Return to Video

POLITICAL THEORY - Marx

  • 0:08 - 0:10
    คนส่วนใหญ่เห็นด้วยว่าเราต้องปรับปรุง
  • 0:10 - 0:12
    ระบบเศรษฐกิจของเราในทางใดทางหนึ่ง
  • 0:12 - 0:16
    แต่ในเวลาเดียวกันเรามักไม่ยอมรับความคิดของมาร์กซ์
  • 0:16 - 0:19
    ซึ่งเป็นผู้วิจารณ์ระบบทุนนิยมที่ร้อนแรงที่สุด
  • 0:19 - 0:21
    ซึ่งไม่ใช่เรื่องแปลก
  • 0:21 - 0:24
    เพราะความคิดเขาถูกนำไปออกแบบระบบเศรษฐกิจ
  • 0:24 - 0:27
    ที่เสียหายร้ายแรงที่สุดระบบหนึ่ง
  • 0:27 - 0:28
    ที่มาพร้อมกับจอมเผด็จการบ้าอำนาจ
  • 0:28 - 0:31
    แต่กระนั้นเราก็ไม่ควรรีบปฏิเสธมาร์กซ์
  • 0:31 - 0:33
    เราควรมองเขาเป็นเหมือนไกด์
  • 0:33 - 0:35
    ที่วินิจฉัยโรคที่เกิดจากทุนนิยม
  • 0:35 - 0:39
    ซึ่งจะพาเราไปสู่อนาคตที่ดีกว่า
  • 0:39 - 0:41
    ทุนนิยมจะต้องถูกปรับปรุง
  • 0:41 - 0:45
    และการวิเคราะห์ของมาร์กซจะเป็นส่วนหนึ่งของคำตอบ
  • 0:45 - 0:50
    มาร์กซเกิดปี 1818 ที่เมืองเทรียร์ในเยอรมัน
  • 0:50 - 0:53
    ไม่นานเขาก็ไปร่วมกับกลุ่มคอมมิวนิสต์
  • 0:53 - 0:54
    ซึ่งในเวลานั้นเป็นปัญญาชนกลุ่มเล็ก ๆ
  • 0:54 - 0:56
    ที่พยายามล้มล้างระบบชนชั้นในสังคม
  • 0:56 - 0:58
    และขจัดกรรมสิทธิ์ในทรัพย์สินส่วนบุคคล
  • 0:58 - 1:00
    เขาทำงานเป็นนักหนังสือพิมพ์
  • 1:00 - 1:02
    และสุดท้ายต้องหนีออกจากเยอรมัน
  • 1:02 - 1:04
    ไปตั้งหลักในลอนดอน
  • 1:04 - 1:06
    มาร์กซเขียนหนังสือและบทความมากมาย
  • 1:06 - 1:08
    บางชิ้นเขียนร่วมกับเพื่อเขา เฟรดริก เองเกลส์
  • 1:08 - 1:10
    งานเขียนส่วนใหญ่เกี่ยวกับทุนนิยม
  • 1:10 - 1:13
    ระบบเศรษฐกิจที่สำคัญในโลกตะวันตก
  • 1:13 - 1:17
    ในช่วงนั้นทุนนิยมเพิ่งเกิด และมาร์กซ์เป็นผู้ที่วิจารณ์มัน
  • 1:17 - 1:20
    อย่างถึงแก่นและเปี่ยมด้วยปัญญา
  • 1:20 - 1:23
    ต่อไปนี้คือปัญหาของทุนนิยมที่เขามองเห็น
  • 1:23 - 1:25
    งานในโลกสมัยใหม่ทำให้คนแปลกแยก
  • 1:25 - 1:27
    มาร์กซให้ความเข้าใจที่ยิ่งใหญ่ต่อเราประการหนึ่ง
  • 1:27 - 1:30
    คือ งานเป็นที่มาของความสุขที่ยิ่งใหญ่ที่สุดประการหนึ่งของมนุษย์
  • 1:30 - 1:33
    แต่การจะทำให้งานตอบสนองตัวเราได้นั้น
  • 1:33 - 1:38
    เราจะต้อง "เห็นตัวเอง" ในวัตถุที่เราสร้างขึ้น
  • 1:38 - 1:40
    ลองคิดถึงคนที่ทำเก้าอี้ตัวนี้ขึ้นมา
  • 1:40 - 1:43
    มันดูแข็งแรง จริงใจ สง่างาม
  • 1:43 - 1:49
    นี่เป็นตัวอย่างที่แสดงให้เห็นว่า การใช้แรงงานให้โอกาสที่เราจะเอาสิ่งที่ดีในตัวเรา
  • 1:49 - 1:52
    แสดงออกไปข้างนอก แต่งานแบบนี้ก็หาได้ยากในโลกสมัยใหม่
  • 1:53 - 1:57
    ปัญหาคือโลกสมัยใหม่งานถูกซอยตามความสามารถเฉพาะ
  • 1:57 - 2:00
    งานเฉพาะด้านทำให้ระบบเศรษฐกิจมีประสิทธิภาพ
  • 2:00 - 2:07
    แต่ก็ทำให้ยากที่คนจะรู้สึกว่าตัวเองได้ผลิตอะไรจริง ๆ ที่จะตอบสนอง
  • 2:07 - 2:09
    ความต้องการของมวลมนุษยชาติ
  • 2:09 - 2:13
    มาร์กซเห็นว่างานสมัยใหม่นำไปสู่ "ความแปลกแยก"
  • 2:13 - 2:15
    "ความแปลกแยก" หรือ Entframdung
  • 2:15 - 2:18
    หรือพูดอีกอย่างว่าคือ การหลุดแยกออกจากกันระหว่าง
  • 2:18 - 2:21
    สิ่งที่เราทำทั้งวัน กับ คนที่เราคิดว่าตัวเราเป็นจริง ๆ
  • 2:21 - 2:25
    และสามารถทำประโยชน์สมกับการมีอยู่ของเรา
  • 2:25 - 2:28
    2 งานสมัยใหม่ไม่มีความมั่นคง
  • 2:28 - 2:31
    ทุนนิยมทำให้มนุษย์เป็นสิ่งที่ปัดทิ้งได้
  • 2:31 - 2:35
    แค่ปัจจัยหนึ่งในพลังการผลิตที่เราเขี่ยทิ้งได้
  • 2:35 - 2:39
    ทันทีที่ต้นทุนสูงขึ้น และเราหาเครื่องจักรมาแทนได้
  • 2:39 - 2:42
    แต่กระนั้น ดังที่มาร์กซ์ก็รู้ดี ว่าเราละวางไม่ได้
  • 2:42 - 2:48
    เรากลัวที่จะถูกทิ้ง
  • 2:48 - 2:50
    คอมมิวนิสม์ไม่ใช่แค่ทฤษฎีทางเศรษฐศาสตร์
  • 2:50 - 2:56
    ถ้าจะเข้าใจในแง่อารมณ์ มันก็คือการโหยหาการมีที่ยืนในโลก
  • 2:56 - 2:58
    ที่เราจะไม่ถูกขจัดออกไป
  • 2:58 - 3:02
    3 คนงานได้ค่าแรงถูก นายทุนร่ำรวย
  • 3:02 - 3:06
    นี่คือสิ่งที่มาร์กซรังเกียจที่สุดในระบบทุนนิยม
  • 3:06 - 3:10
    กล่าวอย่างเจาะจง เขาเชื่อว่าทุนนิยมจงใจกดค่าแรงให้ต่ำที่สุด
  • 3:10 - 3:14
    เพื่อจะช้อนเอาส่วนต่างมาเป็นกำไรให้มากที่สุด
  • 3:14 - 3:19
    เขาเรียกมันว่า การสั่งสมทุนรูปแบบเก่าเถื่อน หรือ (ภาษาเยอรมัน)
  • 3:19 - 3:25
    ในขณะที่นายทุนมองว่ากำไรคือรางวัลจากการรู้จักใช้เทคโนโลยี
  • 3:25 - 3:27
    แต่มาร์กซรังเกียจกำไร
  • 3:27 - 3:28
    เขามองว่ามันคือการขโมย
  • 3:28 - 3:32
    และสิ่งที่ถูกขโมยคือความสามารถและน้ำพักน้ำแรงของคนงานของเราเอง
  • 3:32 - 3:38
    ไม่ว่าใครจะพูดอย่างไร สำหรับมาร์กซ พูดอย่างหยาบ
  • 3:38 - 3:39
    ทุนนิยมก็คือการจ่ายค่าแรงในคนงานในราคาหนึ่ง
  • 3:39 - 3:43
    เป็นค่าแรงสำหรับผลิตของที่ขายได้ในอีกราคาหนึ่ง
  • 3:43 - 3:47
    กำไรก็คือคำสวยหรูที่ใช้เรียกการขูดรีด
  • 3:47 - 3:50
    4 ทุนนิยมเป็นระบบที่ไม่มั่นคง
  • 3:50 - 3:55
    มาร์กซเสนอว่าทุนนิยมมีลักษณะสำคัญคือประกอบไปด้วยวิกฤตเป็นชุด
  • 3:55 - 4:00
    วิกฤตเศรษฐกิจทุกครั้งจะถูกนายทุนพูดเหมือนเป็นสิ่งหายาก
  • 4:00 - 4:01
    และเป็นวิกฤตครั้งสุดท้าย
  • 4:01 - 4:04
    แต่สำหรับมาร์กซ วิกฤตการณ์ทางเศรษฐกิจเป็นส่วนหนึ่งของทุนนิยม
  • 4:04 - 4:07
    และมีสาเหตุมาจากบางสิ่่งที่แปลกมาก
  • 4:07 - 4:11
    ซึ่งคือ มาจากความสามารถที่เราจะผลิตได้มาก
  • 4:11 - 4:13
    เกินกว่าที่เราจะบริโภคได้ทัน
  • 4:13 - 4:20
    วิกฤตของทุนนิยมเป็นวิกฤตของความเหลือเฟือ ไม่ใช่วิกฤตของความขาดแคลน
  • 4:20 - 4:24
    โรงงานและระบบของเรามีประสิทธิภาพเสียจน
  • 4:24 - 4:26
    เราผลิตรถพอให้ทุกคนในโลกมีใช้ได้
  • 4:26 - 4:29
    มีบ้าน มีโรงเรียน และโรงพยาบาลที่ดี ให้บริการ
  • 4:29 - 4:33
    นี่แหละที่ทำให้มาร์กซ์โกรธ แต่ก็ทำให้เขามีความหวังด้วย
  • 4:33 - 4:36
    เราแค่ไม่กี่คนที่จำเป็นต้องทำงาน
  • 4:36 - 4:38
    เพราะระบบการผลิตสมัยใหม่ผลิตได้มาก
  • 4:38 - 4:42
    แต่แทนที่จะมองการไม่ต้องทำงานว่าเป็นเสรีภาพ
  • 4:42 - 4:45
    เรากลับบ่นเหมือนเป็นพวกโรคจิตชอบถูกทำร้าย
  • 4:45 - 4:48
    ด้วยการเรียกมันว่า "การว่างงาน"
  • 4:48 - 4:50
    เราควรเรียกมันว่า "เสรีภาพ"
  • 4:50 - 4:55
    การมีคนว่างงานจำนวนมากมาจากเหตุผลที่ดี๊ดี
  • 4:55 - 4:57
    ก็คือเพราะเราผลิตเก่งมาก
  • 4:57 - 4:59
    เราจึงไม่ต้องทำงานหน้าดำคร่ำเครียด
  • 4:59 - 5:05
    และในกรณีนี้เราควรทำเวลาว่างให้บันเทิงและเปี่ยมสุข
  • 5:05 - 5:10
    ด้วยการกระจายความมั่งคั่งจากบริษัทที่รวยเฟร่อซะใหม่่
  • 5:10 - 5:15
    นี่เป็นความฝันที่สวยงามเท่ากับสวรรค์ของพระเยซู
  • 5:15 - 5:18
    แต่เป็นจริงได้มากกว่าเยอะ
  • 5:18 - 5:21
    5 ทุนนิยมไม่ดีกับนายทุนเองด้วย
  • 5:21 - 5:24
    มาร์กซไม่ได้มองระบบทุนนิยมว่าชั่วช้า
  • 5:24 - 5:28
    เช่น เขาตระหนักว่าความเศร้าที่อยู่เบื้องหลังชีวิตแต่งงาน
  • 5:28 - 5:29
    ของชนชั้นกลาง
  • 5:29 - 5:33
    มาร์กซมองว่าการแต่งงานเป็นแค่ภาคขยายของธุรกิจ
  • 5:33 - 5:36
    และครอบครัวชนชั้นกลางเต็มไปด้วยความตึงเครียด
  • 5:36 - 5:37
    การเก็บกด
  • 5:37 - 5:39
    ความไม่พอใจที่จะต้องอยู่ด้วยกัน
  • 5:39 - 5:40
    ไม่ใช่เพื่อความรัก
  • 5:40 - 5:42
    แต่เพื่อเหตุผลทางการเงิน
  • 5:42 - 5:46
    มาร์กซเชื่อว่าทุนนิยมบังคับให้ทุกคนให้ความสำคัญกับผลประโยชน์
  • 5:46 - 5:47
    จนเป็นหัวใจของชีวิต
  • 5:47 - 5:50
    จนไม่รู้จักความสัมพันธ์ที่ลึกซึ้ง ซื่อสัตย์
  • 5:50 - 5:53
    เขาเรียกแนวโน้มของภาวะทางจิตนี้ว่า
  • 5:53 - 5:56
    ความลุ่มหลงในสินค้า (commodity fetishism)
  • 5:56 - 5:59
    เพราะมันทำให้เราให้ค่ากับสิ่งที่ไม่ได้มีค่าจริง ๆ
  • 5:59 - 6:02
    เขาอยากให้เราทุกคนเป็นอิสระจากข้อจำกัดเรื่อเงิน
  • 6:02 - 6:07
    เพื่อที่เราจะได้เลือกอย่างมีเหตุผลในความสัมพันธ์
  • 6:07 - 6:10
    เฟมินิสต์ในศตวรรษที่ 20
  • 6:10 - 6:13
    ตอบปัญหาการกดขี่ทางเพศด้วยการเรียกร้อง
  • 6:13 - 6:15
    ให้ผู้หญิงออกไปทำงานได้
  • 6:15 - 6:17
    แต่ข้อเรียกร้องของมาร์กซเก๋ไก๋ซับซ้อนกว่านั้น
  • 6:17 - 6:21
    เขาว่า ข้อเรียกร้องของเฟมินิสต์แค่สืบทอดการเป็นทาสของมนุษย์
  • 6:21 - 6:24
    ประเด็นไมใช่ให้ผู้หญิงไปทนทุกข์แบบเดียวกับผู้ชาย
  • 6:24 - 6:28
    แต่ทั้งหญิงและชายควรมีทางเลือกที่จะมีความสุขในยามว่าง
  • 6:28 - 6:29
    ที่เป็นทางเลือกถาวรตลอดกาล
  • 6:29 - 6:32
    ทำไมเราไม่มองแบบที่มาร์กซมอง
  • 6:32 - 6:36
    แง่มุมสำคัญในงานมาร์กซก็คือว่าระบบทุนนิยมมีวิธีที่จะ
  • 6:36 - 6:43
    แต้มสีสันผิดเพี้ยนให้วิธีคิดในการมองโลกของเรา
  • 6:43 - 6:46
    ระบบเศรษฐกิจสร้างสิ่งที่มาร์กซเรียกว่า "อุดมการณ์"
  • 6:46 - 6:51
    สังคมทุนนิยมคือสังคมที่คนทั้งหลาย ไม่ว่ารวยหรือจน
  • 6:51 - 6:53
    เชื่อในสิ่งที่เป็นแค่การตัดสินเชิงคุณค่า
  • 6:53 - 6:55
    ที่มีความสัมพันธ์ย้อนกลับไปหาระบบเศรษฐกิจ
  • 6:55 - 6:58
    เช่น คนไม่ทำงานเป็นคนไร้ค่า
  • 6:58 - 7:01
    การมีเวลาว่างเกิน 2-3 สัปดาห์ต่อปีเป็นบาป
  • 7:01 - 7:03
    การมีข้าวของในครอบครองมากแปลว่ามีความสุขมาก
  • 7:03 - 7:07
    ของมีค่าจะขายได้่
  • 7:07 - 7:07
    กล่าวโดยย่อ
  • 7:07 - 7:10
    ความชั่วร้ายที่สุดของทุนนิยม
  • 7:10 - 7:12
    ไม่ใช่ว่ามีคนชั่วอยู่ในระดับสูงสุดของสังคม
  • 7:12 - 7:14
    ข้อนั้นมีในทุก ๆ ระบบสังคมที่มีลำดับชั้น
  • 7:14 - 7:17
    แต่ความชั่วอยู่ที่ทุนนิยมสอนให้เรา
  • 7:17 - 7:20
    วิตกกังวล ชอบแข่งขัน เชื่อฟัง และเฉื่อยชาทางการเมือง
  • 7:20 - 7:24
    มาร์กซไม่ได้แค่บอกว่าทุนนิยมผิดพลาดอย่างไร
  • 7:24 - 7:29
    เขาบอกด้วยว่าสังคมในอุดมคติควรเป็นอย่างไร
  • 7:29 - 7:32
    ในหนังสือ "คำประกาศพรรคคอมมิวนิสต์" เขาพูดถึงโลก
  • 7:32 - 7:35
    ที่ไม่มีทรัพย์สินส่วนตัว ไม่มีการสืบทอดความมั่งคั่งสู่ลูกหลาน
  • 7:35 - 7:37
    ผ่านการมีการเก็บภาษีรายได้ในอัตราก้าวหน้ามาก ๆ
  • 7:37 - 7:39
    การควบคุมธนาคาร
  • 7:39 - 7:42
    ธุรกิจเกี่ยวกับการสื่อสารและการขนส่ง
  • 7:42 - 7:43
    การศึกษาฟรี
  • 7:43 - 7:48
    มาร์กซ์ยังหวังว่าระบบใหม่จะช่วยให้คนพัฒนาศักยภาพตัวเอง
  • 7:48 - 7:48
    ได้ในหลายด้าน
  • 7:48 - 7:53
    ในสังคมคอมมิวนิสต์ ผมอาจจะทำงานหนึ่งในวันนี้
  • 7:53 - 7:54
    และอีกงานหนึ่งในวันหน้า
  • 7:54 - 7:55
    ล่าสัตว์ตอนเช้า
  • 7:55 - 7:56
    ตกปลาตอนบ่าย
  • 7:56 - 7:58
    เลี้ยงวัวควายตอนเย็น
  • 7:58 - 7:59
    จับกลุ่มวิจารณ์การเมืองตอนหลังกินอาหารค่ำ
  • 7:59 - 8:00
    เหมือนกับว่าผมเป็นคนมีความคิด โดยไม่ต้องเป็นอย่างใดอย่างหนึ่ง
  • 8:00 - 8:04
    ไม่ว่าจะเป็น นายพราน ชาวประมง คนเลี้ยงวัว หรือนักวิจารณ์
  • 8:04 - 8:07
    หลังย้ายไปอยู่ลอนดอน
  • 8:07 - 8:10
    มาร์กซได้รับการสนับสนุนจากเพื่อนและคู่หูทางวิชาการ
  • 8:10 - 8:11
    ฟรีดริช เองเกลส์
  • 8:11 - 8:14
    ชายร่ำรวยที่พ่อเป็นเจ้าของโรงงานทอผ้าในแมนเชสเตอร์
  • 8:14 - 8:18
    เองเกลส์จ่ายหนี้ให้มาร์กซ และจัดการให้ผลงานของมาร์กซได้รับการตีพิมพ์
  • 8:18 - 8:21
    เท่ากับว่านายทุนจ่ายตังค์ให้คอมมิวนิสต์
  • 8:21 - 8:23
    ชายสองคนถึงกับแต่งกวีให้กัน
  • 8:23 - 8:27
    ตอนมาร์กซมีชีวิตอยู่เขาไม่ได้มีชื่อเสียงหรือได้รับการยอมรับ
  • 8:27 - 8:28
    ในฐานะนักวิชาการ
  • 8:28 - 8:31
    คนฉลาดน่านับถือในยุคนั้นคงจะหัวเราะ
  • 8:31 - 8:33
    ถ้าเราไปบอกเขาว่าความคิดมาร์กซ
  • 8:33 - 8:34
    จะเปลี่ยนโลก
  • 8:34 - 8:36
    แต่แล้วอีกไม่กี่ทศวรรษต่อมาความคิดเขา
  • 8:36 - 8:37
    ก็เปลี่ยนโลกจริง ๆ
  • 8:37 - 8:39
    ความคิดมาร์กซเป็นกุญแจสำคัญ
  • 8:39 - 8:41
    ในการเคลื่อนไหวทางอุดมการณ์ของศตวรรษที่ 20
  • 8:41 - 8:46
    แต่มาร์กซก็เหมือนหมอเก่ง ๆ ในยุคที่การแพทย์ยังเพิ่่งเริ่ม
  • 8:46 - 8:47
    เขารู้ว่ามีโรค
  • 8:47 - 8:49
    แต่ไม่รู้วิธีรักษา
  • 8:49 - 8:51
    ณ จุดนี้ของประวัติศาสตร์
  • 8:51 - 8:53
    เราทุกคนควรเป็นมาร์กซิสต์
  • 8:53 - 8:54
    ในแง่ที่เราน่าจะเห็นด้วย
  • 8:54 - 8:56
    ว่าทุนนิยมมีปัญหา
  • 8:56 - 9:00
    แต่เราต้องไปหาทางรักษาที่ได้ผลเอาเอง
  • 9:00 - 9:02
    ดังที่มาร์กซเองพูดไว้
  • 9:02 - 9:03
    และเราเห็นด้วยหมดใจว่า
  • 9:03 - 9:05
    นักปรัชญาจนถึงบัดนี้
  • 9:05 - 9:06
    ได้แต่ตีความโลก
  • 9:06 - 9:09
    แต่ประเด็นก็คือ
  • 9:09 - 9:13
    เราต้องเปลี่ยนแปลงมัน
Title:
POLITICAL THEORY - Marx
Description:

more » « less
Video Language:
English
Duration:
09:28
nousernameleft edited Thai subtitles for POLITICAL THEORY - Marx
Chantanee Charoensri edited Thai subtitles for POLITICAL THEORY - Marx
Chantanee Charoensri edited Thai subtitles for POLITICAL THEORY - Marx

Thai subtitles

Revisions