Return to Video

ทำไมคนเราถึงโมโห ความโกรธเป็นสิ่งที่ดีต่อตัวเรา

  • 0:02 - 0:06
    ครับ สมมติว่าคุณได้รับข้อความหนึ่ง
    จากเพื่อน เขาพิมพ์มาว่า...
  • 0:07 - 0:11
    "รู้ไหมว่าฉันไปเจออะไรมา โมโหมากเลยตอนนี้"
  • 0:11 - 0:15
    ในฐานะเพื่อน คุณก็ถามไปว่า
    เรื่องมันเป็นยังไง
  • 0:15 - 0:17
    เขาก็เล่าเรื่องที่เกิดขึ้นให้คุณฟัง
  • 0:17 - 0:20
    อาจจะเป็นที่ยิม ที่ทำงาน
    หรือไปเดทมาเมื่อคืน
  • 0:20 - 0:23
    แล้วคุณก็ฟัง
    พยายามทำความเข้าใจว่าทำไมเพื่อนถึงโมโห
  • 0:24 - 0:27
    บางทีคุณอาจจะแอบตัดสินเพื่อนอยู่ในใจเบาๆ
    ว่าที่เพื่อนโกรธน่ะ มันควรไหม
  • 0:27 - 0:29
    (เสียงหัวเราะ)
  • 0:29 - 0:31
    แล้วคุณก็อาจจะแนะนำอะไรบางอย่างให้กับเขาไป
  • 0:31 - 0:35
    ตอนนั้นเองครับที่คุณกำลังทำ
    ในสิ่งที่ผมได้ทำอยู่ทุกวัน
  • 0:35 - 0:37
    เพราะว่าผมเป็นผู้ศึกษาความโกรธ
  • 0:37 - 0:41
    และในฐานะผู้ที่ศึกษาเรื่องนี้
    ผมทุ่มเทเวลาศึกษาค้นคว้าอย่างมืออาชีพ...
  • 0:41 - 0:44
    จริงๆก็มาจากเรื่องของตัวเองด้วยนี่แหละ
  • 0:44 - 0:46
    ทำความเข้าใจว่าทำไมคนเราถึงหัวร้อน
  • 0:46 - 0:49
    ผมได้ไปทำความเข้าใจ ความคิดที่เกิดขึ้น
    เวลาที่พวกเขาโมโห
  • 0:49 - 0:51
    สิ่งที่พวกเขามักทำเวลาโมโห
  • 0:51 - 0:53
    ไม่ว่าจะเข้าไปสู้เลย หรือทำลายข้าวของ
  • 0:53 - 0:56
    หรือเกรี้ยวกราดใส่คนอื่นบนอินเตอร์เน็ต
  • 0:56 - 0:57
    (เสียงหัวเราะ)
  • 0:57 - 0:59
    คุณคงพอจะนึกออกว่า
  • 0:59 - 1:00
    พอคนเขารู้ว่าผมศึกษาเรื่องนี้
  • 1:00 - 1:02
    เขาก็อยากจะเล่าความเดือดดาลในใจให้ผมฟัง
  • 1:02 - 1:04
    เล่าเรื่องที่ทำให้พวกเขาหัวร้อน
  • 1:04 - 1:06
    ไม่ใช่เพราะต้องการคนมาเยียวยารักษา
  • 1:06 - 1:08
    แม้จะมีคนที่ต้องการบ้าง
  • 1:08 - 1:10
    แต่ความรู้สึกนี้เกิดขึ้นได้กับทุกคน
  • 1:10 - 1:13
    บางอย่างเราก็เคยรู้สึกเหมือนกัน
    บางอย่างเราพอจะเข้าใจได้
  • 1:13 - 1:16
    เราต่างก็เคยโมโหกันมาทั้งนั้น
    ตั้งแต่เกิดมาได้ไม่กี่เดือน
  • 1:16 - 1:20
    ตอนที่เราไม่ได้อะไรดั่งใจ
    เราก็ร้องกระจองอแง
  • 1:20 - 1:23
    อย่างเช่น "พ่อ หมายความว่ายังไง
    ไม่สนใจเสียงร้องของหนู"
  • 1:23 - 1:24
    "หนูจะเอาอันนั้น"
  • 1:24 - 1:26
    (เสียงหัวเราะ)
  • 1:26 - 1:31
    เราต่างก็เคยฉุนเฉียวเมื่อสมัยวัยรุ่น
    อันนี้แม่ผมช่วยยืนยันได้
  • 1:31 - 1:32
    ขอโทษแม่ด้วยครับ
  • 1:32 - 1:34
    เราเจอกับอารมณ์นี้อยู่ตลอด
  • 1:34 - 1:38
    จริงๆแล้ว ความเกรี้ยวกราดอยู่กับเรามาเสมอ
    ในจังหวะที่เรากำลังแย่สุดๆในชีวิต
  • 1:38 - 1:41
    มันเป็นอารมณ์ที่เราจะต้องเจอ
    เป็นธรรมชาติ เมื่อเกิดความทุกข์
  • 1:41 - 1:44
    แต่มันก็ยังอยู่กับเรา
    แม้ในช่วงเวลาที่ดีที่สุดของชีวิต
  • 1:44 - 1:47
    ในโอกาสพิเศษๆ เช่น งานแต่งงาน
    หรือไปเที่ยวพักผ่อน
  • 1:47 - 1:50
    ก็มักจะมีจังหวะอารมณ์เสียได้เหมือนกัน
  • 1:50 - 1:52
    อากาศไม่เป็นใจ การเดินทางล่าช้า
  • 1:52 - 1:54
    นั่นก็ทำให้วันดีๆเสียไปได้
  • 1:54 - 1:57
    แต่ถ้าทุกอย่างกลับมาราบรื่น
    เราก็จะลืมอารมณ์ขุ่นมัวนั้นไป
  • 1:58 - 2:01
    หลายครั้งที่ผมได้คุยกับหลายๆคน
    เรื่องความโกรธของพวกเขา
  • 2:01 - 2:03
    ในประโยคสนทนาต่างๆนั้นเอง
    ทำให้ผมได้รู้
  • 2:03 - 2:05
    ผมว่าทุกคนในห้องตอนนี้ก็เป็นเหมือนกัน
  • 2:05 - 2:07
    คือมองอารมณ์ร้อนเป็นปัญหา
  • 2:07 - 2:10
    คุณมองว่ามันกระทบต่อชีวิตของคุณยังไง
  • 2:10 - 2:13
    มันทำลายความสัมพันธ์ของคุณกับคนรอบข้าง
    บางครั้งมองว่ามันน่ากลัว
  • 2:13 - 2:16
    ในขณะที่ผมได้รับรู้มุมมองเหล่านี้
    ผมเห็นมันต่างออกไป
  • 2:16 - 2:18
    วันนี้ ผมจึงอยากบอกคุณ
    บางอย่างที่สำคัญมาก
  • 2:18 - 2:20
    เกี่ยวกับความโกรธ คือสิ่งนี้ครับ
  • 2:20 - 2:24
    ความโกรธเป็นพลัง
    และให้ประโยชน์แก่ชีวิตของคุณ
  • 2:24 - 2:26
    มันเป็นเรื่องดีที่คุณรู้สึกโกรธ
  • 2:26 - 2:27
    คุณจำเป็นต้องรู้สึกโกรธ
  • 2:28 - 2:30
    แต่ก่อนที่จะเข้าใจเรื่องนี้
    เราต้องย้อนไปคุยกันก่อนว่า
  • 2:30 - 2:33
    อะไรที่เป็นสาเหตุให้เรารู้สึกโกรธ
  • 2:33 - 2:35
    มีการศึกษาอยู่ในงานของผู้วิจัยความโกรธ
  • 2:35 - 2:39
    ชื่อ ดร.เจอร์รี่ เดฟเฟนแบคเฮอร์
    เขียนเรื่องนี้ไว้เมื่อปีค.ศ.1996
  • 2:39 - 2:42
    ในหัวข้อที่ว่า เราจะจัดการความโกรธ
    ที่ดูเป็นปัญหานี้ยังไง
  • 2:42 - 2:45
    เอาล่ะครับ ผมเชื่อว่าหลายคนส่วนใหญ่
  • 2:45 - 2:46
    มักจะรู้สึกแบบนี้เหมือนๆกัน
  • 2:46 - 2:48
    ฉันจะฉุนเฉียวเวลาโดนยั่วโมโห
  • 2:49 - 2:50
    คุณคงพอจะจับน้ำเสียงของเขาได้
  • 2:50 - 2:51
    เขาจะพูดประมาณว่า
  • 2:51 - 2:54
    "ขัดใจฉันจริงๆเวลาเจอคนขับรถช้าแบบนี้"
  • 2:54 - 2:58
    หรือว่า "ฉันหงุดหงิด เพราะ
    เธอวางนมทิ้งไว้นอกตู้เย็นอีกแล้ว"
  • 2:58 - 2:59
    หรืออันที่ผมชอบคือ
  • 2:59 - 3:03
    "ฉันไม่มีปัญหากับเรื่องโมโหนะ
    ขอแค่ให้คนเลิกมากวนใจฉัน"
  • 3:03 - 3:04
    (เสียงหัวเราะ)
  • 3:05 - 3:08
    ทีนี้ครับ เพื่อที่จะทำความเข้าใจ
    สิ่งที่ทำให้เราขุ่นเคืองใจพวกนี้
  • 3:08 - 3:13
    ผมได้สอบถามคนมากมาย ทั้งเพื่อนสนิท
    เพื่อนร่วมงาน แม้แต่คนในครอบครัว
  • 3:13 - 3:15
    "เรื่องอะไรที่มักจะทำให้คุณหงุดหงิดเสมอ"
  • 3:15 - 3:17
    "อะไรที่ทำให้คุณหัวเสีย"
  • 3:17 - 3:19
    แต่ก่อนอื่นเลยครับ ผมขอบอกข้อดีข้อหนึ่งของ
  • 3:19 - 3:21
    การเป็นนักวิจัยความโกรธ
  • 3:21 - 3:24
    นั่นคือผมได้ใช้เวลามากกว่าสิบปี
    จดบันทึกความเข้าใจ
  • 3:24 - 3:27
    เรื่องต่างๆที่มักทำให้เพื่อนของผมขุ่นเคือง
  • 3:28 - 3:29
    เผื่อผมอาจจะต้องหยิบมาดู
  • 3:29 - 3:33
    (เสียงหัวเราะ)
  • 3:33 - 3:35
    แต่คำตอบที่ได้รับมาน่าสนใจมากครับ
  • 3:35 - 3:38
    สาเหตุของความโกรธที่พวกเขามักจะบอกคือ
  • 3:38 - 3:40
    "เวลาทีมที่เชียร์แพ้"
  • 3:40 - 3:42
    "คนเคี้ยวอาหารเสียงดังเกินไป"
  • 3:42 - 3:44
    แปลกแต่เป็นกันเยอะจริงๆนะครับ
  • 3:44 - 3:48
    "คนที่เดินช้าเกินไป"
    อันนี้เหตุผลของผมเอง
  • 3:48 - 3:50
    และแน่นอนครับ "ขับรถเข้าวงเวียน"
  • 3:50 - 3:51
    ครับ วงเวียน
  • 3:51 - 3:53
    (เสียงหัวเราะ)
  • 3:53 - 3:56
    ผมบอกตามตรงเลยว่า ไม่มีเรื่องไหน
    ชวนหัวร้อนได้เท่าขับรถในวงเวียน
  • 3:56 - 3:59
    (เสียงหัวเราะ)
  • 3:59 - 4:01
    บางครั้งคำตอบของพวกเขา
    ไม่ใช่เรื่องเล็กน้อยเลย
  • 4:01 - 4:05
    บางครั้งพูดถึงการเหยียดเชื้อชาติ
    เหยียดเพศ การกลั่นแกล้ง
  • 4:05 - 4:09
    การทำลายสิ่งแวดล้อม ปัญหาระดับโลก
    เรื่องใหญ่ๆที่เราทุกคนเผชิญอยู่
  • 4:10 - 4:11
    แต่ในบางครั้ง
  • 4:11 - 4:14
    คำตอบของพวกเขาก็เฉพาะเจาะจงลงไป
    บางทีเป็นเรื่องแล้วแต่คนเลย
  • 4:15 - 4:17
    "ตอนสีที่ยังไม่แห้งมาโดนเสื้อคุณ"
  • 4:17 - 4:20
    "ตอนที่คุณเผลอยืนพิงอ่างล้างมือ
    ในห้องน้ำสาธารณะ"
  • 4:20 - 4:22
    (เสียงหัวเราะ)
  • 4:22 - 4:24
    ขยะแขยงสุดๆ ว่าไหมครับ
  • 4:24 - 4:25
    (เสียงหัวเราะ)
  • 4:25 - 4:28
    หรือ "แฟลชไดรฟ์ จะเสียบก็มีแค่หัวท้าย"
  • 4:29 - 4:31
    "ทำไมต้องหมุนไปหมุนมา
    ตั้งสามรอบกว่าจะเสียบได้"
  • 4:31 - 4:35
    (เสียงหัวเราะ)
  • 4:35 - 4:39
    ไม่ว่าจะเป็นเรื่องเล็กหรือเรื่องใหญ่
    เรื่องทั่วไปหรือแล้วแต่บุคคล
  • 4:39 - 4:41
    เราพอจะเห็นภาพจากตัวอย่างเหล่านี้
  • 4:41 - 4:43
    และเราพอจะเข้าใจสถานการณ์คล้ายๆกันนี้ได้
  • 4:43 - 4:46
    เราเกิดความรู้สึกโกรธ
    ในสถานการณ์ที่เราไม่พอใจ
  • 4:46 - 4:49
    สถานการณ์ที่เรารู้สึกไม่ยุติธรรม
    เป้าหมายของเราถูกขัดขวาง
  • 4:49 - 4:52
    ตอนที่เราจำเป็นต้องหลีกเลี่ยง
    รู้สึกตัวเองไม่มีอำนาจ
  • 4:52 - 4:54
    นี่คือสูตรสำรับของความโกรธเกรี้ยว
  • 4:54 - 4:55
    แต่คุณก็จะเห็นเหมือนกันว่า
  • 4:56 - 4:59
    ความโกรธไม่ใช่แค่สิ่งที่เรารู้สึก
    ในสถานการณ์เหล่านี้เท่านั้น
  • 4:59 - 5:01
    มันไม่ใช่อารมณ์ที่เกิดขึ้นเดี่ยวๆ
  • 5:01 - 5:04
    เรารู้สึกโกรธในเวลาที่กลัว
    หรือเศร้าได้เช่นกัน
  • 5:04 - 5:07
    หรือแม้แต่ในอารมณ์อื่นๆ
  • 5:07 - 5:09
    สิ่งสำคัญคือตรงนี้ครับ
  • 5:09 - 5:12
    เรื่องที่ชวนหัวร้อนนั้น
    ไม่ได้เป็นสิ่งที่ทำให้เราโมโห
  • 5:12 - 5:13
    มันไม่ใช่สาเหตุโดยตรง
  • 5:13 - 5:15
    แล้วเราก็รู้ดีเพราะ
    ถ้าสิ่งนั้นทำให้โมโห
  • 5:15 - 5:18
    เราทุกคนคงโมโหเรื่องเดียวกัน
    เหมือนกันหมดทุกคน แต่ไม่ใช่
  • 5:18 - 5:21
    สิ่งที่ทำให้ผมโมโหนั้นต่างกับ
    สิ่งที่ทำให้คุณโมโห
  • 5:21 - 5:23
    คราวนี้เลยกลายเป็นว่า
    มีอีกสิ่งเพิ่มเข้ามา
  • 5:23 - 5:25
    สิ่งนั้นมันคืออะไรล่ะ
  • 5:25 - 5:30
    เรารู้ว่าเรากำลังทำหรือกำลังรู้สึกอะไรอยู่
    ณ ตอนที่มีสิ่งมากวนใจ
  • 5:30 - 5:34
    เราเรียกมันว่า ระยะก่อนเกิดความโกรธ
    คุณกำลังหิวอยู่ไหม เหนื่อยอยู่ไหม
  • 5:34 - 5:38
    กำลังกังวลเรื่องอื่นอยู่ในใจไหม
    กำลังจะไปสายแล้วหรือเปล่า
  • 5:38 - 5:39
    เวลาที่คุณเกิดความรู้สึกพวกนี้
  • 5:39 - 5:42
    สิ่งที่กวนใจจะยิ่งน่าหงุดหงิดมากกว่าเดิม
  • 5:43 - 5:45
    สิ่งที่มีผลต่ออารมณ์โกรธที่สุด
    ไม่ใช่เรื่องกวนใจ
  • 5:45 - 5:48
    ไม่ใช่อารมณ์ในระยะก่อนเกิดความโกรธด้วย
    มันคือสิ่งนี้
  • 5:48 - 5:50
    เราตีความสิ่งที่มากวนใจนั้นยังไง
  • 5:50 - 5:52
    ให้ความหมายสิ่งเหล่านั้นกับชีวิตเรายังไง
  • 5:52 - 5:54
    เมื่อมีบางอย่างเกิดขึ้นกับเรา
  • 5:54 - 5:57
    ความคิดแรกคือ มันดีหรือไม่ดี ใช่ไหมครับ
  • 5:57 - 6:01
    มันยุติธรรมหรือเปล่า
    เราตำหนิมันได้ใช่ไหม โทษมันได้ใช่ไหม
  • 6:01 - 6:05
    นี่คือการประเมินขั้นแรก
    เกิดขึ้นเมื่อคุณประเมินสถานการณ์นั้นๆเอง
  • 6:05 - 6:07
    เราตัดสินมัน นิยามมัน จากบริบทในชีวิตเรา
  • 6:07 - 6:10
    หลังจากเราประเมินแล้ว
    เราก็มาคิดต่อว่ามันแย่แค่ไหน
  • 6:10 - 6:11
    นี่คือการประเมินขั้นที่สอง
  • 6:12 - 6:14
    เราจะบอกว่า "นี่มันแย่ที่สุด
    เท่าที่เคยเจอมาเลย"
  • 6:14 - 6:16
    หรือ "ฉันพอจะจัดการเรื่องนี้ได้"
  • 6:17 - 6:20
    ทีนี้ครับเพื่อให้เห็นภาพมากขึ้น
    ผมอยากให้คุณนึกภาพว่ากำลังขับรถไปไหนสักที่
  • 6:21 - 6:23
    และก่อนที่เราจะไปไกลกว่านี้
    ผมควรบอกก่อนว่า
  • 6:23 - 6:25
    ถ้าผมเป็นคนอัจฉริยะอย่างร้ายกาจ
  • 6:25 - 6:29
    สิ่งที่ผมอยากจะทำก็คือสร้างสถานการณ์
    ที่จะทำให้พวกคุณโกรธ
  • 6:29 - 6:31
    สถานการณ์ที่ชวนหัวร้อนมากๆ
    อย่างเช่นการขับรถ
  • 6:31 - 6:32
    (เสียงหัวเราะ)
  • 6:32 - 6:34
    เรื่องจริงนะครับ
  • 6:34 - 6:36
    คุณกำลัง สมมติ ว่ากำลังอยู่ระหว่างทาง
  • 6:36 - 6:40
    แล้วทุกสิ่งที่เกิดขึ้นคือ การจราจร
    คนขับรถคันอื่น ถนนกำลังก่อสร้าง
  • 6:40 - 6:43
    เหมือนว่ามันกำลังจะขัดขวางคุณจากเป้าหมาย
  • 6:43 - 6:46
    มีทั้งกฎจราจรที่ป้ายกำกับไว้
    และที่ไม่ได้มีป้ายบอก
  • 6:46 - 6:49
    และกฎเหล่านั้นถูกละเลยไป
    มันเกิดขึ้นตรงหน้าคุณ
  • 6:49 - 6:51
    เกิดขึ้นประจำ แล้วผ่านไป
  • 6:51 - 6:52
    แล้วใครกันที่ละเมิดกฎจราจรพวกนั้น
  • 6:52 - 6:55
    คนอื่นที่เป็นใครก็ไม่รู้
    คนที่คุณคงไม่ได้พบกันอีก
  • 6:55 - 6:58
    ทำให้ง่ายมากที่พวกเขาจะตกเป็นเหยื่อ
    แก่ความเกรี้ยวกราดของคุณ
  • 6:58 - 7:00
    (เสียงหัวเราะ)
  • 7:00 - 7:04
    คุณกำลังขับรถไปที่ไหนสักที่
    เริ่มจะหงุดหงิดขึ้นเรื่อยๆแล้ว
  • 7:04 - 7:07
    และคนข้างหน้าคุณ
    ขับรถด้วยความเร็วต่ำกว่ากำหนดเป็นอย่างดี
  • 7:08 - 7:09
    และมันรบกวนจิตใจ
  • 7:09 - 7:12
    เพราะคุณไม่มีทางรู้เลยว่า
    ทำไมเขาถึงขับรถช้าขนาดนั้น
  • 7:12 - 7:14
    นี่คือการประเมินขั้นแรก
  • 7:14 - 7:17
    คุณมองอยู่เรื่อยๆ และเริ่มคิดว่าไม่ไหวแล้ว
    ขับช้าจนคุณอยากตำหนิ
  • 7:17 - 7:20
    แต่คุณอาจจะคิดว่าไม่ใช่เรื่องใหญ่อะไรก็ได้
  • 7:20 - 7:22
    เพราะคุณก็ไม่ได้รีบร้อน ไม่เป็นไร
  • 7:22 - 7:24
    นี่คือการประเมินขั้นที่สองครับ
    คุณเลยไม่ได้โกรธอะไร
  • 7:25 - 7:29
    แต่ ถ้าลองนึกว่า คุณกำลังอยู่ระหว่างทาง
    กำลังจะไปสัมภาษณ์งาน
  • 7:30 - 7:32
    สิ่งที่คนขับรถคันข้างหน้าคุณทำ
    ก็ยังเหมือนเดิม ใช่ไหม
  • 7:32 - 7:36
    ฉะนั้น การประเมินขั้นแรกก็ยังเหมือนเดิม
    ไม่ไหว ขับช้าจนน่าตำหนิ
  • 7:36 - 7:39
    แต่ การจัดการสถานการณ์นี้ของคุณ
    เปลี่ยนไปแน่นอน
  • 7:39 - 7:41
    เพราะทันใดนั้นเอง
  • 7:41 - 7:43
    คุณกำลังจะไปสัมภาษณ์งานสาย
  • 7:43 - 7:44
    ทันใดนั้นเอง
  • 7:44 - 7:46
    คุณกำลังจะเสียงานในฝันของคุณไป
  • 7:46 - 7:49
    งานที่อาจจะให้เงินคุณเป็นกอบเป็นกำ
  • 7:49 - 7:50
    (เสียงหัวเราะ)
  • 7:50 - 7:52
    ใครอีกคนกำลังจะได้งานในฝันนั้นแทนคุณไป
  • 7:52 - 7:54
    คุณอาจจะต้องถังแตก
  • 7:54 - 7:55
    คุณอาจจะต้องขัดสนเรื่องการเงิน
  • 7:56 - 7:59
    หรือจะต้องจอดรถ วนกลับ
    กลับไปอยู่กับพ่อแม่อีก
  • 7:59 - 8:01
    (เสียงหัวเราะ)
  • 8:01 - 8:02
    ทำไมล่ะครับ
  • 8:02 - 8:04
    "ก็เพราะคนขับรถคันข้างหน้าเนี่ยสิ"
  • 8:04 - 8:06
    "นี่ไม่ใช่คน นี่มันปีศาจ"
  • 8:06 - 8:07
    (เสียงหัวเราะ)
  • 8:07 - 8:10
    และปีศาจกำลังอยู่ที่นี่ มาทำลายชีวิตของคุณ
  • 8:11 - 8:12
    (เสียงหัวเราะ)
  • 8:12 - 8:14
    กระบวนการคิดเช่นนี้ครับ
  • 8:14 - 8:18
    เรียกว่า การมองให้เป็นเรื่องร้ายแรงไว้ก่อน
    เป็นช่วงที่เราจะมองสิ่งต่างๆให้แย่ที่สุด
  • 8:19 - 8:21
    และมันเป็นแนวคิดหลักๆที่ทำให้เรารู้ว่า
  • 8:21 - 8:23
    เกี่ยวข้องกับภาวะอารมณ์โกรธเรื้อรัง
  • 8:23 - 8:25
    แต่ก็ยังมีแนวคิดอื่นอีกที่เกี่ยวข้อง
  • 8:25 - 8:27
    การอ้างสาเหตุแห่งความโกรธแบบผิดๆ
  • 8:27 - 8:29
    คนที่กำลังโกรธนั้นมักจะไปโทษ
    สิ่งที่ไม่เกี่ยวกัน
  • 8:29 - 8:31
    ไม่ใช่แค่คนที่ไม่เกี่ยวเท่านั้น
  • 8:31 - 8:33
    ยังรวมถึงสิ่งของที่ขยับเองไม่ได้ด้วย
  • 8:33 - 8:35
    และถ้าคุณคิดว่านี่มันออกจะตลกเกินไป
  • 8:35 - 8:38
    ลองคิดถึงครั้งสุดท้ายที่คุณ
    ทำกุญแจรถหาย คุณพูดว่า
  • 8:38 - 8:40
    "กุญแจรถไปไหนเนี่ย"
  • 8:40 - 8:42
    คุณรู้นี่ว่ากุญแจรถมันวิ่งหายไปเองได้
  • 8:42 - 8:45
    (เสียงหัวเราะ)
  • 8:45 - 8:47
    พวกเขามักจะพูดอะไรแบบเหมารวม
    ใช้คำพูด เช่น "เป็นแบบนี้ตลอด"
  • 8:47 - 8:50
    "ไม่เคยเลย" "ทุกทีเลย"
    "ฉันเจออะไรแบบนี้ตลอด"
  • 8:50 - 8:52
    "ไม่เคยได้ดั่งใจเลย"
  • 8:52 - 8:54
    หรือ "ฉันเจอไฟแดงทุกแยกเลยวันนี้"
  • 8:55 - 8:58
    เรียกร้องต้องการ พวกเขาเอาความต้องการของ
    ตัวเป็นที่ตั้งมากกว่าคนอื่น
  • 8:58 - 9:00
    "ฉันไม่สนใจว่าทำไมคนนี้ถึงขับรถช้า"
  • 9:00 - 9:04
    "เขาต้องขับให้เร็วขึ้น ไม่ก็หลบไป
    ฉันจะไปสัมภาษณ์งาน"
  • 9:04 - 9:07
    และสุดท้าย
    โมโหและด่วนตัดสินตีตราไปเลย
  • 9:07 - 9:10
    พวกเขามักจะเรียกคนอื่นว่า
    พวกโง่ พวกงั่ง ปีศาจ
  • 9:10 - 9:13
    หรือคำอื่นอีกมาก
    ผมไม่ได้รับอนุญาตให้พูดคำพวกนี้
  • 9:13 - 9:14
    บน TED Talk
  • 9:14 - 9:15
    (เสียงหัวเราะ)
  • 9:16 - 9:17
    และเป็นเวลานานมาแล้ว
  • 9:17 - 9:21
    ที่นักจิตวิทยาได้พูดถึงกระบวนการคิด
    ที่บิดเบี้ยวเหล่านี้
  • 9:21 - 9:22
    หรือความเชื่อที่ไม่สมเหตุสมผล
  • 9:22 - 9:25
    ใช่ครับ บางครั้งพวกเขาไม่มีเหตุผลเลย
  • 9:25 - 9:27
    ส่วนใหญ่เวลาโกรธก็จะเป็นอย่างนั้น
  • 9:27 - 9:30
    แต่บางครั้ง ความคิดพวกนี้สมเหตุสมผลมากๆ
  • 9:31 - 9:32
    ยังมีความไม่ยุติธรรมอยู่บนโลกใบนี้
  • 9:32 - 9:34
    ยังมีคนเห็นแก่ตัว จิตใจโหดเหี้ยม
  • 9:34 - 9:38
    มันไม่ได้เป็นแค่เรื่องที่เข้าใจได้
    ที่จะรู้สึกโกรธเมื่อคุณถูกปฏิบัติอย่างแย่ๆ
  • 9:38 - 9:41
    คุณมีสิทธิ์ที่จะโกรธเมื่อถูกปฏิบัติแย่ๆ
  • 9:42 - 9:46
    ถ้าถามถึงสิ่งที่ผมอยากจะให้คุณจดจำ
    จากการที่ผมมาพูดในวันนี้
  • 9:46 - 9:50
    ผมอยากให้ความโกรธยังเป็นอารมณ์หนึ่ง
    ที่คงอยู่ในตัวคุณ
  • 9:50 - 9:54
    เพราะมันช่วยให้บรรพบุรษของคุณ
    ไม่ว่าจะเป็นมนุษย์หรือสัตว์
  • 9:54 - 9:56
    มีวิวัฒนาการและอยู่รอดมาได้
  • 9:57 - 10:00
    เหมือนกับความกลัว
    ที่คอยเตือนคุณเมื่อมีอันตราย
  • 10:00 - 10:02
    ความโกรธในตัวคุณ
    คอยเตือนคุณว่านี่ไม่ยุติธรรม
  • 10:02 - 10:05
    นี่เป็นวิธีหนึ่งที่สมองพยายามสื่อสารกับคุณ
  • 10:05 - 10:06
    ว่าคุณทนมามากเกินพอแล้ว
  • 10:07 - 10:10
    มันช่วยอะไรอีก ทำให้คุณรู้สึกมีพลัง
    เพื่อสู้กับอยุติธรรม
  • 10:10 - 10:14
    ลองคิดกันสักนิดนะครับ
    ครั้งสุดท้ายที่คุณรู้สึกโกรธ
  • 10:14 - 10:15
    อัตราการเต้นของหัวใจคุณเพิ่มขึ้น
  • 10:15 - 10:18
    คุณหายใจถี่ขึ้น เหงื่อคุณเริ่มออก
  • 10:18 - 10:20
    มันคือระบบประสาทซิมพาเทติกของคุณ
  • 10:20 - 10:23
    เป็นที่รู้จักกันว่าเป็นกลไกการตอบสนอง
    ที่จะสู้หรือจะหนีของคุณ
  • 10:23 - 10:27
    เข้ามาเสริมพลังให้คุณโต้ตอบกลับไป
  • 10:28 - 10:30
    และนี่คือสิ่งที่คุณพอจะสังเกตได้
  • 10:30 - 10:34
    ขณะเดียวกัน ระบบย่อยอาหารของคุณ
    ทำงานช้าลงเพื่อรักษาพลังงานของคุณไว้
  • 10:34 - 10:36
    นั่นเป็นเหตุผลว่าทำไมโกรธแล้วปากแห้ง
  • 10:36 - 10:40
    หลอดเลือดของคุณขยาย เพื่อส่งเลือด
    ไปเลี้ยงกล้ามเนื้อแขนขา
  • 10:40 - 10:42
    เพราะอย่างนั้นคุณเลยหน้าแดง
  • 10:42 - 10:45
    กลไกต่างๆของสรีระที่ซับซ้อนทั้งหมดนี้
  • 10:45 - 10:46
    ยังคงอยู่มาจนถึงปัจจุบัน
  • 10:46 - 10:49
    เพราะมันช่วยให้บรรพบุรุษของคุณ
  • 10:49 - 10:53
    จัดการกับความโหดร้ายและไม่ปราณีของธรรมชาติ
  • 10:53 - 10:56
    ปัญหาก็คือ สิ่งที่บรรพบุรุษของคุณเคยทำ
  • 10:56 - 10:58
    เพื่อจัดการความโกรธ
  • 10:58 - 10:59
    คือการใช้กำลังต่อสู้
  • 10:59 - 11:01
    ไม่ใช่สิ่งที่มีเหตุผลหรือเหมาะสมอีกต่อไป
  • 11:01 - 11:05
    คุณไม่สามารถ และไม่ควร
    ที่จะจับไม้ขึ้นมาฟาดในทุกๆครั้งที่คุณโมโห
  • 11:05 - 11:08
    (เสียงหัวเราะ)
  • 11:08 - 11:09
    แต่ยังมีเรื่องดีๆครับ
  • 11:09 - 11:11
    มีสิ่งที่คุณสามารถทำได้
  • 11:11 - 11:13
    ในขณะที่บรรพบุรุษของคุณที่ไม่ใช่มนุษย์
    ทำไม่ได้
  • 11:13 - 11:17
    ความสามารถนั้นก็คือ การรู้จักควบคุมอารมณ์
  • 11:17 - 11:19
    แม้ว่าใจคุณจะอยากเข้าไปบวกมาก
  • 11:19 - 11:22
    คุณยั้งใจตัวเองได้
    และคุณสามารถเปลี่ยนความโกรธนั้น
  • 11:22 - 11:24
    ให้เป็นสิ่งที่สร้างสรรค์ได้
  • 11:24 - 11:26
    บ่อยครั้งเมื่อเราพูดถึงความโกรธ
  • 11:26 - 11:29
    เราคุยกันว่าจะเอาความโกรธออกไปยังไง
  • 11:29 - 11:31
    เราบอกคนอื่นให้ใจเย็นๆ สบายๆ
  • 11:31 - 11:33
    แม้แต่บอกให้พวกเขาปล่อยและลืมมันไป
  • 11:33 - 11:38
    เพราะเรามองว่าความโกรธมันแย่
    เป็นเรื่องผิดที่รู้สึกโกรธแบบนั้น
  • 11:39 - 11:42
    แต่ผมชอบที่จะคิดว่าความโกรธนี้
    เป็นแรงผลักดัน
  • 11:42 - 11:45
    เหมือนกับที่ความกระหาย
    ผลักดันให้คุณไปหาน้ำมาดื่ม
  • 11:45 - 11:48
    เหมือนกับที่ความหิว
    ผลักดันให้คุณไปหาอะไรมาทาน
  • 11:48 - 11:51
    ความโกรธสามารถผลักดันคุณ
    ให้ตอบโต้กับความไม่ยุติธรรมได้
  • 11:52 - 11:56
    เพราะเราไม่ต้องคิดมาก
    ไม่ต้องหาเหตุผลว่าทำไมถึงควรโกรธ
  • 11:56 - 11:58
    เมื่อเราย้อนกลับไปมองในภายหลัง
  • 11:58 - 12:02
    ครับ บางอย่างอาจจะไร้สาระ
    ไม่เห็นว่าควรจะต้องมาโกรธเลย
  • 12:02 - 12:05
    แต่การเหยียดเชื้อชาติ เหยียดเพศ
    การข่มขู่รังแก การทำลายสิ่งแวดล้อม
  • 12:05 - 12:07
    สิ่งเหล่านี้เกิดขึ้นจริง ร้ายแรงจริง
  • 12:07 - 12:10
    และทางเดียวที่จะแก้ไขสิ่งเหล่านี้
    คือรู้สึกโกรธกับเรื่องพวกนี้
  • 12:11 - 12:14
    แล้วเปลี่ยนความโกรธให้เป็นพลังที่จะสู้กลับ
  • 12:14 - 12:18
    คุณไม่จำเป็นต้องสู้ด้วยความก้าวร้าว
    การประกาศเป็นศัตรู หรือใช้ความรุนแรง
  • 12:18 - 12:21
    มีหนทางอีกมากมาย
    ที่คุณจะแสดงความไม่พอใจของตัวเองได้
  • 12:21 - 12:24
    คุณสามารถออกไปประท้วง
    คุณอาจจะเขียนข้อความบอกเล่าผ่านสื่อ
  • 12:24 - 12:27
    คุณสามารถบริจาคเงิน
    หรือไปลงแรงอาสาในเรื่องนั้นๆ
  • 12:27 - 12:30
    คุณสามารถบอกเล่าผ่านศิลปะ
    หรือเขียนวรรณกรรม
  • 12:30 - 12:32
    คุณสามารถแต่งกลอนหรือเพลงได้
  • 12:32 - 12:34
    คุณสามารถสร้างชุมชนที่เอาใจใส่คนรอบข้างได้
  • 12:34 - 12:36
    และอย่ายอมให้ความป่าเถื่อนเกิดขึ้นในสังคม
  • 12:37 - 12:40
    จากนี้ไป เมื่อคุณรู้สึกว่าตัวเองกำลังโกรธ
  • 12:40 - 12:42
    แทนที่จะพยายามกดทับมันไว้
  • 12:42 - 12:45
    ผมหวังว่าคุณจะฟังในสิ่งที่ความโกรธกำลังบอก
  • 12:45 - 12:48
    และผมหวังว่าคุณจะเปลี่ยนความโกรธนั้น
    ให้เป็นพลังงานบวกและสร้างสรรค์
  • 12:49 - 12:50
    ขอบคุณครับ
  • 12:50 - 12:53
    (เสียงปรบมือ)
Title:
ทำไมคนเราถึงโมโห ความโกรธเป็นสิ่งที่ดีต่อตัวเรา
Speaker:
ไรอัน มาร์ติน
Description:

ไรอัน มาร์ติน เป็นนักวิจัยด้านความโกรธ ได้เล่าถึงสิ่งที่เขาได้ศึกษามาว่าอะไรที่มักจะทำให้คนเราโมโห อธิบายกระบวนการทางความคิดที่เกิดขึ้นเบื้องหลังอารมณ์โทสะเหล่านั้น และยังบอกด้วยว่าความโกรธมีประโยชน์กับเรามากกว่าที่เราเคยเข้าใจมาอย่างไร
เขากล่าวในตอนหนึ่งว่า "ความโกรธอยู่ในตัวคุณ... ก็เพราะมันช่วยให้บรรพบุรุษของคุณไม่ว่าจะเป็นคนหรือสัตว์ มีวิวัฒนาการและอยู่รอดมาได้"
"ความโกรธเป็นพลังและให้ประโยชน์แก่ชีวิตของคุณมากมาย"

more » « less
Video Language:
English
Team:
closed TED
Project:
TEDTalks
Duration:
13:06
Unnawut Leepaisalsuwanna approved Thai subtitles for Why we get mad -- and why it's healthy
Unnawut Leepaisalsuwanna edited Thai subtitles for Why we get mad -- and why it's healthy
Prat Saengchan accepted Thai subtitles for Why we get mad -- and why it's healthy
Wanwimon Nakwanich edited Thai subtitles for Why we get mad -- and why it's healthy
Wanwimon Nakwanich edited Thai subtitles for Why we get mad -- and why it's healthy
Wanwimon Nakwanich edited Thai subtitles for Why we get mad -- and why it's healthy

Thai subtitles

Revisions