Return to Video

การนอนหลับส่งผลต่ออารมณ์ของคุณอย่างไร

  • 0:00 - 0:05
    จริง ๆ แล้วการนอนไม่เพียงพอ
    ส่งผลต่อสมองส่วนอารมณ์ของเราอย่างไร
  • 0:05 - 0:07
    ทำไมการนอนไม่พอถึงทำให้เรา
  • 0:07 - 0:11
    มีอารมณ์อย่างไร้เหตุผล
    และมีปฏิกิริยาที่เกินพอดี
  • 0:12 - 0:14
    [การนอนหลับกับวิทยาศาสตร์]
  • 0:16 - 0:20
    หลายปีก่อน เราทำการศึกษาภาพถ่ายของสมอง
  • 0:20 - 0:22
    เรานำกลุ่มผู้ใหญ่ที่มีสุขภาพดี
  • 0:22 - 0:25
    และเราก็ให้พวกเขา
    นอนหลับเต็มอิ่มทั้งคืน
  • 0:25 - 0:27
    หรือไม่ก็ให้พวกเขาอดหลับอดนอน
  • 0:27 - 0:31
    จากนั้นวันรุ่งขึ้น
    เรานำพวกเขาเข้าเครื่องสแกน MRI
  • 0:31 - 0:35
    เราดูว่าสมองส่วนอารมณ์มีปฏิกิริยาอย่างไร
  • 0:35 - 0:38
    และเราสนใจไปที่โครงสร้างส่วนหนึ่งโดยเฉพาะ
  • 0:38 - 0:40
    มันเรียกว่า อะมิกดะลา (Amygdala)
  • 0:40 - 0:43
    อะมิกดะลาเป็นหนึ่งในส่วนของสมองที่สำคัญ
  • 0:43 - 0:47
    ที่สร้างปฏิกิริยาทางอารมณ์ที่รุนแรง
  • 0:48 - 0:50
    รวมไปถึงปฏิกิริยาทางอารมณ์เชิงลบด้วย
  • 0:51 - 0:54
    เมื่อเราดูคนที่ได้นอนหลับเต็มอิ่ม
  • 0:54 - 0:59
    สิ่งเราเห็นคือระดับที่ดีและเหมาะสม
  • 0:59 - 1:02
    ของปฏิกิริยาจากอะมิกดะลา
  • 1:02 - 1:04
    ไม่ใช่ว่ามันไม่มีปฏิกิริยาอะไรเลย
  • 1:04 - 1:07
    แต่มันเป็นระดับที่พอเหมาะ
  • 1:07 - 1:09
    แต่ในกลุ่มคนที่อดนอน
  • 1:09 - 1:14
    ศูนย์กลางของสมองส่วนอารมณ์ที่อยู่ลึกลงไป
    จะทำงานอย่างหนัก
  • 1:15 - 1:19
    จริง ๆ แล้ว อะมิกดะลาจะตอบสนอง
    มากขึ้นเกือบร้อยละ 60
  • 1:19 - 1:22
    ภายใต้สภาวะการนอนน้อย
  • 1:22 - 1:24
    แต่ทำไมถึงเป็นเช่นนั้น
  • 1:25 - 1:26
    สิ่งที่เราค้นพบต่อมา
  • 1:26 - 1:30
    คือมีสมองอีกส่วนหนึ่งที่มาเกี่ยวข้อง
  • 1:30 - 1:34
    สมองส่วนนั้นเรียกว่า
    คอร์เทกซ์กลีบหน้าผากส่วนหน้า
  • 1:34 - 1:36
    ซึ่งอยู่ด้านบนดวงตาของคุณ
  • 1:36 - 1:39
    คุณอาจจะคิดถึง
    คอร์เทกซ์กลีบหน้าผากส่วนหน้า
  • 1:39 - 1:42
    ว่าเป็นเหมือนผู้บริหารของสมอง
  • 1:42 - 1:45
    มันเก่งมาก ๆ ในการตัดสินใจและการตอบสนอง
  • 1:46 - 1:48
    แบบชั้นสูง แบบผู้บริหาร
    และแบบควบคุมจากบนลงล่าง
  • 1:49 - 1:53
    ความจริงแล้ว มันคือส่วนของสมอง
    ที่มีพัฒนาการมากที่สุด
  • 1:53 - 1:56
    และส่วนหนึ่งของสมองที่มันควบคุม
  • 1:56 - 2:00
    คือศูนย์กลางด้านอารมณ์ที่อยู่ลึกลงไป
    หรืออะมิกดะลา
  • 2:00 - 2:03
    สำหรับคนที่ได้นอนหลับเต็มอิ่มตลอดคืน
  • 2:03 - 2:06
    จะเกิดการสื่อสารและการเชื่อมโยง
    ที่ดีและทรงพลัง
  • 2:06 - 2:08
    ระหว่างคอร์เทกซ์กลีบหน้าผากส่วนหน้า
  • 2:08 - 2:12
    ควบคุมการทำงานของ
    ศูนย์กลางสมองส่วนอารมณ์ที่อยู่ลึก
  • 2:12 - 2:14
    แต่สำหรับคนที่อดหลับอดนอน
  • 2:14 - 2:18
    การสื่อสารและการเชื่อมโยง
    ระหว่างคอร์เทกซ์กลีบหน้าผากส่วนหน้า
  • 2:18 - 2:21
    และศูนย์กลางของอะมิกดะลาที่อยู่ลึกลงไป
  • 2:21 - 2:23
    จะถูกตัดขาดจากกัน
  • 2:23 - 2:25
    ผลลัพธ์ก็คือ
  • 2:25 - 2:28
    อะมิกดะลาจะตอบสนอง
    ในเชิงตอบโต้มากขึ้น
  • 2:28 - 2:30
    เพราะการนอนไม่เพียงพอ
  • 2:30 - 2:32
    มันเหมือนกับว่าถ้าไม่ได้นอน
  • 2:32 - 2:36
    เราจะกลายเป็นคนที่
    เหยียบคันเร่งของอารมณ์อยู่ตลอด
  • 2:36 - 2:39
    และเหยียบเบรกควบคุมน้อยเกินไป
  • 2:39 - 2:43
    และนั่นเหมือนจะเป็นเหตุผล
    ที่เราไม่ระวัดระวัง
  • 2:43 - 2:46
    ในแง่ของ
    ความสมบูรณ์พร้อมทางอารมณ์ของเรา
  • 2:46 - 2:48
    เมื่อเรานอนหลับไม่เพียงพอ
  • 2:48 - 2:51
    นั่นคือข้อเสียที่เกิดขึ้น
  • 2:51 - 2:53
    ถ้าผมห้ามไม่ให้คุณนอน
  • 2:53 - 2:55
    แต่กลายเป็นว่า
  • 2:55 - 2:57
    จะมีข้อดีเกิดขึ้น
  • 2:57 - 2:59
    เมื่อคุณสามารถกลับไปนอนเต็มอิ่มได้
  • 2:59 - 3:02
    การนอน โดยเฉพาะการนอนหลับ
    ที่ร่างกายกลอกตาอย่างเร็ว
  • 3:02 - 3:07
    เป็นเหมือนตัวปฐมพยาบาลอารมณ์
  • 3:07 - 3:09
    เพราะระหว่างการนอนหลับ
  • 3:09 - 3:13
    เราจะเอาประสบการณ์ทางอารมณ์ที่หนักหน่วง
  • 3:13 - 3:15
    ที่เราได้รับในระหว่างวัน
  • 3:15 - 3:19
    และการนอนทำหน้าที่เหมือน
    ยาหม่องที่ช่วยผ่อนคลายยามค่ำคืน
  • 3:19 - 3:23
    เกลาอารมณ์เชิงลบ
    ออกจากประสบการณ์ที่หนักหน่วงนั้น
  • 3:24 - 3:29
    ดังนั้น บางทีอาจไม่ใช่ "เวลา"
    ที่รักษาทุกสิ่ง
  • 3:29 - 3:35
    แต่เป็น "เวลาช่วงนอนหลับ"
    ที่เป็นตัวช่วยพักฟื้นทางอารมณ์
  • 3:35 - 3:37
    และเมื่อเราตื่นขึ้นมาในอีกวัน
  • 3:37 - 3:40
    เราก็จะสามารถจัดการกับ
    ความทรงจำทางอารมณ์เหล่านั้นได้
Title:
การนอนหลับส่งผลต่ออารมณ์ของคุณอย่างไร
Speaker:
แมตต์ วอล์คเกอร์
Description:

ไม่ใช่แค่ในจินตนาการของคุณ​ คุณจะหงุดหงิดง่ายขึ้นเมื่อคุณนอนน้อย นักวิทยาศาสตร์ด้านการนอน แมตต์ วอล์คเกอร์ อธิบายถึงผลกระทบของการนอนหลับที่มีต่อศูนย์อารมณ์ในสมอง และทำไมเราถึงสามารถมองการนอนหลับว่าเป็นตัวช่วยปฐมพยาบาลความรู้สึกของเราได้

more » « less
Video Language:
English
Team:
closed TED
Project:
TED Series
Duration:
03:40
Sakunphat Jirawuthitanant approved Thai subtitles for How sleep affects your emotions
Sakunphat Jirawuthitanant edited Thai subtitles for How sleep affects your emotions
Ajarn Jimmy Tangjaitrong accepted Thai subtitles for How sleep affects your emotions
Ajarn Jimmy Tangjaitrong edited Thai subtitles for How sleep affects your emotions
Ajarn Jimmy Tangjaitrong edited Thai subtitles for How sleep affects your emotions
Ajarn Jimmy Tangjaitrong edited Thai subtitles for How sleep affects your emotions
Dollaya Piumsuwan edited Thai subtitles for How sleep affects your emotions
Dollaya Piumsuwan edited Thai subtitles for How sleep affects your emotions
Show all

Thai subtitles

Revisions