< Return to Video

การภาวนาที่ละเอียดเข้าไป :: หลวงปู่ปราโมทย์ ปาโมชฺโช 30 พ.ย. 2567

  • 0:02 - 0:12
    วันนี้เป็นวันเสาร์ที่ดูแปลก ดูสงบผิดปกติ
  • 0:12 - 0:15
    ธรรมดามาฟังเทศน์วันเสาร์จะวอกแวกๆ
  • 0:15 - 0:31
    เตรียมจะไปเที่ยวต่อ
  • 0:31 - 0:35
    พยายามศึกษาธรรมะเอาไว้
  • 0:35 - 0:40
    ดูพระไตรปิฎกได้ก็ดู
  • 0:40 - 0:45
    ดูฉบับเต็มไม่ได้ดูฉบับย่อก็ได้
  • 0:45 - 0:48
    พระไตรปิฎกสำหรับประชาชน
  • 0:48 - 0:52
    ของ อาจารย์สุชีพ ปุญญานุภาพ เป็นเบื้องต้น
  • 0:52 - 0:59
    สนใจรายละเอียดตรงไหนก็ไปอ่านฉบับเต็มเอา
  • 0:59 - 1:03
    ก่อนหลวงพ่อจะเจอหลวงปู่ดูลย์
  • 1:03 - 1:09
    หลวงพ่อพยายามแสวงหาหนทางปฏิบัติ
  • 1:09 - 1:12
    ตั้งแต่เด็กๆ ทำแต่สมาธิ
  • 1:12 - 1:16
    ทำอานาปานสติสงบเฉยๆ
  • 1:16 - 1:21
    คิดว่าศาสนาพุทธมีอะไรมากกว่าความสงบ
  • 1:21 - 1:26
    ก็พยายามช่วยตัวเอง
    ตอนนั้นไม่มีครูบาอาจารย์
  • 1:26 - 1:30
    ยังทำงานอยู่
  • 1:30 - 1:36
    อ่านพระไตรปิฎก อ่านหลายรอบ
  • 1:36 - 1:42
    ได้เห็นธรรมะดีๆ มากมายในพระไตรปิฎก
  • 1:42 - 1:48
    แต่ว่าเราไม่รู้จะตั้งต้นอย่างไร
  • 1:48 - 1:51
    หลักของการปฏิบัติมีมากมายเหลือเกิน
  • 1:51 - 1:57
    ที่พระพุทธเจ้าสอนไว้
  • 1:57 - 2:01
    จนมาเจอหลวงปู่ดูลย์
  • 2:01 - 2:08
    ท่านสอนให้หลวงพ่ออ่านจิตตัวเอง
  • 2:08 - 2:16
    พื้นฐานเราเคยอ่านตำรับตำรา มา
  • 2:16 - 2:18
    หลวงปู่ดูลย์ท่านก็บอกว่า
  • 2:18 - 2:24
    “อ่านหนังสือมามากแล้ว
    ต่อไปนี้อ่านจิตตนเอง”
  • 2:24 - 2:29
    ท่านทราบว่าอ่านมามาก
  • 2:29 - 2:34
    แล้วท่านก็แนะนำให้อ่านจิตตนเอง
  • 2:34 - 2:39
    ก็พยายามมาอ่านจิตตัวเองมาเรื่อยๆ
  • 2:39 - 2:44
    ทีแรกอ่านไม่เป็นก็ไปแทรกแซงจิต
  • 2:44 - 2:48
    ไปฝึกจิตให้ว่างๆ
  • 2:48 - 2:51
    ยังติดคำว่าว่างอยู่
  • 2:51 - 2:54
    อ่านหนังสือท่านอาจารย์พุทธทาส
  • 2:54 - 2:57
    มีคำว่า ว่างๆ เยอะ
  • 2:57 - 3:03
    อ่านหนังสือเซนก็มีแต่คำว่าว่างเยอะแยะเลย
  • 3:03 - 3:07
    เลยไปทำจิตว่างๆ
  • 3:07 - 3:13
    ไปเจอหลวงปู่ดูลย์
    ทำอยู่ 3 เดือนแล้วขึ้นไปกราบท่านอีกที
  • 3:13 - 3:16
    ท่านบอกทำผิดแล้วล่ะ
  • 3:16 - 3:20
    ให้ไปอ่านจิตไม่ได้ให้ไปแต่งจิต
  • 3:20 - 3:26
    ให้มันนิ่งๆ ว่างๆ นี้เป็นการปรุงแต่งเอาเอง
  • 3:26 - 3:29
    ให้อ่านเอาท่านบอกอย่างนี้
  • 3:29 - 3:32
    หลวงพ่อก็มาเริ่มอ่าน
  • 3:32 - 3:37
    เวลาเราอ่านหนังสือ คิดถึงการอ่านหนังสือ
  • 3:37 - 3:40
    เราไม่ใช่นักประพันธ์เราไม่ใช่คนแต่งหนังสือ
  • 3:40 - 3:44
    เราเป็นแค่คนอ่าน เราไม่ใช่นักวิจารณ์
  • 3:44 - 3:47
    เราเป็นแค่คนอ่าน
  • 3:47 - 3:49
    เพราะฉะนั้นเวลาจะอ่านจิตตัวเอง
  • 3:49 - 3:53
    ก็อ่านเหมือนเราอ่านหนังสือเล่มหนึ่ง
  • 3:53 - 3:56
    หรือดูเหมือนดูละคร
  • 3:56 - 4:00
    เวลาเราดูละครเราไม่ใช่คนแต่งบทละคร
  • 4:00 - 4:03
    เราไม่ใช่ผู้กำกับ
  • 4:03 - 4:09
    เราไม่ใช่นักวิจารณ์ เราเป็นแค่คนดู
  • 4:09 - 4:11
    กว่าจะจับเคล็ดคำว่า “ดู” ได้
  • 4:11 - 4:14
    คำว่า “เห็นตามความเป็นจริง” ได้
  • 4:14 - 4:18
    ใช้เวลาเหมือนกัน ทำผิดอยู่ 3 เดือน
  • 4:18 - 4:24
    พยายามไปปรุงแต่งจิตเป็น
    นักประพันธ์แต่งให้จิตมันดี
  • 4:24 - 4:28
    เวลามันไม่ดีเราก็เป็น
    นักวิจารณ์บอกตอนนี้มันไม่ดี
  • 4:28 - 4:33
    ไม่ใช่นักดู ไม่ใช่นักอ่าน
  • 4:33 - 4:37
    พอมาอ่านทำอย่างไร ก็ดูไป
  • 4:37 - 4:43
    จิตใจของเราแต่ละวันไม่เคยเหมือนกัน
  • 4:43 - 4:46
    บางวันจิตใจเรามีความสุข
  • 4:46 - 4:49
    บางวันจิตใจเรามีความทุกข์
  • 4:49 - 4:52
    บางวันจิตเราเป็นกุศลเยอะ
  • 4:52 - 4:55
    บางวันเป็นอกุศลเยอะ
  • 4:55 - 4:58
    บางวันสงบ บางวันฟุ้งซ่าน
  • 4:58 - 5:03
    ภาวนาแล้วเห็นแต่ละวัน
    จิตเราไม่เคยเหมือนกันเลย
  • 5:03 - 5:07
    เราก็ภาวนาไหว้พระสวดมนต์ นั่งสมาธิ
  • 5:07 - 5:10
    เดินจงกรมเหมือนกันทุกวัน
  • 5:10 - 5:14
    แต่จิตเราไม่เหมือนกัน
  • 5:14 - 5:17
    เห็นแต่ละวันไม่เหมือนกัน
  • 5:17 - 5:20
    อย่างหลวงพ่อเวลาอยู่ที่บ้าน
  • 5:20 - 5:23
    จะไหว้พระสวดมนต์แล้วก็นั่งสมาธิ ไม่ได้เดิน
  • 5:23 - 5:26
    เพราะบ้านเป็นบ้านโบราณบ้านไม้
  • 5:26 - 5:30
    เวลาเดินแล้วมันร้องเอี๊ยดๆ หนวกหูคนอื่นเขา
  • 5:30 - 5:35
    แต่เวลาออกมาจากบ้าน ทุกก้าวที่เดิน
  • 5:35 - 5:38
    รู้สึกไปเรื่อยๆ
  • 5:38 - 5:43
    ตามรู้ตามเห็นไปเรื่อยๆ
  • 5:43 - 5:47
    พอมาอ่านเราก็จะเห็นเลย
    แต่ละวันจิตเราไม่เหมือนกัน
  • 5:47 - 5:50
    ทั้งๆ ที่ภาวนาเหมือนกัน
  • 5:50 - 5:53
    ต่อมาดูได้ละเอียดมากขึ้น
  • 5:53 - 5:55
    ไม่ได้ดูเป็นวันๆ หรอก
  • 5:55 - 5:58
    ดูเป็นช่วงเวลา
  • 5:58 - 6:03
    ตอนเช้าตอนตื่นนอนจิตใจเราเป็นแบบนี้
  • 6:03 - 6:06
    ตอนสายๆ หน่อยเป็นอย่างนี้
  • 6:06 - 6:09
    ตอนเที่ยงจิตใจเราเป็นอย่างนี้
  • 6:09 - 6:11
    ตอนบ่ายจิตใจเป็นอย่างนี้
  • 6:11 - 6:15
    ตอนเย็นๆ จิตใจเป็นอย่างนี้
  • 6:15 - 6:20
    ตอนค่ำๆ ตอนดึกๆ จิตใจไม่เหมือนกันสักที
  • 6:20 - 6:24
    ทั้งๆ ที่เป็นวันเดียวกัน
  • 6:24 - 6:29
    ก่อนจะมาเห็นตรงนี้ได้ก็
    เห็นแต่ละวันไม่เหมือนกัน
  • 6:29 - 6:34
    พอภาวนามากเข้าๆ
    เราเห็นว่าแต่ละห้วงเวลาไม่เหมือนกัน
  • 6:34 - 6:40
    อย่างตอนเช้าตื่นมา
    แล้วเช้าแต่ละวันก็ยังไม่เหมือนกันอีก
  • 6:40 - 6:45
    อย่างเช้าวันจันทร์ตอนนั้นรับราชการ
  • 6:45 - 6:50
    เช้าวันจันทร์เบื่อ ขี้เกียจ
  • 6:50 - 6:53
    เช้าวันอังคารก็เบื่อมาก
  • 6:53 - 6:57
    เช้าวันพุธชักจะอุเบกขาแล้ว เฉยๆ แล้ว
  • 6:57 - 7:00
    เช้าวันพฤหัสเริ่มสดชื่น
  • 7:00 - 7:03
    พอเช้าวันศุกร์นี้กระดี๊กระด๊า
  • 7:03 - 7:05
    แต่ละวันไม่เหมือนกัน
  • 7:05 - 7:07
    ทั้งๆ ที่เป็นห้วงเวลาเดียวกัน
  • 7:07 - 7:11
    แต่ละวันก็ยังไม่เหมือนกันอีก
  • 7:11 - 7:15
    ตอนสายๆ แต่ละวันก็ไม่เหมือนกัน
  • 7:15 - 7:19
    ตอนเที่ยงก็ไม่เหมือนกัน สังเกตไป
  • 7:19 - 7:25
    ตอนเย็นๆ หลวงพ่อสังเกตตัวเอง
  • 7:25 - 7:28
    จิตหลวงพ่อจะมีกำลังมาก
  • 7:28 - 7:31
    ตอนเป็นโยมจิตจะมีกำลังมาก
  • 7:31 - 7:35
    ตอนสัก 4 โมงเย็นไปแล้ว
  • 7:35 - 7:40
    คล้ายๆ ทำงานใกล้จะเลิกงานแล้ว
  • 7:40 - 7:42
    จิตใจเริ่มสดชื่น
  • 7:42 - 7:45
    ตอนทำงานก็เครียดไม่ใช่ไม่เครียด
  • 7:45 - 7:50
    เพราะงานที่ทำนี้ งานที่เครียดมากๆ เลย
  • 7:50 - 7:53
    งานอยู่สภาความมั่นคง
  • 7:53 - 8:00
    วันๆ ก็เป็นเรื่องหาข้อมูลวิเคราะห์ข้อมูล
  • 8:00 - 8:04
    หาทางออกในการแก้ปัญหาแต่ละเรื่อง
  • 8:04 - 8:07
    เรื่องปวดหัวทั้งนั้นล่ะ
  • 8:07 - 8:12
    พอได้เวลาจะเลิกงานใจเริ่มผ่อนคลาย
  • 8:12 - 8:16
    ฉะนั้นเวลาสังเกตตัวเอง
  • 8:16 - 8:20
    ตอนเย็นๆ ตอนเลิกงานจิตจะมีกำลัง
  • 8:20 - 8:28
    จิตจะสดชื่นเกิดสมาธิโดยที่ไม่ต้องนั่งสมาธิ
  • 8:28 - 8:33
    ฉะนั้นตรงนี้เป็นนาทีทองสำหรับหลวงพ่อ
  • 8:33 - 8:36
    พวกเราก็ต้องไปดูตัวเอง
  • 8:36 - 8:40
    เวลาช่วงไหนในแต่ละวัน
  • 8:40 - 8:44
    เป็นช่วงที่สติของเราดีสมาธิของเราดี
  • 8:44 - 8:50
    ช่วงเวลานั้นเป็นเวลานาทีทองของวันนั้น
  • 8:50 - 8:58
    เราควรจะสงวนควรจะรักษา
    ช่วงเวลานี้เอาไว้ภาวนา
  • 8:58 - 9:02
    เพราะฉะนั้นหลวงพ่อ
    พอเลิกงานแล้วไม่ทำอะไรหรอก
  • 9:02 - 9:04
    กลับบ้าน
  • 9:04 - 9:09
    ไม่เอานาทีทองตัวนี้ไปทำลายทิ้ง ไปเที่ยว
  • 9:09 - 9:12
    คนเขาก็ชวนไปเที่ยว
    ผับเที่ยวบาร์อะไรอย่างนี้
  • 9:12 - 9:16
    ไม่ไป บอกไม่ชอบ
  • 9:16 - 9:19
    แล้วจริงๆ ก็คือไม่ชอบไม่ได้โกหก
  • 9:19 - 9:24
    เคยหลุดเข้าไปในบาร์หรือในผับอะไรทีหนึ่ง
  • 9:24 - 9:27
    นี่มันนรกชัดๆ เลย
  • 9:27 - 9:33
    เสียงก็ดัง ไฟก็วูบๆ วาบๆ คนก็หลง
  • 9:33 - 9:36
    แล้วก็ดื่มน้ำทองแดงกัน
  • 9:36 - 9:40
    เข้าไปเห็นครั้งเดียวเข็ดเลย หนีตลอด ไม่ยอม
  • 9:40 - 9:42
    ใครชวนอย่างไรก็ไม่ไป
  • 9:42 - 9:49
    เรื่องอะไรอยู่ดีๆ
    เป็นมนุษย์ดีๆ ไปตกนรกเล่น
  • 9:49 - 9:53
    ฉะนั้นพอเลิกงานตกเย็นตกค่ำ
  • 9:53 - 9:57
    หลวงพ่อภาวนา
  • 9:57 - 10:02
    ขึ้นรถเมล์กลับบ้านก็ภาวนา
  • 10:02 - 10:06
    ตอนเช้าขึ้นรถเมล์ไปทำงานก็ภาวนา
  • 10:06 - 10:08
    ตอนจะกินข้าวก็ภาวนา
  • 10:08 - 10:12
    ภาวนาไม่ใช่ไปนั่งพุทโธๆ อะไรหรอก
  • 10:12 - 10:17
    มีสติอ่านจิตใจตัวเองไปไม่หยุด
  • 10:17 - 10:21
    จิตใจเรามีความสุขก็รู้ จิตใจเราทุกข์ก็รู้
  • 10:21 - 10:23
    จิตสงบก็รู้ จิตฟุ้งซ่านก็รู้
  • 10:23 - 10:26
    ฝึกไปเรื่อยๆ
  • 10:26 - 10:31
    ต่อมาสติแข็งแรงมากขึ้นๆ สมาธิดีขึ้น
  • 10:31 - 10:36
    คราวนี้ไม่ได้เห็นความเปลี่ยนแปลง
    ของจิตตามห้วงเวลาแล้ว
  • 10:36 - 10:40
    ถ้าอ่อนที่สุดก็เห็นว่าแต่ละวันไม่เหมือนกัน
  • 10:40 - 10:45
    ถ้าพัฒนาขึ้นมาแล้วเห็นว่า
    แต่ละเวลาไม่เหมือนกัน
  • 10:45 - 10:49
    พอสติเราเร็วจริงๆ สมาธิเราดีจริงๆ
  • 10:49 - 10:54
    เราจะเห็นว่าแต่ละขณะไม่เหมือนกัน
  • 10:54 - 10:56
    อย่างตอนเช้านี้
  • 10:56 - 10:59
    จิตเราเปลี่ยนไป
    ไม่รู้กี่ร้อยกี่พันครั้งแล้ว
  • 10:59 - 11:02
    แค่ช่วงเช้าแป๊บเดียวนั้น
  • 11:02 - 11:05
    ค่อยๆ สังเกตเอา
  • 11:05 - 11:09
    อย่างออกจากบ้านหรืออยู่ในบ้าน
  • 11:09 - 11:11
    ตอนเช้าจะไปทำงาน
  • 11:11 - 11:16
    พยายามจะขับถ่ายกลัวไปปวดท้องกลางทาง
  • 11:16 - 11:18
    วันนี้ขับถ่ายสะดวก
  • 11:18 - 11:22
    จิตใจสบายรู้สึกผ่อนคลาย
  • 11:22 - 11:26
    วันนี้ท้องผูกไม่ยอมถ่าย กลุ้มใจ
  • 11:26 - 11:30
    ไม่ได้รู้แค่ว่าถ่ายได้ไม่ได้
  • 11:30 - 11:32
    รู้เข้ามาถึงจิตถึงใจเลย
  • 11:32 - 11:36
    จิตใจยินดีพอใจหรือจิตใจกลุ้มใจ
  • 11:36 - 11:39
    นี่คือการปฏิบัติ
  • 11:39 - 11:45
    ถ้าปฏิบัติเก่งเฉพาะตอนนั่งสมาธิ
    เดินจงกรมถือว่ายังอ่อนหัดมากเลย
  • 11:45 - 11:50
    ต้องฝึกให้ได้ มีสติอยู่ทุกขณะ
  • 11:50 - 11:56
    คำว่า “ทุกขณะ” ไม่ถึงขณะตามตำราอภิธรรม
  • 11:56 - 11:59
    ตำราอภิธรรมบอกว่าลัดนิ้วมือหนึ่ง
  • 11:59 - 12:02
    จิตเกิดดับแสนโกฏิขณะ
  • 12:02 - 12:05
    ลัดนิ้วมือ ดีดนิ้วทีหนึ่ง
  • 12:05 - 12:09
    จิตเกิดดับแสนโกฏิขณะ อันนั้นตำรา
  • 12:09 - 12:13
    ทางวิทยาศาสตร์ก็พบว่า
  • 12:13 - 12:17
    มันมีช่วงเวลากว่าที่จิตจะ
    ขึ้นมารับอารมณ์แต่ละครั้ง
  • 12:17 - 12:21
    แล้วรู้เรื่องว่าอะไรเป็นอะไร ใช้เวลา
  • 12:21 - 12:27
    แต่ไม่ถึงวินาทีผุดความรู้สึกขึ้นมาแล้ว
  • 12:27 - 12:31
    เราก็ดูจากความเป็นจริงที่เราเห็น
  • 12:31 - 12:33
    ไม่ได้ดูจากตำรา
  • 12:33 - 12:36
    ตำราก็อาจจะถูกก็ได้
  • 12:36 - 12:39
    แต่สติเราไม่ละเอียดพอที่จะเห็น
  • 12:39 - 12:42
    ต้องตีความอย่างนี้ไว้ก่อน ไม่ใช่
  • 12:42 - 12:44
    ทำได้ไม่เหมือนตำราบอกตำราผิด
  • 12:44 - 12:48
    อันนั้นเซลฟ์จัดเกินไปแล้ว
  • 12:48 - 12:51
    เราดูเท่าที่เราดูได้
  • 12:51 - 12:54
    หลวงพ่อเห็นว่าจิตมันเปลี่ยนอยู่ทุกขณะ
  • 12:54 - 12:56
    ขณะอะไรไม่ใช่ขณะจิตหรอก
  • 12:56 - 13:02
    ขณะที่ตาเห็นรูปก็เกิดความเปลี่ยนแปลงที่จิต
  • 13:02 - 13:07
    ขณะที่หูได้ยินเสียง
    ก็เกิดความเปลี่ยนแปลงที่จิต
  • 13:07 - 13:11
    ขณะที่จมูกได้กลิ่น
    ลิ้นกระทบรสกายกระทบสัมผัส
  • 13:11 - 13:15
    ก็เกิดความเปลี่ยนแปลงที่จิต
  • 13:15 - 13:17
    ขณะที่จิตมันคิด
  • 13:17 - 13:21
    จิตมันคิดนึกปรุงแต่งก็เกิดความเปลี่ยนแปลง
  • 13:21 - 13:24
    คิดเรื่องนี้เกิดสุข คิดเรื่องนี้เกิดทุกข์
  • 13:24 - 13:29
    คิดเรื่องนี้เกิดราคะ คิดเรื่องนี้เกิดโทสะ
  • 13:29 - 13:32
    อยู่เฉยๆ จะมีโทสะได้ไหม ไม่ได้หรอก
  • 13:32 - 13:36
    ต้องตามหลังความคิดเรียกพยาบาทวิตกมาก่อน
  • 13:36 - 13:40
    อยู่ๆ จะเกิดราคารุนแรงอะไรได้ไหม ไม่ได้
  • 13:40 - 13:42
    ต้องมีกามวิตกมาก่อน
  • 13:42 - 13:45
    แล้วทั้งหมดต้องหลง
  • 13:45 - 13:47
    ทีแรกเราไม่เห็นขนาดนั้น
  • 13:47 - 13:52
    เราภาวนาเราเห็นว่าจิตเราเปลี่ยนทุกขณะ
  • 13:52 - 13:56
    ขณะที่กระทบอารมณ์นั่นล่ะ ไม่ใช่ขณะจิตหรอก
  • 13:56 - 13:58
    ตาเห็นรูป
  • 13:58 - 14:02
    ทีแรกบอกเห็นรูปใจก็โกรธขึ้นมาอะไรอย่างนี้
  • 14:02 - 14:07
    ดูละเอียดลงไปอีก ไม่ต้องตั้งใจดู
  • 14:07 - 14:11
    แต่เราฝึกสติของเราไปเรื่อยๆ
    ฝึกสมาธิของเราไปเรื่อยๆ
  • 14:11 - 14:15
    มันจะเห็นได้ละเอียดๆๆ เข้าไปอีก
  • 14:15 - 14:17
    ขณะที่ตาเห็นรูป
  • 14:17 - 14:21
    จิตไม่มีความสุขไม่มีความทุกข์
  • 14:21 - 14:24
    จิตเฉยๆ ขณะที่ตามองเห็น
  • 14:24 - 14:29
    จะเกิดสุขเกิดทุกข์
    เกิดกุศลอกุศลมาเกิดทีหลัง
  • 14:29 - 14:33
    พอตาเห็นรูปปุ๊บมันจะมีการแปล
  • 14:33 - 14:37
    เราจะเห็นการแปลความหมายของรูป
  • 14:37 - 14:39
    รูปนี้คืออะไร
  • 14:39 - 14:44
    แล้วอนุสัยความคุ้นเคยมันก็ให้ค่าออกมา
  • 14:44 - 14:49
    พอใจรูปนี้สวยงาม เห็นดอกไม้สวย
  • 14:49 - 14:54
    ตรงที่ตาเห็นดอกไม้สวยไม่มีคำว่าสวยหรอก
  • 14:54 - 14:58
    ตาเห็นรูปเฉยๆ ตาไม่เห็นของสวยหรอก
  • 14:58 - 15:04
    ตาเห็นแล้วก็จิตมันแปล
    ว่านี่ดอกไม้นี่ดอกกุหลาบ
  • 15:04 - 15:06
    สวยเชียว ดอกก็โตสวย
  • 15:06 - 15:09
    พอมีการให้ค่าขึ้นมา
  • 15:09 - 15:13
    ใจก็ยินดีพอใจ ราคะก็เกิด
  • 15:13 - 15:19
    ตามหลังความคิดมา ความคิดที่เป็นกามวิตก
  • 15:19 - 15:25
    กระบวนการมันจะค่อย
    ยิ่งภาวนามันยิ่งละเอียดๆๆ เข้าไป
  • 15:25 - 15:30
    เราจะรู้เลยว่าขณะที่ตามองเห็นไม่มีกิเลส
  • 15:30 - 15:33
    แล้วจิตก็เป็นอุเบกขา
  • 15:33 - 15:39
    ขณะหูได้ยินเสียงก็ไม่มีกิเลส
  • 15:39 - 15:43
    ขณะที่จมูกได้กลิ่น
    ลิ้นกระทบรส กายกระทบสัมผัส
  • 15:43 - 15:46
    ก็ยังไม่มีกิเลส
  • 15:46 - 15:50
    ตรงที่ใจมันกระทบความคิดแล้วความคิดมันนำไป
  • 15:50 - 15:53
    กิเลสมันก็ทำงานขึ้นมาได้
  • 15:53 - 15:58
    คอยรู้คอยดูค่อยๆ ฝึกไปเรื่อยๆ
  • 15:58 - 16:01
    แล้ววันหนึ่งก็เข้าใจหรอก
  • 16:01 - 16:05
    สิ่งใดเกิดสิ่งนั้นก็ดับ
  • 16:05 - 16:10
    ไม่มีสิ่งใดที่เกิด
    แล้วสิ่งนั้นไม่ดับ ไม่มีเลย
  • 16:10 - 16:14
    เราภาวนาเรื่อยๆ
    เราก็เห็นสุขเกิดแล้วสุขก็ดับ
  • 16:14 - 16:16
    ทุกข์เกิดแล้วทุกข์ก็ดับ
  • 16:16 - 16:18
    กุศลเกิดแล้วกุศลก็ดับ
  • 16:18 - 16:22
    อกุศล โลภ โกรธ หลงเกิดแล้วมันก็ดับ
  • 16:22 - 16:28
    จิตที่ไปดูรูปเกิดแล้วก็ดับ ตรงนี้ละเอียด
  • 16:28 - 16:33
    ละเอียดกว่าที่จะรู้
    จิตสุขจิตทุกข์จิตดีจิตชั่ว
  • 16:33 - 16:37
    คือเห็นจิตมันเกิดดับทางอายตนะทั้ง 6
  • 16:37 - 16:43
    จิตเกิดที่ตาดับที่ตา จิตเกิดที่หูดับที่หู
  • 16:43 - 16:46
    จิตเกิดที่จมูกดับที่จมูก
    เกิดที่ลิ้นดับที่ลิ้น
  • 16:46 - 16:51
    เกิดที่ร่างกายดับที่กาย
    จิตเกิดที่ใจก็ดับที่ใจ
  • 16:51 - 16:55
    จิตเกิดที่ไหนก็ดับที่นั้น
    จิตไม่ได้มีดวงเดียว
  • 16:55 - 16:58
    หัดภาวนาทีแรกเรารู้สึกจิตมีดวงเดียว
  • 16:58 - 17:02
    แล้วก็เที่ยวร่อนเร่ไปทางทวารทั้ง 6
  • 17:02 - 17:05
    คิดว่าจิตมีดวงเดียว
  • 17:05 - 17:10
    ดวงนี้หลงไปดูพอรู้ทันมันก็วิ่งกลับมา
  • 17:10 - 17:14
    มันหลงไปฟังพอรู้ทันมันก็วิ่งกลับมา
  • 17:14 - 17:18
    เข้าฐาน เห็นจิตเหมือนตัวแมงมุม
  • 17:18 - 17:21
    เดี๋ยวก็วิ่งไปข้างซ้าย
    เดี๋ยวก็วิ่งไปข้างขวา
  • 17:21 - 17:24
    เดี๋ยวขึ้นข้างบนเดี๋ยวลงข้างล่าง
  • 17:24 - 17:30
    แมงมุมมีตัวเดียววิ่งไปวิ่งมา
  • 17:30 - 17:34
    พอเราภาวนาละเอียดเข้าๆ เราเห็น
  • 17:34 - 17:38
    จิตเกิดที่ไหนก็ดับที่นั้น
  • 17:38 - 17:42
    จิตเสวยอารมณ์อันไหนก็ดับพร้อมอารมณ์อันนั้น
  • 17:42 - 17:46
    เกิดดับไปด้วยกัน
  • 17:46 - 17:50
    มันถี่ยิบขึ้นมา จะเห็น
  • 17:50 - 17:53
    ทีแรกเรายังไม่เห็นหรอก
  • 17:53 - 17:57
    เราต้องฝึกให้มีจิตที่เป็นผู้รู้ก่อน
  • 17:57 - 18:00
    จิตตั้งมั่นเด่นดวงขึ้นมา
  • 18:00 - 18:06
    เป็นมหากุศลจิตประกอบด้วยปัญญา
  • 18:06 - 18:09
    เกิดขึ้นโดยไม่ได้จงใจ
  • 18:09 - 18:12
    ต้องเป็นจิตชนิดนี้ถึงจะมีกำลังมากพอ
  • 18:12 - 18:16
    ที่จะเดินปัญญาได้จริง
  • 18:16 - 18:20
    ไม่อย่างนั้นยังเป็นปัญญาพื้นๆ คิดๆ เอา
  • 18:20 - 18:23
    แต่ถ้าจะขึ้นวิปัสสนาปัญญา
  • 18:23 - 18:28
    จิตต้องตั้งมั่นอัตโนมัติมีกำลัง
  • 18:28 - 18:32
    ของฟรีไม่มีก็ต้องฝึก
  • 18:32 - 18:39
    วิธีฝึกให้จิตตั้งมั่นทำอะไรดี
  • 18:39 - 18:46
    ทำได้ 2 วิธี หนึ่ง
    ฝึกเข้าฌานที่ประกอบด้วยสติ
  • 18:46 - 18:53
    อันที่สอง อาศัยสัมมาสติ
    หรือสติระลึกรู้รูปนามกายใจ
  • 18:53 - 18:56
    พอสติเราระลึกรู้รูปธรรมนามธรรม
  • 18:56 - 19:01
    ถูกต้องตรงตามความเป็นจริง
  • 19:01 - 19:06
    จิตที่ตั้งมั่นก็จะเกิดขึ้นเอง
  • 19:06 - 19:13
    เพราะฉะนั้นเจริญสัมมาสติให้มาก
    แล้วสัมมาสมาธิจะเกิดร่วมด้วย
  • 19:13 - 19:16
    เกิดด้วยกันกับสัมมาสติ
  • 19:16 - 19:18
    ขาดสตินี่
  • 19:18 - 19:23
    สัมมาสัมมาทั้งหลายหายหมดเลยไม่เหลือเลย
  • 19:23 - 19:27
    ฉะนั้นต้องฝึกสติให้ดี
  • 19:27 - 19:34
    วิธีฝึกสติอยู่ในหลักสูตร
    ชื่อการเจริญสติปัฏฐาน
  • 19:34 - 19:38
    มี 4 อย่าง กาย เวทนา จิต ธรรม
  • 19:38 - 19:41
    ถนัดอันไหนเอาอันนั้น แล้วได้ทุกอัน
  • 19:41 - 19:44
    สุดท้ายได้ทั้งหมดล่ะ
  • 19:44 - 19:47
    อย่างเราหัดรู้สึกร่างกาย
  • 19:47 - 19:52
    ร่างกายเคลื่อนไหวรู้สึก
    ร่างกายเคลื่อนไหวรู้สึกไปเรื่อยๆ
  • 19:52 - 19:54
    ต่อมาจิตเราหลงไป
  • 19:54 - 19:58
    ร่างกายเราขยับปุ๊บเรารู้เลยว่าจิตหลงไปแล้ว
  • 19:58 - 20:01
    มันก็เข้ามารู้จิตได้
  • 20:01 - 20:05
    สติปัฏฐาน 4 มันก็
    เหมือนโต๊ะตัวเดียวกันนี้ล่ะ
  • 20:05 - 20:07
    แต่มันมี 4 มุม
  • 20:07 - 20:11
    แข็งแรงหน่อยก็ยกมุมใด
    มุมหนึ่งมันก็ขึ้นมาหมดแล้ว
  • 20:11 - 20:17
    ได้หมดล่ะ ไม่ยาก
  • 20:17 - 20:22
    ชาวพุทธเราอย่าทิ้งการเจริญสติปัฏฐาน
  • 20:22 - 20:26
    ตราบใดที่ยังมีการเจริญสติปัฏฐานอยู่
  • 20:26 - 20:31
    การบรรลุมรรคผลนิพพานยังมีความเป็นไปได้
  • 20:31 - 20:37
    ไม่เจริญสติปัฏฐาน
    ไม่มีทางบรรลุมรรคผลอะไรหรอก
  • 20:37 - 20:45
    วิชาสติปัฏฐานเป็นวิชาที่ดี
  • 20:45 - 20:48
    ส่วนวิชาที่จะอยู่กับโลก
  • 20:48 - 20:53
    เขาเรียก เดรัจฉานวิชา
  • 20:53 - 20:57
    พระพุทธเจ้าไม่ได้ด่าเดรัจฉานวิชา
  • 20:57 - 21:00
    อย่าเข้าใจผิด
  • 21:00 - 21:03
    ตัวอย่างเดรัจฉานวิชาคืออะไร
  • 21:03 - 21:07
    แพทยศาสตร์นี้เดรัจฉานวิชา
  • 21:07 - 21:12
    รัฐศาสตร์ นิติศาสตร์ เศรษฐศาสตร์
  • 21:12 - 21:17
    ทันตแพทยศาสตร์ นิเทศศาสตร์
  • 21:17 - 21:19
    เดรัจฉานวิชาทั้งนั้นเลย
  • 21:19 - 21:22
    วิชาหมอนวดก็เดรัจฉานวิชา
  • 21:22 - 21:27
    คำว่าเดรัจฉานวิชาไม่ได้แปลว่า
    วิชาของสัตว์เดรัจฉาน
  • 21:27 - 21:33
    ดิรัจฉาน ตัวนี้แบบไปทางขวางไปทางนี้ ขวาง
  • 21:33 - 21:35
    สัตว์เดรัจฉาน สังเกตไหม
  • 21:35 - 21:40
    กระดูกสันหลังมักจะขวาง คือขนานกับโลก
  • 21:40 - 21:44
    เดรัจฉานวิชาคือวิชาที่จะอยู่กับโลก
  • 21:44 - 21:47
    จำเป็นต้องมีไหม จำเป็น
  • 21:47 - 21:54
    ถ้าขืนไม่มีเดรัจฉานวิชาทำมาหากินไม่เป็น
  • 21:54 - 21:56
    รู้วิธีเลี้ยงเด็กก็เดรัจฉานวิชา
  • 21:56 - 22:00
    รู้วิธีเลี้ยงเสือ ตอนนี้หมูเด้งจืดแล้ว
  • 22:00 - 22:05
    ตอนนี้มีเสือชื่ออะไร น้องเอวา
  • 22:05 - 22:09
    คนเลี้ยงเสือได้เขาก็มีวิชาของเขา
  • 22:09 - 22:12
    ให้เราไปเลี้ยง เสือเอาไปกิน
  • 22:12 - 22:17
    ฉะนั้นเดรัจฉานวิชาไม่ใช่วิชาต่ำต้อย
  • 22:17 - 22:21
    เป็นวิชาที่ต้องเอาไว้อยู่กับโลก
  • 22:21 - 22:28
    สิ่งที่ตรงข้ามกับเดรัจฉานวิชา
    คือวิชาทางตั้ง แนวตั้ง
  • 22:28 - 22:32
    เดรัจฉานวิชามันแนวขนาน ขนานไปกับโลก
  • 22:32 - 22:36
    แนวตั้งคือการปฏิบัติธรรมนั่นล่ะ
  • 22:36 - 22:41
    พัฒนาไตรสิกขาศีล สมาธิ ปัญญาขึ้นมา
  • 22:41 - 22:45
    แล้วลงท้ายไปเจริญสติปัฏฐานให้ได้
  • 22:45 - 22:48
    ในที่สุดก็จะพ้นโลก
  • 22:48 - 22:51
    เหมือนยิงจรวด ยิงจรวดขึ้นไปอย่างนี้
  • 22:51 - 22:55
    ถ้าเครื่องบินมันขนานกับโลกมันก็ไปอย่างนี้
  • 22:55 - 22:59
    ไปจากที่หนึ่งของโลกไปอีกที่หนึ่งของโลก
  • 22:59 - 23:04
    ถ้าเป็นทางจิตใจก็คือ
    จากภพนี้ก็ย้ายไปอีกภพหนึ่ง
  • 23:04 - 23:07
    ก็เวียนว่ายตายเกิดในภพน้อยภพใหญ่
  • 23:07 - 23:11
    แต่วิชาโลกุตตระ วิชาแนวตั้ง
  • 23:11 - 23:15
    เหมือนจรวดลอยขึ้นไปพ้นจากโลก
  • 23:15 - 23:25
    อยู่เหนือโลกก็คือคำว่า โลกุตตระ
  • 23:25 - 23:29
    คนยุคนี้ไม่เรียนธรรมะ ก็
  • 23:29 - 23:37
    ชอบวิจารณ์ตัดสินพระบ้าง ตัดสินฆราวาสบ้าง
  • 23:37 - 23:39
    ว่าทำไม่ถูกอะไร อย่างนี้
  • 23:39 - 23:47
    อย่างวิชาหมอดูเป็นเดรัจฉานวิชา
  • 23:47 - 23:50
    พระพุทธเจ้าก็ไม่ได้ว่าอะไร
  • 23:50 - 23:53
    ที่ท่านห้ามมีอันเดียว
  • 23:53 - 23:57
    ห้ามพระประกอบอาชีพทางเดรัจฉานวิชา
  • 23:57 - 23:59
    ท่านห้ามตัวนี้ต่างหากล่ะ
  • 23:59 - 24:04
    ท่านไม่ได้ห้ามฆราวาส อย่ามั่ว
  • 24:04 - 24:09
    ถ้าพระไปรักษาโรค
  • 24:09 - 24:13
    พระสมัยโบราณจะรักษาโรค
  • 24:13 - 24:16
    คนไม่สบายไม่รู้จะไปไหน โรงพยาบาลไม่มี
  • 24:16 - 24:21
    หามกันไปหาพระ กระดูกหักให้พระต่อให้
  • 24:21 - 24:24
    พระทำเดรัจฉานวิชาไหม ทำ
  • 24:24 - 24:27
    อาบัติไหมไม่อาบัติ
  • 24:27 - 24:29
    เพราะไม่ได้เอาไว้ทำมาหากิน
  • 24:29 - 24:31
    ทำเพื่อสงเคราะห์โลก
  • 24:31 - 24:38
    ไม่มีความละเอียดรอบคอบไม่เข้าใจ
    เรื่องธรรมวินัยแล้วชอบตัดสิน
  • 24:38 - 24:42
    พระทำอย่างนี้ไม่ถูก
    อันนี้ก็ไม่ถูก นั่นก็ไม่ถูก
  • 24:42 - 24:45
    พระดีๆ ก็คือพระพุทธรูป
  • 24:45 - 24:48
    ห้ามกระดุกกระดิกทำอะไรไม่ได้เลย
  • 24:48 - 24:51
    พอไม่ได้เรียนไม่ได้ศึกษาแล้วก็
  • 24:51 - 24:57
    ชอบมั่วชอบตีความชอบตัดสิน มั่วมาก
  • 24:57 - 25:04
    ทำให้พระธรรมวินัยศาสนาอยู่ยาก อยู่ลำบาก
  • 25:04 - 25:06
    ธรรมะจริงๆ สูญหายไป
  • 25:06 - 25:09
    สัทธรรมปฏิรูปเกิดขึ้นมาแทนที่
  • 25:09 - 25:11
    บางทีพูดแล้วโก้เก๋ดี
  • 25:11 - 25:15
    พูดแล้วแหมดูดีจังเลย
  • 25:15 - 25:20
    คนที่พูดแล้วดูดีที่มีชื่อเสียงที่สุดเลย
  • 25:20 - 25:23
    คือเทวทัต
  • 25:23 - 25:26
    เทวทัตเป็นคนเสนอพระพุทธเจ้า
  • 25:26 - 25:29
    บอกต่อไปนี้พระต้องมักน้อยสันโดษ
  • 25:29 - 25:34
    ต้องดำรงชีวิตด้วยอาหารบิณฑบาตเท่านั้น
  • 25:34 - 25:37
    ต้องใช้ผ้าบังสุกุลจีวรเท่านั้น
  • 25:37 - 25:40
    ต้องไม่มีกุฏิไม่มีอะไร
  • 25:40 - 25:44
    ไม่สร้างวัดสร้างวาอะไร
  • 25:44 - 25:47
    อยู่ตามธรรมชาติธรรมดา
  • 25:47 - 25:52
    ต้องกินมังสวิรัติ ฟังแล้วดี
  • 25:52 - 25:55
    พวกคนไม่ฉลาดก็เคลิ้ม
  • 25:55 - 25:59
    เทวทัตเคร่งครัดกว่าพระพุทธเจ้าอีก
  • 25:59 - 26:02
    ส่วนหนึ่งพวกพระก็ยังตามไปเลย
  • 26:02 - 26:07
    ตามเทวทัตไปเป็นร้อยๆ เลย
  • 26:07 - 26:10
    แล้วต่อมาพระโมคคัลลานะ สารีบุตร
  • 26:10 - 26:13
    ท่านไปอธิบายธรรมะให้ฟัง
  • 26:13 - 26:17
    ตอนที่ท่านเข้าไปสำนักของเทวทัต
  • 26:17 - 26:20
    เทวทัตกำลังเทศน์ให้ลูกศิษย์ฟังอยู่
  • 26:20 - 26:25
    พอเห็นพระโมคคัลลานะ สารีบุตรเข้าไปก็ดีใจ
  • 26:25 - 26:33
    นึกว่าแปรพักตร์จากพระพุทธเจ้า
    มาเป็นสาวกของเทวทัตแล้ว
  • 26:33 - 26:36
    เทวทัตก็บอกว่าช่วยเทศน์แทนหน่อย
  • 26:36 - 26:39
    เมื่อยแล้วจะไปนอน
  • 26:39 - 26:42
    พอตื่นมาลูกศิษย์หายไปหมดแล้ว
  • 26:42 - 26:45
    มาฟังเทศน์พระโมคคัลลานะ พระสารีบุตร
  • 26:45 - 26:50
    รู้ผิดชอบชั่วดีถอยออกมาเลย
  • 26:50 - 26:54
    เหลือที่ไม่ถอยออกมาไม่มาก
  • 26:54 - 26:58
    พวกที่ถอยออกมาก็มาภาวนา
  • 26:58 - 27:03
    จำไม่ได้ว่าออกมาแล้วภาวนาแล้วผลเป็นอย่างไร
  • 27:03 - 27:06
    แต่มีเรื่องเล่าอันหนึ่ง
  • 27:06 - 27:10
    อันนี้ต้องใช้วิจารณญาณในการฟัง
  • 27:10 - 27:13
    สำนวนนี้เคยคุ้นๆ ไหม
  • 27:13 - 27:17
    ต้องใช้วิจารณญาณในการฟัง
  • 27:17 - 27:22
    เมื่อก่อนหลวงพ่อเคยรู้จักพระองค์หนึ่ง
    ตอนหลวงพ่อยังไม่บวช
  • 27:22 - 27:25
    ท่านพิการมือนิ้วท่านติดกันอย่างนี้
  • 27:25 - 27:28
    ติดกันหมดเลย
  • 27:28 - 27:32
    แล้วท่านบอกท่านพิการมาแต่เด็กเลย
  • 27:32 - 27:37
    สงสัยบาปกรรมอะไรทำให้พิการอย่างนี้
  • 27:37 - 27:40
    ท่านก็ระลึกๆ ไป จริงหรือเปล่าไม่รู้
  • 27:40 - 27:44
    อันนี้ท่านเล่าพิสูจน์ไม่ได้
  • 27:44 - 27:47
    ท่านบอกท่านเคยเป็นลูกศิษย์เทวทัต
  • 27:47 - 27:50
    แต่กลับใจแล้ว กลับใจแล้ว
  • 27:50 - 27:57
    ตอนเป็นลูกศิษย์เทวทัตก็ประกาศ
    ว่าต่อไปนี้จะไม่ไหว้พระพุทธเจ้าแล้ว
  • 27:57 - 28:01
    แล้วต่อมาก็เปลี่ยนใจกลับเข้ามา
  • 28:01 - 28:05
    บอกว่าอกุศลนี่ นิ้วของท่านเป็นแบบนี้
  • 28:05 - 28:10
    แยกออกจากกันไม่ได้ ทำได้แค่นี้
  • 28:10 - 28:12
    จริงหรือเปล่าไม่รู้
  • 28:12 - 28:16
    อันนี้เรื่องของกรรมเป็นเรื่องอจินไตย
  • 28:16 - 28:22
    แต่การกระทำทั้งหลายทั้งปวงย่อมมีผลแน่นอน
  • 28:22 - 28:28
    ลูกศิษย์เทวทัตปรามาสพระพุทธเจ้า
    ปรามาสพระสาวก
  • 28:28 - 28:35
    ก็ต้องรับวิบาก เทวทัตก็ต้องรับวิบาก
  • 28:35 - 28:39
    เพราะฉะนั้นเวลาเราได้ยินใครเขาเสนอวาทะ
  • 28:39 - 28:43
    คมคายดูดีเหลือเกินเลย
  • 28:43 - 28:48
    ต้องทบทวนว่ามันตรงกับพระไตรปิฎกหรือเปล่า
  • 28:48 - 28:52
    บางทีการเสนออะไรที่เข้มมากๆ
  • 28:52 - 28:54
    พระพุทธเจ้าท่านไม่เอา ท่านบอก
  • 28:54 - 29:00
    เดี๋ยวศาสนาจะอยู่ยาก ศาสนาจะอันตรธานเร็ว
  • 29:00 - 29:04
    อย่างเป็นพระบอกต้องฉันเจอย่างเดียว
  • 29:04 - 29:06
    ชาวบ้านเขาไม่ได้กินเจ
  • 29:06 - 29:09
    ใครเขาจะมาหาอาหารเจให้ทุกวันๆ
  • 29:09 - 29:14
    สุดท้ายพระอาหารไม่พอแล้วก็อยู่ไม่ได้
  • 29:14 - 29:18
    ศาสนาก็หายไป พระหายไปไม่มีใครสืบทอด
  • 29:18 - 29:23
    ฉะนั้นพระพุทธเจ้าท่านจะไม่สุดโต่งๆ
  • 29:23 - 29:30
    ศาสนาถึงได้ยืนยาวมาถึงทุกวันนี้
  • 29:30 - 29:33
    ทำไมมาเรื่องนี้ได้ก็ไม่รู้
  • 29:33 - 29:38
    รวมความก็คือต้องเจริญสติปัฏฐาน
  • 29:38 - 29:42
    หลวงพ่อสอนอยู่ทุกวี่ทุกวันก็เรื่องนี้ล่ะ
  • 29:42 - 29:47
    แต่ก่อนที่เราจะมาเจริญสติปัฏฐานได้
  • 29:47 - 29:51
    บทเรียนของเราต้องครบ ไตรสิกขา
  • 29:51 - 29:53
    ศีลต้องรักษา
  • 29:53 - 30:02
    ตั้งใจไว้ก่อนจะรักษาศีล 5
    ให้ดีที่สุดเท่าที่จะทำได้
  • 30:02 - 30:09
    เรื่องรักษาศีลก็เคยมี
    คนถามหลวงปู่เทสก์กระมัง
  • 30:09 - 30:16
    บอกว่า ถ้าท่านเดินไปแล้วเห็นผู้หญิงตกน้ำ
  • 30:16 - 30:18
    พระจะกระโดดลงไปช่วย
  • 30:18 - 30:23
    อาบัติไหมไปจับตัวผู้หญิง
  • 30:23 - 30:28
    ไม่ช่วยจิตจะเศร้าหมองไหม
  • 30:28 - 30:30
    ถ้าจิตเศร้าหมองแสดงว่า
  • 30:30 - 30:34
    ตรงนั้นเราต้องทำชั่วอะไรสักอย่างแล้ว
  • 30:34 - 30:40
    อย่างเราเห็นผู้หญิงตกน้ำ แล้วเราก็อุเบกขา
  • 30:40 - 30:44
    จริงๆ แล้วจิตจะไม่ดีเลย จิตจะกระด้าง
  • 30:44 - 30:47
    เห็นสัตว์ลำบากแล้วเฉยเมย
  • 30:47 - 30:51
    คิดว่าความเฉยเมยคืออุเบกขา ไม่ใช่
  • 30:51 - 30:55
    เป็นความใจไม้ไส้ระกำ
  • 30:55 - 30:57
    ท่านบอกว่าท่านก็ใช้วิธีนี้สิ
  • 30:57 - 31:01
    ท่านกระโดดลงไปในน้ำไปอยู่ใกล้ๆ เขา
  • 31:01 - 31:04
    เดี๋ยวเขาก็เกาะท่านท่านก็ว่ายเข้าฝั่ง
  • 31:04 - 31:10
    ท่านว่าอย่างนี้ แต่หลวงพ่อคงไม่เอา
  • 31:10 - 31:14
    ขืนมาเกาะเราก็พากันจมแน่เลย
  • 31:14 - 31:23
    หาไม้หาอะไรโยนให้ ให้เกาะ ก็ต้องช่วย
  • 31:23 - 31:26
    จำเป็นจริงๆ
  • 31:26 - 31:33
    ก็ลงไปลากขึ้นมาแล้วมาปลงอาบัติเอา
  • 31:33 - 31:38
    บางทีก็ต้องคิดต้องพิจารณา
  • 31:38 - 31:43
    ถือศีลเคร่งๆ ไปเลยแบบงมงายก็ใช้ไม่ได้
  • 31:43 - 31:47
    ศีลรักษาไปเพื่อให้จิตใจเป็นปกติ
  • 31:47 - 31:51
    เพื่อให้หมู่สงฆ์สงบสุข
  • 31:51 - 31:54
    เพื่อให้คนที่ยังไม่เลื่อมใสเกิดเลื่อมใส
  • 31:54 - 31:56
    เพื่อให้คนที่เลื่อมใสแล้ว
  • 31:56 - 32:02
    มีความมั่นคงในพระศาสนา เลื่อมใสมั่นคง
  • 32:02 - 32:05
    ศีลไม่ได้ถือเอาไว้ทรมานตัวเอง
  • 32:05 - 32:09
    ศีลไม่ได้ถือไว้ใจร้ายกับคนอื่น
  • 32:09 - 32:18
    เพราะฉะนั้นก็ต้องรู้จักอะไรควรอะไรไม่ควร
  • 32:18 - 32:25
    เห็นมีพระมีข่าวเรื่อยเลย ดูแลแม่
  • 32:25 - 32:29
    เช็ดอึเช็ดฉี่อาบน้ำให้อะไรให้
  • 32:29 - 32:34
    ถามว่าถูก ไม่ถูก ก็ไม่ถูก
  • 32:34 - 32:38
    ถ้าไม่มีใครทำให้ก็ต้องทำ
  • 32:38 - 32:43
    อาบัติร้ายแรงไหม อาบัติไม่ร้ายแรง
  • 32:43 - 32:48
    อาบัติที่ร้ายแรงคือภิกษุมี
    ความกำหนัดจับต้องกายหญิง
  • 32:48 - 32:52
    ไม่ได้มีความกำหนัดมีแต่ความเมตตา
  • 32:52 - 32:54
    ดีกรีมันมี
  • 32:54 - 32:57
    ว่ามันผิดร้ายแรงแค่ไหน
  • 32:57 - 33:00
    ไม่ใช่เห็นอะไรก็บอกจับสึกๆ
  • 33:00 - 33:08
    ทุกวันนี้ง่ายเหลือเกิน
    เจอพระไม่ชอบใจ บอกจับสึก
  • 33:08 - 33:12
    เพราะฉะนั้นต้องเรียน ขอแนะนำ
  • 33:12 - 33:20
    อ่านพระไตรปิฎกดีที่สุดเลยหัดอ่านไป
  • 33:20 - 33:22
    พระวินัย พระสูตรพวกนี้ อ่าน
  • 33:22 - 33:24
    อภิธรรมอ่านไม่รู้เรื่อง
  • 33:24 - 33:36
    ต้องไปเรียนอภิธัมมัตถสังคหะอะไรพวกนั้นก่อน
  • 33:36 - 33:42
    ศีลต้องรักษา สมาธิต้องฝึก
  • 33:42 - 33:45
    ทุกวันแบ่งเวลาไว้เลย
  • 33:45 - 33:52
    ถึงเวลาจะต้องปฏิบัติในรูปแบบ
  • 33:52 - 34:00
    ทำไมหลวงพ่อไม่ใช้คำว่าถึงเวลา
    ให้ไปนั่งสมาธิให้ไปเดินจงกรม
  • 34:00 - 34:04
    เพราะว่าแต่ละคนรูปแบบ
    ของแต่ละคนไม่เหมือนกัน
  • 34:04 - 34:10
    บางคนกวาดพื้นอยู่เป็นเครื่องอยู่
  • 34:10 - 34:15
    นั่นคือการทำในรูปแบบของเขา
  • 34:15 - 34:19
    ตอนหลวงพ่อบวชครั้งแรกที่วัดชลประทาน
  • 34:19 - 34:22
    หลวงพ่อปัญญาเป็นพระอุปัชฌาย์
  • 34:22 - 34:27
    มีพระผู้เฒ่าองค์หนึ่งกุฏิอยู่ติดๆ กัน
  • 34:27 - 34:32
    ท่านกวาดวัด ฉันข้าวเสร็จตอนเช้าก็กวาดวัดไป
  • 34:32 - 34:35
    กวาดจากหน้าวัดไปท้ายวัด
  • 34:35 - 34:36
    ท้ายวัดกวาดมาหน้าวัด
  • 34:36 - 34:38
    กวาดอยู่อย่างนั้นทั้งวัน
  • 34:38 - 34:42
    หลวงพ่อตอนนั้นโง่ ก็ไปบอกท่าน
  • 34:42 - 34:47
    บอกหลวงพ่อทำไมไม่นั่งสมาธิไม่เดินจงกรม
  • 34:47 - 34:49
    ไม่ต้องห่วงเดี๋ยวผมช่วยกวาด
  • 34:49 - 34:53
    เราไปนั่งสมาธิกันดีกว่า
  • 34:53 - 34:58
    ท่านก็ยิ้มหวานหลวงพ่อ
    ยังจำรอยยิ้มของท่านได้
  • 34:58 - 35:03
    ท่านบอกคุณบวชสั้นๆ คุณไปนั่งสมาธิเดินจงกรม
  • 35:03 - 35:06
    เดี๋ยวผมกวาดเอง
  • 35:06 - 35:08
    นี่ความโง่ของเรา
  • 35:08 - 35:12
    ที่จริงท่านภาวนาทั้งวันเลย
  • 35:12 - 35:15
    ร่างกายท่านเคลื่อนไหวท่านกวาดใบไม้
  • 35:15 - 35:19
    กวาดถนนกวาดใบไม้กวาดไปเรื่อยๆ
  • 35:19 - 35:21
    ร่างกายเคลื่อนไหวรู้สึก
  • 35:21 - 35:25
    เห็นรูปเคลื่อนไหวใจเป็นคนรู้
  • 35:25 - 35:28
    เราภาวนาเป็นแล้วเราถึงนึกถึงท่านได้
  • 35:28 - 35:29
    โอ๊ยตายแล้ว
  • 35:29 - 35:33
    เราไปบอกท่านด้วยความโง่ของเราแท้ๆ
  • 35:33 - 35:35
    แต่ประกอบด้วยเมตตา
  • 35:35 - 35:38
    ความโง่นั้นไม่ได้ประกอบด้วย
  • 35:38 - 35:42
    ดูถูกว่าท่านไม่ยอมไปนั่งภาวนา
  • 35:42 - 35:48
    เรามีความเมตตาอยากให้
    ท่านได้ภาวนาบ้างมีเวลาบ้าง
  • 35:48 - 35:51
    เพราะฉะนั้นหลวงพ่อจะใช้คำว่าทำในรูปแบบ
  • 35:51 - 35:53
    รูปแบบแต่ละคนไม่เหมือนกัน
  • 35:53 - 35:59
    แค่กวาดวัดก็เป็นการปฏิบัติในรูปแบบแล้ว
  • 35:59 - 36:02
    ได้เห็นรูปเคลื่อนไหวใจเป็นคนรู้
  • 36:02 - 36:04
    อย่างบางคน
  • 36:04 - 36:08
    หลวงพ่อไปที่บ้านจิตสบาย
    เห็นมีคนหนึ่งส่งการบ้าน
  • 36:08 - 36:12
    หลวงพ่อดูแล้วคนนี้
    ไม่เคยช่วยเมียทำงานบ้านเลย
  • 36:12 - 36:14
    เมียก็ชักโมโห
  • 36:14 - 36:19
    บอกไปช่วยเมียทำงาน ช่วยเมียซักผ้า ถูบ้าน
  • 36:19 - 36:24
    เขาเชื่อเขาไปทำ แล้วจิตใจเขาก็สบาย
  • 36:24 - 36:27
    สบายเพราะอะไร เพราะเมียไม่ด่า
  • 36:27 - 36:30
    เมียไม่บ่นแล้วสบายใจ
  • 36:30 - 36:34
    ก็รู้เนื้อรู้ตัว ทำงานไปรู้เนื้อรู้ตัวไป
  • 36:34 - 36:38
    ในครอบครัวก็ดีจิตใจตัวเองก็ดี
  • 36:38 - 36:40
    นี่ทำในรูปแบบ
  • 36:40 - 36:45
    ไม่ใช่ทำในรูปแบบต้อง
    นั่งสมาธิท่านี้ต้องเดินท่านี้
  • 36:45 - 36:50
    บางทีเดินจงกรมต้องกำหนดโน้นกำหนดนี้
  • 36:50 - 36:55
    มีเท่านั้นจังหวะเท่านี้จังหวะ ทำแล้วเครียด
  • 36:55 - 36:58
    ทำแล้วเครียดไม่ใช่การปฏิบัติหรอก
  • 36:58 - 37:00
    ทำอกุศลที่ยังไม่เกิดให้เกิด
  • 37:00 - 37:04
    ทำอกุศลที่เกิดแล้วให้แรงขึ้น
  • 37:04 - 37:05
    อย่างทำแบบเครียดๆ ไปเรื่อยๆ
  • 37:05 - 37:12
    อกุศลอะไรจะแรง กูเก่ง กูดีกว่าคนอื่น
  • 37:12 - 37:15
    อกุศลพวกนี้จะเด่นขึ้นมา
  • 37:15 - 37:17
    เพราะฉะนั้นถึงเวลาไปทำในรูปแบบ
  • 37:17 - 37:21
    ถนัดกรรมฐานอะไรเอานั้นล่ะ
  • 37:21 - 37:23
    มีต้นไม้เยอะก็ไปรดต้นไม้
  • 37:23 - 37:28
    อย่างที่นี่ตกเย็นพระต้องไปรดต้นไม้
  • 37:28 - 37:30
    ต้นไม้มี 2 ส่วน
  • 37:30 - 37:34
    ต้นไม้รอบๆ กุฏิอันนี้เช้าๆ เขาก็รดกันแล้ว
  • 37:34 - 37:38
    ทางเดินก็แบ่งกันกวาดทั่ววัด
  • 37:38 - 37:42
    แต่ฤดูนี้พอกวาดเสร็จคล้อยหลัง
  • 37:42 - 37:45
    ลมพัดทีเดียวใบไม้ลงมาเต็มเหมือนเดิม
  • 37:45 - 37:47
    แต่ไม่ต้องกวาดซ้ำแล้ว
  • 37:47 - 37:50
    เพราะถ้ากวาดก็คือไม่ต้องทำอย่างอื่นแล้ว
  • 37:50 - 37:51
    อย่างน้อยก็รักษาข้อวัตร
  • 37:51 - 37:56
    กวาดแล้ว ตั้งใจกวาด
  • 37:56 - 37:59
    ตอนเช้าก็รดต้นไม้รอบๆ กุฏิ
  • 37:59 - 38:02
    ตอนเย็นไปรดต้นไม้ฝั่งโน้น
  • 38:02 - 38:06
    ไปปลูกป่ากันไว้ร่วมร้อยไร่
  • 38:06 - 38:12
    แบกน้ำตักน้ำใส่ถังเอาไปรดต้นไม้
  • 38:12 - 38:14
    รดทีละต้นทีละต้น
  • 38:14 - 38:19
    ฝั่งโน้นไม่รู้ต้นไม้กี่พันต้น ฝั่งโน้น
  • 38:19 - 38:23
    ถามว่าเสียเวลาภาวนาไหม ไม่เสีย
  • 38:23 - 38:28
    เวลาตักน้ำรู้สึกตัวหิ้วน้ำไปรู้สึกตัว
  • 38:28 - 38:32
    ถ้าไม่รู้สึกทำอะไร ไม่รู้สึกตัวก็ทำน้ำหก
  • 38:32 - 38:36
    หรือเดินตกหลุมตกบ่อแข้งขาเคล็ด
  • 38:36 - 38:42
    บางองค์ขาเส้นเอ็นพลิกเดินเผลอไปหน่อย
  • 38:42 - 38:47
    นี่คือการปฏิบัติ ไปรดต้นไม้
  • 38:47 - 38:52
    ทุกวันทำอย่างนี้ล่ะ
  • 38:52 - 38:56
    เห็นไหมต้องมีรักษาศีล
  • 38:56 - 39:00
    ต้องทำในรูปแบบทุกวันๆ
  • 39:00 - 39:04
    แล้วก็ต้องเจริญสติในชีวิตประจำวัน
  • 39:04 - 39:07
    ถ้าทำได้อย่างที่บอก 3 อย่างนี้
  • 39:07 - 39:09
    มรรคผลไม่ไกลหรอก
  • 39:09 - 39:16
    การเจริญสติในชีวิตประจำวัน
    ส่วนใหญ่ก็คือการเจริญสติปัฏฐานนั่นล่ะ
  • 39:16 - 39:22
    อย่างเรามีสติเห็นร่างกายหายใจออก
    มีสติเห็นร่างกายหายใจเข้า
  • 39:22 - 39:25
    แล้ววันไหนจิตใจเราฟุ้งซ่าน
  • 39:25 - 39:28
    เราเห็นร่างกายหายใจออกหายใจเข้าสักพักหนึ่ง
  • 39:28 - 39:34
    จิตมันจะรวมลงไป จะพักผ่อนหายฟุ้งซ่าน
  • 39:34 - 39:39
    วันไหนจิตเรามีกำลังอยู่แล้ว
    หายใจออกรู้สึกหายใจเข้ารู้สึก
  • 39:39 - 39:43
    เราก็จะเห็นว่าร่างกายที่
    หายใจเป็นคนละอันกับจิต
  • 39:43 - 39:46
    ร่างกายกับจิตแยกออกจากกัน
  • 39:46 - 39:49
    ขึ้นเจริญปัญญาแล้ว
  • 39:49 - 39:55
    ฉะนั้นแค่เราหายใจมันมีทั้งสมถะทั้งวิปัสสนา
  • 39:55 - 40:01
    อย่างเวลาจะทำสมาธิเราก็หายใจไป
  • 40:01 - 40:05
    แล้วถ้าจิตมันต้องการพักผ่อนมันจะรวมสงบลงไป
  • 40:05 - 40:08
    รวมเองไม่ต้องสั่งให้รวมเลย
  • 40:08 - 40:11
    ยกเว้นมีวสีชำนาญแล้ว
  • 40:11 - 40:14
    นึกอยากรวมเมื่อไรก็รวมได้ทันที
  • 40:14 - 40:17
    แต่ถ้ายังรวมไม่ได้ก็อย่าไปตกใจ
  • 40:17 - 40:20
    ถึงเวลาเราก็ทำกรรมฐานไป
  • 40:20 - 40:25
    แล้วถ้าจิตมันต้องการพัก
    มันรวมเองมันเข้าเอง
  • 40:25 - 40:29
    ตอนที่เกิดอริยมรรคอริยผลจิตก็รวมเอง
  • 40:29 - 40:31
    ถ้าตั้งใจรวมไม่ค่อยได้เรื่องหรอก
  • 40:31 - 40:35
    ยังเจือโลภเจตนาอยู่
  • 40:35 - 40:37
    อย่างเราหายใจไป หายใจไป
  • 40:37 - 40:40
    วันนี้จิตเรามีกำลังแล้ว
  • 40:40 - 40:42
    มันไม่รวม ไม่เคลิ้ม
  • 40:42 - 40:45
    ตั้งมั่นทรงตัวขึ้นมา
  • 40:45 - 40:49
    สติระลึกรู้กายก็เห็นไตรลักษณ์ของกาย
  • 40:49 - 40:55
    ใครเป็นคนรู้กาย จิตเป็นคนรู้กาย
    แล้วก็เห็นไตรลักษณ์ของจิต
  • 40:55 - 40:56
    เวทนาเกิดขึ้นในกาย
  • 40:56 - 41:00
    เเล้วก็เห็นว่าเวทนาในกายกับกายก็คนละอันกัน
  • 41:00 - 41:03
    แล้วเป็นคนละอันกับจิต
  • 41:03 - 41:05
    เวทนาทางกายก็ตกอยู่ใต้ไตรลักษณ์
  • 41:05 - 41:10
    จิตที่รู้เวทนาทางกายก็ตกอยู่ใต้ไตรลักษณ์
  • 41:10 - 41:13
    เราเห็นสังขาร จิตสังขาร
  • 41:13 - 41:16
    จิตที่เป็นกุศลบ้างอกุศลบ้าง
  • 41:16 - 41:20
    ทีแรกเราก็เห็นว่าจิตเราโลภจิตเราโกรธ
  • 41:20 - 41:23
    พอเราภาวนามากเข้าๆ เราเห็นว่า
  • 41:23 - 41:28
    ความโลภ ความโกรธ
    ความหลงกับจิตเป็นคนละอันกัน
  • 41:28 - 41:30
    ความโลภกับจิตคนละอันกัน
  • 41:30 - 41:32
    ความโกรธกับจิตเป็นคนละอันกัน
  • 41:32 - 41:35
    เป็นองค์ธรรมคนละชนิดกัน
  • 41:35 - 41:39
    ตัวโลภตัวโกรธตัวหลงเป็นสังขาร
  • 41:39 - 41:43
    เรียกว่าสังขารขันธ์ อยู่ในสังขารขันธ์
  • 41:43 - 41:46
    จิตเป็นอีกขันธ์หนึ่งอยู่ในวิญญาณขันธ์
  • 41:46 - 41:49
    เป็นคนละอันกัน
  • 41:49 - 41:51
    คนทั่วไปบอกเราโกรธ
  • 41:51 - 41:54
    อันนี้โง่ที่สุดแต่ไม่โง่มากไม่ถึงที่สุด
  • 41:54 - 41:57
    โง่ที่สุดคือไม่รู้ว่าตัวเองกำลังโกรธ
  • 41:57 - 41:59
    ไปอาละวาดใส่คนอื่นแล้ว
  • 41:59 - 42:03
    ดีขึ้นมาหน่อยเห็นว่าเรากำลังโกรธ
  • 42:03 - 42:07
    ดีกว่านั้นก็คือเห็นว่า
    ความโกรธกับจิตคนละอันกัน
  • 42:07 - 42:09
    มันแยกออกจากกัน
  • 42:09 - 42:11
    แล้วดีกว่านั้นก็คือเห็นว่า
  • 42:11 - 42:15
    ความโกรธก็ตกอยู่ใต้ไตรลักษณ์
    จิตก็ตกอยู่ใต้ไตรลักษณ์
  • 42:15 - 42:20
    จิตก็เดินปัญญาละเอียดๆๆ เข้าไปเรื่อยๆ
  • 42:20 - 42:22
    สุดท้ายก็เข้ามาที่จิต
  • 42:22 - 42:28
    ก็เห็นจิตนั้นเกิดดับ
    จิตเกิดที่ไหนจิตก็ดับที่นั้น
  • 42:28 - 42:31
    ตอนที่หลวงพ่อเห็นตรงนี้ทีแรก
  • 42:31 - 42:34
    จิตเกิดที่ตาแล้วก็ดับที่หูแล้วก็ดับ
  • 42:34 - 42:39
    เลยเกิดสงสัยแล้ว
    เราจะเอาจิตไปตั้งไว้ที่ไหนดี
  • 42:39 - 42:42
    ก็เข้าไปกราบหลวงปู่ดูลย์
  • 42:42 - 42:45
    หลวงปู่ครับ จิตมันตั้งอยู่ที่ไหน
  • 42:45 - 42:49
    คิดว่ามันตั้งอยู่กลางอก
    คิดว่ามันอยู่ตรงนี้
  • 42:49 - 42:52
    แล้วมันเกิดที่ตา ตัวนี้หายไป
  • 42:52 - 42:55
    เกิดที่ตาแล้วก็ดับ เกิดที่หูแล้วก็ดับ
  • 42:55 - 43:00
    แล้วเข้ามาตรงนี้ เห็นตัวนี้มันไหวๆๆ อยู่
  • 43:00 - 43:02
    ก็เลยนึกว่าจิตมันอยู่ตรงนี้กระมัง
  • 43:02 - 43:05
    แต่ไหนๆ เจอหลวงปู่แล้วถามหลวงปู่สักหน่อย
  • 43:05 - 43:07
    หลวงปู่ครับจิตมันอยู่ที่ไหน
  • 43:07 - 43:09
    จิตมันตั้งอยู่ที่ไหน
  • 43:09 - 43:12
    หลวงปู่บอกจิตไม่มีที่ตั้ง
  • 43:12 - 43:16
    บอกแค่นี้เราก็เข้าใจแล้ว
  • 43:16 - 43:19
    เราไม่ต้องเอาจิตไปตั้งไว้ที่ไหนหรอก
  • 43:19 - 43:22
    จิตตั้งอยู่กับอารมณ์
  • 43:22 - 43:25
    เกิดพร้อมกับอารมณ์ ดับพร้อมกับอารมณ์
  • 43:25 - 43:26
    จิตเกิดที่ไหน
  • 43:26 - 43:31
    เกิดออกไปรู้อารมณ์ทางตา
    แล้วก็ดับพร้อมกับการรู้อารมณ์ทางตา
  • 43:31 - 43:35
    ออกไปฟังเสียงแล้วก็ดับพร้อมกับเสียง
  • 43:35 - 43:37
    พร้อมกับการฟังเสียง
  • 43:37 - 43:40
    นี่มันเกิดดับ
  • 43:40 - 43:44
    ภาวนาพอละเอียดๆ มันเข้ามาที่จิตนี่ล่ะ
  • 43:44 - 43:48
    แล้วเห็นจิตมันสร้างภพสร้างชาติตลอดเวลาเลย
  • 43:48 - 43:54
    แล้วภาวนาถ้าเราเข้าใจ
    ธรรมะประณีตขึ้น ประณีตขึ้น
  • 43:54 - 43:57
    การปฏิบัติมันบีบวงมาที่จิต
  • 43:57 - 44:02
    บางทีเราก็เห็นจิต บางทีเราก็ไม่เห็นจิต
  • 44:02 - 44:05
    จิตตัวนี้คือจิตผู้รู้
  • 44:05 - 44:09
    อะไรทำให้เรามองจิตผู้รู้ไม่ออก
  • 44:09 - 44:13
    อาสวกิเลสทั้ง 4
  • 44:13 - 44:19
    อาสวกิเลสเกิดเมื่อไร หาจิตผู้รู้ไม่เจอแล้ว
  • 44:19 - 44:24
    อาสวะที่ดูง่ายๆ อย่างตัวภพดูง่าย
  • 44:24 - 44:27
    จิตสร้างภพเมื่อไร
  • 44:27 - 44:32
    จิตก็หลุดเข้าไปอยู่ไปเกิดในภพนั้น
  • 44:32 - 44:36
    ถ้ารู้ทันปุ๊บจิตหลุดออกจากภพ ภพดับ
  • 44:36 - 44:40
    จิตผู้รู้ก็เด่นดวงขึ้นมา
  • 44:40 - 44:43
    มันจะเข้ามารู้ที่ตัวจิตผู้รู้ได้
  • 44:43 - 44:46
    พอรู้ที่ตัวจิตผู้รู้ได้
  • 44:46 - 44:52
    สิ่งที่ปิดกั้นทำให้เรารู้จิตผู้รู้ไม่ได้
    ก็คืออาสวกิเลสทั้ง 4 ตัวนั่นล่ะ
  • 44:52 - 44:56
    กามาสวะเข้ามามาดึงจิตเราไป
  • 44:56 - 45:01
    ดึงดูดจิตเราไปหากามคุณอารมณ์
  • 45:01 - 45:06
    ภวาสวะจิตไปสร้างภพแล้วหลงอยู่ในภพอันนั้น
  • 45:06 - 45:10
    อวิชชาสวะมันไม่รู้แจ้งอริยสัจ
  • 45:10 - 45:15
    ทิฏฐาสวะ เวลาเราติดในความคิดความเห็น
  • 45:15 - 45:17
    ถูกความคิดความเห็นย้อมเมื่อไร
  • 45:17 - 45:21
    ตัวจิตผู้รู้เราก็สูญหายไป
  • 45:21 - 45:27
    พอไม่ถูกอาสวะทั้ง 4 ย้อม สติสมาธิเราดี
  • 45:27 - 45:31
    อาสวะเข้ามาย้อมไม่ได้
    จิตผู้รู้เด่นดวงขึ้นมา
  • 45:31 - 45:33
    แล้ววันหนึ่งเราก็จะเห็น
  • 45:33 - 45:36
    จิตผู้รู้เองก็ตกอยู่ใต้ไตรลักษณ์
  • 45:36 - 45:39
    จิตผู้รู้นั่นล่ะก็คือตัวทุกข์
  • 45:39 - 45:41
    แล้วคือหัวโจกของตัวทุกข์
  • 45:41 - 45:45
    ดูยากที่สุดเลยว่าคือตัวทุกข์
  • 45:45 - 45:47
    เพราะว่าถ้าเราภาวนาเรามีจิตผู้รู้
  • 45:47 - 45:50
    เรารู้สึกตัวนี้บรมสุข
  • 45:50 - 45:54
    ถ้าเมื่อไรไม่ถูกอาสวะย้อม
  • 45:54 - 45:59
    เห็นมันบ่อยๆ เนืองๆ รู้แจ้งแทงตลอด
  • 45:59 - 46:02
    จิตผู้รู้นั่นล่ะคือตัวบรมทุกข์
  • 46:02 - 46:05
    ทุกข์ยิ่งกว่าทุกสิ่งทุกอย่างเลย
  • 46:05 - 46:09
    พอรู้ทุกข์แจ่มแจ้งก็หมดความรักใคร่ยินดี
  • 46:09 - 46:12
    หมดความอยาก หมดความยึดถือ
  • 46:12 - 46:15
    เพราะฉะนั้นพอรู้ทุกข์แจ่มแจ้ง
  • 46:15 - 46:20
    สมุทัยคือตัณหาอุปาทาน
    อะไรพวกนี้ก็ถูกทำลายทันที
  • 46:20 - 46:22
    ดับอัตโนมัติ
  • 46:22 - 46:25
    เราไม่ต้องดับตัณหา
  • 46:25 - 46:28
    รู้ทุกข์แจ่มแจ้งเมื่อไรตัณหาดับเอง
  • 46:28 - 46:30
    ดับอัตโนมัติ
  • 46:30 - 46:34
    สิ้นตัณหาเมื่อไร นิโรธคือ
    นิพพานปรากฏขึ้นต่อหน้าต่อตา
  • 46:34 - 46:38
    นิโรธคือสภาวะที่สิ้นตัณหา
  • 46:38 - 46:40
    หลวงพ่อเคยภาวนาผิด
  • 46:40 - 46:42
    กำหนดจิตลงไปแล้วว่างลงไป
  • 46:42 - 46:46
    คิดว่าฝึกเข้านิโรธไปแล้ว
  • 46:46 - 46:49
    หลวงปู่บุญจันทร์ท่านมาเจอ ท่านด่าเอา
  • 46:49 - 46:52
    นิพพานอะไรมีเข้ามีออก
  • 46:52 - 46:54
    เลยรู้เลยไม่ใช่แล้ว
  • 46:54 - 46:57
    ถ้ายังกำหนดจิตอย่างโน้นกำหนดจิตอย่างนี้
  • 46:57 - 46:59
    ไม่ใช่ของจริงแล้ว
  • 46:59 - 47:02
    ของจริงก็คือต้องรู้ทุกข์แจ่มแจ้ง
  • 47:02 - 47:07
    จิตเห็นจิตอย่างแจ่มแจ้งว่ามันคือตัวทุกข์
  • 47:07 - 47:11
    จิตก็หมดความอยากหมดความยึดถือในตัวจิต
  • 47:11 - 47:14
    สิ้นอยากเมื่อไรก็คือนิพพาน
  • 47:14 - 47:17
    นิพพานคือสภาวะที่สิ้นตัณหา
  • 47:17 - 47:21
    แล้วขณะนั้นอริยมรรคเกิดขึ้น
  • 47:21 - 47:24
    นี่เส้นทาง เราทำไป
  • 47:24 - 47:29
    เดินไปเรื่อยๆ มาตรงนี้ได้ด้วยการรักษาศีล
  • 47:29 - 47:34
    ฝึกในรูปแบบให้จิตมีสมาธิขึ้นมา
  • 47:34 - 47:39
    แล้วก็เอาจิตที่ตั้งมั่น
    มีสมาธิแล้วมาเดินปัญญา
  • 47:39 - 47:42
    แยกธาตุแยกขันธ์แยกรูปแยกนามไป
  • 47:42 - 47:44
    ทำสติปัฏฐาน 4 นั่นล่ะ
  • 47:44 - 47:47
    ฝึกเรื่อยๆ
  • 47:47 - 47:50
    สติปัฏฐานนั้นเป็นของวิเศษอีกอย่าง
  • 47:50 - 47:54
    ในเบื้องต้นที่เราฝึกทำให้สติเราดีขึ้น
  • 47:54 - 47:56
    ในเบื้องปลายทำให้เกิดปัญญา
  • 47:56 - 48:00
    นี้หมดเวลาแล้ว เทศน์ละเอียดตรงนี้ไม่ทัน
  • 48:00 - 48:05
    ไปหาฟังเอาก็แล้วกัน
    หลวงพ่อเทศน์เอาไว้เยอะแยะแล้ว
  • 48:05 - 48:12
    ต่อไปตรวจการบ้าน
  • 48:12 - 48:18
    เบอร์ 1: ในรูปแบบเดินจงกรม
    และรู้สึกกายที่เคลื่อนไหว
  • 48:18 - 48:22
    เมื่อจิตใจหลงไปคิดแล้วรู้
  • 48:34 - 48:41
    เบอร์ 1: ในรูปแบบเดินจงกรม
    และรู้สึกกายที่เคลื่อนไหว
  • 48:41 - 48:44
    เมื่อจิตใจหลงไปคิดแล้วรู้
  • 48:44 - 48:48
    ถ้าดูจิตไม่ได้จะทำสมถะโดยคิดถึงพระพุทธเจ้า
  • 48:48 - 48:53
    และครูบาอาจารย์พร้อมกับรู้สึกถึงร่างกาย
  • 48:53 - 48:58
    ในชีวิตประจำวันเจริญสติโดยการรู้สึกกาย
  • 48:58 - 49:00
    บางครั้งรู้ใจที่หลงไป
  • 49:00 - 49:03
    ถ้าอยู่กับผู้อื่นจะหลงไปกับโลก
  • 49:03 - 49:06
    นานๆ จะรู้สึกตัว
  • 49:06 - 49:08
    ที่ปฏิบัติอยู่นี้ถูกต้องไหมคะ
  • 49:08 - 49:12
    ถูก แล้วเรารู้ว่าตรงไหน
    เป็นจุดอ่อนเราก็เลี่ยงเสีย
  • 49:12 - 49:16
    ยุ่งกับโลกน้อยๆ ยุ่งกับคนอื่นน้อยๆ
  • 49:16 - 49:18
    ใช้ได้ ภาวนาไป
  • 49:18 - 49:21
    เบอร์ 2
  • 49:21 - 49:25
    เบอร์ 1 ตรงนี้จิตไม่เข้าฐาน ดูออกไหม
  • 49:25 - 49:28
    จิตอยู่ข้างนอกนิดหนึ่ง
  • 49:28 - 49:30
    อย่าดึงๆ
  • 49:30 - 49:34
    หลวงพ่อบอกไว้เฉยๆ ไม่ต้องดึงจิตเข้ามา
  • 49:34 - 49:38
    หายใจสิ หายใจสบายๆ
  • 49:38 - 49:47
    เก่งๆ หายใจไป
  • 49:47 - 49:51
    รู้สึกไหมตรงนี้กับเมื่อกี้ไม่เหมือนกัน
  • 49:51 - 49:55
    เมื่อกี้จิตไม่ตั้งมั่นไม่ถึงฐาน
  • 49:55 - 50:00
    จำตัวนี้ได้ก็โอเค แต่ว่าตรงนี้จงใจทำไม่ได้
  • 50:00 - 50:03
    พอเรารู้ว่าจิตเราไม่เข้าฐาน
    เราก็ทำกรรมฐานของเราไป
  • 50:03 - 50:06
    เดี๋ยวมันก็เข้าเองล่ะ
  • 50:06 - 50:11
    แต่ถ้าเราไม่รู้ว่าจิตเราไม่
    เข้าฐานทำอย่างไรมันก็ไม่เข้า
  • 50:11 - 50:15
    เบอร์ 2
  • 50:15 - 50:18
    ในรูปแบบทำทุกวัน
  • 50:18 - 50:22
    เดินรู้สึกตัว ดูจิตหลงคิด รู้
  • 50:22 - 50:27
    นั่งสมาธิ ดูจิตหลง รู้ เพ่ง รู้
  • 50:27 - 50:29
    หลังๆ หลงบ่อยกว่าเพ่ง
  • 50:29 - 50:33
    บางครั้งเห็นเหมือน
    เราดูการนั่งสมาธินั้นอยู่
  • 50:33 - 50:38
    จิตทำงานเอง จนจิตสงบแต่ไม่นิ่งเฉย
  • 50:38 - 50:40
    บางครั้งก็มีเคลิ้มไปบ้าง
  • 50:40 - 50:42
    ขอหลวงพ่อตรวจการบ้านค่ะ
  • 50:42 - 50:47
    ใช้ได้ ดี ต้องเพิ่มนั่นนิดหนึ่ง
  • 50:47 - 50:50
    ทำความสงบเข้ามาเป็นระยะๆ
  • 50:50 - 50:55
    กำลังสมาธิไม่พอ ใจมันจะฟุ้งง่าย
  • 50:55 - 51:02
    ทำในรูปแบบแล้วก็ไม่เดินปัญญาตอนนั้น
  • 51:02 - 51:05
    เช่น พุทโธๆๆ ไป
  • 51:05 - 51:07
    สงบก็ช่างไม่สงบก็ช่างทำไปเรื่อยๆ
  • 51:07 - 51:10
    เดี๋ยวมันสงบเอง แล้วจิตมันจะมีแรง
  • 51:10 - 51:13
    ของเบอร์ 2 จิตมันยังไม่ค่อยมีแรง
  • 51:13 - 51:16
    ที่ดูที่อะไรดูถูกแล้วล่ะ
  • 51:16 - 51:19
    แต่มันดูด้วยจิตที่ไม่ค่อยมีแรง
  • 51:19 - 51:25
    ฉะนั้นเรารู้ตรงนี้เป็นจุดอ่อน
    เราก็เพิ่มสมาธิขึ้น
  • 51:25 - 51:29
    เบอร์ 3
  • 51:29 - 51:32
    ทำในรูปแบบสม่ำเสมอ
  • 51:32 - 51:35
    เมื่อก่อนคาดหวังจากการปฏิบัติ
  • 51:35 - 51:37
    เดี๋ยวนี้คาดหวังน้อยลง
  • 51:37 - 51:40
    เข้าใจความยึดมากขึ้น
  • 51:40 - 51:43
    เห็นจิตใจทำงานได้เองบ่อยขึ้น
  • 51:43 - 51:46
    รู้เผลอ รู้หลงมากกว่าเดิม
  • 51:46 - 51:51
    โดยรวมมั่นใจในการปฏิบัติ มีความเห็นถูกขึ้น
  • 51:51 - 51:53
    ตัวเราไม่มีอยู่จริง
  • 51:53 - 51:57
    ชีวิตประจำวันอยู่กับอิริยาบถ 4
  • 51:57 - 52:00
    เดิน ยืน นั่ง นอน คอยรู้สึก
  • 52:00 - 52:04
    ทำไปเรื่อยๆ ไม่ท้อไม่เลิก
  • 52:04 - 52:06
    ขอหลวงปู่ชี้แนะค่ะ
  • 52:06 - 52:08
    ดี ที่ทำอยู่ใช้ได้
  • 52:08 - 52:13
    แต่ปัญหาใหญ่ของนักปฏิบัติ
    ก็คือสมาธิมันไม่ค่อยพอกัน
  • 52:13 - 52:17
    ของโยมสมาธิเยอะ เบอร์ 3
  • 52:17 - 52:20
    แต่มันไม่เข้าที่มันไม่เข้าฐาน
  • 52:20 - 52:24
    ขณะนี้จิตยังอยู่ข้างนอกรู้สึกไหม
  • 52:24 - 52:28
    มองเห็นไหมว่า
    จิตมันไม่เข้ามาไม่เข้าหาตัวเอง
  • 52:28 - 52:32
    ไม่โอปนยิโกน้อมเข้ามา น้อมเข้ามา
  • 52:32 - 52:37
    สังเกตลงไปในร่างกายนี้
    รู้สึกลงไปในร่างกายบ่อยๆ
  • 52:37 - 52:41
    เห็นแต่ความเป็นปฏิกูล อสุภะ
    ไม่เที่ยง เป็นทุกข์ เป็นอนัตตา
  • 52:41 - 52:44
    ดูบ่อยๆ ดูอย่างนี้บ่อยๆ
  • 52:44 - 52:49
    เบอร์ 4
  • 52:49 - 52:51
    ภาวนาในรูปแบบ
  • 52:51 - 52:55
    ดูการเคลื่อนไหวของร่างกายทุกวันเป็นหลัก
  • 52:55 - 53:01
    ในชีวิตประจำวันดูร่างกาย
    เคลื่อนไหวสลับกับลมหายใจเข้าออก
  • 53:01 - 53:04
    มีความคิดแทรกตอนที่ภาวนา
  • 53:04 - 53:07
    ส่วนใหญ่เป็นเรื่องราวในอดีต
  • 53:07 - 53:09
    พยายามไม่สนใจความคิดเหล่านั้น
  • 53:09 - 53:13
    และกลับมาดูที่อาการเคลื่อนไหวทางกายแทน
  • 53:13 - 53:15
    ตอนนี้ทำถูกหรือไม่คะ
  • 53:15 - 53:20
    ทำถูก แต่ตั้งใจมากไปหน่อย
  • 53:20 - 53:27
    ตั้งใจใจจะเครียด จะแน่นๆ จะหนักๆ
  • 53:27 - 53:32
    ถ้าภาวนาแล้วมันหนักมันแน่น
    แสดงว่าเราจงใจเยอะไป
  • 53:32 - 53:37
    มันไม่ธรรมดา ตั้งใจเยอะไป
  • 53:37 - 53:44
    ภาวนาใช้ใจธรรมดาๆ อย่าตั้งใจแรง รู้สึกไป
  • 53:44 - 53:46
    คิดเยอะ อย่าคิดเยอะ
  • 53:46 - 53:50
    เห็นไหมร่างกายขยับ
  • 53:50 - 53:53
    รู้ว่าร่างกายขยับรู้ด้วยจิตธรรมดา
  • 53:53 - 53:56
    จิตธรรมดาเลย
  • 53:56 - 54:00
    ตรงนี้ไม่ธรรมดาแล้ว เมื่อกี้ธรรมดา
  • 54:00 - 54:04
    ตรงนี้จิตหลง หลงคิด
  • 54:04 - 54:05
    ยิ้มหวาน
  • 54:05 - 54:09
    เห็นร่างกาย ยิ้มอย่างนี้ไม่เอา ยิ้มจอมปลอม
  • 54:09 - 54:12
    ยิ้มแต่หน้า
  • 54:12 - 54:17
    ใจมันแน่นรู้สึกไหม ใจมันยังแน่นอยู่
  • 54:17 - 54:19
    ใจที่แน่นเกิดจากอยาก
  • 54:19 - 54:25
    อยากปฏิบัติ อยากรู้ อยากเห็น
    อยากเป็น อยากได้ อยากดี
  • 54:25 - 54:29
    อยากไม่ขาดสติ อยากเจริญ
  • 54:29 - 54:34
    มีความอยากมาเมื่อไรใจจะแน่นๆ
  • 54:34 - 54:37
    ใจที่ดีคือใจธรรมดา
  • 54:37 - 54:41
    จิตธรรมดานั้นประภัสสรผ่องใส
  • 54:41 - 54:44
    จิตธรรมดานั่นล่ะคือจิตผู้รู้
  • 54:44 - 54:49
    แต่พอมีกิเลสมันเลยกลายเป็นจิตผู้หลงไป
  • 54:49 - 54:52
    เพราะฉะนั้นจิตโดยตัวมันประภัสสรผ่องใส
  • 54:52 - 54:55
    เศร้าหมองเพราะกิเลสที่จรมา
  • 54:55 - 55:00
    เราไม่ต้องทำอะไร
    รู้ทันกิเลสที่จรมาก็แล้วกัน
  • 55:00 - 55:05
    อย่างอยากปฏิบัติ รู้ทันว่าอยาก
  • 55:05 - 55:09
    รู้ว่าอยากปฏิบัติ ความอยากปฏิบัติดับแล้ว
  • 55:09 - 55:14
    ทำอย่างไร ก็ปฏิบัติไปด้วยใจที่ไม่ต้องอยาก
  • 55:14 - 55:18
    ให้เป็นธรรมดาอย่างนี้
  • 55:26 - 55:30
    เบอร์ 4 ตึงไป
  • 55:30 - 55:34
    รู้สึกไหม มันจงใจมากไป ตั้งใจแรงไป
  • 55:43 - 55:46
    เบอร์ 4 คอยเคลื่อนไหวกระดุกกระดิก
  • 55:46 - 55:49
    แล้วก็เห็นร่างกายเคลื่อนไหวไปเรื่อยๆ
  • 55:49 - 55:51
    ไม่ต้องแกล้งทำ
  • 55:51 - 55:53
    เราเคลื่อนไหวอยู่แล้วโดยธรรมชาติ
  • 55:53 - 55:56
    เราหายใจร่างกายมันก็เคลื่อนไหว
  • 55:56 - 56:00
    เคลื่อนไหวไปตามธรรมชาติธรรมดา
  • 56:00 - 56:02
    มีหน้าที่ใช้ร่างกายทำอะไรก็ทำไป
  • 56:02 - 56:06
    แต่มีสติรู้ไปเรื่อยๆ
  • 56:06 - 56:09
    ไม่ไปเพ่งเอาไว้ให้นิ่งๆ
  • 56:09 - 56:14
    เบอร์ 5
  • 56:14 - 56:15
    เห็นการเกิด
  • 56:15 - 56:19
    แต่ไม่เห็นการดับของความโลภและความโกรธ
  • 56:19 - 56:25
    เมื่อปวดกายก็ฝึกแยกใจกับ
    กายความปวดออกจากกัน
  • 56:25 - 56:28
    โดยมีใจเห็นความปวดแทรกอยู่ในกาย
  • 56:28 - 56:30
    อยากเดินปัญญาเป็น
  • 56:30 - 56:35
    แต่ไม่รู้ว่าจิตตั้งมั่นมากพอ
    และพร้อมที่จะเดินปัญญาไหมคะ
  • 56:55 - 57:01
    ภาวนาได้ดี จิตตั้งมั่น
  • 57:01 - 57:08
    เดินปัญญาได้แต่จิตมันไม่ค่อยชอบเดินปัญญา
  • 57:08 - 57:11
    ชอบเฉยๆ มากกว่า
  • 57:11 - 57:16
    พอเวลาภาวนาพอจิตตั้งมั่นแล้ว
  • 57:16 - 57:23
    มันกลัวจิตตั้งมั่นจะหายไปพยายามรักษาเอาไว้
  • 57:23 - 57:26
    เวลาจิตตั้งมั่นแล้ว เบอร์ 5
  • 57:26 - 57:31
    พิจารณาเข้าไปในร่างกายเลย
  • 57:31 - 57:32
    พิจารณาเข้าไปเลย
  • 57:32 - 57:36
    หัวกะโหลกเราเป็นอย่างนี้ มีตาโบ๋ๆ อย่างนี้
  • 57:36 - 57:42
    มีปากงับๆๆ ได้ ข้างล่างนะ
    ข้างบนไม่เป็นอย่างนี้
  • 57:42 - 57:49
    ขากรรไกรอย่างนี้ ดูไปเรื่อยๆ ในร่างกาย
  • 57:49 - 57:52
    พิจารณาลงไปให้ถึงกระดูกเลย
  • 57:52 - 57:56
    เห็นกระดูก กระดูกมันหมุนแล้ว
  • 57:56 - 57:59
    กระดูกตัวนี้หมุน
  • 57:59 - 58:03
    คอยรู้สึกอย่างนี้ รู้สึกบ่อยๆ
  • 58:03 - 58:12
    ดีไม่ใช่ไม่ดี
  • 58:12 - 58:16
    เก่ง เบอร์ 5 ใช้ได้
  • 58:16 - 58:19
    แต่ว่าเดินปัญญาดูเข้าไปในกายเลย
  • 58:19 - 58:23
    ดูเข้าไปเลย ดูเข้าไปที่กระดูกเลยก็ได้
  • 58:23 - 58:26
    เห็นไหมกระดูกมันเคลื่อน
  • 58:26 - 58:30
    กระดูกมันขยับ เวลาปาก
  • 58:30 - 58:36
    เวลากินข้าวเราขยับขากรรไกรบนหรือขากรรไกรล่าง
  • 58:36 - 58:39
    ขยับอย่างนี้ เราก็รู้
  • 58:39 - 58:41
    บางคนไม่รู้
  • 58:41 - 58:44
    คิดว่าขยับข้างบน คิดว่าตัวนี้ขยับ
  • 58:44 - 58:49
    วิธีพิสูจน์ง่ายๆ เอาคางไปเกยโต๊ะไว้
  • 58:49 - 58:54
    แล้วจะพูดไม่ได้
  • 58:54 - 58:58
    ดูเข้าไปถึงกระดูกดูเข้าไป
  • 58:58 - 59:02
    เบอร์ 6
  • 59:02 - 59:04
    รักษาศีล 5
  • 59:04 - 59:10
    ภาวนาในรูปแบบด้วยการสวดมนต์
    ทำวัตรเช้าเย็นทุกวัน
  • 59:10 - 59:12
    เพิ่งหยุดทำงานประจำ
  • 59:12 - 59:15
    จึงใช้เวลาศึกษาในเรื่องขันธ์ 5
  • 59:15 - 59:18
    ทุกข์ และการเดินอริยสัจ
  • 59:18 - 59:23
    ใช้โยนิโสมนสิการในการพิจารณากายใจ
  • 59:23 - 59:26
    เห็นทุกข์และกิเลสได้ละเอียดขึ้น
  • 59:26 - 59:29
    รู้ทันบ้าง ไม่ทันบ้าง
  • 59:29 - 59:33
    เห็นขันธ์แยกขณะผ่ารากฟันเทียม
  • 59:33 - 59:35
    เลยเข้าใจที่หลวงพ่อสอนว่า
  • 59:35 - 59:38
    แยกขันธ์แล้วให้ดูไตรลักษณ์
  • 59:38 - 59:40
    เห็นถูกต้องไหมคะ
  • 59:40 - 59:46
    ถูก ดี
  • 59:46 - 59:49
    จุดอ่อนยังมีนิดหนึ่ง
  • 59:49 - 59:55
    เราอย่าคิด ความคิดมันล้ำไป ปัญญามันล้ำไป
  • 59:55 - 60:00
    ตามรู้ตามเห็นสภาวะไปเรื่อยๆ
  • 60:00 - 60:02
    ไม่อย่างนั้นมันล้ำหน้าไป
  • 60:02 - 60:08
    คอยคิดแต่เรื่องไตรลักษณ์ไปเรื่อยๆ
  • 60:08 - 60:14
    ภาวนา ศีล สมาธิ ปัญญา ต้องสมดุลกัน
  • 60:14 - 60:20
    ถ้าปัญญาล้ำหน้าไป สมาธิไม่พอ ใจมันจะฟุ้ง
  • 60:20 - 60:25
    เบอร์ 6 สังเกตไหมใจมันยังฟุ้งเล็กๆ อยู่
  • 60:25 - 60:31
    เพราะฉะนั้นอย่าทิ้งการทำความสงบ ต้องทำ
  • 60:31 - 60:36
    เดินปัญญามากไป จิตจะฟุ้งซ่าน
  • 60:36 - 60:38
    เป็นคนปัญญาเยอะ
  • 60:38 - 60:43
    พวกปัญญาเยอะมีจุดอ่อนสมาธิคือไม่ค่อยพอ
  • 60:43 - 60:45
    ไปทำสมาธิเพิ่มขึ้น
  • 60:45 - 60:49
    ทำความสงบให้จิตอยู่กับเนื้อกับตัว
  • 60:49 - 60:51
    สงบ พักผ่อน
  • 60:51 - 60:55
    จิตมีกำลังแล้วค่อยถอยออกมาเดินปัญญาต่อ
  • 60:55 - 60:58
    ไม่น่าห่วงเรื่องเดินปัญญา
  • 60:58 - 61:01
    จิตมันเดินปัญญาเก่ง
  • 61:01 - 61:06
    เบอร์ 7
  • 61:06 - 61:13
    ปฏิบัติในรูปแบบทุกวันโดยทำ
    อานาปานสติอย่างน้อย 30 นาที
  • 61:13 - 61:18
    ระหว่างวันเฝ้ารู้เวทนาที่เกิดขึ้นในร่างกาย
  • 61:18 - 61:22
    เห็นทุกข์มากขึ้นและมักหลงคิดบ่อยๆ
  • 61:22 - 61:26
    บางครั้งก็หลงคิดไปนานแล้วถึงจะรู้สึกตัว
  • 61:26 - 61:32
    ขอหลวงปู่ช่วยแนะนำ
    วิธีการปฏิบัติที่เหมาะกับจริตค่ะ
  • 61:32 - 61:34
    จิตมันชอบคิด
  • 61:34 - 61:40
    ถ้าจิตมันชอบคิดเราจะไปฝืน
    บอกมันอย่าคิดมันไม่เชื่อ
  • 61:40 - 61:42
    พามันคิดไปเลยคิดอะไรก็ได้
  • 61:42 - 61:44
    คิดเรื่องโลกๆ ก็ยังได้เลย
  • 61:44 - 61:48
    แต่คิดแล้วต้องลงไตรลักษณ์ให้ได้
  • 61:48 - 61:52
    อย่างเราคิดถึงอะไรสวยๆ งามๆ
  • 61:52 - 61:57
    คิดว่าเราไปเดินสวนสาธารณะดูดอกไม้งาม
  • 61:57 - 62:00
    ดูทุ่งทานตะวัน ดูอะไรอย่างนี้
  • 62:00 - 62:03
    ดูไปแหมใจมีความสุข
  • 62:03 - 62:07
    แล้วลงท้าย ดอกไม้มันเหี่ยวลงไป
  • 62:07 - 62:11
    มันก็ไม่ยั่งยืน ของสวยของงามอะไรอย่างนี้
  • 62:11 - 62:13
    ฉะนั้นคิดอะไรก็ได้
  • 62:13 - 62:16
    แต่ให้ลงไตรลักษณ์ให้ได้
  • 62:16 - 62:19
    ลองไปทำดู เพราะจิตมันชอบคิด
  • 62:19 - 62:24
    จิตมันชอบคิดไปฝืนไม่ให้คิดมันทำไม่ได้หรอก
  • 62:24 - 62:27
    ส่วนที่กรรมฐานทำอยู่แล้ว
  • 62:27 - 62:30
    ดีอยู่แล้วทำต่อไป
  • 62:30 - 62:34
    ทำอานาปานสติ ทำอะไรไม่ผิดหรอก ทำไปเถอะ
  • 62:34 - 62:38
    แต่เวลาช่วงไหนที่จิตมันฟุ้งซ่านมากๆ
  • 62:38 - 62:41
    พามันคิดแล้วลงไตรลักษณ์
  • 62:41 - 62:44
    ถ้าเป็นช่วงปกติก็หายใจไปรู้สึกไป
  • 62:44 - 62:49
    อย่างที่ทำอยู่ถูกแล้ว
  • 62:49 - 62:53
    แยกออกไหม หมายถึงเวลาปกติก็ทำอย่างที่ทำนี้
  • 62:53 - 62:56
    แต่ช่วงไหนที่ใจมันฟุ้งมาก
  • 62:56 - 62:58
    คิดพิจารณาลงไปเลย
  • 62:58 - 63:04
    คิดอะไรก็ได้แล้วลงไตรลักษณ์ให้ได้ก็แล้วกัน
  • 63:04 - 63:08
    เบอร์ 8
  • 63:08 - 63:13
    เดินจงกรมวันละ 1.30 - 2 ชั่วโมง
  • 63:13 - 63:16
    ระหว่างวันดูกายและจิตทำงาน
  • 63:16 - 63:20
    ถ้าฟุ้งซ่านจะบริกรรมระลึกถึงพระรัตนตรัย
  • 63:20 - 63:23
    หลวงพ่อให้ดูความเป็นอนัตตา
  • 63:23 - 63:26
    คิดว่าพอจะเห็นว่ากายไม่ใช่เรา
  • 63:26 - 63:29
    แต่จิตยังคงเป็นเราอยู่
  • 63:29 - 63:32
    เวลานั่งจะเพ่งมากเลยต้องเดิน
  • 63:32 - 63:35
    หรือใช้การพิจารณากายเคลื่อนไหว
  • 63:35 - 63:37
    แล้วรู้สึกตัวแทน
  • 63:37 - 63:41
    ไม่แน่ใจว่าดูความเป็นอนัตตาได้จริงไหมคะ
  • 63:41 - 63:44
    จริง ไปดูอีก ทำไป
  • 63:44 - 63:49
    ร่างกายเคลื่อนไหวรู้สึกไป ดี ที่ทำอยู่
  • 63:49 - 63:52
    ไปทำต่อทำอีก
  • 63:52 - 63:59
    เบอร์ 7 อย่างนี้จงใจเยอะไปแล้วเบอร์ 7
  • 63:59 - 64:01
    คิดเอาเป็นเอาตาย
  • 64:01 - 64:05
    ใจมันไม่สบาย จะไม่ได้สมาธิ
  • 64:05 - 64:08
    คิดที่มันไม่รุนแรงนัก
  • 64:08 - 64:12
    คิดๆๆ ไป อันนี้เป็นอุบาย
  • 64:12 - 64:18
    เป็นอุบายในการแก้เรื่อง
    จิตมันช่างคิดไม่ยอมหยุด
  • 64:18 - 64:20
    มันคิดไม่ยอมหยุด
  • 64:20 - 64:22
    ไปห้ามมันไม่ได้ก็พามันคิดไป
  • 64:22 - 64:25
    แล้วลงไตรลักษณ์ให้ได้
    เดี๋ยวมันหยุดเองล่ะ
  • 64:25 - 64:30
    แต่ถ้าตอนไหนมันไม่ได้
    ฟุ้งซ่านไม่ต้องไปคิดเยอะ รู้สึกไป
  • 64:30 - 64:32
    เดี๋ยวสับสน
  • 64:32 - 64:35
    ภาวนาอยู่ดีๆ บอกหลวงพ่อให้ไปนั่งคิด
  • 64:35 - 64:37
    เละเลย เสีย
  • 64:37 - 64:41
    แล้วมาโทษหลวงพ่อสอนยังอย่างไร ฟุ้งไปเลย
  • 64:41 - 64:49
    แค่อุบายไว้แก้ปัญหาเฉพาะหน้า
    เวลามันคิดหนักๆ คิดไม่เลิก
  • 64:49 - 64:53
    วันนี้เทศน์ให้ฟังเท่านี้
  • 65:01 - 65:03
    เชิญ
Title:
การภาวนาที่ละเอียดเข้าไป :: หลวงปู่ปราโมทย์ ปาโมชฺโช 30 พ.ย. 2567
Description:

more » « less
Video Language:
Thai
Duration:
01:07:31

Thai subtitles

Incomplete

Revisions Compare revisions