ดิแอนน์ เคลลี่ (Diane Kelly): สิ่งที่เราไม่รู้เกี่ยวกับกายวิภาคศาสตร์ขององคชาต
-
0:00 - 0:02เวลาที่ดิฉันไปงานปาร์ตี้
-
0:02 - 0:03มันใช้เวลาไม่นานนักก่อนที่
-
0:03 - 0:04ผู้คนจะรู้ว่า
-
0:04 - 0:08ดิฉันเป็นนักวิทยาศาสตร์ที่เรียนมาทางด้านเพศสัมพันธ์
-
0:08 - 0:12หลังจากนั้นฉันจะถูกถามคำถาม
-
0:12 - 0:16และคำถามเหล่านั้นล้วนมีรูปแบบที่คล้ายๆกันคือ
-
0:16 - 0:17คำถามจะเริ่มด้วย
-
0:17 - 0:19"เพื่อนของฉันบอกว่า"
-
0:19 - 0:21และจบด้วย
-
0:21 - 0:23"มันถูกต้องหรือเปล่า?"
-
0:23 - 0:24และส่วนใหญ่นั้น
-
0:24 - 0:26ฉันดีใจที่ฉันสามารถตอบคำถามได้
-
0:26 - 0:28แต่บางครั้งฉันก็ต้องบอกว่่า
-
0:28 - 0:29"ฉันขอโทษจริงๆนะ"
-
0:29 - 0:30เพราะฉันไม่รู้คำตอบ
-
0:30 - 0:33เพราะว่าฉันไม่ได้เป็นหมอทางด้านนั้น
-
0:33 - 0:35ฉันไม่ได้เป็นผู้เชี่ยวชาญในการรักษา
-
0:35 - 0:38ฉันเป็นนักชีววิทยาที่่ศึกษา
เกี่ยวกับกายวิภาคศาสตร์ -
0:38 - 0:41และงานของฉันคือการศึกษา
เกี่ยวกับสัตว์หลากหลายชนิด -
0:41 - 0:45เพื่อที่จะเรียนรู้การทำงาน
ของอวัยวะและเนื้อเยื่อต่างๆของมัน -
0:45 - 0:46เวลาที่มันกำลังทำงานดีอยู่
-
0:46 - 0:48ไม่ใช่
-
0:48 - 0:49รักษาตอนที่มันไม่ทำงานอย่างปกติ
-
0:49 - 0:51เหมือนกับคุณทั้งหลาย
-
0:51 - 0:53นอกจากนั้นฉันยังดูความคล้ายคลึงและความแตกต่าง
-
0:53 - 0:55ในการพัฒนาของอวัยวะทั้งหลาย
-
0:55 - 0:57เพื่อค้นหาปัญหาในการทำงานของมัน
-
0:57 - 0:59ดังนั้น วันนี้ฉันจึงมาโต้คารม
-
0:59 - 1:03ว่านี่ไม่ใช่
-
1:03 - 1:04กิจกรรมที่ลึกลับ
-
1:04 - 1:06ที่เราเจอในมหาวิทยาลัย
-
1:06 - 1:08แต่การศึกษาของ
-
1:08 - 1:11สปีชีส์ ชนิดของเนื้อเยื่อ และอวัยวะระบบต่างๆ เหล่านี้
-
1:11 - 1:12สามารถผลิตความเข้าใจเชิงลึก
-
1:12 - 1:16ที่มีผลกระทบโดยตรงต่อสุขภาพของมนุษย์
-
1:16 - 1:18เเละนี่ก็เป็นความจริงในโครงการของดิฉัน
ซึ่งเกี่ยวกับ -
1:18 - 1:20ความแตกต่างทางเพศในสมอง
-
1:20 - 1:22และอีกงานของฉันที่เกี่ยวกับ
-
1:22 - 1:25กายวิภาคศาสตร์
และการทำงานของอวัยวะเพศชาย -
1:25 - 1:27และตอนนี้ คุณคงจะรู้ว่าทำไม
ฉันถึงเป็นคนที่สนุกสนานตามปาร์ตี้ -
1:27 - 1:28(หัวเราะ)
-
1:28 - 1:31วันนี้ฉันจะยกตัวอย่างให้คุณทั้งหลาย
-
1:31 - 1:32ซึ่งมาจากการศึกษาที่เกี่ยวกับองคชาต
-
1:32 - 1:34เพื่อที่จะแสดงให้พวกคุณรู้ว่า ความรู้ที่มาจาก
-
1:34 - 1:36การศึกษาเกี่ยวกับระบบอวัยวะนั้น
-
1:36 - 1:39สามารถให้ข้อมูลเชิงลึกที่แตกต่างออกไปได้
-
1:39 - 1:42ตอนนี้ ฉันแน่ใจว่าผู้ชมทุกคนคงรู้อยู่แล้ว --
-
1:42 - 1:45ฉันต้องอธิบายว่าองคชาตนั้นคืออะไร
สำหรับเด็กเก้าขวบอาทิตย์ที่แล้ว -- -
1:45 - 1:49องคชาตเป็นโครงสร้างที่มีหน้าที่เคลื่อนย้ายอสุจิ
-
1:49 - 1:50จากบุคคลหนึ่งไปยังอีกบุคคลหนึ่ง
-
1:50 - 1:52และภาพข้างหลังฉันนี้
-
1:52 - 1:53แสดงให้เห็นถึงความแตกต่าง
-
1:53 - 1:55ของอวัยวะเพศสัตว์ทั้งหลาย
-
1:55 - 1:57การเปลี่ยนแปลงทางกายวิภาคนั้นมีมหาศาล
-
1:57 - 2:01คุณจะพบหลอดกล้ามเนื้อ
ขาและครีบที่ถูกเปลี่ยนแปลง -
2:01 - 2:05ตลอดจนถึงอวัยวะรูปทรงกระบอกที่พองได้
-
2:05 - 2:07ที่เรารู้จักกันดี
-
2:07 - 2:09หรืออย่างน้อยก็ครึ่งนึงของพวกคุณ
-
2:09 - 2:11(เสียงหัวเราะ)
-
2:11 - 2:14และฉันคิดว่า การเปลี่ยนแปลงนี้ช่างมหาศาลนัก
-
2:14 - 2:17เนื่องจากมันเป็นคำตอบที่มีประสิทธิภาพ
-
2:17 - 2:19สำหรับปัญหาทางด้านชีววิทยา
-
2:19 - 2:22นั่นคือการทำให้อสุจินั่นอยู่ในตำแหน่งที่
-
2:22 - 2:25สามารถเจอกับไข่
เพื่อที่จะสร้างเซลล์ไซกอท -
2:25 - 2:28องคชาตไม่ใช่สิ่งจำเป็นสำหรับการผสมพันธ์ภายใน
-
2:28 - 2:31แต่เมื่อการผสมพันธ์ภายในนั้นค่อยๆเปลี่ยนแปลง
-
2:31 - 2:33องคชาตถึงจะตามมา
-
2:33 - 2:37และคำถามที่ฉันได้รับ
เมื่อเริ่มพูดถึงเรื่องนี้มักจะเป็น -
2:37 - 2:40"คุณเกิดความสนใจในเรื่องเหล่านี้ได้อย่างไร"
-
2:40 - 2:44คำตอบคือโครงกระดูก
-
2:44 - 2:47คุณจะไม่คิดว่าโครงกระดูกกับองคชาตนั้น
-
2:47 - 2:49มีความคล้ายคลึงกัน
-
2:49 - 2:51และนั่นเป็นเพราะว่าเรามักจะคิดว่าโครงกระดูกเป็น
-
2:51 - 2:52เป็นเหมือนระบบคันโยกที่แข็งกระด้าง
-
2:52 - 2:54ที่สร้างความเร็วหรือพลังงาน
-
2:54 - 2:58ครั้งแรกที่ฉันเริ่มทำวิจัยทางด้านชีววิทยานั้น
-
2:58 - 3:00ฉันได้วิจัยเกี่ยวกับซากดึกดำบรรพ์ของไดโนเสาร์
-
3:00 - 3:02ซึ่งฉันได้ทำมันอย่างเต็มที่
-
3:02 - 3:05แต่เมื่อฉันได้ศึกษาชีวกลศาสตร์ ในระดับบัณฑิตวิทยาลัย
-
3:05 - 3:08ฉันต้องการเขียนวิทยานิพนธ์ที่จะสามารถ
-
3:08 - 3:11ขยายความรู้ของเราเกี่ยวกับการทำงานของโครงกระดูก
-
3:11 - 3:12ฉันได้ลองสิ่งอื่นๆที่หลากหลาย
-
3:12 - 3:14แต่การมันมักไม่ผลิตผลออกมาตามต้องการ
-
3:14 - 3:16แต่แล้ว วันหนึ่งฉันก็เริ่มคิด
-
3:16 - 3:18เกี่ยวกับองคชาตของสัตว์ที่เลี้ยงลูกด้วยนม
-
3:18 - 3:22มันเป็นโครงสร้างที่แปลกมากๆ
-
3:22 - 3:24ก่อนที่จะใช้องคชาตสำหรับการผสมพันธุ์ภายใน
-
3:24 - 3:26ลักษณะการทำงานของมันต้องมีการเปลี่ยนแปลง
-
3:26 - 3:28ในลักษณะที่น่าทึ่งมากๆ
-
3:28 - 3:30ส่วนใหญ่มันเป็นอวัยวะที่มีความยืดหยุ่น
-
3:30 - 3:31ซึ่งงอได้อย่างง่ายดาย
-
3:31 - 3:33แต่ ก่อนที่มันจะถูกนำไปใช้
-
3:33 - 3:35ระหว่างการร่วมเพศ
-
3:35 - 3:36มันต้องแข็งตัวขึ้น
-
3:36 - 3:38และมันต้องแข็งแบบที่งอได้ยาก
-
3:38 - 3:40และนอกจากนี้ มันต้องทำหน้าที่ของมันได้
-
3:40 - 3:43ระบบสืบพันธุ์ที่ทำงานไม่ได้
-
3:43 - 3:47สร้างบุคคลที่ไม่สามารถให้กำเนิดได้
-
3:47 - 3:50และบุคคลนั้นก็จะถูกคัดออกไปจากกลุ่มยีนส์
-
3:50 - 3:52ดังนั้นฉันคิดว่า "นี่แหละปัญหา
-
3:52 - 3:55ที่ร้องหาถึงโครงกระดูก
-
3:55 - 3:59มันไม่ใช่แบบนี้
-
3:59 - 4:02แต่แบบนี้นั่นเอง
-
4:02 - 4:04เนื่องจากการทำงานของ
-
4:04 - 4:06โครงกระดูกเป็นระบบที่
-
4:06 - 4:09สนับสนุนเนื้อเยื่อ และขับเคลื่อนพลังงาน
-
4:09 - 4:11สัตว์เช่นไส้เดือนดินนี้
-
4:11 - 4:13ตามจริงสัตว์ส่วนใหญ่
-
4:13 - 4:14ไม่สามารถรองรับเนื้อเยื่อ
-
4:14 - 4:16โดยการยึดมันกับกระดูก
-
4:16 - 4:18มันเหมือนกับลูกโป่งน้ำที่ถูกยึดมากกว่า
-
4:18 - 4:22สัตว์เหล่านั้นใช้โครงกระดูกของเหลว (hydrostatic skeleton)
-
4:22 - 4:24และโครงกระดูกของเหลวนี้
-
4:24 - 4:26มีสององค์ประกอบ
-
4:26 - 4:28การรองรับของโครงกระดูกมาจากการโต้ตอบ
-
4:28 - 4:30ระหว่างของเหลวที่มีแรงดัน
-
4:30 - 4:32และเนื้อเยื่อรอบๆ
-
4:32 - 4:36ที่ถูกยึดโดยแรงกดดันและเส้นใยโปรตีน
-
4:36 - 4:39การโต้ตอบนี้นั้นสำคัญ
-
4:39 - 4:42เพราะถ้าไม่มีองค์ประกอบทั้งสองนี้ คุณจะไม่มีการยึดเหนี่ยว
-
4:42 - 4:43ถ้าคุณมีของเหลว
-
4:43 - 4:45แต่ไม่มีกำแพงเนื้อเยื่อรอบๆ
-
4:45 - 4:47และเวลาทำให้ความดันขึ้น
-
4:47 - 4:49คุณจะมีแต่ของเหลวแผละๆ
-
4:49 - 4:51ถ้าคุณมีแต่กำแพงเนื้อเยื่อ
-
4:51 - 4:52แต่ไม่มีของเหลวที่จะสร้างความดันให้กำแพงเนื้อเยื่อ
-
4:52 - 4:54คุณจะมีแค่ผ้าเปียกหมาดๆ
-
4:54 - 4:57เมื่อคุณดูองคชาตในส่วนที่ตัดตามขวาง
-
4:57 - 4:59มันมีจำนวนร่องรอยของ
-
4:59 - 5:01โครงกระดูกของเหลวมาก
-
5:01 - 5:03มันมีพื้นที่ว่างส่วนกลาง
-
5:03 - 5:04ของเนื้อเยื่อคล้ายกับฟองน้ำ
-
5:04 - 5:07ที่เต็มไปด้วยของเหลว ซึ่งในที่นี้คือเลือด
-
5:07 - 5:09ล้อมรอบ ด้วยกำแพงเนื้อเยื่อ
-
5:09 - 5:13ที่มีโครงสร้างจากโปรตีนเรียกว่าคอลลาเจน
-
5:13 - 5:16ในขณะที่ฉันเริ่มต้นโครงการนี้
-
5:16 - 5:19คำอธิบายที่ดีที่สุดสำหรับ
การแข็งตัวขององคชาตนั้น -
5:19 - 5:23คือกำแพงที่ล้อมรอบเนื้อเยื่อนี้
-
5:23 - 5:25และเนื้อเยื่อที่เต็มไปด้วยเลือด
-
5:25 - 5:28และความดันของเหลวที่เกิดขึ้น
และในที่สุด! มันก็จะแข็งตัวได้ -
5:28 - 5:32สิ่งเหล่านี้อธิบายเกี่ยวกับการขยายตัว
-
5:32 - 5:36เมื่อของเหลวเพิ่ม เนื้อเยื่อก็จะขยายตัว
-
5:36 - 5:39แต่จริง ๆ มันไม่ได้อธิบายการเคารพธงชาติเลย
-
5:39 - 5:43เนื่องจากคำอธิบายนี้ไม่บอกว่า
-
5:43 - 5:46โครงสร้างมันยากที่จะงอได้อย่างไร
-
5:46 - 5:48และไม่มีใครได้ศึกษาผนังเนื้อเยื่อนี้อย่างเป็นระบบ
-
5:48 - 5:51ดังนั้นฉันจึงคิดว่า ผนังเนื้อเยื่อนี้
สำคัญต่อโครงกระดูก -
5:51 - 5:53มันต้องเป็น ส่วนหนึ่งของการอธิบาย
-
5:53 - 5:56และนี่เป็นจุดสำคัญ
-
5:56 - 5:58ที่ที่ปรึกษาของฉันกล่าวว่า
-
5:58 - 6:02"เห้ย! เดี๋ยวก่อน ช้าลงก่อน"
-
6:02 - 6:05เพราะประมาณหกเดือนหลังจากการพูดคุยเกี่ยวกับเรื่องนี้
-
6:05 - 6:07ดิฉันคิดว่า ในท้ายที่สุด เขาคิดได้ว่า
-
6:07 - 6:10ดิฉันนั้นจริงจังเกี่ยวกับเรื่องขององคชาตนี้
-
6:10 - 6:13(เสียงหัวเราะ)
-
6:13 - 6:15ดังนั้น เขาจึงให้ฉันนั่งลง และเขาก็เตือนฉัน
-
6:15 - 6:17เขาบอกว่า "ระวังถ้าคุณอยากจะศึกษาเรื่องนี้"
-
6:17 - 6:20"ผมไม่แน่ใจว่า โครงการนี้จะผลิตผลลัพธ์ที่ดี"
-
6:20 - 6:22เพราะเขากลัวว่า ฉันจะถูกติดกับ
-
6:22 - 6:27ฉันกำลังพูดเกี่ยวกับหัวข้อที่สังคมอาย
-
6:27 - 6:29กับคำตอบที่เขาคิดว่า
-
6:29 - 6:32ไม่ค่อยน่าสนใจมากเท่าไร
-
6:32 - 6:33เนื่องจาก
-
6:33 - 6:35ทุกโครงกระดูกของเหลว
-
6:35 - 6:37ที่เราได้พบในธรรมชาติถึงตอนนี้
-
6:37 - 6:39มีองค์ประกอบพื้นฐานเดียวกัน
-
6:39 - 6:40นั้นคือมันมีของเหลวตรงกลาง
-
6:40 - 6:42มันมีกำแพงเนื้อเยื่อล้อมรอบ
-
6:42 - 6:45และใยไฟเบอร์ในผนัง
-
6:45 - 6:47ถูกจัดเรียงแบบเกลียวไขว้ (crossed helices)
-
6:47 - 6:49รอบแกนยาวของโครงกระดูก
-
6:49 - 6:51รูปเบื้องหลังฉัน
-
6:51 - 6:52แสดงชิ้นส่วนของเนื้อเยื่อ
-
6:52 - 6:54ที่อยู่ภายในเกลียวไขว้
-
6:54 - 6:57เราตัดมันเพื่อให้คุณเห็นผิวผนังของเนื้อเยื่อ
-
6:57 - 6:58ลูกศรแสดงให้คุณเห็นแกนยาว
-
6:58 - 7:00และคุณสามารถดูใยแบบสองชั้น
-
7:00 - 7:02ใยนึงสีน้ำเงินและอีกใยสีเหลือง
-
7:02 - 7:05จัดเรียงในมุมซ้ายและขวา
-
7:05 - 7:07และ ถ้าคุณไม่ได้มองแค่ส่วนเล็กๆของใย
-
7:07 - 7:10จะเห็นว่าใยเหล่านั้น จะอยู่ในรูปแบบเกลียว
-
7:10 - 7:12รอบแกนยาวของโครงกระดูก-
-
7:12 - 7:14เหมือนกับกับดักนิ้วของจีน
-
7:14 - 7:16ที่เวลาคุณสอดนิ้วเข้าไปแล้วเอาไม่ออก
-
7:16 - 7:19โครงกระดูกเหล่านี้มีลักษณะคล้ายกัน
-
7:19 - 7:21ซึ่งฉันจะแสดงให้ดูในรูปแบบภาพยนต์
-
7:21 - 7:22นี่เป็นแบบจำลองโครงกระดูก
-
7:22 - 7:24ที่ฉันทำขึ้นจากผ้าชิ้นนึง
-
7:24 - 7:27ห่อรอบลูกโป่งที่พองอยู่
-
7:27 - 7:28ผ้านี้ถูกตัดตามเส้นทแยง
-
7:28 - 7:31คุณจะเห็นว่า ใยถูกพันเป็นเกลียว
-
7:31 - 7:35และใยเหล่านั้นสามารถเปลี่ยนทิศทาง
ตามการเคลื่อนที่ของโครงกระดูก -
7:35 - 7:37ซึ่งหมายถึงโครงกระดูกที่ยืดหยุ่นได้
-
7:37 - 7:39มันยาวขึ้น สั้นลง และ งอ ได้อย่างง่ายดาย
-
7:39 - 7:43ตามการตอบสนองภายในและภายนอก
-
7:43 - 7:44ตอนนี้ที่ปรึกษาของฉันข้องใจว่า
-
7:44 - 7:46แล้วถ้าเกิดผนังของอวัยวะเพศนั้น
-
7:46 - 7:48เหมือนกับโครงกระดูกของเหลวอื่นๆทั่วไปล่ะ
-
7:48 - 7:50คุณจะค้นพบอะไรไหม
-
7:50 - 7:52คุณจะได้การค้นพบสิ่งแปลกใหม่
-
7:52 - 7:53ทางชีววิทยาไหม
-
7:53 - 7:57ฉันคิดว่า "อืม เขาก็ถูกเหมือนกันนะ"
-
7:57 - 7:58ดังนั้น ฉันจึงใช้เวลาคิดเกี่ยวกับมันอย่างนาน
-
7:58 - 8:00และสิ่งหนึ่งก็คอยกวนใจฉัน
-
8:00 - 8:03คือเวลาที่อวัยวะเพศชายนั้นมันทำงาน
-
8:03 - 8:05มันไม่กระดิก
-
8:05 - 8:07(เสียงหัวเราะ)
-
8:07 - 8:10ดังนั้นมันต้องมีอะไรที่น่าสนใจเกิดขึ้นอยู่
-
8:10 - 8:13ดังนั้นฉันจึงไปเก็บเนื้อเยื่อผนังนี้มา
-
8:13 - 8:15เตรียมพร้อมเพื่อให้มันเคารพธงชาติ
-
8:15 - 8:17ตัดมันเป็นชิ้น วางมันบนแผ่น
-
8:17 - 8:20และสังเกตมันจากกล้องจุลทรรศน์
-
8:20 - 8:25คาดเดาอย่างเต็มที่ว่าจะเห็นคอลลาเจนในรูปแบบเกลียวไขว้
-
8:25 - 8:27แต่ฉันเห็นสิ่งนี้
-
8:27 - 8:30มันมีทั้งชั้นนอกและชั้นใน
-
8:30 - 8:33ลูกศรชี้ที่แกนของโครงกระดูกยาว
-
8:33 - 8:35ฉันรู้สึกประหลาดใจกับมันจริงๆ
-
8:35 - 8:36ทุกคนที่ฉันให้ดู
-
8:36 - 8:38ก็รู้สึกประหลาดใจเหมือนกัน
-
8:38 - 8:39ทำไมทุกคนถึงประหลาดใจล่ะ?
-
8:39 - 8:42นั่นเป็นเพราะเรารู้ตามทฤษฏี
-
8:42 - 8:45ว่ามันมีอีกวิธี
-
8:45 - 8:48ในการจัดเรียงไฟเบอร์ในโครงกระดูกของเหลว
-
8:48 - 8:50และนั่นก็คือการเรียงใยไฟเบอร์แบบศูนย์องศา
-
8:50 - 8:54และแบบ 90 องศาทางแกนยาว
-
8:54 - 8:58ไม่มีใครได้เคยพบเห็นมาก่อนในธรรมชาติ
-
8:58 - 9:00และตอนนี้ ฉันเป็นคนได้ดูมัน
-
9:00 - 9:03ใยเหล่านั้นที่ถูกวางในแนวที่เฉพาะเจาะจง
-
9:03 - 9:06ทำให้ลักษณะของการทำงานของโครงกระดูกนั้นแตกต่างไปมาก
-
9:06 - 9:07ฉันจะแสดงแบบจำลอง
-
9:07 - 9:09ทำจากวัสดุเดียวกัน
-
9:09 - 9:11มันทำจากผ้าชิ้นเกียวกัน
-
9:11 - 9:15ลูกโป่งเดียวกัน ความดันภายในเดียวกัน
-
9:15 - 9:17แต่มีความแตกต่างเพียงอย่างเดียว
-
9:17 - 9:20คือ มีการจัดเรียงไฟเบอร์ที่แตกต่างกัน
-
9:20 - 9:22และคุณจะเห็นว่า แบบจำลองนี้ต้านทานการขยายตัวและหดตัว
-
9:22 - 9:25และต้านทานการงอ
-
9:25 - 9:27ได้ดีกว่าโมเดลเกลียวไขว้
-
9:27 - 9:28มันกำลังบอกเราว่า
-
9:28 - 9:30กำแพงเนื้อเยื่อนี้กำลังทำงาน
-
9:30 - 9:32มากกว่าการคลุมเนื้อเยื่อหลอดเลือด
-
9:32 - 9:36แต่มันเป็นส่วนหนึ่งของโครงกระดูกอวัยวะเพศชาย
-
9:36 - 9:38ถ้ามันไม่มีผนังรอบเนื้อเยื่อนี้
-
9:38 - 9:40ถ้ามันไม่ถูกเสริมด้วยวิธีนี้
-
9:40 - 9:42รูปร่างมันจะเปลี่ยน
-
9:42 - 9:44องคชาตที่ขยายตัวจะไม่มีทางต้านการงอได้
-
9:44 - 9:46และการเคารพธงชาติก็จะไม่เกิดขึ้น
-
9:46 - 9:49นี่เป็นข้อสังเกตที่นำไปประยุกต์
ทางการแพทย์ได้อย่างชัดเจน -
9:49 - 9:50เช่นในมนุษย์
-
9:50 - 9:53ฉันคิดว่ามันเกี่ยวข้องกันในเชิงกว้าง
-
9:53 - 9:56ไปกับการออกแบบขาเทียมและหุ่นยนต์
-
9:56 - 9:57หรืออะไรก็ตาม
-
9:57 - 10:00ที่การเปลี่ยนแปลงของรูปร่างและความยืดหยุ่นเป็นสิ่งสำคัญ
-
10:00 - 10:02ดังนั้นสรุปแล้ว
-
10:02 - 10:03ยี่สิบปีที่ผ่านมา
-
10:03 - 10:05ที่ปรึกษาที่มหาวิทยาลัยบอกฉัน
-
10:05 - 10:07ตอนฉันไปมหาวิทยาลัยและบอกกับอาจารย์ว่า
-
10:07 - 10:08"ฉันสนใจเกี่ยวกับกายวิภาคศาสตร์"
-
10:08 - 10:10อาจารย์บอกว่า "กายวิภาคศาสตร์เป็นศาสตร์ที่ตายแล้ว"
-
10:10 - 10:13เขาผิดมหันต์ทีเดียว
-
10:13 - 10:15ฉันเชื่อจริงๆ ว่า ยังมีอีกมากที่เราสามารถเรียนรู้
-
10:15 - 10:18เกี่ยวกับโครงสร้างและการทำงานของร่างกายเรา
-
10:18 - 10:21วิทยาศาสตร์ไม่ใช่เกี่ยวกับพันธุศาสตร์และอณูชีววิทยาแค่นั้น
-
10:21 - 10:25มันอยู่ที่ระดับเนื้อหนังของเรานี่แหละ
-
10:25 - 10:26พวกเรานั้นมีเวลาจำกัด
-
10:26 - 10:28เรามักจะมุ่งเน้นในการศึกษาโรคใดโรคหนึ่ง
-
10:28 - 10:30แบบจำลองเดียวและปัญหาเดียว
-
10:30 - 10:31แต่ประสบการณ์ของฉันแนะนำ
-
10:31 - 10:33ว่าเราควรใช้เวลา
-
10:33 - 10:35มาประยุกต์แนวคิดระหว่างหลายๆไอเดีย
-
10:35 - 10:37และดูว่ามันจะพาเราไปที่ไหน
-
10:37 - 10:41ถ้าความคิดเกี่ยวกับโครงกระดูกสัตว์ที่ไม่มีสันหลัง
-
10:41 - 10:42สามารถให้ข้อมูลเชิงลึก
-
10:42 - 10:44เกี่ยวกับระบบสืบพันธุ์ของสัตว์เลี้ยงลูกด้วยนม
-
10:44 - 10:49มันอาจจะมีความสัมพันธ์ต่างๆนาๆ
-
10:49 - 10:51ที่คอยให้เราค้นพบ
-
10:51 - 10:53ขอบคุณค่ะ
-
10:53 - 10:56(เสียงปรบมือ)
- Title:
- ดิแอนน์ เคลลี่ (Diane Kelly): สิ่งที่เราไม่รู้เกี่ยวกับกายวิภาคศาสตร์ขององคชาต
- Speaker:
- Diane Kelly
- Description:
-
กายวิภาคศาสตร์นั้นยังไม่จบสิ้น เรามีความรู้มหาศาลเกี่ยวกับ พันธุกรรม การศึกษา โปรตีโอมศึกษา และชีววิทยา แต่ ดิแอนน์ เคลลี่ นั้น มาเล่าอย่างกระจ่างที่ TEDMED ว่า มีปัจจัยพื้นฐานหลายๆอย่างเกี่ยวกับร่างกายของเราที่เรายังต้องเรียนรู้อีก ซึ่งคำถามในที่นี้คือ การตั้งชันขององคชาตนั้นเกิดขึ้นอย่างไร?
- Video Language:
- English
- Team:
closed TED
- Project:
- TEDTalks
- Duration:
- 11:20
![]() |
Unnawut Leepaisalsuwanna approved Thai subtitles for What we didn't know about penis anatomy | |
![]() |
Unnawut Leepaisalsuwanna accepted Thai subtitles for What we didn't know about penis anatomy | |
![]() |
Unnawut Leepaisalsuwanna edited Thai subtitles for What we didn't know about penis anatomy | |
![]() |
Unnawut Leepaisalsuwanna edited Thai subtitles for What we didn't know about penis anatomy | |
![]() |
Vasant Jain edited Thai subtitles for What we didn't know about penis anatomy | |
![]() |
Vasant Jain edited Thai subtitles for What we didn't know about penis anatomy | |
![]() |
Vasant Jain edited Thai subtitles for What we didn't know about penis anatomy | |
![]() |
Vasant Jain edited Thai subtitles for What we didn't know about penis anatomy |