< Return to Video

สอนเพื่อความเชี่ยวชาญ -- ไม่ใช่เพื่อคะแนนสอบ

  • 0:01 - 0:04
    วันนี้ผมจะพูดถึงแนวคิด 2 อย่าง ที่ถือว่า
  • 0:04 - 0:06
    อย่างน้อยที่ผมสังเกตเห็นใน Khan อะคาเดมี
  • 0:06 - 0:10
    ที่ถือว่าเป็นแก่นหลัก
    หรือจุดหักเหด้านการเรียน
  • 0:10 - 0:12
    มันคือแนวคิดเรื่อง ความชำนาญ
  • 0:12 - 0:14
    และแนวคิดเรื่อง กรอบความคิด
  • 0:14 - 0:17
    ผมสังเกตเห็นตั้งแต่ช่วงแรก
    ที่เริ่มสอนญาติ ๆ ผมเองแล้ว
  • 0:17 - 0:19
    แรกๆ พวกเขาหลายคน
    มีปัญหากับคณิตศาสตร์
  • 0:19 - 0:22
    เพราะพวกเขามีช่องโหว่ของความเข้าใจ
    ที่ค่อยๆ สะสมมาเรื่อยระหว่างการเรียน
  • 0:22 - 0:25
    ด้วยเหตุนี้ พอถึงจุดหนึ่ง
    ที่เขาต้องเริ่มเรียนพีชคณิต
  • 0:25 - 0:29
    ทั้งที่อาจจะยังมีพื้นฐานไม่แน่นนัก
    ในบางหัวข้อที่ต้องรู้ก่อนเรียนพีชคณิต
  • 0:29 - 0:32
    และนั่นทำให้พวกเขาคิดว่า
    เขาคงไม่มีหัวทางด้านคณิตศาสตร์
  • 0:32 - 0:34
    หรือเขาอาจต้องเริ่มเรียนแคลคูลัส
  • 0:34 - 0:37
    ทั้งที่มีบางหัวข้อในพีชคณิต
    ที่เขายังไม่เข้าใจดีนัก
  • 0:37 - 0:38
    ผมสังเกตุเห็นตั้งแต่ช่วงแรก ๆ
  • 0:38 - 0:42
    เมื่อผมอัพโหลดวีดีโอพวกนั้นขึ้นยูทูป
  • 0:42 - 0:45
    และพบว่ามีบางคน ที่ไม่ใช่ญาติผม
    เข้ามาดูด้วย
  • 0:45 - 0:47
    (หัวเราะ)
  • 0:47 - 0:51
    ในช่วงแรก ก็มีคอมเม้นต์
    แค่ประเภท ขอบคุณนะ
  • 0:51 - 0:53
    ผมคิดว่านั่นเจ๋งมากเลย
  • 0:53 - 0:56
    ผมไม่รู้เหมือนกันว่าพวกคุณ
    ใช้เวลาบนยูทูปมากแค่ไหน
  • 0:56 - 0:58
    แต่ปกติคอมเม้นต์ส่วนใหญ่
    มักจะไม่ใช่ "ขอบคุณ"
  • 0:58 - 0:59
    (หัวเราะ)
  • 0:59 - 1:01
    มันมักจะทำให้หงุดหงิดซะมากกว่า
  • 1:01 - 1:03
    แล้วเหล่าคอมเม้นต์
    ก็เริ่มเข้มข้นขึ้นเรื่อยๆ
  • 1:03 - 1:08
    นักเรียนคนแล้วคนเล่า บอกว่า
    พวกเขาโตขึ้นมาโดยไม่ชอบคณิตศาสตร์เลย
  • 1:08 - 1:11
    มันยากขึ้นเรื่อย ๆ เมื่อเขาเรียนถึง
    คณิตศาสตร์ขั้นสูงขึ้นไป
  • 1:11 - 1:12
    เมื่อตอนที่พวกเขาเรียนไปถึงพีชคณิต
  • 1:13 - 1:15
    พวกเขาต่างก็มีช่องโหว่ของความรู้
    ที่พวกเขาไม่รู้จะทำอย่างไร
  • 1:15 - 1:17
    พวกเขาคิดไปเองว่า เขาคงไม่มีหัวทางเลข
  • 1:17 - 1:19
    แต่เมื่อพวกเขาอายุมากขึ้น
  • 1:19 - 1:21
    เริ่มบังคับใจตัวเองได้มากขึ้น
    ก็ตัดสินใจที่จะตั้งใจเรียน
  • 1:21 - 1:24
    พวกเขาได้เจอแหล่งข้อมูลอย่าง Khan อะคาเดมี
  • 1:24 - 1:26
    และสามารถเติมเต็มช่องโหว่ที่เคยมี
    จนเชี่ยวชาญในแนวคิดเหล่านั้น
  • 1:26 - 1:29
    สิ่งนั้นตอกย้ำกรอบความคิดของเขา
    ว่าความสามารถไม่ได้คงที่ตายตัว
  • 1:29 - 1:33
    ว่าพวกเขาเอง ก็มีความสามารถ
    ที่จะเรียนคณิตศาสตร์ได้
  • 1:33 - 1:37
    มันก็เหมือนกับการฝึกฝน
    ความเชี่ยวชาญหลาย ๆ อย่างในชีวิต
  • 1:37 - 1:39
    การเรียนศิลปะการป้องกันตัว
    ก็ต้องใช้วิธีนี้
  • 1:39 - 1:42
    ในศิลปะการป้องกันตัว คุณเริ่มฝึก
    ทักษะเบื้องต้นในระดับสายขาว
  • 1:42 - 1:44
    นานเท่าที่จะจำเป็น
  • 1:44 - 1:46
    ต่อเมื่อคุณเชี่ยวชาญทักษะเหล่านั้นแล้ว
  • 1:46 - 1:48
    คุณจึงจะก้าวขึ้นไปเป็นสายเหลืองได้
  • 1:48 - 1:50
    เช่นเดียวกับที่คุณหัดเล่น
    เครื่องดนตรีซักอย่าง
  • 1:50 - 1:52
    คุณเริ่มฝึกโน้ตง่ายๆ ซ้ำแล้วซ้ำอีก
  • 1:52 - 1:54
    ต่อเมื่อคุณเชี่ยวชาญพื้นฐานแล้ว
  • 1:54 - 1:56
    คุณจึงจะก้าวต่อไปในการฝึกขั้นสูงขึ้นได้
  • 1:56 - 1:57
    แต่ผมอยากชี้ให้เห็นว่า
  • 1:57 - 2:01
    นี่ไม่ใช่โครงสร้างที่เป็นอยู่
    ในโมเดลการศึกษาแบบดั้งเดิม
  • 2:01 - 2:05
    โมเดลการศึกษาที่พวกเราส่วนมาก
    เติบโตขึ้นมาในระบบนั้น
  • 2:05 - 2:06
    ในโมเดลการศึกษาดั้งเดิม
  • 2:06 - 2:09
    เราจัดนักเรียนเป็นกลุ่ม
    โดยมากมักจะตามอายุ
  • 2:09 - 2:10
    และพอเข้าชั้นมัธยม
  • 2:10 - 2:12
    ก็จัดกลุ่มตามอายุและทักษะที่มองเห็นได้
  • 2:12 - 2:15
    แล้วเราก็ต้อนพวกเขาไปด้วยกัน
    ด้วยอัตราเร็วเท่า ๆ กัน
  • 2:15 - 2:16
    และสิ่งที่มักจะเกิดขึ้นเสมอก็คือ
  • 2:16 - 2:19
    สมมติเราอยู่ในชั้นเรียน
    เตรียมพีชคณิตระดับมัธยม
  • 2:19 - 2:21
    และบทเรียนตอนนี้คือเลขยกกำลัง
  • 2:21 - 2:23
    ครูจะอธิบายให้ฟังในห้องเรื่องเลขยกกำลัง
  • 2:23 - 2:25
    แล้วเราก็กลับบ้าน ทำการบ้าน
  • 2:25 - 2:27
    เช้าวันต่อมา เรามาทบทวนการบ้านกัน
  • 2:27 - 2:30
    แล้วครูก็สอน ตามด้วยการบ้าน
    สอน แล้วก็การบ้าน
  • 2:30 - 2:32
    เป็นแบบนี้ไปประมาณสองหรือสามสัปดาห์
  • 2:32 - 2:33
    แล้วเราก็จะมีการทดสอบ
  • 2:33 - 2:36
    ในการสอบครั้งนั้น ผมอาจจะได้คะแนน
    75 เปอร์เซ็นต์
  • 2:37 - 2:38
    คุณอาจจะได้ 90 เปอร์เซ็นต์
  • 2:38 - 2:40
    ส่วนคุณอาจจะได้ 95 เปอร์เซ็นต์
  • 2:40 - 2:43
    และแม้ว่าการทดสอบ
    จะระบุว่าเรายังมีช่องโหว่ทางความรู้อยู่
  • 2:43 - 2:45
    ผมไม่รู้มากถึง 25 เปอร์เซ็นต์ของเนื้อหา
  • 2:45 - 2:47
    แม้แต่นักเรียนเกรดเอ
    ก็ยังมีอีก 5 เปอร์เซ็นต์ที่พวกเขาไม่รู้
  • 2:47 - 2:50
    ทั้งที่เห็นแล้วว่า
    นักเรียนมีช่องโหว่เหล่านั้น
  • 2:50 - 2:52
    แต่ทั้งชั้นก็จะข้ามไปเรียน
    บทเรียนอื่นต่อไป
  • 2:52 - 2:56
    อาจจะเป็นหัวข้อขั้นสูงกว่าเดิม
    และต่อยอดจากช่องโหว่เหล่านั้น
  • 2:56 - 2:59
    อาจจะเป็นเรื่องลอการิทึม
    หรือเลขยกกำลังลบ
  • 2:59 - 3:01
    แล้วกระบวนการก็ดำเนินไปแบบนี้
  • 3:01 - 3:03
    และคุณก็เริ่มรู้สึกได้ว่า
    มันแปลกเหลือเกิน
  • 3:03 - 3:06
    ผมไม่รู้เรื่องที่เป็นพื้นฐาน
    ถึง 25 เปอร์เซ็นต์
  • 3:06 - 3:08
    แต่ผมถูกผลักให้เรียน
    เนื้อหาขั้นสูงที่ซับซ้อนขึ้น
  • 3:08 - 3:12
    เป็นแบบนี้ต่อเนื่อง หลายเดือน
    หลายปี ไปจนถึงจุดหนึ่ง
  • 3:12 - 3:15
    ผมอาจจะเรียนไปถึงพีชคณิต
    หรือตรีโกณมิติ
  • 3:15 - 3:16
    แล้วผมก็จะชนกำแพง
  • 3:16 - 3:19
    และนั่นไม่ใช่เพราะพีชคณิตนั้น
    ยากเย็นแสนเข็ญโดยตัวมันเอง
  • 3:19 - 3:23
    หรือเพราะนักเรียนไม่ฉลาดพอ
  • 3:23 - 3:26
    มันเป็นเพราะว่า เมื่อผมเห็นสมการ
    และมันประกอบด้วยเลขยกกำลัง
  • 3:26 - 3:29
    นั่นคือ 30 เปอร์เซ็นต์ที่ผมไม่รู้
    มันย้อนกลับมาอีกแล้ว
  • 3:29 - 3:32
    แล้วผมก็เริ่มละความพยายาม
  • 3:32 - 3:36
    เพื่อให้เข้าใจว่าเรื่องนี้
    มันไม่สมเหตุสมผลแค่ไหน
  • 3:36 - 3:39
    ลองนึกภาพว่าเราทำ
    อย่างอื่นในชีวิตด้วยวิธีนี้ดู
  • 3:39 - 3:41
    ตัวอย่างเช่น การสร้างบ้าน
  • 3:41 - 3:43
    (หัวเราะ)
  • 3:45 - 3:48
    เราเรียกผู้รับเหมามา แล้วบอกว่า
  • 3:48 - 3:51
    "เรามีเวลาสองสัปดาห์
    ที่จะสร้างฐานรากให้เสร็จ
  • 3:51 - 3:52
    ทำได้เท่าไหร่เท่ากัน"
  • 3:52 - 3:55
    (หัวเราะ)
  • 3:55 - 3:57
    พวกเขาก็ทำ เท่าที่จะทำได้
  • 3:57 - 3:58
    บางทีฝนอาจจะเทลงมา
  • 3:58 - 4:00
    บางทีของบางอย่างก็ไม่มาส่ง
  • 4:00 - 4:03
    และสองอาทิตย์ให้หลัง
    ผู้ตรวจงานก็มา เดินดูรอบๆ
  • 4:03 - 4:06
    แล้วว่า "โอเค ปูนตรงนั้นยังไม่แห้งดีเลย
  • 4:06 - 4:08
    และส่วนนั้นก็ยังไม่ได้มาตรฐาน
  • 4:09 - 4:10
    ผมให้คะแนนแค่ 80 เปอร์เซ็นต์"
  • 4:10 - 4:11
    (หัวเราะ)
  • 4:11 - 4:14
    คุณบอกว่า "เยี่ยม นั่นเกรดซี
    ผ่านละ มาสร้างชั้นแรกกันเถอะ"
  • 4:14 - 4:15
    (หัวเราะ)
  • 4:15 - 4:16
    เหมือนเดิม
  • 4:16 - 4:20
    เรามีเวลาสองอาทิตย์ ทำเท่าที่ทำได้
    ผู้คุมงานมาตรวจ ให้ 75 เปอร์เซ็นต์
  • 4:20 - 4:21
    เยี่ยมเลย นั่นเกรด D บวก
  • 4:21 - 4:22
    ชั้นที่สอง ชั้นที่สาม
  • 4:22 - 4:24
    ทันใดนั้น ขณะที่คุณกำลังสร้างชั้นสาม
  • 4:24 - 4:27
    โครงสร้างทั้งหลังก็พังครืนลง
  • 4:27 - 4:29
    ถ้าปฏิกิริยาของคุณ เหมือนปฏิกิริยา
    ที่คุณมักมีต่อการศึกษา
  • 4:29 - 4:31
    หรือเหมือนที่คนจำนวนมากเป็น
  • 4:31 - 4:33
    คุณอาจจะบอกว่า
    เป็นเพราะเรามีผู้รับเหมาที่แย่
  • 4:33 - 4:37
    หรือเราอาจต้องมีผู้ตรวจงานที่ดีกว่านี้
    หรือตรวจบ่อยกว่านี้
  • 4:37 - 4:39
    แต่สิ่งที่เป็นปัญหาจริง ๆ
    ก็คือกระบวนการ
  • 4:39 - 4:42
    เราสร้างข้อจำกัดเทียม
    ว่างานแต่ละอย่างต้องใช้เวลาแค่ไหน
  • 4:42 - 4:44
    ซึ่งแน่นอนว่าย่อมให้ผลลัพธ์ที่ไม่สม่ำเสมอ
  • 4:44 - 4:48
    แล้วเราก็มัวมุ่งให้ความสำคัญกับการสอบ
    แล้วก็พยายามหาช่องโหว่ต่าง ๆ
  • 4:48 - 4:50
    แต่แล้ว เราก็ดันสร้างต่อยอดขึ้นไปอีก
  • 4:50 - 4:53
    ดังนั้น แนวคิดเรื่องการเรียนให้เชี่ยวชาญ
    คือการทำตรงกันข้าม
  • 4:53 - 4:55
    แทนที่จะสร้างข้อจำกัดเทียมโดยบังคับว่า
  • 4:55 - 4:57
    คุณจะทำงานบางอย่างเมื่อไหร่ และนานแค่ไหน
  • 4:57 - 5:00
    ซึ่งแน่นอนว่าให้ผลลัพธ์ที่แปรผันได้
  • 5:00 - 5:01
    เกิดเป็นเกรด เอ บี ซี ดี เอฟ
  • 5:02 - 5:03
    ก็ให้ทำในทางตรงกันข้าม
  • 5:04 - 5:06
    สิ่งที่แปรผันได้ คือจังหวะและช่วงเวลา
  • 5:06 - 5:08
    ที่นักเรียนใช้สำหรับเรียนรู้อะไรบางอย่าง
  • 5:08 - 5:11
    และสิ่งที่เรากำหนดให้คงที่คือ
    ทุกคนจะต้องเชี่ยวชาญในเนื้อหานั้น
  • 5:11 - 5:13
    และมันสำคัญที่เราต้องตระหนักว่า
  • 5:13 - 5:16
    วิธีนี่ไม่เพียงแต่ช่วยให้นักเรียน
    เรียนเลขยกกำลังได้ดีขึ้น
  • 5:17 - 5:19
    แต่มันจะช่วยตอกย้ำ
    กรอบความคิดที่ถูกต้องด้วย
  • 5:19 - 5:23
    มันจะช่วยให้นักเรียนตระหนักว่า
    ถ้าพวกเขาตอบผิด 20 เปอร์เซ็นต์ในบางหัวข้อ
  • 5:23 - 5:26
    มันไม่ได้หมายความว่า
    คุณมีเกรดซึฝังติดมาใน DNA
  • 5:26 - 5:29
    มันแค่หมายความว่า คุณควรจะ
    ต้องกลับไปทบทวนบทเรียนอีก
  • 5:29 - 5:31
    คุณควรจะต้องอดทน
    ต้องมานะพากเพียร
  • 5:31 - 5:33
    คุณควรรับผิดชอบการเรียนรู้ของคุณเอง
  • 5:34 - 5:37
    ทีนี้ คนที่เห็นแย้งหลายคน
    อาจบอกว่า มันฟังดูดีนะ
  • 5:37 - 5:40
    ในทางทฤษฎี ไอเดียเรื่อง
    การเรียนรู้ให้เชี่ยวชาญ
  • 5:40 - 5:41
    แล้วความเชื่อมโยงกับกรอบความคิดน่ะ
  • 5:41 - 5:43
    นักเรียนจัดการตนเองในการเรียน
  • 5:43 - 5:46
    มันฟังดูเข้าท่ามากนะ
    แต่มันดูเหมือนจะไม่เวิร์คในทางปฏิบัติ
  • 5:46 - 5:50
    ถ้าจะทำจริงๆ นักเรียนแต่ละคน
    จะต้องเรียนอยู่ในแนวทางของตัวเอง
  • 5:50 - 5:51
    ต้องปรับให้เข้ากับแต่ละคน
  • 5:51 - 5:54
    คุณจะต้องใช้ครูพิเศษแบบตัวต่อตัว
    แล้วก็ใช้แบบฝึกหัดเฉพาะตัว
  • 5:54 - 5:56
    และนั่นก็ไม่ใช่แนวคิดใหม่เลย
  • 5:56 - 5:59
    เคยมีการทดลองในเมืองวินเน็ตก้า
    อิลลินอยส์ เมื่อ 100 ปีก่อน
  • 5:59 - 6:02
    เมื่อพวกเขาทดลองการเรียนรู้ให้เชี่ยวชาญ
    แล้วได้ผลดีเยี่ยม
  • 6:02 - 6:05
    แต่มันขยายผลออกไปไม่ได้
    เพราะว่ามันยุ่งยากในด้านการจัดการ
  • 6:05 - 6:07
    ครูจะต้องแจกแบบฝึกหัด
    ที่แตกต่างกันให้นักเรียนแต่ละคน
  • 6:07 - 6:09
    ต้องทำการประเมินผลเมื่อไหร่ก็ได้
  • 6:09 - 6:12
    แต่ในวันนี้ เรื่องพวกนั้น
    เป็นไปได้แล้ว
  • 6:12 - 6:13
    เรามีเครื่องมือที่จะทำได้
  • 6:13 - 6:16
    จะให้นักเรียนฟังคำอธิบาย
    ในช่วงเวลาของแต่ละคนน่ะหรือ?
  • 6:16 - 6:17
    เรามีวิดีโอที่ดูเมื่อไหร่ก็ได้
  • 6:17 - 6:19
    ต้องการแบบฝึกหัด?
    ต้องการการติชม?
  • 6:19 - 6:24
    มันมีแบบฝึกหัดที่ปรับตัวไปตาม
    นักเรียนแต่ละคนได้
  • 6:24 - 6:27
    และเมื่อมีสิ่งต่าง ๆ เหล่านั้น
    ก็เกิดเรื่องดี ๆ ตามมา
  • 6:27 - 6:30
    อย่างแรก นักเรียนสามารถ
    เชี่ยวชาญแนวคิดหลักได้จริง ๆ
  • 6:30 - 6:32
    และก็ยังสร้างกรอบความคิด
    ที่เชื่อในการเติบโต
  • 6:32 - 6:34
    สร้างความมานะอดทน
    พากเพียรพยายาม
  • 6:34 - 6:36
    พวกเขาได้ฝึกควบคุมตัวเองในการเรียนรู้
  • 6:36 - 6:38
    และยังมีเรื่องสวยงามอื่น ๆ
    ที่สามารถเริ่มเกิดขึ้นได้
  • 6:38 - 6:40
    ในห้องเรียนจริง ๆ
  • 6:40 - 6:42
    แทนที่จะต้องมานั่งฟังการอธิบายเนื้อหา
  • 6:42 - 6:44
    นักเรียนสามารถมีปฏิสัมพันธ์กับคนอื่น ๆ
  • 6:44 - 6:46
    ฝึกให้เชี่ยวชาญลึกซึ้งในเนื้อหามากขึ้นได้
  • 6:46 - 6:49
    พวกเขาสามารถเล่นกับสถานการณ์สมมติ
    บทสนทนาแบบโสกราตีส
  • 6:49 - 6:51
    เพื่อให้เข้าใจสิ่งที่เรากำลังพูดกันอยู่นี้
  • 6:51 - 6:55
    และความน่าเศร้าของศักยภาพที่สูญเสียไป
  • 6:55 - 6:58
    ผมอยากจะให้ทดลองคิดกันเล่น ๆ
  • 6:59 - 7:04
    ถ้าเราย้อนเวลากลับไป
    ซัก 400 ปี ในยุโรปตะวันตก
  • 7:04 - 7:07
    ซึ่ง ณ ขณะนั้นเป็นภาคพื้นที่มี
    คนรู้หนังสือมากกว่าทวีปอื่นในโลก
  • 7:07 - 7:11
    คุณจะเห็นได้ว่า มีผู้คนประมาณ
    15 เปอร์เซ็นต์ ที่อ่านหนังสือได้
  • 7:12 - 7:15
    และผมคาดว่า ถ้าคุณถามใครซักคน
    ที่อ่านหนังสือได้
  • 7:15 - 7:17
    อย่างเช่น คนที่ทำงานในโบสถ์
  • 7:17 - 7:21
    "คุณคิดว่า มีประชากรซักกี่เปอร์เซ็นต์
    ที่จะสามารถอ่านออกเขียนได้"
  • 7:21 - 7:24
    เขาอาจบอกว่า "ด้วยระบบ
    การศึกษาที่ดีแล้วนะ
  • 7:24 - 7:27
    อาจจะประมาณ 20 ถึง 30 เปอร์เซ็นต์"
  • 7:27 - 7:29
    แต่ถ้าคุณกลับมาในยุคปัจจุบัน
  • 7:29 - 7:32
    เรารู้กันแล้วว่า การคาดการณ์นั้น
    ต่ำกว่าความเป็นจริงไปมาก
  • 7:32 - 7:36
    ความจริงแล้ว เกือบทั้ง 100 เปอร์เซ็นต์
    ของประชากรสามารถอ่านออกเขียนได้
  • 7:36 - 7:39
    แต่ถ้าผมจะถามคุณด้วย
    คำถามคล้าย ๆ กัน
  • 7:39 - 7:43
    "มีประชากรซักกี่เปอร์เซ็นต์
    ที่คุณคิดว่ามีความสามารถ
  • 7:43 - 7:46
    ที่จะเชี่ยวชาญแคลคูลัสได้
  • 7:46 - 7:49
    หรือจะเข้าใจชีวเคมี
  • 7:49 - 7:52
    หรือสามารถมีส่วนช่วยเหลือ
    ในการทำวิจัยโรคมะเร็งได้?"
  • 7:52 - 7:55
    พวกคุณหลายคนคงตอบว่า
    "ถ้าด้วยระบบการศึกษาที่ดีนะ
  • 7:55 - 7:57
    อาจจะประมาณ 20 ถึง 30 เปอร์เซ็นต์"
  • 7:58 - 7:59
    แต่ถ้าหากการคาดการณ์นั้น
  • 7:59 - 8:03
    มีรากฐานมาจากประสบการณ์ของคุณเอง
    ที่โตมาจากระบบที่ไม่เน้นความเชี่ยวชาญ
  • 8:03 - 8:05
    จากประสบการณ์ของคุณเอง
    หรือการเฝ้าสังเกตคนอื่น ๆ
  • 8:05 - 8:08
    ซึ่งคุณถูกผลักให้ก้าวไปข้างหน้า
    ผ่านชั้นเรียนต่าง ๆ
  • 8:08 - 8:10
    และสะสมช่องโหว่ความรู้ไปเรื่อยๆ ล่ะ
  • 8:10 - 8:11
    แม้ว่าคุณจะทำได้ถึง 95 เปอร์เซ็นต์
  • 8:11 - 8:13
    แล้วอีก 5 เปอร์เซ็นต์ที่ขาดไป อยู่ไหน?
  • 8:13 - 8:16
    และมันจะสะสมไปเรื่อย ๆ
    คุณเรียนชั้นสูงขึ้น
  • 8:16 - 8:18
    ทันใดนั้น คุณก็ชนกำแพง แล้วบอกว่า
  • 8:18 - 8:19
    "ฉันคงไม่เหมาะที่จะทำงานวิจัยมะเร็ง
  • 8:19 - 8:22
    ไม่เหมาะจะเป็นนักฟิสิกส์
    ไม่เหมาะจะเป็นนักคณิตศาสตร์"
  • 8:22 - 8:25
    ผมเดาว่ามันจะออกมาในรูปนั้น
  • 8:25 - 8:29
    แต่ถ้าคุณได้โอกาสที่จะเรียนรู้
    ในกรอบการเรียนให้เชี่ยวชาญแล้ว
  • 8:29 - 8:32
    ถ้ามีโอกาสที่จะจัดการตัวเอง
    ในด้านการเรียนรู้
  • 8:32 - 8:34
    และถ้าคุณทำโจทย์ผิด
  • 8:34 - 8:36
    นำมันมาใช้ มองความผิดพลาด
    เป็นจังหวะแห่งการเรียนรู้
  • 8:36 - 8:40
    ตัวเลขนั้น เปอร์เซ็นต์ของผู้คน
    ที่สามารถเชี่ยวชาญแคลคูลัส
  • 8:40 - 8:42
    หรือเข้าใจชีวเคมี
  • 8:42 - 8:45
    คงมีตัวเลขเข้าใกล้
    100 เปอร์เซ็นต์ขึ้นอีกมาก
  • 8:46 - 8:48
    และนี่ไม่ใช่แค่สิ่งที่ "ทำได้ก็ดีนะ"
  • 8:49 - 8:51
    ผมคิดว่ามันเป็นสิ่งที่จำเป็นต่อสังคม
  • 8:52 - 8:55
    เรากำลังออกจากยุคที่คุณเรียกว่า
    ยุคอุตสาหกรรม
  • 8:55 - 8:59
    และเรากำลังก้าวเข้าสู่การปฏิวัติสารสนเทศ
  • 9:00 - 9:02
    เห็นได้ชัดว่าการเปลี่ยนแปลงกำลังเกิดขึ้น
  • 9:02 - 9:04
    ในยุคอุตสาหกรรม
    สังคมมีโครงสร้างเป็นปิรามิด
  • 9:04 - 9:09
    ที่ฐานของปิรามิด
    คือชนชั้นใช้แรงงานจำนวนมาก
  • 9:09 - 9:12
    ส่วนกลางของปิรามิด
    คุณมีกลุ่มคนที่ทำงานประมวลข้อมูล
  • 9:12 - 9:14
    เป็นกลุ่มชนชั้นกลาง
  • 9:14 - 9:18
    และที่ส่วนยอดของปิรามิด
    จะเป็นเหล่าเจ้าของทุน
  • 9:18 - 9:20
    เจ้าของกิจการทั้งหลาย
  • 9:20 - 9:22
    และชนชั้นผู้สร้างสรรค์
  • 9:22 - 9:24
    แต่เรารู้กันแล้วว่ากำลังเกิดอะไรขึ้น
  • 9:24 - 9:26
    ขณะที่เรากำลังเข้าสู่ยุคปฏิวัติสารสนเทศ
  • 9:26 - 9:29
    ด้านล่างของปิรามิดกำลังถูก
    ยึดครองด้วยเครื่องอัตโนมัติ
  • 9:29 - 9:31
    รวมไปถึงกลุ่มชนชั้นกลาง
    ที่ทำงานประมวลข้อมูล
  • 9:31 - 9:33
    นั่นเป็นสิ่งที่คอมพิวเตอร์ทำได้ดี
  • 9:33 - 9:35
    ดังนั้น สังคมของเราเผชิญกับคำถามว่า
  • 9:35 - 9:37
    ประสิทธิผลใหม่ ๆ ทั้งหลาย
    ที่กำลังเกิดขึ้นเพราะเทคโนโลยีนี้
  • 9:37 - 9:39
    ใครบ้างที่จะมีส่วนในเรื่องนี้?
  • 9:39 - 9:42
    หรือจะเป็นแค่เพียงคนกลุ่มที่
    อยู่บนยอดของปิรามิดเท่านั้น
  • 9:42 - 9:44
    แล้วคนอื่น ๆ ที่เหลือทั้งหมดจะทำอะไร?
  • 9:44 - 9:45
    พวกเขาจะอยู่กันอย่างไร?
  • 9:45 - 9:47
    หรือว่าเราจะทำอะไรบางอย่าง
    ที่มันทะเยอทะยานกว่านี้?
  • 9:48 - 9:51
    เราจะพยายามพลิกปิรามิด
    กลับหัวกันหน่อยมั้ย
  • 9:51 - 9:53
    จะได้มีชนชั้นสร้างสรรค์เป็นจำนวนมาก ๆ
  • 9:53 - 9:56
    แทบทุกคนสามารถมีส่วนร่วม
    ในฐานะเจ้าของกิจการ
  • 9:56 - 9:59
    หรือศิลปิน หรือนักวิจัย?
  • 9:59 - 10:01
    และผมไม่คิดว่านั่นคือ
    โลกอุดมคติที่เกินเอื้อม
  • 10:01 - 10:03
    ผมเชื่อจริง ๆ ว่ามันมีรากฐานจากแนวคิด
  • 10:03 - 10:05
    ว่าถ้าเรายินยอมให้ผู้คน
    เข้าถึงศักยภาพตัวเอง
  • 10:05 - 10:07
    โดยฝึกฝนเรียนรู้แนวคิดจนเชี่ยวชาญ
  • 10:07 - 10:11
    โดยสามารถใช้สิทธิ
    จัดการการเรียนรู้ของตัวเอง
  • 10:11 - 10:12
    พวกเขาจะไปถึงที่นั่นได้
  • 10:13 - 10:17
    และถ้าคุณลองคิดดู
    ในฐานะพลเมืองของโลก
  • 10:17 - 10:18
    มันน่าตื่นเต้นมาก
  • 10:18 - 10:21
    ลองคิดดูว่า
    จะเกิดความเที่ยงธรรมขึ้นขนาดไหน
  • 10:21 - 10:24
    อารยธรรมของเราจะก้าวหน้า
    ไปด้วยอัตราเร็วแค่ไหน
  • 10:24 - 10:27
    ดังนั้น ผมเชื่อมากว่ามันเป็นไปได้
  • 10:27 - 10:30
    ผมคิดว่ามันจะเป็นช่วงเวลา
    อันน่าตื่นเต้นที่จะได้มีชีวิตอยู่
  • 10:30 - 10:31
    ขอบคุณครับ
  • 10:31 - 10:37
    (เสียงปรบมือ)
Title:
สอนเพื่อความเชี่ยวชาญ -- ไม่ใช่เพื่อคะแนนสอบ
Speaker:
ซัลมาน คาห์น
Description:

คุณจะเลือกสร้างบ้านบนฐานรากที่ยังทำไม่เสร็จหรือ? คงไม่ ถ้าอย่างนั้น ทำไมเราถึงเร่งเหล่านักเรียนให้ผ่านระบบการศึกษาไปทั้งที่พวกเขาอาจจะยังมีพื้นฐานไม่ดีพอ ? ใช่ นี่เป็นเรื่องซับซ้อน แต่นักการศึกษา ซัลมาน คาห์น เล่าถึงแผนของเขาที่จะช่วยเปลี่ยนนักเรียนที่กำลังดิ้นรนอย่างยากลำบากให้กลายเป็นนักวิชาการ โดยช่วยให้พวกเขาได้ฝึกฝนจนเชี่ยวชาญในแนวคิดสำคัญต่างๆ ตามอัตราความเร็วที่เหมาะสมของตัวเอง

more » « less
Video Language:
English
Team:
closed TED
Project:
TEDTalks
Duration:
10:49

Thai subtitles

Revisions