การผุดขึ้นมาของประชานิยมสมัยใหม่ - ทาคิส เอส แพปปาส
-
0:07 - 0:11ในช่วงกลางทศวรรษ 1970
หลังจากหลายทศวรรษแห่งความวุ่นวายทางการเมือง -
0:11 - 0:15ในที่สุด ประเทศกรีซก็ดูเหมือนจะอยู่
บนเส้นทางสู่ความมั่นคง -
0:15 - 0:17ด้วยการประกาศใช้รัฐธรรมนูญฉบับใหม่
-
0:17 - 0:21และการเจรจาเพื่อเข้าสู่สถาบันยุโรป
-
0:21 - 0:24นักวิเคราะห์หลายคนคาดการณ์ว่าการเมืองกรีก
-
0:24 - 0:27จะเป็นไปตามรูปแบบของภาพรวมของโลกตะวันตก
-
0:27 - 0:32แต่ต่อมา ในปี 1981 พรรคการเมือง
ที่ชื่อว่า พา-สอก (PASOK) ก็ขึ้นมามีอำนาจ -
0:32 - 0:38แอนเดรียส พาแปนโดรโอ ผู้นำเจ้าเสน่ห์
ไม่เห็นด้วยกับรัฐธรรมนูญฉบับใหม่ -
0:38 - 0:42และกล่าวหาผู้ที่มีอำนาจอยู่
ว่าเป็น "พวกทรยศต่อชาติ" -
0:42 - 0:47ต่อต้านที่จะให้กรีซเป็นสมาชิกนาโต (NATO)
และสมาชิกประชาคมเศรษฐกิจยุโรป -
0:47 - 0:51พาแปนโดรโอ สัญญาว่าจะปกครอง
เพื่อความเป็นอยู่ที่ดีขึ้นของ "สามัญชน" -
0:51 - 0:53เหนือสิ่งอื่นใด
-
0:53 - 0:59เขาเคยประกาศว่า “ไม่มีสถาบัน
มีแต่ประชาชนเท่านั้นที่ดำรงอยู่” -
0:59 - 1:02การขึ้นสู่อำนาจของพาแปนโดรโอ
ไม่ใช่เรื่องราวที่แปลกใหม่ -
1:02 - 1:05ในหลายประเทศทั่วโลกที่เป็นประชาธิปไตย
-
1:05 - 1:08ผู้นำที่มีเสน่ห์ ใส่ร้ายคู่แข่งทางการเมือง
-
1:08 - 1:13ดูหมิ่นสถาบัน
และอ้างสิทธิ์ในการปกป้องประชาชน -
1:13 - 1:17นักวิจารณ์บางคนระบุว่า
แนวทางนี้เป็นเหมือนเผด็จการ หรือฟาสซิสต์ -
1:17 - 1:20และหลายคนก็ให้เหตุผลว่า
ผู้นำเหล่านี้กำลังเล่นกับอารมณ์ -
1:20 - 1:23เพื่อบงการและหลอกลวงผู้มีสิทธิเลือกตั้ง
-
1:23 - 1:28แต่ไม่ว่าการเมืองแบบนี้จะมีจริยธรรมหรือไม่
มันก็เป็นประชาธิปไตยอย่างแน่นอน -
1:28 - 1:32และมันก็มีชื่อว่า ประชานิยม
-
1:32 - 1:35คำว่า ประชานิยม มีมาโดยตลอด
ตั้งแต่สมัยกรุงโรมในอดีต -
1:35 - 1:40และมีรากฐานมาจากคำภาษาละติน "Populus"
ซึ่งหมายถึง "ประชาชน" -
1:40 - 1:45แต่ตั้งแต่นั้นมา ก็มีการใช้ประชานิยม
เพื่ออธิบายการเคลื่อนไหวทางการเมืองมากมาย -
1:45 - 1:49ซึ่งบ่อยครั้งก็มีเป้าหมายที่ขัดความรู้สึก
และบางครั้งก็ขวางโลก -
1:49 - 1:53ขบวนการประชานิยมมักต่อต้านสถาบันกษัตริย์
การผูกขาดทางการค้า -
1:53 - 1:56และสถาบันที่มีอำนาจอีกมากมาย
-
1:56 - 2:00เป็นไปไม่ได้เลยที่จะกล่าวถึง
ประวัติศาสตร์ทั้งหมดของคำนี้ ในตอนนี้ -
2:00 - 2:04แต่เราจะมุ่งเน้นไปที่ประชานิยมประเภทหนึ่ง
-
2:04 - 2:06ประเภทที่ใช้อธิบายถึง
การบริหารงานของ พาแปนโดรโอ -
2:06 - 2:12และรัฐบาลอื่น ๆ อีกมากมาย
ในช่วง 70 ปีที่ผ่านมา : ประชานิยมสมัยใหม่ -
2:12 - 2:17แต่เพื่อทำความเข้าใจว่านักทฤษฎีทางการเมือง
จำกัดความปรากฏการณ์นี้อย่างไร -
2:17 - 2:21เราต้องสำรวจก่อนว่า มันตอบโต้อยู่กับอะไร
-
2:21 - 2:22หลังจากสงครามโลกครั้งที่ 2
-
2:22 - 2:27หลายประเทศต้องการที่จะถอยห่าง
ออกจากอุดมการณ์เผด็จการ -
2:27 - 2:29พวกเขาแสวงหาระบบการเมืองใหม่
-
2:29 - 2:32ที่ให้ความสำคัญกับ
สิทธิส่วนบุคคลและสิทธิทางสังคม -
2:32 - 2:36มุ่งเป้าไปที่ฉันทามติทางการเมือง
และเคารพหลักนิติธรรม -
2:36 - 2:41เป็นผลให้ชาติตะวันตกส่วนใหญ่
นำรูปแบบการปกครองที่มีอยู่นานแล้วนี้ มาใช้ -
2:41 - 2:43เรียกว่า เสรีประชาธิปไตย
-
2:43 - 2:47ในบริบทนี้ "เสรีนิยม"
ไม่ได้หมายถึงพรรคการเมืองใด ๆ -
2:47 - 2:51แต่เป็นประชาธิปไตยประเภทหนึ่ง
ที่มีส่วนประกอบสำคัญ 3 ประการ -
2:51 - 2:55ประการแรก
ระบอบเสรีประชาธิปไตยยอมรับว่า -
2:55 - 2:59สังคมนั้นเต็มไปด้วยความแตกแยก
ที่ก่อให้เกิดความขัดแย้ง -
2:59 - 3:02ประการที่สอง
มันต้องการให้หลายฝักฝ่ายในสังคม -
3:02 - 3:06แสวงหาพื้นที่ร่วมกันในความแบ่งแยกเหล่านั้น
-
3:06 - 3:09สุดท้าย
เสรีประชาธิปไตยอาศัยหลักนิติธรรม -
3:09 - 3:12และการคุ้มครองสิทธิของชนกลุ่มน้อย
-
3:12 - 3:15ตามที่ระบุไว้ในรัฐธรรมนูญ
และในกฎเกณฑ์ทางกฎหมาย -
3:15 - 3:18พอนำมารวมกัน
อุดมคติเหล่านี้เสนอ -
3:18 - 3:22ว่าการเปิดใจและสถาบันต่าง ๆ
ที่ปกป้องเราจากการถือทิฐิ -
3:22 - 3:27คือรากฐานของสังคมประชาธิปไตย
ที่ใช้งานได้จริงและมีความหลากหลาย -
3:27 - 3:31ระบอบเสรีประชาธิปไตย ช่วยสร้าง
ความมั่นคงให้กับประเทศต่าง ๆ ที่นำมันมาใช้ -
3:31 - 3:35แต่เช่นเดียวกับระบบการปกครองใด ๆ
มันไม่ได้แก้ปัญหาทุกอย่าง -
3:35 - 3:39ท่ามกลางประเด็นอื่น ๆ ก็คือ
ช่องว่างความมั่งคั่งที่เพิ่มขึ้นเรื่อย ๆ -
3:39 - 3:41อันนำไปสู่ชุมชนต่าง ๆ
ที่ไม่ได้รับการเหลียวแล -
3:41 - 3:46ให้ไม่ไว้ใจทั้งเพื่อนบ้านที่ร่ำรวย
และผู้นำทางการเมืองของพวกเขา -
3:46 - 3:51ในบางกรณี การทุจริตทางการเมือง
ยิ่งทำให้ความไว้วางใจของประชาชนเสียหาย -
3:51 - 3:55ความสงสัยและความขุ่นเคือง
ที่เพิ่มมากขึ้นรอบตัวนักการเมืองเหล่านี้ -
3:55 - 3:58ทำให้ประชาชนมองหาผู้นำแบบใหม่
-
3:58 - 4:00ผู้ที่จะท้าทายสถาบันที่มีอยู่เดิม
-
4:00 - 4:03และให้ความสำคัญ
กับความต้องการของประชาชนเป็นอันดับแรก -
4:03 - 4:07ในหลาย ๆ ด้าน ปฏิกิริยานี้ได้เน้นย้ำ
ถึงประชาธิปไตยในเชิงปฏิบัติ: -
4:07 - 4:12หากประชากรส่วนใหญ่รู้สึกว่า
ความสนใจของพวกเขาไม่ได้ถูกนำเสนอ -
4:12 - 4:17พวกเขาก็สามารถเลือกผู้นำที่จะเข้ามาเปลี่ยนแปลง
โดยใช้ระบบประชาธิปไตยที่มีอยู่แล้ว -
4:17 - 4:23แต่นี่คือจุดที่ผู้สมัครประชานิยมสมัยใหม่ ผู้มีความมั่นใจ
สามารถล้มล้างระบอบประชาธิปไตยลงได้ -
4:23 - 4:29กลุ่มประชานิยมสมัยใหม่จะแสดงตัวว่า
ตนเองเป็นผู้รวบรวม "เจตจำนงของประชาชน" -
4:29 - 4:30และวางผลประโยชน์เหล่านั้น
-
4:30 - 4:35ไว้เหนือสถาบัน
ที่ปกป้องสิทธิส่วนบุคคลและสิทธิทางสังคม -
4:35 - 4:38กลุ่มประชานิยมสมัยใหม่โต้แย้งว่า
สถาบันเหล่านี้ -
4:38 - 4:42ถูกดำเนินการโดยคนกลุ่มเล็ก ๆ ที่เห็นแก่ตัว
-
4:42 - 4:46ผู้ซึ่งต้องการควบคุมสามัญชนคนส่วนใหญ่
ที่เป็นผู้บริสุทธิ์ -
4:46 - 4:51ด้วยเหตุนี้ การเมืองจึงไม่ใช่
เรื่องของการประนีประนอมและหาฉันทามติ -
4:51 - 4:54ผ่านสถาบันประชาธิปไตยที่เปิดกว้างอีกต่อไป
-
4:54 - 5:00แต่ผู้นำเหล่านี้กลับพยายามที่จะล้มล้าง
สิ่งที่พวกเขาเห็นว่าเป็นระบบที่ล่มสลาย -
5:00 - 5:04นี่หมายความว่า ในขณะที่เสรีนิยมประชาธิปไตย
ให้ความเคารพสถาบันอย่างสูง -
5:04 - 5:08อย่างห้องพิจารณาคดี
สื่อสาธารณะ และรัฐธรรมนูญแห่งชาติ -
5:08 - 5:13ประชานิยมสมัยใหม่จะดูหมิ่น
สถาบันใด ๆ ที่ไม่เห็นด้วย -
5:13 - 5:16ด้วยสิ่งที่เรียกขนานนามว่า
“เจตจำนงร่วมกัน” -
5:16 - 5:19พรรคการเมืองประเภทประชานิยมสมัยใหม่
ผุดขึ้นในที่ต่าง ๆ -
5:19 - 5:22แต่ผู้นำของขบวนการเหล่านี้
กลับมีความคล้ายคลึงกันอย่างมาก -
5:22 - 5:25พวกเขามักจะเป็นบุคคลที่มีเสน่ห์ดึงดูด
-
5:25 - 5:29ผู้ที่แสดงตัวว่าเป็นผู้รวบรวม
“เจตจำนงของประชาชน” -
5:29 - 5:32พวกเขาให้คำมั่นสัญญาที่มากเกินไป
กับผู้สนับสนุนของพวกเขา -
5:32 - 5:37ในขณะที่ป้ายสีฝ่ายตรงข้าม
ว่าเป็นผู้ทรยศบ่อนทำลายชาติ -
5:37 - 5:42แต่ไม่ว่านักการเมืองพวกนี้จะเป็น
ผู้ที่มีศรัทธาจริงใจ หรือเป็นนักฉวยโอกาส -
5:42 - 5:43การเปลี่ยนแปลงที่พวกเขาปลดปล่อย
-
5:43 - 5:47อาจทำให้ระบอบเสรีประชาธิปไตย
สั่นคลอนอย่างมาก -
5:47 - 5:50แม้ว่าผู้นำประชานิยมสมัยใหม่
จะไม่ปฏิบัติตาม -
5:50 - 5:53คำสัญญาที่สุดโต่งของพวกเขา
-
5:53 - 5:58ผลกระทบต่อวาทกรรมทางการเมือง
หลักนิติธรรม และความไว้วางใจของสาธารณชน -
5:58 - 6:01สามารถอยู่ไปได้นานกว่า
ระยะเวลาที่พวกเขาอยู่ในตำแหน่ง
- Title:
- การผุดขึ้นมาของประชานิยมสมัยใหม่ - ทาคิส เอส แพปปาส
- Speaker:
- ทาคิส เอส แพปปาส
- Description:
-
ดูบทเรียนฉบับเต็ม: https://ed.ted.com/lessons/the-rise-of-modern-populism-takis-s-pappas
ในหลายประเทศที่เป็นประชาธิปไตย ผู้นำที่มีเสน่ห์จะกล่าวร้ายฝ่ายตรงข้ามทางการเมือง ดูหมิ่นสถาบันทางสังคม และอ้างว่าทำไปเพื่อประชาชน นักวิจารณ์บางส่วนระบุว่าแนวทางนี้เป็นเหมือนกับเผด็จการหรือฟาสซิสต์ ในขณะที่คนอื่น ๆ กล่าวว่าผู้นำเหล่านี้กำลังชักใยผู้มีสิทธิเลือกตั้งอยู่ การเมืองรูปแบบนี้มีชื่อเรียกว่า "ประชานิยม"
ทาคิส เอส แพปปาส สำรวจปรากฏการณ์นี้และผลกระทบอันยาวนานที่มันอาจจะมีต่อประเทศหนึ่ง ๆ
บทเรียนโดย ทาคิส เอส แพปปาส
กำกับโดย แพททริค สมิทธิ์ - Video Language:
- English
- Team:
closed TED
- Project:
- TED-Ed
- Duration:
- 06:02
![]() |
Sakunphat Jirawuthitanant approved Thai subtitles for The rise of modern populism | |
![]() |
Sakunphat Jirawuthitanant accepted Thai subtitles for The rise of modern populism | |
![]() |
Sakunphat Jirawuthitanant edited Thai subtitles for The rise of modern populism | |
![]() |
Ajarn Jimmy Tangjaitrong commented on Thai subtitles for The rise of modern populism | |
![]() |
Ajarn Jimmy Tangjaitrong commented on Thai subtitles for The rise of modern populism | |
![]() |
Ajarn Jimmy Tangjaitrong edited Thai subtitles for The rise of modern populism | |
![]() |
Ajarn Jimmy Tangjaitrong edited Thai subtitles for The rise of modern populism |
Ajarn Jimmy Tangjaitrong
https://www.oxfordhandbooks.com/view/10.1093/oxfordhb/9780199604456.001.0001/oxfordhb-9780199604456-e-021
Ajarn Jimmy Tangjaitrong
https://th.wikipedia.org/wiki/%E0%B8%9B%E0%B8%A3%E0%B8%B0%E0%B9%80%E0%B8%97%E0%B8%A8%E0%B8%81%E0%B8%A3%E0%B8%B5%E0%B8%8B