Return to Video

โชคมีบทบาทอย่างไรในชีวิตของคุณ?

  • 0:01 - 0:02
    สวัสดีทุกคน
  • 0:02 - 0:06
    ผมรู้สึกเป็นเกียรติที่ได้มาคุยกับคุณที่นี่
  • 0:06 - 0:12
    และที่ผมจะพูดวันนี้คือเรื่องโชค
    และความยุติธรรม
  • 0:12 - 0:14
    และความสัมพันธ์ของสองสิ่งนี้
  • 0:14 - 0:16
    หลายปีที่แล้ว
  • 0:16 - 0:19
    นักเรียนเก่าของผมโทรมาหา
  • 0:19 - 0:21
    เพื่อคุยเรื่องลูกสาวของเขา
  • 0:21 - 0:23
    ลูกสาวของเขาอยู่มัธยมปลาย
  • 0:23 - 0:29
    และสนใจอยากสมัครเข้าเรียนที่สวาร์ทมอร์
  • 0:29 - 0:30
    ที่ผมสอนอยู่
  • 0:30 - 0:35
    และเขาอยากจะได้ความเห็นของผมว่า
    ลูกสาวของเขาน่าจะได้เข้าเรียนหรือไม่
  • 0:35 - 0:40
    สวาร์ทมอร์นั้นเป็นโรงเรียนที่เข้ายากมาก
  • 0:40 - 0:42
    ผมจึงพูดว่า
    "เล่าเรื่องลูกสาวของคุณให้ผมฟังหน่อย"
  • 0:42 - 0:44
    และเขาก็เล่าให้ผมฟัง
  • 0:44 - 0:47
    ว่าเธอได้เกรดอะไรบ้าง
    คะแนนโดยรวมเป็นอย่างไร
  • 0:47 - 0:49
    กิจกรรมพิเศษนอกห้องเรียนที่เธอทำ
  • 0:49 - 0:51
    และฟังดูเหมือนเธอเป็นดาวเด่นทีเดียว
  • 0:51 - 0:54
    เป็นเด็กเก่ง ยอดเยี่ยมมาก
  • 0:54 - 0:56
    ผมจึงพูดขึ้นว่า "เธอฟังดูยอดเยี่ยม
  • 0:56 - 0:59
    น่าจะเป็นนักเรียนแบบที่
  • 0:59 - 1:02
    สวาร์ทมอร์อยากได้มาเรียนที่นี่"
  • 1:02 - 1:05
    เขาจึงถามขึ้นว่า "แล้วนั่นหมายความว่า
    เธอจะได้เข้าเรียนใช่ไหม?"
  • 1:06 - 1:08
    ผมตอบว่า "ไม่ใช่
  • 1:09 - 1:13
    ห้องเรียนที่สวาร์ทมอร์ไม่มีที่พอสำหรับ
  • 1:13 - 1:15
    เด็กที่ดีทุกคนหรอก
  • 1:15 - 1:19
    ไม่มีที่พอที่ฮาร์วาร์ด หรือเยล
    หรือพรินซ์ตัน หรือสแตนฟอร์ด
  • 1:19 - 1:23
    ไม่มีที่พอที่กูเกิ้ล หรืออเมซอน
    หรือแอปเปิ้ล
  • 1:23 - 1:28
    ไม่มีที่พอที่ TED Conference ด้วย
  • 1:28 - 1:30
    มีคนดี ๆ เก่ง ๆ มากมายเหลือเกิน
  • 1:30 - 1:33
    และบางคนก็ไม่ได้ที่นั่งในที่เหล่านี้"
  • 1:35 - 1:37
    เขาจึงกล่าวว่า "แล้วเราจะต้องทำอย่างไร?"
  • 1:38 - 1:41
    และผมก็พูดว่า "นั่นเป็นคำถามที่ดี"
  • 1:42 - 1:44
    แล้วเราจะต้องทำอย่างไร?
  • 1:44 - 1:48
    และผมก็รู้ว่าวิทยาลัยและ
    มหาวิทยาลัยเหล่านั้นทำอย่างไร
  • 1:48 - 1:51
    เพื่อให้เกิดความยุติธรรม
  • 1:51 - 1:56
    พวกเขาจึงยกระดับมาตรฐานให้สูงขึ้นเรื่อย ๆ
  • 1:56 - 2:02
    เพราะมันดูไม่ยุติธรรม
    ที่จะรับคนที่คุณสมบัติด้อยกว่า
  • 2:02 - 2:05
    และปฏิเสธผู้ที่มีคุณสมบัติเด่นกว่า
  • 2:05 - 2:09
    คุณจึงต้องยกมาตรฐานให้สูงขึ้นและสูงขึ้น
  • 2:09 - 2:11
    จนสูงพอที่คุณจะสามารถรับ
  • 2:11 - 2:16
    นักเรียนในจำนวนที่คุณ
    ให้ที่นั่งเขาได้เท่านั้น
  • 2:16 - 2:22
    และนี่ก็ขัดกับความรู้สึกเรื่องความยุติธรรม
    และความเท่าเทียมของหลาย ๆ คน
  • 2:22 - 2:25
    คนในสังคมอเมริกันมีทัศนคติต่าง ๆ กันไป
  • 2:25 - 2:29
    ในเรื่องที่ว่ากระบวนการเช่นใดจึงจะยุติธรรม
  • 2:29 - 2:33
    แต่ผมคิดว่าสิ่งหนึ่งที่แทบทุกคนเห็นด้วยคือ
  • 2:33 - 2:36
    ระบบที่มีเหตุผล ระบบที่เป็นธรรม
  • 2:36 - 2:38
    คือผู้คนได้ในสิ่งที่สมควรได้
  • 2:38 - 2:41
    และสิ่งที่ผมบอกกับนักเรียนเก่าของผม
  • 2:41 - 2:45
    คือเมื่อพูดถึง
    การรับนักเรียนเข้าเรียน
  • 2:45 - 2:49
    มันไม่จริงหรอกที่
    ผู้คนจะได้ในสิ่งที่สมควรได้
  • 2:49 - 2:53
    บางคนได้ในสิ่งที่สมควรได้ แต่บางคนก็ไม่
  • 2:53 - 2:56
    มันก็เป็นอย่างนั้นเอง
  • 2:56 - 3:00
    เมื่อคุณยกระดับมาตรฐานจนสูง
    เหมือนกับที่มหาวิทยาลัยได้ทำ
  • 3:00 - 3:03
    คุณทำให้เกิดการแข่งขันกันอย่างบ้าคลั่ง
  • 3:03 - 3:05
    ในหมู่เด็กมัธยมปลาย
  • 3:05 - 3:08
    เพราะแค่เก่งนั้นไม่เพียงพอเสียแล้ว
  • 3:08 - 3:10
    ไม่เพียงพอที่จะแค่เป็นคนเก่งพอ
  • 3:10 - 3:14
    แต่คุณต้องเก่งกว่า
    คนอื่น ๆ ที่สมัครทุกคนด้วย
  • 3:14 - 3:16
    และมันทำให้เกิด
  • 3:16 - 3:18
    หรือมีส่วนทำให้เกิด
  • 3:18 - 3:22
    การระบาดของโรควิตกกังวลและโรคซึมเศร้า
  • 3:22 - 3:25
    ที่กำลังทำร้ายเด็กวัยรุ่นของเรา
  • 3:25 - 3:28
    เรากำลังทำลายคนรุ่นหนึ่ง
    ด้วยการแข่งขันอย่างนี้
  • 3:29 - 3:31
    ขณะที่ผมครุ่นคิดเรื่องนี้
  • 3:31 - 3:34
    ผมก็คิดได้ว่ามีทางแก้ไขปัญหานี้
  • 3:34 - 3:36
    และนี่คือสิ่งที่เราน่าจะทำ:
  • 3:37 - 3:40
    เมื่อนักเรียนส่งใบสมัครเข้าวิทยาลัย
  • 3:40 - 3:45
    เราแยกผู้สมัครที่เก่งพอ
    ที่จะประสบความสำเร็จออกมา
  • 3:46 - 3:47
    และผู้ที่ไม่เก่งพอ
  • 3:47 - 3:51
    เราคัดคนที่ไม่เก่งพอออก
  • 3:51 - 3:55
    เอาคนชื่อคนที่เก่งพอมาใส่ลงในกระป๋อง
  • 3:55 - 3:57
    แล้วจับฉลากเอาแบบสุ่ม
  • 3:57 - 3:59
    และรับคนที่ได้รับการจับฉลากเข้าเรียน
  • 3:59 - 4:03
    พูดอีกอย่างคือ
    เราคัดคนเข้าเรียนด้วยวิธีลอตเตอรี่
  • 4:03 - 4:08
    และเราอาจจะรับคนเข้าทำงานใน
    บริษัทเทคโนโลยีด้วยวิธีนี้ด้วย
  • 4:08 - 4:10
    และ --ดับความคิดนั้น--
  • 4:10 - 4:14
    เราอาจจะตัดสินว่า
    ใครจะได้รับเชิญมาพูดที่ TED
  • 4:14 - 4:15
    ด้วยวิธีนี้เช่นกัน
  • 4:16 - 4:18
    อย่าเข้าใจผมผิดไป
  • 4:18 - 4:22
    วิธีลอตเตอรี่เช่นนี้
    ไม่ได้เป็นการขจัดความอยุติธรรม
  • 4:22 - 4:26
    จะยังมีคนอีกมาก
    ที่ไม่ได้ในสิ่งที่เขาสมควรได้รับ
  • 4:26 - 4:29
    แต่อย่างน้อยมันก็เป็นวิธีที่ซื่อสัตย์
  • 4:29 - 4:35
    มันเผยให้เห็นความอยุติธรรม
    ในอย่างที่มัน เป็นแทนที่จะเสแสร้งว่าไม่มี
  • 4:35 - 4:38
    และมันเจาะบอลลูนความดันสูง
  • 4:38 - 4:42
    ที่กดดันเด็กมัธยมปลายของเราอยู่ให้แตกออก
  • 4:43 - 4:47
    มันจึงเป็นข้อเสนอที่เหมาะสมอย่างที่สุด
  • 4:47 - 4:49
    แม้ว่าผมจะพูดเองเออเองก็ตาม
  • 4:49 - 4:51
    แต่ทำไมไม่มีใครนำไปถกกันต่อ?
  • 4:52 - 4:53
    ผมคิดว่าผมรู้เหตุผลนะ
  • 4:54 - 4:57
    ผมคิดว่ามันเป็นเพราะ
    เราไม่ชอบความคิดเช่นนี้
  • 4:57 - 5:03
    ที่ว่าสิ่งที่สำคัญในชีวิต
    เกิดขึ้นจากโชคหรือความบังเอิญ
  • 5:03 - 5:08
    ว่าสิ่งที่สำคัญในชีวิตนั้น
    อยู่นอกการควบคุมของเรา
  • 5:08 - 5:09
    ผมเกลียดความคิดเช่นนั้น
  • 5:09 - 5:12
    มันจึงไม่น่าแปลกใจ
    ที่ผู้คนเกลียดความคิดนั้น
  • 5:12 - 5:16
    แต่เอาง่าย ๆ มันก็เป็นอย่างนั้นเอง
  • 5:17 - 5:22
    ประการแรกคือ การคัดเลือกนักเรียนเข้าเรียน
    ในวิทยาลัยเป็นแบบลอตเตอรี่อยู่แล้ว
  • 5:22 - 5:25
    แค่เจ้าหน้าที่คัดเลือก
    แกล้งทำเป็นว่าไม่ใช่ก็เท่านั้น
  • 5:25 - 5:27
    มาทำให้มันตรงไปตรงมากันเถอะ
  • 5:27 - 5:29
    และอย่างที่สอง
  • 5:29 - 5:32
    ผมว่าหากเรายอมรับว่ามันเป็นลอตเตอรรี่
  • 5:32 - 5:37
    มันจะทำให้เรายอมรับความสำคัญของโชคดี
  • 5:37 - 5:39
    ในชีวิตของพวกเราทุกคน
  • 5:39 - 5:41
    ดูอย่างผม
  • 5:42 - 5:47
    เหตุการณ์สำคัญแทบทุกเหตุการณ์
    ในชีวิตของผม
  • 5:47 - 5:48
    โดยมาก
  • 5:48 - 5:50
    เป็นผลมาจากความโชคดี
  • 5:51 - 5:54
    ตอนผมอยู่มัธยมหนึ่ง
    ครอบครัวของผมย้ายออกจากนิวยอร์ค
  • 5:54 - 5:57
    ไปอยู่ที่เวสต์เชสเตอร์
  • 5:57 - 5:58
    ตอนที่ผมเริ่มเข้าโรงเรียน
  • 5:58 - 6:01
    ผมพบเด็กผู้หญิงน่ารักคนหนึ่ง
    ซึ่งต่อมากลายเป็นเพื่อนของผม
  • 6:01 - 6:04
    แล้วกลายมาเป็นเพื่อนซี้ของผม
  • 6:04 - 6:07
    และกลายมาเป็นแฟนของผม
  • 6:07 - 6:09
    และต่อมาเป็นภรรยาของผม
  • 6:09 - 6:11
    ถึงตอนนี้เธอเป็นภรรยาของผม
    อย่างมีความสุข
  • 6:11 - 6:13
    มา 52 ปีแล้ว
  • 6:13 - 6:17
    ผมไม่ได้ทำอะไรมากเลย
    มันเป็นความบังเอิญที่โชคดี
  • 6:18 - 6:20
    ผมเข้าวิทยาลัย
  • 6:20 - 6:25
    ในเทอมแรกผมลงชื่อเรียน
    วิชาจิตวิทยาเบื้องต้น
  • 6:25 - 6:27
    ผมไม่รู้ด้วยซ้ำว่าจิตวิทยาคืออะไรในตอนนั้น
  • 6:27 - 6:30
    แต่มันลงตัวกับตารางเวลาของผม
    และเป็นไปตามข้อกำหนด
  • 6:30 - 6:31
    ผมจึงลงเรียน
  • 6:31 - 6:33
    และด้วยโชคพาไป ครูที่สอน
  • 6:33 - 6:38
    เป็นครูจิตวิทยาเบื้องต้นระดับซูเปอร์สตาร์
    ผู้เป็นตำนาน
  • 6:39 - 6:42
    เพราะเช่นนั้น ผมจึงเลือกวิชาเอกจิตวิทยา
  • 6:42 - 6:44
    และเรียนต่อบัณฑิตวิทยาลัย
  • 6:44 - 6:46
    ขณะที่ผมกำลังจะจบ
  • 6:46 - 6:49
    เพื่อนของผมซึ่งสอนที่สวาร์ทมอร์ตัดสินใจว่า
  • 6:49 - 6:51
    เขาไม่อยากเป็นอาจารย์แล้ว
  • 6:51 - 6:54
    เขาจึงลาออกไปเข้าวิทยาลัยแพทย์
  • 6:55 - 6:58
    ตำแหน่งของเขาจึงว่างลง
  • 6:58 - 7:00
    ผมจึงสมัครเข้าทำงานในตำแหน่งของเขา
  • 7:00 - 7:03
    ซึ่งเป็นงานเดียวที่ผมเคยสมัครทำ
  • 7:03 - 7:06
    ผมทำงานที่สวาร์ทมอร์มาแล้ว 45 ปี
  • 7:06 - 7:11
    เป็นสถาบันที่ส่งผลและปั้นอาชีพของผม
  • 7:11 - 7:13
    และอีกตัวอย่างสุดท้าย
  • 7:13 - 7:17
    ขณะที่ผมกำลังบรรยาย
    เกี่ยวกับงานของผมในนิวยอร์ค
  • 7:17 - 7:21
    มีผู้ฟังคนหนึ่งมาพบผมหลังการบรรยายจบลง
  • 7:21 - 7:22
    เขาแนะนำตัวเอง
  • 7:22 - 7:24
    เขากล่าวว่า "ผมชื่อคริสครับ
  • 7:24 - 7:26
    คุณสนใจมาพูดที่ TED ไหมครับ?"
  • 7:27 - 7:30
    คำตอบของผมคือ "TED คืออะไร?"
  • 7:31 - 7:33
    เขาจึงเล่าให้ผมฟัง
  • 7:33 - 7:37
    เมื่อก่อน TED ไม่ได้เป็นอย่างทุกวันนี้
  • 7:37 - 7:39
    แต่ในช่วงหลายปีที่ผ่านมา
  • 7:39 - 7:41
    ทอล์คหลาย ๆ ทอล์คที่ผมพูดที่ TED นั้น
    มีคนเข้าชม
  • 7:41 - 7:44
    มากกว่า 20 ล้านคน
  • 7:44 - 7:47
    สรุปก็คือผมเป็นคนโชคดี
  • 7:47 - 7:49
    ผมโชคดีเรื่องคู่ชีวิต
  • 7:49 - 7:50
    ผมโชคดีเรื่องการศึกษา
  • 7:50 - 7:52
    ผมโชคดีเรื่องอาชีพการงาน
  • 7:52 - 7:59
    และผมก็โชคดีที่มีพื้นที่อย่าง TED
    ให้ได้ถ่ายทอดความคิด
  • 7:59 - 8:01
    ผมควรได้รับความสำเร็จเหล่านี้หรือไม่?
  • 8:01 - 8:02
    แน่นอนว่าผมควรได้รับ
  • 8:03 - 8:05
    เช่นเดียวกับพวกคุณ
    ที่น่าจะคู่ควรกับความสำเร็จของคุณ
  • 8:05 - 8:11
    แต่ก็มีอีกมากมายหลายคน
    ที่ควรได้รับความสำเร็จเช่นเดียวกับพวกเรา
  • 8:11 - 8:13
    แต่พวกเขากลับไม่ได้
  • 8:14 - 8:16
    แล้วผู้คนได้รับ
    ในสิ่งที่เขาสมควรได้รับกันไหม?
  • 8:16 - 8:18
    สังคมยุติธรรมไหม?
  • 8:19 - 8:21
    แนนอนว่าไม่
  • 8:21 - 8:27
    การทำงานหนักและเล่นตามกติกานั้น
    ไม่ได้การันตีอะไรเลย
  • 8:27 - 8:31
    หากเรายอมรับว่าความอยุติธรรมเช่นนี้
    ว่าเป็นสิ่งที่เลี่ยงไม่ได้
  • 8:31 - 8:34
    รวมถึงการให้ความสำคัญ
    กับความโชคดี
  • 8:34 - 8:36
    เราอาจย้อนถามตัวเองว่า
  • 8:36 - 8:38
    เรามีความรับผิดชอบอะไรบ้าง
  • 8:38 - 8:44
    ต่อคนที่เรายกย่องให้เป็นฮีโร่
    ในช่วงเวลาแห่งโรคระบาดใหญ่นี้
  • 8:44 - 8:48
    เมื่อโรคร้ายกล้ำกรายครอบครัวของพวกเขา
  • 8:48 - 8:52
    เพื่อให้แน่ใจว่าพวกเขายังอยู่เป็นครอบครัว
    และชีวิตไม่พังพินาศ
  • 8:52 - 8:56
    จากผลของการที่ต้องเผชิญโรคร้ายนี้
  • 8:56 - 8:59
    เราติดค้างอะไรกับผู้คนที่ต้องดิ้นรน
  • 8:59 - 9:03
    ทำงานหนักและโชคดีน้อยกว่าเรา
  • 9:04 - 9:06
    ครึ่งศตวรรษที่แล้ว
  • 9:06 - 9:10
    นักปรัชญา จอห์น รอลส์ เขียนหนังสือชื่อ
    "ทฤษฎีแห่งความยุติธรรม"
  • 9:10 - 9:15
    และในหนังสือเล่มนั้นเขาได้แนะนำแนวคิด
    ที่เขาเรียกว่า "ม่านแห่งความเขลา"
  • 9:15 - 9:16
    คำถามที่เขาตั้งไว้คือ:
  • 9:16 - 9:22
    ถ้าคุณไม่รู้จุดยืน
    ของคุณในสังคม
  • 9:22 - 9:26
    แล้วคุณจะสร้างสังคม
    นั้นขึ้นมาได้อย่างไร?
  • 9:26 - 9:28
    เขาจึงแนะว่า
  • 9:28 - 9:31
    นั่นคือตอนที่เราไม่รู้ว่า
    เราจะเข้าสู่สังคม
  • 9:31 - 9:33
    จากข้างบน หรือจากข้างล่าง
  • 9:33 - 9:37
    สิ่งที่เราต้องการคือสังคม
    ที่มีความเท่าเทียมจริง ๆ
  • 9:37 - 9:39
    เพื่อที่ว่า แม้แต่คนที่โชคไม่ดี
  • 9:39 - 9:43
    ก็จะสามารถมีชีวิตที่ดี
    มีความหมาย และน่าพอใจได้
  • 9:43 - 9:49
    ดังนั้นขอให้พวกคุณทุกคนที่โชคดี
    ประสบความสำเร็จ ย้อนดูชุมชนของคุณ
  • 9:49 - 9:56
    และทำในสิ่งที่ทำได้
    เพื่อให้เกียรติและดูแล
  • 9:56 - 10:00
    ผู้คนที่สมควรได้รับความสำเร็จ
    เช่นเดียวกับเรา
  • 10:00 - 10:02
    แต่ไม่ได้โชคดีเท่าเรา
  • 10:02 - 10:04
    ขอบคุณครับ
Title:
โชคมีบทบาทอย่างไรในชีวิตของคุณ?
Speaker:
แบรี่ ชวาร์ทซ
Description:

โชคมีบทบาทสำคัญในชีวิตมากกว่าที่เราอยากจะยอมรับ นักจิตวิทยา แบรี่ ชวาร์ทซ กล่าว แน่นอนว่าการทำงานหนักและทำตามกติกาจะทำให้คุณไปได้ไกลระดับหนึ่ง แต่ที่เหลืออาจขึ้นกับโชคที่ดี ชวาร์ทซศึกษาความสัมพันธ์ที่ถูกมองข้ามระหว่างโชค บุญ และความสำเร็จ โดยนำเสนอวิธีแก้ปัญหาที่น่าสนใจในการปรับโอกาสให้เท่าเทียมกัน โดยเริ่มจากคัดเลือกนักเรียนเข้าเรียนในวิทยาลัย

more » « less
Video Language:
English
Team:
closed TED
Project:
TEDTalks
Duration:
10:16
Sakunphat Jirawuthitanant approved Thai subtitles for What role does luck play in your life?
Sakunphat Jirawuthitanant accepted Thai subtitles for What role does luck play in your life?
Sakunphat Jirawuthitanant edited Thai subtitles for What role does luck play in your life?
siriporn chatratana edited Thai subtitles for What role does luck play in your life?

Thai subtitles

Revisions