ะ คือเค้าใช้วิธีแก้ผ้าค่ะ
  • 17:59 - 18:01
    ก็คือใส่แค่ผ้าเตี่ยวนะคะ แล้วก็ลงไปยืนกลางแม่น้ำ
  • 18:01 - 18:03
    เย็นๆ ร่อนทองไปค่ะ
  • 18:03 - 18:05
    นี่ก็เป็นวิธีร่อนทองสมัยโบราณนะคะ
  • 18:05 - 18:07
    ใครอยากมาลองก็เชิญตามสบายนะคะ
  • 18:07 - 18:09
    ก็สมัครคอร์สเบอร์ 3 นะคะ
  • 18:09 - 18:12
    แล้วก็ลองใส่ผ้าเตี่ยวลงไปร่อนก็ได้นะคะ ไม่ว่ากัน
  • 18:12 - 18:15
    ราคาก็ไม่ได้สูงมานะคะ เป็นประสบการณ์ชีวิตที่ดีค่ะ
  • 18:15 - 18:17
    สำหรับตอนนี้ เราก็ไปที่อื่นกันต่อดีกว่าค่ะ ไป
  • 18:18 - 18:20
    ตอนนี้เรามาอยู่อีกที่นึงแล้วนะคะ
  • 18:20 - 18:21
    เป็นเหมืองทองเก่าค่ะ
  • 18:21 - 18:23
    เป็นเหมืองที่เค้าจะขุดทองเป็นก้อนๆ ออกมา
  • 18:23 - 18:25
    เดี๋ยวเราลงไปดูวิธีกันว่า
  • 18:25 - 18:27
    วิธีขุดแร่ทองจริงๆ ในภูเขา
  • 18:27 - 18:31
    เอาแบบได้เป็นก้อนๆ เป็นกิโลๆ เลยเนี่ย เค้าทำกันยังไงนะคะ
  • 18:31 - 18:31
    ไป เราไปดูกัน
  • 18:31 - 18:34
    การทำเหมืองทองสมัยก่อนต้องขุดลึกเข้าไปในภูเขา
  • 18:34 - 18:38
    คนจะใช้ชีวิตอยู่ในนั้นเป็นส่วนมาก
    แทบไม่ได้เห็นเดือนเห็นตะวัน
  • 18:38 - 18:40
    ส่วนมากก็จะมีแต่ผู้ชายค่ะ
  • 18:40 - 18:42
    ดังนั้นคนพวกนี้ก็จะเหงามากๆ เลยนะ
  • 18:42 - 18:44
    อย่างตุ๊กตาที่เห็นตอนอยู่นี้
  • 18:44 - 18:47
    ตอนที่เราเดินผ่าน เค้าก็หันมาพูดกับพวกเราด้วยว่า
    คิดถึงผู้หญิงจังเลยย
  • 18:47 - 18:50
    ความเป็นอยู่ด้านอื่นก็แย่ไม่แพ้กันนะคะ
  • 18:50 - 18:52
    ด้วยความหนาวและอากาศที่ไม่ถ่ายเทเนี่ย
  • 18:52 - 18:54
    ประกอบกับอุบัติเหตุที่เกิดขึ้นได้ตลอดเวลา
  • 18:54 - 18:57
    คนงานที่ทำงานอยู่ในเหมืองก็เลยจะมักอายุสั้นค่ะ
  • 18:57 - 19:00
    เรียกได้ว่า 30 กว่าๆ ก็ไปกันหมดแล้ว
  • 19:00 - 19:03
    นอกจากนี้ด้วยความที่เป็นอาชีพที่ค่อนข้างอันตรายนะคะ
  • 19:03 - 19:06
    เลยมีความเชื่อแล้วก็พิธีกรรมค่อนข้างมากค่ะ
  • 19:06 - 19:09
    อย่างในภาพก็เป็นการบูชาเทพเจ้าด้านล่างเหมืองนะคะ
  • 19:09 - 19:13
    ซึ่งเค้าก็จะบูชาเพื่อให้ขุดเหมืองปลอดภัย
    ให้เจอทองอะไรต่างๆ นะคะ
  • 19:13 - 19:14
    แล้วที่สำคัญนะคะ
  • 19:14 - 19:18
    เค้าเห็นว่าสายแร่ทองเนี่ย หน้าตาเหมือนสัตว์ชนิดนึงค่ะ
  • 19:18 - 19:19
    ก็คือ ตะขาบ นั่นเอง
  • 19:19 - 19:24
    ดังนั้นคนงานเหมืองก็จะบูชาตะขาบ แล้วก็จะไม่ฆ่าตะขาบค่ะ
  • 19:24 - 19:25
    เห็นสิ่งนี้กันมั้ย
  • 19:25 - 19:26
    เราเคยเห็นกันในอินเตอร์เน็ตนะคะ
  • 19:26 - 19:28
    ที่เค้าบอกว่าให้เอาทองออกไปทางรูนั้นให้ได้
  • 19:28 - 19:31
    ถ้าใครเอาออกไปได้ใน 30 วินะคะก็จะได้รับรางวัลค่ะ
  • 19:31 - 19:33
    แต่ว่าผลของวิวเป็นยังไง ไปดูกันค่ะ
  • 19:33 - 19:37
    คือไม่ใช่ต้องยก ไม่ใช่เอาออกมาได้นะ แค่ยกก็ไม่ขึ้นแล้วค่ะ
  • 19:37 - 19:42
    อือหือ ความงกไม่ช่วยอะไรเราเลย
    ไม่กระดิกเลยอ่ะ
  • 19:45 - 19:49
    ทุกคนคะ ตอนนี้นะคะ
    เราก็มาอยู่ที่จุดเด่นอีกจุดนึงของเกาะซาโดะนะคะ
  • 19:49 - 19:51
    ก็คือ เรือทะระอิฟุเนะ นั่นเองนะคะ
  • 19:51 - 19:53
    คือเรือกะละมังที่เห็นอยู่ด้านหลังนี่เองค่ะ
  • 19:53 - 19:55
    เดี๋ยวเราไปนั่งเรือเล่นกันนะคะ
  • 19:55 - 19:58
    เรือทะระอิฟุเนะเป็นเรือที่เหมือนกับอ่างน้ำนะคะ
  • 19:58 - 20:00
    สร้างขึ้นครั้งแรกในช่วงต้นยุคเมจิค่ะ
  • 20:00 - 20:04
    ด้วยความที่ใช้คล่องแคล่ว สามารถใช้หาปลาอะไรต่างๆ
    เข้าซอกซอนได้นะคะ
  • 20:04 - 20:07
    เลยกลายเป็นเอกลักษณ์ของเกาะซาโดะแห่งนี้เลยค่ะ
  • 20:07 - 20:11
    ซึ่งส่วนมากคนที่พายเรือทะระอิฟุเนะเนี่ยก็จะเป็นผู้หญิงนะคะ
  • 20:11 - 20:14
    เค้าว่ากันว่าเรือชนิดนี้สำคัญกับคนบนเกาะถึงขนาดที่ว่า
  • 20:14 - 20:17
    ธรรมเนียมญี่ปุ่นแต่ก่อนเนี่ยเวลาผู้หญิงจะแต่งงาน
  • 20:17 - 20:20
    ปกติจะต้องมีสินเดิมของตัวเองติดตัวไปใช่มั้ยคะ
  • 20:20 - 20:24
    ของเมืองอื่นก็จะเป็นหมอน เป็นผ้าห่ม เป็นกิโมโนอะไรก็ว่าไป
  • 20:24 - 20:27
    แต่ของเกาะนี้ เจ้าสาวจะต้องหาเรือทะระอิฟุเนะเป็นของตัวเอง
  • 20:27 - 20:30
    เพื่อนำติดตัวไปบ้านเจ้าบ่าวด้วยทีเดียวเลยค่ะ
  • 20:30 - 20:33
    ตอนนี้นะคะ เราก็อยู่บนเรือกะละมังกับคุณป้านะคะ
  • 20:33 - 20:37
    แล้วก็ความเงียบสงบนี้คือ มากัน 2 คนนะคะ
  • 20:37 - 20:39
    แล้วคือข้าพเจ้าคุยกับคุณป้าไม่รู้เรื่องค่ะ
  • 20:39 - 20:40
    ก็ยินดีด้วยนะคะ
  • 20:40 - 20:43
    คนอื่นที่นั่งไปลำอื่นเค้าก็พูดญี่ปุ่นกันได้หมดเลย
  • 20:43 - 20:46
    นี่ก็พูดได้ประโยคเดียวนะคะว่า
    ฟังไม่ออกค่ะคุณป้า ขอโทษนะคะ
  • 20:46 - 20:49
    แต่ว่าบรรยากาศดีมาก เงียบสงบ น้ำใสแจ๋ว
  • 20:49 - 20:51
    นี่นะคะ ระหว่างนั่งทะระอิฟุเนะไป
  • 20:51 - 20:55
    คุณป้าก็ชี้ให้ดูนะคะว่ามี หอยเหม่น ค่ะ อุนิ นะคะทุกคน
  • 20:55 - 20:58
    เห็นทุกอย่างอยู่ในน้ำชัด ใสแจ๋วเลยนะคะ
  • 21:06 - 21:09
    เอาจริงๆ นะคะ ตรงนี้ที่เรามาพายเรือกันเนี่ย
  • 21:09 - 21:11
    ก็ไม่ใช่ว่าไม่มีประวัติความเป็นมาอะไรนะคะ
  • 21:11 - 21:12
    ตรงนี้เค้าเรียกว่า ยะจิมะ นะคะ
  • 21:12 - 21:14
    ซึ่ง ยะ ตัวนี้เนี่ยแปลว่า ลูกธนู ค่ะ
  • 21:14 - 21:18
    เพราะว่าตรงนี้นะคะ
    มีคนชื่อว่า มินะโมะโตะ โนะ โยะริมะสะ เนี่ยนะคะ
  • 21:18 - 21:19
    เค้าเคยใช้ธนูค่ะ
  • 21:19 - 21:24
    ฆ่าโยกะกิ หรือว่าคือปีศาจตามความเชื่อของชินโตเนี่ยไปตัวนึงนะคะ
  • 21:24 - 21:26
    แล้วบังเอิญว่าธนูที่ใช้ฆ่าเนี่ย
  • 21:26 - 21:28
    เป็นธนูที่ใช้ไม้จากแถวนี้ทำเนี่ยแหละค่ะ
  • 21:28 - 21:32
    เค้าก็เลยตั้งชื่อสถานที่นี้ไว้เป็นที่ระลึกวีรกรรมครั้งนั้นนะคะ
  • 21:32 - 21:35
    แหม ทุกที่ก็จะมีตำนานการสร้างของตัวเองเนอะ
  • 21:35 - 21:40
    เป็นแบบว่า เค้าเรียกว่าไร นิทานพื้นบ้าน นิทานประจำถิ่น
    นิทานอธิบายเหตุ ประมาณนั้นค่ะ
  • 21:40 - 21:41
    ไป ไปเที่ยวกันต่อ
  • 21:41 - 21:44
    ตอนนี้นะคะ เราก็มาอยู่ที่หมู่บ้านชุคุเนะกิค่ะ
  • 21:44 - 21:47
    เป็นหมู่บ้านชาวประมง ช่างต่อเรือ อะไรต่างๆ นะคะ
  • 21:47 - 21:50
    และหมู่บ้านนี้เกี่ยวข้องกับโออิรันของเราด้วย
  • 21:50 - 21:51
    เฮ้ย งงมั้ย
  • 21:51 - 21:54
    หมู่บ้านช่างต่อเรือ หมู่บ้านชาวประมงจะมาเกี่ยวอะไรกับ
    โออิรันนะคะ
  • 21:54 - 21:57
    คือจะบอกว่าบริเวณเกาะซาโดะแห่งนี้
  • 21:57 - 22:00
    นอกจากธุรกิจเหมืองทองอะไรต่างๆ
    ที่ทำให้เค้าร่ำรวยแล้วเนี่ยนะคะ
  • 22:00 - 22:03
    การเดินเรือก็เป็นอีกสิ่งนึงที่ทำให้เค้าร่ำรวยเหมือนกันค่ะ
  • 22:03 - 22:07
    คือที่นี่เค้ามีคนที่เป็นเจ้าของเรือเดินสมุทรขนาดใหญ่มากๆ
    เลยนะคะ
  • 22:07 - 22:10
    เรือเดินสมุทรลำนี้จะหนัก57ถึงประมาณ 150 ตันค่ะ
  • 22:10 - 22:15
    แล้วก็ขนสินค้านะคะ
    ตั้งแต่ฮอกไกโดะไปจนถึงบริเวณโอซากะค่ะ
  • 22:15 - 22:17
    ก็คือเลาะฝั่งตะวันตกของเกาะญี่ปุ่นนะคะ
  • 22:17 - 22:21
    แล้วก็ขนสินค้าจากจังหวัดที่มีชื่อเสียงต่างๆ ไปขายๆๆๆ ค่ะ
  • 22:21 - 22:23
    ซึ่งจะทำให้เจ้าของเรือเนี่ยนะคะจะร่ำรวยมาก
  • 22:23 - 22:27
    เพราะว่าปีนึงเนี่ย ขนสินค้าได้ประมาณ 2-3 รอบนะคะ
  • 22:27 - 22:31
    รอบนึงเนี่ยกำไรเท่ากับเงินปัจจุบันประมาณ 100 ล้านเยน
    เลยทีเดียว
  • 22:31 - 22:32
    ซึ่งพอร่ำรวยแล้ว
  • 22:32 - 22:36
    นึกสภาพผู้ชายสมัยก่อนค่ะ คิดว่าเค้าจะเอาเงินไปใช้กับอะไรคะ
  • 22:36 - 22:39
    เค้าก็ต้องเอาเงินไปใช้กับสถานเริงรมย์ต่างๆ ค่ะ
  • 22:39 - 22:42
    นี่ก็เป็นสาเหตุทำให้แถวนี้เกิดย่านสถานเริงรมย์ต่างๆ มากมาย
  • 22:42 - 22:43
    เพื่อให้ผู้ชายเหล่านี้ได้ไปใช้เงินที่แหละค่ะ
  • 22:43 - 22:45
    ดังนั้นเราเข้าไปดูเรือเดินสมุทรกันก่อนดีกว่าค่ะ
  • 22:45 - 22:48
    ว่าเรือเดินสมุทรเนี่ยมันใหญ่ขนาดไหน
    แล้วมันขนสินค้าได้เยอะจริงหรือเปล่า
  • 22:48 - 22:50
    เค้าถึงมีตังค์มาเปย์โออิรันนะคะ
  • 22:50 - 22:51
    ไป ไปดูกัน
  • 22:56 - 23:01
    อย่างตรงเนี่ยนี้นะคะ ก็เป็นท้องเรือนะคะที่เป็นเก็บสินค้าต่างๆ เช่น พวกข้าว เป็นต้นค่ะ
  • 23:01 - 23:03
    เค้าก็จะดูว่าเมืองไหนมีอะไรเด่น
  • 23:03 - 23:08
    เช่น จากฮอกไกโดะนะคะ ก็มีพวกอาหารทะเลตากแห้ง
    อะไรพวกนี้ที่เด่น ก็ขนมา
  • 23:08 - 23:10
    ที่นีงะตะมีข้าวอร่อยก็ขนข้าวไป
  • 23:10 - 23:13
    โอซากะเนี่ยเป็นแหล่งที่ค่อนข้างทันสมัยใช่มั้ย
  • 23:13 - 23:16
    พวกเครื่องเรือน พวกอะไรที่ทันสมัยก็จะมาจากตรงนั้นค่ะ
  • 23:16 - 23:20
    ก็เหมือนกับว่า เออ ที่ไหนเด่นก็ขนอันนั้นไป ไปขายที่อื่นที่ไม่มี ประมาณนั้น
  • 23:20 - 23:24
    ทำให้เรือลักษณะนี้ก่อให้เกิดกำไรสูงมากจริงๆ ค่ะ
  • 23:24 - 23:26
    อย่างตอนนี้นะคะเราก็พาขึ้นมาดูบนเรือค่ะ
  • 23:26 - 23:29
    ซึ่งเรือนี้เพื่อประหยัดงบที่สุดนะคะ
  • 23:29 - 23:32
    เค้าใช้คนควบคุมเนี่ยทั้งหมดแค่ 7 คนด้วยกันค่ะ
  • 23:32 - 23:34
    เรือลำใหญ่ขนาดนี้ใช้ 7 คนด้วยกันนะ
  • 23:34 - 23:36
    แล้วเค้าก็ใช้ชีวิตอยู่รวมกัน กระจุกอยู่เป็นกลุ่มก้อนตรงนี้ค่ะ
  • 23:38 - 23:43
    นี่ บริเวณทั้งหมดนะคะ ก็จะเป็นที่อยู่ของคนเรือนะคะ
  • 23:43 - 23:44
    ก็แค่นี้เลยจริงๆ
  • 23:44 - 23:51
    ที่เหลือทั้งหมดของเรือที่ใหญ่ถึง 150 ตันเนี่ยนะคะ
    ก็เป็นที่เก็บสินค้าล้วนๆ เลย
  • 23:51 - 23:55
    ดังนั้นจินตนาการได้นะว่า 1 รอบที่เดินทางเนี่ย
    สร้างกำไรได้ขนาดไหนค่ะ
  • 23:55 - 23:58
    ดูเรือเดินสมุทรกันไปแล้วนะคะ เราออกมาดูด้านนอกกันบ้างค่ะ
  • 23:58 - 24:01
    เราก็จะเห็นสิ่งที่เกี่ยวข้องกับเรือเดินสมุทรมากมายนะคะ
  • 24:01 - 24:03
    อย่างเช่น หินสีขาวด้านหลังนั่นเอง
  • 24:03 - 24:06
    เค้าบอกว่าเป็นหินที่ไม่มีที่เกาะซาโดะแห่งนี้นะคะ
  • 24:06 - 24:08
    แต่ว่าเอามาจากเมืองฮิโรชิมะค่ะ
  • 24:08 - 24:10
    ก็คือเอามาในเรือเดินสมุทรนั่นเอง
  • 24:10 - 24:14
    ส่วนถามว่า แล้วนอกจากหินก้อนนี้ มันเกิดอะไรขึ้นรอบๆ นี้นะคะ
  • 24:14 - 24:16
    แน่นอนว่าเวลามีเดินทางค้าขายอะไรต่างๆ เนี่ย
  • 24:16 - 24:17
    เวลามีการหยุดพักนะคะ
  • 24:17 - 24:21
    บริเวณนั้นนะคะก็จะต้องมีสิ่งของต่างๆ เนี่ยมาตอบสนองคนที่เดินเรือค่ะ
  • 24:21 - 24:25
    ดังนั้นที่นี่นะคะ ก็เลยกลายเป็นหมู่บ้านช่างต่อเรือ
    หมู่บ้านชาวประมง ประมาณนี้ค่ะ
  • 24:25 - 24:28
    เป็นหมู่บ้านโบราณแหละ อายุประมาณ 200 กว่าปีนะคะ
  • 24:28 - 24:30
    เดี๋ยวเราไปดูกันว่าในหมู่บ้านมีอะไรน่าสนใจบ้างนะคะ
  • 24:30 - 24:31
    ไปดูกัน
  • 24:32 - 24:36
    จุดสังเกตนึงของหมู่บ้านชาวประมงนี้นะคะ
    ก็คือ หลังคาด้านบน นั่นเอง
  • 24:36 - 24:38
    เห็นมั้ยคะว่ามันมีหินกองอยู่เต็มไปหมดเลยนะคะ
  • 24:38 - 24:40
    งงมั้ยว่ามันเป็นหินอะไรนะคะ
  • 24:40 - 24:42
    คือที่นี่ สมัยก่อนเค้าไม่มีกระเบื้องค่ะ
  • 24:42 - 24:44
    ดังนั้นเวลาเค้าสร้างบ้านสร้าง สร้างอะไรเนี่ย
  • 24:44 - 24:47
    คนสร้างนี่ก็เป็นช่างต่อเรือประมาณนั้นแหละค่ะ
  • 24:47 - 24:49
    ดังนั้นนะคะ เค้าใช้ไม้ในการมุงหลังคาค่ะ
  • 24:49 - 24:52
    พอมุงหลังคาเป็นไม้ ลมพัดก็ปลิวกระจุยกระจายใช่มั้ยคะ
  • 24:52 - 24:56
    เค้าก็เลยต้องใช้หินวางๆๆ ทับหลังคาไว้นั่นเองค่ะ
  • 24:56 - 25:00
    ซึ่งก็เป็นเอกลักษณ์ของบ้านเรือนยุคเอโดะบริเวณแถบๆ นี้นะคะ
  • 25:00 - 25:02
    ไป เราไปดูอย่างอื่นต่อกันค่ะ
  • 25:03 - 25:05
    อีกจุดเด่นนึงของหมู่บ้านนี้นะคะ
  • 25:05 - 25:08
    นอกหินที่วางอยู่บนกำแพง(หลังคา)ก็คือ
    แผงไม้ไผ่ด้านหลังนี้นี่เอง
  • 25:08 - 25:10
    มันคือ แผงกันลม นะคะ
  • 25:10 - 25:12
    ไม่ให้ลมจากทะเลเนี่ยตีบ้านพังค่ะ
  • 25:12 - 25:16
    ซึ่งฐานด้านล่างนี่ก็คือ ไม้ที่เกิดจากการต่อเรือนะคะ
  • 25:16 - 25:17
    เป็นเศษไม้ว่างั้นเถอะ
  • 25:17 - 25:19
    เอามาปะๆ ก็เพิ่มความแข็งแรงขึ้นค่ะ
  • 25:19 - 25:21
    นี่ เข้ามาทางนี้นะคะ
  • 25:21 - 25:26
    ก็จะเป็นเส้นทาง ที่แบบเป็นทางหินอายุเก่าแก่มากนะคะ ประมาณ 200 ปี
  • 25:26 - 25:28
    สังเกตได้จากพื้นนะคะว่า พื้นมันบุ๋มลงไป
  • 25:28 - 25:31
    เพราะว่ามันมีคนเหยียบๆๆๆ มาประมาณ 200 ร้อยปีแล้วค่ะ
  • 25:31 - 25:33
    ซึ่งบ้านด้านในนะคะก็เป็นบ้านที่มีคนอาศัยอยู่จริงนะคะ
  • 25:33 - 25:35
    ปัจจุบันก็ยังมีคนอาศัยอยู่ค่ะ
  • 25:35 - 25:37
    เดี๋ยวเราเดินเข้าไปดูในหมู่บ้านกันเนอะ
  • 25:40 - 25:47
    ตอนนี้นะคะ เราก็อยู่หน้าบ้านหลังนึงของโอเนอร์ซัง
    หรือว่าคนที่เป็นเจ้าของเรือเดินสมุทรแล้วค่ะ
  • 25:47 - 25:51
    นี่ อะไร ดูไม่เห็นไฮโซเลย จะมาเปย์โออิรงโออิรันอะไรฉันใช่มั้ย
  • 25:51 - 25:52
    เค้าบอกว่ามันเป็นความใส่ใจค่ะ
  • 25:52 - 25:56
    ที่คนสมัยก่อนเนี่ย เค้าพยายามสร้างให้มันดูภายนอกเนียนๆ
    กันไปหมด
  • 25:56 - 25:58
    ประมาณว่า บ้านฉันก็ไม่ได้ต่างจากบ้านคนอื่นจ้า
  • 25:58 - 25:59
    แต่พอเดินเข้าไปข้างในนะ
  • 25:59 - 26:01
    อูว! ประมาณว่าผ้าขี้ริ้วห่อทองค่ะ ประมาณนั้นค่ะ
  • 26:01 - 26:03
    แต่อย่างไรก็ตาม เราไม่ได้เข้าไปดูข้างในนะคะ
  • 26:03 - 26:04
    เดี๋ยวเราไปต่อกัน ไป
  • 26:05 - 26:09
    การมาเที่ยวหมู่บ้านต่อเรือนี้นะคะ จะทำให้เราเข้าใจทุกอย่างที่ผ่านมาตลอดทริปเลยค่ะ
  • 26:09 - 26:12
    เมื่อกี้เล่าไปแล้วใช่มั้ย เรื่องว่าทำไมที่นี่ถึงมีโออิรัน
  • 26:12 - 26:15
    มันมีคำตอบเรื่องทำไมที่นี่ถึงมีวัดคิโยมิซุด้วยนะคะ
  • 26:15 - 26:19
    เพราะว่าการมาของเรือคิตะมะเอะฟุเนะ
    หรือว่าเรือเดินสมุทรขนาดใหญ่เนี่ยค่ะ
  • 26:19 - 26:21
    มันไม่ได้ขนมาแค่สินค้าค่ะ
  • 26:21 - 26:23
    แต่ว่ามันมีการแชร์ศิลปวัฒนธรรมต่างๆ ด้วยนะคะ
  • 26:23 - 26:27
    อย่างแรกที่เราดูไปแล้วก็คือ วัดคิโยมิซุใช่มั้ย
  • 26:27 - 26:30
    เค้าไปเห็นที่นั่น เค้าก็ เฮ้ย รู้สึกว่าอยากเอามาไหว้ที่นี่บ้าง
  • 26:30 - 26:31
    ก็เลยมาสร้างที่นี่ใช่มั้ยคะ
  • 26:31 - 26:32
    เท่านั้นยังไม่พอค่ะ
  • 26:32 - 26:35
    บนเกาะซาโดะเนี่ย รู้มั้ยเค้าพูดสำเนียงอะไรกัน
  • 26:35 - 26:38
    เค้าพูดสำเนียงเหน่อแบบคันไซค่ะ
  • 26:38 - 26:39
    สำเนียงเหน่อคันไซนี่
  • 26:39 - 26:41
    ถ้าใครติดตามเรื่อง ยอดนักสืบจิ๋วโคนัน
  • 26:41 - 26:43
    ก็จะรู้นะว่า ฮัตโตริ เฮย์จิ เนี่ยพูดเหน่อ
  • 26:43 - 26:45
    พูดเป็นแบบสำเนียงคันไซใช่ป้ะ
  • 26:45 - 26:48
    ที่นี่ถึงแม้ว่ามันจะไม่ได้อยู่คันไซอะไรเลยนะ
  • 26:48 - 26:51
    แต่ว่าเค้าก็พูดสำเนียงคันไซ
    เพราะว่าติดมาจากคนโอซากะเนี่ยแหละค่ะ
  • 26:51 - 26:53
    เท่านั้นยังไม่พอนะคะ
  • 26:53 - 26:55
    การร่ายรำประจำถิ่นของซาโดะเนี่ยนะ
  • 26:55 - 26:58
    เค้าก็ได้รับอิทธิพลมาจากเกาะคิวชูค่ะ
  • 26:58 - 27:01
    เพราะว่าเรือเดินสมุทรเนี่ย
    ก็เดินทางค้าขายไปถึงเกาะคิวชูเหมือนกันค่ะ
  • 27:01 - 27:05
    ดังนั้นพวกการค้าขายอะไรต่างๆ
    ก็คือการแลกเปลี่ยนวัฒนธรรมไปในตัวนะคะ
  • 27:05 - 27:08
    ที่นี่ก็เลยเป็นจุดนึงที่มีความเจริญมากๆ
    เมื่อประมาณ 200 ปีก่อนค่ะ
  • 27:08 - 27:13
    เพราะว่ารวบรวมทุกอย่างมาไว้ด้วยกัน ประมาณนี้เลยนะคะ
  • 27:19 - 27:22
    ทุกคนคะ ใครมาหมู่บ้านชาวประมงแล้วนะคะ
  • 27:22 - 27:24
    อย่าเพิ่งเที่ยวเสร็จแล้วสะบัดก้นกลับไปนะคะ
  • 27:24 - 27:26
    มันมีสิ่งที่น่าสนใจอยู่ในนี้
  • 27:26 - 27:28
    อาจจะไม่ได้มีประวัติศาสตร์อะไรแฟนซีนะ
  • 27:28 - 27:30
    แต่ว่าสายถ่ายรูปชอบแน่นอนค่ะ
  • 27:30 - 27:31
    เดี๋ยวเราเข้าไปถ่ายรูปเล่นกันในถ้ำ
  • 27:31 - 27:33
    งงล่ะสิ ในถ้ำจะมีอะไร
  • 27:33 - 27:34
    ไป เดินไปดูกัน
  • 27:36 - 27:38
    เดินออกจากถ้ำมาแล้วค่ะ ถึงแล้วนะคะ
  • 27:38 - 27:40
    ภูมิประเทศด้านหลังก็เหมาะแก่การถ่ายรูปนะคะ
  • 27:40 - 27:42
    เค้าบอกว่าเหมือนออกมาอยู่นอกโลกนะคะ
  • 27:42 - 27:45
    เหมือนอยู่บริเวณดวงจันทร์อะไรอย่างนี้นะ
  • 27:45 - 27:47
    ก็ให้เดานะคะ น่าจะเกิดจากลาวานะคะ
  • 27:47 - 27:50
    เพราะว่าที่ดินบริเวณเกาะซาโดะเนี่ยมีลาวาค่อนข้างเยอะ
  • 27:50 - 27:53
    อย่างเมื่อวานที่เราไปก็มีพวกลาวาผุด อะไรอย่างงี้
  • 27:53 - 27:55
    ซึ่งทำให้หินมันจะเป็นลักษณะแปลกๆ ค่ะ
  • 27:55 - 27:57
    มา เดี๋ยวเราไปถ่ายรูปเล่นกัน
  • 28:06 - 28:08
    ไหนๆ เราก็พูดถึงโออิรันกันมาทั้งทริปแล้วเนอะ
  • 28:08 - 28:09
    จะแบบว่าปล่อยจบเบลอๆ
  • 28:09 - 28:12
    ไปเที่ยวหมู่บ้านชาวประมง ไปขุดทองอะไร มันก็ไม่ใช่มั้ย
  • 28:12 - 28:14
    ไม่ใช่ มันยังไม่จบค่ะ
    ใช่
  • 28:14 - 28:18
    เพราะเรากำลังจะพาทุกคนไปดูบ้านของโออิรันของจริง
    เลยนะคะ
  • 28:18 - 28:21
    สถานที่ปฏิบัติการของเค้า ด้านในมีอะไรยังไงบ้าง
  • 28:21 - 28:23
    มีประวัติศาสตร์มีเรื่องน่ารู้อยู่ในนั้นด้วย
  • 28:23 - 28:24
    ใช่ ดังนั้นไปดูกันค่ะ
  • 28:25 - 28:28
    ตอนนี้นะคะ เราก็มาอยู่ในย่านฟุรุมะจิแล้วค่ะ
  • 28:28 - 28:29
    เป็นย่านโคมแดงเดิมนะคะ
  • 28:29 - 28:30
    เห็นถนนเส้นนี้มั้ย
  • 28:30 - 28:32
    ปัจจุบันเป็นบ้านคนปกตินะคะ
  • 28:32 - 28:33
    แต่ว่าแต่ก่อนเนี่ย
  • 28:33 - 28:38
    สองข้างทางเนี่ย เต็มไปด้วยบ้านโออิรัน ย่านโคมแดงนู่นนี่นั่น เต็มไปทั้งถนนเลยค่ะ
  • 28:38 - 28:41
    แล้วก็สุดทางถนนเนี่ย จะเห็นเป็นศาลเจ้านะคะ
    ซึ่งเกี่ยวข้องกับโออิรัน
  • 28:41 - 28:43
    เดี๋ยวหลังจากนี้วิวจะพาไปดูค่ะ
  • 28:43 - 28:45
    แต่ตอนนี้เรามาเยี่ยมชมถนนเส้นนี้ก่อนเนอะ
  • 28:45 - 28:46
    เค้าบอกว่า ถนนเส้นนี้เนี่ยนะคะ
  • 28:46 - 28:48
    อย่างที่บอกไปมันเต็มไปด้วยบ้านโออิรันใช่มั้ย
  • 28:48 - 28:50
    ในสมัยประมาณเอโดะค่ะ
  • 28:50 - 28:53
    ซึ่งตอนนั้นแต่เดิมเนี่ยย่านโคมแดงอยู่อีกทีนึงเนอะ
  • 28:53 - 28:55
    แต่ว่าย้ายมาที่นี่เพราะว่าที่เดิมเนี่ยไฟไหม้ค่ะ
  • 28:55 - 28:56
    พอย้ายมาตรงนี้แล้วเนี่ยนะคะ
  • 28:56 - 29:00
    เค้าก็มีการทำธุรกิจโคมแดงอะไรกันต่างๆ มากมายค่ะ
  • 29:00 - 29:02
    แล้วก็มีการเก็บภาษีกันด้วยนะ
  • 29:02 - 29:04
    ความสุดยอดของย่านนี้นะคะ
  • 29:04 - 29:10
    ก็คือ ภาษีของย่านนี้ย่านเดียวเนี่ยนะคะถือเป็น 1 ใน 3
    ของภาษีทั้งหมดที่เมืองนีงะตะเก็บได้เลยนะ
  • 29:10 - 29:11
    เรียกได้ว่าเยอะมากๆ เลยนะคะ
  • 29:11 - 29:13
    แทบจะเลี้ยงทั้งหมดเลยทีเดียว
  • 29:13 - 29:14
    เท่านั้นยังไม่พอค่ะ
  • 29:14 - 29:17
    พูดถึงสาวๆ ที่อยู่ย่านนี้ที่เป็นโออิรันบ้าง ยูโจะบ้าง
  • 29:17 - 29:18
    ก็คือไม่ใช่แค่โออิรันอย่างเดียวเนอะ
  • 29:18 - 29:20
    เพราะว่าโออิรันคือถือว่าเป็นชั้นสูง มี 1 ใน 1000 ใช่มั้ย
  • 29:20 - 29:22
    ดังนั้นต้องมียูโจะธรรมดาอยู่ด้วย
  • 29:22 - 29:25
    พวกนี้เนี่ยนะคะส่วนใหญ่ก็จะมาจากภูมิภาคโทะโฮะคุค่ะ
  • 29:25 - 29:28
    ก็คือประมาณภาคอีสานของญี่ปุ่นเนี่ยแหละค่ะ
  • 29:28 - 29:31
    บริเวณนั้นเนี่ยเป็นบริเวณเขตเกษตรกรรมต่างๆ
  • 29:31 - 29:32
    การใช้ชีวิตเนี่ยยากลำบากมาก
  • 29:32 - 29:34
    ดังนั้นเมื่อไม่มีทางเลือกนะคะ
  • 29:34 - 29:37
    สาวๆ ก็เลยเลือกจะเดินทางจากบ้านเกิดมาอยู่ที่นี่ค่ะ
  • 29:37 - 29:40
    แล้วก็มาทำงานในย่านโคมแดงเนี่ยละค่ะ
  • 29:40 - 29:41
    แล้วก็มาใช้ชีวิตอยู่ตรงนี้นะคะ
  • 29:41 - 29:42
    ดังนั้นเวลากลางคืนเนี่ย
  • 29:42 - 29:45
    เค้าบอกถนนเส้นนี้เนี่ยสว่างไสวเหมือนเวลากลางวันเลย
  • 29:45 - 29:48
    ก็คือเป็นเหมือนเมืองที่แทบจะไม่หลับ ว่าอย่างนั้นเถอะค่ะ
  • 29:48 - 29:51
    เค้าก็ออกมาเดินจ่ายตลาดแบบด๊องแด๊งๆ แถวนี้เป็นปกตินะคะ
  • 29:51 - 29:54
    แล้วที่สำคัญนะคะ สาวๆ พวกนี้ไม่ได้ทำกันอยู่ตลอดชีวิตเนอะ
  • 29:54 - 29:57
    ส่วนมากก็ทำอาชีพนี้ถึงอายุแค่ประมาณ 30 ปีเท่านั้นค่ะ
  • 29:57 - 30:00
    หลังจากนั้นส่วนมากก็เกษียณตัวเองด้วยการแต่งงานนะคะ
  • 30:00 - 30:01
    ถามว่าใครมาแต่งด้วย
  • 30:01 - 30:03
    เออ ทำงานแบบนี้มา
  • 30:03 - 30:05
    ก็ต้องบอกว่า คือสาวๆ พวกนี้จะต้องสวยเป็นพิเศษ
  • 30:05 - 30:06
    นึกออกป้ะ
  • 30:06 - 30:07
    แล้วก็โดนเทรนมาเป็นพิเศษ
  • 30:07 - 30:10
    ดังนั้นส่วนมากก็ลูกค้าเนี่ยแหละค่ะ
    ก็จะพาตัวออกไปแต่งงานด้วย
  • 30:10 - 30:13
    หรือบางคนก็เดินทางกลับบ้านเกิด
  • 30:13 - 30:14
    ไปแต่งงานกับหนุ่มๆ ที่บ้านเกิดค่ะ
  • 30:14 - 30:17
    ถึงแม้ว่าปัจจุบันตรงนี้จะไม่ใช่ย่านโคมแดงแล้วนะคะ
  • 30:17 - 30:21
    แต่มันยังเหลือบ้านโออิรันค่ะ
    ที่เค้ายังคงเก็บรักษาไว้ทั้งหมด 1 หลังด้วยกัน
  • 30:21 - 30:24
    เดี๋ยวเราเข้าไปดูด้านในนะคะว่า ข้างในจะเป็นยังไงค่ะ
  • 30:24 - 30:25
    ไป ไปดูกัน
  • 30:26 - 30:29
    ตอนนี้นะคะเราก็เดินทางมาถึงร้านโตยะแล้วค่ะ
  • 30:29 - 30:32
    เป็นหนึ่งในร้านย่านโคมแดงนะคะ
    ที่ยังหลงเหลืออยู่ในปัจจุบันเนอะ
  • 30:32 - 30:35
    ซึ่งเค้าบอกว่าที่นี่ไม่ได้หรูหราอะไรขนาดนั้นนะ
  • 30:35 - 30:38
    ไม่ใช่แบบอันดับต้นๆ ของสมัยก่อน อยู่ประมาณกลางๆ ค่ะ
  • 30:38 - 30:40
    ค่ะ แต่ว่ามันก็เป็นอันที่หลงเหลืออยู่นะ
  • 30:40 - 30:41
    แอบบอกนิดนึง
  • 30:41 - 30:44
    เดี๋ยวหลายคนจะแบบทำไมมาดูโออิรันต้องมาดูที่นีงาตะนะคะ
  • 30:44 - 30:46
    ต้องบอกว่าในสมัยโบราณเนี่ย
  • 30:46 - 30:49
    ที่นี่มันเป็นจุดที่แบบคนเดินทางมาลง มาค้าขายอะไรต่างๆ
  • 30:49 - 30:51
    แล้วมันไม่ใช่แค่ทางทะเลนะคะ
  • 30:51 - 30:52
    แต่บริเวณที่นีงะตะเนี่ย
  • 30:52 - 30:56
    มันมีแม่น้ำที่สามารถเดินทางมาจากจังหวัดอื่น
    เช่น จังหวัดนางะโนะ ได้ด้วย
  • 30:56 - 30:58
    ดังนั้นมันเป็นศูนย์กลางการค้าขายมากๆ ค่ะ
  • 30:58 - 31:02
    เมื่อคนมารวมตัวกันอยู่เยอะๆ การค้ามันก็จะเฟื่องฟู
  • 31:02 - 31:04
    และย่านโคมแดงก็เป็นหนึ่งในการค้านั้นนะคะ
  • 31:04 - 31:07
    ก็สร้างขึ้นเพื่อรองรับคนจำนวนมากมายที่มาเนี่ย
  • 31:07 - 31:09
    ดังนั้นในสมัยนึงเนี่ยนะคะ
  • 31:09 - 31:13
    เค้ามีการจัดอันดับว่าย่านโคมแดงในประเทศ
    ตรงไหนฟรุ้งฟริ้งที่สุดนะคะ
  • 31:13 - 31:15
    3 ที่ที่ติด Top 3 ตลอดเลยนั่นก็คือ
  • 31:15 - 31:17
    1.ย่านกิองของเกียวโต ใช่มั้ยคะ อันนี้ทุกคนรู้จัก
  • 31:17 - 31:20
    อันที่ 2 ก็คือ ย่านในโตเกียวนะคะ
  • 31:20 - 31:22
    และที่ 3 ก็คือ นีงะตะ เนี่ยแหละค่ะ
  • 31:22 - 31:23
    ไม่ใช่เรียง 1 2 3 นะคะ
  • 31:23 - 31:25
    คือ 3 ที่นี้ลำดับเดียวกันหมดเลยนะคะ
  • 31:25 - 31:29
    นึกภาพว่าความเฟื่องฟูระดับเดียวกับกิองของเกียวโตเนี่ย
  • 31:29 - 31:30
    ที่นี่เฟื่องฟูขนาดไหนนะคะ
  • 31:30 - 31:35
    แต่ว่ากิจการทั้งหมดเนี่ยก็หยุดให้บริการไป
    ในประมาณปี 1960 ค่ะ
  • 31:35 - 31:38
    ก็คือในยุคโชวะนะคะ ก็ไม่นานมานี้เนี่ยแหละ
  • 31:38 - 31:40
    แล้วเค้าบอกว่าประวัติศาสตร์หน้าทั้งหมดของอันนี้
  • 31:40 - 31:43
    เคยเกือบโดนลบทิ้งไปตอนที่สั่งยกเลิกใหม่ๆ นะคะ
  • 31:43 - 31:44
    แต่ว่าอย่างไรก็ตาม
  • 31:44 - 31:46
    สุดท้ายเค้าก็นึกได้แล้วกลับมาอนุรักษ์ดีกว่าค่ะ
  • 31:46 - 31:48
    ดังนั้นไป เข้าไปดูข้างในกันนะ
  • 31:53 - 31:56
    ทีนี้ถามว่าขั้นตอนการรับลูกค้าของเค้าเป็นยังไงนะคะ
  • 31:56 - 31:57
    คืออย่างแรกเนี่ยนะคะ
  • 31:57 - 31:59
    ลูกค้าจะต้องมีความสนิทสนมกับโออิรันก่อนค่ะ
  • 31:59 - 32:03
    จะต้องมีการส่งของขงส่งของขวัญอะไรกันมา
    ทำความรู้จัก เหมือนแนะนำตัวก่อน
  • 32:03 - 32:07
    ประมาณว่ารู้จักฉันไว้ซะ ฉันจะมาเป็นลูกค้าเธอนะ ทำนองนี้ค่ะ
  • 32:07 - 32:09
    หลังจากนั้นนะคะ เวลาวันไหนที่เค้าอยากใช้บริการเนี่ย
  • 32:09 - 32:11
    เค้าก็จะไปที่ร้านอาหารนะคะ
  • 32:11 - 32:13
    ไปถึงเค้าก็จะมีการเลือกโออิรันค่ะ
  • 32:13 - 32:17
    ว่าแบบ เออ คนนี้ฉันเล็งไว้แล้ว คนนี้ฉันไปทำความรู้จักไว้แล้ว
  • 32:17 - 32:18
    เลือกๆๆ
  • 32:18 - 32:21
    พอเลือกเสร็จนะคะก็จะส่งข่าวไปบอกที่บ้านโออิรันแห่งนี้
    เนี่ยแหละค่ะ
  • 32:21 - 32:24
    ประมาณว่า อ่ะ ฉันเลือกเธอแล้ว แต่งตัวมาหาฉันซะ นะคะ
  • 32:24 - 32:27
    ระหว่างนั้นเนี่ย เค้าก็จะนั่งอยู่ที่ร้านอาหารใช่มั้ย
  • 32:27 - 32:30
    ก็จะมีการเรียกเกอิชา เรียกอะไรที่ไม่ได้ขาย ที่ขายศิลปะเนี่ย
  • 32:30 - 32:32
    มาให้ความบันเทิงตัวเองรอนะคะ
  • 32:32 - 32:35
    เกอิชาก็จะเริงระบำอะไรไปให้ความบันเทิงรอโออิรันแต่งตัวค่ะ
  • 32:35 - 32:37
    ซึ่งจะแต่งนานมากกกนะคะ
  • 32:37 - 32:41
    หลังจากแต่งตัวเสร็จเนี่ย
    โออิรันก็จะทำพิธีเดินแห่ไปตามถนนค่ะ
  • 32:41 - 32:42
    ค่อยๆ แห่
  • 32:42 - 32:44
    ก็จะมีเป็นขบวนเลยแล้วค่อยๆ แห่ไป
  • 32:44 - 32:46
    ไม่เดินเร็วๆ เดินช้าๆ เดินแบบ อ่ะ รอฉันซะ
  • 32:46 - 32:49
    เธอจะแบบว่าต้องอดทนเพื่อฉันอะไรอย่างนี้
  • 32:49 - 32:50
    เล่นตัวว่ายังงั้นเถอะนะคะ
  • 32:50 - 32:53
    เล่นตัวๆๆ ไปกระทั่งถึงร้านอาหารค่ะ
  • 32:53 - 32:55
    ไปถึงก็ไม่ใช่ว่าจะได้เลยนะคะ
  • 32:55 - 33:00
    ส่วนใหญ่โออิรันเป็นยูโจะชั้นสูงมากๆ ค่ะ
    ดังนั้นมีสิทธิ์เลือกลูกค้าค่ะ
  • 33:00 - 33:04
    ถ้าสมมติว่าไปถึงแล้วแบบโหงวเฮ้งเธอไม่ดีเลย
    โออิรันก็มีสิทธิ์ปฏิเสธนะคะ
  • 33:04 - 33:06
    ซึ่งถ้าสมมติว่าโออิรันปฏิเสธปุ๊ปเนี่ย
  • 33:06 - 33:07
    ภารกิจทุกอย่างก็จะจบนะคะ
  • 33:07 - 33:10
    คือโออิรันก็จะกลับบ้าน ลูกค้าก็ อ่ะ กลับบ้านนะจ๊ะ
  • 33:10 - 33:12
    มีเงินอย่างเดียวไม่สามารถซื้อโออิรันได้
  • 33:12 - 33:13
    ที่นี้เค้าบอกว่า
  • 33:13 - 33:16
    ตามปกติเนี่ยไม่ใช่ว่าโออิรันจะตอบรับลูกค้าทุกคนนะคะ
  • 33:16 - 33:20
    เค้าบอกว่าเป็นเรื่องปกติ เบสิคมากๆ เลยที่
    โออิรันเนี่ยจะปฏิเสธก่อนทั้งหมด 3 ครั้ง
  • 33:20 - 33:23
    คือเรียกไปเนี่ย แห่ไป 3 ครั้ง
  • 33:23 - 33:24
    โออิรันบอก โนจ้า แล้วก็แยกย้ายค่ะ
  • 33:24 - 33:28
    เพื่อให้เห็นว่า เธอต้องอดทนมากๆ เพื่อที่จะได้ฉันมาค่ะ
  • 33:28 - 33:29
    หลังจาก 3 ครั้งไปแล้วเนี่ยนะคะ
  • 33:29 - 33:32
    ถ้าสมมติว่าโออิรันโอเค โออิรันถึงจะตกลงเนอะ
  • 33:32 - 33:34
    แต่ว่าบางครั้งก็อาจจะแบบ ก็ไม่โอเคจริงๆ อ่ะ
  • 33:34 - 33:37
    ฉันไม่เอา ก็ไม่เอาก็คือไม่เอานะคะ ก็จะแยกย้ายกันไปค่ะ
  • 33:37 - 33:39
    ทีนี้สมมติว่าครั้งไหนโออิรันตกลงนะคะ
  • 33:39 - 33:40
    เค้าก็จะพาลูกค้าค่ะ
  • 33:40 - 33:43
    แห่กลับมาที่บ้านแห่งนี้นะคะ แล้วก็พาขึ้นบันไดมา
  • 33:43 - 33:45
    มาที่ห้องแถวๆ นี้นี่แหละนะคะ
  • 33:45 - 33:47
    แล้วก็ปฏิบัติภารกิจต่างๆ กันค่ะ
  • 33:47 - 33:49
    หลังจากที่ปฏิบัติภารกิจต่างๆ เสร็จนะคะ
  • 33:49 - 33:51
    ถามว่าทำไมต้องมีบันไดใหญ่ 2 ข้างคะ
  • 33:51 - 33:53
    มีบันไดใหญ่ด้านหน้ากับมีบันไดเล็กด้านหลัง
  • 33:53 - 33:56
    คือเค้าบอกว่า คือถ้าสมมติว่าถ้าไม่ลงบันไดเล็กด้านหลังเนี่ย
  • 33:56 - 33:58
    คือห้องพวกนี้มันไม่ใช่มีแค่โออิรันใช้ใช่มั้ย
  • 33:58 - 33:59
    แต่ว่ามันมียูโจะใช้ด้วย
  • 33:59 - 34:00
    คือคนที่เดินเข้ามาแล้วซื้อเลย
  • 34:00 - 34:02
    ดังนั้นถ้าไม่ลงบันไดเล็กด้านหลังเนี่ย
  • 34:02 - 34:04
    เดี๋ยวแบบเดินกลับไปแล้วป๊ะกับลูกค้าคนถัดไป
  • 34:04 - 34:06
    แล้วเดี๋ยวจะมีปัญหากันนะคะ
  • 34:06 - 34:08
    ก็เลยต้องแบบว่า อ่ะ เสร็จแล้วไปด้านนู้นจ้า
  • 34:08 - 34:10
    คนใหม่เข้ามาทางนี้จ้า ประมาณนี้นะคะ
  • 34:10 - 34:14
    นี่ก็เป็นขั้นตอนการใช้บริการโออิรันโดยทั่วไปนะคะ
  • 34:14 - 34:16
    ก็บรรยากาศก็เป็นประมาณนี้ค่ะ
  • 34:16 - 34:21
    ตอนนี้นะคะเราก็เดินออกจากบ้านของยูโจะหรือบ้านโออิรัน
    ที่เราไปเมื่อกี้นี่แหละค่ะ
  • 34:21 - 34:22
    เมื่อกี้วิวบอกว่ามันเป็นศาลเจ้า จริงๆ แล้วไม่ใช่นะคะ
  • 34:22 - 34:23
    มันเป็นวัดค่ะ
  • 34:23 - 34:26
    ซึ่งวัดแห่งนี้เค้าบอกว่าในสมัยโชวะที่ 5 นะคะ
  • 34:26 - 34:28
    บริเวณย่านโคมแดงทั้งหมดเนี่ย
  • 34:28 - 34:32
    มีบ้านของยูโจะที่ลงทะเบียนทั้งหมด 64 หลังนะคะ
  • 34:32 - 34:36
    ประกอบไปด้วยยูโจะ หรือว่าพวกค้าบริการที่ถูกกฎหมายนะ
    ที่มีการลงทะเบียนเนี่ย
  • 34:36 - 34:39
    ทั้งหมด 370 นางด้วยกันค่ะ
  • 34:39 - 34:42
    ไม่นับนางที่ไม่ได้ลงทะเบียนค้าเถื่อนอยู่รอบๆ นอกนะคะ
  • 34:42 - 34:43
    เค้าบอกว่าทั้ง 370 นางเนี่ย
  • 34:43 - 34:46
    ทุกเช้าจะต้องเดินทางมาที่วัดค่ะ มาไหว้พระขอพรนะคะ
  • 34:46 - 34:48
    เออ เค้าขอพระอะไรกัน
  • 34:48 - 34:50
    เดี๋ยวเราเข้าไปดูด้านในกันดีกว่าค่ะ
  • 34:50 - 34:50
    เข้ามาในวัดนะคะ
  • 34:50 - 34:54
    เห็นตุ๊กตารูปปั้นแบบนี้ คุ้นๆ กันมั้ยคะ เหมือนที่วิวเคยเล่าไปเลย
  • 34:54 - 34:57
    นี่คือโอะจิโซซังหรือว่าพระโพธิสัตว์จิโซนะคะ
  • 34:57 - 34:59
    ซึ่งก็เป็นความเชื่อเกี่ยวกับเด็กค่ะ
  • 34:59 - 35:01
    คือความเชื่อของเด็กของญี่ปุ่นเนี่ย ใช่มั้ยคะ
  • 35:01 - 35:04
    เค้าก็จะบอกว่าเวลาที่เด็กเสียชีวิต
    โดยเฉพาะเด็กที่เล็กมากๆ เนี่ยนะคะ
  • 35:04 - 35:08
    เสียชีวิตไป เค้าจะไปติดค้างอยู่บริเวณริมแม่น้ำที่ทางไปนรกไง
  • 35:08 - 35:12
    จำได้ใช่มั้ย ที่วิวเล่าเรื่องนรกแบบญี่ปุ่นไป
    ว่ามันต้องจะมีแม่น้ำที่ทุกคนต้องข้ามไปนะคะ
  • 35:12 - 35:14
    พอเด็กไปติดอยู่ตรงนั้นเนี่ย
  • 35:14 - 35:14
    เค้าก็เหมือนแบบว่า
  • 35:14 - 35:18
    คือเวลาคนที่โตแล้วตายเนี่ย ญาติๆ ก็จะทำบุญให้ส่งไปให้
  • 35:18 - 35:20
    ทำบุญส่งไปให้เพราะว่าตั้งสติได้
  • 35:20 - 35:23
    แต่เวลาที่เด็กมากๆ ตายเนี่ย พ่อแม่เนี่ยจะเสียใจมาก
  • 35:23 - 35:25
    แล้วก็ไม่สามารถที่จะตั้งสติพอที่จะทำบุญไปให้ได้
  • 35:25 - 35:28
    ดังนั้นเด็กก็เลยจะต้องพยายามก่อศาลเจ้าของตัวเองค่ะ
  • 35:28 - 35:30
    เพื่อแบบว่าส่งพลังไปถึงพ่อแม่ว่าแบบ
  • 35:30 - 35:33
    ส่งบุญมาให้ฉันเถอะ ส่งของ ทำบุญมาให้ฉันหน่อย
    อะไรอย่างงี้นะคะ
  • 35:33 - 35:35
    ซึ่งการสร้างศาลเจ้าของเด็กเนี่ย
  • 35:35 - 35:38
    ก็เกิดจากการเอาหินบริเวณริมแม่น้ำค่ะ มาเรียงๆๆ กัน
  • 35:38 - 35:40
    ทีนี้บังเอิญว่าบริเวณริมแม่น้ำนั้นนะคะ
  • 35:40 - 35:42
    มันเป็นที่อยู่ของสิ่งนึงค่ะ
  • 35:42 - 35:43
    ก็คือ ยักษ์ นั่นเอง
  • 35:43 - 35:45
    ทีนี้ พอยักษ์เห็นเด็กๆ ก่อศาลเจ้านะคะ
  • 35:45 - 35:48
    ตอนกลางคืนยักษ์ก็จะออกมาค่ะ แล้วก็มาถล่มศาลเจ้า
  • 35:48 - 35:49
    ปึ้ง!
  • 35:49 - 35:51
    ประมาณว่า เธอรบกวนที่อยู่ฉัน อะไรประมาณนี้นะคะ
  • 35:51 - 35:54
    ดังนั้นเด็กๆ ก็เลยเหมือนจะเป็นศัตรูกับยักษ์ค่ะ
  • 35:54 - 35:56
    แล้วก็สร้างศาลเจ้าไม่เสร็จสักที
  • 35:56 - 35:57
    แล้วก็กลัวยักษ์อีกต่างหาก
  • 35:57 - 36:00
    ซึ่งคนที่จะเข้ามาตรงนี้ก็คือ พระโพธิสัตว์จิโซ นั่นเอง
  • 36:00 - 36:03
    พระโพธิสัตว์จิโซเนี่ยก็จะลงมา
    แล้วก็มาปกป้องเด็กๆ จากยักษ์นะคะ
  • 36:03 - 36:07
    โดยที่เอาวิญญาณของเด็กๆ เนี่ยซุกเข้าไปในจีวรของท่านค่ะ เพื่อแบบปกป้องไว้
  • 36:07 - 36:11
    ประมาณว่า ยักษ์อย่ามาทำอะไรเด็กๆ พวกนี้นะ
    วิญญาณเด็กๆ ยังบริสุทธิ์อยู่ ประมาณนั้นนะคะ
  • 36:11 - 36:13
    ซึ่งนี่เป็นสาเหตุที่เค้าเชื่อกันว่า
  • 36:13 - 36:16
    เวลาใครมีลูกที่เสียชีวิตเร็วหรือะไรอย่างนี้
  • 36:16 - 36:18
    ก็จะมาไหว้พระโพธิสัตว์จิโซค่ะ
  • 36:18 - 36:21
    หรือประมาณว่าแบบพระโพธิสัตว์จิโซ
    คือคนที่ดูแลเด็กนั่นเองค่ะ
  • 36:21 - 36:24
    ซึ่งถามว่าเกี่ยวอะไรกับโออิรันหรือยูโจะของพวกเรานะคะ
  • 36:24 - 36:26
    ก็คือ ก็รู้กันใช่มั้ยว่าอาชีพเค้าขายอะไรแบบนี้
  • 36:26 - 36:29
    ซึ่งสมัยก่อนการคุมกำเนิดอะไรมันก็ไม่ค่อยดี
  • 36:29 - 36:31
    ดังนั้นถามว่าพลาดท้องบ่อยมั้ย
  • 36:31 - 36:32
    ก็ค่อนข้างบ่อยนะคะ
  • 36:32 - 36:36
    พลาดบ้าง หรือว่าตั้งใจท้องเพื่อที่จะจับลูกค้าบ้างก็มีนะคะ
  • 36:36 - 36:37
    อาชีพพวกนี้ถามว่าท้องได้มั้ย
  • 36:37 - 36:38
    ไม่ได้นะคะ
  • 36:38 - 36:41
    เท่าที่วิวเคยอ่านมาเนี่ยก็เลยจะต้องทำแท้งกันค่อนข้างบ่อยค่ะ
  • 36:41 - 36:43
    คือบางครั้งตัวเองก็ทำแท้งเองบ้าง
  • 36:43 - 36:46
    บางครั้งคนที่คุมเนี่ย ก็บังคับให้แท้งบ้างนะคะ
  • 36:46 - 36:49
    โดยการแบบว่าให้กินยา หรือว่าทำอะไรต่างๆ ให้แท้ง
  • 36:49 - 36:51
    ดังนั้นมันก็เลยจะมีความรู้สึกผิดอยู่ในใจค่ะ
  • 36:51 - 36:53
    ก็เลยมักจะมาไหว้ที่วัดแห่งนี้นะคะ
  • 36:53 - 36:59
    เพื่อขอให้พระโพธิสัตว์จิโซคอยดูแลวิญญาณเด็กๆ เหล่านั้น
    ที่เป็นลูกของพวกเธอที่ตายจากไปค่ะ
  • 36:59 - 37:01
    ก็เป็นเรื่องน่าเศร้านิดนึงนะคะ
  • 37:01 - 37:04
    ตอนนี้นะคะ เราก็มาถึงศาลเจ้ามินะโตะแล้วค่ะ
  • 37:04 - 37:06
    ก็คือศาลเจ้าที่วิวพูดถึงมาตั้งแต่ต้นอ่ะนะ
  • 37:06 - 37:12
    ซึ่งศาลเจ้าที่นี่ เค้าถือว่าเป็นแบบแหล่งบันเทิงเริงใจของ
    เหล่าโออิรันหรือเหล่ายูโจะทั้งหลายค่ะ
  • 37:12 - 37:16
    คือเมื่อกี้ตอนที่เราไปวัดอาจจะเป็นการขอพรอะไรที่
  • 37:16 - 37:19
    เออ เรื่องสุขภาพ เรื่องลูก เรื่องอะไรที่แบบจริงจังนิดนึง
  • 37:19 - 37:21
    แต่ว่าที่นี่เรื่องการค้าล้วนๆ เลยค่ะ
  • 37:21 - 37:23
    แล้วก็เป็นเหมือนแบบว่าความบันเทิงเล็กๆ ของเค้าด้วย
  • 37:23 - 37:24
    เพราะว่าที่นี่ของเล่นเยอะนะคะ
  • 37:24 - 37:26
    เดี๋ยวเราเข้าไปดูด้านในกัน มาๆ
  • 37:27 - 37:29
    ค่ะ สิ่งแรกที่เราจะเจอก็คือ เสาโทะริอิ นั่นเอง
  • 37:29 - 37:31
    บอกว่าเรากำลังเข้าไปสู่ดินแดนแห่งเทพเจ้าแล้วนะ
  • 37:31 - 37:33
    ไม่ใช่ดินแดนของมนุษย์ทั่วไปแล้วนะคะ
  • 37:33 - 37:38
    เข้ามาถึงก็เจอเหมือนเดิมเลย ก็คือที่ล้างมือ
    ล้างทุกอย่างให้เราสะอาด
  • 37:38 - 37:40
    เพื่อที่เราจะได้เข้าสู่ดินแดนแห่งเทพเจ้าเนอะ
  • 37:40 - 37:43
    เข้ามาเรื่อยๆ นะ ก็จะเจอกับ
  • 37:43 - 37:44
    สิ่งนี้คือ โคะมะอินุ นะคะ
  • 37:44 - 37:48
    โคะมะอินุก็คือลูกครึ่งระหว่างสิงโตกับสุนัข ประมาณนั้นนะคะ
  • 37:48 - 37:52
    เค้าบอกว่าเป็นที่ที่ให้มาขอพร ศักดิ์สิทธิ์มากนะคะ
  • 37:52 - 37:54
    เป็นแท่นหินที่สามารถหมุนซ้ายหมุนขวาได้ค่ะ
  • 37:54 - 37:57
    ผู้หญิงเนี่ยให้หมุนด้านซ้าย ส่วนผู้ชายให้หมุนด้านขวา
  • 37:57 - 37:58
    ปัจจุบันเนี่ยขอพรอะไรก็ได้
  • 37:58 - 38:01
    แต่ถามว่าพวกยูโจะกับโออิรันเนี่ยมาขอพรอะไร
  • 38:01 - 38:02
    อ่ะ เดากันได้มั้ย
  • 38:02 - 38:04
    เค้าบอกว่า เค้าจะมาขอพรนะคะ หมุนๆๆ
  • 38:04 - 38:07
    แล้วก็ขอพรว่า ให้ลมตะวันตกพัดแรงๆ หน่อยจ้า
  • 38:07 - 38:09
    ลมตะวันตกพัดแรงๆ เกี่ยวอะไร
  • 38:09 - 38:11
    คือลมตะวันตกเนี่ยนะคะ
  • 38:11 - 38:14
    เวลาพัดมา ทะเลมันจะคลั่งค่ะ ทะเลแบบคลั่ง บ้าคลั่งเลยนะ
  • 38:14 - 38:16
    ออกเรือไม่ได้
  • 38:16 - 38:19
    ดังนั้นคนที่มากับเรือเดินสมุทรขนาดใหญ่ก็จะออกเรือไม่ได้
  • 38:19 - 38:22
    ใครที่ค้าขายต่างๆ ออกเรือไม่ได้ ก็ว่าง
  • 38:22 - 38:24
    ติดอยู่ที่เมืองนี้ทำไรอะไรคะ
  • 38:24 - 38:25
    ใช้บริการยูโจะนั่นเอง
  • 38:25 - 38:27
    ดังนั้นถ้าช่วงทะเลคลั่งลูกค้าก็จะเยอะนะคะ
  • 38:27 - 38:29
    ก็จะมาขอพรอะไรประมาณนี้กันค่ะ
  • 38:29 - 38:32
    เท่านั้นยังไม่พอ ยังมีพรต่างๆ ที่ขอกันอีกมากมายเลย
  • 38:32 - 38:34
    ที่วิวบอกค่ะว่าจะมีเทพเข้าจิ้งจอกเนอะ
  • 38:34 - 38:37
    เค้าก็จะมาขอพรแล้วก็ผูกๆ ขาไว้ต่างๆ ค่ะ
  • 38:37 - 38:40
    ซึ่งคนสมัยปัจจุบันเนี่ย อยากขออะไรก็ขอไปเถอะ
  • 38:40 - 38:44
    แต่คนสมัยนั้นเนี่ย ยูโจะทั้งหลายถามว่ามาผูกทำไมนะคะ
  • 38:44 - 38:46
    ก็คือถ้าสมมติว่าอยากได้ลูกค้าคนนี้มากๆ เลย
  • 38:46 - 38:50
    ประมาณว่า ฉันอยากเกษียณแล้วจ้า มาแต่งงานกับฉันเถอะจ้า มาติดฉันตลอดไป
  • 38:50 - 38:54
    เค้าก็จะเขียนชื่ออะไรอย่างนี้ แล้วเอามาผูกที่ขาของจิ้งจอกนะคะ
  • 38:54 - 38:57
    ผูกปึ๊บก็เรียกได้ว่าผูกลูกค้าไว้กับตัวเอง ประมาณนั้นเลยค่ะ
  • 38:57 - 38:59
    ก็เป็นความเชื่อของคนสมัยนั้นเนอะ
  • 38:59 - 39:02
    เข้าไปด้านในนะคะ ก็จะเป็นเทพเจ้าเหมือนปกติ
  • 39:02 - 39:04
    ซึ่งเราจะไม่ถ่ายให้เห็นเทพเจ้านะคะ
  • 39:04 - 39:06
    เพราะว่าคนสมัยก่อนไม่ให้มองเทพเจ้าโดยตรงเนอะ
  • 39:06 - 39:10
    แต่ว่าสิ่งที่พิเศษสิ่งนึงในศาลเจ้านี้คือ มันมีของเล่นเยอะมาก
  • 39:10 - 39:12
    อย่างที่เห็นภาพอยู่ตอนนี้เนอะก็จะเป็น
  • 39:12 - 39:16
    มีเซียมซีหลากหลายชนิด เรียกได้ว่าทำนายดวงชะตาต่างๆ
  • 39:16 - 39:18
    มีคำอวยพรจากเทพเจ้าให้เล่น
  • 39:18 - 39:21
    มีการแบบว่า คำอวยพรจากเทพเจ้าที่เป็นตกปลา
  • 39:21 - 39:23
    มีเครื่องรางของขลังอะไรต่างๆ มากมาย
  • 39:23 - 39:29
    ก็น่าจะเป็นความบันเทิงเริงใจแบบยึดเหนี่ยวทางจิตใจ
    ของคนที่ทำงานแบบเป็นยูโจะหรือเป็นโออิรันประมาณนั้นนะคะ
  • 39:29 - 39:32
    ก็ศาลเจ้านี้ก็ประมาณนี้ค่ะ
  • 39:32 - 39:37
    เป็นยังไงบ้างคะที่เราไปดูมาทั้งหมดเกี่ยวกับโออิรัน เหมืองทอง แล้วก็การเดินเรือนะคะ
  • 39:37 - 39:40
    จะเห็นว่าทุกอย่างมันดูเกี่ยวพันกันไปหมดเลยนะ
  • 39:40 - 39:45
    มันมีเหตุมีผลของตัวเองว่าแบบทำไมอะไรจะต้องมาตั้งอยู่ตรงนี้ ทำไมอะไรต้องตั้งอยู่ตรงนั้นนะคะ
  • 39:45 - 39:50
    ก็เป็นว่าใครสนเรื่องพวกนี้อย่าลืมมาเที่ยวที่เกาะซาโดะ
    แล้วก็เมืองนีงะตะนะคะ
  • 39:50 - 39:55
    สำหรับตอนนี้ถ้าใครอยากให้วิวพาไปเที่ยวที่ไหนอีก
    ก็อย่าลืมคอมเมนต์มาด้านล่างค่ะ
  • 39:55 - 39:56
    แล้วก็กดไลก์เป็นกำลังใจให้วิว
  • 39:56 - 39:58
    แล้วก็กดแชร์เพื่อชวนเพื่อนๆ มาดูด้วยกันนะคะ
  • 39:58 - 40:02
    แล้วพบกันใหม่โอกาสหน้าค่ะทุกคน บ้าย บาย สวัสดีค่า
  • 40:02 - 40:04
    แอบเกริ่นไปนิดนึงว่าเกาะซาโดะเนี่ยคาเฟ่สวย
  • 40:04 - 40:06
    เดี๋ยวจะไม่เชื่อกันนะคะ
  • 40:06 - 40:08
    วันนี้พามาดูชิมะฟุมิค่ะ
  • 40:08 - 40:09
    คาเฟ่ริมทะเลที่เกาะซาโดะ
  • 40:09 - 40:11
    บอกเลยว่าเก๋มากๆ
  • 40:11 - 40:13
    และในเกาะนี้มีคาเฟ่แบบนี้อีกเพียบเลยค่ะ
  • 40:13 - 40:15
    ดังนั้นอย่าพลาดนะจ๊ะทุกคน
  • 40:15 - 40:18
    วันนี้ลาไปก่อนค่ะ บ้าย บาย สวัสดีค่ะ
Title:
บุกบ้านโออิรัน 5 วันบนเกาะซาโดะ นีงะตะ ft. Wiri | Point of View On Tour EP. 42 x Niigata
Description:

more » « less
Duration:
40:18

Thai subtitles

Revisions