-
-
-
ในวิดีโอนี้ผมอยากทำตัวอย่างการแยกตัวประกอบ
-
ของพหุนามดีกรีสอง, ซึ่งมัก
-
เรียกกันว่า พหุนามกำลังสอง (quadratic)
-
บางครั้งก็เรียกว่า quadratic polynomial หรือแค่
-
quadratic เฉยๆ, หรือพจน์ quadratic, แต่ทั้งหมด
-
นี่ก็คือพหุนามดีกรีสองนั่นเอง
-
มันคือมีตัวแปรยกกำลัง
-
สองนั่นเอง
-
ในกรณีนี้, ในตัวอย่างที่เราทำ, ตัวแปรนั้นคือ x
-
สมมุติว่าผมมีพจน์กำลังสอง, x
-
กำลังสองบวก 10x, บวก 9
-
และผมอยากแยกมันเป็นผลคูณของทวินามสองตัว
-
เราจะทำยังไง?
-
ลองคิดดูว่าเกิดอะไรขึ้นเมื่อเรา
-
เอา x บวก a มาคูณกับ x บวก b
-
ถ้าเราคูณสองตัวนี้เข้าด้วยกัน, จะเกิดอะไรขึ้น?
-
ทีนี้, เราเคยทำของแบบนี้มานิดหน่อยแล้ว
-
นี่ก็คือ x คูณ x, เท่ากับ x กำลังสอง, บวก x คูณ b,
-
ก็คือ bx, บวก a คูณ x, บวก a คูณ b -- บวก ab
-
หรือถ้าเราอยากรวมสองเทอมตรงกลางนี้,
-
เพราะมันเป็นสัมประสิทธิ์ของ x ทั้งคู่
-
เราก็เขียนนี่เป็น x กำลังสองบวก -- ผมเขียนมันว่า
-
b บวก a, หรือ a บวก b, x บวก ab
-
โดยทั่วไปแล้ว, ถ้าเราถือว่านี่คือผลคูณ
-
ของทวินามสองตัว, เราจะเห็นว่าเทอมตรงกลาง
-
เทอม x, หรือคุณอยากบอกว่าสัมประสิทธิ์ดีกรีหนึ่ง
-
ตรงนี้, มันคือผลรวมของ a กับ b
-
แล้วเทอมค่าคงที่ จะเป้นผลคูณ
-
ของ a กับ b
-
สังเกตว่า, นี่โยงหาอันนี้, และอันนี้
-
ตรงกับอันนี้
-
และ, แน่นอนว่านี่เท่ากับอันนี้
-
แล้วเราจะจับคู่รูปแบบเจ้านี่กับเจ้านั่นได้ไหม?
-
มันมี a กับ b ที่ a บวก b เท่ากับ 10?
-
แล้ว a คูณ b เท่ากับ 9 ไหม?
-
ทีนี้, ลองคิดกันสักหน่อย
-
ตัวประกอบของ 9 มีอะไรบ้าง?
-
a กับ b เท่ากับอะไรได้บ้าง?
-
เราสมมุติว่าทุกอย่างเป็นจำนวนเต็ม
-
โดยทั่วไปแล้ว, ตอนเราแยกตัวประกอบ, ยิ่งตอนเรา
-
เริ่มแยก, เรามักจะใช้
-
จำนวนเต็ม
-
แล้วตัวประกอบของ 9 มีอะไรบ้าง?
-
มันได้แก่ 1,3 และ 9
-
แล้วนี่ก็อาจเป็น 3 กับ 3, หรือมันอาจเป็น 1 กับ 9
-
ทีนี้, ถ้ามันเป็น 3 กับ 3, แล้วคุณมี 3 บวก 3 -- นั่น
-
ไม่เท่ากับ 10
-
แต่ถ้ามันเป็น 1 กับ 9, 1 คูณ 9 ได้ 9
-
1 บวก 9 ได้ 10
-
มันใช้ได้เลย
-
ดังนั้น a เป็น 1, และ b เป็น 9
-
เราก็แยกตัวประกอบนี่ได้เป็น x บวก 1,
-
คูณ x บวก 9
-
และถ้าคุณคูณสองตัวนี้ออกมา, ใช้หลักที่
-
เราทำไปในวิดีโอก่อนๆ, คุณจะเห็นว่ามัน
-
คือ x กำลังสองบวก 10x, บวก 9 จริงๆ
-
ดังนั้นเวลาคุณเห็นอะไรแบบนี้, เมื่อสัมประสิทธิ์
-
ของเทอม x กำลังสอง, หรือสัมประสิทธิ์ตัวนำพหุนาม
-
กำลังสองเกป็น 1, คุณก็บอกว่า, เอาล่ะ, เลข
-
สองตัวไหนบวกกันเท่ากับสัมประสิทธิ์นี่ตรงนี้?
-
-
-
แล้วเลขสองตัวเดิม, ตอนคุณเอามาคูณกัน,
-
ต้องเท่ากับ 9
-
และแน่นอน, นี่ต้องอยู่ในรูปมาตรฐาน
-
หรือถ้ามันไม่อยู่ในรูปมาตรฐาน, คุณก็ควรทำให้
-
อยู่ในรูปนั้น, แล้วคุณก็บอกได้ว่า, โอเค, ไม่ว่า
-
สัมประสิทธิ์ดีกรีหนึ่งจะเป็นอะไร, a กับ b
-
ต้องรวมกันได้เท่านั้น
-
และไม่ว่าเทอมค่าคงที่จะเป็นอะไร, a กับ b, ผลคูณ
-
ต้องเท่ากับค่านั้น
-
ลองทำตัวอย่างอีกดีกว่า
-
ผมว่ายิ่งเราทำตัวอย่างมากเท่าไหร่ เรายิ่ง
-
เข้าใจมันมากขึ้นเท่านั้น
-
สมมุติว่าเรามี x กำลังสองบวก 10x, บวก -- เอาล่ะ, ผมทำ
-
10x ไปแล้ว, ลองเลขอื่นบ้างดีกว่า -- x กำลังสอง
-
บวก 15x, บวก 50
-
และเราต้องแยกตัวประกอบเจ้านี่
-
ทำเหมือนเดิมเลย
-
เรามีเทอม x กำลังสอง
-
เรามีเทอมดีกรีหนึ่ง
-
นี่ตรงนี้ควรเท่ากับผลรวมของเลขสองตัว
-
แล้วเทอมนี้, เทอมค่าคงที่ตรงนี้,
-
ควรเท่ากับผลคูณของเลขสองตัว
-
เราเลยต้องหาเลขสองตัวที่, ถ้าผมคูณ
-
มันด้วยกันผมจะได้ 50, และถ้าผมบวกมันเข้าด้วยกัน, ผมได้ 15
-
และนี่เป็นเหมือนศิลปะที่คุณต้อง
-
ฝึกฝน, แต่ยิ่งคุณฝึกมากเท่าไหร่, คุณจะเห็น
-
ว่ามันเริ่มเป็นไปเองโดยธรรมชาติ
-
แล้ว a กับ b เป็นอะไรบ้าง?
-
ลองคิดถึงตัวประกอบของ 50 กัน
-
มันอาจเป็น 1 คูณ 50
-
2 คูณ 25
-
ลองดู 4 หาร 50 ไม่ลงตัว
-
มันเป็น 5 กับ 10 ก็ได้
-
ผมว่ามีแค่นั้นแหละ
-
ลองเลขพวกนี้ดู, แล้วดูว่าคู่ไหน
-
รวมกันได้ 15
-
ทีนี้ 1 บวก 50 รวมกันไม่เท่ากับ 15
-
2 บวก 25 ก็ไม่เท่ากับ 15
-
แต่ 5 บวก 10 รวมกันได้ 15 พอดี
-
นี่ก็เป็น 5 บวก 10, และนี่ก็เป็น 5 คูณ 10
-
แล้วถ้าเราแยกตัวนี้ออกมา, นี่จะเท่ากับ x บวก
-
5, คูณ x บวก 10
-
แล้วลองคูณออกมา
-
ผมแนะนำให้คุณลองคูณนี่ออกมา, แล้วดูว่านี่
-
เท่ากับ x กำลังสองบวก 15x, บวก 10 จริงไหม
-
ที่จริง, ลองทำดูดีกว่า x คูณ x, x กำลังสอง x
-
คูณ 10, บวก 10x
-
5 คูณ x, บวก 5x
-
5 คูณ 10, บวก 50
-
สังเกตว่า 5 คูณ 10 ให้ 50 เรามา
-
แล้ว 5x บวก 10x จะให้ 15x ตรงกล่าง
-
มันก็คือ x กำลังสองบวก 15x, บวก 50
-
ลองดเพิ่มระดับขึ้นอีกหน่อย, ลองดู
-
เทอมลบตรงนี้บ้าง
-
สมมุติผมมี x กำลังสองลบ 11x, บวก 24
-
ตรงนี้, หลักการเหมือนเดิมเป๊ะ
-
ผมต้องคิดเลขขึ้นมาสองตัว, เวลาผมบวกพวกมัน
-
ต้องได้เท่ากับลบ 11
-
a บวก b ต้องเท่ากับลบ 11
-
และ a คูณ b ต้องเท่ากับ 24
-
ทีนี้, มีสิ่งที่คุณต้องคิดอยู่
-
เวลาผมคูณเลขสองตัวเข้า, ผมจะได้
-
จำนวนบวก
-
ผมจะได้ 24
-
นั่นหมายความว่าทั้งคู่ต้องเป็นบวก, หรือทั้งคู่
-
ต้องเป็นลบ
-
นั่นคือวิธีเดียวที่ผมจะได้เลขบวกตรงนี้
-
ทีนี้, ถ้าผมบวกมันเข้า, ผมจะได้ค่าลบ, ถ้า
-
สองตัวเป็นบวก, มันไม่มีทางที่ผมจะบวกจำนวบวกสองตัว
-
แล้วได้จำนวนลบ, ดังนั้น จากความจริงที่ว่าผลบวกเป็นลบ
-
และความจริงที่ว่าผลคูณเป็นบวก,
-
ทำให้ผมรู้ว่า a กับ b เป็นลบ
-
a กับ b ต้องเป็นลบ
-
จำไว้, ตัวหนึ่งเป็นลบและอีกตัว
-
เป็นบวกไม่ได้, เพราะผลคูณจะกลายเป็นลบแทน
-
พวกมันเป็นบวกพร้อมกันไม่ได้, เพราะเมื่อคุณรวม
-
มันเข้าคุณจะได้ค่าบวกแทน
-
ลองคิดกันว่า a เป็น b เป็นอะไรได้
-
จำนวนลบ 2 ตัว
-
ลองคิดถึงตัวประกอบของ 24 ก่อน
-
แล้วเราค่อยคิดถึงตัวร่วมที่เป็นลบ
-
ลองดูกัน, มันอาจเป็น 1 คูณ 24, 2 คูณ 11, 3 คูณ
-
8, หรือ 4 คูณ 6
-
ทีนี้, เวลาผมพูดเจ้าพวกนี้ -- เอาล่ะ,
-
แน่นอนเวลาผมคูณ 1 กับ 24, ผมได้ 24
-
เมื่อผมคูณ 2 กับ 11 -- โทษที, นี่คือ 2 คูณ 12
-
ผมได้ 24
-
ผมก้รู้ว่าพวกนี้คูณกันได้ 24 ทั้งหมด
-
แต่คู่ไหนในนี้, เมื่อผมรวมมันเข้า,
-
จะได้ 11?
-
แล้วเราก็บอกว่า, ลองใส่
-
เครื่องหมายให้ทั้งคู่
-
ทีนี้เมื่อคุณดูเลขพวกนี้, 3 กับ 8 กระโดดออกมา
-
3 คูณ 8 เท่ากับ 24
-
3 บวก 8 เท่ากับ 11
-
แต่มันยังใช้ไม่ได้, จริงไหม?
-
เพราะเรามีลบ 11 ตรงนี้
-
แต่ถ้าเกิดเราใช้ลบ 3 กับ ลบ 8 ล่ะ?
-
ลบ 3 คูณลบ 8 เท่ากับ บวก 24
-
ลบ 3 บวก ลบ 8 เท่ากับลบ 11
-
ดังนั้ันลบ 3 กับ ลบ 8 ใช้ได้
-
แล้วถ้าเราแยกตัวประกอบเจ้านี่, x กำลังสองลบ 11x, บวก 24
-
จะเท่ากับ x ลบ 3, คูณ x ลบ 8
-
ลองทำแบบนั้นอีกข้อดู
-
ที่จริง, ขอผมผสมหน่อย
-
สมมุติว่าผมมี x กำลังสองบวก 5x, ลบ 14
-
ตรงนี้มีผมมีสถานการณ์ต่างออกไป
-
ผลคูณของเลขสองตัวผมเป็นลบ, จริงไหม? a คูณ b
-
เท่ากับลบ 14
-
ผลคูณผมเป็นลบ
-
นั่นบอกผมว่าตัวหนึ่งเป็นบวก, ส่วนอีกตัว
-
เป็นลบ
-
และเมื่อผมบวกสองตัวเข้าด้วยกัน, a บวก b, มันจะเท่ากับ 5
-
ลองคิดถึงตัวประกอบของ 14 ดู
-
คู่ไหนที่เวลาผมบวกมันเข้า, ถ้าตัวหนึ่ง
-
เป็นบวกและอีกตัวเป็นลบ, มันก็เหมือนผม
-
หาผลต่างของเลขสองตัว, แล้วได้ 5?
-
งั้นถ้าผมเอา 1 กับ 14 มา -- ผมแค่ลองไปเรื่อย --
-
1 กับ 14, ลบ 1 บวก 14 ได้ลบ 13
-
ลบ 1 บวก 14 ได้ 13
-
ขอผมเขียนรูปแบบที่เป็นไปได้ทั้งหมดนะ
-
แล้วสุดท้ายสมองคุณจะเข้าหามันได้
-
ทีนี้คุณได้ลบ 1 บวก 14 เท่ากับ 13
-
กับ 1 บวก ลบ 14 เท่ากับลบ 13
-
พวกนี้ใช้ไม่ได้
-
มันไม่เท่ากับ 5
-
แล้ว 2 กับ 7 ล่ะ?
-
ถ้าผมใช้ลบ 2 -- ขอผมใช้อีกสีนะ -- ถ้า
-
ผมทำลบ 2 บวก 7, นี่จะเท่ากับ 5
-
เสร็จแล้ว!
-
มันใช้ได้!
-
ผมหมารยความว่า, เราลอง 2 บวกลบ 7 ก็ได้, แต่มันจะ
-
เท่ากับลบ 5, มันเลยใช้ไม่ได้
-
แต่ลบ 2 บวก 7 นั้นใช้ได้
-
และลบ 2 คูณ 7 เท่ากับลบ 14
-
เราเลยได้คำตอบมา
-
เรารู้ว่ามันคือ x ลบ 2, คูณ x บวก 7
-
มันเจ๋งดี
-
ลบ 2 คูณ 7 ได้ลบ 14
-
ลบ 2 บวก 7 ได้ลบ 5
-
-
-
ลองทำตัวอย่างอีก, จะได้ฝึก
-
ทักษะให้เฉียบคม
-
สมมุติว่าเรามี x กำลังสองลบ x, ลบ 56
-
ผลคูณของเลขทั้งสองต้องเป็นลบ 56,
-
ต้องเท่ากับลบ 56
-
และผลต่าง, เนื่องจากตัวหนึ่งต้องเป็นบวก,
-
และตัวหนึ่งต้องเป็นลบ, จริงไหม?
-
ผลต่างของมันต้องเป็นลบ 1
-
แล้วตัวเลขที่โผล่ขึ้นมาในหัวผม
-
-- ผมไม่รู้ว่ามันโผล่ขึ้นมาให้หัวคุณหรือเปล่า,
-
แต่เราเพิ่งเรียนไปในสูตรคูณ --
-
ว่า 56 คือ 8 คูณ 7
-
ที่จริง, มันมีเลขคู่อื่นด้วย
-
มันยังเท่ากับ 28 คูณ 2
-
ทั้งหลายทั้งปวง
-
แต่ 8 คูณ 7 โผล่มาในหัวผมเลย, เพราะเลขสองตัว
-
มีค่าใกล้เคียงกัน
-
และเราอยากได้เลขที่ใกล้เคียงกัน
-
ตัวหนึ่งต้องเป็นบวก, และตัวหนึ่งต้อง
-
เป็นลบ
-
ทีนี้, ความจริงที่ว่าผลบวกเป็นลบ, บอกเราว่า
-
เลขที่โตกว่าควรเป็นลบ
-
ดังนั้นถ้าเราเอา ลบ 8 คูณ 7, มัน
-
จะเท่ากับลบ 56
-
แล้วถ้าเราเอาลบ 8 บวก 7 มา, มันจะเท่ากับ
-
ลบ 1, ซึ่งเท่ากับสัมประสิทธิ์ตรงนี้เป๊ะ
-
แล้วเมื่อผมแยกตัวประกอบเจ้านี่, นี่จะเป็น x ลบ 8,
-
คูณ x บวก 7
-
นี่มักเป็นหลักที่ยากที่สุดอย่างหนึ่งเวลาคน
-
เรียนพีชคณิต, เพราะมันใช้ศิลปะนิดหน่อย
-
คุณต้องดูตัวประกอบทั้งหมดนี้, เล่นกับ
-
เครื่องหมายบวกลบ, ดูว่าตัวประกอบคู่ไหน
-
ตัวหนึ่งเป็นบวก, ตัวหนึ่งเป็นลบ, แล้วรวม
-
กันเป็นสัมประสิทธิ์หน้าเทอม x
-
แต่เมื่อคุณทำแบบฝึกหัดมากขึ้นเรื่อยๆ, คุณจะเห็น
-
ว่ามันกลายเป็นสัญชาตญาณไป
-
ทีนี้ลองทำโจทย์ยากขึ้นอีก
-
สมมุติเรามีลบ x กำลังสอง -- ทุกอย่างที่
-
เราทำไปสัมประสิทธิ์เป็นบวก, บวก 1
-
ตรงเทอม x กำลังสอง
-
แต่สมมุติว่าเรามี ลบ x กำลังสอง
-
ลบ 5x, บวก 24
-
เราจะทำยังไง?
-
ทีนี้, วิธีคิดที่ผมว่าง่ายที่สุดคือแยก
-
ลบ 1 ออกมา, แล้วมันก็จะกลายเป็นโจทย์
-
ที่เราเคยทำมา
-
แล้วนี่ก็เหมือนกับลบ 1 คูณ บวก x
-
กำลังสอง, บวก 5x, ลบ 24
-
จริงไหม?
-
ผมแค่ดึงลบ 1 ออกมา
-
คุณคูณลบ 1 เข้าไปให้ทั้งหมดนี้, แล้วคุณ
-
จะได้เห็นนี่ออกมา
-
หรือคุณอาจแยกลบ 1 ออกมาแล้วหาร
-
ตลอดด้วยลบ 1 ก็ได้
-
แล้วก็คุณได้ตรงนี้มา
-
เหมือนกับที่เคยเล่นกันมา
-
ผมอยากได้เลขสองตัว, โดยที่ผมหาผลคูณแล้ว
-
จะได้ ลบ 24
-
ตัวหนึ่งจึงเป็นบวก, อีกตัวจะเป็นลบ
-
-
-
เมื่อผมหาผลรวม, มันจะเท่ากับ 5
-
ลองคิดถึง 24 กัน มันคือ 1 คูณ 24
-
ลองดู, ถ้านี่คือลบ 1 กับ 24, มันจะได้บวก 23,
-
ถ้ากลับกัน, มันจะเป็นลบ 23
-
ใช้ไม่ได้
-
แล้ว 2 กับ 12 ล่ะ?
-
ทีนี้, ถ้านี่เป็นลบ -- จำไว้, ตัวหนึ่งต้อง
-
เป็นลบ
-
ถ้า 2 เป็นลบ, ผลรวมจะเป็น 10
-
ถ้า 12 เป็นลบ, ผมรวมจะเป็นลบ 10
-
ยังใช้ไม่ได้
-
3 กับ 8
-
ถ้า 3 เป็นลบ, ผลคูณจะป็น 5
-
แล้วมันใช้ได้!
-
ดังนั้นถ้าเราเลือกลบ 3 กับ 8, ลบ 3 กับ 8 ใช้ได้
-
เพราะลบ 3 บวก 8 เป็น 5
-
ลบ 3 คูณ 8 เท่ากับลบ 24
-
นี่ก็จะเท่ากับ -- อย่าลืม
-
ลบ 1 ข้างหน้าด้วย, แล้วเราก็แยกตัวประกอบข้างใน
-
ลบ 1 คูณ x ลบ 3, คูณ x บวก 8
-
แล้วถ้าคุณอยากทำ, คุณก็คูณ
-
ลบ 1 กับเจ้านี่, แล้วคุณจะได้ 3
-
ลบ x ถ้าทำดู
-
หรือคุณไม่ต้องทำก็ได้
-
-
-
ลองทำอีก
-
ยิ่งทำยิ่งดีนะผมว่า
-
เอาล่ะ, สมมุติว่าผมมี ลบ x กำลังสอง
-
บวก 18x, ลบ 72
-
เหมือนเดิม, ผมอยากดึงลบ 1 ออกมาก่อน
-
นี่ก็จะเท่ากับลบ 1 คูณ x กำลังสอง,
-
ลบ 18x, บวก 72
-
ทีนี้เราต้องคิดเลขสองตัว, เมื่อผม
-
คูณพวกมัน, ผมจะได้บวก 72
-
พวกมันเลยต้องมีเครื่องหมายเหมือนกัน
-
และมันทำให้คิดในใจได้ง่าย, อย่างน้อยก็ในใจผม
-
เมื่อผมคูณพวกมัน, ผมจะได้บวก 72
-
และถ้านำมารวมกัน, ผมจะได้ลบ 18
-
ดังนั้นมันมีเครื่องหมายเหมือนกัน, และผลรวมเป็น
-
จำนวนลบ, พวกมันต้องเป็นลบทั้งคู่
-
-
-
และเราก็ลองหาตัวประกอบของ 72
-
แต่อันที่โผล่ขึ้นมาก่อนใคร, บางทีคุณอาจคิดถึง 8 คูณ 9,
-
แต่ 8 คูณ 9, หรือลบ 8 ลบ 9, หรือลบ 8 บวก
-
ลบ 9, ใช้ไม่ได้
-
มันกลายเป็น 17
-
เกือบแล้ว
-
ขอผมทำให้ดูนะ
-
ลบ 9 บวกลบ 8, นั่นเท่ากับลบ 17
-
ใกล้, แต่ยังไม่ใช่
-
แล้วมีอีกไหม?
-
เรามี 6 กับ 12
-
นั่นดูใช้ได้อยู่นะ
-
ถ้าเรามีลบ 6 บวกลบ 12, นั่นะจ
-
เท่ากับลบ 18
-
เห็นไหม, มันเป็นศิลปะนิดหน่อย
-
คุณต้องลองตัวประกอบหลายๆ แบบ
-
แล้วนี่ก็กลายเป็นลบ 1 -- ผมต้องไม่ลืม
-
มันด้วย -- คูณ x ลบ 6, คูณ x ลบ 12
-
-