1 00:00:07,090 --> 00:00:10,441 ในปี ค.ศ. 1796 นักวิทยาศาสตร์ นาม เอ็ดเวอร์ด เจนเนอร์ 2 00:00:10,441 --> 00:00:15,111 ฉีดสารจากไวรัสฝีดาษวัว เข้าไปในเด็กชายวัย 8 ขวบ 3 00:00:15,111 --> 00:00:17,878 ด้วยความหวังที่จะสร้างการป้องกัน ที่เป็นที่ต้องการ 4 00:00:17,878 --> 00:00:23,243 ในการช่วยเหลือคน จากการระบาดของโรคร้ายอย่างไข้ทรพิษ 5 00:00:23,243 --> 00:00:24,890 มันได้ผล 6 00:00:24,890 --> 00:00:27,619 เด็ก 8 ขวบคนนั้นถูกปลูกฝีต้านโรค 7 00:00:27,619 --> 00:00:30,930 และนั่นก็เป็นวัคซีนแรกที่ถือกำเนิดขึ้น 8 00:00:30,930 --> 00:00:32,723 แต่มันได้ผลได้อย่างไร 9 00:00:32,723 --> 00:00:34,657 เพื่อที่จะเข้าใจการทำงานของวัคซีน 10 00:00:34,657 --> 00:00:39,118 เราจะต้องต้องเข้าใจเสียก่อนว่า 11 00:00:39,118 --> 00:00:40,915 ระบบภูมิคุ้มกัน ป้องกันเราจากโรคร้ายอย่างไร 12 00:00:40,915 --> 00:00:43,071 เมื่อจุลชีพแปลกปลอมบุกเข้ามา 13 00:00:43,071 --> 00:00:46,124 ระบบภูมิคุ้มกันก็กระตุ้นชุดสัญญาณตอบสนอง 14 00:00:46,124 --> 00:00:49,756 ซึ่งพยายามที่จะบ่งชี้ และกำจัดเชื้อเหล่านี้ออกจากร่างกาย 15 00:00:49,756 --> 00:00:52,806 สัญญาณที่บอกว่าการตอบสนอง ทางภูมิคุ้มกันนี้ทำงาน 16 00:00:52,806 --> 00:00:57,500 คือการไอ จาม อักเสบ และมีไข้ 17 00:00:57,500 --> 00:01:03,414 ซึ่งทำหน้าที่กักบริเวณ กำจัด และไล่ ตัวอันตราย เช่น แบคทีเรีย ออกจากร่างกาย 18 00:01:03,414 --> 00:01:07,824 การตอบสนองภูมิคุ้มกันพื้นฐาน ยังกระตุ้นสั่งการระบบป้องกันที่ 2 19 00:01:07,824 --> 00:01:10,198 ที่เรียกว่า ภูมิคุ้มกันที่จำเพาะ (adaptive immunity) 20 00:01:10,198 --> 00:01:15,113 เซลล์พิเศษชื่อ บี เซลล์ และ ที เซลล์ ถูกเรียกมาเพื่อสู้กับจุลชีพ 21 00:01:15,113 --> 00:01:18,331 และยังเก็บข้อมูลเกี่ยวกับพวกมัน 22 00:01:18,331 --> 00:01:21,479 สร้างเป็นบันทึก ว่าผู้บุกรุกมีหน้าตาอย่างไร 23 00:01:21,479 --> 00:01:24,047 และวิธีการใดที่จะสู้กับมันได้ดีที่สุด 24 00:01:24,047 --> 00:01:25,940 องค์ความรู้นี้จะมีประโยชน์ 25 00:01:25,940 --> 00:01:29,472 ถ้าเชื้อตัวเดิมบุกเข้าร่างกายอีกครั้ง 26 00:01:29,472 --> 00:01:33,520 ถึงแม้ว่าเราจะมีการตอบสนองอันชาญฉลาดนี้ มันก็ยังมีความเสี่ยงอยู่ 27 00:01:33,520 --> 00:01:36,696 ร่างกายใช้เวลาในการเรียนรู้ ว่าจะตอบสนองต่อเชื้อก่อโรคอย่างไร 28 00:01:36,696 --> 00:01:38,757 และค่อยๆ สร้างการป้องกัน 29 00:01:38,757 --> 00:01:39,757 ยิ่งกว่านั้น 30 00:01:39,767 --> 00:01:43,179 ถ้าร่างกายอ่อนแอ หรือเด็กเกินไป ที่จะตอบโต้เมื่อถูกเชื้อบุกเข้ามา 31 00:01:43,189 --> 00:01:48,881 ร่างกายก็จะเผชิญกับความเสี่ยงร้ายแรง ถ้าหากเชื้อก่อโรคนั้นมีความรุนแรง 32 00:01:48,881 --> 00:01:51,933 แต่ถ้าหากเราสามารถเตรียม การตอบสอนงทางภูมิคุ้มกันของร่างกาย 33 00:01:51,933 --> 00:01:55,080 ให้พร้อมก่อนที่จะป่วยได้ล่ะ 34 00:01:55,080 --> 00:01:57,491 นี่เป็นจุดที่วัคซีนได้ก้าวเข้ามา 35 00:01:57,491 --> 00:02:00,998 โดยใช้หลักการเดียวกัน กับที่ร้างกายใช้ในการป้องกันตนเอง 36 00:02:00,998 --> 00:02:05,975 นักวิทยาศาสตร์ใช้วัคซีนในการกระตุ้น ระบบภูมิคุ้มกันแบบจำเพาะของร่างกาย 37 00:02:05,975 --> 00:02:09,681 โดยไม่ต้องให้ร่างกายเจอกับโรคแบบจังๆ 38 00:02:09,681 --> 00:02:13,559 มีวัคซีนมากมายหลายชนิด ซึ่งทำงานแตกต่างกันไป 39 00:02:13,559 --> 00:02:16,067 และจำแนกได้หลายประเภท 40 00:02:16,067 --> 00:02:19,769 อย่างแรก เรามีวัคซีนจากเชื้ออ่อนแรง (live attenuated vaccine) 41 00:02:19,769 --> 00:02:24,748 วัคซีนชนิดนี้ทำจากเชื้อก่อโรค แต่เป็นเชื้อแบบอ่อนแรง และเชื่องกว่า 42 00:02:24,748 --> 00:02:29,499 จากนั้น เรามี วัคซีนที่เชื้อถูกทำให้ตาย (inactive vaccine) ซึ่งเชื้อก่อโรคถูกฆ่า 43 00:02:29,499 --> 00:02:32,528 การทำให้เชื้ออ่อนแรง และตาย ในวัคซีน 2 ชนิดนี้ 44 00:02:32,528 --> 00:02:36,438 ก็เพื่อให้มั่นใจว่า เชื้อจะไม่พัฒนาเป็นตัวก่อโรคกอย่างสมบูรณ์ 45 00:02:36,438 --> 00:02:40,298 แต่เหมือนกับโรค พวกมันกระตุ้นการตอบสนองทางภูมิคุ้มกัน 46 00:02:40,298 --> 00:02:42,452 สอนให้ร่างกายเราจำรูปแบบการโจมตี 47 00:02:42,452 --> 00:02:46,248 โดยสร้างประวัติของเชื้อก่อโรค เพื่อเป็นการเตรียมการ 48 00:02:46,248 --> 00:02:51,049 ข้อเสียก็คือ วัคซีนที่ทำให้เชื้ออ่อนแรง ผลิตได้ลำบาก 49 00:02:51,049 --> 00:02:53,249 และเพราะว่ามันมีชีวิต และค่อนข้างจะมีฤทธิ์อยู่ 50 00:02:53,249 --> 00:02:56,589 คนที่มีระบบภูมิคุ้มกันอ่อนแอ ไม่สามารถที่จะรับวัคซีนนี้ได้ 51 00:02:56,589 --> 00:03:00,963 ขณะที่วัคซีนที่เชื้อถูกทำให้ไม่ก่อโรคนั้น สร้างภูมิคุ้มกันระยะยาวไม่ได้ 52 00:03:00,963 --> 00:03:03,790 ซับยูนิตวัคซีน (subunit vaccine) คือวัคซีนอีกชนิดหนึ่ง 53 00:03:03,790 --> 00:03:08,033 ที่สร้างขึ้นจากแค่ส่วนหนึ่งของเชื้อก่อโรค เรียกว่า แอนติเจน (antigen) 54 00:03:08,033 --> 00:03:11,569 ซึ่งเป็นส่วนที่จริงๆ แล้วกระตุ้น การตอบสนองทางภูมิคุ้มกัน 55 00:03:11,569 --> 00:03:14,946 โดยการแยกส่วนประกอบจำเพาะ ของแอนติเจน 56 00:03:14,946 --> 00:03:17,383 เช่นโปรตีน หรือโพลีแซคคาไรด์ 57 00:03:17,383 --> 00:03:21,753 วัคซีนเหล่านี้กระตุ้นการตอบสนองจำเพาะ 58 00:03:21,753 --> 00:03:25,671 ขณะนี้นักวิทยาศาสตร์ สร้างวัคซีนจำพวกใหม่ 59 00:03:25,671 --> 00:03:27,171 เรียกว่า ดีเอ็นเอ วัคซีน 60 00:03:27,171 --> 00:03:32,029 สำหรับวัคซีนชนิดนี้ พวกเขาจำแนกยีนจำเพาะที่สร้างแอนติเจน 61 00:03:32,029 --> 00:03:36,566 ที่ร่างกายต้องการใช้ กระตุ้นการตอบสนองภูมิคุ้มกันต่อเชื้อก่อโรค 62 00:03:36,566 --> 00:03:38,720 เมื่อฉีดเข้าไปในร่างการยมนุษย์ 63 00:03:38,720 --> 00:03:42,538 ยีนเหล่านี้สั่งให้เซลล์ในร่างกาย สร้างแอนติเจน 64 00:03:42,538 --> 00:03:44,980 สิ่งนี้สร้างการตอบสนองทาง ภูมิคุ้มกันที่แรงกว่า 65 00:03:44,980 --> 00:03:47,912 และเตรียมร่างกายให้พร้อม กับโรคที่อาจเข้ามา 66 00:03:47,912 --> 00:03:51,382 และเพราะว่าวัคซีนมีแต่เพียง ส่วนพันธุกรรมจำเพาะ 67 00:03:51,382 --> 00:03:55,004 มันไม่มีส่วนอื่นๆ จากเชื้อก่อโรค 68 00:03:55,004 --> 00:03:58,605 ที่จะสามารถพัฒนาไปเป็นโรค และเป็นอันตรายต่อผู้ป่วยได้ 69 00:03:58,605 --> 00:04:00,881 ถ้าวัคซีนเหล่านี้ถูกพัฒนาสำเร็จ 70 00:04:00,881 --> 00:04:03,515 เราอาจสามารถสร้าง การบำบัดรักษาที่มีประสิทธิภาพ 71 00:04:03,515 --> 00:04:06,152 สำหรับเชื้อก่อโรคติดต่อในเวลาอันใกล้ 72 00:04:06,152 --> 00:04:08,370 เหมือนกับการค้นพบที่น่าทึ่งของ เอ็ดเวอร์ด เจนเนอร์ 73 00:04:08,370 --> 00:04:11,656 ที่กระตุ้นการแพทย์สมัยใหม่ มาหลายศตวรรษ 74 00:04:11,656 --> 00:04:13,685 การพัฒนาวัคซีนอย่างไม่หยุดยั้ง 75 00:04:13,685 --> 00:04:16,894 อาจทำให้เราสามารถจัดการกับโรคอย่าง เอชไอวี 76 00:04:16,894 --> 00:04:17,894 มาลาเรีย 77 00:04:17,898 --> 00:04:19,608 หรือ อีโบลาได้ ในสักวัน