< Return to Video

จะทำให้สิ่งที่สำคัญสำหรับคุณดีขึ้นได้อย่างไร

  • 0:01 - 0:05
    พวกเราส่วนใหญ่ พยายามทำให้ดีที่สุด
    ไม่ว่าทำอะไรในชีวิต
  • 0:05 - 0:07
    ไม่ว่าจะเป็นการงาน ครอบครัว โรงเรียน
  • 0:07 - 0:09
    หรือสิ่งอื่นใด
  • 0:09 - 0:11
    ผมก็เหมือนกัน พยายามทำให้ดีที่สุด
  • 0:12 - 0:15
    แต่เมื่อจุดหนึ่งในอดีต ผมก็รู้สึกตัวว่า
  • 0:15 - 0:19
    ผมไม่ได้ดีขึ้นเท่าไหร่
    ในเรื่องที่ผมใส่ใจมากที่สุด
  • 0:19 - 0:22
    ไม่ว่าจะเป็นเรื่อง การเป็นสามี
    หรือการเป็นเพื่อน
  • 0:22 - 0:24
    หรือการทำงาน
    หรือการเป็นเพื่อนร่วมงาน
  • 0:24 - 0:26
    ผมไม่ได้ทำหน้าที่เหล่านั้นได้ดีขึ้น
  • 0:26 - 0:29
    แม้ว่าผมจะให้เวลากับมันไปมาก
  • 0:29 - 0:30
    ทุ่มเทไปมากกับมัน
  • 0:31 - 0:35
    ตั้งแต่นั้นมา ผมก็เริ่มเข้าใจ
    จากการที่ได้พูดคุย และจากงานวิจัยว่า
  • 0:35 - 0:37
    ภาวะที่ไม่คืบหน้า แม้ว่าจะทุ่มเทให้มันนี้
  • 0:37 - 0:39
    กลายเป็นเรื่องที่ธรรมดามาก ๆ
  • 0:39 - 0:42
    ผมจึงอยากแบ่งปัน ถึงข้อมูลเชิงลึก
    ว่าทำไมจึงเป็นอย่างนั้น
  • 0:42 - 0:43
    และเราแก้ไขมันได้ยังไง
  • 0:44 - 0:47
    ผมได้เรียนรู้ว่า
    ผู้คนและทีมงานใด ๆ ก็ตาม
  • 0:47 - 0:49
    ที่มีประสิทธิภาพสูงสุด
  • 0:49 - 0:50
    ทำสิ่งที่ เราทุกคนทำตามได้
  • 0:51 - 0:55
    พวกเขาดำเนินชีวิต อย่างสุขุมรอบคอบ
    สลับกันไปมาระหว่างสองโซน คือ
  • 0:55 - 0:57
    โซนการเรียนรู้ และโซนการทำงาน (การแสดง)
  • 0:58 - 1:01
    โซนการเรียนรู้ คือ
    ถ้าเราอยากพัฒนาอะไรอย่างหนึ่ง
  • 1:01 - 1:04
    เราก็ทำกิจกรรมที่ได้ออกแบบไว้
    สำหรับการปรับปรุงให้ดีขึ้น
  • 1:04 - 1:06
    เพ่งไปที่สิ่งที่
    เรายังไม่ได้รู้อย่างละเอียด
  • 1:06 - 1:09
    ซึ่งหมายความว่า เราต้องคาดหมาย
    ในเรื่องการทำผิดพลาด
  • 1:09 - 1:11
    โดยรู้ว่า เราจะเรียนรู้ได้จากมัน
  • 1:11 - 1:15
    สิ่งนั้นต่างกัน จากสิ่งที่เราทำ
    ตอนที่เราอยู่ใน โซนการกระทำของเรา
  • 1:15 - 1:19
    ซึ่งก็คือ เมื่อเป้าหมายของเราคือทำให้ดี
    ที่สุดเท่าที่จะทำได้ หรือเพื่อปฏิบัติงาน
  • 1:19 - 1:22
    แล้วเราก็เพ่งความสนใจไปที่
    สิ่งที่เรารู้อย่างละเอียดแล้ว
  • 1:22 - 1:24
    และพยายามให้มีความผิดพลาดน้อยที่สุด
  • 1:25 - 1:27
    โซนทั้งสองนี้
    ควรเป็นส่วนหนึ่งของชีวิตเรา
  • 1:27 - 1:31
    แต่แบ่งชัดเจนว่า
    เราต้องการจะอยู่ในโซนไหนเมื่อใด
  • 1:31 - 1:33
    พร้อมกับเป้าหมาย จุดสำคัญ
    และความคาดหมายอะไร
  • 1:33 - 1:36
    มันจะช่วยให้เราทำงานได้ดีขึ้น
    และปรับปรุงได้ดีขึ้น
  • 1:36 - 1:39
    โซนการทำงานนั้น
    ทำให้การทำงานของเราในตอนนี้ถึงจุดสูงสุด
  • 1:39 - 1:41
    ขณะที่ โซนการเรียนรู้ทำให้การเติบโตและ
  • 1:41 - 1:42
    การทำงานในอนาคตถึงขีดสูงสุด
  • 1:43 - 1:45
    เหตุที่เราหลายคนไม่ได้ปรับปรุงได้มากนัก
  • 1:45 - 1:47
    แม้งานของเราจะหนักแล้วก็ตาม
  • 1:47 - 1:51
    สาเหตุก็คือ เรามักจะใช้เวลาเกือบทั้งหมด
    อยู่ในโซนการทำงาน
  • 1:52 - 1:53
    มันฉุดการเติบโตของเรา
  • 1:53 - 1:56
    และก็น่าแปลก นาน ๆ เข้า
    มันก็ฉุดการทำงานของเราไปอีกด้วย
  • 1:58 - 2:00
    แล้วโซนการเรียนรู้ เป็นอย่างไรหรือครับ
  • 2:01 - 2:03
    เดมอสเตอนีส ผู้นำทางการเมือง
  • 2:03 - 2:06
    เป็นนักพูดผู้ยิ่งใหญ่ที่สุด เป็นนักกฎหมาย
    ในสมัยกรีกโบราณ
  • 2:06 - 2:10
    การมาเป็นผู้ยิ่งใหญ่ได้นั้น
    เขาไม่ได้ใช้เวลาทั้งหมดของเขา
  • 2:10 - 2:12
    แค่เป็นเพียงนักพูด หรือนักกฎหมาย
  • 2:12 - 2:15
    ซึ่งจะเป็นเรื่องที่อยู่ในโซนการทำงานของเขา
  • 2:15 - 2:17
    แต่เขากลับทำกิจกรรมต่างๆที่ออกแบบไว้
    เพื่อปรับปรุงงาน
  • 2:18 - 2:19
    แน่นอน เขาศึกษาหาความรู้
  • 2:19 - 2:22
    เขาศึกษากฎหมายและปรัชญา พร้อมกับการแนะนำ
    จากอาจารย์ที่ปรึกษา
  • 2:22 - 2:26
    แต่เขาก็ยังตระหนักด้วยว่า การเป็นนักกฎหมาย
    ข้องเกี่ยวกับการชักจูงโน้วน้าวคนอื่น ๆ
  • 2:26 - 2:29
    เขาจึงศึกษาการพูดอย่างที่ยิ่งใหญ่
  • 2:29 - 2:30
    และการแสดง
  • 2:31 - 2:35
    เพื่อจะกำจัดนิสัยแปลก ๆ ที่เขามี คือ
    มักจะยกไหล่ขึ้นโดยไม่ตั้งใจ
  • 2:35 - 2:37
    เขาฝึกพูดอยู่หน้ากระจกเงา
  • 2:37 - 2:40
    และเขาก็แขวนดาบหย่อนลงมาจากเพดาน
  • 2:40 - 2:42
    เพื่อที่ว่าหากเขายกไหล่ขึ้นมา
  • 2:42 - 2:43
    เขาก็จะเจ็บตัว
  • 2:43 - 2:45
    (เสียงหัวเราะ)
  • 2:45 - 2:47
    เพื่อให้พูดอย่างชัดเจนขึ้น
    แม้จะมีเสียงซู่ซ่า
  • 2:47 - 2:50
    เขาพูดตลอดจนจบ โดยมีก้อนหินอยู่ในปาก
  • 2:51 - 2:52
    เขาสร้างห้องใต้ดินขึ้นมา
  • 2:52 - 2:54
    ที่เขาสามารถฝึกพูดได้
    โดยไม่มีใครมาขัดจังหวะ
  • 2:54 - 2:56
    และไม่ไปรบกวนคนอื่นๆ
  • 2:56 - 2:58
    และเพราะว่าศาลในสมัยนั้น เสียงดังหนวกหูมาก
  • 2:58 - 3:00
    เขาจึงไปฝึกอยู่ใกล้ๆทะเลอีกด้วย
  • 3:00 - 3:02
    เปล่งเสียงออกไปจนได้ยินไปไกล
    เหนือเสียงกึกก้องของคลื่น
  • 3:03 - 3:05
    กิจกรรมของเขาในโซนการเรียนรู้นั้น
  • 3:05 - 3:08
    แตกต่างไปจากกิจกรรมของเขาในศาลอย่างมาก
  • 3:08 - 3:09
    หรือ ในโซนการทำงานของเขา
  • 3:10 - 3:11
    ส่วนในโซนการเรียนรู้นั้น
  • 3:11 - 3:14
    เขาทำตาม ดร. แอนเดอร์ส อีริคส์สัน
    เรียกว่า ฝึกอย่างตั้งใจ
  • 3:14 - 3:17
    วิธีการนี้เกี่ยวกับการแตกความสามารถ
    ออกเป็นทักษะย่อย ๆ
  • 3:17 - 3:20
    ให้แน่ชัดว่า ทักษะย่อยอะไรบ้าง
    ที่เรากำลังจะปรับปรุงให้ดีขึ้น
  • 3:20 - 3:22
    อย่างเช่น ระวังให้ไหล่ของเราลงมา
  • 3:22 - 3:25
    เพ่งความสนใจอย่างเต็มที่
    ถึงระดับการท้าทายขั้นสูง
  • 3:25 - 3:27
    นอกขอบเขตความสบายของเรา
  • 3:27 - 3:29
    แค่เกินกว่าที่เราสามารถทำได้ในปัจจุบัน
  • 3:29 - 3:32
    โดยใช้ข้อมูลป้อนกลับบ่อยครั้ง กับการทำซํ้า
    และการปรับเปลี่ยน
  • 3:32 - 3:35
    และถ้าจะให้ดีเยี่ยม ก็ให้มีการชี้แนะ
    ของโค้ชที่ชำนาญการ
  • 3:35 - 3:37
    เพราะกิจกรรมที่ออกแบบไว้เพื่อการปรับปรุง
  • 3:37 - 3:39
    เจาะจงเฉพาะในขอบเขต
  • 3:39 - 3:41
    และครูและโค้ชที่ยิ่งใหญ่นั้น
    รู้ว่ากิจกรรมเหล่านั้นคืออะไร
  • 3:41 - 3:43
    และยังให้ข้อมูลเชี่ยวชาญป้อนกลับมาได้
  • 3:44 - 3:47
    มันเป็นแบบของการฝึก ในโซนการเรียนรู้
  • 3:47 - 3:49
    ที่จะนำไปสู่การปรับปรุงได้อย่างจริงจัง
  • 3:49 - 3:51
    ไม่ใช่แค่เวลาที่ใช้ในการทำงาน
  • 3:52 - 3:55
    ยกตัวอย่างเช่น การศึกษาวิจัยแสดงให้เห็นว่า
    หลังจากช่วงเวลาสองปีแรก
  • 3:55 - 3:56
    ที่ปฏิบัติงานในอาชีพ
  • 3:56 - 3:59
    การทำงานมักจะดีขึ้นเพียงเล็กน้อย
    หรือไม่พัฒนาเลย
  • 3:59 - 4:02
    เรื่องนี้แสดงว่าเป็นจริง
    ในสาขาการเรียนการสอน เวชศาสตร์ทั่วไป
  • 4:02 - 4:04
    การพยาบาล และสาขาวิชาอื่น ๆ
  • 4:04 - 4:07
    และมันเกิดขึ้นก็เพราะว่า
    เมื่อเราคิดว่า เราดีพอแล้ว
  • 4:07 - 4:09
    พอเหมาะแล้ว
  • 4:09 - 4:11
    แล้วเราก็หยุดใช้เวลาในโซนการเรึยนรู้
  • 4:11 - 4:13
    ตลอดเวลาเรามุ่งเน้นสนใจ
    แค่การทำงานของเรา
  • 4:13 - 4:14
    การปฏิบัติงาน
  • 4:14 - 4:17
    ซึ่งไม่ใช่วิธีที่ดีนัก ที่จะปรับปรุง
  • 4:17 - 4:20
    แต่ผู้คนที่ยังคงใช้เวลา
    อยู่ในโซนการเรียนรู้นั้น
  • 4:20 - 4:22
    ก็ยังคงปรับปรุงอยู่ได้เสมอ
  • 4:22 - 4:25
    พนักงานขายที่ดีที่สุด
    อย่างน้อยสัปดาห์ละหนึ่งครั้ง
  • 4:25 - 4:27
    ทำกิจกรรมโดยมีจุดประสงค์เพื่อการปรับปรุง
  • 4:27 - 4:29
    พวกเขาอ่านเพื่อขยายความรู้ของเขาออกไป
  • 4:29 - 4:32
    ปรึกษาหารือกับเพื่อนร่วมงาน
    หรือผู้เชี่ยวชาญในสาขา
  • 4:32 - 4:35
    ทดลองกลยุทธ์ใหม่ๆ ขอข้อมูลป้อนกลับ
    และนำมาคิดไตร่ตรอง
  • 4:35 - 4:37
    คนเล่นหมากรุกที่เก่งที่สุดนั้น
  • 4:37 - 4:41
    ใช้เวลาไปมากมาย
    ไม่ใช่ในการเล่นเกมหมากรุก
  • 4:41 - 4:42
    ซึ่งก็คือ โซนการทำงานของเขา
  • 4:43 - 4:46
    แต่เป็นการพยายามคาดเดาการเดินหมาก
    ที่นักหมากรุกชั้นนำเดิน และมาวิเคราะห์
  • 4:47 - 4:51
    เราแต่ละคนนั้นน่าจะใช้เวลาไป
    หลายต่อหลายชั่วโมง
  • 4:51 - 4:53
    พิมพ์ที่คอมพิวเตอร์
  • 4:53 - 4:54
    โดยไม่ได้พิมพ์เร็วขึ้นเลย
  • 4:54 - 4:58
    แต่ถ้าเราใช้เวลา 10 ถึง 20 นาที ในแต่ละวัน
  • 4:58 - 5:01
    ตั้งใจเพ่งอย่างเต็มที่ ให้พิมพ์เร็วกว่า
    อัตราเร็วของเราในปัจจุบัน
  • 5:01 - 5:02
    10 ถึง 20 เปอร์เซ็นต์
  • 5:02 - 5:04
    เราก็น่าจะพิมพ์ได้เร็วขึ้น
  • 5:04 - 5:07
    โดยเฉพาะถ้าเราระบุได้อีกด้วยว่า
    เรามีข้อผิดพลาดอะไรบ้าง
  • 5:07 - 5:09
    และก็ฝึกพิมพ์คำเหล่านั้น
  • 5:09 - 5:11
    นั่นคือ การฝึกอย่างตั้งใจ
  • 5:12 - 5:14
    ในส่วนอื่น ๆ ของชีวิตเรานั้น
  • 5:14 - 5:16
    บางที ที่เราเห็นสำคัญกว่าสิ่งอื่น
  • 5:16 - 5:18
    เราทุ่มเทอย่างหนัก
    แต่ไม่ได้ดีขึ้นมาก
  • 5:18 - 5:21
    เพราะเราอยู่แค่ในโซนการทำงาน หรือเปล่า
  • 5:23 - 5:26
    ครับ นี่ไม่ได้กล่าวว่า
    โซนการทำงานไม่มีคุณค่าอะไร
  • 5:26 - 5:27
    มันมีคุณค่าอย่างมากครับ
  • 5:27 - 5:29
    ผมเคยต้องผ่าตัดหัวเข่า
    ผมไม่ได้บอกแพทย์ผ่าตัด
  • 5:29 - 5:32
    ว่า "ควานหาในนั้นให้ทั่ว
    เพ่งไปที่สิ่งที่คุณไม่รู้"
  • 5:32 - 5:33
    (เสียงหัวเราะ)
  • 5:33 - 5:35
    "เราจะเรียนรู้จากข้อผิดพลาดคุณ"
  • 5:36 - 5:39
    แต่ผมมองหาแพทย์ผ่าตัด
    ที่ผมรู้สึกว่าน่าจะทำงานดี
  • 5:39 - 5:41
    และผมต้องการให้เธอทำงานอย่างดี
  • 5:41 - 5:43
    การที่อยู่ในโซนการทำงานนั้น
  • 5:43 - 5:45
    ให้เราได้ทำสิ่งต่าง ๆ ให้เสร็จ
    อย่างดีที่สุด เท่าที่จะทำได้
  • 5:46 - 5:47
    มันยังจูงใจเราได้อีกด้วย
  • 5:47 - 5:51
    และมันให้เราได้ข้อมูลที่จะระบุได้ว่า
    ต่อไปเราจะเพ่งความสนใจไปที่อะไร
  • 5:51 - 5:53
    เมื่อเรากลับไปที่โซนการเรียนรู้
  • 5:53 - 5:55
    วิธีการที่จะได้การปฏิบัติงานที่สูง
  • 5:55 - 5:59
    ก็คือ การสลับไปมาระหว่างโซนการเรียนรู้
    และโซนการทำงาน
  • 5:59 - 6:01
    การสร้างทักษะของเรา อย่างมีจุดหมาย
    ในโซนการเรียนรู้
  • 6:01 - 6:04
    แล้วก็นำทักษะเหล่านั้นไปประยุกต์ใช้
    ในโซนการทำงาน
  • 6:05 - 6:07
    ตอนที่บียอนเซ่ เดินทางไปแสดงคอนเสิร์ต
  • 6:07 - 6:10
    ระหว่างการแสดงคอนเสิร์ต
    เธออยู่ในโซนการทำงาน
  • 6:10 - 6:12
    แต่ทุกคืน เมื่อเธอกลับมาห้องพักในโรงแรม
  • 6:12 - 6:15
    เธอตรงกลับไปยังโซนการเรียนรู้ของเธอทันที
  • 6:15 - 6:17
    เธอดูวิดีโอการแสดง ที่เพิ่งจะจบลงไป
  • 6:17 - 6:19
    เธอบอกได้ถึงโอกาสที่จะปรับปรุงให้ดีขึ้น
  • 6:20 - 6:22
    สำหรับตัวเธอเอง นักเต้น และพวกช่างกล้อง
  • 6:22 - 6:23
    และในเช้าวันต่อมา
  • 6:23 - 6:26
    ทุกคนก็ได้รับบันทึกเป็นหน้าๆ
    มีอะไรบ้างที่จะปรับเปลี่ยน
  • 6:27 - 6:30
    ซึ่งพวกเขาก็จะทำงานกัน ในตอนกลางวัน
    ก่อนการแสดงครั้งต่อไป
  • 6:31 - 6:32
    มันเป็นวงก้นหอย
  • 6:32 - 6:33
    ถึงความสามารถที่เพิ่มขึ้นตลอดเวลา
  • 6:33 - 6:37
    แต่เราต้องรู้ว่าเมื่อใดต้องการจะเรียนรู้
    และเมื่อใดที่เราต้องการจะทำงาน
  • 6:37 - 6:39
    แต่ในขณะที่เราต้องการใช้เวลาทำทั้งสองอย่าง
  • 6:39 - 6:41
    ยิ่งเราใช้เวลา ในโซนการเรียนรู้มากเท่าใด
  • 6:41 - 6:42
    เราก็ปรับปรุงได้มากขึ้น
  • 6:43 - 6:46
    เราจะใช้เวลาในโซนการเรียนรู้
    มากขึ้นได้อย่างไร
  • 6:47 - 6:50
    ข้อแรก เราต้องเชื่อและเข้าใจว่า
  • 6:50 - 6:52
    เราปรับปรุงให้ดียิ่งขึ้นได้
  • 6:52 - 6:53
    ซึ่งเราเรียกว่า
    โกรท มายเซ็ท (Growth Mindset)
  • 6:54 - 6:57
    ข้อสอง เราต้องมีความต้องการ
    ที่จะปรับปรุงทักษะนั้น
  • 6:57 - 6:59
    ต้องมีจุดประสงค์ที่เราเห็นว่าสำคัญ
  • 6:59 - 7:01
    เพราะมันต้องใช้เวลาและความพยายาม
  • 7:01 - 7:04
    ข้อสาม เราต้องมีแนวคิดเกี่ยวกับว่า
    จะปรับปรุงอย่างไร
  • 7:04 - 7:06
    อะไรที่เราทำได้ เพื่อทำให้ดีขึ้น
  • 7:06 - 7:09
    ไม่ใช่วิธีที่ผมเคยใช้
    ในการฝึกกีต้าร์ ตอนผมเป็นวัยรุ่น
  • 7:09 - 7:11
    คือร้องเพลงซํ้าแล้วซํ้าเล่า
  • 7:11 - 7:12
    แต่ให้ทำการฝึกอย่างตั้งใจ
  • 7:13 - 7:17
    และข้อสี่ เราต้องอยู่ในสถานการณ์
    ที่มีความเสี่ยงตํ่า
  • 7:17 - 7:19
    เพราะถ้าความผิดพลาด เป็นสิ่งที่เราคาดหมาย
  • 7:19 - 7:22
    แล้วผลที่ตามมาจากความผิดพลาดนั้น
    ต้องไม่เป็นความหายนะ
  • 7:22 - 7:24
    หรือเสียหายร้ายแรง
  • 7:24 - 7:28
    คนเล่นกายกรรมเดินไต่ลวด จะไม่ฝึก
    ท่าพลิกแพลงใหม่โดยไม่มีตาข่ายรองรับ
  • 7:28 - 7:31
    และนักกีฬาก็จะไม่ลองเล่นท่าใหม่ ๆ
  • 7:31 - 7:32
    ระหว่างการแข่งขันชิงแชมป์
  • 7:33 - 7:35
    เหตุผลหนึ่งที่ว่า ในชีวิตของเรา
  • 7:35 - 7:37
    เราใช้เวลาไปมากมายเหลือเกิน ในโซนการทำงาน
  • 7:37 - 7:42
    ก็คือ สภาวะแวดล้อมของเรานั้น
    มีความเสี่ยงสูง โดยไม่จำเป็นอยู่บ่อย ๆ
  • 7:42 - 7:44
    เราสร้างความเสี่ยงทางสังคม
    ให้กับกันและกัน
  • 7:44 - 7:47
    แม้กระทั่งในโรงเรียน ซึ่งควรจะ
    เกี่ยวกับการเรียนรู้ทั้งหมด
  • 7:47 - 7:49
    ผมไม่ได้กำลังพูดถึงเรื่องแบบทดสอบมาตรฐาน
  • 7:49 - 7:52
    ผมหมายถึงว่า ทุก ๆ นาทีของทุกวัน
  • 7:52 - 7:54
    นักเรียนจำนวนมาก ในโรงเรียนประถมศึกษา
    จนถึงระดับอุดมศึกษา
  • 7:54 - 7:58
    รู้สึกว่า หากพวกเขาทำความผิดพลาด
    คนอื่นๆก็จะขาดความนับถือเขาไป
  • 7:58 - 8:00
    ไม่แปลกใจเลยว่า พวกเขาตึงเครียดอยู่เสมอ
  • 8:00 - 8:02
    และไม่ยอมเสี่ยง ซึ่งจำเป็นต่อการเรียนรู้
  • 8:03 - 8:05
    แต่เรียนรู้ว่า ความผิดพลาดนั้น
    ไม่เป็นที่ปรารถนา
  • 8:05 - 8:06
    เกิดขึ้นโดยไม่ได้ตั้งใจ
  • 8:06 - 8:10
    เมื่อครูหรือพ่อแม่นั้นกระตือรือร้น
    จะฟังแค่เพียงคำตอบที่ถูกต้อง
  • 8:10 - 8:12
    และปฏิเสธความผิดพลาด
    แทนที่จะต้อนรับและตรวจสอบมัน
  • 8:13 - 8:14
    เพื่อเรียนรู้จากมัน
  • 8:14 - 8:16
    หรือเมื่อเรามองหาการตอบรับแคบ ๆ
  • 8:16 - 8:18
    แทนที่จะส่งเสริมการคิด
    เชิงสำรวจวินิจฉัยมากขึ้น
  • 8:18 - 8:19
    ซึ่งเราเรียนรู้จากมันได้
  • 8:19 - 8:22
    เมื่อการบ้านหรืองานของนักเรียนนั้น
    มีตัวเลขหรือตัวอักษรกำกับอยู่
  • 8:22 - 8:24
    และนับคะแนนไปสู่ลำดับคะแนนตอนปลายภาค
  • 8:24 - 8:28
    แทนที่จะถูกนำไปใช้เพื่อการฝึก ข้อผิดพลาด
    ข้อมูลป้อนกลับมา และการปรับปรุงใหม่
  • 8:28 - 8:31
    เราส่งสารไปว่า โรงเรียนเป็นโซนการทำงาน
  • 8:32 - 8:34
    สถานที่ทำงานของเรา ก็เป็นแบบเดียวกัน
  • 8:34 - 8:38
    ในบริษัทที่ผมไปขอคำปรึกษา
    ผมมักเห็นวัฒนธรรมการบริหารแบบไม่มีที่ติ
  • 8:38 - 8:41
    ซึ่งผู้นำสนับสนุน
    เพื่อส่งเสริมงานที่ยิ่งใหญ่
  • 8:41 - 8:43
    แต่นั่นนำลูกจ้างให้ยังคงอยู่
    ภายในสิ่งที่เขารู้แล้ว
  • 8:44 - 8:45
    และไม่พยายามในสิ่งใหม่ๆ
  • 8:45 - 8:47
    บริษัทจึงดิ้นรนที่จะนำสิ่งใหม่เข้ามา
    และปรับปรุง
  • 8:47 - 8:48
    และก็ตกหล่นไปอยู่ด้านหลัง
  • 8:50 - 8:52
    เราสามารถสร้างที่ว่างเพิ่มขึ้น
    สำหรับการเติบโต
  • 8:52 - 8:54
    โดยการเริ่มต้นพูดคุยกันเกี่ยวกับว่า
  • 8:54 - 8:57
    เมื่อใดที่เราต้องการจะอยู่ในแต่ละโซน
  • 8:57 - 9:00
    เราต้องการจะพัฒนา
    ในเรื่องใดบ้าง และทำอย่างไร
  • 9:00 - 9:03
    และเมื่อใดที่ต้องการจะดำเนินการทำ
    และให้ความผิดพลาดมีน้อยที่สุด
  • 9:04 - 9:07
    ด้วยวิธีการนั้น เราก็จะได้ความกระจ่าง
    ว่าอะไรคือ ความสำเร็จ
  • 9:07 - 9:09
    เมื่อใด และจะสนับสนุนกันให้ดีที่สุดอย่างไร
  • 9:10 - 9:13
    แต่สมมุติว่าถ้าเราพบตัวเอง
    ในสภาพแวดล้อมที่มีความเสี่ยงอย่างสุด ๆ
  • 9:13 - 9:16
    และเรารู้สึกว่า
    ยังไม่สามารถเริ่มการพูดคุยเหล่านั้นได้
  • 9:17 - 9:20
    แล้วละก็ สามอย่างนี้
    ที่เรายังคงสามารถทำได้ด้วยตัวเอง
  • 9:20 - 9:24
    ข้อหนึ่ง เราสามารถสร้างเกาะความเสี่ยงตํ้าขึ้นมา
    ในทะเลที่ความเสี่ยงสูง
  • 9:25 - 9:27
    พวกนี้เป็นพื้นที่ว่างที่ความผิดพลาด
    มีผลน้อยนิด
  • 9:27 - 9:31
    ตัวอย่างเช่น เราอาจจะพบว่าที่ปรึกษา
    หรือเพื่อนร่วมงานที่เราไว้วางใจ
  • 9:31 - 9:34
    ที่เราสามารถแลกเปลี่ยนความคิดเห็น
    หรือพูดคุยเรื่องที่เปราะบางกันได้
  • 9:34 - 9:35
    หรือกระทั่งเล่นบทบาทสมมุติ
  • 9:35 - 9:39
    หรือเราสามารถขอให้มีการประชุมเพื่อได้
    ข้อมูลป้อนกลับ ขณะที่โครงการก้าวหน้าไป
  • 9:39 - 9:43
    หรือเราสามารถกันเวลาไว้ เพื่ออ่าน
    หรือดูวิดีโอ หรือเข้าไปลงเรียนทางออนไลน์
  • 9:43 - 9:45
    เหล่านั้นเป็นเพียงบางตัวอย่าง
  • 9:45 - 9:50
    ข้อที่สอง เราสามารถดำเนินการ และทำงาน
    ตามที่เราถูกคาดหมายไว้
  • 9:50 - 9:52
    แล้วก็คิดไตร่ตรอง
    สิ่งที่เราอาจทำได้ดีขึ้น ในครั้งต่อไป
  • 9:52 - 9:53
    เช่นเดียวกับที่บิยองเซ่ทำ
  • 9:53 - 9:56
    เรายังสามารถสังเกตและเลียนแบบผู้เชี่ยวชาญ
  • 9:56 - 9:59
    การสังเกต การคิดไตร่ตรองและการปรับเปลี่ยน
    เป็นโซนการเรียนรู้
  • 10:00 - 10:02
    ุและท้ายสุดแล้ว เราสามารถนำ
  • 10:03 - 10:06
    และลดความเสี่ยงลงได้สำหรับคนอื่น
    โดยการบอกเล่าสิ่งที่เราต้องการจะให้ดีขึ้น
  • 10:06 - 10:09
    โดยถามคำถามเกี่ยวกับสิ่งที่เราไม่รู้
  • 10:09 - 10:11
    โดยขอข้อมูลป้อนกลับ
    โดยบอกเล่าความผิดพลาดสู่กันฟัง
  • 10:11 - 10:13
    และสิ่งที่เราได้เรียนรู้จากพวกเขา
  • 10:13 - 10:15
    เพื่อให้คนอื่นรู้สึกปลอดภัย
    ที่จะทำเหมือนกัน
  • 10:16 - 10:19
    ความมั่นใจแท้จริง คือ
    การเป็นแบบอย่าง การเรียนรู้ที่ต่อเนื่อง
  • 10:21 - 10:25
    สมมุติว่า แทนที่จะใช้ชีวิตของเรา ทำ ทำ ทำ
  • 10:25 - 10:27
    แสดง แสดง แสดง
  • 10:27 - 10:30
    ให้เรามาใช้เวลาในการสำรวจให้มากขึ้น
  • 10:31 - 10:32
    ตั้งคำถามมากขึ้น
  • 10:32 - 10:33
    ฟังให้มากขึ้น
  • 10:33 - 10:36
    การทดลอง การคิดไตร่ตรอง
  • 10:37 - 10:40
    การมานะบากบั่น และกลายมาเป็น
    จะได้หรือไม่
  • 10:40 - 10:43
    สมมุติว่า เราแต่ละคน
    มีบางสิ่งบางอย่าง
  • 10:43 - 10:45
    ที่เรากำลังพยายามปรับปรุงอยู่
  • 10:46 - 10:48
    สมมุติว่า เราสร้างเกาะที่มีความเสี่ยงตํ่า
  • 10:48 - 10:49
    และนํ้าเพิ่มมากขึ้น
  • 10:50 - 10:52
    สมมุติว่า เราเข้าใจ
  • 10:52 - 10:55
    ตัวเราเอง และกับเพื่อนร่วมทีมงาน
  • 10:55 - 10:58
    เกี่ยวกับ เมื่อใดที่เรามุ่งหาการเรียนรู้
    และเมื่อใด ที่เรามุ่งหาการทำงาน
  • 10:58 - 11:01
    เพื่อให้ความพยายามของเรานั้น
    สามารถมีผลที่สำคัญยิ่งขึ้น
  • 11:01 - 11:04
    การปรับปรุงของเราก็จะไม่จบสิ้น
  • 11:04 - 11:06
    สิ่งที่ดีที่สุดของเรานั้น
    ก็จะดียิ่งขึ้นไปอีก
  • 11:07 - 11:08
    ขอบคุณครับ
Title:
จะทำให้สิ่งที่สำคัญสำหรับคุณดีขึ้นได้อย่างไร
Speaker:
อีดูอารโด บรีเซนโย
Description:

ทำงานไปอย่างหนักแต่มันไม่ได้ดีขึ้นเลยหรือครับ คุณไม่ได้เป็นอย่างนั้นคนเดียวหรอก นักการศึกษาชื่อ อีดูอารโด บรีเซนโย เปิดเผยวิธีการคิดง่ายๆ เกี่ยวกับการทำให้สิ่งที่คุณทำอยู่นั้นดีขึ้น ไม่ว่าจะเป็นเรื่องการงาน การเป็นบิดามารดา หรืองานอดิเรกที่สร้างสรร และเขาเล่าสู่ให้ฟังในเรื่องเทคนิคที่มีประโยชน์ เพื่อให้คุณสามารถเรียนรู้ได้อย่างต่อเนื่อง และรู้สึกเหมือนกับคุณเคลื่อนไปข้างหน้าอยู่เสมอ

more » « less
Video Language:
English
Team:
closed TED
Project:
TEDTalks
Duration:
11:22

Thai subtitles

Revisions