< Return to Video

03 Circuits v6

  • 0:08 - 0:11
    สิ่งที่เจ๋งที่สุดที่ฉันค้นพบเกี่ยวกับวงจรไฟฟ้าคือ
  • 0:12 - 0:18
    วงจรไฟฟ้าเหมือนเป็นรูปแบบหนึ่งของศิลปะ ถ้าฉันมีความคิดสร้างสรรค์
    ฉันสามารถจะแสดงความคิดสร้างสรรค์ออกมาด้วยวงจรไฟฟ้า
  • 0:20 - 0:25
    ดังนั้น ถ้าคุณมีไอเดียบางอย่าง คุณสามารถใช้เทคโนโลยีทำให้ไอเดียเหล่านั้นเป็นจริง
  • 0:27 - 0:32
    ในความเป็นจริงแล้วข้อมูลทั้งหมดที่ใส่เข้าไป หรือนำออกมาจากคอมพิวเตอร์เป็นข้อมูลประเภทหนึ่ง
  • 0:32 - 0:37
    ที่สามารถแทนค่าด้วยสัญญาณไฟฟ้าเปิดหรือปิด
  • 0:37 - 0:39
    หรือ 1 และ 0
  • 0:39 - 0:46
    เพื่อประมวลผลข้อมูลที่เข้ามา
    และทำให้ข้อมูลเป็นผลลัพท์แสดงออกไป
  • 0:46 - 0:50
    คอมพิวเตอร์ต้องปรับแต่งและรวมสัญญาณที่เข้ามา
  • 0:51 - 0:59
    คอมพิวเตอร์ทำสิ่งเหล่านี้ได้ โดยใช้ส่วนประกอบอิเล็กทรอนิกส์
    ขนาดเล็กๆ เป็นล้านๆ ส่วน มาประกอบกันเป็นวงจรไฟฟ้า
  • 1:03 - 1:08
    ลองเข้าไปดูใกล้ๆ ว่าวงจรไฟฟ้าเหล่านี้สามารถปรับแต่งและประมวลข้อมูล
    ที่ถูกแทนค่าแล้วด้วยเลข 1 และ 0
  • 1:09 - 1:12
    มันเป็นวงจรที่ง่ายอย่างไม่น่าเชื่อ
  • 1:12 - 1:16
    มันรับสัญญาณไฟฟ้า เปิด หรือ ปิด เข้าไป แล้วก็ทำให้ค่าเป็นตรงข้าม
  • 1:16 - 1:21
    ดังนั้นถ้าคุณให้สัญญาณ 1 เข้าไป, วงจรจะให้ 0 กลับมา
  • 1:21 - 1:24
    และถ้าคุณให้สัญญาณ 0 เข้าไปในวงจร, มันจะให้ 1 ออกมา
  • 1:24 - 1:30
    สัญญาณที่เข้าไป "ไม่" เหมือนสัญญาณที่ออกมา เราเรียกมันว่า วงจร "ไม่" (NOT)
  • 1:30 - 1:37
    วงจรที่ซับซ้อนขึ้นอีก สามารถที่จะรับสัญญาณหลายๆ สัญญาณ
    แล้วรวมมันเข้าด้วยกัน แล้วให้ผลลัพท์ที่ต่างออกไป
  • 1:37 - 1:43
    ในตัวอย่างนี้ วงจรจะรับสัญญาณไฟฟ้าเข้าไป 2 อัน
    และแต่ละอัน อาจจะเป็น 1 หรือ 0
  • 1:44 - 1:50
    หากสัญญาณอันใดอันนึงที่เข้ามาเป็น 0
    สัญญาณที่ออกมาจะเป็น 0
  • 1:50 - 1:53
    วงจรนี้จะให้ผลลัพท์เป็น 1 ก็ต่อเมื่อ..
  • 1:53 - 2:01
    สัญญาณแรก "และ" สัญญาณที่สองเป็น 1 ทั้งคู่,
    เราเลยเรียกว่า วงจร "และ" (AND)
  • 2:01 - 2:07
    มันมีวงจรเล็กๆแบบนี้มากมายที่ทำหน้าที่คำนวณทางตรรกะอย่างง่าย
  • 2:07 - 2:13
    ด้วยการเชื่อมโยงวงจรเหล่านี้เข้าด้วยกัน เราจะได้วงจรที่ซับซ้อนขึ้น
    และสามารถทำการคำนวณที่ซับซ้อนขึ้น
  • 2:14 - 2:20
    ยกตัวอย่างเช่น คุณสามารถทำวงจรที่บวก 2 บิท เข้าด้วยกัน
    เรียกมันว่า ตัวบวก (adder)
  • 2:20 - 2:27
    วงจรนี้รับ 2 ค่าของบิทเข้าไป แต่ละอันอาจจะเป็น 0 หรือ 1 ก็ได้
    แล้วบวกมันเข้าด้วยกันเพื่อให้ได้ผลรวม
  • 2:27 - 2:30
    ผลรวมสามารถเป็นไปได้ทั้ง 0 บวก 0 ได้เท่ากับ 0
  • 2:30 - 2:34
    0 บวก 1 ได้เท่ากับ 1
    หรือ 1 บวก 1 ได้เท่ากับ 2
  • 2:34 - 2:39
    คุณต้องการสายไฟ 2 เส้นเพื่อแสดง 2 หลัก (2 บิท) ที่เป็นผลรวม
  • 2:40 - 2:44
    เมื่อคุณมีตัวบวกสำหรับหาผลรวมข้อมูล 2 บิท
  • 2:44 - 2:50
    คุณก็สามารถเอาวงจรตัวบวกหลายๆตัวต่อเข้าด้วยกัน
    เพื่อไว้หาผลรวมของเลขที่มากกว่านี้
  • 2:51 - 2:56
    ยกตัวอย่างเช่น นี่คือ การทำงานของ ตัวบวก 8 บิท ในการ บวกเลข 25 และ 50
  • 2:57 - 3:04
    ตัวเลขแต่ละตัวถูกแทนค่าด้วย ตัวเลข 8 บิท
    ซึ่งทำให้มี สัญญาณไฟฟ้า 16 บิท (16 เส้น) ที่วิ่งเข้าไปในวงจร
  • 3:05 - 3:11
    วงจรตัวบวก 8 บิท มีวงจรบวกเล็กๆ ข้างในที่ทำงานร่วมกันเพื่อหาผลรวม
  • 3:12 - 3:17
    ยังมีวงจรอื่นๆ ที่ทำหน้าที่แตกต่างกันออกไป
    สามารถทำหน้าที่ในการคำนวณพื้นฐานอื่นๆ เช่นการลบ หรือการคูณ
  • 3:17 - 3:25
    จริงๆแล้ว ตัวประมวลผลทั้งหลายในคอมพิวเตอร์ของคุณ
    แค่ประกอบขึ้นจากการทำงานง่ายๆ เล็กๆ แบบนี้จำนวนมาก มาทำงานร่วมกัน
  • 3:25 - 3:31
    การทำงานแต่ละอย่างที่คอมพิวเตอร์ทำได้นะ
    มันง่ายมากๆ ที่มนุษย์ก็สามารถทำได้
  • 3:31 - 3:34
    แต่วงจรที่อยู่ในคอมพิวเตอร์พวกนี้ทำงานได้เร็วกว่ามากๆ
  • 3:35 - 3:39
    สมัยก่อน วงจรเหล่านี้มันใหญ่เทอะทะและทำงานช้าอืดอาดมาก
  • 3:39 - 3:45
    และตัวบวก 8 บิท อาจจะใหญ่เท่าๆ กับตู้เย็นและมันอาจจะใช้เวลาหลายนาที สำหรับการคำนวณอย่างง่าย
  • 3:45 - 3:50
    ทุกวันนี้ วงจรคอมพิวเตอร์มีขนาดเล็กมากแบบต้องส่องกล้องจุลทรรศน์ดู และทำงานเร็วกว่ามากๆ
  • 3:51 - 3:53
    ทำไมคอมพิวเตอร์ที่เล็กลงกลับทำงานเร็วขึ้น
  • 3:53 - 3:58
    นั่นก็เพราะว่าวงจรที่เล็กลงนั้นทำให้ระยะทางในการส่งสัญญาณนั้นสั้นลง
  • 3:58 - 4:04
    สัญญาณไฟฟ้าเคลื่อนที่ได้ไวพอๆ กับความเร็วของแสง นั่นจึงเป็นเหตุผลที่วงจรสมัยใหม่สามารถทำการคำนวณพันๆล้านครั้งใน 1 วินาที
  • 4:05 - 4:11
    นั่นทำให้ไม่ว่าคุณจะเล่นเกม, อัดวิดีโอ, หรือ สำรวจจักรวาล
  • 4:12 - 4:18
    ทุกๆ อย่าง คุณสามารถทำได้ด้วยเทคโนโลยี
    ที่สามารถประมวลผลข้อมูลจำนวนมากได้อย่างรวดเร็ว
  • 4:19 - 4:25
    ภายใต้การคำนวณที่ซับซ้อนเหล่านี้
    ก็แค่วงจรเล็กๆๆๆ จำนวนมากที่แปลงสัญญาณไฟฟ้า
  • 4:25 - 4:28
    ให้เป็นเว็บไซต์, วิดีโอ, เพลง, และเกม
  • 4:28 - 4:32
    วงจรพวกนี้ยังช่วยให้เราถอดรหัสพันธุกรรม (DNA) เพื่อวินิจฉัยและรักษาโรค
  • 4:32 - 4:35
    แล้วคุณหล่ะ อยากจะทำอะไรกับพวกวงจรเหล่านี้
Title:
03 Circuits v6
Description:

more » « less
Video Language:
English
Team:
Code.org
Project:
How Computers Work
Duration:
04:45
TranslateByHumans edited Thai subtitles for 03 Circuits v6
Arinchaya Luckey edited Thai subtitles for 03 Circuits v6
Arinchaya Luckey edited Thai subtitles for 03 Circuits v6
Arinchaya Luckey edited Thai subtitles for 03 Circuits v6
Arinchaya Luckey edited Thai subtitles for 03 Circuits v6
Arinchaya Luckey edited Thai subtitles for 03 Circuits v6
Arinchaya Luckey edited Thai subtitles for 03 Circuits v6

Thai subtitles

Revisions Compare revisions