เรื่องที่สัตวแพทย์รู้ แต่หมอไม่รู้
-
0:02 - 0:0310 ปีที่แล้ว
-
0:03 - 0:07ฉันได้รับโทรศัพท์ ซึ่งได้เปลี่ยนชีวิตฉันไป
-
0:07 - 0:11ในตอนนั้น ฉันเป็นแพทย์โรคหัวใจ ที่ UCLA
-
0:11 - 0:14ผู้เชี่ยวชาญด้านเทคนิคการวินิจฉัย
ด้วยภาพ -
0:14 - 0:20วันนั้นดิฉันได้รับโทรศัพท์
จากสัตวแพทย์ที่สวนสัตว์ลอสแอนเจลิสว่า -
0:20 - 0:22ชิมแพนซีอายุมากเพศเมีย
-
0:22 - 0:25ตื่นขึ้นมาพร้อมกับใบหน้า ที่ห้อยย้อยลงมา
-
0:25 - 0:29สัตวแพทย์ที่นั่นวิตกว่า
มันอาจมีเส้นเลือดอุดตันได้ -
0:29 - 0:32พวกเขาขอให้ฉันไปที่สวนสัตว์
-
0:32 - 0:34เพื่อวินิจฉัยหัวใจของชิมแปนซีนั้น
-
0:34 - 0:37เพื่อหาสาเหตุของอาการ
ที่อาจมีที่มาจากความผิดปกติของหัวใจ -
0:37 - 0:41ดิฉันอยากอธิบายเพิ่มว่า
สวนสัตว์ในอเมริกาเหนือ -
0:41 - 0:45มีสัตวแพทย์ผู้เชียวชาญสูงประจำอยู่ตลอด
-
0:45 - 0:50ให้การดูแลสัตว์ที่เจ็บป่วยอย่างดียิ่ง
-
0:50 - 0:54แต่บางครั้ง พวกเขาก็ต้องการความเชี่ยวชาญ
จากแพทย์เช่นกัน -
0:54 - 0:58โดยเฉพาะเพื่อปรึกษาเรื่องเชี่ยวชาญเฉพาะ
-
0:58 - 1:04ฉันเป็นแพทย์ผู้โชคดีที่ถูกเชิญให้ไปช่วย
-
1:04 - 1:11วินิจฉัยว่าชิมแปนซีตัวนี้
ไม่มีเส้นเลือดอุดตัน -
1:11 - 1:17ลิงกอริลล่านี้ เส้นเลือดใหญ่หัวใจไม่ฉีกขาด
-
1:17 - 1:22หรือตรวจนกแก้วมาคอว์
ในอาการเสียงฟู่ของหัวใจ -
1:22 - 1:29ตรวจการอักเสบของเยื่อหุ้มหัวใจสิงโตทะเล
-
1:29 - 1:33และในภาพนี้ ฉันกำลังฟังหัวใจของสิงโต
-
1:33 - 1:37หลังการช่วยชีวิต ซึ่งเป็นการร่วมมือกัน
-
1:37 - 1:40ระหว่างสัตวแพทย์กับแพทย์
-
1:40 - 1:44ในการถ่ายของเหลว 700 ซีซี
-
1:44 - 1:49ที่อยู่ในถุงหุ้มหัวใจของสิงโตตัวนี้ออกไป
-
1:49 - 1:53ฉันเคยรักษาอาการแบบนี้มามากในผู้ป่วย
-
1:53 - 2:03ซึ่งก็ทำเหมือนกันเปี๊ยบ
แค่ไม่มีอุ้งเท้ากับหางแค่นั้นเอง -
2:03 - 2:09ตอนนั้นส่วนใหญ่ ฉันทำงานกับแพทย์ที่ UCLA
-
2:09 - 2:14ถกกันเรื่องอาการ วินิจฉัยโรค และการรักษา
-
2:14 - 2:18ผู้ป่วยที่นั่น
-
2:18 - 2:21แต่บางเวลา ฉันก็ทำงานที่
สวนสัตว์ลอสแอนเจลิส -
2:21 - 2:26กับสัตวแพทย์ ถกกันเรื่อง อาการ วินิจฉัยโรค
-
2:26 - 2:29และการรักษาสัตว์ป่วยที่นั่น
-
2:29 - 2:34และบางครั้งบางคราว ในวันเดียวกันนั้นเอง
-
2:34 - 2:38ฉันไปตรวจเยี่ยมคนไข้ ทั้งที่ UCLA
-
2:38 - 2:41และก็ที่สวนสัตว์ลอสแอนเจลิส
-
2:41 - 2:47ตรงนี้เอง เป็นจุดเริ่มต้นที่ฉันสังเกตว่า
-
2:47 - 2:51ทั้งแพทย์และสัตวแพทย์นั้นได้ดูแล
-
2:51 - 2:56อาการผิดปกติในสัตว์
และมนุษย์ที่เหมือน ๆ กัน -
2:56 - 3:01อาทิ ภาวะหัวใจล้มเหลว เนื้องอกในสมอง
-
3:01 - 3:09มะเร็งเม็ดเลือด เบาหวาน ข้ออักเสบ
ปลายประสาทเสือม มะเร็งเต้านม -
3:09 - 3:14กระทั่งอาการทางจิต
เช่น โรคซึมเศร้า วิตกกังวล -
3:14 - 3:21โรคยํ้าคิดยํ้าทำ การกินผิดปกติ ทำร้ายตนเอง
-
3:21 - 3:24ตอนนี้ฉันอยากจะบอกว่า
-
3:24 - 3:31แม้ฉันจะเคยเรียนสรีรวิทยาเปรียบเทียบ
และวิวัฒนาการมาแล้ว -
3:31 - 3:33ตอนเรียนปริญญาตรี
-
3:33 - 3:37และฉันได้ทำวิทยานิพนธ์เรื่อง
ทฤษฎีการวิวัฒนาการด้วยซ้ำ -
3:37 - 3:40เรียนรู้เรื่องระหว่างความผิดปกติ
ของสัตว์และมนุษย์ -
3:40 - 3:43ที่คล้ายคลึงและทับซ้อนกันอีกด้วย
-
3:43 - 3:48ฉันได้หวนคิดถึงเรื่องเหล่านี้ขึ้นมาทันที
-
3:48 - 3:53ดิฉันจึงเริ่มสงสัยเรื่องความคล้ายกันนี้
-
3:53 - 3:58ว่าทำไมฉันจึงไม่เคยคิดที่จะถามสัตวแพทย์
-
3:58 - 4:01หรือลองค้นคว้าจากเอกสารวิชาการ
ทางสัตวแพทย์บ้าง -
4:01 - 4:05เพื่อให้เข้าใจคนไข้ของฉันได้อย่างลึกซึ้ง
-
4:05 - 4:11ทำไมฉันหรือแพทย์เพื่อนร่วมงาน
-
4:11 - 4:17ไม่เคยเข้าร่วมการประชุมของสัตวแพทย์เลย
-
4:18 - 4:24นอกจากนี้ ยังมีเรื่องที่ต้องประหลาดใจอีก
-
4:24 - 4:31เมื่อแพทย์ทุกคนยอมรับ การเกี่ยวข้องกัน
-
4:31 - 4:33ทางชีววิทยาระหว่างสัตว์และมนุษย์
-
4:33 - 4:38ยาทุกอย่างที่เราสั่ง หรือที่กินเอง
-
4:38 - 4:41หรือให้ครอบครัวของเรากิน
-
4:41 - 4:44ก็เคยถูกทดสอบในสัตว์มาก่อน
-
4:44 - 4:46แต่ก็ยังมีสิ่งที่ต่างกันมาก เกี่ยวกับ
-
4:46 - 4:53การใช้ยา หรือการเกิดโรคหัวใจล้มเหลว
-
4:53 - 4:57ระหว่างมนุษย์และสัตว์
-
4:57 - 5:03รวมถึงโรคเบาหวานหรือมะเร็งเต้านมอีกด้วย
-
5:03 - 5:06ค่ะ บางทีความประหลาดใจบางอย่าง
-
5:06 - 5:10มาจากการแยกจากกัน
ระหว่างตัวเมือง และชนบท -
5:10 - 5:13ที่เพิ่มมากขึ้นในโลกเรา
-
5:13 - 5:16เราได้ยินเรื่องของเด็กในเมืองใหญ่เหล่านี้
-
5:16 - 5:20ที่คิดว่าขนแกะนั้น งอกขึ้นมาจากต้นไม้
-
5:20 - 5:24หรือเนยแข็งมาจากพืช
-
5:24 - 5:27ร.พ. ของคนในปัจจุบันนี้ กำลังเปลี่ยนมากขึ้น
-
5:27 - 5:34เป็นโบสถ์แพรวพราวแบบนี้ จากเทคโนโลยี
-
5:34 - 5:39ทำให้เกิดความห่างไกลเชิงจิตวิทยา ระหว่าง
-
5:39 - 5:41ผู้ป่วยมนุษย์ที่ได้รับการรักษาที่นั่น
-
5:41 - 5:46และสัตว์ป่วย ที่อยู่ในมหาสมุทร
-
5:46 - 5:49ที่ฟาร์ม และในป่า
-
5:49 - 5:55แต่ฉันคิดว่า มีเหตุผลที่ลึกลงไปกว่านั้น
-
5:55 - 6:01แพทย์และนักวิทยาศาสตร์
ต่างก็ยอมรับด้วยปัญญาแล้วว่า -
6:01 - 6:05สปีชี่ส์เรา โฮโมเซเปียน เป็นแค่สปีชีส์หนึ่ง
-
6:05 - 6:11ไม่ได้แตกต่าง หรือพิเศษไปกว่าสปีชี่ส์อื่น
-
6:11 - 6:16แต่ในใจของเรานั้น เราไม่เชื่อสิ่งนั้นเลย
-
6:17 - 6:21ตัวฉันเองก็รู้สึก
ขณะฟังเพลงโมสาร์ท หรือดูภาพ -
6:21 - 6:26ของมาร์ โรเวอร์ ในแม็คบุ๊ก ฉันรู้สึกว่า
-
6:26 - 6:32ตัวเองถูกดึงไป
ให้รู้สึกถึงความพิเศษของมนุษย์ -
6:32 - 6:36ทั้งที่ฉันเองก็ตระหนักว่า
การมองพวกเราเป็นสปีชีส์ที่สูงส่งกว่า -
6:36 - 6:43จะมีเกิดผลเสียทางวิทยาศาตร์
จากการแยกตัวออกมา -
6:43 - 6:46ค่ะ ฉันกำลังพยายามอยู่ ทุกวันนี้
-
6:46 - 6:50ตอนนี้ เมื่อเห็นคนไข้ ฉันตั้งคำถามเสมอว่า
-
6:50 - 6:55สัตวแพทย์รู้อะไรในปัญหานี้ ที่ฉันไม่รู้
-
6:55 - 7:01และฉันจะดูแลคนไข้ให้ดีขึ้น ได้หรือไม่
-
7:01 - 7:06หากฉันเห็นเขา เป็นผู้ป่วยสัตว์มนุษย์
-
7:08 - 7:12นี่คือบางตัวอย่าง ของการเชื่อมโยงกัน
-
7:12 - 7:16ที่น่าตื่นเต้น ที่การคิดแบบนี้ นำฉันไปถึง
-
7:16 - 7:19หัวใจล้มเหลวที่เกิดจากความกลัว
-
7:19 - 7:21ประมาณปี ค.ศ. 2000 แพทย์โรคหัวใจ
-
7:21 - 7:29"ได้ค้นพบ" โรคหัวใจล้มเหลว
ที่เกิดจากอารมณ์ -
7:29 - 7:34มันถูกใช้อธิบาย
ในเรื่องของพ่อนักพนัน ที่สูญเสีย -
7:34 - 7:37เงินสะสมตลอดชีวิต
ไปกับการทอดลูกเต๋าแค่ครั้งเดียว -
7:37 - 7:42ในเรื่องเจ้าสาว
ที่ถูกทิ้งไว้ที่แท่นในโบสถ์ -
7:42 - 7:46แต่กลับเป็นว่า การวินิจฉัยโรคมนุษย์ใหม่นี้
-
7:46 - 7:51ไม่ได้ใหม่ หรือไม่ได้เกิดแต่เฉพาะมนุษย์
-
7:51 - 7:57สัตวแพทย์ได้วินิจฉัย รักษา กระทั่งป้องกัน
-
7:57 - 8:01อาการที่เกิดจากอารมณ์ในสัตว์มาแล้ว
-
8:01 - 8:07ตั้งแต่ลิงจนถึงนกฟลามิงโก กวางจนถึงกระต่าย
-
8:07 - 8:10ตั้งแต่ทศวรรษที่ 70
-
8:11 - 8:14เราจะรักษาชีวิตคนไว้ได้ อีกเท่าไหร่
-
8:14 - 8:18หากความรู้ด้านสัตวแพทย์นี้ มาอยู้ในมือ
-
8:18 - 8:22ของแพทย์ฉุกเฉิน และแพทย์หัวใจ
-
8:23 - 8:26การทำร้ายตัวเอง
-
8:26 - 8:30คนไข้บางคน ทำร้ายตัวเอง
-
8:30 - 8:33บางคนดึงผมบนศีรษะออกเป็นหย่อม ๆ
-
8:33 - 8:36คนอื่น ๆ เฉือนตัวเองจริง ๆ
-
8:38 - 8:42สัตว์ที่ป่วยบางตัว ก็ทำร้ายตัวเองเหมือนกัน
-
8:42 - 8:46มีนกที่จิกขนของมันออก
-
8:46 - 8:53มีม้าตัวผู้ที่กัดสีข้างของมัน จนเลือดไหล
-
8:53 - 8:58แต่สัตวแพทย์มีวิธีการที่เจาะจงและมีผลดีมาก
-
8:58 - 9:03ในการรักษา
และกระทั่งป้องกันการทำร้ายตัวเอง -
9:03 - 9:07ในสัตว์ที่ทำร้ายตัวเองของเขา
-
9:07 - 9:10สมควรหรือไม่ ที่ความรู้ด้านสัตวแพทย์นี้
-
9:10 - 9:13ไปอยู่กับนักจิตบำบัด และพ่อแม่ และผู้ป่วย
-
9:13 - 9:16ที่กำลังต่อสู้อยู่กับโรคทำร้ายตัวเอง
-
9:17 - 9:22โรคซึมเศร้าหลังคลอด และ โรคจิตหลังคลอด
-
9:22 - 9:25บางครั้ง ไม่นานหลังคลอดบุตร
-
9:25 - 9:28ผู้หญิงบางคนก็ซึมเศร้าไร้ความสุข
-
9:28 - 9:32บางครั้งก็เศร้าสลดมาก และกระทั่งวิกลจริต
-
9:32 - 9:35พวกเขาอาจจะไม่สนใจ ลูกอ่อนของตน
-
9:35 - 9:37และในบางกรณีสุดกู่
-
9:37 - 9:40แม้กระทั่งทำร้ายเด็กนั้น
-
9:40 - 9:44สัตวแพทย์ม้า รู้ว่าในบางครั้งนั้น
-
9:44 - 9:47ม้าตัวเมีย หลังจากคลอดลูกไม่นาน
-
9:47 - 9:51จะไม่สนใจลูกม้านั้น ไม่ให้นม
-
9:51 - 9:56และในบางกรณี เตะลูกม้านั้น กระทั่งถึงตาย
-
9:57 - 10:00แต่สัตวแพทย์
ประดิษฐ์มาตรการเปลี่ยนธรรมชาติ -
10:00 - 10:05เพื่อจัดการกับอาการปฏิเสธลูกม้านี้
-
10:05 - 10:10ซึ่งใช้การเพิ่มฮอร์โมนออกซิโทซินในแม่ม้า
-
10:10 - 10:13ออกซิโทซิน เป็นฮอร์โมนของความผูกพัน
-
10:13 - 10:16และนี่นำไปสู่ การกลับมาสนใจอีกครั้ง
-
10:16 - 10:19ในส่วนของแม่ม้า คือสนใจลูกม้าของเธอ
-
10:19 - 10:21สมควรหรือไม่ที่ข้อมูลนี้
-
10:21 - 10:24ไปอยู่ในมือของแพทย์สูตินรีเวช
-
10:24 - 10:28หมอประจำบ้าน และคนไข้
-
10:28 - 10:33ที่ต่อสู้อยู่กับโรคซึมเศร้า โรคจิตหลังคลอด
-
10:35 - 10:38ค่ะ แม้ว่าเรื่องพวกนี้จะดูเหมือนให้ผลดี
แต่ก็โชคร้าย -
10:38 - 10:45ที่ระยะห่าง
ระหว่างสาขาวิชาของเรายังกว้างอยู่ -
10:45 - 10:51จะอธิบายก็เหมือน
จะต้องเปิดเผยเรื่องส่วนตัว -
10:51 - 10:55แพทย์บางคนนั้น วางท่าเอามาก ๆ
-
10:55 - 10:58กับหมอที่ไม่ได้เป็นแพทยศาสตร์บัณฑิต
-
10:58 - 11:04ฉันพูดถึงทันตแพทย์ จักษุแพทย์ นักจิตวิทยา
-
11:04 - 11:08แต่บางที เฉพาะอย่างยิ่ง หมอรักษาสัตว์
-
11:08 - 11:12แน่นอนว่า แพทย์ส่วนมากไม่รู้ว่า
การเข้าโรงเรียน -
11:12 - 11:16สัตวแพทย์ปัจจุบัน
ยากกว่าเข้าโรงเรียนแพทย์ -
11:16 - 11:19และไม่รู้ว่า เมื่อเราเข้าโรงเรียนแพทย์
-
11:19 - 11:21เราเรียนทุก ๆ อย่างที่นั่น เพื่อให้รู้
-
11:21 - 11:24เรื่องของสปีชี่ส์หนึ่ง คือ มนุษย์
-
11:24 - 11:29แต่สัตวแพทย์ต้องเรียนรู้เรื่องสุขภาพและโรค
-
11:29 - 11:34ของสัตว์เลี้ยงลูกด้วยนม ครึ่งบกครึ่งนํ้า
สัตว์เลื้อยคลาน ปลา และนก -
11:34 - 11:38ฉันจึงไม่ว่าสัตวแพทย์ที่
-
11:38 - 11:44รำคาญท่าทีถ่อมตัว การไม่รู้ ของวิชาชีพฉัน
-
11:44 - 11:47แต่นี่มาจากสัตวแพทย์
-
11:47 - 11:51คุณจะเรียกว่าอะไรดี สัตวแพทย์
-
11:51 - 11:56ที่ดูแลรักษาได้เพียงสปีชี่ส์เดียว
-
11:56 - 12:00แพทย์ (เสียงหัวเราะ)
-
12:00 - 12:06การปิดช่องว่างนั้น
กลายเป็นความปรารถนาแรงกล้าของฉัน -
12:06 - 12:09และฉันทำเรื่องนี้อยู่ ผ่านทางโครงการต่าง ๆ
-
12:09 - 12:12อย่างเช่น ดาร์วิน ออน ราวนด์ ที่ UCLA
-
12:12 - 12:17เรานำผู้เชี่ยวชาญสัตว์
นักชีววิวัฒน์ฯ มา -
12:17 - 12:21และให้พวกเขาฝังตัวอยู่ กับทีมแพทย์ของเรา
-
12:21 - 12:25กับแพทย์ฝึกหัด
และแพทย์ประจำบ้านของเรา -
12:25 - 12:29และโดยผ่านทาง ซูบิควิตี้คอนเฟอเรนซ์
-
12:29 - 12:33ที่เรานำโรงเรียนแพทย์
กับโรงเรียนสัตวแพทย์ -
12:33 - 12:35มาร่วมการอภิปรายเพื่อร่วมมือกัน
-
12:35 - 12:38ในเรื่องของโรค
และความผิดปกติที่มีอยู่ร่วมกัน -
12:38 - 12:42ของผู้ป่วยที่เป็นสัตว์และมนุษย์
-
12:42 - 12:45ในการประชุมซูบิดวิตี้คอนเฟอเรนซ์ ซึ่ง
-
12:45 - 12:51ที่ผู้เข้าร่วมเรียนการรักษามะเร็งเต้านมในเสือ
-
12:51 - 12:54ช่วยเราให้รักษามะเร็งเต้านม
-
12:54 - 12:57ในครูโรงเรียนอนุบาล ได้ดียิ่งขึ้น
-
12:57 - 13:02วิธีเข้าใจเรื่องโรครังไข่มีถุงนํ้าหลายใบ
-
13:02 - 13:04ของแม่วัวโฮลซ์ไตน์ ช่วยเรารักษา
-
13:04 - 13:09โรคปวดประจำเดือนของครูสอนเต้นรำได้ดีขึ้น
-
13:09 - 13:13การเข้าใจวิธีรักษาโรคกังวลต่อการพลัดพราก
-
13:13 - 13:16ของสุนัขเชล์ตีที่หงุดหงิดง่ายดียิ่งขึ้น
-
13:16 - 13:23ช่วยเด็กที่กลัวการไปโรงเรียนในวันแรกได้
-
13:23 - 13:28ในสหรัฐและปัจจุบันเป็นสากลแล้ว
ที่การประชุมซูบิควิตี้ -
13:28 - 13:35แพทย์ สัตวแพทย์
ปล่อยวางทัศนคติและอคติของตน -
13:35 - 13:41ไว้หน้าประตูและเข้ามาร่วมกัน
เป็นเพื่อนร่วมงาน -
13:41 - 13:47เป็นเพื่อน เป็นหมอ
-
13:47 - 13:52ท้ายที่สุดแล้ว เรา มนุษย์
ก็เป็นสัตว์ เหมือนกัน -
13:52 - 13:56และถึงเวลาแล้ว ที่เราแพทย์ จะยอมรับ
-
13:56 - 14:00ธรรมชาติของคนไข้
ธรรมชาติสัตว์ของตัวเราเอง -
14:00 - 14:03และมาร่วมกันกับสัตวแพทย์
-
14:03 - 14:08วิธีเข้าถึงสุขภาพ
ในแบบสปีชี่ส์ที่ขยายออกไป -
14:08 - 14:10เพราะมันกลายเป็นว่า
-
14:10 - 14:15ยาสำหรับมนุษย์ที่ดีที่สุด
มากที่สุด บางตัว -
14:15 - 14:20ถูกนำไปใช้อยู่
โดยหมอทีผู้ป่วยไม่ใช่มนุษย์ -
14:20 - 14:24และวิธีที่ดีที่สุดวิธีหนึ่ง ที่เราใช้รักษา
-
14:24 - 14:29คนไข้ได้ คือ
โดยการให้ความสนใจอย่างใกล้ชิด -
14:29 - 14:33ถึงวิธีที่ผู้ป่วยอื่น ๆ ทั้งหมด บนโลกใบนี้
-
14:33 - 14:39มีชีวิตอยู่ เติบโต เจ็บป่วย หายจากเจ็บป่วย
-
14:39 - 14:42ขอบคุณค่ะ
-
14:42 - 14:44(เสียงปรบมือ)
- Title:
- เรื่องที่สัตวแพทย์รู้ แต่หมอไม่รู้
- Speaker:
- บาร์บาร่า แน็ทเทอร์สัน-โฮโรวิทซ์ (Barbara Natterson-Horowitz)
- Description:
-
คุณจะเรียกสัตวแพทย์ที่รักษาได้เพียงแค่สปีชี่ส์เดียว ว่าอะไรดี? เรียกว่าแพทย์ ในการพูดที่มีเสน่ห์นี้ บาร์บาร่า แน็ทเทอร์สัน-โฮโรวิทซ์ ได้ร่วมนำเสนอ วิธีการเข้าถึงสุขภาพเชิงขยาย
สปีชี่ส์ให้กว้างออกไป ว่าสามารถทำให้การรักษาทางการแพทย์ของสัตว์มนุษย์ดีขึ้นได้ -- โดยเฉพาะเมื่อเกี่ยวกับเรื่องสุขภาพทางจิต - Video Language:
- English
- Team:
closed TED
- Project:
- TEDTalks
- Duration:
- 14:57
![]() |
Kelwalin Dhanasarnsombut approved Thai subtitles for What veterinarians know that physicians don't | |
![]() |
Kelwalin Dhanasarnsombut edited Thai subtitles for What veterinarians know that physicians don't | |
![]() |
PanaEk Warawit accepted Thai subtitles for What veterinarians know that physicians don't | |
![]() |
PanaEk Warawit edited Thai subtitles for What veterinarians know that physicians don't | |
![]() |
PanaEk Warawit edited Thai subtitles for What veterinarians know that physicians don't | |
![]() |
Nae Tanpradit edited Thai subtitles for What veterinarians know that physicians don't | |
![]() |
Nae Tanpradit edited Thai subtitles for What veterinarians know that physicians don't | |
![]() |
Nae Tanpradit edited Thai subtitles for What veterinarians know that physicians don't |