Return to Video

มนุษย์จะปรับตัวต่อการอาศัยในอวกาศได้อย่างไร

  • 0:02 - 0:05
    มันมีดินแดนเพียงบางแห่งและบางมุม
    บนโลกของเราใบนี้
  • 0:05 - 0:09
    ที่เป็นบ้านอันเอื้ออาทรของมนุษย์
  • 0:09 - 0:11
    แต่เราก็มีชีวิตรอดกันมาได้
  • 0:12 - 0:16
    บรรพบุรุษเริ่มแรกของพวกเรา
    เมื่อพวกเขาพบบ้านและแหล่งอาศัย
  • 0:16 - 0:19
    พวกเขากล้าที่จะเข้าไป
    ยังพื้นที่ซึ่งไม่เป็นที่คุ้นเคย
  • 0:19 - 0:21
    เพื่อค้นหาโอกาสที่ดีกว่า
  • 0:22 - 0:24
    และในฐานะลูกหลาน
    ของนักสำรวจเหล่านั้น
  • 0:24 - 0:27
    เรามีเลือดของเหล่าผู้พเนจร
    ไหลอยู่ในเส้นเลือดของพวกเรา
  • 0:28 - 0:29
    แต่ในเวลาเดียวกัน
  • 0:30 - 0:32
    เราถูกทำให้ไขว้เขวโดยขนมปัง
    และความอลหม่าน
  • 0:32 - 0:35
    และได้ร่วมก่อกรรมทำสงคราม
    ที่เราได้เดิมพันกันและกัน
  • 0:36 - 0:39
    มันเหมือนว่าเราได้หลงลืม
    ความปรารถนาในการสำรวจ
  • 0:40 - 0:44
    เรา ในฐานะสายพันธุ์หนึ่ง
    เราวิวัฒนาการมาอย่างมีอัตลักษณ์
  • 0:45 - 0:49
    จากโลก บนโลก และโดยโลก
  • 0:50 - 0:53
    และเราพอใจในสถานะภาพความเป็นอยู่
  • 0:53 - 0:56
    ที่เราความพอใจที่มีต่อมัน
    ก็ค่อย ๆ เพิ่มพูน และเราก็ยุ่ง
  • 0:56 - 0:58
    เกินกว่าที่จะสังเกตว่าทรัพยากรนี้
    มีอยู่อย่างจำกัด
  • 0:59 - 1:01
    และชีวิตของดวงอาทิตย์ของเราก็จำกัด
  • 1:02 - 1:05
    ในขณะที่ดาวอังคารและภาพยนตร์
    ที่เกี่ยวข้องกับมัน
  • 1:05 - 1:08
    ได้ค้ำจุนสนับสนุน
    พื้นฐานของการเดินทางไปในอวกาศ
  • 1:08 - 1:14
    น้อยคนนักที่จะตระหนักว่า
    โครงสร้างที่เปราะบางของสายพันธุ์เรา
  • 1:14 - 1:17
    ไม่ได้ถูกตระเตรียมให้พร้อมกับ
    การเดินทางอันยาวไกลในอวกาศเลย
  • 1:18 - 1:20
    ลองนึกถึงการเดินทางเข้าไป
    ในอุทยานป่าไม้ในท้องถิ่นของคุณดู
  • 1:20 - 1:22
    เพื่อเป็นการทดสอบอะไรไว ๆ
  • 1:22 - 1:24
    ยกมือขึ้นนะคะ
  • 1:24 - 1:28
    ถ้าคุณคิดว่าคุณสามารถ
    มีชีวิตรอดในป่าเขียวชะอุ่มนี้ได้
  • 1:28 - 1:29
    เป็นเวลาสักสองสามวัน
  • 1:30 - 1:31
    ค่ะ นั่นก็หลายคนทีเดียว
  • 1:31 - 1:33
    แล้วถ้าสักสองสามสัปดาห์ล่ะคะ
  • 1:34 - 1:35
    นั่นก็มีมากในระดับนึง
  • 1:35 - 1:36
    แล้วถ้าสักสองสามเดือนล่ะคะ
  • 1:38 - 1:39
    นั่นก็ค่อนข้างดูดีเช่นกัน
  • 1:39 - 1:42
    ทีนี้ ลองนึกถึงว่า
    อุทยานป่าไม้ในท้องถิ่นที่ว่านี้
  • 1:42 - 1:45
    มีฤดูหนาวที่ยาวนานมาก ๆ
  • 1:45 - 1:49
    คำถามเดิมค่ะ ใครที่คิดว่า
    จะมีชีวิตรอดสักสองสามวันได้บ้างคะ
  • 1:50 - 1:52
    นั่นค่อนข้างมากทีเดียว
  • 1:52 - 1:53
    แล้วถ้าสักสองสามสัปดาห์ล่ะคะ
  • 1:54 - 1:59
    เอาล่ะ เล่นดูขำ ๆ ลองนึกดูว่า
    ถ้าแหล่งน้ำแห่งเดียวที่มีอยู่
  • 1:59 - 2:03
    ถูกกักอยู่ใต้ก้อนน้ำแข็ง
    ลึกลงไปหลายไมล์ในพื้นดิน
  • 2:03 - 2:07
    ธาตุอาหารในดินมีอยู่น้อยมาก
    จนเราไม่พบพืชผักอะไรเลย
  • 2:07 - 2:11
    และแน่นอน มันแทบจะไม่มี
    ชั้นบรรยากาศอะไรเลย
  • 2:13 - 2:17
    ตัวอย่างดังกล่าว เป็นเพียง
    บางความท้าทายที่เราจะต้องเผชิญ
  • 2:17 - 2:19
    บนดาวเคราะห์อย่างดาวอังคาร
  • 2:20 - 2:25
    แล้วเราจะหุ้มเกราะให้ตัวเอง
    เพื่อที่จะเดินทางไกล
  • 2:25 - 2:27
    จากฤดูร้อนอันแสนสุขได้อย่างไร
  • 2:28 - 2:30
    เราจะส่งเสบียงไปจากโลกเรื่อย ๆ
    อย่างนั้นหรือ
  • 2:31 - 2:34
    หรือเราจะสร้างลิฟต์อวกาศ
    หรือสายพานการส่งที่ยาวมาก ๆ
  • 2:34 - 2:37
    ที่ผูกดาวเคราะห์ที่คุณเลือก
    ไว้กับดาวบ้านเกิดของเรา
  • 2:38 - 2:43
    แล้วถ้าเราจะปลูกอาหาร
    อย่างที่เราปลูกบนโลกอย่างไรล่ะ
  • 2:45 - 2:47
    แต่ฉันคิดไปไกลกว่านั้น
  • 2:48 - 2:51
    ในการเดินทางไปยังอวกาศของเรา
    เพื่อหาบ้านใหม่ภายใต้ดวงอาทิตย์ดวงนี้
  • 2:52 - 2:56
    เราควรที่จะใช้เวลาให้มากกว่านี้
  • 2:56 - 2:57
    ในการเดินทาง
  • 2:58 - 2:59
    ในอวกาศ
  • 2:59 - 3:02
    บนยานอวกาศ
    ที่หน้าตาเหมือนกระป๋องปิดตาย
  • 3:03 - 3:05
    ซึ่งบางทีอาจต้องใช้เวลาหลายชั่วคน
  • 3:05 - 3:09
    คนใช้เวลาในอวกาศต่อเนื่องกันยาวนานที่สุด
  • 3:09 - 3:12
    คือประมาณ 12 ถึง 14 เดือน
  • 3:13 - 3:15
    จากประสบการณ์ในอวกาศของนักบินอวกาศ
  • 3:15 - 3:19
    เรารู้ว่าการใช้เวลาในที่ซึ่งมีแรงโน้มถ่วงน้อย
  • 3:19 - 3:23
    ทำให้มวลกระดูกลดลง กล้ามเนื้อลีบ
    เกิดปัญหาหลอดเลือดหัวใจ
  • 3:23 - 3:25
    และภาวะแทรกซ้อนอื่น ๆ มากมาย
  • 3:25 - 3:28
    ทั่งทางกายภาพและทางจิตใจ
  • 3:29 - 3:31
    แล้วมันเกี่ยวอะไรกับแรงโน้มถ่วงที่น้อย
  • 3:31 - 3:33
    หรือปัจจัยอื่น ๆ
    ที่เกี่ยวข้องกับแรงโน้มถ่วง
  • 3:33 - 3:35
    ของดาวเคราะห์ที่เราไปอยู่อย่างนั้นหรือ
  • 3:37 - 3:40
    สรุปคร่าว ๆ ก็คือ การเดินทางในอวกาศ
    จะเต็มไปด้วยภยันตรายต่าง ๆ
  • 3:40 - 3:42
    ทั้งที่เรารู้และไม่รู้
  • 3:43 - 3:47
    ที่แล้วมา เราได้มองหา
    เทคโนโลยีใหม่ทางกลศาสตร์
  • 3:47 - 3:49
    หรือหุ่นยนต์ยุคใหม่
  • 3:49 - 3:53
    ที่จะเป็นส่วนหนึ่งที่จะสร้างความมั่นใจ
    ต่อการเดินทางในอวกาศของเรา
  • 3:54 - 3:57
    แม้ว่ามันจะเจ๋งมากก็ตาม
    ฉันเชื่อว่ามันถึงเวลาแล้ว
  • 3:57 - 4:01
    ที่เราจะเสริมยักษ์อิเล็กทรอนิคเหล่านี้
  • 4:01 - 4:03
    ด้วยสิ่งที่ธรรมชาติได้สร้างขึ้นไว้แล้ว
  • 4:04 - 4:06
    จุลชีพ
  • 4:06 - 4:11
    สิ่งมีชีวิตเซลล์เดียว ที่ตัวมันเอง
    สามารถเจริญเติบโต สมบูรณ์ได้ด้วยตัวเอง
  • 4:11 - 4:12
    มันคือจักรกลที่มีชีวิต
  • 4:13 - 4:15
    มันต้องการทรัพยากรไม่มาก
    ในการมีชีวิตอยู่
  • 4:15 - 4:17
    มีความยืดหยุ่นมากต่อการออกแบบ
  • 4:17 - 4:20
    และต้องการเพียงพื้นที่เล็ก ๆ
    อย่างเช่นในหลอดพลาสติก
  • 4:21 - 4:25
    การศึกษาในสาขานี้ที่สามารถทำให้เรา
    ใช้คุณสมบัติของจุลชีพได้
  • 4:25 - 4:27
    เป็นที่รู้จักกันในชื่อ ชีวสังเคราะห์
  • 4:28 - 4:32
    มันเป็นสาขาหนึ่งที่พัฒนาต่อยอดมาจาก
    วิชาชีวโมเลกุล ซึ่งทำให้เรามียาปฏิชีวนะ วัคซีน
  • 4:32 - 4:35
    และวิธีการที่ดีกว่าในการสังเกต
    ความแตกต่างเล็กน้อยในทางกายวิภาค
  • 4:35 - 4:36
    ของร่างกายมนุษย์
  • 4:37 - 4:38
    การใช้เครื่องมือจากชีวสังเคราะห์
  • 4:39 - 4:41
    ตอนนี้เราสามารถแก้ไขยีน
    ได้ในสิ่งมีชีวิตเกือบทุกชนิด
  • 4:41 - 4:43
    ไม่ว่าจะเล็กหรือใหญ่
  • 4:43 - 4:46
    ด้วยความเร็วและความแม่นยำที่น่าทึ่ง
  • 4:47 - 4:50
    ด้วยข้อจำกัดของอุปกรณ์ที่สร้างโดยมนุษย์
  • 4:50 - 4:54
    ชีวสังเคราะห์จะเป็นวิธีที่เราจะวิศวกรรม
    ไม่เพียงแต่อาหารของเรา
  • 4:54 - 4:56
    เชื้อเพลิงของเรา และสิ่งแวดล้อม
  • 4:56 - 4:59
    แต่ยังจะวิศวกรรมตัวเราเอง
  • 4:59 - 5:01
    ให้ชดเชยกับความไม่เหมาะสม
    ทางกายภาพของเรา
  • 5:01 - 5:04
    และทำให้เรามั่นใจว่าเราจะมีชีวิตรอดในอวกาศ
  • 5:05 - 5:06
    เพื่อเป็นการยกตัวอยาง
  • 5:06 - 5:09
    ว่าเราจะใช้ชีวสังเคราะห์อย่างไร
    ในการพัฒนาการสำรวจอวกาศ
  • 5:09 - 5:11
    ให้เราลองมองไปยังสิ่งแวดล้อมบนดาวอังคาร
  • 5:12 - 5:17
    องค์ประกอบของดินบนดาวอังคาร
    คล้ายกับเถ้าถ่านภูเขาไฟในฮาวาย
  • 5:17 - 5:19
    และมีสารอินทรีย์เล็กน้อย
  • 5:19 - 5:22
    ลองตั้งสมมติฐานดูแบบว่า
  • 5:22 - 5:24
    จะเป็นอย่างไรถ้าหากดินบนดาวอังคาร
    สามารถที่จะค้ำจุนให้พืชเจริญเติบโตได้จริง ๆ
  • 5:24 - 5:26
    โดยไม่ต้องใช้ธาตุอาหาร
    ที่ถูกดัดแปลงให้เหมือนของโลก
  • 5:27 - 5:29
    คำถามแรกที่เราควรจะถามก็คือ
  • 5:29 - 5:32
    เราจะสร้างให้ดาวเคราะห์ของเรา
    ทนต่อความหนาวเย็นได้อย่างไร
  • 5:32 - 5:34
    เพราะว่า โดยเฉลี่ยแล้ว
    อุณหภูมิของดาวอังคาร
  • 5:34 - 5:37
    คือลบ 60 องศาเซลเซียส
    ซึ่งไม่ค่อยจะเป็นมิตรเท่าไร
  • 5:38 - 5:40
    คำถามถัดไปที่เราควรถามคือ
  • 5:40 - 5:42
    เราจะสร้างพืชที่ทนแล้งได้อย่างไร
  • 5:42 - 5:45
    ลองพิจารณาว่า
    น้ำส่วนใหญ่ที่อยู่ในรูปของน้ำแข็ง
  • 5:45 - 5:48
    ระเหยเร็วกว่าเวลาที่ฉันใช้พูดว่า
    "ระเหย" เสียอีก
  • 5:49 - 5:52
    ค่ะ มันกลายเป็นว่า
    เราได้ทำสิ่งเหล่านี้แล้ว
  • 5:52 - 5:56
    โดยการยืมยีนโปรตีนต้านเยือกแข็ง
    มาจากปลา
  • 5:56 - 5:59
    และยีนทนความแห้งแล้ง
    จากพืชอย่างเช่นข้าว
  • 5:59 - 6:02
    และนำมันใส่เข้าไปในพืช
    ที่ต้องการสิ่งเหล่านี้
  • 6:02 - 6:05
    ตอนนี้เรามีพืชที่สามารถทดความแห้งแล้ง
    และทนการเยือกแข็งที่รุนแรงที่สุดได้
  • 6:05 - 6:08
    พวกมันเป็นที่รู้จักกันบนโลกในชื่อ จีเอ็มโอ
  • 6:08 - 6:10
    หรือสิ่งมีชีวิตที่ถูกดัดแปลงพันธุกรรม
  • 6:11 - 6:15
    และเราพึ่งพาพวกมัน
    ในการป้อนปากท้องของมนุษยชาติ
  • 6:16 - 6:20
    ธรรมชาติได้สร้างสิ่งเหล่านี้ไว้อยู่แล้ว
  • 6:20 - 6:21
    โดยปราศจากความช่วยเหลือจากพวกเรา
  • 6:21 - 6:24
    เราแค่พบกับวิธีการที่จะกระทำมัน
    อย่างแม่นยำเท่านั้นเอง
  • 6:25 - 6:29
    แล้วทำไมเราถึงอย่างเปลี่ยนพันธุกรรมของพืช
    ให้เหมาะกับอวกาศด้วย
  • 6:30 - 6:34
    ค่ะ ถ้าเราไม่ทำอย่างนั้น
    นั่นก็หมายความว่า เราจะต้องทำการวิศวกรรม
  • 6:34 - 6:37
    พื้นที่อันกว้างใหญ่บนดาวเคราะห์ดวงใหม่
  • 6:37 - 6:41
    โดยปล่อยก๊าซบรรยากาศ
    เป็นล้านล้านแกลลอน
  • 6:41 - 6:44
    และจากนั้นก็สร้างโดมแก้วยักษ์
    เพื่อครอบมันเอาไว้
  • 6:44 - 6:47
    มันเป็นการลงทุนทางการก่อสร้าง
    ที่ไม่สมเหตุสมผลในความเป็นจริง
  • 6:47 - 6:50
    ซึ่งมันจะกลายเป็นปฏิบัติการขนส่งสินค้า
    ที่มีราคาแพงไปอย่างรวดเร็ว
  • 6:51 - 6:53
    ทางหนึ่งที่จะทำให้เรามั่นใจ
  • 6:53 - 6:56
    ว่าเราจะมีเสบียงอาหาร
    และอากาศที่เราต้องการ
  • 6:56 - 6:59
    คือนำสิ่งมีชีวิต
    ที่ได้รับการดัดแปลงพันธุกรรม
  • 6:59 - 7:02
    ให้สามารถเข้ากับสิ่งแวดล้อมใหม่
    ที่โหดร้าย ไปกับเราด้วย
  • 7:03 - 7:07
    สาระก็คือ การใช้สิ่งมีชีวิตดัดแปลงพันธุกรรม
    ช่วยทำให้เราปรับบรรยากาศดาวเคราะห์
  • 7:07 - 7:09
    ทั้งในระยะสั้นและระยะยาว
  • 7:10 - 7:14
    สิ่งมีชีวิตเหล่านี้จากนั้นยังสามารถ
    ถูกดัดแปลงพันธุกรรมเพื่อผลิตยาหรือเชื้อเพลิง
  • 7:16 - 7:20
    ฉะนั้น เราสามารถใช้ชีวสังเคราะห์
    เพื่อนำพืชที่ได้รับการวิศวกรรมไปกับเรา
  • 7:20 - 7:21
    แต่เรายังทำอะไรได้อีกบ้าง
  • 7:22 - 7:25
    ค่ะ ฉันบอกไว้ก่อนหน้านี้แล้ว
    ว่าในฐานะที่เราเป็นสายพันธุ์หนึ่ง
  • 7:25 - 7:27
    ที่วิวัฒนาการมากับดาวเคราะห์โลก
  • 7:28 - 7:30
    อันที่จริงเราไม่ได้เปลี่ยนไปมากมายอะไร
    ภายในห้านาทีที่ผ่านมา
  • 7:30 - 7:33
    คุณนั่งอยู่ตรงนั้นและฉันก็ยืนอยู่ตรงนี้
  • 7:33 - 7:37
    และ ถ้าเรากำลังจะถูกปล่อยลงบนดาวอังคาร
    ในตอนนี้เลย
  • 7:37 - 7:41
    แม้ว่าเราจะมีอาหาร นำ้ อากาศ
  • 7:41 - 7:42
    และชุดอวกาศที่เหมาะสม
  • 7:42 - 7:45
    เราน่าจะต้องเผชิญกับปัญหาสุขภาพ
    ที่ไม่น่าจะดีสักเท่าไร
  • 7:45 - 7:49
    ตั้งแต่ปริมาณรังสีประจุที่เข้ากระทบ
  • 7:49 - 7:53
    กับพื้นผิวของดาวเคราะห์อย่างดาวอังคาร
    ที่ชั้นบรรยากาศเบาบางหรือไม่มีเลย
  • 7:53 - 7:55
    เว้นเสียแต่ว่าเราวางแผน
    ที่จะอยู่ในโพรงโต้ดิน
  • 7:55 - 7:58
    เมื่อเราอาศัย
    อยู่บนดาวเคราะห์ดวงใหม่ทุกดวง
  • 7:58 - 8:01
    เราจะต้องหาวิธีที่ดีกว่านี้
    ที่จะป้องกันตัวเอง
  • 8:01 - 8:04
    โดยปราศจากความต้องการ
    ที่จะต้องใส่เกราะหรือชุดอวกาศ
  • 8:04 - 8:06
    ที่มีน้ำหนักเท่ากับน้ำหนักร่างกายของคุณ
  • 8:06 - 8:09
    หรือความต้องการ
    ที่จะต้องหลบอยู่หลังกำแพงตะกั่ว
  • 8:10 - 8:13
    ฉะนั้น ลองมาขอแรงบันดาลใจ
    จากธรรมชาติกัน
  • 8:14 - 8:16
    ในบรรดาชีวิตมากมายบนโลก
  • 8:16 - 8:19
    ยังมีสิ่งมีชีวิตกลุ่มหนึ่ง
    ที่เป็นที่รู้จักกันในชื่อ เอ็กซ์ตรีโมไฟย์
  • 8:19 - 8:21
    หรือพวกที่ชอบอาศัย
    อยู่ในสถานที่ที่มีความรุนแรง
  • 8:21 - 8:24
    ถ้าคุณจำได้จากวิชาชีววิทยา
    ตอนชั้นมัธยมปลาย
  • 8:24 - 8:28
    และในบรรดาสิ่งมีชีวิตพวกนั้น
    ก็มีแบคทีเรีย ดีอิโนคอคคัส เรดิโอดูราน
  • 8:29 - 8:34
    ซึ่งเรารู้ว่ามันสามารถทดความหนาวเย็น
    การเสียน้ำ ภาวะสุญญากาศ กรด
  • 8:34 - 8:37
    และ ที่สำคัญ รังสี ได้
  • 8:37 - 8:40
    ในขณะที่มันทนต่อรังสี
  • 8:40 - 8:43
    เรายังไม่เคยปรับปรุงยีน
    ที่เกี่ยวข้องกับสิ่งนี้ในสัตว์เลี้ยงลูกด้วยนม
  • 8:44 - 8:46
    มันไม่ง่ายเลยที่จะทำอย่างนั้น
  • 8:46 - 8:49
    มันมีปัจจัยหลายอย่าง
    ที่ส่งผลต่อการทนต่อรังสี
  • 8:49 - 8:51
    และมันไม่ได้ง่าย ๆ
    เหมือนกับการถ่ายยีนเพียงยีนเดียว
  • 8:52 - 8:55
    แต่มันต้องอาศัยความชาญฉลาด
  • 8:55 - 8:56
    และระยะเวลา
  • 8:57 - 8:59
    แต่ฉันก็คิดว่า
    มันก็ไม่ได้ยากเกินไปถ้าจะทำ
  • 9:00 - 9:06
    แม้ว่าเราจะยืมเพียงแค่บางส่วน
    ที่มีความสามารถในการทนต่อรังสี
  • 9:06 - 9:09
    มันก็คงจะดีกว่าสิ่งที่เรามีอยู่ตอนนี้
  • 9:09 - 9:11
    ซึ่งมีเพียงเมลานินในผิวหนังของเรา
  • 9:13 - 9:15
    การใช้วิธีการทางชีวสังเคราะห์
  • 9:15 - 9:18
    เราสามารถเก็บเกี่ยวความสามารถ
    ของ ดีอิโนคอคคัส
  • 9:18 - 9:21
    เพื่อให้ทนต่อระดับรังสีที่รุนแรงได้
  • 9:24 - 9:25
    อย่างที่เราเห็นว่ามันยุ่งยาก
  • 9:26 - 9:28
    โฮเม เซเปียน หรือมนุษย์
  • 9:29 - 9:31
    มีวิวัฒนาการตลอดเวลา
  • 9:32 - 9:33
    และยังคงมีวิวัฒนากรอย่างต่อเนื่อง
  • 9:34 - 9:36
    หลายพันปีของการวิวัฒนาการ
  • 9:36 - 9:39
    ไม่ได้เพียงแค่ทำให้มนุษย์เรา
    อย่างมนุษย์ชาวทิเบต
  • 9:39 - 9:42
    ที่สามารถทน
    ต่อสภาวะที่มีออกซิเจนน้อยได้
  • 9:42 - 9:47
    แต่ยังทำให้มนุษย์ชาวอาร์เจนตินา
    สามารถบริโภคและกำจัดสารหนู
  • 9:47 - 9:50
    ซึ่งเป็นสารเคมีที่สามารถฆ่าคนทั่ว ๆ ไปได้
  • 9:50 - 9:54
    ทุกวัน ร่างกายมนุษย์มีวิวัฒนาการ
    โดยการกลายพันธุ์ที่เกิดโดยบังเอิญ
  • 9:54 - 9:57
    ที่บังเอิญทำให้มนุษย์บางคน
  • 9:57 - 9:59
    ตกอยู่ในสภาพที่ไม่ค่อยจะดี
  • 10:00 - 10:02
    แต่ แต่ว่า
  • 10:03 - 10:08
    แต่ละวิวัฒนาการต้องการสองสิ่ง
    ที่เราอาจไม่มีเสมอไป
  • 10:08 - 10:09
    หรือสามารถที่จะมีมันได้
  • 10:10 - 10:12
    และพวกมันก็คือความตายและเวลา
  • 10:14 - 10:17
    ในความพยายามของสายพันธุ์ของเรา
    ที่จะหาที่อยู่ในเอกภพ
  • 10:17 - 10:19
    เราอาจไม่สามารถมีเวลาเพียงพอ
  • 10:19 - 10:22
    ต่อการวิวัฒนาการตามธรรมชาติ
    เพื่อให้ได้มาซึ่งความสามารถเพิ่มเติม
  • 10:22 - 10:24
    ในการอยู่รอดบนดาวเคราะห์นอกโลก
  • 10:24 - 10:29
    เราอาศัยอยู่ในสิ่งที่ อี. โอ. วิลสัน
    ได้ให้ชื่อว่า เป็นยุคของการหลบหลีกยีน
  • 10:29 - 10:34
    ซึ่งเป็นยุคที่เราซ่อมความผิดปกติของยีน
    อย่างซิย์สติกไฟโบรซิส หรือกล้ามเนื้อที่ผิดปกติ
  • 10:34 - 10:37
    ด้วยสิ่งทดแทนชั่วคราวจากภายนอก
  • 10:38 - 10:39
    แต่ทุก ๆ วันที่ผ่านไป
  • 10:40 - 10:43
    เราเข้าสู่ยุค
    ของการวิวัฒนาการอย่างจงใจ
  • 10:43 - 10:45
    ช่วงเวลาที่เราในฐานะสายพันธุ์หนึ่ง
  • 10:45 - 10:50
    จะมีความสามารถในการตัดสินว่า
    เราจะมีพันธุรรมของเราอย่างไร
  • 10:51 - 10:53
    การเพิ่มความสามารถใหม่ ๆ
    ให้กับร่างกายมนุษย์
  • 10:53 - 10:55
    ไม่ได้เป็นประเด็นอีกแล้ว
    ว่ามันจะทำได้อย่างไร
  • 10:56 - 10:57
    แต่เมื่อไรต่างหาก
  • 10:58 - 10:59
    การใช้ชีวสังเคราะห์
  • 11:00 - 11:03
    เพื่อเปลี่ยนยีนที่เป็นองค์ประกอบ
    ของสิ่งมีชีวิตใดสิ่งมีชีวิตหนึ่ง
  • 11:03 - 11:04
    โดยเฉพาะอย่างยิ่งของเราเอง
  • 11:04 - 11:06
    ไม่ได้ปราศจากความลังเล
    ทางศีลธรรมและจริยธรรม
  • 11:07 - 11:10
    การที่เราวิศวกรรมตัวเราเอง
    ทำให้เป็นมนุษย์น้อยลงหรือเปล่า
  • 11:11 - 11:13
    แต่จะว่าไปแล้ว มนุษยชาติจะเป็นอะไร
  • 11:13 - 11:16
    มากไปกว่าวัตถุธาตุจากดาว
    ที่เผอิญมีสติสัมปะชัญญะหรือเปล่า
  • 11:17 - 11:20
    มนุษย์ผู้ทรงปัญญาควรจะกำกับ
    ให้ตัวเองไปในทิศทางใด
  • 11:21 - 11:25
    แน่นอนล่ะ มันคงเป็นการเสียเวลา
    ถ้าจะมัวแต่นั่งชื่นชมมันไปวัน ๆ
  • 11:26 - 11:27
    เราจะใช้ความรู้ของเรา
  • 11:27 - 11:30
    เพื่อปกป้องตัวเราเอง
    จากอันตรายภายนอก
  • 11:30 - 11:33
    และปกป้องตัวเราเอง
    จากตัวเราเองได้อย่างไร
  • 11:34 - 11:36
    ฉันทิ้งคำถามเหล่านี้ไว้
  • 11:36 - 11:38
    ไม่ใช่เพื่อก่อให้เกิดความหวาดกลัว
    ต่อวิทยาศาสตร์
  • 11:38 - 11:40
    แต่เพื่อให้ความกระจ่าง
    เกี่ยวกับโอกาสต่าง ๆ
  • 11:40 - 11:44
    ที่วิทยาศาสาตร์ได้มอบให้
    และกำลังจะให้กับเราต่อไป
  • 11:45 - 11:49
    เราจะต้องรวมมือกันในฐานะมนุษย์
    เพื่อหารือและหาคำตอบ
  • 11:49 - 11:50
    ด้วยความระมัดระวัง
  • 11:51 - 11:53
    และความกล้าหาญ
  • 11:54 - 11:58
    ดาวอังคารคือจุดหมาย
  • 11:58 - 12:00
    แต่มันจะไม่ใช่ปลายทาง
  • 12:01 - 12:04
    และพรมแดนสุดท้ายจริง ๆ
    ที่เราจะต้องข้ามไป
  • 12:04 - 12:09
    ในการตัดสินใจว่าเราจะสามารถ
    และควรทำอะไรได้บ้างกับปัญญาของเรา
  • 12:10 - 12:14
    อวกาศนั้นหนาวเย็น โหดร้าย
    และไม่เป็นมิตร
  • 12:15 - 12:18
    หนทางของเราสู่ดวงดาว
    จะต้องพบกับการทดสอบ
  • 12:18 - 12:21
    ที่จะนำมาซึ่งคำถาม
    ไม่เพียงแต่ว่าเราเป็นใคร
  • 12:21 - 12:22
    แต่คำถามที่ว่าเราจะไปไหน
  • 12:23 - 12:27
    และคำตอบจะขึ้นอยู่กับทางเลือก
    ในการใช้หรือไม่ใช้เทคโนโลยีของเรา
  • 12:27 - 12:29
    ที่เราได้รวบรวมจากชีวิตต่าง ๆ
  • 12:29 - 12:33
    และมันจะกำหนดสถานะของเรา
    ในเอกภพนี้
  • 12:33 - 12:34
    ขอบคุณค่ะ
  • 12:34 - 12:39
    (เสียงปรบมือ)
Title:
มนุษย์จะปรับตัวต่อการอาศัยในอวกาศได้อย่างไร
Speaker:
ลิซา นิพ (Lisa Nip)
Description:

ถ้าคุณหวังว่าสักวันหนึ่งจะออกจากโลกของเราและสำรวจเอกภพ ร่างกายของเรากำลังที่จะต้องหาทางที่ดีกว่าในการมีชีวิตรอดอยู่ในสภาวะที่โหดร้ายของอวกาศ โดยการใช้ชีวสังเคราะห์ ลิซา นิพ หวังที่จะเก็บเกี่ยวอำนาจพิเศษจากจุลชีพบนโลก - เช่นความสามารถในการทนต่อรังสี - เพื่อทำให้มนุษย์เหมาะสมกับการสำรวจอวกาศมากขึ้น "มันได้เวลาแล้วที่เราจะมีความสามารถในการตัดสินว่าเราจะมีพันธุรรมของเราอย่างไร" นิพกล่าว "การเพิ่มความสามารถใหม่ ๆ ให้กับร่างกายมนุษย์ ไม่ได้เป็นประเด็นอีกแล้วว่ามันจะทำได้อย่างไร แต่เมื่อไรต่างหาก"

more » « less
Video Language:
English
Team:
closed TED
Project:
TEDTalks
Duration:
12:51

Thai subtitles

Revisions