< Return to Video

04 CPUMemoryIO v8

  • 0:11 - 0:13
    สวัสดีค่ะ ฉันเมดิสัน แม็กซี
  • 0:13 - 0:16
    ฉันมีบริษัทชื่อลูเมีย
  • 0:16 - 0:21
    เราโฟกัสทำเส้นใยผ้าอัจฉริยะ เพื่อเสื้อผ้าอัจฉริยะ
    และผลิตภัณฑ์ที่นุ่ม ดี และอัจฉริยะ
  • 0:22 - 0:25
    เรื่องผ้า ท้องฟ้ามันมีขีดจำกัดค่ะ
  • 0:25 - 0:29
    ฉันแดเนียล แอปเปิลสโตน
    เป้นซีอีโอบริษัทอาเธอร์แมชชีนค่ะ
  • 0:32 - 0:34
    เราผลิตเครื่องกัดมิลลิงตั้งโต๊ะค่ะ
  • 0:34 - 0:41
    เครื่องกัดมิลลิงมีเครื่องตัดหมุนได้
    ที่ขยับไปมาบนวัสดุ เพื่อสร้างวัตถุ 3 มิติ
  • 0:43 - 0:47
    เบื้องหลังนั้น คอมพิวเตอร์ทุกเครื่อง
    ทำสี่อย่างพื้นฐานเหมือนกัน
  • 0:47 - 0:48
    คือนำเข้าข้อมูล
  • 0:48 - 0:51
    เก็บ และประมวลผลข้อมูล
  • 0:51 - 0:53
    จากนั้น นำข้อมูลออกมา
  • 0:53 - 0:57
    แต่ละขั้นตอน
    ทำในส่วนของคอมพิวเตอร์ที่ต่างกันไป
  • 0:57 - 1:05
    มีอุปกรณ์นำเข้าข้อมูลที่นำข้อมูลโลกภายนอก
    มาและเปลี่ยนเป็นข้อมูลฐานสอง
  • 1:05 - 1:08
    มีพื้นที่ความจำไว้เก็บข้อมูล
  • 1:08 - 1:12
    มีหน่วยประมวลผลกลางหรือ CPU
  • 1:12 - 1:15
    ขั้นตอนการคำนวณเกิดขึ้นที่นี่
  • 1:15 - 1:21
    สุดท้ายคืออุปกรณ์นำข้อมูลออก
    เปลี่ยนข้อมูลเป็นผลที่จับต้องได้
  • 1:22 - 1:24
    มาพูดกันเรื่องการนำเข้าข้อมูลก่อน
  • 1:24 - 1:30
    คอมพิวเตอร์มีการรับข้อมูลหลายชนิด
    เช่นแป้นพิมพ์คอมพิวเตอร์ หน้าจอสัมผัสของมือถือ
  • 1:31 - 1:33
    กล้องถ่ายภาพ ไมโครโฟน หรือจีพีเอส
  • 1:34 - 1:39
    เซ็นเซอร์ในรถ เครื่องตรวจจับความร้อน
    หรือโดรนก็เป็นอุปกรณ์นำเข้าข้อมูลที่ต่างกัน
  • 1:40 - 1:46
    มาดูตัวอย่างง่าย ๆ กันว่าข้อมูลขาเข้าเดินทาง
    ผ่านคอมพิวเตอร์จนเป็นข้อมูลขาออกอย่างไร
  • 1:47 - 1:53
    เมื่อกดแป้นบนแป้นพิมพ์ สมมติเป็นตัว B
    คีย์บอร์ดจะแปลงอักษรเป็นตัวเลข
  • 1:54 - 1:58
    เลขนั้นถูกส่งเข้าในคอมพิวเตอร์
    ในรูปแบบฐานสองคือหนึ่งกับศูนย์
  • 2:00 - 2:05
    พอได้ตัวเลขนี้ CPU จะคำนวณว่า
    จะแสดงอักษร B อย่างไร ทีละพิกเซล
  • 2:06 - 2:11
    CPU ต้องใช้คำสั่งทีละขั้นตอนจากหน่วยความจำ
    ซึ่งจะบอกมันว่าอักษร B วาดยังไง
  • 2:12 - 2:17
    CPU ทำตามคำสั่งและเก็บผลลัพธ์
    ในรูปแบบของพิกเซลในหน่วยความจำ
  • 2:18 - 2:22
    สุดท้ายแล้ว ข้อมูลพิกเซลนี้
    จะถูกส่งไปยังหน้าจอในรูปแบบเลขฐานสอง
  • 2:23 - 2:30
    หน้าจอเป็นอุปกรณ์ข้อมูลขาออก ซึ่งแปลงสัญญาณฐานสอง
    เป็นแสงสีเล็ก ๆ จนเป็นสิ่งที่คุณมองเห็น
  • 2:32 - 2:36
    ทั้งหมดนี้เกิดขึ้นไวแทบจะในทันที
  • 2:36 - 2:42
    แต่กว่าจะแสดงแต่ละตัวอักษร
    คอมพิวเตอร์ต้องทำตามหลายพันคำสั่ง
  • 2:42 - 2:45
    ตั้งแต่ที่คุณจรดปลายนิ้วลงบนแป้นพิมพ์
  • 2:48 - 2:53
    ในตัวอย่างนั้น อุปกรณ์ขาออกคือหน้าจอ
    แต่ยังมีอุปกรณ์ขาออกอีกหลายชนิด
  • 2:53 - 2:58
    ที่รับสัญญาณฐานสองจากคอมพิวเตอร์
    และแสดงออกมาให้คุณสัมผัสได้
  • 2:58 - 3:03
    เช่น ลำโพงแสดงเสียง
    และเครื่องปรินท์สามมิติจะปรินท์วัตถุ
  • 3:04 - 3:09
    อุปกรณ์ขาออกควบคุมความเคลื่อนไหวที่
    เป็นกายภาพอย่างแขนหุ่นยนต์ เครื่องยนต์
  • 3:09 - 3:12
    หรืออุปกรณ์อย่างเครื่องกัดมิลลิง
    ที่บริษัทของฉันทำค่ะ
  • 3:14 - 3:19
    ข้อมูลขาเข้าและขาออกใหม่ ๆ ช่วยให้คอมพิวเตอร์
    มีปฏิสัมพันธ์กับโลกได้ด้วยวิธีใหม่
  • 3:19 - 3:25
    ซึ่งได้มีการพัฒนาความเร็วและขนาด
    ของหน่วยความจำและ CPU เรื่อยมา
  • 3:25 - 3:29
    ยิ่งงานซับซ้อน
    ยิ่งอาศัยข้อมูลนำเข้าและขาออกมาก
  • 3:29 - 3:33
    คอมพิวเตอร์ยิ่งต้องใช้พลัง
    ประมวลผลและความจำมาก
  • 3:34 - 3:41
    การพิมพ์ตัวอักษรบนหน้าจออาจง่าย
    แต่การทำกราฟิก 3D หรือบันทึกภาพยนตร์ความละเอียดสูง
  • 3:41 - 3:46
    คอมพิวเตอร์สมัยใหม่มักมี CPU หลายเครื่อง
    ในการประมวลผลข้อมูลมากขนาดนั้น
  • 3:47 - 3:50
    รวมถึงความจำหลายกิกกะไบต์ด้วย
  • 3:51 - 3:57
    ไม่ว่าคุณต้องการทำอะไรกับคอมพิวเตอร์
    ทุกสิ่งที่ทำก็คือ
  • 3:58 - 4:00
    การนำข้อมูลกายภาพใส่เข้าไป
  • 4:01 - 4:05
    เก็บ และประมวลผลข้อมูล
  • 4:05 - 4:08
    และแสดงผลข้อมูลทางกายภาพออกมา
Title:
04 CPUMemoryIO v8
Description:

more » « less
Video Language:
English
Duration:
04:17
TranslateByHumans edited Thai subtitles for 04 CPUMemoryIO v8
Arinchaya Luckey edited Thai subtitles for 04 CPUMemoryIO v8
Arinchaya Luckey edited Thai subtitles for 04 CPUMemoryIO v8

Thai subtitles

Revisions