แอรอน ฮิวอี: นักโทษสงครามชนพื้นเมืองอเมริกัน
-
0:00 - 0:03ผมมาที่นี่ในวันนี้เพื่อแสดงภาพถ่ายของชาวลาโกตา
-
0:04 - 0:06หลายท่านในที่นี้อาจเคยได้ยินเรื่องราวของเผ่าลาโกตา
-
0:06 - 0:08หรืออย่างน้อยก็เรื่องชนเผ่าขนาดใหญ่
-
0:08 - 0:10ที่ชื่อเผ่าซู
-
0:10 - 0:13ชาวลาโกตาเป็นหนึ่งในหลายชนเผ่า
ที่ต้องอพยพออกจากแผ่นดินตนเอง -
0:13 - 0:15ไปยังค่ายกักกันนักโทษสงคราม
-
0:15 - 0:17ซึ่งปัจจุบันเรียกว่าเขตสงวน
-
0:17 - 0:19ชื่อเต็มคือเขตสงวนไพน์ริดจ์
-
0:19 - 0:21หัวข้อของสไลด์นำเสนอในวันนี้
-
0:21 - 0:23ตั้งอยู่ห่าง 75 ไมล์ออกไปทางตะวันออกเฉียงใต้
-
0:23 - 0:25ของเทือกเขาแบล็คฮิลในรัฐเซาท์ดาโกตา
-
0:25 - 0:27ซึ่งบางครั้งก็ถูกเรียกว่า
-
0:27 - 0:30ค่ายกักกันนักโทษสงครามหมายเลข 334
-
0:30 - 0:33และเป็นที่ที่ชาวลาโกตาอาศัยอยู่ในปัจจุบัน
-
0:33 - 0:35ถ้ามีใครในที่นี้เคยได้ยินชื่อ AIM
-
0:35 - 0:37ขบวนการอเมริกันอินเดียน
-
0:37 - 0:39หรือรัสเซลล์ มีนส์
-
0:39 - 0:41หรือลีโอนาร์ด เพลทิเอร์
-
0:41 - 0:43หรือการเผชิญหน้ารับศึกที่โอกลาลา
-
0:43 - 0:46ถ้าอย่างนั้นคุณคงทราบว่าไพน์ริดจ์เป็นจุดเกิดเหตุ
-
0:46 - 0:49ของเรื่องราวต่างๆที่เกิดขึ้นกับชาวอเมริกันพื้นเมือง
-
0:49 - 0:51วันนี้ผมเลยได้รับเชิญมาพูดอะไรเล็กน้อย
-
0:51 - 0:53เรื่องความสัมพันธ์ของผมกับชาวลาโกตา
-
0:53 - 0:55ซึ่งเป็นเรื่องที่ยากมากเรื่องหนึ่ง
-
0:55 - 0:57เพราะว่า หากคุณได้สังเกตสีผิวของผม
-
0:57 - 0:59ผมเป็นคนขาว
-
0:59 - 1:02ซึ่งนับเป็นอุปสรรคชิ้นใหญ่
ซึ่งขวางกั้นเขตสงวนชนพื้นเมืองอยู่ -
1:04 - 1:06วันนี้ คุณจะได้เห็นผู้คนมากมายในภาพถ่ายของผม
-
1:06 - 1:09ผมสนิทกับพวกเขามาก
พวกเขาต้อนรับผมดีเหมือนเป็นคนในครอบครัว -
1:09 - 1:11พวกเขาเรียกผมว่า "พี่ชาย" หรือว่า "ลุง"
-
1:11 - 1:13และเชิญผมไปบ้านซ้ำแล้วซ้ำอีกตลอดเวลาห้าปี
-
1:13 - 1:15แต่ว่าที่ไพน์ริดจ์
-
1:15 - 1:18ผมยังเป็นคนที่ถูกเรียกว่า "วาชิชู" เสมอ
-
1:18 - 1:21"วาชิชู" เป็นภาษาลาโกตา
-
1:21 - 1:23ซึ่งหมายถึง "คนที่ไม่ใช่ชาวอินเดียน"
-
1:23 - 1:25แต่อีกความหมายหนึ่งของคำนี้
-
1:25 - 1:29หมายถึง "คนที่เก็บเนื้อส่วนที่ดีที่สุดไว้กับตัว"
-
1:29 - 1:31ซึ่งนั่นเป็นสิ่งที่ผมอยากจะเน้นย้ำ
-
1:31 - 1:33คนที่เก็บเนื้อส่วนที่ดีที่สุดไว้กับตัว
-
1:33 - 1:35หมายถึง คนโลภ
-
1:36 - 1:38ลองมองไปรอบๆห้องบรรยายในวันนี้สิครับ
-
1:38 - 1:41เราอยู่กันที่โรงเรียนเอกชนทางตะวันตกของสหรัฐอเมริกา
-
1:41 - 1:44นั่งบนเก้าอี้กำมะหยี่สีแดง
-
1:44 - 1:46มีเงินพกอยู่ในกระเป๋า
-
1:46 - 1:48ถ้าเราลองมองชีวิตตัวเอง
-
1:48 - 1:50แท้จริงแล้วเราได้ชิงเอา
-
1:50 - 1:52เนื้อส่วนที่ดีที่สุดมาไว้กับตัว
-
1:52 - 1:55เพราะอย่างนั้น วันนี้ขอให้มาชมชุดภาพถ่าย
-
1:55 - 1:57ของผู้คนที่ต้องสูญเสีย
-
1:57 - 1:59เพื่อให้เราเป็นผู้ได้มา
-
1:59 - 2:02โปรดระลึกว่าเมื่อคุณมองที่ใบหน้าของผู้คนเหล่านี้
-
2:02 - 2:05นี่ไม่ใช่เพียงภาพของชาวลาโกตาเท่านั้น
-
2:05 - 2:08แต่พวกเขายังสะท้อนภาพของชาวพื้นเมืองทั้งหมด
-
2:10 - 2:12ในกระดาษใบนี้
-
2:12 - 2:14คือประวัติศาสตร์ในแบบที่ผมได้เรียนรู้
-
2:14 - 2:17จากเพื่อนและครอบครัวชาวลาโกตา
-
2:17 - 2:19ต่อไปนี้เป็นประวัติศาสตร์เรียงตามลำดับเวลา
-
2:19 - 2:22ของการทำสนธิสัญญา การละเมิดสนธิสัญญา
-
2:22 - 2:24และการสังหารหมู่ที่ถูกฉาบหน้าด้วยภาพของสงคราม
-
2:24 - 2:26ผมจะเริ่มจากปี ค.ศ. 1824
-
2:26 - 2:28หน่วยงานที่เป็นที่รู้จักกันในชื่อ
สำนักจัดการด้านชนพื้นเมือง -
2:28 - 2:30ได้รับการจัดตั้งขึ้นในกองทัพบก
-
2:30 - 2:32เป็นจุดเริ่มต้นของบรรยากาศการใช้ความรุนเรง
-
2:32 - 2:34ในการติดต่อเจรจากับชาวอเมริกันพื้นเมือง
-
2:34 - 2:36ปี ค.ศ. 1851
-
2:36 - 2:38สนธิสัญญาค่ายลารามี
ฉบับแรกก็ได้รับการยกร่าง -
2:38 - 2:41เป็นการระบุขอบเขตดินแดน
ของชาติลาโกตาอย่างชัดแจ้ง -
2:41 - 2:43ข้อความตามสนธิสัญญา
-
2:43 - 2:45ระบุให้ดินแดนดังกล่าวเป็นรัฐเอกราช
-
2:45 - 2:47หากข้อตกลงในสนธิสัญญาได้รับการปฏิบัติตาม
-
2:47 - 2:50และมีกฎหมายรับรองข้อความตามสนธิสัญญา
-
2:50 - 2:53เช่นนั้น หน้าตาของสหรัฐอเมริกาจะเป็นเช่นนี้ในวันนี้
-
2:55 - 2:5710 ปีจากนั้น
-
2:57 - 3:00พระราชบัญญัติโฮมสเตด
ลงนามโดยประธานาธิบดีลินคอล์น -
3:00 - 3:03ส่งผลให้คนขาวไหลบ่าเข้าไป
ตั้งรกรากในดินแดนชาวพื้นเมือง -
3:03 - 3:05ปี ค.ศ. 1863
-
3:05 - 3:07การลุกฮือของชนเผ่าซูแถบซานตีในมินนิโซตา
-
3:07 - 3:10ปิดฉากลงด้วยการแขวนคอชาวซู 38 ราย
-
3:10 - 3:13เป็นการประหารชีวิตครั้งใหญ่ที่สุด
ในประวัติศาสตร์สหรัฐอเมริกา -
3:14 - 3:16การประหารครั้งนั้นได้รับคำสั่งจากประธานาธิบดีลินคอล์น
-
3:16 - 3:18เหตุการณ์เกิดขึ้นเพียงสองวัน
-
3:18 - 3:21ถัดจากการลงนามในประกาศเลิกทาส
-
3:22 - 3:25ปี ค.ศ. 1866 ปีแห่งการเริ่มต้นสร้างทางรถไฟข้ามทวีป
-
3:25 - 3:27ศักราชใหม่
-
3:27 - 3:29เราจัดสรรที่ดินเพื่อสร้างทางรถไฟ
-
3:29 - 3:32โดยการตัดเข้าไปยังใจกลางของชาติลาโกตา
-
3:32 - 3:34สนธิสัญญาจึงถูกฉีกทิ้ง
-
3:34 - 3:37เพื่อเป็นการตอบโต้ ชาวพื้นเมืองสามชนเผ่า
นำโดยหัวหน้าเรดคลาวด์ -
3:37 - 3:40ได้โจมตีและเอาชนะกองทัพสหรัฐฯได้หลายครั้ง
-
3:40 - 3:42ผมอยากย้ำอีกครั้ง
-
3:42 - 3:45ชาวลาโกตาเอาชนะกองทัพสหรัฐฯได้
-
3:45 - 3:48ปี ค.ศ. 1868 สนธิสัญญาค่ายลารามีฉบับที่สอง
-
3:48 - 3:51ระบุชัดแจ้งถึงอำนาจอธิปไตยของชาติชนเผ่าซู
-
3:51 - 3:54และความเป็นเจ้าของเทือกเขา
แบล็คฮิลศักดิ์สิทธิ์ของชาวลาโกตา -
3:54 - 3:56รัฐบาลยังรับรองกรรมสิทธิ์ในที่ดิน
และสิทธิในการล่าสัตว์ -
3:56 - 3:58บริเวณรัฐแวดล้อมด้วย
-
3:58 - 4:00เราสัญญาว่าบริเวณลุ่มน้ำพาวเดอร์
-
4:00 - 4:03จะปราศจากคนขาวนับจากวันที่ประกาศ
-
4:03 - 4:05สนธิสัญญานั้นเป็นชัยชนะที่สวยงามหมดจด
-
4:05 - 4:07สำหรับเรดคลาวด์และชาวซู
-
4:07 - 4:10ที่จริง สงครามดังกล่าวเป็นครั้งเดียวในประวัติศาสตร์
-
4:10 - 4:13ที่รัฐบาลขอเจรจาสงบศึก
-
4:13 - 4:16โดยยอมรับข้อเสนอทุกอย่างจากฝ่ายตรงข้าม
-
4:18 - 4:20ปี ค.ศ. 1869
-
4:20 - 4:22การสร้างทางรถไฟข้ามทวีปเสร็จสมบูรณ์
-
4:22 - 4:25และสิ่งหนึ่งที่มาพร้อมกับทางรถไฟ
คือกลุ่มคนล่าสัตว์กลุ่มใหญ่ -
4:25 - 4:28ผู้ออกล่าควายป่าครั้งใหญ่
-
4:28 - 4:31ทำลายแหล่งอาหาร เครื่องนุ่งห่ม
และที่อยู่อาศัยของชาวซู -
4:31 - 4:33ปี ค.ศ. 1871
-
4:33 - 4:35พระราชบัญญัติอินเดียนแอพโพรพริเอชัน
-
4:35 - 4:38ทำให้ชาวอเมริกันอินเดียนทุกคน
อยู่ใต้ความคุ้มครองของรัฐบาลกลาง -
4:38 - 4:41นอกจากนี้ กองทัพยังออกคำสั่ง
-
4:41 - 4:44ไม่ให้ชาวอเมริกันอินเดียนแถบตะวันตกออกจากเขตสงวน
-
4:44 - 4:46ชาวอเมริกันอินเดียนทุกคนในแถบตะวันตก ณ ตอนนั้น
-
4:46 - 4:48ได้กลายเป็นนักโทษสงคราม
-
4:48 - 4:50ในปี ค.ศ. 1871 เช่นเดียวกัน
-
4:50 - 4:52เป็นช่วงเวลาสิ้นสุดการทำสนธิสัญญา
-
4:52 - 4:55ปัญหาของสนธิสัญญาคือ ได้มอบสถานะ
ให้ชนเผ่าต่างๆมีฐานะเทียบเท่ารัฐเอกราช -
4:55 - 4:57ซึ่งเรายอมไม่ได้
-
4:57 - 4:59เรามีแผนการ
-
4:59 - 5:01ปี ค.ศ. 1874
-
5:01 - 5:04นายพลจอร์จ คัสเตอร์ประกาศถึง
การขุดพบทองคำในดินแดนลาโกตา -
5:04 - 5:06โดยเฉพาะแทบเทือกเขาแบล็กฮิล
-
5:06 - 5:08ข่าวเรื่องทองคำส่งผลให้คนขาวจำนวนมาก
อพยพเข้าไปตั้งรกราก -
5:08 - 5:10ในชาติลาโกตา
-
5:10 - 5:12นายพลคัสเตอร์เสนอให้รัฐสภาหาหนทาง
-
5:12 - 5:14ยุติสนธิสัญญากับชาวลาโกตา
-
5:14 - 5:16ให้เร็วที่สุด
-
5:16 - 5:19ปี ค.ศ. 1875 สงครามลาโกตาเริ่มต้นขึ้น
-
5:19 - 5:22เนื่องจากการละเมิดข้อตกลงในสนธิสัญญาค่ายลารามี
-
5:22 - 5:24ปี ค.ศ. 1876
-
5:24 - 5:26วันที่ 26 กรกฎาคม
-
5:26 - 5:28ระหว่างการเดินทางไปโจมตีหมู่บ้านลาโกตา
-
5:28 - 5:30กองทหารม้าที่ 7 ของคัสเตอร์โดนถล่มราบคาบ
-
5:30 - 5:32ที่สมรภูมิลิตเติลบิ๊กฮอร์น
-
5:32 - 5:34ปี ค.ศ. 1877
-
5:34 - 5:37นักรบชาวลาโกตาและหัวหน้าเครซีฮอร์ส
-
5:37 - 5:39ยอมจำนนที่ค่ายโรบินสัน
-
5:39 - 5:42เวลาต่อมา เขาถูกสังหารระหว่างที่ถูกคุมขัง
-
5:45 - 5:48ปี ค.ศ. 1877 ยังเป็นปีที่เราพบวิธี
-
5:48 - 5:50การหลีกเลี่ยงไม่ปฏิบัติตามสนธิสัญญาค่ายลารามี
-
5:50 - 5:53มีการเสนอข้อตกลงใหม่ต่อหัวหน้าเผ่าซูและผู้นำอื่นๆ
-
5:53 - 5:56ภายใต้แคมเปญว่า "ยอมขายหรืออดตาย"
-
5:56 - 5:59จงลงนามในสัญญา ไม่เช่นนั้นก็ไม่มีอาหารให้คนในเผ่า
-
5:59 - 6:02ประชากรชายเพียงร้อยละ 10 ลงนามในสัญญา
-
6:02 - 6:04สนธิสัญญาค่ายลารามี
-
6:04 - 6:06ระบุให้ต้องมีสมาชิกในเผ่าจำนวนสามในสี่ลงนาม
-
6:06 - 6:08จึงจะถือเป็นการโอนกรรมสิทธิ์ในที่ดิน
-
6:08 - 6:10ข้อตกลงในสนธิสัญญาจึงถูกละเลย
-
6:10 - 6:13ปี ค.ศ. 1887 พระราชบัญญัติดอส์
-
6:13 - 6:16การถือกรรมสิทธิ์ร่วมกันบนพื้นที่เขตสงวนสิ้นสุดลง
-
6:16 - 6:19เขตสงวนถูกตัดแบ่งเป็นผืนขนาด 0.65 ตร.กม.
-
6:19 - 6:21แต่ละผืนแจกจ่ายให้ชาวพื้นเมืองแต่ละคน
-
6:21 - 6:23ส่วนที่เหลือจากการจัดสรรก็ตกเป็นของรัฐ
-
6:23 - 6:26เผ่าสูญเสียที่ดินหลายแสนตารางกิโลเมตร
-
6:26 - 6:28ความฝันแบบอเมริกัน
ในการเป็นเจ้าของที่ดินส่วนตัว -
6:28 - 6:30กลายเป็นวิธีการอันชาญฉลาด
-
6:30 - 6:33ในการแบ่งพื้นที่เขตสงวน
จนไม่หลงเหลืออะไรไว้ -
6:33 - 6:35การเปลี่ยนแปลงครั้งดังกล่าวทำลายเขตสงวนลง
-
6:35 - 6:38ทำให้การแบ่งพื้นที่เพื่อนำไปขายทำได้ง่ายขึ้น
-
6:38 - 6:41เมื่อผ่านไปแต่ละรุ่น
-
6:41 - 6:43พื้นที่ส่วนใหญ่ที่เหลือจากการจัดสรร
-
6:43 - 6:45และที่ดินที่แบ่งแล้วในพื้นที่เขตสงวนหลายแปลง
-
6:45 - 6:48ปัจจุบันนี้ตกเป็นของ
เจ้าของฟาร์มปศุสัตว์ซึ่งเป็นคนขาว -
6:48 - 6:51อีกครั้งหนึ่ง ที่ดินผืนใหญ่ที่อุดมสมบูรณ์
ตกเป็นของวาชิชู -
6:52 - 6:54ปี ค.ศ. 1890 วันที่ผมเชื่อว่าเป็น
-
6:54 - 6:57วันที่สำคัญที่สุดในสไลด์โชว์นี้
-
6:57 - 6:59นี่คือปีที่มีการสังหารหมู่ที่วูนเด็ดนี
-
6:59 - 7:01วันที่ 29 ธันวาคม
-
7:01 - 7:04กองกำลังสหรัฐฯล้อมค่ายของชาวซูไว้
ที่บริเวณวูนเด็ดนีครีก -
7:04 - 7:06และสังหารหัวหน้าบิ๊กฟุต
-
7:06 - 7:08พร้อมนักโทษสงคราม 300 ราย
-
7:08 - 7:10โดยใช้อาวุธปืนยิงรัว
-
7:10 - 7:12ยิงกระสุนระเบิด
-
7:12 - 7:14จากปืนที่เรียกว่าปืนใหญ่ฮ็อชคิส
-
7:14 - 7:16ฉากที่เรียกกันว่า "สงคราม" นี้
-
7:16 - 7:19มีการมอบเหรียญกล้าหาญจากรัฐสภา 20 เหรียญ
-
7:19 - 7:22ให้กองทหารม้าที่ 7
-
7:22 - 7:24จวบจนทุกวันนี้
-
7:24 - 7:27ครั้งนั้นนับเป็นเหรียญกล้าหาญที่มากที่สุด
-
7:27 - 7:30ที่ได้มอบให้ในสงครามๆเดียว
-
7:30 - 7:32มีการมอบเหรียญกล้าหาญมากมาย
-
7:32 - 7:34ให้กับการสังหารผู้หญิงและเด็กอย่างไม่เลือกปฏิบัติ
-
7:34 - 7:36มากกว่าที่พบในสงครามโลกครั้งที่หนึ่ง
-
7:36 - 7:38สงครามโลกครั้งที่สอง
-
7:38 - 7:40สงครามเกาหลี สงครามเวียดนาม
-
7:40 - 7:43อิรักหรืออัฟกานิสถาน
-
7:44 - 7:46การสังหารหมู่ที่วูนเด็ดนี
-
7:46 - 7:49นับเป็นการสิ้นสุดของสงครามกับชนพื้นเมือง
-
7:49 - 7:51เมื่อไรก็ตามที่ผมไปยังจุด
-
7:51 - 7:53ที่เป็นสุสานหมู่แห่งวูนเด็ดนี
-
7:53 - 7:55ผมมองเห็นไม่ใช่แค่หลุมศพ
-
7:55 - 7:57สำหรับชาวลาโกตาหรือชาวซู
-
7:57 - 8:00แต่เป็นหลุมศพของชาวพื้นเมืองทั้งหมด
-
8:03 - 8:05แบล็คเอลค์ บุคคลศักดิ์สิทธิ์กล่าวไว้ว่า
-
8:05 - 8:07"ณ ตอนนั้น ข้าไม่รู้
-
8:07 - 8:09ว่าชีวิตถูกพรากไปเท่าใด
-
8:09 - 8:11แต่เมื่อมองย้อนกลับไป
-
8:11 - 8:13จากยอดเขาสูงแห่งวัยชรา
-
8:13 - 8:15ข้ายังเห็นชีวิตสตรีและเด็กที่ถูกคร่า
-
8:15 - 8:17ทั้งกองสูงและกระจัดกระจาย
-
8:17 - 8:20ตลอดสายธารที่คดเคี้ยวนั้น
-
8:23 - 8:25ภาพนั้นยังประจักษ์ชัดดุจเดียวกับ
-
8:25 - 8:28ภาพที่มองด้วยสายตาในวัยหนุ่ม
-
8:31 - 8:34และข้าเห็นว่ามีบางสิ่งสูญสิ้นไปกับธุลีที่เปื้อนโลหิต
-
8:35 - 8:38ถูกกลบอยู่ใต้พายุหิมะ
-
8:39 - 8:42ความฝันของชนชาติได้สูญสิ้นไป ณ ที่นั้น
-
8:42 - 8:45ซึ่งฝันนั้นเป็นฝันอันงดงาม"
-
8:46 - 8:48เหตุการณ์ดังกล่าว
-
8:48 - 8:51ก่อให้เกิดศักราชใหม่ในประวัติศาสตร์ชนพื้นเมือง
-
8:52 - 8:54ทุกอย่างถูกวัดค่าตีราคาได้
-
8:54 - 8:57ทั้งก่อนเหตุการณ์วูนเด็ดนีและหลังจากนั้น
-
8:57 - 8:59เพราะว่าเป็นชั่วขณะนั้นเอง
-
8:59 - 9:02ที่นิ้วจ่ออยู่ที่ไกของปืนฮ็อชคิส
-
9:02 - 9:06ที่รัฐบาลสหรัฐฯประกาศ
สิทธิของชนพื้นเมืองอย่างชัดแจ้ง -
9:06 - 9:08พวกเขารู้สึกเหนื่อยกับสนธิสัญญา
-
9:08 - 9:10พวกเขาเหนื่อยกับเทือกเขาศักดิ์สิทธิ์
-
9:10 - 9:13เหนื่อยกับพิธีกรรมการร่ายรำ
-
9:13 - 9:16และยังเหนื่อยกับความยุ่งยากต่างๆที่เกิดกับชาวซู
-
9:16 - 9:19พวกเขาเลยขนปืนใหญ่มา
-
9:20 - 9:23"ยังอยากเป็นชาวพื้นเมืองอยู่ไหม" พวกเขาถาม
-
9:23 - 9:25มือเหนี่ยวไกปืน
-
9:30 - 9:32ปี ค.ศ. 1900
-
9:32 - 9:35ประชากรชาวอเมริกันอินเดียนมีจำนวนลดลง
-
9:36 - 9:38เหลือ 250,000 คน
-
9:38 - 9:40เทียบกับจำนวนประชากรราวแปดล้าน
-
9:40 - 9:42ในปี ค.ศ. 1492
-
9:44 - 9:46กรอเทปไปข้างหน้า
-
9:46 - 9:48ปี ค.ศ. 1980
-
9:48 - 9:50คดีที่ยาวนานที่สุดในประวัติศาสตร์สหรัฐอเมริกา
-
9:50 - 9:53ระหว่างชนพื้นเมืองเผ่าซู โจทก์
และสหรัฐอเมริกา จำเลย -
9:53 - 9:56ได้รับการพิจารณาโดยศาลสูงสหรัฐฯ
-
9:57 - 10:00ศาลวินิจฉัยว่า เมื่อชาวซูกลับเข้าไป
ตั้งรกรากในเขตสงวนอีกครั้ง -
10:00 - 10:03และที่ดินของชาวซูราวสามหมื่นตารางกิโลเมตร
-
10:03 - 10:06ก็เปิดให้คนเข้าไปสำรวจและตั้งรกราก
-
10:06 - 10:08ในการนี้ ข้อตกลงในสนธิสัญญาค่ายลารามีฉบับที่สอง
-
10:08 - 10:10ถูกละเมิด
-
10:10 - 10:12ศาลระบุว่า
-
10:12 - 10:14เทือกเขาแบล็คฮิลถูกแย่งชิงไปโดยผิดกฎหมาย
-
10:14 - 10:16และราคาตั้งต้นของที่ดินรวมกับอัตราดอกเบี้ย
-
10:16 - 10:18ให้จ่ายให้กับชาวพื้นเมืองเผ่าซู
-
10:18 - 10:20เพื่อเป็นการจ่ายเงินชดเชยให้ชาวซู
-
10:20 - 10:23ศาลสั่งให้จ่ายเงินจำนวนเพียง 106 ล้านดอลลาร์สหรัฐฯ
-
10:23 - 10:25แก่ประชาชนชาวซู
-
10:25 - 10:28ชาวซูปฏิเสธเงินและเริ่มรณรงค์ในแคมเปญ
-
10:28 - 10:31"เทือกเขาแบล็คฮิลไม่ได้มีไว้จำหน่าย"
-
10:31 - 10:33ปี ค.ศ. 2010
-
10:33 - 10:36สถิติเกี่ยวกับชาวพื้นเมืองในวันนี้
-
10:36 - 10:39ผ่านไปกว่าหนึ่งศตวรรษหลังจาก
เหตุการณ์สังหารหมู่ที่วูนเด็ดนี -
10:39 - 10:41แสดงให้เห็นถึงมรดกที่ตกทอดมาจากการยึดครอง
-
10:41 - 10:43การบังคับให้อพยพย้ายถิ่น
-
10:43 - 10:45และการละเมิดข้อตกลงในสนธิสัญญา
-
10:45 - 10:48อัตราการว่างงานในเขตสงวนไพน์ริดจ์
-
10:48 - 10:51แปรไปมาระหว่างร้อยละ 85 ถึง 90
-
10:51 - 10:54สำนักพัฒนาที่อยู่อาศัยไม่สามารถก่อสร้างอะไรเพิ่มเติมได้
-
10:54 - 10:56ส่วนสิ่งก่อสร้างที่มีอยู่ก็ค่อยๆพังทลายลง
-
10:56 - 10:58หลายคนกลายเป็นคนไร้บ้าน
-
10:58 - 11:00ส่วนผู้ที่มีบ้านก็แออัดยัดเยียด
อยู่ในอาคารที่ส่งกลิ่นเหม็น -
11:00 - 11:02บ้างอยู่รวมกันถึงห้าครอบครัว
-
11:02 - 11:04บ้านในเขตไพน์ริดจ์ถึงร้อยละ 39
-
11:04 - 11:06ไม่มีไฟฟ้าใช้
-
11:06 - 11:09และบ้านในเขตไพน์ริดจ์อย่างน้อยร้อยละ 60
-
11:09 - 11:11ก็ถูกรบกวนจากเชื้อราดำ
-
11:11 - 11:13ประชากรกว่าร้อยละ 90
-
11:13 - 11:16มีชีวิตอยู่ใต้เส้นแบ่งระดับความยากจนที่รัฐระบุไว้
-
11:16 - 11:19อัตราของผู้ป่วยวัณโรคในเขตไพน์ริดจ์
-
11:19 - 11:22สูงกว่าค่าเฉลี่ยที่สหรัฐฯระบุไว้ประมาณแปดเท่า
-
11:22 - 11:24อัตราตายของทารก
-
11:24 - 11:26สูงที่สุดในทวีปนี้
-
11:26 - 11:29และสูงกว่าค่าเฉลี่ยที่สหรัฐฯระบุไว้ประมาณสามเท่า
-
11:29 - 11:31อัตราการเป็นมะเร็งปากมดลูกสูงเป็นห้าเท่า
-
11:31 - 11:33ของค่าเฉลี่ยที่สหรัฐฯระบุไว้
-
11:33 - 11:36อัตราการออกจากโรงเรียนสูงถึงร้อยละ 70
-
11:36 - 11:38อัตราการลาออกของครู
-
11:38 - 11:41สูงกว่าค่าเฉลี่ยที่รัฐระบุไว้แปดเท่า
-
11:41 - 11:44บ่อยครั้ง ที่พบว่าปู่ย่าตายายเป็นผู้เลี้ยงดูหลานๆ
-
11:44 - 11:47เพราะว่าพ่อแม่ เนื่องจากการติดสุรา
-
11:47 - 11:49การใช้ความรุนแรงในครอบครัว
และความไม่เอาใจใส่ -
11:49 - 11:51ทำให้พวกเขาเลี้ยงดูลูกไม่ได้
-
11:52 - 11:55ประชากรอายุกว่า 40 ปีจำนวนร้อยละ 50
-
11:55 - 11:57ทุกข์ทรมานจากโรคเบาหวาน
-
11:57 - 11:59อายุคาดเฉลี่ยของชาย
-
11:59 - 12:01อยู่ระหว่าง 46 ปี
-
12:01 - 12:04ถึง 48 ปี
-
12:04 - 12:06ซึ่งเท่ากับ
-
12:06 - 12:09ค่าเฉลี่ยในประเทศอัฟกานิสถานและโซมาเลีย
-
12:10 - 12:13บทส่งท้ายของการฆ่าล้างเผ่าพันธุ์ที่ประสบความสำเร็จ
-
12:13 - 12:15คือการที่ผู้กดขี่
-
12:15 - 12:18สามารถถอนมือออกมาและพูดได้ว่า
-
12:18 - 12:21"ให้ตายสิ ดูว่าคนพวกนี้ทำอะไรกับตัวเอง
-
12:21 - 12:23พวกเขาฆ่ากันเอง
-
12:23 - 12:25พวกเขาฆ่าคนชาติเดียวกันเอง
-
12:25 - 12:28ในขณะที่เรามองพวกเขาค่อยๆตาย"
-
12:28 - 12:31นี่เป็นวิธีที่เราจับจองสหรัฐอเมริกาเป็นเจ้าของ
-
12:31 - 12:33นี่เป็นมรดก
-
12:33 - 12:35ของปรัชญาเทพลิขิต
-
12:35 - 12:37นักโทษยังคงถือกำเนิด
-
12:37 - 12:39ในค่ายของนักโทษสงคราม
-
12:39 - 12:42เกิดขึ้นต่อเนื่องยาวนานแม้จะไม่มีผู้คุมแล้ว
-
12:44 - 12:46นี่คือกระดูกที่เหลือ
-
12:46 - 12:49หลังจากเนื้อส่วนที่ดีที่สุดถูกชิงไป
-
12:51 - 12:53นานมาแล้ว
-
12:53 - 12:55เหตุการณ์เหล่านี้ได้เกิดขึ้นต่อเนื่องกัน
-
12:55 - 12:58โดยมีที่มาจากคนที่ดูเหมือนผม โดยวาชิชู
-
12:58 - 13:00ผู้กระหายอยากได้ที่ดิน น้ำ
-
13:00 - 13:03และทองคำในหุบเขา
-
13:03 - 13:05เหตุการณ์เหล่านั้นก่อให้เกิดผลกระทบแบบโดมิโน
-
13:05 - 13:07ที่สืบเนื่องยาวนานและยังไม่จบสิ้น
-
13:07 - 13:11ความเป็นชาติมหาอำนาจของเรา
อาจทำให้เรารู้สึกไม่มีส่วนเกี่ยวข้อง -
13:12 - 13:15กับการสังหารหมู่ในปี ค.ศ. 1890
-
13:15 - 13:18หรือการละเมิดข้อตกลงในสนธิสัญญาหลายคราว
เมื่อ 150 ปีก่อน -
13:19 - 13:21ผมยังต้องตั้งคำถามคุณ
-
13:21 - 13:24ว่าคุณรู้สึกอย่างไรกับค่าสถิติทุกวันนี้
-
13:25 - 13:27อะไรคือความเชื่อมโยง
-
13:27 - 13:29ระหว่างภาพความทุกข์ทรมานเหล่านี้
-
13:29 - 13:31กับประวัติศาสตร์ที่ผมเพิ่งอ่านให้คุณฟัง
-
13:31 - 13:33และประวัติศาสตร์เหล่านี้จำนวนมากน้อยแค่ไหน
-
13:33 - 13:35ที่คุณรู้สึกว่าตนเป็นเจ้าของ
-
13:35 - 13:38มีสิ่งใดไหมที่คุณคิดว่าเป็น
ความรับผิดชอบของคุณในปัจจุบัน -
13:39 - 13:42ผมได้รับการบอกเล่าว่า ต้องมีอะไรบ้างที่เราทำได้
-
13:42 - 13:45น่าจะมีการกระตุ้นเตือนให้คนรู้สึกมีส่วนร่วม
-
13:45 - 13:48เนื่องจากผมยืนอยู่ขอบสนามมายาวนานแล้ว
-
13:48 - 13:50พอใจกับการเป็นผู้เฝ้าดู
-
13:50 - 13:53ทำเพียงแค่ถ่ายภาพ
-
13:53 - 13:56เนื่องจากหนทางแก้ไขดูจะอยู่ไกลไปในอดีต
-
13:56 - 13:58ผมไม่ต้องการอะไรมากไปกว่าเครื่องย้อนเวลา
-
13:58 - 14:00เพื่อให้กลับไปแก้ไขได้
-
14:00 - 14:02ความทุกข์ทรมานของชนพื้นเมือง
-
14:02 - 14:05ไม่ใช่เรื่องที่จะแก้ไขได้ง่าย
-
14:06 - 14:08ไม่ใช่เรื่องที่ทุกคนจะช่วยเหลือได้
-
14:08 - 14:10ด้วยวิธีการที่เราช่วยเหลือประเทศไฮติ
-
14:10 - 14:13หรือหยุดโรคเอดส์ หรือต่อสู้กับความยากจน
-
14:13 - 14:15คำว่า "การแก้ไข" ที่เราใช้นี้
-
14:15 - 14:18อาจเป็นเรื่องยากสำหรับชาติมหาอำนาจ
-
14:18 - 14:20มากกว่าแค่การจ่ายเช็ค 50 ดอลลาร์สหรัฐฯ
-
14:20 - 14:22หรือการเดินทางเพื่อการกุศล
-
14:22 - 14:24ไปทาสีบ้านที่เปื้อนสีสเปรย์
-
14:24 - 14:26หรือครอบครัวที่อาศัยย่านชานเมือง
-
14:26 - 14:29บริจาคเสื้อผ้าที่พวกเขาไม่ต้องการแล้วกล่องหนึ่ง
-
14:29 - 14:31อย่างนั้นเราจะทำอะไรได้
-
14:31 - 14:34แค่ยักไหล่อยู่ในความมืดอย่างนั้นหรือ
-
14:34 - 14:36สหรัฐอเมริกา
-
14:36 - 14:38ยังคงดำเนินการอย่างต่อเนื่อง
-
14:38 - 14:40ที่จะละเมิดข้อตกลง
-
14:40 - 14:42ที่ทำขึ้นในปี ค.ศ. 1851 และปี ค.ศ. 1868
-
14:42 - 14:45ในสนธิสัญญาค่ายลารามีที่ทำขึ้นกับชาวลาโกตา
-
14:45 - 14:47การกระตุ้นเตือนที่ผมอยากนำเสนอในวันนี้
-
14:47 - 14:50ความประสงค์จาก TED คือสิ่งนี้
-
14:51 - 14:53เคารพสนธิสัญญา
-
14:53 - 14:55คืนแบล็คฮิลกลับไป
-
14:55 - 14:58ไม่ใช่เรื่องของเราว่าเขาจะเอาไปทำอะไร
-
15:00 - 15:06(เสียงปรบมือ)
- Title:
- แอรอน ฮิวอี: นักโทษสงครามชนพื้นเมืองอเมริกัน
- Speaker:
- แอรอน ฮิวอี
- Description:
-
ความพยายามของแอรอน ฮิวอีในการเก็บภาพความยากจนในสหรัฐอเมริกาได้นำพาเขาไปยังเขตสงวนไพน์ริดจ์ สถานที่ซึ่งการต่อสู้ดิ้นรนของชาวพื้นเมืองลาโกตาเป็นปัญหาที่น่าตกใจแต่ถูกปล่อยปละละเลย อันเป็นเหตุให้เขาต้องหันมาสนใจประเด็นดังกล่าว ผ่านไปห้าปีหลังจากการทำงาน ภาพถ่ายอันสะเทือนอารมณ์ได้รับการถักทอเข้ากับบทเรียนทางประวัติศาสตร์อันน่าตกใจ ถ่ายทอดมาในการบรรยายที่เข้มข้นและหาญกล้าใน TEDxDU.
- Video Language:
- English
- Team:
closed TED
- Project:
- TEDTalks
- Duration:
- 15:07
![]() |
Dimitra Papageorgiou approved Thai subtitles for America's native prisoners of war | |
![]() |
Pathumjit Atikomkamalasai accepted Thai subtitles for America's native prisoners of war | |
![]() |
Bongkot Charoensak edited Thai subtitles for America's native prisoners of war | |
![]() |
Bongkot Charoensak edited Thai subtitles for America's native prisoners of war | |
![]() |
Bongkot Charoensak edited Thai subtitles for America's native prisoners of war | |
![]() |
Pathumjit Atikomkamalasai declined Thai subtitles for America's native prisoners of war | |
![]() |
Pathumjit Atikomkamalasai edited Thai subtitles for America's native prisoners of war | |
![]() |
Pathumjit Atikomkamalasai edited Thai subtitles for America's native prisoners of war |