-
เรามีจำนวนเชิงซ้อนสองตัวตรงนี้
-
จำนวนเชิงซ้อน z เท่ากับ 2 บวก 3i
-
และจำนวนเชิงซ้อน w เท่ากับลบ 5 ลบ i
-
สิ่งที่ผมอยากทำในวิดีโอนี้คือก่อนอื่น
-
พลอตจำนวนเชิงซ้อนสองตัวบนระนาบเชิงซ้อน
-
แล้วคิดว่าระยะระหว่าง
-
จำนวนสองตัวนี้บนระนาบเป็นเท่าใด และจำนวน
-
เชิงซ้อนใดอยู่กึ่งกลางระหว่างจำนวนสองตัวนี้พอดี
-
หรือวิธีคิดอีกอย่างคือว่า จำนวน
-
เชิงซ้อนใดคือจุดกึ่งกลางระหว่างจำนวนสองตัวนี้
-
ผมแนะนำให้คุณหยุดวิดีโอแล้วคิด
-
เองก่อนที่ผมจะทำให้ดู
-
ลองพยายามพลอตค่าเหล่านี้บนระนาบเชิงซ้อนกัน
-
ขอผมวาด ตรงนี้
-
ขอผมวาดแกนจินตภาพ
-
แกนจินตภาพของเรา และตรงนี้
-
ขอผมวาดแกนจริงนะ
-
แกนจริงตรงนี้ แล้วลอง
-
ลองดูเราวาดมันให้สูงถึง
-
บวก 2 ในแกนจริง และต่ำถึงลบ 5
-
ตามแกนจริง ลองไป 1, 2, 3, 4, 5
-
1, 2, 3, 4, 5
-
ตามแกนจินตภาพ เราไปสูงถึงบวก
-
3 และลงไปถึงลบ 1
-
เราทำได้ 1, 2, 3 และเราทำ
-
1, 2, 3 และแน่นอน ผมวาด
-
ต่อได้เพื่อให้มีขีดสวยงาม ถึงแม้ว่าเรา
-
จะไม่ต้องใช้ระนาบส่วนนั้น
-
ลองพลอตสองจุดนี้กัน
-
ส่วนจริงของ z คือ 2 แล้วเรามี
-
3 คูณ i ส่วนจินตภาพจึงเป็น 3
-
เราก็ไปตรงนี้
-
นี่คือ 2 และนี่คือ 3 ตรงนี้
-
2 บวก 3i ค่านั่นตรงนั้นคือ z
-
ทีนี้ลองพลอต w, w คือลบ 5
-
1, 2, 3, 4, 5, ลบ 5
-
ลบ i นี่ก็คือลบ 1 ตรงนี้
-
ลบ i, นั่นคือ w
-
อย่างแรก เราคิดถึงระยะห่างระหว่างจำนวน
-
เชิงซ้อนสองตัวนี้ ระยะบนระนาบเชิงซ้อน
-
วิธีคิดอย่างหนึ่งคือว่า มันก็แค่
-
ระยะของเส้นตรงนี่ตรงนี้
-
และเพื่อหาค่านั้น เราก็แค่คิด
-
ถึงทฤษฎีบทพีทาโกรัส
-
ถ้าคุณเคยได้ยินสูตรระยะห่างในสองมิติ
-
มันก็แค่การใช้
-
ทฤษฎีบทพีทาโกรัส ลองคิดกันสักหน่อย
-
เราคิดถึงปริมาณที่เราเปลี่ยนไป
-
ตามแกนจริง ซึ่งก็คือระยะนี่ตรงนี้
-
นี่คือปริมาณที่เราเปลี่ยนไปตามแกนจริง
-
และถ้าเราไปจาก w ถึง z เราจะไปจาก
-
ลบ 5 ตามแกนจริงถึง 2
-
แล้ว 2 ลบลบ 5 เป็นเท่าใด?
-
มันคือ 7 ถ้าเราไป 5 หน่วยถึง 0
-
ตามแกนจริง แล้วไปอีก 2 ถึงได้ 2
-
ความยาวนี่ตรงนี้จึงเท่ากับ 7
-
แล้วความยาวของด้านนี่ตรงนี้เป็นเท่าใด?
-
ตามแกนนอน เราจะไปจาก
-
ลบ 1 ถึง 3 ระยะนี่ตรงนี้จึงเป็น 4
-
เราจึงใช้ทฤษฏีบทพีทาโกรัสได้
-
นี่คือสามเหลี่ยมมุมฉาก ระยะ
-
จึงเท่ากับระยะนี้
-
สมมุติว่านี่คือ x ตรงนี้
-
x กำลังสองจะเท่ากับ 7 กำลังสอง
-
นี่ก็แค่ทฤษฏีบทพีทาโกรัส บวก 4 กำลังสอง
-
บวก 4 กำลังสอง หรือเราบอกได้ว่า x เท่ากับ
-
รากที่สองของ 49 บวก 16
-
ผมแค่เขียนออกมาจะได้ไม่ข้ามขั้นไป
-
49 บวก 16 แล้วมันจะเท่ากับอะไร?
-
นั่นคือ 65 แล้ว x ใช่แล้ว 59 บวกอีก 6 ได้ 65
-
x เท่ากับรากที่สองของ 65
-
ทีนี้ลองดู 65 แยกตัวประกอบไม่ได้
-
มันไม่มีตัวประกอบใดเป็นกำลังสองสมบูรณ์ตรงนี้
-
นี่ก็แค่ 13 คูณ 5
-
เราจึงปล่อยมันไว้อย่างนั้นได้
-
x เท่ากับรากที่สองของ 65 ระยะห่าง
-
ในระนาบเชิงซ้อนระหว่างจำนวนเชิงซ้อนสองตัวนี้
-
รากที่สองของ 65 ซึ่งผมคิดว่า
มันมากกว่า 8 นิดหน่อย
-
แล้วจำนวนเชิงซ้อนที่
-
อยู่กึ่งกลางระหว่างสองตัวนี้พอดีล่ะ?
-
เพื่อหาค่านั้น เราแค่ต้อง
-
หาว่าจำนวนใดมีส่วนจริง
-
เป็นกึ่งกลางระหว่างส่วนจริงสองตัวนี้
-
และจำนวนใดมีส่วนจินตภาพ
-
เป็นกึ่งกลางระหว่างส่วนจินตภาพสองตัวนี้
-
ถ้าเรามี สมมุติว่าจำนวนเชิงซ้อนนั่น
-
ลองเรียกมันว่า a คือจุดกึ่งกลาง มันเป็นส่วนจริง
-
จะเท่ากับค่าเฉลี่ยของจำนวนสองตัวนี้
-
มันจะเท่ากับ 2 บวกลบ 5
-
2 บวกลบ 5 ส่วน 2, ส่วน 2,
-
และส่วนจินตภาพของมันจะเท่ากับค่าเฉลี่ย
-
ของจำนวนสองตัวนี้ ได้บวก บวก 3 ลบ 1
-
3 ลบ 1, ลบ 1, ส่วน 2 คูณ i
-
แล้วอันนี้เท่ากับ ลองดู 2 บวกลบ 5
-
ได้ลบ 3 ค่านี้จึงเป็นลบ 3/2 บวก
-
นี่คือ 3 ลบ 1 ได้ลบ ได้ลบ 2
-
ส่วน 2 ลองดู 3 ขอผมตรวจว่ามันถูกต้องไหม
-
3 ค่าเฉลี่ย 3 ลบ 1 เป็น 2
-
หารด้วย 2 เป็น 1, 3 บวก 3
-
ลบ 3/2 บวก i คือจุดกึ่งกลางระหว่างสองตัวนั้น
-
และถ้าเราพลอตมัน เราจะทดสอบได้ว่า
มันถูกต้องจริงไหม
-
ส่วนจริง ลบ 3/2, นั่นคือลบ 1
-
ลบ 1 กับอีกครึ่ง จะอยู่ตรงนี้
-
แล้วบวก i มันอยู่ตรงนี้
-
และผมต้องวาดมันให้ถูกสัดส่วนจริงๆ
-
แต่อันนี้ดูแล้วถูกต้อง จุดนี่ตรงนี้
-
จะเป็นจุดกึ่งกลาง