เรียนอย่างมีความสุข (Learning with happiness) |โจน จันได ( Jon Jandai) | TEDxChiangMai
-
0:11 - 0:15วันนี้ผมอยากจะเล่าเรื่องประสบการณ์
-
0:15 - 0:18เกี่ยวกับการศึกษาให้ฟัง
-
0:20 - 0:22มันอาจจะต่างจากที่หลาย ๆ คนคาดหวัง
-
0:23 - 0:26แต่ก่อนผมก็รู้สึกเหมือนคนทั่ว ๆ ไปว่า
-
0:26 - 0:29การศึกษาคือสิ่งที่จะทำให้ชีวิตเราดีขึ้น
-
0:29 - 0:32การศึกษาคือสิ่งที่จะทำให้เราก้าวไปสู่
-
0:32 - 0:34ความสำเร็จในชีวิตได้
-
0:35 - 0:38ผมเคยรู้สึกอย่างนั้นและก็เคยพยายาม
-
0:38 - 0:41ที่จะต่อสู้เพื่อที่จะประสบผลสำเร็จ
-
0:41 - 0:43โดยการที่พยายามเรียนให้มากที่สุด
-
0:45 - 0:47แต่สิ่งที่ผมเห็นกลับตรงกันข้าม
-
0:49 - 0:51นักเรียนรุ่นเดียวกับผม
-
0:51 - 0:54ที่เรียนชั้นประถมมาด้วยกัน หกสิบกว่าคน
-
0:54 - 0:57คนที่เรียนเก่งที่สุดตอนนี้คือ
-
0:57 - 0:59เป็นข้าราชการคนหนึ่งที่มีแต่หนี้สิน
-
1:00 - 1:05หลาย ๆ คนในห้องผมเนี่ย
พ่อแม่ต้องขายควายทั้งฝูง -
1:05 - 1:10เพื่อส่งลูกเรียน บางคนต้องขายที่นา
-
1:10 - 1:13เพื่อส่งลูกเรียน แล้วเป็นหนี้
-
1:13 - 1:17และพอจบออกมาคนเหล่านี้
แม้จะได้งานแต่เขาก็ไม่มีปัญญา -
1:19 - 1:22ที่จะซื้อที่นาคืนให้พ่อแม่ได้
-
1:22 - 1:26เขาคือลูกจ้างราคาถูก
-
1:26 - 1:30ที่จะต้องหาเลี้ยงชีวิต
ด้วยความยากลำบากต่อไป -
1:32 - 1:36มันทำให้ผมรู้สึกว่า การศึกษาสำหรับคนจน
-
1:36 - 1:41เหมือนกับการพนัน เหมือนมากและตอนนี้
-
1:41 - 1:46ผมก็เริ่มเห็นคนจำนวนมาก ที่ต้องต่อสู้
-
1:46 - 1:48กระเสือกกระสนทำงานมากกว่าสิบปี
-
1:48 - 1:54เพื่อส่งลูกเรียน
เขาสละเวลาของชีวิต มากกว่าสิบปี -
1:54 - 1:59เพื่อส่งลูกเรียน
พอจบออกมาลูกก็หางานทำไม่ได้ -
1:59 - 2:03หรือหางานทำได้ ก็เป็นได้แค่แรงงานราคาถูก
-
2:06 - 2:11ในมุมมองของคนจน รู้สึกว่าการศึกษาเนี่ย
-
2:11 - 2:13ทำร้ายเรามากทีเดียว
-
2:16 - 2:19เราเรียนเยอะมาก
-
2:19 - 2:22แต่สิ่งที่เรานำมาใช้ในชีวิต
กลับไม่ใช่สิ่งที่เราเรียน -
2:22 - 2:26ทำไมเราต้องสูญเสียเวลาอันมีค่า
-
2:26 - 2:29ของชีวิตเกือบยี่สิบปี ใช้เงินเป็นล้าน
-
2:29 - 2:32เพื่อที่จะเรียนสิ่งที่เราจะไม่ได้ใช้
-
2:33 - 2:36ผมจำได้ว่า ผมเกลียดคณิตศาสตร์มาก
-
2:36 - 2:40แต่ผมก้มหน้าก้มตาเรียน ซาย คอส แทน
-
2:40 - 2:43เรียนพายอาร์ กำลังสอง
-
2:43 - 2:48แล้ววันนี้ผมยังไม่เห็นใครเลยในชีวิต
ที่ถอดสแควรูทในชีวิต -
2:48 - 2:55(เสียงปรบมือ)
-
2:55 - 2:58มีคนจำนวนมากรุ่นผม เรียนภาษาอังกฤษ
-
2:58 - 3:01ตั้งแต่ป.1 จนถึงปริญญาตรี
-
3:03 - 3:05รุ่นผม หกสิบคน
ไม่มีใครพูดภาษาอังกฤษสักคน -
3:05 - 3:10มีแต่ผมพอพูดได้งู ๆ ปลา ๆ
-
3:10 - 3:12จะให้เขาพูดได้ไง
ในเมื่อครูสอนยังพูดไม่ได้ -
3:12 - 3:16แล้วเราเรียนทำไมอ่ะ เราเสียเวลาอันมีค่า
-
3:16 - 3:21ของชีวิตไปอย่างน่าเสียดาย ชีวิตของคนมีค่ามาก
-
3:21 - 3:27เวลาทุกนาทีมันยิ่งใหญ่มาก
-
3:27 - 3:31แต่เรากลับทำให้มันสูญเปล่า
ไปอย่างไร้ประโยชน์มาก -
3:31 - 3:34พอผมมีลูกขึ้นมาผมเริ่มคิดถึงเรื่อง
-
3:34 - 3:38การศึกษามากขึ้นว่า จริง ๆ แล้วการศึกษา
-
3:38 - 3:39มันคืออะไร
-
3:42 - 3:45ผมเห็นสองด้าน ผมเห็นสองอย่าง
-
3:45 - 3:49ที่การศึกษานำออกจากชีวิตของเรา
อย่างแรก -
3:49 - 3:50คือความรัก
-
3:53 - 3:55ความรักเกิดจากความใกล้ชิด
-
3:55 - 3:58ความผูกพัน การร่วมทุกข์ร่วมสุข
-
4:01 - 4:07แต่ พอเราไปเข้าโรงเรียน
-
4:10 - 4:12ความรักหายไป
-
4:12 - 4:15เพราะว่าความผูกพันมันหายไปใช่ไหม
-
4:16 - 4:20จำได้ไหม วันที่เศร้าโศกที่สุดในชีวิตก็คือ
-
4:21 - 4:23วันที่พ่อแม่ไปส่งลูกไปโรงเรียน
-
4:23 - 4:26วันแรกครับ เป็นอย่างนี้แหละครับ
-
4:29 - 4:32ทำไมเราต้องเริ่มต้นชีวิตของเด็กคนหนึ่ง
-
4:32 - 4:36ด้วยความเศร้า ในเมื่อโลกนี้มันสนุกมาก
-
4:36 - 4:38มันทำให้อะไรสนุกสนานได้หลายอย่าง
-
4:38 - 4:42แต่เราทำไมต้องบังคับให้ลูกเศร้าตั้งแต่แรก
-
4:42 - 4:44เราทำไมต้องฝึกให้เด็กเครียดและกลุ้ม
-
4:44 - 4:46ต้องเรียนในสิ่งที่เขาไม่อยากเรียน
-
4:48 - 4:52ผมจำได้ว่าตอนเป็นเด็ก
-
4:52 - 4:57คอมมิวนิสต์กำลังยึดครอง
เขมร ลาว และเวียดนาม -
4:57 - 5:01ข่าวที่กระพือออกมาในหมู่บ้านก็คือ
ถ้าเราเป็นคอมมิวนิสต์ -
5:01 - 5:05เขาจะจับเด็กไปเข้าค่ายล้างสมอง
-
5:05 - 5:10แล้วเอาพ่อแม่ไปลากไถแทนควายทำงานหนัก
-
5:10 - 5:16แล้วให้พ่อแม่กินข้าววันละ หนึ่งกระป๋อง
ผมกลัวมาก -
5:16 - 5:19แอบไปนั่งร้องไห้คนเดียวอยู่บ่อยมากเลย
-
5:19 - 5:22คิดถึงเรื่องนี้ทีไรร้องไห้ทุกที เพราะอะไร
-
5:22 - 5:26เพราะผมรักพ่อแม่มาก
ผมไม่อยากจะถูกพรากจากพ่อแม่ไป -
5:26 - 5:31แต่วันนี้เหตุการณ์ที่ผมกลัวที่สุด
-
5:31 - 5:33กลับเป็นเรื่องปกติในชีวิตของคนทุกคน
-
5:37 - 5:40อันนี้คือสิ่งที่ผมไม่เข้าใจว่า
-
5:40 - 5:42ทำไมสิ่งที่ผมเคยกลัวมันถึงเป็นเรื่องปกติ
-
5:42 - 5:44ทำไมเราต้องพรากลูกออกจากพ่อ แม่
-
5:47 - 5:50ความรักไม่ใช่สัญชาตญาณอย่างเดียว
-
5:51 - 5:55มันคือมรดกชีวิตที่ถูกพัฒนา
-
5:55 - 5:59และส่งต่อมาไม่รู้กี่ชั่วโครตจนมาถึงรุ่นเรา
-
5:59 - 6:01แต่พอรุ่นเรา เราไม่ได้ส่งต่อ
-
6:01 - 6:05มรดกชีวิตอันล้ำค่านี้ไว้ให้ลูก
-
6:05 - 6:08โดยการเราตัดขาดลูกออกจากพ่อแม่
-
6:08 - 6:10เพื่อไม่ให้มีความผูกพันกัน
-
6:10 - 6:13เพื่อให้ทุกคนไม่มีความเกี่ยวข้องกัน
-
6:13 - 6:17แล้วเราจะโดดเดี่ยวที่สุด เหงาที่สุด
-
6:17 - 6:19อันนี้คือสิ่งแรกที่ผมเห็นว่ามันหายไปจากชีวิต
-
6:19 - 6:22โดยการศึกษาทำมันหายไป
-
6:22 - 6:26อันที่สองคือ จินตนาการ
-
6:26 - 6:29จิตนาการคือ สิ่งหนึ่งที่เกิดขึ้นในชีวิตของคน
-
6:29 - 6:32มันจะเกิดขึ้นได้ง่ายที่สุดในช่วงที่อายุไม่เกินสิบปี
-
6:32 - 6:36ช่วงนี้เป็นช่วงที่สมองกำลังว่างเปล่า
-
6:36 - 6:39เด็ก ๆ ก็จะเริ่มจินตนาการ
-
6:39 - 6:44การเล่นกับทรายการเล่นกับดิน ดึงใบไม้มาเล่น
-
6:44 - 6:47เอากิ่งไม้มาทำเป็นนั่นเป็นนี่ นั่นคือ
-
6:47 - 6:52การพัฒนาจินตนาการที่ยิ่งใหญ่มาก
-
6:52 - 6:55พอโตขึ้นคนจะจินตนาการได้น้อยลง
เพราะคนเราอัดข้อมูล -
6:55 - 6:58ไปในเต็มสมองเกินไป
-
6:58 - 7:02ฉะนั้นเราจะจิตนาการไม่ได้
เราคิดทำได้แค่ลอกเลียน -
7:02 - 7:06หรือก๊อปปี้ความคิดของคนอื่น
-
7:06 - 7:08ดูอย่างเมืองไทย
เวลาเราจะพัฒนาอะไรสักอย่าง -
7:08 - 7:10พัฒนาการเลือกตั้ง พัฒนาประชาธิปไตย
-
7:10 - 7:13พัฒนานั่น พัฒนานี่ ข้าราชการและนักการเมือง
-
7:13 - 7:17ต้องไปดูงานต่างประเทศ
-
7:17 - 7:23ไปทำไม (เสียงปรบมือ)
-
7:23 - 7:25ไปลอกเลียนครับ ไปลอกเลียนเขามา
-
7:25 - 7:28เพราะตัวเองคิดไม่เป็น
-
7:28 - 7:33เพราะเราไม่ได้สร้างสรรค์จินตนาการให้มีชีวิตต่อไป
-
7:33 - 7:37เด็กจะจินตนาการได้ในช่วงที่อายุไม่เกินสิบปี
-
7:37 - 7:41ฉะนั้นช่วงนี้ไม่ควรจะให้เด็กเรียนหนังสือ
-
7:41 - 7:44เด็กจะต้องสนุก จะต้องเล่น
-
7:44 - 7:46จะต้องสัมผัสกับความสุข สัมผัสกับอิสรภาพ
-
7:46 - 7:49สัมผัสกับจินตนาการที่เขาสามารถ
-
7:49 - 7:54ที่จะทำอะไรก็ได้ นั่นคือสิ่งสำคัญที่สุด
-
7:54 - 8:01แต่พอเราส่งลูกเข้าโรงเรียนอายุสามปี อนุบาล
-
8:01 - 8:04บังคับให้เรียนพิเศษ เรียนนั่นเรียนนี่
-
8:04 - 8:07กระเป๋านี่หนักกว่ากระเป๋าผู้ใหญ่อีก
-
8:07 - 8:11เราบังคับให้เด็กเครียดและกลุ้ม
-
8:11 - 8:14ตั้งแต่อายุยังน้อย
-
8:14 - 8:20เขาเริ่มร่วงโรยโดยที่ยังไม่ได้บาน
ทำไมเราทำร้ายเด็กขนาดนั้น -
8:20 - 8:26เรียนมาก ๆ แล้วก็เก่งขึ้นไหมครับ เก่งขึ้นไหม
-
8:26 - 8:29เราดูสิเมืองไทยมีมหาวิทยาลัยเต็มบ้าน
-
8:29 - 8:32มีนักเรียนจบมหาศาล
-
8:32 - 8:35แค่น้ำท่วมกรุงเทพกลายเป็นปัญหาใหญ่
-
8:35 - 8:38น้ำท่วมมันเป็นเรื่องธรรมดามาไม่รู้กี่ชั่วโครต
-
8:38 - 8:42แต่วันนี้น้ำท่วมกลายเป็นปัญหา
-
8:42 - 8:46แล้วน้ำท่วมคนไม่มีน้ำกิน ต้องซื้อน้ำขวดมาดื่ม
-
8:46 - 8:49นี่คือวิกฤตทางความคิด นี่คือวิกฤตทางการศึกษา
-
8:49 - 8:52ที่เราไม่สามารถจะแก้ไขปัญหาได้
-
8:52 - 8:54เราเรียนไปทำไม เรียนเพื่อที่จะให้เรื่องธรรมดา
-
8:54 - 9:04กลายเป็นปัญหา (เสียงปรบมือ)
-
9:09 - 9:16เวลาเด็กจินตนาการไม่ได้ มันจะเครียด
-
9:16 - 9:21และกลุ้มและก็เบลอ
-
9:21 - 9:24โตขึ้นก็คุ้นเคยกับความเครียด ความกลุ้ม
-
9:24 - 9:27ชีวิตก็เป็นแบบนี้แหละ
เกิดขึ้นมาก็ทำงานหาเงินใช้เงิน -
9:27 - 9:29หาเงินใช้เงิน มีแค่นี้แหละ
ไม่มีอะไรมากไปกว่านี้หรอก -
9:29 - 9:33คนก็ไม่คิด
-
9:33 - 9:34เพราะวัตถุประสงค์หลักของโรงเรียนในปัจจุบันนี้คือ
-
9:35 - 9:38สอนอยู่สามอย่าง ฝึกให้คนเชื่อฟัง ทำตาม
-
9:38 - 9:46และห้ามคิดต่าง มีแค่นี้ครับ (เสียงปรบมือ)
-
9:46 - 9:50ฝึกยังไง ทุกคนต้องแต่งตัวเหมือนกัน
-
9:50 - 9:53ตัดผมเหมือนกัน ทำข้อสอบก็ต้องคำตอบเดียวกัน
-
9:53 - 9:56ห้ามคิดนะครับ มีข้อให้เลือกแค่ 4 ข้อ
-
9:56 - 10:04ก ข ค และ ง คิดไม่ได้ ห้ามคิด (เสียงปรบมือ)
-
10:04 - 10:06พอจบออกมาเราก็เลยคิดไม่เป็น
-
10:06 - 10:10เราก็เลยได้แต่เชื่อฟังและทำตาม
-
10:10 - 10:12มันก็เลยเป็นปัญหาสังคม
-
10:12 - 10:14จบปริญญามามีความรู้มากแต่ตกงาน มีความรู้ตกงาน
-
10:14 - 10:18ได้ยังไง หมายความว่าสิ่งที่เราเรียนมา
-
10:18 - 10:21มันไร้สาระมาก ไม่มีประโยชน์มาก ใช่ไหม
-
10:21 - 10:23มองดูสิ่งที่เราเรียนสิ ทุกอย่างไกล
-
10:23 - 10:27จากตัวเราทั้งหมด เรียนโลก ดวงจันทร์
-
10:27 - 10:30ประธานาธิบดีของประเทศนั้น ประเทศนี้
-
10:30 - 10:33เรียนเรื่องหินแกรนิต หินลิกไนต์ หินนั่น หินนี่
-
10:33 - 10:38แต่ตัวเองไม่เคยเรียนเลยอ่ะ
-
10:38 - 10:40เรียนจบมาก่อไฟ หุงข้าวไม่เป็น
-
10:40 - 10:43ไม่รู้ว่าผักอะไรมันกินได้
-
10:43 - 10:47เวลาป่วยมาบอกว่าต้องไปหาหมอนะ
หมองานล้นมือแทบจะใจขาดแล้ว -
10:47 - 10:51ร่างกายเรามันเจ็บป่วย
-
10:51 - 10:55ทำไมเราไม่เรียนรู้ที่จะดูแลตัวเอง
ทำไมการศึกษาไม่สอนเรา -
10:56 - 10:59สิ่งที่เกี่ยวข้องกับเรา เราไม่เรียนรู้เลย
-
10:59 - 11:03เราไปเรียนรู้กัมตภาพรังสี ยูเรเนียม
-
11:03 - 11:05แต่ผงชูรสเรากินทุกวัน มีใครรู้ไหม
-
11:05 - 11:13มันคืออะไร ใช่ไหม (เสียงปรบมือ)
-
11:13 - 11:16อันนี้แหละที่ทำให้ผมรู้สึกว่า
-
11:16 - 11:18ระบบการศึกษาสร้างความเสียหาย
-
11:18 - 11:22ให้กับชีวิตคนมหาศาลมาก
-
11:22 - 11:28คนจำนวนมากต้องสูญเสียโอกาสทั้งชีวิต
ไปอย่างน่าเสียดาย -
11:28 - 11:32แล้วก็มันทำให้ผมคิดถึงลูกมาก
-
11:32 - 11:37ลูกผมที่กำลังจะเกิดมา
ผมไม่อยากจะให้ลูกเป็นเหมือนคนอื่น -
11:37 - 11:39เพราะผมมองเห็นคนเข้าโรงเรียน
-
11:39 - 11:43เดินเข้าโรงเรียน ผมรู้สึกเหมือน
-
11:43 - 11:47เด็ก ๆ กำลังเดินเข้าโรงงาน
เพื่อที่จะถูกแปรรูปออกมา -
11:49 - 11:54เป็นผลผลิตทางอุตสาหกรรม
-
11:54 - 11:58คือ ผลิตออกมาให้มีมาตรฐานเดียวกัน
คือเป็นภาพที่ดีในระบบธุรกิจ -
12:01 - 12:05ฉะนั้น พอมีลูกขึ้นมาผมจึงคิดถึงว่า
-
12:05 - 12:08สิ่งที่สำคัญที่สุดที่มนุษย์จะต้องเรียนคือ
-
12:08 - 12:11ความสามารถในการพึ่งตนเอง อย่างน้อย ๆ
-
12:11 - 12:15ปัจจัย 4 คือเรื่องอาหาร เรื่องที่อยู่อาศัย
-
12:15 - 12:18ข้าวของเครื่องใช้ และการรักษาโรค
-
12:18 - 12:21นี่คือรากเหง้าของชีวิตที่ทุกคนจะต้องเรียน
-
12:21 - 12:24ถ้ารากฐานดีเนี่ย เราจะไม่กลัว เราจะมั่นใจ
-
12:24 - 12:27เราจะมีชีวิตอยู่บนโลกได้อย่างภาคภูมิใจ
-
12:27 - 12:31แต่การศึกษาตัดรากเราออกทั้งหมดเลย
-
12:31 - 12:35ไม่มีใครได้เรียนปัจจัยสี่เลย
-
12:35 - 12:37ฉะนั้นเราจึงกลัวมาก ทุกครั้งที่จบมหาวิทยาลัย
-
12:37 - 12:40คนจึงรู้สึกว่าไม่ได้เรียนอะไรเลย
-
12:40 - 12:43เราไม่รู้เรื่องอะไรเลย ใช่ไหม
-
12:43 - 12:46และเราจะรู้สึกกลัวเคว้งคว้างมาก
-
12:46 - 12:48ฉะนั้นเวลาเรารู้สึกไม่มั่นคง รู้สึกกลัวเนี่ย
-
12:48 - 12:52มันจะบอกว่าถ้าคุณต้องการความมั่นคง
-
12:52 - 12:55คุณต้องมีเงิน ฉะนั้นถ้าคุณต้องการเงิน
-
12:55 - 12:58คุณต้องทำงานหนัก
-
12:59 - 13:02นั่นคือการใช้ชีวิตทั้งชีวิตเพื่อทำงาน
-
13:02 - 13:07ฉะนั้นพอผมมีลูกขึ้นมา
ผมก็เลยคิดถึงการศึกษาทางเลือก -
13:07 - 13:10พอดีเมืองไทยมีกฎหมายให้ทำโฮมสคูลได้
เราก็เลยมาทำโฮมสคูลกัน -
13:10 - 13:15ซึ่งขั้นตอนก็ไม่ได้ยาก
-
13:15 - 13:18ก็ไปติดต่อที่การศึกษาเขต
-
13:18 - 13:21แล้วเขาก็จะให้เรามาทำหลักสูตร
เราก็มาเขียนหลักสูตร -
13:21 - 13:23แล้วก็ส่งเขา ถ้าเขาอนุมัติแล้วเราก็มาสอนเอง
-
13:24 - 13:28หลักสูตรเขียนให้กระทรวงศึกษาพอใจ
-
13:28 - 13:35ยังไงก็ได้ เขียนไปเถอะครับ (เสียงปรบมือ)
-
13:35 - 13:40แต่เวลาสอนเราสอนต่างกัน
อย่างผมสอนเด็กสอนลูกเนี่ย -
13:40 - 13:46ให้ลูกปลูกผัก ปลูกผักแปลงเดียว
-
13:46 - 13:48เรียนทั้ง คณิตศาสตร์ วิทยาศาสตร์
-
13:48 - 13:51เรียนทั้งการอาชีพและเทคโนโลยี จบครับ
-
13:52 - 13:55เราสอนลูกวันนึงไม่ถึง 2 ชั่วโมง
-
13:55 - 13:57ที่นั่งสอนจริง ๆ คือ ภาษาไทย ภาษาอังกฤษ
-
13:57 - 13:59คณิตศาสตร์ เท่านั้นเอง
-
13:59 - 14:03ที่เหลือมันอยู่ในชีวิตประจำวัน ทำไมเราต้องสอน
-
14:03 - 14:05หลาย ๆ อย่างเด็กมันเรียนรู้ได้เอง
-
14:07 - 14:10ลูกผมอายุ 9 ปี ออกเรือนแล้วนะครับ
-
14:11 - 14:17สร้างบ้านอยู่เองได้แล้ว 9 ปี (เสียงปรบมือ)
-
14:20 - 14:22ผมจำได้ ตั้งแต่เกิดมา
-
14:22 - 14:23ซื้อของเล่นให้ลูกไม่ถึง 10 ครั้ง
-
14:25 - 14:27เขาไม่ค่อยได้ต้องการของเล่น
-
14:27 - 14:28เพราะเขาหาของเล่นในสวนได้
-
14:28 - 14:30ถ้าเขาอยากได้อะไรเขาจะหาเงินเอง
-
14:31 - 14:34เขาเคยทำขนมขายเพื่อหาเงินซื้อเลโก้
-
14:35 - 14:38เคยทำไฟฉายจากแบตเตอรี่ถ่านโทรศัพท์เก่า
-
14:39 - 14:42ขายอันละ 150 เพื่อหาเงินซื้อเลโก้
-
14:43 - 14:47อันนี้ คือสิ่งที่ลูกทำ
-
14:48 - 14:50ซึ่งพ่อแม่ แทบจะไม่ได้จ่ายเงินให้ลูกเลย
-
14:51 - 14:52ผมรู้สึกว่ามันง่ายมาก
-
14:52 - 14:56แล้วเราก็เห็นว่าลูกอายุ 11 ปี ปีนี้
-
14:56 - 14:59เขาเริ่มเรียนรู้ด้วยตัวเองสูงมาก
-
14:59 - 15:02เขาเริ่มออกแบบบ้านเองได้
เริ่มทำอะไรต่าง ๆ เองได้ -
15:02 - 15:05ซึ่งตรงนี้ผมคิดว่ามันน่าสนใจมาก
-
15:07 - 15:10เราก็เลยสอนในเรื่องของปัจจัยสี่เป็นหลัก
-
15:10 - 15:13ให้ลูกพึ่งตนเองได้ ถ้าลูกพึ่งตนเองได้
-
15:13 - 15:18พ่อแม่ตายโดยไม่ต้องห่วง ยังไงเขาก็อยู่ได้
-
15:18 - 15:22(เสียงปรบมือ)
-
15:23 - 15:27เรามีเพื่อนเยอะมากครับ มีตัวอย่างหนึ่ง
-
15:27 - 15:29ที่น่าสนใจคือน้องต้นกล้า
-
15:29 - 15:33ต้นกล้าอายุ 13 ปี ปีนี้
-
15:34 - 15:38ตอนเขาอายุ 12 ปี เขาก็ทำโฮมสกูล
-
15:38 - 15:42มาตั้งแต่แรก งานหลักของเขา
วิชาหลักของเขา คือการเลี้ยงเป็ด -
15:42 - 15:46พ่อทำนา ลูกเลี้ยงเป็ด
-
15:47 - 15:51เลี้ยงเป็ดเป็นวิชาที่มีทุกวิชาอยู่ในนั้น
-
15:51 - 15:54สองปีที่แล้ว เขาไปเที่ยว อเมริกากับลูกผม
-
15:54 - 15:57โดยไม่ได้ขอเงินพ่อแม้แต่บาทเดียว
-
15:57 - 16:00หกหมื่นกว่าบาท ค่าเดินทาง ค่าอะไรต่าง ๆ
-
16:00 - 16:06เก็บจากไข่เป็ด (เสียงปรบมือ)
-
16:08 - 16:11ฉะนั้นการศึกษาไม่ควรจะเป็นเรื่องยาก
-
16:12 - 16:15ไม่ควรจะเป็นภาระ
-
16:15 - 16:19การศึกษาจะต้องง่ายและสนุก
ไม่ใช่เครียดและกลุ้ม -
16:19 - 16:21การศึกษาไม่ควรจะเป็นภาระให้ทั้งพ่อ แม่
และตัวเอง -
16:21 - 16:25ไม่ควรจะเป็นภาระให้รัฐบาล
-
16:25 - 16:28เด็กเรียนอะไร
มันต้องใช้อันนั้นเลี้ยงชีพให้ได้ด้วย -
16:28 - 16:30นั่นคือการศึกษาที่จะทำให้เกิดความยั่งยืน
-
16:30 - 16:33มีชีวิตอยู่ได้อย่างภาคภูมิใจ
-
16:33 - 16:36การศึกษาในปัจจุบัน
-
16:36 - 16:39เราต้องพึ่งพิงอะไรทุกอย่างทั้งหมดเลย
-
16:39 - 16:44ฉะนั้นปัจจุบันนี้
ถ้าเรามีสิทธิที่จะออกแบบการศึกษาเอง -
16:44 - 16:47ผมว่าเราจะเกิดมหัศจรรย์ทางความคิด
-
16:47 - 16:50เกิดความหลากหลาย
-
16:50 - 16:53เกิดความมั่นคงยั่งยืนทางความคิดอย่างน่าทึ่ง
-
16:53 - 16:55แต่ปัจจุบันนี้การศึกษาถูกรวมศูนย์
-
16:55 - 16:58อยู่ในกระทรวงศึกษาอย่างเดียว
-
16:58 - 17:01พยายามที่จะให้คนคิดเหมือนกัน
-
17:01 - 17:05การคิดเหมือนกัน ทำเหมือนกัน
นั่นคือการก้าวไปสู่ความล่มสลาย -
17:05 - 17:08ความแตกต่างคือความมั่นคง
ความแตกต่างคือความยั่งยืน -
17:08 - 17:11ความแตกต่างคือความสวยงามครับ
-
17:11 - 17:15ฉะนั้นการศึกษาควรจะออกนอก
จากการครอบงำ -
17:15 - 17:19ของกระทรวงศึกษาหรือรัฐบาล
-
17:19 - 17:24ควรจะเป็นสิทธิของชุมชน (เสียงปรบมือ)
-
17:27 - 17:29ชุมชนต้องออกแบบการศึกษาเอง
-
17:29 - 17:32เพื่อตอบสนองสิ่งที่เขาต้องการ
-
17:32 - 17:34ไม่ใช่ว่าจะมาออกแบบ
ให้เขาไปเป็นทาสของระบบ -
17:34 - 17:38อย่างที่เป็นอยู่ในปัจจุบัน
-
17:38 - 17:41ผมจึงอยากชักชวนให้พวกเราเริ่มคิดใหม่ว่า
-
17:41 - 17:43วันนี้เรายังจะทำร้ายลูกเราอีกต่อไปเหรอ
-
17:43 - 17:46หรือเราจะหาทางเลือกให้ลูกเรา
-
17:46 - 17:50ขอบคุณมากครับ
- Title:
- เรียนอย่างมีความสุข (Learning with happiness) |โจน จันได ( Jon Jandai) | TEDxChiangMai
- Description:
-
In his second talk on the TEDx stage in Chiang Mai, Jon Jandai focused on education and how to raise children. He suggests that the Thai education system prevents children from actual learning, using their imagination, and being creative. Thai children are transformed into robots that aimlessly join the economic system. Jon proposes raising children through home schooling and self-learning, illustrating his ideas with real life experiences raising his son at home. He draws attention to the importance of giving our children meaningful and natural learning opportunities and for parents to spend more quality time with their children. This talk is in Thai. www.tedxchiangmai.com
โจน จันใด เริ่มก่อตั้งกลุ่มเกษตรอินทรีย์และทำบ้านดินหลังแรกที่บ้านศรีฐาน ก่อนย้ายมาพำนักและสร้างครอบครัวที่อบอุ่นที่จังหวัดเชียงใหม่ คุณโจน ได้ก่อตั้งพันพรรณ ศูนย์เก็บเมล็ดพันธุ์พื้นบ้านและศูนย์เรียนรู้เพื่อการพึ่งพาตัวเองโดยเชื่อมั่นและยึดแนวทางพึ่งพาตัวเองให้ได้มากที่สุด ด้วยการสร้างอาหารเอง ดูแลร่างกายด้วยวิถีธรรมชาติ สร้างบ้านด้วยวัสดุจากธรรมชาติ และประดิษฐ์เครื่องมือง่ายๆที่ช่วยลดการใช้พลังงาน คุณโจนทางเผยแพร่ความรู้ไปทั่วประเทศ ทำให้เขาเป็นที่รู้จักอย่างแพร่หลาย คุณโจนสนใจด้านการศึกษาทางเลือก ที่สอดคล้องกับวิถีชีวิตพึ่งพาตนเอง และเป็นแกนนำหลักกลุ่มบ้านเรียน หรือโฮมสคูล
Jon Jandai is well known for building clay houses and organizing workshops teaching people about his natural farming and building skills. He established the Pun Pun center for self-reliance, a seed collecting center, and a self-sustaining learning center. Currently, he continues giving workshops while he farms and manages home schooling for his child.
www.punpunthailand.org
This talk was given at a TEDx event using the TED conference format but independently organized by a local community. Learn more at http://ted.com/tedx
- Video Language:
- Thai
- Team:
closed TED
- Project:
- TEDxTalks
- Duration:
- 17:52