< Return to Video

เดเรค สิเวอร์ส: แปลกแยก หรือแค่แตกต่าง?

  • 0:00 - 0:04
    ลองจินตนาการว่า คุณกำลังยืนอยู่บนถนน ที่ไหนก็ได้ในอเมริกา
  • 0:04 - 0:07
    และคนญี่ปุ่น เดินมาหาคุณ แล้วถามว่า
  • 0:07 - 0:09
    "ขอโทษนะครับ ช่วงตึกนี้ ชื่อว่าอะไรหรือครับ?"
  • 0:09 - 0:13
    คุณจะตอบว่า "ขอโทษครับ ตรงนี้ถนนโอ๊ค ตรงนั้นถนนเอลม์
  • 0:13 - 0:15
    ตรงนี้ถนนสายที่ 26 ตรงนั้นถนนสายที่ 27"
  • 0:15 - 0:17
    เขาพูดว่า "ถูกล่ะ แล้วชื่อของช่วงตึกนั้นล่ะ?"
  • 0:17 - 0:20
    คุณจะพูดว่า "ช่วงตึกมันไม่มีชื่อครับ"
  • 0:20 - 0:22
    ถนนมีชื่อ ช่วงตึกเป็นเพียงแค่
  • 0:22 - 0:24
    พื้นที่ไม่มีชื่อ ที่อยู่ระหว่างถนน"
  • 0:24 - 0:28
    เขาจากไป พร้อมกับความสับสนผิดหวังเล็กน้อย
  • 0:28 - 0:31
    ทีนี้ ลองคิดว่า คุณยืนอยู่บนถนน ที่ไหนก็ได้ ในประเทศญี่ปุ่น
  • 0:31 - 0:33
    คุณหันไปเจอคนๆหนึ่ง แล้วถามว่า
  • 0:33 - 0:35
    "ขอโทษนะครับ ถนนนี้ ชื่ออะไรหรือครับ?"
  • 0:35 - 0:39
    เขาจะตอบว่า "อ้อ ตรงนั้นช่วงตึกที่ 17 และตรงนี้ช่วงตึกที่ 16 ครับ"
  • 0:39 - 0:42
    คุณพูดว่า "โอเค แล้วถนนนี้ ชื่ออะไรล่ะครับ?"
  • 0:42 - 0:44
    เขาก็ตอบว่า "อืม ถนนมันไม่มีชื่อครับ
  • 0:44 - 0:46
    แต่ช่วงตึกมีชื่อ"
  • 0:46 - 0:50
    แค่ลองดูใน กูเกิ้ลแมพตรงนี้ นี่ช่วงตึกที่ 14, 15, 16, 17, 18, 19
  • 0:50 - 0:52
    ช่วงตึกทั้งหมด มีชื่อ
  • 0:52 - 0:56
    ถนน เป็นแค่พื้นที่ไม่มีชื่อ ระหว่างช่วงตึก
  • 0:56 - 0:59
    คุณจะพูดว่า "โอเค แล้วคุณทราบที่อยู่บ้านของคุณได้ยังไง?"
  • 0:59 - 1:02
    เขาพูดว่า "ง่ายๆ นี่คือตำบลที่แปด
  • 1:02 - 1:05
    ช่วงตึกที่ 17 บ้านเลขที่ 1"
  • 1:05 - 1:07
    คุณพูดว่า "โอเค แต่เดินไปรอบๆนี้
  • 1:07 - 1:09
    ผมสังเกตว่า บ้านเลขที่ มันไม่เรียงลำดับเลย"
  • 1:09 - 1:12
    เขาตอบว่า "เรียงสิ เรียงตามลำดับปีสร้างของบ้าน
  • 1:12 - 1:15
    บ้านที่สร้างหลังแรก ก็เป็นบ้านเลขที่ 1
  • 1:15 - 1:18
    บ้านสร้างหลังที่ 2 ก็เลขที่ 2
  • 1:18 - 1:20
    หลังที่ 3 เลขที่ 3 ง่ายๆ ออกจะชัดเจน"
  • 1:20 - 1:23
    ผมเลยชอบมาก ที่บางครั้งเราต้อง
  • 1:23 - 1:25
    เดินทาง ไปอีกซีกโลกหนึ่ง
  • 1:25 - 1:27
    เพื่อเรียนรู้สมมุติฐาน ที่เราไม่เคยแม้แต่จะคิด
  • 1:27 - 1:30
    และตระหนักว่า สมมุติฐานตรงข้ามนั้น อาจจะจริงก็ได้
  • 1:30 - 1:32
    ตัวอย่างเช่น มีหมอในจีน
  • 1:32 - 1:35
    ที่เชื่อว่า อาชีพของพวกเขา คือคอยดูแล ให้คุณแข็งแรง
  • 1:35 - 1:37
    ดังนั้น ถ้าเดือนไหน คุณแข็งแรง คุณก็จ่ายพวกเขา
  • 1:37 - 1:39
    และพอคุณป่วย คุณก็ไม่ต้องจ่ายพวกเขา เพราะพวกเขาล้มเหลว
  • 1:39 - 1:41
    ในหน้าที่ พวกเขารวยได้ เพราะเราแข็งแรง ไม่ใช่ป่วย
  • 1:41 - 1:44
    (ปรบมือ)
  • 1:44 - 1:46
    ในดนตรีส่วนมาก เราคิดถึง "หนึ่ง"
  • 1:46 - 1:50
    ว่าเป็น จังหวะตก เป็นจุดเริ่มต้นของวรรคดนตรี หนึ่ง สอง สาม สี่
  • 1:50 - 1:52
    แต่ในดนตรีแอฟริกาตะวันตกนั้น "หนึ่ง"
  • 1:52 - 1:54
    เป็นจุดสุดท้าย ของวรรคดนตรี
  • 1:54 - 1:56
    เหมือนกับเครื่องหมายจุด ที่ใช้จบประโยค
  • 1:56 - 1:58
    คุณได้ยินมัน ไม่เพียงเวลาแบ่งวรรคดนตรี แต่วิธีนับจังหวะดนตรีด้วย
  • 1:58 - 2:01
    สอง สาม สี่ หนึ่ง
  • 2:01 - 2:04
    และแผนที่นี้ ก็ถูกต้องแล้วด้วย
  • 2:04 - 2:06
    (หัวเราะ)
  • 2:06 - 2:09
    มีคนพูดไว้ว่า อะไรก็ตาม ที่เป็นจริงเกี่ยวกับอินเดีย
  • 2:09 - 2:11
    ตรงกันข้าม ก็เป็นจริงเหมือนกัน
  • 2:11 - 2:13
    ดังนั้น พวกเราไม่ควรลืม ไม่ว่าที่ TED หรือที่ใดอื่น
  • 2:13 - 2:16
    ว่าความคิดที่ยอดเยี่ยมอะไรก็ตาม ที่คุณมี หรือได้ยินมา
  • 2:16 - 2:18
    สิ่งตรงข้าม ก็อาจเป็นจริงได้เช่นกัน
  • 2:18 - 2:20
    ขอบคุณมากๆครับ (ภาษาญี่ปุ่น)
Title:
เดเรค สิเวอร์ส: แปลกแยก หรือแค่แตกต่าง?
Speaker:
Derek Sivers
Description:

"ทุกสิ่งล้วนมีด้านกลับ" มีคำกล่าวไว้ และใน 2 นาที เดเรค สิเวอร์สแสดงให้เห็นว่านี่เป็นความจริงด้วยตัวอย่างไม่กี่เรื่องที่คุณอาจคาดไม่ถึง

more » « less
Video Language:
English
Team:
closed TED
Project:
TEDTalks
Duration:
02:21
Chirayu Wongchokprasitti added a translation

Thai subtitles

Revisions