แดเนียล แทมเมต: วิธีต่างๆในการรู้
-
0:00 - 0:02ผมเป็นซาวองต์ (Savant) ครับ
-
0:02 - 0:04หรือถ้าพูดให้ละเอียดกว่านั้น
-
0:04 - 0:06ผมเป็นออทิสติกซาวองต์
-
0:06 - 0:08ที่มีศักยภาพสูง
-
0:08 - 0:10มันเป็นลักษณะที่พบได้ยาก
-
0:10 - 0:13และในกรณีของผม ยิ่งพบได้ยากเข้าไปอีก
-
0:13 - 0:15ที่พบรวมกับ
-
0:15 - 0:17การตระหนักรู้ตัวตน
-
0:17 - 0:20และความรอบรู้ทางภาษา
-
0:20 - 0:23บ่อยครั้ง เมื่อผมพบใครสักคน
-
0:23 - 0:25และพวกเขารู้เกี่ยวกับเรื่องนี้ของผม
-
0:25 - 0:28มักจะมีความรู้สึกอีดอัดใจเกิดขึ้น
-
0:28 - 0:31ผมสามารถมองเห็นสิ่งนั้นในแววตาพวกเขา
-
0:31 - 0:34พวกเขาต้องการถามอะไรผมบางอย่าง
-
0:34 - 0:36และท้ายที่สุด บ่อยครั้ง
-
0:36 - 0:39แรงกระตุ้นก็แข็งแรงกว่าพวกเขา
-
0:39 - 0:41และพวกเขาก็ถามโพล่งออกมา
-
0:41 - 0:43"ถ้าฉันบอกเลขที่วันเกิดของฉันกับคุณ
-
0:43 - 0:45คุณจะสามารถบอกได้ไหมว่าฉันเกิดวันอะไรในสัปดาห์
-
0:45 - 0:48เสียงหัวเราะ
-
0:48 - 0:51หรือ พวกเขากล่าวถึงรากที่สามของจำนวนจริงต่างๆ
-
0:51 - 0:55หรือขอให้ผมท่องจำตัวเลขยาวๆ หรือข้อความยาวๆ
-
0:55 - 0:57ผมหวังว่าพวกคุณจะให้อภัยผมนะครับ
-
0:57 - 1:00ถ้าหากผมไม่แสดง
-
1:00 - 1:04การแสดงเดี่ยวของชาวซาวองต์แก่พวกคุณในวันนี้
-
1:04 - 1:07แต่ผมกำลังจะบรรยายแทน
-
1:07 - 1:09เกี่ยวกับบางอย่าง
-
1:09 - 1:11ที่น่าสนใจมากกว่า
-
1:11 - 1:14วันเดือนปีเกิดหรือรากที่สามของจำนวนต่างๆ
-
1:14 - 1:16บางอย่างที่ค่อนข้างลึกซึ้งกว่า
-
1:16 - 1:19และใกล้ชิดกับจิตใจของผม มากกว่าชิ้นงาน
-
1:19 - 1:21ผมต้องการจะบรรยายแก่พวกคุณอย่างกระชับ
-
1:21 - 1:24เกี่ยวกับการรับรู้ครับ
-
1:24 - 1:27เมื่อแอนตัน เชคอฟกำลังเขียนบทละครและเรื่องสั้นต่างๆ
-
1:27 - 1:29ซึ่งกำลังจะสร้างชื่อให้เขาอยู่นั้น
-
1:29 - 1:32เขาเก็บรักษาสมุดเล่มหนึ่ง
-
1:32 - 1:34ซึ่งเขาใช้จดบันทึก
-
1:34 - 1:36ข้อสังเกต
-
1:36 - 1:38เกี่ยวกับโลกรอบตัวเขา
-
1:38 - 1:40ค่อนข้างลงรายละเอียด
-
1:40 - 1:43ในเรื่องที่ผู้คนทั่วไปเหมือนจะมองข้าม
-
1:43 - 1:46ทุกๆครั้งที่ผมอ่านงานของเชคอฟ
-
1:46 - 1:50และทรรศนะอันเป็นเอกลักษณ์ของเขาที่มีต่อชีวิตมนุษย์
-
1:50 - 1:52ผมนึกถึงสาเหตุ
-
1:52 - 1:54ที่ทำให้ผมเป็นนักเขียนเหมือนกับเขา
-
1:54 - 1:56ในหนังสือหลายเล่มของผม
-
1:56 - 1:58ผมสำรวจธรรมชาติของการรับรู้
-
1:58 - 2:01และสำรวจว่า การรับรู้ในรูปแบบต่างๆ
-
2:01 - 2:03สร้างการรู้
-
2:03 - 2:06และความเข้าใจในรูปแบบต่างๆอย่างไร
-
2:08 - 2:10นี่คือคำถามสามข้อ
-
2:10 - 2:12ที่ดึงมาจากผลงานของผม
-
2:12 - 2:14แทนที่จะพยายามหาคำตอบ
-
2:14 - 2:17ผมกำลังจะขอให้พวกคุณพิจารณาสักครู่
-
2:17 - 2:19ถึงการรู้โดยสัญชาตญาณ
-
2:19 - 2:21และสัญชาตญาณทางอารมณ์
-
2:21 - 2:23ซึ่งไหลผ่านหัวของคุณและหัวใจของคุณ
-
2:23 - 2:26อย่างที่คุณเข้าใจ
-
2:26 - 2:29ยกตัวอย่างเช่น การคำนวณ
-
2:29 - 2:31คุณสามารถประมาณได้ไหมว่าตรงไหนบนเส้นจำนวน
-
2:31 - 2:34ที่คำตอบจะปรากฎอยู่?
-
2:34 - 2:37หรือมองคำศัพท์ภาษาต่างประเทศและเสียงของคำ
-
2:37 - 2:39คุณสามารถเดาทิศทาง
-
2:39 - 2:42ของความหมายของคำได้หรือไม่
-
2:42 - 2:45และในแง่ของบทกวี
-
2:45 - 2:47ทำไมกวีถึงใช้คำว่า "hare" (กระต่ายป่า)
-
2:47 - 2:50แทนที่จะใช้คำว่า "rabbit" (กระต่าย)
-
2:51 - 2:53ผมขอให้พวกคุณทำสิ่งนี้ครับ
-
2:53 - 2:57เพราะผมเชื่อว่าการรับรู้ส่วนบุคคลของเรานั้น, เห็นไหมครับ,
-
2:57 - 2:59อยู่ที่หัวใจ
-
2:59 - 3:01ของวิธีการที่เราได้รับความรู้
-
3:01 - 3:03การตัดสินเชิงสุนทรียศาสตร์
-
3:03 - 3:06แทนการใช้เหตุผลเชิงนามธรรม
-
3:06 - 3:08ชี้นำและสร้างรูปแบบกระบวนการ
-
3:08 - 3:11ด้วยสิ่งที่พวกเราทุกคนมาเพื่อจะรู้
-
3:11 - 3:13สิ่งที่พวกเรารู้อยู่แล้ว
-
3:13 - 3:16ผมเป็นตัวอย่างที่สุดโต่งของกรณีนี้
-
3:16 - 3:19โลกของคำและตัวเลขของผม
-
3:19 - 3:21เต็มไปด้วยสีสัน, อารมณ์
-
3:21 - 3:23และบุคคลิกลักษณะ
-
3:23 - 3:25อย่างที่ฮวนกล่าวไว้
-
3:25 - 3:28มันคือเงื่อนไขที่นักวิทยาศาสตร์เรียกว่าซินเนสเตเซีย (synesthesia)
-
3:28 - 3:30การสื่อสารสอดแทรกที่ผิดปกติ
-
3:30 - 3:33ระหว่างประสาทสัมผัสทั้งหลาย
-
3:36 - 3:38นี่คือตัวเลขตั้งแต่หนึ่งถึงสิบสอง
-
3:38 - 3:40สิ่งที่ผมมองเห็นคือ
-
3:40 - 3:44ทุกๆตัวเลขมีรูปร่างและอุปนิสัยของตัวเอง
-
3:44 - 3:46เลขหนึ่ง เป็นแสงสว่างสีขาว
-
3:46 - 3:51เลขหกนั้นเล็กและเป็นหลุมสีดำมืิด
-
3:51 - 3:54ภาพร่างเหล่านี้เป็นสีขาวดำในที่นี้
-
3:54 - 3:56แต่ในความคิดของผมพวกมันมีสีสัน
-
3:56 - 3:58เลขสามเป็นสีเขียว
-
3:58 - 4:00เลขสี่เป็นสีฟ้า
-
4:00 - 4:03เลขห้าเป็นสีเหลือง
-
4:05 - 4:07ผมวาดรูปด้วย
-
4:07 - 4:10และนี่คือผลงานภาพวาดชิ้นหนึ่งของผม
-
4:10 - 4:14มันเป็นผลคูณของจำนวนเฉพาะสองตัว
-
4:14 - 4:16รูปร่างแบบสามมิติ
-
4:16 - 4:19และพื้นที่ตรงกลางที่เลขทั้งสองสร้างขึ้น
-
4:19 - 4:21สร้างรูปร่างใหม่หนึ่งชิ้น
-
4:21 - 4:24ซึ่งก็คือคำตอบของผลลัพธ์
-
4:24 - 4:26แล้วตัวเลขที่ใหญ่กว่านี้หล่ะ?
-
4:26 - 4:30เอาหล่ะ คุณไม่สามารถได้อะไรที่ใหญ่ไปกว่าพาย (Pi)
-
4:30 - 4:32ซึ่งเป็นค่าคงที่ทางคณิตศาสตร์
-
4:32 - 4:34มันเป็นจำนวนอนันต์
-
4:34 - 4:36ที่ไม่สิ้นสุด ตามทฤษฎี
-
4:36 - 4:38ภาพนี้ ผมวาดจาก
-
4:38 - 4:42ตัวเลขทศนิยมยี่สิบหน่วยแรกของค่าพาย
-
4:42 - 4:44ผมใช้หลากหลายสี
-
4:44 - 4:47และหลากหลายอารมณ์ รวมถึงพื้นผิวหลายๆแบบ
-
4:47 - 4:49และผมดึงทั้งหมดมารวมกัน
-
4:49 - 4:54ในรูปแบบของภาพทิวทัศน์เกี่ยวกับตัวเลขแบบเป็นลูกคลื่น (rolling numerical landscape)
-
4:54 - 4:57ไม่ใช่แค่ตัวเลขเท่านั้นที่ผมมองเห็นสีของมัน
-
4:57 - 4:59แต่รวมถึงคำต่างๆด้วย สำหรับผม
-
4:59 - 5:01คำต่างๆมีสีสัน อารมณ์
-
5:01 - 5:03และพื้นผิว
-
5:03 - 5:05และนี่ก็คือวลีเปิด
-
5:05 - 5:07จากนวนิยายเรื่อง "โลลิต้า" (Lolita)
-
5:07 - 5:11ซึ่งตัวนาโบคอฟเอง (ผู้แต่ง) มีอาการซินเนสเตเซีย
-
5:11 - 5:13และพวกคุณสามารถมองเห็นที่นี่
-
5:13 - 5:16ว่าการรับรู้เสียงแอลของผม
-
5:16 - 5:18ช่วยให้การสัมผัสอักษร
-
5:18 - 5:21โดดเด่นออกมาได้อย่างไร
-
5:21 - 5:23อีกหนึ่งตัวอย่าง
-
5:23 - 5:25ค่อนข้างเป็นเชิงคณิตศาสตร์มาก
-
5:25 - 5:27และผมสงสัยว่าจะมีพวกคุณสักคนไหมที่สังเกตเห็น
-
5:27 - 5:29โครงสร้างของประโยค
-
5:29 - 5:32จาก "The Great Gasby"
-
5:33 - 5:36มันมีขบวนการของพยางค์
-
5:36 - 5:38wheat (ข้าวสาลี) หนึ่งพยางค์
-
5:38 - 5:40prairies (ทุ่งหญ้า) สองพยางค์
-
5:40 - 5:43lost Swede towns (เมืองสวีเดนที่สูญหาย) สามพยางค์
-
5:43 - 5:45หนึ่ง สอง สาม
-
5:45 - 5:49และผลที่ได้คือความพึงพอใจของจิตใจ
-
5:49 - 5:51และมันช่วยให้ประโยค
-
5:51 - 5:54รู้สึก ถูกต้อง
-
5:54 - 5:56เอาหล่ะ กลับมาที่คำถามกันครับ
-
5:56 - 5:59ผมทิ้งไว้ให้พวกคุณคิดเมื่อชั่วครู่ที่ผ่านมา
-
5:59 - 6:02หกสิบสี่คูณกับเจ็ดสิบห้า
-
6:02 - 6:05ถ้าพวกคุณบางคนเล่นหมากรุก
-
6:05 - 6:07คุณจะรู้ว่าตัวเลขหกสิบสี่
-
6:07 - 6:10เป็นจำนวนยกกำลังสอง
-
6:10 - 6:12และนั่นคือเหตุผลว่าทำไมกระดานหมากรุก
-
6:12 - 6:14แปดคูณแปด
-
6:14 - 6:17มีสี่เหลี่ยมจัตุรัสหกสิบสี่อัน
-
6:17 - 6:19นั่นมอบรูปแบบแก่เรา
-
6:19 - 6:22ซึ่งเราสามารถวาดภาพได้ เราสามารถรับรู้ได้
-
6:22 - 6:25แล้วเจ็ดสิบห้าหล่ะ
-
6:25 - 6:27เอาหล่ะ ถ้าหนึ่งร้อย
-
6:27 - 6:30ถ้าเราคิดถึงเลขหนึ่งร้อยในลักษณะที่เป็นสี่เหลี่ยมจัตุรัส
-
6:30 - 6:33เจ็ดสิบห้าจะดูเหมือนแบบนี้
-
6:33 - 6:35ดังนั้น สิ่งที่เราต้องทำตอนนี้
-
6:35 - 6:37คือเอาภาพทั้งสองภาพ
-
6:37 - 6:39รวมกันในใจของเรา
-
6:39 - 6:42แบบนี้
-
6:42 - 6:46หกสิบสี่กลายเป็นหกพันสี่ร้อย
-
6:46 - 6:50และที่มุมขวามือ
-
6:50 - 6:52คุณไม่จำเป็นต้องคำนวณอะไร
-
6:52 - 6:54สี่แนวขวาง สี่บนและล่าง
-
6:54 - 6:57มันคือสิบหก
-
6:57 - 6:59ดังนั้น ผลลัพธ์จริงๆคือ
-
6:59 - 7:01คือสิบหก
-
7:01 - 7:04สิบหก สิบหก
-
7:04 - 7:06นั่นง่ายกว่า
-
7:06 - 7:09วิธีที่โรงเรียนสอนให้คุณคำนวณมากๆ ผมมั่นใจ
-
7:09 - 7:11มันคือ สิบหก สิบหก สิบหก สี่สิบแปด
-
7:11 - 7:13สี่พันแปดร้อย
-
7:13 - 7:15สี่พัน
-
7:15 - 7:18คำตอบของผลลัพธ์
-
7:18 - 7:20ง่าย เมื่อคุณรู้วิธีทำ
-
7:20 - 7:23เสียงหัวเราะ
-
7:23 - 7:26คำถามที่สองเป็นคำในภาษาไอซ์แลนด์
-
7:26 - 7:29ผมคะเนว่า ในที่นี้มีคนจำนวนไม่มาก
-
7:29 - 7:31ที่พูดภาษาไอซ์แลนด์
-
7:31 - 7:34ดังนั้น ผมจะลดตัวเลือกลงให้เหลือแค่สองตัวเลือกนะครับ
-
7:36 - 7:38Hnugginn
-
7:38 - 7:40คำนี้เป็นคำที่มีความสุข
-
7:40 - 7:42หรือเป็นคำที่เศร้าครับ
-
7:42 - 7:44คิดว่าเป็นคำประเภทไหนครับ
-
7:45 - 7:47เอาหล่ะ
-
7:47 - 7:49บางคนบอกว่ามันคือคำที่มีความสุข
-
7:49 - 7:51หลายคน, คนส่วนใหญ่,
-
7:51 - 7:53บอกว่าเศร้า
-
7:53 - 7:57และจริงๆแล้วมันแปลว่าเศร้าครับ
-
7:57 - 8:00เสียงหัวเราะ
-
8:00 - 8:03ทำไม ,ตามสถิติ,
-
8:03 - 8:05คนส่วนใหญ่
-
8:05 - 8:07บอกว่าคำนั้นคือเศร้า, ในกรณีนี้
-
8:07 - 8:10หรือหนัก ในกรนีอื่นๆ
-
8:10 - 8:13ตามทฤษฎีของผม ภาษาเกิดจากการที่
-
8:13 - 8:15เสียง
-
8:15 - 8:18สื่อสารโต้ตอบกันกับสิ่งทีี่อยู่ภายในจิตใจ
-
8:18 - 8:20เข้าคู่กับประสบการณ์เชิงสัญชาตญาณ
-
8:20 - 8:22ส่วนบุคคล
-
8:22 - 8:24ของผู้ฟัง
-
8:25 - 8:28มาดูคำถามที่สามกันครับ
-
8:29 - 8:32มันเป็นข้อความจากบทกวีของจอห์น คีธ
-
8:32 - 8:35คำต่างๆ เช่นเดียวกับตัวเลขต่างๆ
-
8:35 - 8:38แสดงถึงความสัมพันธ์เชิงพื้นฐาน
-
8:38 - 8:40ระหว่างวัตถุ
-
8:40 - 8:42กับเหตุการณ์ และพลัง
-
8:42 - 8:44ซึ่งสถาปนาโลกของเรา
-
8:44 - 8:47มันแสดงถึงเหตุผลที่พวกเราที่ยังมีชีวิตบนโลกใบนี้
-
8:47 - 8:49ควรดำเนินชีวิต
-
8:49 - 8:52และดูดซับความสัมพันธ์เหล่านั้นด้วยสัญชาตญาณ
-
8:52 - 8:55และนักกวี เช่นเดียวกับศิลปินอื่นๆ
-
8:55 - 8:58เล่นกับความเข้าใจด้วยสัญชาตญาณเหล่านั้น
-
8:58 - 9:01ในกรณีของ hare (กระต่ายป่า)
-
9:01 - 9:03มันเป็นความคลุมเคลือของเสียงในภาษาอังกฤษ
-
9:03 - 9:06มันสามารถหมายถึงเส้นใยที่เติบโตบนศีรษะ (เส้นผม)
-
9:06 - 9:08และถ้าเราคิดถึงสิ่งนั้น
-
9:08 - 9:10ผมขออนุญาตอธิบายด้วยรูปภาพ
-
9:10 - 9:13เส้นใยเหล่านั้น แสดงถึงความเปราะบาง
-
9:14 - 9:17มันบ่งบอกถึงการเครลื่อนไหวที่เล็กน้อยมากที่สุด
-
9:17 - 9:20หรือการเคลื่อนที่ หรืออารมณ์
-
9:20 - 9:24ดังนั้น สิ่งที่พวกคุณมีคือบรรยากาศ
-
9:24 - 9:26ของความเปราะบาง และการยึด
-
9:26 - 9:28กระต่ายป่าเอง สัตว์
-
9:28 - 9:31ไม่ใช่แมว ไม่มีสุนัข แต่เป็นกระต่ายป่า
-
9:31 - 9:33ทำไมต้องเป็นกระต่ายป่า?
-
9:33 - 9:35ให้คิดถึงรูปภาพครับ
-
9:35 - 9:37ไม่ใช่คำ นึกภาพครับ
-
9:37 - 9:39หูที่ยาวเกินไป
-
9:39 - 9:41เท้าที่ใหญ่เกินไป
-
9:41 - 9:44ช่วยให้เราจินตนาการ และช่วยให้รู้สึกโดยสัญชาตญาณ
-
9:44 - 9:47ถึงสิ่งที่ดำเนินไปอย่างเชื่องช้า
-
9:47 - 9:50และสื่งที่เป็นทุกข์
-
9:50 - 9:52ดังนั้น ในเวลาไม่กี่นาทีนี้
-
9:52 - 9:54ผมหวังว่าผมจะสามารถแบ่งปัน
-
9:54 - 9:57เสี้ยวเล็กๆของทรรศนะเกี่ยวกับสิ่งต่างๆของผม
-
9:57 - 10:00และแสดงแก่พวกคุณ
-
10:00 - 10:03ว่าคำต่างๆสามารถมีสีสันและอารมณ์
-
10:03 - 10:06ตัวเลข รูปร่าง และบุคลิกลักษณะต่างๆ
-
10:06 - 10:08โลกนั้นอุดมสมบูรณ์มากกว่า
-
10:08 - 10:10กว้างขวางกว่า
-
10:10 - 10:13ที่มันดูเหมือนจะเป็นอยู่บ่อยๆ
-
10:13 - 10:16ผมหวังว่าผมได้มอบความปรารถนา
-
10:16 - 10:19ในการเรียนรู้ที่จะมองโลกด้วยสายตาใหม่ๆแก่พวกคุณ
-
10:19 - 10:21ขอบคุณครับ
-
10:21 - 10:32(เสียงปรบมือ)
- Title:
- แดเนียล แทมเมต: วิธีต่างๆในการรู้
- Speaker:
- Daniel Tammet
- Description:
-
แดเนียล แทมเมตมีอาการซินเนสเตเซีย (synesthesia - ความรู้สึกที่บริเวณหนึ่งจากการกระตุ้นอีกบริเวณหนึ่ง) เชิงภาษา ตัวเลขและภาพ -- หมายความว่า การรับรู้(perception)คำ ตัวเลข และสีของเขาถูกถักทอเข้าด้วยกันและนำไปสู่การรับรู้ (perceiving)และเข้าใจโลกในรูปแบบใหม่ แทมเมต, ผู้เขียนหนังสือ "Born on a Blue Day", แบ่งปันศิลปะและความหลงใหลของเขาที่มีต่อภาษาในจิตใจที่สวยงาม
- Video Language:
- English
- Team:
closed TED
- Project:
- TEDTalks
- Duration:
- 10:33