พลังของปรากฏการณ์ยาหลอก - เอ็มม่า ไบรซ์ (Emma Bryce)
-
0:07 - 0:11ในปีค.ศ. 1996 อาสาสมัคร 56 คน
เป็นส่วนหนึ่งของการศึกษา -
0:11 - 0:15เพื่อทดสอบยาแก้ปวดตัวใหม่
ที่เรียกว่า Trivaricain -
0:15 - 0:19นิ้วชี้ของอาสาสมัครแต่ละคน
จะถูกทาไว้ด้วยยาแก้ปวดตัวใหม่นี้ -
0:19 - 0:22โดยที่นิ้วชี้อีกข้างไม่ได้ถูกทาด้วยอะไร
-
0:22 - 0:25จากนั้น นิ้วทั้งสองจะถูกหนีบด้วยคีมให้เจ็บ
-
0:25 - 0:30อาสาสมัครรายงานว่านิ้วชี้ที่ทายาเอาไว้
เจ็บน้อยกว่านิ้วที่ไม่ได้ทา -
0:30 - 0:31นี่ก็ไม่น่าแปลกใจอะไร
-
0:31 - 0:35เว้นเสียแต่ว่าจริง ๆ แล้ว
Trivaricaine ไม่ใช่ยาแก้ปวด -
0:35 - 0:39แต่เป็นแค่ส่วนผสมปลอม
ที่ไม่มีคุณสมบัติในการลดปวดเลย -
0:39 - 0:43อะไรทำให้อาสาสมัครเชื่อว่ายาหลอกนี้มีผล
-
0:43 - 0:46คำตอบก็คือ ปรากฏการณ์ยาหลอก
-
0:46 - 0:47ปรากฏการณ์ที่ไม่สามารถอธิบายได้
-
0:47 - 0:52เวลาที่ยา การรักษา การบำบัด
ที่ไม่น่าจะมีผลอะไร -
0:52 - 0:53และส่วนใหญ่เป็นของปลอม
-
0:53 - 0:56ทำให้คนรู้สึกดีขึ้นได้อย่างน่าฉงน
-
0:56 - 1:00แพทย์ได้ใช้คำว่ายาหลอกมาตั้งแต่ ค.ศ. 1700
-
1:00 - 1:05เมื่อพวกเขาตระหนักถึงพลังของยาหลอก
ที่ทำให้อาการต่าง ๆ ดีขึ้น -
1:05 - 1:08มันถูกใช้ตอนที่หายาที่เหมาะสมไม่ได้
-
1:08 - 1:11หรือเวลาที่คนทึกทักไปเองว่าตัวเองป่วย
-
1:11 - 1:16ที่จริงแล้ว คำว่า "Placebo"
แปลว่า "ฉันจะพอใจ" ในภาษาละติน -
1:16 - 1:19เป็นนัยบอกถึงประวัติศาสตร์
ของการบรรเทาให้ผู้ป่วยที่มีปัญหา -
1:19 - 1:23ยากหลอกนั้นต้องเลียนแบบยาจริง
เพื่อที่จะให้ดูน่าเชื่อ -
1:23 - 1:25มันจึงมีในรูปแบบของยาเม็ดทีทำจากน้ำตาล
-
1:25 - 1:27ยาฉีดที่เป็นน้ำเปล่า
-
1:27 - 1:29หรือแม้กระทั่งการผ่าตัดแบบปลอม ๆ
-
1:29 - 1:34ไม่นานนัก แพทย์ก็ตระหนักว่า
การหลอกคนในลักษณะยังมีประโยชน์อื่นอีก -
1:34 - 1:36ซึ่งก็คือ การทดลองทางคลินิค
-
1:36 - 1:40ในช่วงยุค 1950 นักวิจัยได้ใช้ยาหลอก
เป็นเครื่องมือมาตรฐาน -
1:40 - 1:42ในการทดสอบการรักษาใหม่ ๆ
-
1:42 - 1:44เพื่อที่จะประเมินยาตัวใหม่
ตัวอย่างเช่น -
1:44 - 1:47ผู้ป่วยครึ่งหนึ่งในการทดลองจะได้รับยาจริง
-
1:47 - 1:50อีกครึ่งหนึ่งที่เหลือจะได้รับยาหลอก
ที่่ลักษณะเหมือนยาจริง -
1:50 - 1:54เนื่องจากผู้ป่วยไม่ทราบว่า
พวกเขาได้รับยาจริงหรือยาหลอก -
1:54 - 1:56ผลลัพธ์ที่ได้จะไม่มีความลำเอียง
-
1:56 - 1:58นักวิจัยเชื่อว่าอย่างนั้น
-
1:58 - 2:02ดังนั้น ถ้ายาใหม่แสดงให้เห็นถึงประโยชน์
อย่างมีนัยสำคัญเมื่อเทียบกับยาหลอก -
2:02 - 2:04นั่นพิสูจน์ว่ายาใหม่มีประสิทธิภาพ
-
2:04 - 2:10ในปัจจุบัน ไม่ค่อยมีการใช้ยาหลอกแบบนี้แล้ว
เพราะว่ามีความกังวลเกี่ยวกับเรื่องจริยธรรม -
2:10 - 2:13ถ้าเป็นไปได้
การเปรียบเทียบยาตัวใหม่กับยาตัวเก่า -
2:13 - 2:15หรือกับยาตัวอื่นที่มีอยู่
-
2:15 - 2:19เป็นวิธีที่ดีกว่าการไม่ให้การรักษาอะไรเลย
-
2:19 - 2:21โดยเฉพาะถ้าพวกเขามีอาการป่วยที่รุนแรง
-
2:21 - 2:26ในกรณีเหล่านี้ ยาหลอกมักจะถูกใช้
เป็นตัวควบคุมในการปรับปรุงการทดสอบ -
2:26 - 2:30เพื่อที่ประสิทธิภาพของยาตัวใหม่
กับยาตัวเก่า หรือยาทางเลือก -
2:30 - 2:33สามารถถูกเปรียบเทียบกันได้อย่างเที่ยงตรง
-
2:33 - 2:38แต่แน่นอน เรารู้ว่ายาหลอกก็มีผล
ที่มาจากตัวมันเองเช่นกัน -
2:38 - 2:39ต้องขอบคุณปรากฏการณ์ยาหลอก
-
2:39 - 2:42ที่ทำให้ผู้ป่วยรู้สึกบรรเทาจากความเจ็บป่วยต่าง ๆ
-
2:42 - 2:43รวมไปถึง โรคหัวใจ
-
2:43 - 2:44โรคหอบหืด
-
2:44 - 2:46และความเจ็บปวดอย่างรุนแรง
-
2:46 - 2:50ถึงแม้ว่าพวกเขาจะได้รับแค่ยาปลอม
หรือ การผ่าตัดหลอก ๆ ก็ตาม -
2:50 - 2:53เรายังพยายามที่จะเข้าใจ
ว่ามันทำอย่างนั้นได้อย่างไร -
2:53 - 2:55บางคนเชื่อว่าแทนที่จะเป็นของจริง
-
2:55 - 2:59ปรากฏการณ์ยาหลอกเป็นเพียงแค่ความสับสน
ต่อปัจจัยอื่น ๆ -
2:59 - 3:03เช่น ผู้ป่วยอยากจะเอาใจแพทย์
โดยการหลออกว่าอาการป่วยดีขึ้น -
3:03 - 3:04ในอีกแง่มุมหนึ่ง
-
3:04 - 3:08นักวิจัยคิดว่า ถ้าคนเชื่อว่า
การรักษาหลอก ๆ นั้นคือของจริง -
3:08 - 3:12ความคาดหวังของคนไข้ที่จะฟื้นตัว
จะกระตุ้นปัจจัยทางสรีรวิทยา -
3:12 - 3:14ที่ทำให้อาการของพวกเขาดีขึ้น
-
3:14 - 3:18ยากหลอกดูเหมือนจะสามารถ
ทำให้เกิดการเปลี่ยนแปลงความดันโลหิต -
3:18 - 3:19อัตราการเต้นของหัวใจ
-
3:19 - 3:23และการหลั่งของสารเคมี
ที่ช่วยลดอาการเจ็บปวด เช่น เอนโดรฟิน -
3:23 - 3:29นั่นอธิบายว่าทำไมผู้ได้รับยาหลอกในการศึกษา
จึงมักจะบอกว่าอาการปวดของพวกเขาลดลง -
3:29 - 3:31ยากหลอกอาจจะลดระดับฮอร์โมนความเครียด
-
3:31 - 3:33เช่น อะดรีนาลีน
-
3:33 - 3:36ซึ่งสามารถชะลอผลที่เป็นอันตรายจากโรคได้
-
3:36 - 3:40เช่นนี้แล้ว พวกเราไม่ควรจะฉลองให้กับ
ผลประโยชน์แปลก ๆ ของยากหลอกหรอกหรือ -
3:40 - 3:41ไม่จำเป็น
-
3:41 - 3:44ถ้าบางคนเชื่อว่าการรักษาปลอม ๆ นั้น
รักษาพวกเขาได้ -
3:44 - 3:49พวกเขาอาจพลาดโอกาสในการใช้ยา
หรือการรักษาที่พิสูจน์แล้วว่าได้ผลจริง -
3:49 - 3:52นอกจากนั้น ผลเชิงบวกจะลดลงเมื่อเวลาผ่านไป
-
3:52 - 3:54และมักจะเป็นอย่างนั้น
-
3:54 - 3:56ยาหลอกยังรบกวนผลวิจัยทางคลินิค
-
3:56 - 3:59ทำให้นักวิจัยยิ่งมีแรงจูงใจมากขึ้น
ที่จะหาคำตอบ -
3:59 - 4:01ว่าทำไมพวกมันถึงมีอิทธิพลต่อเราขนาดนี้
-
4:01 - 4:04นอกเหนือจากความรู้ของเราทุกอย่าง
ที่เกี่ยวกับร่างกายมนุษย์แล้ว -
4:04 - 4:07มันก็ยังมีปริศนาที่แปลกประหลาด
และยังคงไม่มีคำตอบ -
4:07 - 4:09อย่างเช่นปรากฏการณ์ยาหลอก
-
4:09 - 4:13แล้วนี่ยังมีสิ่งมหัศจรรย์ใดอีก
ที่ยังไม่ได้รับการเปิดเผย -
4:13 - 4:16มันง่ายที่จะสำรวจโลกรอบ ๆ ตัวเรา
-
4:16 - 4:19และลืมไปว่าหนึ่งในสิ่งที่น่าสนใจมากที่สุด
-
4:19 - 4:21อาจเป็นเหมือนเส้นผมบังภูเขา
- Title:
- พลังของปรากฏการณ์ยาหลอก - เอ็มม่า ไบรซ์ (Emma Bryce)
- Speaker:
- Emma Bryce
- Description:
-
ดูบทเรียนแบบเต็มได้ที่: http://ed.ted.com/lessons/the-power-of-the-placebo-effect-emma-bryce
ปรากฏการ์ยาหลอกเป็นปรากฏการณ์ที่อธิบายไม่ได้ ในประเด็นทีว่า ยา การรักษา และการบำบัด ที่ไม่ควรจะมีผลใด ๆ -- และส่วนใหญ่จะเป็นของปลอม -- ทำให้คนรู้สึกดีขึ้นได้อย่างน่าฉงน มันเกิดอะไรขึ้น เอ็มม่า ไบรซ์จะพาเราดำไปสู่ความลึกลับของประโยชน์ที่แปลกประหลาดของยาหลอกนี้
บทเรียนโดย เอ็มม่า ไบรซ์ (Emma Bryce), แอนิเมชั่น โดย Globizco
- Video Language:
- English
- Team:
closed TED
- Project:
- TED-Ed
- Duration:
- 04:38
![]() |
Kelwalin Dhanasarnsombut approved Thai subtitles for The power of the placebo effect | |
![]() |
Kelwalin Dhanasarnsombut accepted Thai subtitles for The power of the placebo effect | |
![]() |
Pitipa Chongwatpol edited Thai subtitles for The power of the placebo effect | |
![]() |
Kelwalin Dhanasarnsombut declined Thai subtitles for The power of the placebo effect | |
![]() |
Kelwalin Dhanasarnsombut edited Thai subtitles for The power of the placebo effect | |
![]() |
Pitipa Chongwatpol edited Thai subtitles for The power of the placebo effect | |
![]() |
Pitipa Chongwatpol edited Thai subtitles for The power of the placebo effect | |
![]() |
Pitipa Chongwatpol edited Thai subtitles for The power of the placebo effect |