< Return to Video

วัคซีนทำงานได้อย่างไร - เกวลิน ธนสารสมบัติ (Kelwalin Dhanasarnsombut)

  • 0:07 - 0:10
    ในปี ค.ศ. 1796
    นักวิทยาศาสตร์ นาม เอ็ดเวอร์ด เจนเนอร์
  • 0:10 - 0:15
    ฉีดสารจากไวรัสฝีดาษวัว
    เข้าไปในเด็กชายวัย 8 ขวบ
  • 0:15 - 0:18
    ด้วยความหวังที่จะสร้างการป้องกัน
    ที่เป็นที่ต้องการ
  • 0:18 - 0:23
    ในการช่วยเหลือคน
    จากการระบาดของโรคร้ายอย่างไข้ทรพิษ
  • 0:23 - 0:25
    มันได้ผล
  • 0:25 - 0:28
    เด็ก 8 ขวบคนนั้นถูกปลูกฝีต้านโรค
  • 0:28 - 0:31
    และนั่นก็เป็นวัคซีนแรกที่ถือกำเนิดขึ้น
  • 0:31 - 0:33
    แต่มันได้ผลได้อย่างไร
  • 0:33 - 0:35
    เพื่อที่จะเข้าใจการทำงานของวัคซีน
  • 0:35 - 0:39
    เราจะต้องต้องเข้าใจเสียก่อนว่า
  • 0:39 - 0:41
    ระบบภูมิคุ้มกัน
    ป้องกันเราจากโรคร้ายอย่างไร
  • 0:41 - 0:43
    เมื่อจุลชีพแปลกปลอมบุกเข้ามา
  • 0:43 - 0:46
    ระบบภูมิคุ้มกันก็กระตุ้นชุดสัญญาณตอบสนอง
  • 0:46 - 0:50
    ซึ่งพยายามที่จะบ่งชี้
    และกำจัดเชื้อเหล่านี้ออกจากร่างกาย
  • 0:50 - 0:53
    สัญญาณที่บอกว่าการตอบสนอง
    ทางภูมิคุ้มกันนี้ทำงาน
  • 0:53 - 0:58
    คือการไอ จาม อักเสบ และมีไข้
  • 0:58 - 1:03
    ซึ่งทำหน้าที่กักบริเวณ กำจัด และไล่
    ตัวอันตราย เช่น แบคทีเรีย ออกจากร่างกาย
  • 1:03 - 1:08
    การตอบสนองภูมิคุ้มกันพื้นฐาน
    ยังกระตุ้นสั่งการระบบป้องกันที่ 2
  • 1:08 - 1:10
    ที่เรียกว่า ภูมิคุ้มกันที่จำเพาะ
    (adaptive immunity)
  • 1:10 - 1:15
    เซลล์พิเศษชื่อ บี เซลล์ และ ที เซลล์
    ถูกเรียกมาเพื่อสู้กับจุลชีพ
  • 1:15 - 1:18
    และยังเก็บข้อมูลเกี่ยวกับพวกมัน
  • 1:18 - 1:21
    สร้างเป็นบันทึก
    ว่าผู้บุกรุกมีหน้าตาอย่างไร
  • 1:21 - 1:24
    และวิธีการใดที่จะสู้กับมันได้ดีที่สุด
  • 1:24 - 1:26
    องค์ความรู้นี้จะมีประโยชน์
  • 1:26 - 1:29
    ถ้าเชื้อตัวเดิมบุกเข้าร่างกายอีกครั้ง
  • 1:29 - 1:34
    ถึงแม้ว่าเราจะมีการตอบสนองอันชาญฉลาดนี้
    มันก็ยังมีความเสี่ยงอยู่
  • 1:34 - 1:37
    ร่างกายใช้เวลาในการเรียนรู้
    ว่าจะตอบสนองต่อเชื้อก่อโรคอย่างไร
  • 1:37 - 1:39
    และค่อยๆ สร้างการป้องกัน
  • 1:39 - 1:40
    ยิ่งกว่านั้น
  • 1:40 - 1:43
    ถ้าร่างกายอ่อนแอ หรือเด็กเกินไป
    ที่จะตอบโต้เมื่อถูกเชื้อบุกเข้ามา
  • 1:43 - 1:49
    ร่างกายก็จะเผชิญกับความเสี่ยงร้ายแรง
    ถ้าหากเชื้อก่อโรคนั้นมีความรุนแรง
  • 1:49 - 1:52
    แต่ถ้าหากเราสามารถเตรียม
    การตอบสอนงทางภูมิคุ้มกันของร่างกาย
  • 1:52 - 1:55
    ให้พร้อมก่อนที่จะป่วยได้ล่ะ
  • 1:55 - 1:57
    นี่เป็นจุดที่วัคซีนได้ก้าวเข้ามา
  • 1:57 - 2:01
    โดยใช้หลักการเดียวกัน
    กับที่ร้างกายใช้ในการป้องกันตนเอง
  • 2:01 - 2:06
    นักวิทยาศาสตร์ใช้วัคซีนในการกระตุ้น
    ระบบภูมิคุ้มกันแบบจำเพาะของร่างกาย
  • 2:06 - 2:10
    โดยไม่ต้องให้ร่างกายเจอกับโรคแบบจังๆ
  • 2:10 - 2:14
    มีวัคซีนมากมายหลายชนิด
    ซึ่งทำงานแตกต่างกันไป
  • 2:14 - 2:16
    และจำแนกได้หลายประเภท
  • 2:16 - 2:20
    อย่างแรก เรามีวัคซีนจากเชื้ออ่อนแรง
    (live attenuated vaccine)
  • 2:20 - 2:25
    วัคซีนชนิดนี้ทำจากเชื้อก่อโรค
    แต่เป็นเชื้อแบบอ่อนแรง และเชื่องกว่า
  • 2:25 - 2:29
    จากนั้น เรามี วัคซีนที่เชื้อถูกทำให้ตาย
    (inactive vaccine) ซึ่งเชื้อก่อโรคถูกฆ่า
  • 2:29 - 2:33
    การทำให้เชื้ออ่อนแรง และตาย
    ในวัคซีน 2 ชนิดนี้
  • 2:33 - 2:36
    ก็เพื่อให้มั่นใจว่า
    เชื้อจะไม่พัฒนาเป็นตัวก่อโรคกอย่างสมบูรณ์
  • 2:36 - 2:40
    แต่เหมือนกับโรค
    พวกมันกระตุ้นการตอบสนองทางภูมิคุ้มกัน
  • 2:40 - 2:42
    สอนให้ร่างกายเราจำรูปแบบการโจมตี
  • 2:42 - 2:46
    โดยสร้างประวัติของเชื้อก่อโรค
    เพื่อเป็นการเตรียมการ
  • 2:46 - 2:51
    ข้อเสียก็คือ วัคซีนที่ทำให้เชื้ออ่อนแรง
    ผลิตได้ลำบาก
  • 2:51 - 2:53
    และเพราะว่ามันมีชีวิต
    และค่อนข้างจะมีฤทธิ์อยู่
  • 2:53 - 2:57
    คนที่มีระบบภูมิคุ้มกันอ่อนแอ
    ไม่สามารถที่จะรับวัคซีนนี้ได้
  • 2:57 - 3:01
    ขณะที่วัคซีนที่เชื้อถูกทำให้ไม่ก่อโรคนั้น
    สร้างภูมิคุ้มกันระยะยาวไม่ได้
  • 3:01 - 3:04
    ซับยูนิตวัคซีน (subunit vaccine)
    คือวัคซีนอีกชนิดหนึ่ง
  • 3:04 - 3:08
    ที่สร้างขึ้นจากแค่ส่วนหนึ่งของเชื้อก่อโรค
    เรียกว่า แอนติเจน (antigen)
  • 3:08 - 3:12
    ซึ่งเป็นส่วนที่จริงๆ แล้วกระตุ้น
    การตอบสนองทางภูมิคุ้มกัน
  • 3:12 - 3:15
    โดยการแยกส่วนประกอบจำเพาะ
    ของแอนติเจน
  • 3:15 - 3:17
    เช่นโปรตีน หรือโพลีแซคคาไรด์
  • 3:17 - 3:22
    วัคซีนเหล่านี้กระตุ้นการตอบสนองจำเพาะ
  • 3:22 - 3:26
    ขณะนี้นักวิทยาศาสตร์
    สร้างวัคซีนจำพวกใหม่
  • 3:26 - 3:27
    เรียกว่า ดีเอ็นเอ วัคซีน
  • 3:27 - 3:32
    สำหรับวัคซีนชนิดนี้
    พวกเขาจำแนกยีนจำเพาะที่สร้างแอนติเจน
  • 3:32 - 3:37
    ที่ร่างกายต้องการใช้
    กระตุ้นการตอบสนองภูมิคุ้มกันต่อเชื้อก่อโรค
  • 3:37 - 3:39
    เมื่อฉีดเข้าไปในร่างการยมนุษย์
  • 3:39 - 3:43
    ยีนเหล่านี้สั่งให้เซลล์ในร่างกาย
    สร้างแอนติเจน
  • 3:43 - 3:45
    สิ่งนี้สร้างการตอบสนองทาง
    ภูมิคุ้มกันที่แรงกว่า
  • 3:45 - 3:48
    และเตรียมร่างกายให้พร้อม
    กับโรคที่อาจเข้ามา
  • 3:48 - 3:51
    และเพราะว่าวัคซีนมีแต่เพียง
    ส่วนพันธุกรรมจำเพาะ
  • 3:51 - 3:55
    มันไม่มีส่วนอื่นๆ จากเชื้อก่อโรค
  • 3:55 - 3:59
    ที่จะสามารถพัฒนาไปเป็นโรค
    และเป็นอันตรายต่อผู้ป่วยได้
  • 3:59 - 4:01
    ถ้าวัคซีนเหล่านี้ถูกพัฒนาสำเร็จ
  • 4:01 - 4:04
    เราอาจสามารถสร้าง
    การบำบัดรักษาที่มีประสิทธิภาพ
  • 4:04 - 4:06
    สำหรับเชื้อก่อโรคติดต่อในเวลาอันใกล้
  • 4:06 - 4:08
    เหมือนกับการค้นพบที่น่าทึ่งของ
    เอ็ดเวอร์ด เจนเนอร์
  • 4:08 - 4:12
    ที่กระตุ้นการแพทย์สมัยใหม่
    มาหลายศตวรรษ
  • 4:12 - 4:14
    การพัฒนาวัคซีนอย่างไม่หยุดยั้ง
  • 4:14 - 4:17
    อาจทำให้เราสามารถจัดการกับโรคอย่าง
    เอชไอวี
  • 4:17 - 4:18
    มาลาเรีย
  • 4:18 - 4:20
    หรือ อีโบลาได้ ในสักวัน
Title:
วัคซีนทำงานได้อย่างไร - เกวลิน ธนสารสมบัติ (Kelwalin Dhanasarnsombut)
Description:

ชมบทเรียนแบบเต็มได้ที่: http://ed.ted.com/lessons/how-do-vaccines-work-kelwalin-dhanasarnsombut

วัคซีนแรกถูกสร้างขึ้นเป็นผลสำเร็จ เมื่อเอ็ดเวอร์ด เจนเนอร์ แพทย์และนักวิทยาศาสตร์ชาวอังกฤษ ฉีดไวรัสฝีดาษปริมาณน้อยให้กับเด็กชายคนหนึ่ง เพื่อป้องกันเขาจากไวรัสไข้ทรพิษที่คล้ายกัน (แต่ร้ายกาจ) แต่กระบวนการที่เหมือนการตอบโต้โดยสัญชาตญาณนี้ทำงานได้อย่างไร
เกวลิน ธนสารสมบัติ ให้รายละเอียดเกี่ยวกับศาสตร์ที่เป็นเบื้องหลังของวัคซีน

บทเรียนโดย Kelwalin Dhanasarnsombut, แอนิเมชันโดย Cinematic.

more » « less
Video Language:
English
Team:
closed TED
Project:
TED-Ed
Duration:
04:36
Kelwalin Dhanasarnsombut approved Thai subtitles for How do vaccines work? - Kelwalin Dhanasarnsombut
Sritala Dhanasarnsombut edited Thai subtitles for How do vaccines work? - Kelwalin Dhanasarnsombut
Sritala Dhanasarnsombut edited Thai subtitles for How do vaccines work? - Kelwalin Dhanasarnsombut
Sritala Dhanasarnsombut edited Thai subtitles for How do vaccines work? - Kelwalin Dhanasarnsombut
Sritala Dhanasarnsombut accepted Thai subtitles for How do vaccines work? - Kelwalin Dhanasarnsombut
Kelwalin Dhanasarnsombut edited Thai subtitles for How do vaccines work? - Kelwalin Dhanasarnsombut
Kelwalin Dhanasarnsombut edited Thai subtitles for How do vaccines work? - Kelwalin Dhanasarnsombut
Sritala Dhanasarnsombut declined Thai subtitles for How do vaccines work? - Kelwalin Dhanasarnsombut
Show all

Thai subtitles

Revisions