< Return to Video

แก้ชงแบบญี่ปุ่น ทำยังไง? ft. นิ้วกลม | Point of View On Tour EP.40

  • 0:04 - 0:06
    สวัสดีค่ะ วิวจาก Channel Point of View ค่ะ
  • 0:06 - 0:08
    ยินดีต้อนรับเข้าสู่รายการ view on tour ค่ะ
  • 0:08 - 0:09
    วันนี้เปิดวาร์ปอีกแล้ว
  • 0:09 - 0:13
    ตอนนี้วิวมาอยู่ที่เมือง Kochi ประเทศญี่ปุ่นนะคะ
    ชื่อแปลกไหม
  • 0:13 - 0:17
    น่ะ เดี๋ยวเราไปดูกันว่าที่เมืองนี้มีอะไรน่าสนใจ
    ขอบอกว่ามีอะไรน่าสนใจเยอะมาก
  • 0:17 - 0:20
    แต่จะบอกว่าคลิปนี้พิเศษนิดนึง เพราะว่าวิวไม่ได้มาคนเดียวค่ะ
  • 0:20 - 0:23
    คลิปนี้มีเพื่อนร่วมทริปมาอีก 2 คนนะคะ
  • 0:23 - 0:27
    อุ้ย โผล่มาอย่างรวดเร็วนะคะ ก็พี่เอ๋ นิ้วกลมนะคะ
    แล้วก็พี่ชิงชิงค่ะ
  • 0:27 - 0:28
    สวัสดีครับ
  • 0:29 - 0:31
    เดี๋ยวเราก็จะพาไปเที่ยวเมือง Kochi กันนะคะ
  • 0:31 - 0:33
    เมืองนี้มีอะไร เดี๋ยวเราไปดูกันค่ะ
  • 0:33 - 0:36
    แต่ว่าก่อนที่จะไปดูกันนะคะ
    อย่าลืมกดติดตามวิวให้ครบทุกช่องทางนคะ
  • 0:36 - 0:40
    ไม่ว่าจะเป็น Facebook YouTube ig Twitter
    เอาให้ครบเลยนะคะ
  • 0:40 - 0:42
    พร้อมจะไปเที่ยวแบบสนุกแล้วก็มีสาระกันรึยังคะ
  • 0:42 - 0:44
    ถ้าพร้อมกันแล้วก็ไปกันเลย
  • 0:47 - 0:51
    บอกเลยนะคะ คลิปนี้ใครสายบุญเงี่ยหูฟังดีๆ ค่ะ
  • 0:51 - 0:55
    เพราะจังหวัด Kochi ที่วิวจะพามาเที่ยวเนี่ย
    เป็นแหล่งสะสมแต้มบุญชั้นเยี่ยมเลยนะคะ
  • 0:55 - 1:00
    ที่นี่เป็นเส้นทางแสวงบุญที่มีชื่อเสียง
    แล้วก็เป็นจุดรวมเทพเจ้าหลายๆ องค์ค่ะ
  • 1:00 - 1:03
    บอกว่าจะพามาเที่ยว Kochi หลายคนงงทันทีนะคะ
  • 1:03 - 1:04
    เอ้า ที่ไหนไม่เคยได้ยินชื่อ
  • 1:04 - 1:10
    จังหวัดนี้ตั้งอยู่บนเกาะ Shikoku
    เป็นเกาะที่เล็กที่สุดในบรรดา 4 เกาะหลักของญี่ปุ่นค่ะ
  • 1:10 - 1:14
    เรียงตามนี้เลย Honshu Hokkaido Kyushu
    แล้วก็ Shikoku เล็กที่สุดนะคะ
  • 1:14 - 1:18
    ซึ่งในเกาะ Shikoku เนี่ย ก็มีทั้งหมด 4 จังหวัดด้วยกันค่ะ
  • 1:18 - 1:21
    จังหวัดที่น่าจะพอคุ้นหูกันอยู่บ้าง
    ก็น่าจะเป็นจังหวัด Ehime นะคะ
  • 1:21 - 1:26
    ส่วน Kochi นี่เป็นจังหวัดที่อยู่ด้านใต้สุดของเกาะ
    กั้นจากจังหวัดอื่นด้วยภูเขานะคะ
  • 1:26 - 1:30
    นอกจากสายบุญแล้วใครสายฮิปสเตอร์ตั้งใจฟังคลิปนี้ดีๆ ค่ะ
  • 1:30 - 1:31
    เพราะจังหวัดนี้ฮิปมากๆ
  • 1:32 - 1:36
    จากนักท่องเที่ยวไทยที่เดินทางมาเที่ยวประเทศญี่ปุ่น
    ปีละประมาณ 1,000,000 คนเนี่ยนะคะ
  • 1:36 - 1:40
    มีคนเดินทางมาเที่ยวจังหวัดนี้แค่ 400 คนต่อปีเองค่ะ
  • 1:40 - 1:47
    ใครชอบเปิดที่เที่ยวใหม่ห่างไกลฝูงชน อากาศดี วิวสวย
    ในน้ำมีปลา ข้างนาเลี้ยงวัวเนื้ออร่อยมาก ห้ามพลาดเลยนะคะ
  • 1:48 - 1:52
    ฟังขนาดนี้แล้วรู้สึกว่า เอ๊ อยากมาจะมายังไง
    การเดินทางง่ายมากค่ะ
  • 1:52 - 1:55
    แค่บินมาลงที่ประเทศญี่ปุ่น จะโตเกียวหรือโอซาก้าก็ได้
  • 1:55 - 2:01
    เสร็จแล้วต่อเที่ยวบินในประเทศมาลงสนามบิน Kochi ได้เลย
    มีทั้งสายการบิน full service แล้วก็ low cost ให้เลือกค่ะ
  • 2:01 - 2:04
    แอบกระซิบนิดนิดนึงว่าการท่องเที่ยวที่เนี่ย
    เอาใจนักท่องเที่ยวมากค่ะ
  • 2:04 - 2:08
    นอกจากจะมีข้อมูลภาษาต่างๆ ให้ รวมถึงภาษาไทยให้แล้วนะ
  • 2:08 - 2:12
    โชว์พาสปอร์ตที่สนาบินมี Pocket WIFI
    ให้ใช้ฟรีตลอดเวลาที่อยู่ในจังหวัดด้วย
  • 2:12 - 2:16
    ส่วนใครสายขี้เกียจ กลัวว่าจะจองนู่นจองนี่ยากนะคะ
  • 2:16 - 2:17
    มี package tour บริการด้วยค่ะ
  • 2:17 - 2:22
    ทีเดียวจองครบตั้งแต่เครื่องบิน ที่พัก เช่ารถ
    pocket WIFI ต่างๆ เลยนะคะ
  • 2:22 - 2:25
    ดู packet ได้ตามรายละเอียดด้านล่างเลยค่ะ
    วิวลงเป็นลิงก์ไว้ให้แล้ว
  • 2:25 - 2:31
    มาถึง Kochi กันแล้ว สายบุญอย่างพวกเราอย่ารอช้าค่ะ
    เพราะที่นี่ไม่ใช่เเค่เดินไหว้พระ 9 วัดนะคะ
  • 2:31 - 2:35
    แต่เขาเดินแสวงบุญกันถึง 88 วัดด้วยกันค่ะ
  • 2:35 - 2:36
    เต็มอิ่มจุใจกันไปเลย
  • 2:36 - 2:37
    ไปลุย!
  • 2:37 - 2:38
    อรุณสวัสดิ์ค่ะ ทุกคน
  • 2:38 - 2:40
    นี่คือชุด Ohenro นะคะ
  • 2:40 - 2:45
    คือบริเวณเกาะ Shikoku เนี่ยนะ
    มีประเพณีอย่างหนึ่งที่น่าสนใจมากๆ
  • 2:45 - 2:48
    ก็คือเป็นประเพณีที่คล้ายๆ การทำบุญ 9 วัดของไทยนะคะ
  • 2:48 - 2:50
    คือเขาจะมีเส้นทางเดินแสวงบุญค่ะ
  • 2:50 - 2:54
    เดินรอบเกาะไปเรื่อยๆ แล้วก็เดินไหว้พระไปเรื่อยๆ เนี่ยนะคะ
    ทั้งหมด 88 วัดนะคะ
  • 2:54 - 3:00
    ซึ่งอันนี้อยู่ในนิกายของพระองค์ด้านหลังนี้นะคะ
    ก็คือท่าน Kobo Daishi นั่นเอง
  • 3:00 - 3:03
    ตลอด 88 วัดเนี่ย คนก็จะต้องแต่งตัวแบบนี้นะคะ
  • 3:03 - 3:08
    แต่งตัวเป็น Ohenro ออก แล้วก็ไปทั้งหมด 88 วัด
    เดินไหว้ๆๆ ค่ะ ในสมัยโบราณ
  • 3:08 - 3:11
    ส่วนตอนนี้อาจจะประยุกต์นิดนึง มีการขับรงขับรถอะไรได้นะคะ
  • 3:11 - 3:17
    ซึ่งระหว่างทางเขาก็จะมีข้อห้ามต่างๆ กึ่งๆ ถือศีล
    ประมาณ 15 ข้อด้วยกัน หลักๆ ก็อารมณคล้ายๆ ศีล 5 ค่ะ
  • 3:17 - 3:20
    อย่าโกหก อย่าฆ่าสัตว์ อย่าประพฤติผิดในกาม
    อะไรประมาณนี้น่ะนะ
  • 3:20 - 3:22
    เรื่อง Ohenro เป็นยังไง เราไปดูกับค่ะ
  • 3:22 - 3:29
    ohenro หรือว่า ohenro san เนี่ยนะคะ คือการออกเดินจาริกแสวงบุญไปยัง 88 วัดในเกาะ Shikoku ค่ะ
  • 3:29 - 3:37
    ซึ่งแต่ละวัดเนี่ย ถือว่าเป็นวัดศักดิ์สิทธิ์ที่เกี่ยวข้องกับพระผู้มี
    ชื่อเสียงมากๆ นะคะ ในนิกายนี้ก็คือ พระ Kobo Daishi นั่นเอง
  • 3:37 - 3:44
    ซึ่งเส้นทางเดินแสวงบุญเนี่ย ถือว่าเป็นเส้นทาง
    ประวัติศาสตร์นะคะ เพราะว่ามีอายุยาวนานกว่า 1,200 ปีนะ
  • 3:44 - 3:51
    โดยเส้นทางนี้เป็นเส้นทางที่มีระยะทางยาวไกลมากเลยนะคะ
    เพราะว่ายาวประมาณ 1,400 กิโลเมตรค่ะ
  • 3:51 - 3:53
    ไปรอบๆ เกาะ Shikoku นะคะ
  • 3:53 - 3:59
    ผ่านทั้งหมด 4 จังหวัด ได้แก่ จังหวัด Tokushima
    จังหวัด Kochi จังหวัด Ehime แล้วก็จังหวัด Kagawa ค่ะ
  • 4:00 - 4:03
    ถึงสมัยนี้จะนิยมใช้รถยนต์ ใช้มอเตอร์ไซค์หรือว่ารถทัวร์กันนะคะ
  • 4:03 - 4:09
    แต่ถ้าจะเอาแบบคลาสสิคแบบสมัยโบราณเนี่ย
    ก็เป็นเส้นทางเดินที่ใช้เวลาประมาณ 40 วันเลยทีเดียวค่ะ
  • 4:09 - 4:16
    ตัวเส้นทางเนี่ย ถ้าเกิดดูตามแผนที่ก็จะเห็นนะคะ ว่าเขาจะแบ่งเลยว่า วัดที่ 1 อยู่ตรงนี้ วัดที่ 2 อยู่ตรงนี้ วัดที่ 3 อยู่ตรงนี้
  • 4:16 - 4:18
    เดินไปตามเส้นทางได้เรื่อยๆ ค่ะ
  • 4:18 - 4:20
    ส่วนเดินไปทำไมเนี่ย สงสัยกันไหม
  • 4:20 - 4:23
    คือจุดประสงค์เนี่ย แตกต่างไปตามแต่แต่ละคนเลยนะคะ
  • 4:23 - 4:26
    บางคนออกเดินทางเพื่อที่จะได้ไหว้พระ
  • 4:26 - 4:28
    บางคนก็เดินทางเพื่อเหตุผลด้านสุขภาพ
  • 4:28 - 4:31
    ไปค้นหาตัวเอง ไปอธิษฐานให้สมหวังในความรัก
  • 4:31 - 4:36
    หรือบางคนอาจจะแค่ท่องเที่ยว
    โดยมีธีมเป็นแบบสายบุญก็ได้เหมือนกันค่ะ
  • 4:36 - 4:38
    หลังจากไปถึงแต่ละวัดแล้วเนี่ยนะคะ
  • 4:38 - 4:44
    ก็นิยมโค้งคำนับหนึ่งครั้งตรงประตูเข้าวัดนะคะ หลังจากนั้น
    ก็ล้างมือล้างปากให้สะอาด แล้วก็เข้าไปที่โบสถ์ค่ะ
  • 4:44 - 4:49
    ไหว้ที่โบสถ์เรียบร้อยนะคะ ก็ไปที่หอที่ประดิษฐาน
    รูปปั้นของพระ Kobo Daishi ค่ะ
  • 4:49 - 4:56
    เสร็จแล้วก็ไปชำระค่าเทียนนะคะ จุดทงจุดเทียนเรียบร้อย
    ไปหากระดาษอีกแผ่นหนึ่งค่ะ ชื่อว่า Nosatsu นะคะ
  • 4:56 - 4:58
    เป็นป้ายกระดาษจากทางวัดค่ะ
  • 4:58 - 5:02
    จากนั้นก็เริ่มสวดมนต์นะคะ ตามที่เขาจะมีคู่มือเขียนไว้ให้
  • 5:02 - 5:05
    เมื่อเสร็จสิ้นขั้นตอนทั้งหมดเราก็จะได้รับ
    ตราประทับจากทางวัดค่ะ
  • 5:06 - 5:09
    ปกตินะคะ Ohenro เขาจะมีสมุดประจำตัวแต่ละคนด้วยนะคะ
  • 5:09 - 5:14
    แล้วก็พกไปทั้งหมด วัด 88
    ไปถึงก็จะมีพระเนี่ย เขียนข้อความให้ประมาณนี้นะคะ
  • 5:14 - 5:18
    ซึ่งกรณีเราเนี่ยก็อาจจะไม่ไปครบทั้ง 88 วัด
    ก็จะได้เป็นกระดาษแบบนี้มาค่ะ
  • 5:18 - 5:20
    ด้านในก็เป็นยังงี้เลย เขียนด้วยลายมือนะคะ
  • 5:20 - 5:22
    ประมาณนั้นค่ะ
  • 5:22 - 5:26
    แต่ว่าอันนี้ คนที่มาครั้งแรกจะเป็นสีขาวเนาะ
    แต่ว่าถ้ามา 5-6 ครั้งแล้วจะเป็นสีแดง
  • 5:26 - 5:31
    มากกว่านั้นเป็นสีเขียวแล้วถ้าใครมาวัดเดิมเกิน 100 ครั้งนะคะ กระดาษจะเป็นสีทองแล้วนะ
  • 5:31 - 5:35
    ส่วนชุดที่วิวใส่อยู่ตอนนี้เรียกได้ว่าเป็นเครื่องแบบ
    ของ Ohenro san นะคะ
  • 5:35 - 5:42
    ซึ่งถ้าตามสมัยโบราณดั่งเดิมเลยเนี่ย
    จะประกอบไปด้วยอุปกรณ์หลักๆ ทั้งหมด 3 ชิ้นด้วยกันค่ะ
  • 5:42 - 5:46
    ชิ้นแรกคือเสื้อคลุมสีขาวนะคะ ที่วิวใส่อยู่เรียกว่า Hakui ค่ะ
  • 5:46 - 5:53
    ส่วนหมวกสานทรงแหลมที่วิวใส่อยู่เนี่ยนะคะ
    เรียกว่า sugegasa นะคะ ก็เอาไว้กันแดด กันลม กันฝน
  • 5:53 - 5:55
    และสุดท้ายก็คือไม้เท้านะคะ
  • 5:55 - 5:57
    ชื่อว่า Kongo-zue นะคะ
  • 5:57 - 6:01
    ซึ่งตัวไม้เท้าเนี่ย จริงๆ เขาเปรียบเสมือนตัวแทนของ
    พระ Kobo Daishi นะคะ
  • 6:01 - 6:05
    เหมือนกับว่าเราพาพระเนี่ยไปด้วย
    ทุกครั้งที่เราไปแสวงบุญเลยค่ะ
  • 6:05 - 6:08
    ดังนั้นต้องให้ความเคารพไม้เท้าอันนี้นิดนึงค่ะ
  • 6:09 - 6:12
    ทีนี้จะบอกว่าไม้เท้าอันนี้ มันมีเรื่องเล่าด้วยว่า
  • 6:12 - 6:17
    มันมีการแรงค์กิ้งอยู่ว่าถ้าเกิดสมมติว่าคุณไหว้พระ
    88 วัดเนี่ยนะคะ ครบประมาณ 3 หรือ 4 รอบเนี่ย
  • 6:17 - 6:23
    คุณจะได้เลื่อนขั้นจากไม้เท้า ไม้ธรรมดายังงี้นะคะ
    จะกลายเป็นไม้เท้าสีส้มแล้วก็หัวกลายเป็นสีทองค่ะ
  • 6:23 - 6:29
    ดังนั้นระหว่างทางที่เราเดินๆ มาเนี่ย เราก็จะเห็นคนญี่ปุ่นบางคนที่ถือไม้ยังงี้ แต่เป็นสีส้มก็คือเป็นระดับ professional แล้วนะคะ
  • 6:29 - 6:33
    เจอของน่าสนใจชิ้นหนึ่งนะคะ นี่คืออันนี้เลย
    พี่เอ๋บอกว่าคืออะไรนะคะ
  • 6:33 - 6:35
    เขาเรียกว่าวัชระคทานะครับ
  • 6:35 - 6:38
    ซึ่งจริงๆ แล้วเป็นสัญลักษณ์ที่ศักดิ์สิทธิ์อย่างหนึ่งนะครับ
  • 6:38 - 6:40
    ของนิกายวัชระยาน
  • 6:40 - 6:45
    ในทิเบตเนี่ยก็จะเห็นกันได้อย่างแพร่หลายนะครับ
    หรือว่าวัดที่ได้รับอิทธิพลมาจากทิเบต
  • 6:45 - 6:47
    ซึ่งจริงๆ แล้วนิกายชินงอนของญี่ปุ่นเนี่ย
  • 6:47 - 6:50
    เป็นนิกายที่ได้รับอิทธิพลมาจากสายวัชรยานเหมือนกันครับ
  • 6:51 - 6:55
    คนสมัยก่อนนะคะ เวลาเป็น Ohenro เนี่ย
    เขาก็จะระหว่างเดินไปเรื่อยๆ เหมือนแสวงบุญใช่ไหม
  • 6:55 - 7:00
    คนระหว่างทางต่างๆ เขาก็จะให้น้ำให้อาหาร
    ให้เข้าห้องน้ำได้ ให้พักด้วยได้ อะไรอย่างงี้ค่ะ
  • 7:00 - 7:07
    แต่ว่าสมัยนี้อาจจะน้อยลงหน่อย เขาก็จะมีที่ๆ
    เป็นบ้านบางหลังเนี่ยนะคะ ก็อุทิศแด่ Ohenro โดยเฉพาะ
  • 7:07 - 7:08
    เช่น บ้านที่วิวอยู่ตรงนี้เนี่ยค่ะ
  • 7:08 - 7:15
    ก็คือ ด้านล่างก็ทำเป็นที่พักนะคะ มี WIFI ให้ฟรี
    มีห้องน้ำให้เข้า มีชามีกาแฟอะไร ให้ใช้งานต่างๆ ค่ะ
  • 7:15 - 7:20
    คือเหมือนกับว่าคนที่เป็น Ohenro เนี่ย
    ถ้าเกิดสมมติว่าใครมีเงินนิดนึงมานะคะ เขาก็จะช่วยบริจาค
  • 7:20 - 7:25
    ส่วนใครที่ไม่ค่อยมีก็มาใช้บริการตรงนี้
    หรือว่าชุมชนรอบๆ เขาก็บริจาคให้ต่างๆ นะคะ
  • 7:25 - 7:27
    เหมือนกับว่าช่วยกันทำบุญ ว่ายังงั้นเถอะค่ะ
  • 7:27 - 7:30
    แสวงบุญตามความเชื่อของศาสนาพุทธไปแล้วนะคะ
  • 7:30 - 7:35
    ที่ญี่ปุ่นเนี่ยก็ยังมีความเชื่ออีกแบบหนึ่ง
    ที่มีชื่อเสียงพอกัน ก็คือลัทธิ Shinto นั่นเอง
  • 7:35 - 7:39
    ฝั่งลัทธิ Shinto นี่บอกเลยนะคะ
    ว่าที่ Kochi ก็ไม่ธรรมดาเหมือนกันค่ะ
  • 7:39 - 7:45
    เพราะว่ามีบริเวรช่องเขาที่รวมเหล่าเทพเจ้า
    ของชินโตไว้หลายต่อหลายองค์เลยนะคะ
  • 7:45 - 7:48
    ที่สำคัญนอกจากศักดิ์สิทธิ์แล้วที่นี่วิวสวยมากค่ะ
  • 7:48 - 7:49
    กรุณาชมวิวนะคะ
  • 7:49 - 7:52
    ตอนนี้นะคะเราก็มาอยู่บริเวณ Nakatsu Gorge นะคะ
  • 7:52 - 7:54
    เป็นช่องเขา Nakatsu ว่ายังงั้นเถอะ
  • 7:54 - 7:56
    ซึ่งตรงนี้เห็นข้างหลังไหมสวยมาก
  • 7:56 - 7:58
    กรุณาชมวิวอีกรอบหนึ่งนะคะ
  • 7:58 - 8:01
    หลังจากชมเสร็จแล้วก้จะพาไปรับโชคกันค่ะ
  • 8:01 - 8:07
    เพราะว่าที่เนี่ย เขาเชื่อว่าเป็นบริเวณที่มีเทพแห่งความดี
    แห่งความโชคทั้งหมด 7 องค์ดีอาศัยอยู่ตรงนี้นะคะ
  • 8:07 - 8:10
    ซึ่งเดี๋ยวเดินไปเรื่อยๆ เราจะเจอรูปปั้นเทพเหล่านี้ค่ะ
  • 8:10 - 8:14
    เดี๋ยวไปดูกันว่าตามความเชื่อของคนญี่ปุ่นเนี่ย
    เทพทั้ง 7 องค์มีใครบ้าง แล้วก็เป็นยังไงบ้างนะคะ
  • 8:14 - 8:15
    ไป ไปดูกัน
  • 8:15 - 8:22
    ช่องเขา Nakatsu หรือว่า Nakatsu Gorge เนี่ยนะคะ
    เป็นช่องเขาเก่าแก่ค่ะ อายุมากกว่า 300 ล้านปีนะคะ
  • 8:22 - 8:25
    ตั้งอยู่บริเวณรอยต่อของแผ่นเปลือกโลกค่ะ
  • 8:25 - 8:31
    ซึ่งทำให้เกิดสิ่งมหัศจรรย์ขึ้น 2 อย่างด้วยกันนะคะ
    1 คือเกิดธรรมชาติที่สวยงามมากๆ นะคะ
  • 8:31 - 8:36
    มีหินก้อนใหญ่รูปร่างหน้าตาแปลกตา
    มีหินสีต่างๆ อะไรแบบนี้นะคะ
  • 8:36 - 8:38
    ส่วนอีกข้อหนึ่งก็คือ
  • 8:38 - 8:46
    ทำให้บริเวณนี้กลายเป็นสถานที่ศักดิ์สิทธิ์ตามความเชื่อของลัทธิชินโตค่ะ เพราะว่าเชื่อว่าบริเวณนี้มีพลังต่างๆ สถิตอยู่นะคะ
  • 8:46 - 8:52
    ชาวบ้านเชื่อว่าที่นี่มีสิ่งศักดิ์สิทธิ์ต่างๆ อยู่มากมายเลย
    เช่น น้ำตกที่หน้าตาเหมือนมังกรพ้นไฟนะคะ
  • 8:52 - 8:55
    ก็เป็นน้ำตกขนาดใหญ่มากๆ สวยมากๆ เช่นเดียวกันค่ะ
  • 8:55 - 9:01
    และที่เป็นไฮไลท์เลยนะ ก็คือเทพเจ้าแห่งความโชคดี
    ทั้งหมด 7 องค์นะคะ ที่สถิตอยู่ที่นี่ค่ะ
  • 9:01 - 9:04
    ก็จะเป็นเพเจ้าตามความเชื่อด้านต่างๆ เรียงกันไปนะคะ
  • 9:05 - 9:08
    เดี๋ยวเราไปดูทีละองค์ตามทางปีนเขาเล็กๆ กันดีกว่าค่ะ
  • 9:08 - 9:13
    เห็นตรงนี้ไหม ก็มีเสาโทริอินะคะ
    แปลว่าเรากำลังจะเข้าดินแดนของเทพเจ้าแล้ว
  • 9:13 - 9:18
    เพราะว่าด้านบนนนั้น เห็นหินก้อนใหญ่เบิ้มนั้นไหม
    เขาเรียกว่า king of dragon rock ประมาณนี้
  • 9:19 - 9:25
    คือแบบเป็นหินมังกรก้อนใหญ่มาก ซึ่งเขาเชื่อว่าเป็นเทพเจ้า และบริเวณที่ตั้งอยู่เนี่ย มันเป็น ตั้งอยู่บริเวณ ring of fire
  • 9:25 - 9:29
    หรือว่าเส้นที่เป็นเส้นแผ่นดินไหวนะคะ
    เป็นรอยเลื่อนของโลก ว่ายังงั้นเถอะ
  • 9:29 - 9:34
    เหมือนชาวญี่ปุ่นโบราณน่ะ เขาพอจะรู้อยู่แล้วแหละ ว่าเส้นนี้
    มันมีพลังอะไรบางอย่าง เพราะว่ามันแผ่นดินไหวบ่อยอะนะ
  • 9:34 - 9:40
    ศาลเจ้าของญี่ปุ่นเยอะแยะมากมายก็เลยตั้งอยู่บนเส้นนี้ แล้วก็ไล่ๆๆ กันไปทั่วประเทศเลยค่ะ แล้วก็จุดนี้ก็เป็นอีกจุดหนึ่งนะคะ
  • 9:40 - 9:46
    เพราะว่าเวลาปกติชาวญี่ปุ่นเขาจะข้ามแดนเนี่ย
    เขาต้องทำยังไง เขาต้องแบบทำการบูชา
  • 9:46 - 9:47
    ซึ่งถ้าเป็นคนไทยเราก็ไหว้ธรรมดาใช่ไหม
  • 9:47 - 9:49
    แต่ถ้าคนญี่ปุ่นเขาจะทำแบบนี้
  • 9:49 - 9:50
    โค้ง 2 ทีก่อน
  • 9:51 - 9:54
    1 2
  • 9:54 - 9:56
    แล้วก็ตบมือ 2 ครั้งค่ะ
  • 9:58 - 10:03
    เสร็จแล้วก็โค้งยาวๆ เหมือนแบบ
    ว่าแสดงความเคารพอย่างลึกซึ้งอีกรอบหนึ่ง
  • 10:06 - 10:11
    แล้วก็เสร็จแล้วค่ะ ตอนนี้ก็คือเหมือนเคารพเทพเจ้าแล้ว
    พร้อมจะเดินเข้าไปในดินแดนเทพเจ้าแล้วค่ะ
  • 10:11 - 10:17
    มองจากน้ำขึ้นไปนะคะ ด้านหลังตรงนี้เห็นไหม
    มีเทพอยู่องค์หนึ่งนะคะ ชื่อว่าบิชามอนเทนนั่นเองนะคะ
  • 10:17 - 10:21
    ก็เป็นเทพที่เกี่ยวกับการแข่งขัน การสงครามอะไรต่างๆ ค่ะ
  • 10:21 - 10:23
    ไหว้เพื่อความสำเร็จประมาณนั้นเถอะ นะจ๊ะ
  • 10:23 - 10:31
    เขาบอกว่าที่บริเวณนี้นะคะ ที่น้ำเป็นสีฟ้าขนาดนี้ เพราะว่าเป็นน้ำที่ใสสะอาดมากๆ แล้วที่ญี่ปุ่นมีการแข่งขันแบบ competition
  • 10:31 - 10:34
    ด้านคุณภาพน้ำด้วยนะ ที่นี่ก็ได้อันดับต้นๆ เลยทีเดียวค่ะ
  • 10:34 - 10:37
    เขาบอว่าเขาภูมิใจสีของน้ำที่นี่มากๆ นะจ๊ะ
  • 10:37 - 10:38
    พี่เอ๋คะ เป็นโอตะรึเปล่าคะ
  • 10:38 - 10:39
    ไม่เป็นครับ
  • 10:39 - 10:41
    แหม่ถ้าเป็นโอตะนี่กรี๊ดไปแล้วนะ
  • 10:41 - 10:41
    ทำไมอะ
  • 10:41 - 10:43
    น้ำใสค่ะ
  • 10:43 - 10:45
    เฮ้อออ
  • 10:51 - 10:56
    เจอองค์ที่ 2 แล้วนะค เทพเจ้าองค์นี้คือเทพเอบิสึนะคะ
    เป็นเทพเกี่ยวกับธุรกิจการค้าต่างๆ
  • 10:56 - 10:59
    ดังนั้นแปลว่าเราจะได้ยินชื่อเอบิสึบ่อยมาก
  • 10:59 - 11:05
    แล้วถ้าไปดูศาลเจ้าต่างๆ นะคะ ทั่วประเทศเลย
    จะเห็นว่ามีศาลเทพเอบิสึนี่เยอะมาก เยอะจริงๆ
  • 11:05 - 11:09
    เพราะว่าทุกคนบูชาเทพองค์นี้ค่ะ
    ทุกคนอยากค้าขายเจริญรุ่งเรืองนะคะ ประมาณนั้น
  • 11:11 - 11:17
    อ่า องค์นี้องค์ที่ 3 แล้วนะคะ ชื่อว่าเบ็นเท็นซามะนะคะ ซามะแปลว่าท่านน่ะนะ ดังนั้นชื่อจริงๆ ท่านชื่อเบ็นเท็นนะคะ
  • 11:17 - 11:24
    ท่านนี้ก็เป็นเทพเจ้าด้านดนตรี ศิลปะ อะไรทำนองนี้ ดังนั้นใครอยากร้องเพลงเก่ง อยากร้องคาราโอเกะได้เต็ม 100 คะแนน
  • 11:24 - 11:26
    ที่ญี่ปุ่นเขาก็จะมาไหว้องค์นี้นี่แหละค่ะ
  • 11:30 - 11:32
    ตรงนี้นะคะ เห็นค้อนอยู่อันหนึ่งไหม
  • 11:32 - 11:34
    อาจจะงงเทพเจ้าอะไร ทำไมหน้าตาเป็นค้อนนะคะ
  • 11:35 - 11:41
    ตรงค้อนเนี่ยเป็นพรอบประกอบ ไม่ใช่เทพเจ้านะ เทพเจ้าคือหินทั้งก้อนนี่ค่ะ จะเห็นเป็นหน้าตาของเทพเจ้า
  • 11:41 - 11:46
    คือเขาหน้าตาเหมือนเทพเจ้ามาก ก็เลยสมมติว่าหินทั้งก้อน
    นี่แหละเป็นเทพเจ้า ซึ่งเทพองค์นี้นะคะ ก็คือเทพไดโกกุ
  • 11:46 - 11:50
    เป็นเทพเกี่ยวกับแบบว่า
    การทำนาการทำประมงอะไรประมาณนี้นะคะ
  • 11:50 - 11:53
    นี่แหละค่ะ เห็นดูออกกันไหมว่านี่เป็นหน้าเทพเจ้านะจ๊ะทุกคน
  • 11:57 - 12:02
    องค์นี้นะคะ ก็คือฟุกุโรกุยูนะคะ เป็น Prophet
    หรือว่าเป็นผู้ทำนายอะไรยังงี้แล้วก็ในมือจะถือลูกท้อไว้อยู่
  • 12:03 - 12:07
    ก็คือ เอาไว้ไล่ยักษ์นั่นเอง ก็ตามตำนาน
    เหมือนคล้ายๆ ตำนานโมโมทาโร่ ทำนองนั้นนะจ๊ะ
  • 12:07 - 12:09
    ถ้ามีโอกาสเดี๋ยวไว้เล่าให้ฟัง
  • 12:09 - 12:14
    ที่สำคัญแอบบอกนะคะ ว่าน้ำตกบริเวณเนี่ย
    ตอนนี้เป็นฤดูฝนฤดูร้อนใช่ไหมคะ
  • 12:14 - 12:15
    ก็จะเขียวๆ นิดนึง
  • 12:15 - 12:21
    แต่ว่าถ้ามาตอนฤดูใบไม้ร่วง ตรงนี้เป็นต้นโมมิจิทั้ง
    ดังนั้นทั้งน้ำตกจะเป็นสีแดงหมดเลย ดังนั้นสวยแน่นอนค่ะ
  • 12:21 - 12:25
    มาเจอเทพอีกองค์หนึ่งแล้วนะคะ ก็คือองค์นี้เลย จูโรจินนะคะ
  • 12:25 - 12:31
    เป็นเทพด้านแบบว่า อายุยืน ชีวิตยืนนานทำนองนี้ค่ะ
    ใครอยากอายุยืนก็ไหว้องค์นี้นะจ๊ะ
  • 12:31 - 12:33
    นี่นะคะ ตัวอย่าง
  • 12:37 - 12:40
    องค์นี้นะคะ ที่หน้าตาเหมือนพระสังกัจจายน์ชื่อโฮเทซังนะคะ
  • 12:40 - 12:43
    โฮเทซังเป็นเทพที่เอาขอลูกค่ะ ประมาณนั้นเลย
  • 12:43 - 12:44
    ใครอยากมีลูกก็ไหว้องค์นี้เลยค่ะ
  • 12:49 - 12:51
    ด้านหลังนี่ก็องค์สุดท้ายแล้วนะคะ
  • 12:51 - 12:54
    ฟุโดเมียวโอค่ะ เป็นเทพเจ้าเกี่ยวกับไฟ ประมาณนั้นค่ะ
  • 12:54 - 12:58
    ก็เรียกได้ว่าดูแลครับทุกด้านจริงๆ เทพเจ้าทั้ง 7 องค์นะคะ
  • 13:02 - 13:06
    สะสมแต้มบุญกันเต้มอิ่มแล้ว
    น่าจะพอเห็นกันแล้วใช่ไหมค่ะ ว่าที่ Kochi เนี่ย
  • 13:06 - 13:10
    นอกจากสถานที่ทำบุญแล้ว
    ยังมีธรรมชาติที่สวยงามมากๆ เลยค่ะ
  • 13:10 - 13:14
    ดังนั้นตามวิวไปชมธรรมชาติอันสวยงามของ Kochi กันดีกว่าค่ะ
  • 13:14 - 13:17
    ตรงนี้นะคะ เขาเรียกว่า Shikoku karst นะคะ
  • 13:17 - 13:22
    ซึ่งคำว่า karst เนี่ยก็เป็นภาษาอังกฤษ
    ใช่ karst เป็นภาษาอังกฤษค่ะ
  • 13:22 - 13:30
    คือมันเป็นสำเนียงญี่ปุ่นน่ะนะ จากคำว่า karst ซึ่งคำว่า karst เนี่ยแปลว่าหินปูนที่โดนกัดเซาะเป็นร่องรอยเป็นอะไรอย่างงี้
  • 13:30 - 13:30
    ประมาณนี้นะคะ
  • 13:30 - 13:35
    ก็เป็นลักษณะทางภูมิศาสตร์ลักษณะหนึ่งนะคะ
    ที่ออกมาแล้วมันก็สวยมาก แปลกตาอย่างที่เห็นนี่แหละค่ะ
  • 13:36 - 13:39
    ใครสนใจมากก็สามารถหารถมาเช่า ขับมาดูได้นะคะ
  • 13:39 - 13:45
    มาออกมาค่อนข้างไกลจากตัวเมือง Kochi นิดนึง
    เพราะว่าเราเกือบจะข้ามไปที่จังหวัด Ehime แล้วนะ
  • 13:45 - 13:48
    มันอยู่ตรงเชื่อมต่อระหว่างตรง Ehime กับ Kochi ค่ะ
  • 13:48 - 13:51
    ก็มาประมาณ 2 ชั่วโมงได้ แต่ว่าสวยคุ้มค่าจริงๆ นะจ๊ะ
  • 13:51 - 13:52
    มาดูกันได้
  • 13:58 - 14:04
    นี่มีความนิวซีแลนด์นะคะ ตรงนี้จะมีความแบบมีวัว
    แล้วก็เป็นแบภูเขาๆ แล้วก็ถนนๆ
  • 14:05 - 14:08
    แม่เจ้า ญี่ปุ่นมีแบบนี้ด้วยอะ ดูยุโรปมากเลยอะ
  • 14:08 - 14:15
    แถวนี้ก็ไม่ได้สวยๆ อย่างเดียวนะคะ เขามีนี่ด้วย มีกังหันนะคะ ผลิตกระแสไฟฟ้าก็พลังคลีนนิดนึงทำนองนี้นะจ๊ะ
  • 14:15 - 14:18
    ตรงนี้นะคะ ก็เป็นรอยต่อระหว่าง 2 จังหวัดเลยนะคะ
  • 14:18 - 14:19
    ระหว่างจังหวัด Kochi กับ Ehime นะคะ
  • 14:19 - 14:25
    ก็เป็น 2 จังหวัดในเกาะ Shikoku นะคะ ก็เห็นเส้นตรงข้างหลังนี่นะ ก็เป็นเส้น border เขียนไว้เรียบร้อย
  • 14:25 - 14:29
    ดูคู่รักคู่นี้สิคะ น่าสงสารจังเลย โดนแยกจากกันอยู่คนละจังหวัด
  • 14:29 - 14:33
    โอ้ พลัดพลากจากกันน่าสงสารสุดๆ เลย
  • 14:33 - 14:39
    ตอนนี้นะคะ วิวก็พาทุกคนมาอยู่ที่สวน Monet ค่ะ หรือว่า monet garden นั่งเอง ในเมือง Kochi นี่นะคะ
  • 14:39 - 14:43
    จำตอนที่วิวพาไปดูรูปภาพของแวนโกะกันได้ใช่ไหมคะ
  • 14:43 - 14:46
    ที่มีภาพของ Monet ด้วย ที่มีภาพของสวนบงสวนบัวเนี่ยนะคะ
  • 14:46 - 14:52
    ที่เนี่ย เป็นที่เดียวในโลกที่ได้รับอนุญาตจาก
    Monet Museum นะคะ ว่าสามารถใช้คำว่าสวน Monet ได้
  • 14:52 - 14:55
    นี่นะคะ อยู่ในสวนก็จะเป็นธรรมชาติๆ ประมาณนี้
  • 14:55 - 14:58
    เพราะว่า Monet เนี่ย เป็นคนที่เชียวชาญการวาดศิลปะ impressionist
  • 14:58 - 15:03
    หรือว่าศิลปะที่แบบมองอะไรธรรมดาๆ
    ธรรมชาติๆ ที่แบบไม่ได้หรูหราอลังการ
  • 15:03 - 15:06
    แล้วก็ก็วาดออกมาเป็นภาพที่แบบว่าแสดง
    ความประทับใจต่อสิ่งธรรมดาค่ะ
  • 15:07 - 15:11
    เช่น ถ้าเราไปดูยุคก่อนหน้านั้น
    สมัยโบราณเนี่ย จะชอบวาดอะไรที่มันอลังการใช่ไหม
  • 15:11 - 15:13
    แบบวาดเรื่องศาสนา วาดอะไรที่แบบเรืองรองมากๆ
  • 15:13 - 15:20
    แต่ว่ายุค impressionist เนี่ย มองสวน มองเรือ มองนู่นมองนี่ธรรมดาสามัญแล้วก็วาดออกมาอย่างหน้าสนใจค่ะ
  • 15:20 - 15:25
    ซึ่งในสวนเนี่ย เดินๆ มามันก็จะมีรูปว่าแบบ
    เออ นี่คือภาพของ Monet ประมาณนี้นะ
  • 15:25 - 15:27
    แล้วก็สวนหน้าตาคล้ายๆ กันก็จะเป็นประมาณนี้ค่ะ
  • 15:27 - 15:31
    อย่างภาพนี้นะคะ ก็จะทำให้เป็นคล้ายๆ กับถนนเส้นนี้เลย
  • 15:31 - 15:38
    นี่ ประมาณนี้เดี่ยวจะมีอาคงอาคารอะไร
    เกิดขึ้นในอนาคตรึเปล่าไม่แน่ใจ แต่เขาบอกว่ากำลังทำอยู่
  • 15:51 - 15:56
    อีกจุดหนึ่งที่น่าเที่ยวมากๆ ที่ Kochi นะคะ คือแม่น้ำ Shimanto นั่นเองค่ะ
  • 15:56 - 16:00
    แม่น้ำ Shimanto เป็นแม่น้ำที่ยาวที่สุดเลยนะคะ
    ในเกาะ Shikoku ค่ะ
  • 16:00 - 16:08
    แม่นำสายนี้ขึ้นชื่อมากๆ เลยนะคะ ว่ามีน้ำที่ใสสะอาดสุดๆ
    ทำให้มีปลาชนิดหนึ่งอาศัยอยู่ ก็คือปลาอายุนั่นเอง
  • 16:08 - 16:16
    ตลอดเส้นทางของแม่น้ำนี้นะคะ ก็จะมีสถานที่ท่องเที่ยว
    ที่น่าสนใจก็คือ chikabashi หรือสะพานข้ามแม่น้ำค่ะ
  • 16:16 - 16:20
    เป็นสะพานเล็กๆ แคบๆ แต่ว่าทิวทัศน์รอบๆ สวยงามมากนะคะ
  • 16:20 - 16:23
    นอกจากนี้ยังเป็นเส้นทางขี่จักรยานที่มีชื่อเสียงด้วยค่ะ
  • 16:23 - 16:26
    บอกเลยว่าไปลองขี่มาแล้ว บรรยากาศดีมากๆ เลยนะคะ
  • 16:26 - 16:30
    ตอนนี้นะคะ เราก็มาดูอีกอย่างหนึ่งที่มีชื่อเสียงของจังหวัด Kochi นะคะ
  • 16:30 - 16:34
    เพราะว่าจังหวัด Kochi เนี่ย มีต้นไม้ชนิดหนึ่ง
    ค่อนข้างเยอะ แล้วก็มีน้ำ
  • 16:34 - 16:37
    ดังนั้นที่นี่เป็นที่ที่เหมาะมากกับผลิตกระดาษค่ะ
  • 16:37 - 16:42
    เดี๋ยวเราไปดูกันว่าเวลาเขาทำกระดาษแบบญี่ปุ่นเนี่ย
    ซึ่งมีชื่อเสียงมากที่นี่ เขาทำยังไง ไป ไปดูกัน
  • 17:00 - 17:02
    เอาละค่ะ ทุกคน จังหวะนี้งานฝีมือละค่ะ
  • 17:02 - 17:03
    เขาบอกให้คว่ำค่ะ
  • 17:05 - 17:07
    แล้วก็กดพิมพ์ลงไปนะคะ
  • 17:08 - 17:10
    ซึ่งตอนนี้ใช้ทั้งตัวแล้ว รู้สึกว่าจะไม่พอ
  • 17:10 - 17:14
    ทำกระดาษฝีมือวิว
  • 17:14 - 17:15
    เสร็จแล้ว
  • 17:16 - 17:20
    นี่เสร็จแล้วกระดาษของน้องวิวนะคะ น้องวิวทำเองกับมือ
  • 17:20 - 17:21
    ตรงนี้เขาก็มีนี่ให้ด้วย
  • 17:22 - 17:25
    มีตัวปั๊มให้เราเล่นกับกระดาษ เดี๋ยวเรามาลองเล่นกันค่ะ
  • 17:31 - 17:32
    กระดาษแบบญี่ปุ่นเนี่ย
  • 17:32 - 17:36
    ณ ของเมืองนี้นะ เขาใช้ต้นไม้ต้นนี้ทำนะคะ
    ก็คืออันนี้ไม้กิ่งๆ นี่ใช่ไหม
  • 17:36 - 17:42
    ซึ่งพอเอามาแล้วเนี่ย เขาก็จะเอาไปนึ่งนะคะ ใช่เอาไปนึ่ง
    พอนึ่งเสร็จปุ๊บเนี่ย นึ่งเป็นเวลา 2 ชั่วโมงปุ๊บ
  • 17:43 - 17:48
    ไม้มันจะนิ่ม พอไม้นิ่มเนี่ยสามารถลอกเปลือกออกมาได้
    ลอกง่ายมากๆ นะคะ ลอกเหมือนกันปอกกล้วยเลยทีเดียว
  • 17:48 - 17:51
    หลังจากที่ปอกเปลือกมาได้แล้วนี่นะคะ
    เขาก็จะเอามาใส่หม้อนี้เลย
  • 17:51 - 17:55
    ใส่หม้อขนาดใหญ่นะ แล้วก็ใส่สารต่างๆ ด้วย
    แบบว่าเขาบอกว่าเป็นอัลคาไลน์
  • 17:55 - 17:58
    เป็นพวกโซดา อาจจะเป็นโซดาไฟอันนี้ไม่ชัวร์นะคะ
  • 17:58 - 17:59
    ใส่สารต่างๆ ของมันลงไปเนี่ย
  • 17:59 - 18:02
    แล้วก็ต้มๆๆ ต้มจนมันนิ่มนะคะ
  • 18:02 - 18:03
    เพื่อที่จะเอาไปทำกระดาษต่อไป
  • 18:03 - 18:08
    ต้มออกมาตากนะคะ เขาก็จะมีการทำยังงี้
    เอาไปล้าง เอาไปแช่น้ำด้วยนะ เพื่อให้มันสะอาด
  • 18:08 - 18:11
    แล้วก็เอาพวกสารที่มันไม่โอเคออกไปต่างๆ นะคะ
  • 18:11 - 18:15
    หลังจากนั้นค่ะ เขาก็จะเอามาขั้นตอนนี้ต่อเลย
    ก็คือเป็นขั้นตอนแรงงาน
  • 18:15 - 18:17
    เอาไอ้แก่นกระดาษอะไรสักอย่างที่ทับได้เสร็จแล้วเนี่ยนะ
  • 18:17 - 18:23
    มาวางๆๆ แล้วก็ใช้แรงงานคนเนี่ยนะคะ หยิบอะไรก็ตาม
    ที่มันไม่ใช่กระดาษบริสุทธิ์เนี่ย ออกไปให้หมด
  • 18:23 - 18:25
    มันจะทำให้กระดาษเนี่ย สีขาวบริสุทธิ์ที่สุด
  • 18:25 - 18:32
    เสร็จแล้วค่ะ เขาจะเอากระดาษมาใช้ไอ้ไม้นี่นะคะ ไม้นี้เลย
    เอามาแล้วก็ ทุบๆๆ นวดๆๆ ค่ะ จนกระทั่งกระดาษมันนุ่มนะคะ
  • 18:32 - 18:36
    แล้วก็เอามาใส่ในตะกร้านี้อีกที ซึ่งเป็นตะกร้าที่บุข้างในไว้นะ
  • 18:36 - 18:40
    แล้วก็เอาลงไปที่แม่น้ำอีกทีหนึ่งนะคะ
    แล้วก็ล้างเยื่อกระดาษต่างๆ ให้สะอาด
  • 18:40 - 18:43
    เสร็จแล้วค่ะ มันก็จะได้เป็นเยื่อกระดาษ
    เหมือนที่วิวไปทำเมื่อกี้ใช่ไหม
  • 18:43 - 18:47
    ที่นี่ปัญหาก็คือไอ้วิวทำเมื่อกี้
    มันเป็นกระดาษแบบง่ายๆ ที่ใครก็ทำได้
  • 18:47 - 18:51
    แต่ว่ากระดาษที่นี่จุดเด่นของมันคือเป็นกระดาษ
    ที่ค่อนข้างจะบางเฉียบเลยนะคะ
  • 18:51 - 18:53
    แล้วก็คุณภาพค่อนข้างสูงค่ะ
  • 18:53 - 18:59
    ดังนั้นเขาก็จะเอามาใส่บ่อนี้ คล้ายๆ กับเมื่อกี้เลย แต่ว่าดูขนาดสิ แตกต่างกันมากเลย ไอ้เมื่อกี้ที่วิวทำมันยกเล็กๆ ใช่ไหม
  • 18:59 - 19:02
    อันนี้ขนาดใหญ่มาก เพราะว่าอะไร เพราะว่าเขาเอาไปทำประตู
  • 19:02 - 19:06
    สมัยโบราณเขาใช้กระดาษบุประตูกันใช่ไหมคะ
    ดังนั้นกระดาษ 1 แผ่นก็ต้องใหญ่เท่าประตูเลยค่ะ
  • 19:06 - 19:08
    ปัญหาก็คือเวลาจะยกขึ้นเองอะ ยกไม่ไหวใช่ปะ
  • 19:08 - 19:13
    ก็ต้องใช้พวกอุปกรณ์ต่างๆ ช่วยยกนะคะ
    เป็นแบบว่าเป็นรอกเป็นอะไรอยู่บนเพดานนะคะ
  • 19:13 - 19:18
    หลังจากนั้นค่ะ พอยกขึ้นมาได้เขาก็จะเอากระดาษมาเรียงๆ ทับๆ กันนะคะ แล้วก็ค่อยๆ กดน้ำออก
  • 19:18 - 19:20
    เหมือนที่เมื่อกี้วิวกดใช่ไหม
  • 19:20 - 19:23
    แต่กระดาษอันนี้มันแผ่นใหญ่มาก กดเองไม่ไหว เขาก็จะใช้สิ่งนี้
  • 19:23 - 19:28
    นี่เลย ใช้ก้อนหินนะคะ เป็นคาน
    แล้วก็เป็นก้อนหินกดๆๆ ลงไปค่ะ
  • 19:28 - 19:32
    หลังจากนั้นนะคะ เขาก็จะเอามาแผ่ค่ะ
    แผ่บนแผ่นกระดานเหมือนข้างหลังนี้นะคะ
  • 19:32 - 19:35
    แล้วก็เอาไปตากค่ะ เราก็จะได้กระดาษในที่สุดนะคะ
  • 19:35 - 19:37
    ก่อนที่จะเอาไปตัดแต่งขอบต่างๆ ค่ะ
  • 19:37 - 19:41
    จะบอกว่าจังหวัดเนี่ย กระดาษมีชื่อเสียงมาก
    มีชื่อเสียงเลเวลไหนรู้ไหม
  • 19:41 - 19:44
    เห็นนี่ไหม ที่อยู่บนหัววิวเนี่ย ไม่ใช่ตะแกงอะไรเฉยๆ นะ
  • 19:44 - 19:45
    เป็นตะแกงขนาดใหญ่มาก
  • 19:45 - 19:48
    กระดาษที่นี่ เขาบอกว่าถ้ามีแม่พิมพ์ไซส์ไหน
    เขาก็ทำกระดาษไซส์นั้นได้จ้า
  • 19:48 - 19:52
    แม่พิมพ์ด้านบนนี้นะคะ คือแม่พิมพ์
    ที่ใช้ทำกระดาษไซส์ใหญ่มากๆๆๆ
  • 19:53 - 19:55
    พิมพ์ออกมาก็ได้กระดาษยาวม้วนยาวขนาดนี้นะคะ
  • 19:55 - 20:00
    เพราะว่าที่ศาลเจ้าเมจิที่กรุงโตเกียวนะคะ
    ที่วิวเคยไปทำเรื่องวัดกับศาลเจ้า จำได้ใช่ไหม
  • 20:00 - 20:05
    มีเหมือนแบบว่าจุดหนึ่งอะ ที่เขาต้องใช้กระดาษแผ่นใหญ่มากๆ แล้วก็ไม่มีใครในประเทศญี่ปุ่นเนี่ยผลิตให้ได้นะคะ
  • 20:05 - 20:08
    ที่นี่ก็เลยอาสาว่า เออ เราเชียวชาญด้านกระดาษ
    เราผลิตให้นะคะ
  • 20:09 - 20:12
    ดังนั้นที่นี่ก็เลยเป็น supply กระดาษขนาดใหญ่
    ของศาลเจ้าเมจิค่ะ
  • 20:24 - 20:30
    ด้วยกระดาษเนี่ยเขาบอกว่าเข้ามาในประเทศญี่ปุ่นพร้อมกับศาสนาพุทธที่รับอิทธิพลมาจากประเทศจีนค่ะ
  • 20:30 - 20:36
    หลังจากที่เข้ามาแล้ว คนญี่ปุ่นก็รู้สึกว่า เฮ้ย ฉันต้องทำกระดาษได้แล้ว เพราะว่าไม่งั้นฉันจะเขียนคัมภีร์อะไรต่างๆ ไม่ได้
  • 20:36 - 20:43
    ดังนั้นคนที่มาสอนคนญี่ปุ่นทำกระดาษนะคะ
    ตามตรงนี้เขาบอกว่าประมาณปี ค.ศ.610 เนี่ยนะคะ
  • 20:43 - 20:46
    ชาวเกาหลีมาเป็นคนสอนญี่ปุ่นทำกระดาษนะคะ
  • 20:46 - 20:49
    หลังจากนั้นประวัติศาสตร์กระดาษของญี่ปุ่น
    ก็ดำเนินต่อไปเรื่อยๆ ค่ะ
  • 20:49 - 20:54
    จนกระทั่งปี 1860 นะคะ กระดาษที่นี่ถึงจะแบบได้คุณภาพเหมือนที่เมื่อกี้พาไปดูวิธีทำค่ะ
  • 20:54 - 20:56
    ว่าแบบสามารถทำแผ่นใหญ่ได้อะไรได้
  • 20:56 - 20:59
    ที่สำคัญนะ แอบพามาดูอันนี้ อันนี้ exclusive มากนะจ๊ะ ทุกคน
  • 20:59 - 21:02
    เห็นกระดาษม้วนนี้ไหม
    กระดาษม้วนนี้เหมือนกระดาษธรรมดานะคะ
  • 21:02 - 21:06
    นี่เป็นกระดาษที่เก่าแก่มาก
    แล้วอันนี้ของจริงนะคะ ไม่ได้ทำจำลองขึ้นนะ
  • 21:06 - 21:09
    เป็นกระดาษที่ขึ้นตั้งแต่ปี ค.ศ.764 นะคะ ทุกคน
  • 21:09 - 21:15
    เป็นคัมภีร์ของศาสนาพุทธค่ะ ที่เขาพิมพ์ลงไปในกระดาษ
    พิมพ์นะไม่ใช่เขียน ใช้แบบบล็อกไม้พิมพ์ๆๆ
  • 21:15 - 21:22
    แล้วก็ม้วนใส่เหมือนแบบเจดีย์อันเล็กๆ นี้นะคะ แล้วก็แจกไปทั่วๆ เพื่อทำให้ศาสนาพุทธแพร่กระจายไปตามที่ต่างๆ ค่ะ
  • 21:22 - 21:26
    นี่ ตอนนี้มาถึงร้านอาหารแล้วนะคะ
    เห็นโลโก้ข้างหลังไหม หน้าตาดูคุ้นๆ
  • 21:26 - 21:32
    คือคนที่วาดอันปังแมนเนี่ย เขาเป็นคนจังหวัดนี้ค่ะ
    เขาก็เลยออกแบบคาแรคเตอร์ให้แบบทุกร้านในนี้เลยนะ
  • 21:32 - 21:37
    ดังนั้นถ้าเดินไปเห็นตัวการ์ตูนที่ไหนในเมือง Kochi เนี่ยนะคะ
    ก็ฝีมือคนวาดอันปังเมนค่ะ
  • 21:39 - 21:40
    มาร้านอาหารแอบให้ดูอันนี้ค่ะ
  • 21:40 - 21:43
    น่าจะงงกันว่าตั้งอยู่หน้าร้านอาหาร อันนี้คืออะไรนะ
  • 21:43 - 21:50
    มันคือเกลือ กองเกลือนะคะ ก็ตามศาสนาชินโตของญี่ปุ่น เขาเชื่อว่าเกลือเอาไว้ไล่ผีอะไรพวกนี้นะ ขจัดวิญญาณชั่วร้ายต่างๆ
  • 21:50 - 21:53
    ดังนั้นบางที่เราไปญี่ปุ่นเราก็จะเห็น เขาวางๆ ไว้ประมาณนี้แหละ
  • 21:53 - 21:57
    เพื่อขับไล่วิญญาณชั่วร้ายอะไรทำนองนั้น
    เหมือนเราแปะยันต์หน้าบ้านแหละค่ะ
  • 21:57 - 22:02
    นี่นะคะ ก็คือ Nahariko-chan นะคะ เป็นมาสคอต
    ประจำสถานีรถไฟที่เรากำลังจะไปขึ้นกันนะคะ
  • 22:03 - 22:07
    อย่างที่บอกเลยว่าเมืองนี้ แทบทุกอย่างเลย
    ออกแบบโดยคนที่วาดอันปังแมนนะคะ
  • 22:07 - 22:09
    ก็นั่นแหละค่ะ ตามสถานีรถไฟก็เช่นกันค่ะ
  • 22:14 - 22:21
    ตอนนี้เราก็มาถึงขบวนรถไฟแล้วนะคะ เป็นรถไฟสายที่น่ารักมาก ดูขบวนสิตกแต่งแบบตัวการ์ตูนเต็มไปหมดเลย ด้านในก็มีนะ
  • 22:21 - 22:24
    ด้านในขบวนรถไฟ แม้แต่เพดานยังลายการ์ตูนเลยอะ
  • 22:24 - 22:26
    คือแบบน่ารักอะ
  • 22:48 - 22:52
    ที่เมืองนี้นะคะ ก็จะมาเทศกาลที่เรียกว่าเทศกาล Yosakoi ค่ะ
  • 22:52 - 22:57
    ซึ่งเดี๋ยวเราจะพาไปดูกันว่าเวลาถึงหน้าเทศกาลเนี่ย
    เขาจะมีการร้องเล่นเต้นระบำกันแบบไหน
  • 22:57 - 23:02
    แต่แอบให้ดูอันนี้นิดนึง เป็นสะพานตั้งแต่สมัยเอโดะนะคะ
    เดี๋ยวมันจะไปปรากฏในเนื้อเพลงค่ะ
  • 23:02 - 23:04
    ไป ไปดูเทศกาล Yosakoi กันดีกว่า
  • 23:12 - 23:15
    Yosakoi นี่เป็นเทศกาลที่คนญี่ปุ่น
    จะออกมาเริงระบำกันตามถนนค่ะ
  • 23:15 - 23:19
    โดยแต่งชุดพื้นเมืองแล้วก็ถืออุปกรณ์ที่เรียกว่า naruko นั่นเอง
  • 23:20 - 23:23
    เทศกาล Yosakoi แบบดั้งเดิมนี่บอกว่าที่ Kochi เท่านั้นนะคะ
  • 23:23 - 23:28
    แต่วันนี้เรามาไม่ตรงเทศกาลค่ะ
    ก็เลยไปที่ร้านอาหารที่มีโชว์ Yosakoi ให้ดูนะคะ
  • 23:28 - 23:31
    พาไปเที่ยวมาแล้วคิดว่าเป็นยังไงบ้างคะ
    คิดว่าคลิปนี้ยาวแล้วใช่ไหม
  • 23:31 - 23:33
    นี่ยังไม่ได้เข้าจุดประสงค์หลักที่เรามา Kochi เลยค่ะ
  • 23:33 - 23:40
    เพราะจริงๆ แล้วจุดเด่นของ Kochi ก็คืออาหารอร่อยมาก
    เสียใจด้วยนะคะ สำหรับคนที่ดูคลิปนี้ยามดึก
  • 23:40 - 23:44
    เนื่องจากว่าที่ Kochi เนี่ยถือว่าน้ำสะอาดเป็นอันดับต้นๆ
    ของประเทศญี่ปุ่นนะคะ
  • 23:44 - 23:50
    ดังนั้นปลาน้ำจืด สาหร่ายน้ำจืดอร่อยหมดเลยค่ะ
    โดยเฉพาะปลาอายุนะคะ ที่มีชื่อเสียงมากๆ ที่นี่
  • 23:50 - 23:54
    ซึ่งปลาอายุนี่บอกเลยว่าถ้าน้ำไม่สะอาดจริง หากินไม่ได้นะคะ
  • 23:55 - 24:00
    แถมภูมิประเทศนี่เป็นเกาะติดทะเลนะคะ
    ดังนั้นอาหารทะเลก็อร่อยเช่นกันค่ะ
  • 24:00 - 24:02
    โดยเฉพาะปลาคัตซึโอะหรือว่าปลาโอเนี่ยนะคะ
  • 24:02 - 24:06
    ที่นี่มีวิธีปรุงแบบพิเศษที่หากินได้ที่นี่ที่เดียว
    ในประเทศญี่ปุ่นเลยค่ะ
  • 24:06 - 24:10
    ปลาที่เด็ดอีกอย่างของที่นี่ก็คือชิริเม็งจาโกะนั่นเองค่ะ
  • 24:11 - 24:17
    เป็นปลาตัวเล็กๆ น้อยๆ ผสมกันนะคะ เอาไปโรยบน
    อาหารชนิดอื่น รวมถึงไอศกรีมด้วยอันนี้ก็แอบแปลกนิดนึงนะ
  • 24:17 - 24:18
    ไปชิมมาแล้ว
  • 24:18 - 24:23
    นอกจากนี้ที่นี่ยังมีปลาน้ำจืดที่มีชื่อเสียงอีกอย่างหนึ่ง
    ก็คือปลาไหลนั่นเอง
  • 24:23 - 24:25
    ตามวิวไปจับปลาไหลกันดีกว่าค่ะ
  • 24:25 - 24:29
    เชือกเส้นหนึ่งเนี่ยนะคะ ก็จะต้องใส่เบ็ดเข้าไปเนี่ย
    ทั้งหมด 10 จุดด้วยกันนะคะ
  • 24:29 - 24:33
    ซึ่งเขาบอกว่าปลาไหลเนี่ยมันหายากมาก ถึงขนาดที่ว่าปล่อยเชือกลงไปเส้นหนึ่ง มี 10 จุดใช่ไหม
  • 24:33 - 24:35
    อาจจะตกได้แค่ตัวเดียวเท่านั้นนะคะ
  • 24:35 - 24:37
    ดังนั้นวันหนึ่งปล่อยได้ประมาณ 4 - 5 เส้นเท่านั้น
  • 24:37 - 24:39
    ก็ปลาไหลนี่หายากมากๆ ค่ะ
  • 24:39 - 24:44
    ตลาดของที่นี่ก็ยูนีคไม่แพ้กันนะคะ
    อยากให้ลองมาโดนจริงๆ อาหารอร่อยมาก
  • 24:44 - 24:49
    คิดว่าหมดแล้วใช่ไหม ขอเลยว่าใครเป็นสายเนื้อนะคะ
    เนื้อที่นี่เด็ดมากพลาดไม่ได้จริงๆ
  • 24:49 - 24:55
    ตั้งแต่กินเนื้อมาในชีวิต จานนี้อร่อยที่สุดเลยค่ะ
    เนื้อชิมันโตะนะคะ ปีหนึ่งนี่ผลิตขึ้นมาได้แค่ 70 ตัวเท่านั้นนะคะ
  • 24:55 - 24:57
    ใครมาอย่าพลาดเลยทีเดียว
  • 24:57 - 25:01
    เห็นวิวเป็นคนไม่กินผักแบบนี้ ผักที่นี่ก็อร่อยมากๆ เช่นกันนะคะ
  • 25:01 - 25:05
    เช่นเดียวกับส้มยูสุ ที่นี่เป็นแหล่งผลิตส้มยูสุที่มีชื่อเสียงมากๆ ค่ะ
  • 25:05 - 25:08
    เรียกได้ว่ากว่าจะจบคลิปนี้ กินอิ่มอ้วนกันไปข้างหนึ่งเลยนะคะ
  • 25:09 - 25:14
    เอาจริงๆ นะคะ จังหวัด Kochi แม้ว่าเราจะไม่คุ้นเคยชื่อ
    กันเท่าไหร่ แต่มันมีอะไรให้เราทำเยอะมาก
  • 25:14 - 25:16
    ส่วนตัววิวเนี่ย ดูกิจกรรมต่างๆ เยอะไปหมดเนี่ยนะคะ
  • 25:16 - 25:20
    อาจจะเลือกไม่ได้เลยด้วยซ้ำว่ากิจกรรมไหน
    คือกิจกรรมที่ชอบที่สุดนะ
  • 25:20 - 25:26
    เพราะว่าที่นี่มันเหมือนเป็นบรรยากาศมากกว่า คือบรรยากาศของความสงบแบบสงบจริงๆ ไม่มีคน เราอยู่กับวิถีชาวบ้านจริงๆ
  • 25:26 - 25:33
    ปั่นจักรยานไปทำกิจกรรมต่างๆ อะนะ แล้วมันคือ มันคือเกาะแห่งหนึ่ง ถ้าเกิดใครตามหาความสงบเนี่ย ก็แนะนำให้มาที่นี่ค่ะ
  • 25:33 - 25:39
    ส่วนสาระจริงๆ ของวิดีโอนี้นะคะ จะบอกว่าเมื่อกี้เราไปดู
    น้ำสะอาดกันมา ไปดูอากาศที่ดี ไปดูอะไรต่างๆ มา
  • 25:39 - 25:44
    เราไปเห็นการทำกับข้าวมา ใช่ค่ะ สาระจริงๆ ของวิดีโอนี้คือ อาหารที่นี่อร่อยมากนะคะ
  • 25:44 - 25:48
    ทุกอย่างเลย ไม่ว่าจะเป็นเนื้อวัว เนื้อปลา เนื้อกุ้ง
    เนื้อทุกอย่างค่ะ
  • 25:48 - 25:51
    เพราะว่าที่นี่อากาศบริสุทธิ์แล้วก็น้ำสะอาดมากจริงๆ นะคะ
  • 25:52 - 25:54
    ดังนั้น อยากให้ลองมาที่ Kochi กันดูค่ะ
  • 25:54 - 25:56
    วันนี้ลาไปก่อนนะคะ บ๊าย บาย
  • 25:56 - 25:57
    สวัสดีค่ะ
Title:
แก้ชงแบบญี่ปุ่น ทำยังไง? ft. นิ้วกลม | Point of View On Tour EP.40
Description:

more » « less
Duration:
25:57

Thai subtitles

Revisions