WEBVTT 00:00:00.954 --> 00:00:03.880 วันนี้ผมจะพูดถึงแนวคิด 2 อย่าง ที่ถือว่า 00:00:03.904 --> 00:00:06.262 อย่างน้อยที่ผมสังเกตเห็นใน Khan อะคาเดมี 00:00:06.286 --> 00:00:10.164 ที่ถือว่าเป็นแก่นหลัก หรือจุดหักเหด้านการเรียน 00:00:10.188 --> 00:00:12.204 มันคือแนวคิดเรื่อง ความชำนาญ 00:00:12.228 --> 00:00:14.013 และแนวคิดเรื่อง กรอบความคิด NOTE Paragraph 00:00:14.037 --> 00:00:16.871 ผมสังเกตเห็นตั้งแต่ช่วงแรก ที่เริ่มสอนญาติ ๆ ผมเองแล้ว 00:00:16.895 --> 00:00:18.989 แรกๆ พวกเขาหลายคน มีปัญหากับคณิตศาสตร์ 00:00:18.989 --> 00:00:22.417 เพราะพวกเขามีช่องโหว่ของความเข้าใจ ที่ค่อยๆ สะสมมาเรื่อยระหว่างการเรียน 00:00:22.417 --> 00:00:25.360 ด้วยเหตุนี้ พอถึงจุดหนึ่ง ที่เขาต้องเริ่มเรียนพีชคณิต 00:00:25.360 --> 00:00:28.892 ทั้งที่อาจจะยังมีพื้นฐานไม่แน่นนัก ในบางหัวข้อที่ต้องรู้ก่อนเรียนพีชคณิต 00:00:28.916 --> 00:00:32.361 และนั่นทำให้พวกเขาคิดว่า เขาคงไม่มีหัวทางด้านคณิตศาสตร์ 00:00:32.385 --> 00:00:34.048 หรือเขาอาจต้องเริ่มเรียนแคลคูลัส 00:00:34.072 --> 00:00:36.834 ทั้งที่มีบางหัวข้อในพีชคณิต ที่เขายังไม่เข้าใจดีนัก 00:00:36.858 --> 00:00:38.428 ผมสังเกตุเห็นตั้งแต่ช่วงแรก ๆ 00:00:38.452 --> 00:00:41.980 เมื่อผมอัพโหลดวีดีโอพวกนั้นขึ้นยูทูป 00:00:42.004 --> 00:00:45.281 และพบว่ามีบางคน ที่ไม่ใช่ญาติผม เข้ามาดูด้วย NOTE Paragraph 00:00:45.305 --> 00:00:47.170 (หัวเราะ) NOTE Paragraph 00:00:47.194 --> 00:00:51.060 ในช่วงแรก ก็มีคอมเม้นต์ แค่ประเภท ขอบคุณนะ 00:00:51.084 --> 00:00:53.053 ผมคิดว่านั่นเจ๋งมากเลย 00:00:53.077 --> 00:00:55.529 ผมไม่รู้เหมือนกันว่าพวกคุณ ใช้เวลาบนยูทูปมากแค่ไหน 00:00:55.553 --> 00:00:57.700 แต่ปกติคอมเม้นต์ส่วนใหญ่ มักจะไม่ใช่ "ขอบคุณ" NOTE Paragraph 00:00:57.700 --> 00:00:59.121 (หัวเราะ) NOTE Paragraph 00:00:59.145 --> 00:01:00.783 มันมักจะทำให้หงุดหงิดซะมากกว่า 00:01:00.807 --> 00:01:03.238 แล้วเหล่าคอมเม้นต์ ก็เริ่มเข้มข้นขึ้นเรื่อยๆ 00:01:03.262 --> 00:01:07.718 นักเรียนคนแล้วคนเล่า บอกว่า พวกเขาโตขึ้นมาโดยไม่ชอบคณิตศาสตร์เลย 00:01:07.742 --> 00:01:10.795 มันยากขึ้นเรื่อย ๆ เมื่อเขาเรียนถึง คณิตศาสตร์ขั้นสูงขึ้นไป 00:01:10.795 --> 00:01:12.493 เมื่อตอนที่พวกเขาเรียนไปถึงพีชคณิต 00:01:12.517 --> 00:01:15.289 พวกเขาต่างก็มีช่องโหว่ของความรู้ ที่พวกเขาไม่รู้จะทำอย่างไร 00:01:15.289 --> 00:01:17.476 พวกเขาคิดไปเองว่า เขาคงไม่มีหัวทางเลข 00:01:17.476 --> 00:01:18.710 แต่เมื่อพวกเขาอายุมากขึ้น 00:01:18.710 --> 00:01:21.407 เริ่มบังคับใจตัวเองได้มากขึ้น ก็ตัดสินใจที่จะตั้งใจเรียน 00:01:21.407 --> 00:01:23.589 พวกเขาได้เจอแหล่งข้อมูลอย่าง Khan อะคาเดมี 00:01:23.593 --> 00:01:26.403 และสามารถเติมเต็มช่องโหว่ที่เคยมี จนเชี่ยวชาญในแนวคิดเหล่านั้น 00:01:26.403 --> 00:01:29.467 สิ่งนั้นตอกย้ำกรอบความคิดของเขา ว่าความสามารถไม่ได้คงที่ตายตัว 00:01:29.467 --> 00:01:32.966 ว่าพวกเขาเอง ก็มีความสามารถ ที่จะเรียนคณิตศาสตร์ได้ NOTE Paragraph 00:01:32.990 --> 00:01:37.043 มันก็เหมือนกับการฝึกฝน ความเชี่ยวชาญหลาย ๆ อย่างในชีวิต 00:01:37.067 --> 00:01:39.366 การเรียนศิลปะการป้องกันตัว ก็ต้องใช้วิธีนี้ 00:01:39.390 --> 00:01:42.480 ในศิลปะการป้องกันตัว คุณเริ่มฝึก ทักษะเบื้องต้นในระดับสายขาว 00:01:42.480 --> 00:01:43.817 นานเท่าที่จะจำเป็น 00:01:43.817 --> 00:01:45.758 ต่อเมื่อคุณเชี่ยวชาญทักษะเหล่านั้นแล้ว 00:01:45.758 --> 00:01:47.611 คุณจึงจะก้าวขึ้นไปเป็นสายเหลืองได้ 00:01:47.611 --> 00:01:50.042 เช่นเดียวกับที่คุณหัดเล่น เครื่องดนตรีซักอย่าง 00:01:50.042 --> 00:01:52.114 คุณเริ่มฝึกโน้ตง่ายๆ ซ้ำแล้วซ้ำอีก 00:01:52.114 --> 00:01:53.596 ต่อเมื่อคุณเชี่ยวชาญพื้นฐานแล้ว 00:01:53.596 --> 00:01:55.547 คุณจึงจะก้าวต่อไปในการฝึกขั้นสูงขึ้นได้ NOTE Paragraph 00:01:55.547 --> 00:01:56.971 แต่ผมอยากชี้ให้เห็นว่า 00:01:56.971 --> 00:02:01.294 นี่ไม่ใช่โครงสร้างที่เป็นอยู่ ในโมเดลการศึกษาแบบดั้งเดิม 00:02:01.294 --> 00:02:04.663 โมเดลการศึกษาที่พวกเราส่วนมาก เติบโตขึ้นมาในระบบนั้น 00:02:04.663 --> 00:02:06.295 ในโมเดลการศึกษาดั้งเดิม 00:02:06.295 --> 00:02:08.672 เราจัดนักเรียนเป็นกลุ่ม โดยมากมักจะตามอายุ 00:02:08.672 --> 00:02:09.955 และพอเข้าชั้นมัธยม 00:02:09.955 --> 00:02:11.861 ก็จัดกลุ่มตามอายุและทักษะที่มองเห็นได้ 00:02:11.885 --> 00:02:14.703 แล้วเราก็ต้อนพวกเขาไปด้วยกัน ด้วยอัตราเร็วเท่า ๆ กัน 00:02:14.798 --> 00:02:16.405 และสิ่งที่มักจะเกิดขึ้นเสมอก็คือ 00:02:16.405 --> 00:02:18.860 สมมติเราอยู่ในชั้นเรียน เตรียมพีชคณิตระดับมัธยม 00:02:18.884 --> 00:02:20.678 และบทเรียนตอนนี้คือเลขยกกำลัง 00:02:20.702 --> 00:02:22.892 ครูจะอธิบายให้ฟังในห้องเรื่องเลขยกกำลัง 00:02:22.916 --> 00:02:25.201 แล้วเราก็กลับบ้าน ทำการบ้าน 00:02:25.225 --> 00:02:27.279 เช้าวันต่อมา เรามาทบทวนการบ้านกัน 00:02:27.303 --> 00:02:29.651 แล้วครูก็สอน ตามด้วยการบ้าน สอน แล้วก็การบ้าน 00:02:29.675 --> 00:02:31.936 เป็นแบบนี้ไปประมาณสองหรือสามสัปดาห์ 00:02:31.960 --> 00:02:33.135 แล้วเราก็จะมีการทดสอบ 00:02:33.159 --> 00:02:36.477 ในการสอบครั้งนั้น ผมอาจจะได้คะแนน 75 เปอร์เซ็นต์ 00:02:36.501 --> 00:02:37.918 คุณอาจจะได้ 90 เปอร์เซ็นต์ 00:02:37.942 --> 00:02:39.926 ส่วนคุณอาจจะได้ 95 เปอร์เซ็นต์ 00:02:39.950 --> 00:02:42.631 และแม้ว่าการทดสอบ จะระบุว่าเรายังมีช่องโหว่ทางความรู้อยู่ 00:02:42.631 --> 00:02:44.564 ผมไม่รู้มากถึง 25 เปอร์เซ็นต์ของเนื้อหา 00:02:44.564 --> 00:02:47.420 แม้แต่นักเรียนเกรดเอ ก็ยังมีอีก 5 เปอร์เซ็นต์ที่พวกเขาไม่รู้ NOTE Paragraph 00:02:47.420 --> 00:02:49.573 ทั้งที่เห็นแล้วว่า นักเรียนมีช่องโหว่เหล่านั้น 00:02:49.573 --> 00:02:52.075 แต่ทั้งชั้นก็จะข้ามไปเรียน บทเรียนอื่นต่อไป 00:02:52.099 --> 00:02:55.501 อาจจะเป็นหัวข้อขั้นสูงกว่าเดิม และต่อยอดจากช่องโหว่เหล่านั้น 00:02:55.525 --> 00:02:58.898 อาจจะเป็นเรื่องลอการิทึม หรือเลขยกกำลังลบ 00:02:58.922 --> 00:03:00.867 แล้วกระบวนการก็ดำเนินไปแบบนี้ 00:03:00.867 --> 00:03:03.152 และคุณก็เริ่มรู้สึกได้ว่า มันแปลกเหลือเกิน 00:03:03.176 --> 00:03:05.947 ผมไม่รู้เรื่องที่เป็นพื้นฐาน ถึง 25 เปอร์เซ็นต์ 00:03:05.971 --> 00:03:08.416 แต่ผมถูกผลักให้เรียน เนื้อหาขั้นสูงที่ซับซ้อนขึ้น 00:03:08.440 --> 00:03:11.716 เป็นแบบนี้ต่อเนื่อง หลายเดือน หลายปี ไปจนถึงจุดหนึ่ง 00:03:11.716 --> 00:03:14.616 ผมอาจจะเรียนไปถึงพีชคณิต หรือตรีโกณมิติ 00:03:14.640 --> 00:03:15.897 แล้วผมก็จะชนกำแพง 00:03:15.921 --> 00:03:18.575 และนั่นไม่ใช่เพราะพีชคณิตนั้น ยากเย็นแสนเข็ญโดยตัวมันเอง 00:03:18.599 --> 00:03:22.591 หรือเพราะนักเรียนไม่ฉลาดพอ 00:03:22.615 --> 00:03:25.926 มันเป็นเพราะว่า เมื่อผมเห็นสมการ และมันประกอบด้วยเลขยกกำลัง 00:03:25.950 --> 00:03:28.679 นั่นคือ 30 เปอร์เซ็นต์ที่ผมไม่รู้ มันย้อนกลับมาอีกแล้ว 00:03:28.703 --> 00:03:31.532 แล้วผมก็เริ่มละความพยายาม NOTE Paragraph 00:03:32.219 --> 00:03:35.895 เพื่อให้เข้าใจว่าเรื่องนี้ มันไม่สมเหตุสมผลแค่ไหน 00:03:35.919 --> 00:03:38.664 ลองนึกภาพว่าเราทำ อย่างอื่นในชีวิตด้วยวิธีนี้ดู 00:03:39.124 --> 00:03:40.578 ตัวอย่างเช่น การสร้างบ้าน NOTE Paragraph 00:03:40.602 --> 00:03:43.275 (หัวเราะ) NOTE Paragraph 00:03:44.878 --> 00:03:48.272 เราเรียกผู้รับเหมามา แล้วบอกว่า 00:03:48.296 --> 00:03:50.844 "เรามีเวลาสองสัปดาห์ ที่จะสร้างฐานรากให้เสร็จ 00:03:50.868 --> 00:03:52.204 ทำได้เท่าไหร่เท่ากัน" NOTE Paragraph 00:03:52.228 --> 00:03:54.531 (หัวเราะ) NOTE Paragraph 00:03:54.985 --> 00:03:56.777 พวกเขาก็ทำ เท่าที่จะทำได้ 00:03:56.801 --> 00:03:57.957 บางทีฝนอาจจะเทลงมา 00:03:57.981 --> 00:03:59.950 บางทีของบางอย่างก็ไม่มาส่ง 00:03:59.974 --> 00:04:03.284 และสองอาทิตย์ให้หลัง ผู้ตรวจงานก็มา เดินดูรอบๆ 00:04:03.308 --> 00:04:05.973 แล้วว่า "โอเค ปูนตรงนั้นยังไม่แห้งดีเลย 00:04:05.997 --> 00:04:08.389 และส่วนนั้นก็ยังไม่ได้มาตรฐาน 00:04:08.838 --> 00:04:10.196 ผมให้คะแนนแค่ 80 เปอร์เซ็นต์" NOTE Paragraph 00:04:10.220 --> 00:04:11.284 (หัวเราะ) NOTE Paragraph 00:04:11.308 --> 00:04:14.027 คุณบอกว่า "เยี่ยม นั่นเกรดซี ผ่านละ มาสร้างชั้นแรกกันเถอะ" NOTE Paragraph 00:04:14.027 --> 00:04:14.989 (หัวเราะ) NOTE Paragraph 00:04:14.989 --> 00:04:16.173 เหมือนเดิม 00:04:16.173 --> 00:04:20.126 เรามีเวลาสองอาทิตย์ ทำเท่าที่ทำได้ ผู้คุมงานมาตรวจ ให้ 75 เปอร์เซ็นต์ 00:04:20.150 --> 00:04:21.263 เยี่ยมเลย นั่นเกรด D บวก 00:04:21.263 --> 00:04:22.313 ชั้นที่สอง ชั้นที่สาม 00:04:22.313 --> 00:04:24.245 ทันใดนั้น ขณะที่คุณกำลังสร้างชั้นสาม 00:04:24.245 --> 00:04:26.525 โครงสร้างทั้งหลังก็พังครืนลง 00:04:26.525 --> 00:04:29.453 ถ้าปฏิกิริยาของคุณ เหมือนปฏิกิริยา ที่คุณมักมีต่อการศึกษา 00:04:29.453 --> 00:04:31.058 หรือเหมือนที่คนจำนวนมากเป็น 00:04:31.058 --> 00:04:33.298 คุณอาจจะบอกว่า เป็นเพราะเรามีผู้รับเหมาที่แย่ 00:04:33.298 --> 00:04:36.721 หรือเราอาจต้องมีผู้ตรวจงานที่ดีกว่านี้ หรือตรวจบ่อยกว่านี้ 00:04:36.745 --> 00:04:38.994 แต่สิ่งที่เป็นปัญหาจริง ๆ ก็คือกระบวนการ 00:04:39.018 --> 00:04:42.047 เราสร้างข้อจำกัดเทียม ว่างานแต่ละอย่างต้องใช้เวลาแค่ไหน 00:04:42.071 --> 00:04:44.444 ซึ่งแน่นอนว่าย่อมให้ผลลัพธ์ที่ไม่สม่ำเสมอ 00:04:44.468 --> 00:04:47.992 แล้วเราก็มัวมุ่งให้ความสำคัญกับการสอบ แล้วก็พยายามหาช่องโหว่ต่าง ๆ 00:04:48.016 --> 00:04:49.949 แต่แล้ว เราก็ดันสร้างต่อยอดขึ้นไปอีก NOTE Paragraph 00:04:49.973 --> 00:04:52.910 ดังนั้น แนวคิดเรื่องการเรียนให้เชี่ยวชาญ คือการทำตรงกันข้าม 00:04:52.934 --> 00:04:55.402 แทนที่จะสร้างข้อจำกัดเทียมโดยบังคับว่า 00:04:55.426 --> 00:04:57.414 คุณจะทำงานบางอย่างเมื่อไหร่ และนานแค่ไหน 00:04:57.438 --> 00:04:59.656 ซึ่งแน่นอนว่าให้ผลลัพธ์ที่แปรผันได้ 00:04:59.680 --> 00:05:01.353 เกิดเป็นเกรด เอ บี ซี ดี เอฟ 00:05:01.980 --> 00:05:03.464 ก็ให้ทำในทางตรงกันข้าม 00:05:03.844 --> 00:05:05.636 สิ่งที่แปรผันได้ คือจังหวะและช่วงเวลา 00:05:05.660 --> 00:05:07.754 ที่นักเรียนใช้สำหรับเรียนรู้อะไรบางอย่าง 00:05:07.778 --> 00:05:11.025 และสิ่งที่เรากำหนดให้คงที่คือ ทุกคนจะต้องเชี่ยวชาญในเนื้อหานั้น NOTE Paragraph 00:05:11.445 --> 00:05:13.096 และมันสำคัญที่เราต้องตระหนักว่า 00:05:13.120 --> 00:05:16.485 วิธีนี่ไม่เพียงแต่ช่วยให้นักเรียน เรียนเลขยกกำลังได้ดีขึ้น 00:05:16.509 --> 00:05:19.467 แต่มันจะช่วยตอกย้ำ กรอบความคิดที่ถูกต้องด้วย 00:05:19.491 --> 00:05:22.919 มันจะช่วยให้นักเรียนตระหนักว่า ถ้าพวกเขาตอบผิด 20 เปอร์เซ็นต์ในบางหัวข้อ 00:05:22.943 --> 00:05:26.332 มันไม่ได้หมายความว่า คุณมีเกรดซึฝังติดมาใน DNA 00:05:26.356 --> 00:05:28.790 มันแค่หมายความว่า คุณควรจะ ต้องกลับไปทบทวนบทเรียนอีก 00:05:28.814 --> 00:05:31.306 คุณควรจะต้องอดทน ต้องมานะพากเพียร 00:05:31.330 --> 00:05:33.471 คุณควรรับผิดชอบการเรียนรู้ของคุณเอง NOTE Paragraph 00:05:33.908 --> 00:05:36.898 ทีนี้ คนที่เห็นแย้งหลายคน อาจบอกว่า มันฟังดูดีนะ 00:05:36.922 --> 00:05:39.643 ในทางทฤษฎี ไอเดียเรื่อง การเรียนรู้ให้เชี่ยวชาญ 00:05:39.667 --> 00:05:41.103 แล้วความเชื่อมโยงกับกรอบความคิดน่ะ 00:05:41.127 --> 00:05:43.226 นักเรียนจัดการตนเองในการเรียน 00:05:43.250 --> 00:05:46.385 มันฟังดูเข้าท่ามากนะ แต่มันดูเหมือนจะไม่เวิร์คในทางปฏิบัติ 00:05:46.409 --> 00:05:49.806 ถ้าจะทำจริงๆ นักเรียนแต่ละคน จะต้องเรียนอยู่ในแนวทางของตัวเอง 00:05:49.830 --> 00:05:51.454 ต้องปรับให้เข้ากับแต่ละคน 00:05:51.478 --> 00:05:54.244 คุณจะต้องใช้ครูพิเศษแบบตัวต่อตัว แล้วก็ใช้แบบฝึกหัดเฉพาะตัว 00:05:54.244 --> 00:05:55.927 และนั่นก็ไม่ใช่แนวคิดใหม่เลย 00:05:55.927 --> 00:05:58.747 เคยมีการทดลองในเมืองวินเน็ตก้า อิลลินอยส์ เมื่อ 100 ปีก่อน 00:05:58.747 --> 00:06:01.875 เมื่อพวกเขาทดลองการเรียนรู้ให้เชี่ยวชาญ แล้วได้ผลดีเยี่ยม 00:06:01.899 --> 00:06:05.020 แต่มันขยายผลออกไปไม่ได้ เพราะว่ามันยุ่งยากในด้านการจัดการ 00:06:05.020 --> 00:06:07.491 ครูจะต้องแจกแบบฝึกหัด ที่แตกต่างกันให้นักเรียนแต่ละคน 00:06:07.491 --> 00:06:09.439 ต้องทำการประเมินผลเมื่อไหร่ก็ได้ NOTE Paragraph 00:06:09.463 --> 00:06:11.724 แต่ในวันนี้ เรื่องพวกนั้น เป็นไปได้แล้ว 00:06:11.748 --> 00:06:13.114 เรามีเครื่องมือที่จะทำได้ 00:06:13.138 --> 00:06:15.733 จะให้นักเรียนฟังคำอธิบาย ในช่วงเวลาของแต่ละคนน่ะหรือ? 00:06:15.757 --> 00:06:17.352 เรามีวิดีโอที่ดูเมื่อไหร่ก็ได้ 00:06:17.376 --> 00:06:19.448 ต้องการแบบฝึกหัด? ต้องการการติชม? 00:06:19.472 --> 00:06:23.912 มันมีแบบฝึกหัดที่ปรับตัวไปตาม นักเรียนแต่ละคนได้ NOTE Paragraph 00:06:24.311 --> 00:06:26.905 และเมื่อมีสิ่งต่าง ๆ เหล่านั้น ก็เกิดเรื่องดี ๆ ตามมา 00:06:26.929 --> 00:06:29.702 อย่างแรก นักเรียนสามารถ เชี่ยวชาญแนวคิดหลักได้จริง ๆ 00:06:29.726 --> 00:06:31.921 และก็ยังสร้างกรอบความคิด ที่เชื่อในการเติบโต 00:06:31.945 --> 00:06:33.742 สร้างความมานะอดทน พากเพียรพยายาม 00:06:33.766 --> 00:06:35.789 พวกเขาได้ฝึกควบคุมตัวเองในการเรียนรู้ 00:06:35.813 --> 00:06:38.314 และยังมีเรื่องสวยงามอื่น ๆ ที่สามารถเริ่มเกิดขึ้นได้ 00:06:38.314 --> 00:06:39.944 ในห้องเรียนจริง ๆ 00:06:39.944 --> 00:06:41.936 แทนที่จะต้องมานั่งฟังการอธิบายเนื้อหา 00:06:41.936 --> 00:06:43.768 นักเรียนสามารถมีปฏิสัมพันธ์กับคนอื่น ๆ 00:06:43.768 --> 00:06:46.120 ฝึกให้เชี่ยวชาญลึกซึ้งในเนื้อหามากขึ้นได้ 00:06:46.120 --> 00:06:48.563 พวกเขาสามารถเล่นกับสถานการณ์สมมติ บทสนทนาแบบโสกราตีส NOTE Paragraph 00:06:48.563 --> 00:06:51.216 เพื่อให้เข้าใจสิ่งที่เรากำลังพูดกันอยู่นี้ 00:06:51.240 --> 00:06:55.287 และความน่าเศร้าของศักยภาพที่สูญเสียไป 00:06:55.311 --> 00:06:58.454 ผมอยากจะให้ทดลองคิดกันเล่น ๆ 00:06:58.985 --> 00:07:04.051 ถ้าเราย้อนเวลากลับไป ซัก 400 ปี ในยุโรปตะวันตก 00:07:04.075 --> 00:07:07.239 ซึ่ง ณ ขณะนั้นเป็นภาคพื้นที่มี คนรู้หนังสือมากกว่าทวีปอื่นในโลก 00:07:07.263 --> 00:07:10.990 คุณจะเห็นได้ว่า มีผู้คนประมาณ 15 เปอร์เซ็นต์ ที่อ่านหนังสือได้ 00:07:11.556 --> 00:07:15.194 และผมคาดว่า ถ้าคุณถามใครซักคน ที่อ่านหนังสือได้ 00:07:15.218 --> 00:07:17.114 อย่างเช่น คนที่ทำงานในโบสถ์ 00:07:17.138 --> 00:07:20.750 "คุณคิดว่า มีประชากรซักกี่เปอร์เซ็นต์ ที่จะสามารถอ่านออกเขียนได้" 00:07:20.774 --> 00:07:24.335 เขาอาจบอกว่า "ด้วยระบบ การศึกษาที่ดีแล้วนะ 00:07:24.359 --> 00:07:26.603 อาจจะประมาณ 20 ถึง 30 เปอร์เซ็นต์" 00:07:27.424 --> 00:07:29.011 แต่ถ้าคุณกลับมาในยุคปัจจุบัน 00:07:29.035 --> 00:07:32.050 เรารู้กันแล้วว่า การคาดการณ์นั้น ต่ำกว่าความเป็นจริงไปมาก 00:07:32.074 --> 00:07:36.199 ความจริงแล้ว เกือบทั้ง 100 เปอร์เซ็นต์ ของประชากรสามารถอ่านออกเขียนได้ 00:07:36.223 --> 00:07:38.774 แต่ถ้าผมจะถามคุณด้วย คำถามคล้าย ๆ กัน 00:07:39.494 --> 00:07:43.033 "มีประชากรซักกี่เปอร์เซ็นต์ ที่คุณคิดว่ามีความสามารถ 00:07:43.057 --> 00:07:45.930 ที่จะเชี่ยวชาญแคลคูลัสได้ 00:07:45.954 --> 00:07:48.967 หรือจะเข้าใจชีวเคมี 00:07:48.991 --> 00:07:52.277 หรือสามารถมีส่วนช่วยเหลือ ในการทำวิจัยโรคมะเร็งได้?" 00:07:52.301 --> 00:07:55.198 พวกคุณหลายคนคงตอบว่า "ถ้าด้วยระบบการศึกษาที่ดีนะ 00:07:55.222 --> 00:07:57.244 อาจจะประมาณ 20 ถึง 30 เปอร์เซ็นต์" NOTE Paragraph 00:07:57.778 --> 00:07:59.091 แต่ถ้าหากการคาดการณ์นั้น 00:07:59.115 --> 00:08:02.502 มีรากฐานมาจากประสบการณ์ของคุณเอง ที่โตมาจากระบบที่ไม่เน้นความเชี่ยวชาญ 00:08:02.526 --> 00:08:05.358 จากประสบการณ์ของคุณเอง หรือการเฝ้าสังเกตคนอื่น ๆ 00:08:05.382 --> 00:08:07.905 ซึ่งคุณถูกผลักให้ก้าวไปข้างหน้า ผ่านชั้นเรียนต่าง ๆ 00:08:07.905 --> 00:08:09.584 และสะสมช่องโหว่ความรู้ไปเรื่อยๆ ล่ะ 00:08:09.584 --> 00:08:11.239 แม้ว่าคุณจะทำได้ถึง 95 เปอร์เซ็นต์ 00:08:11.239 --> 00:08:13.065 แล้วอีก 5 เปอร์เซ็นต์ที่ขาดไป อยู่ไหน? 00:08:13.065 --> 00:08:15.826 และมันจะสะสมไปเรื่อย ๆ คุณเรียนชั้นสูงขึ้น 00:08:15.826 --> 00:08:17.516 ทันใดนั้น คุณก็ชนกำแพง แล้วบอกว่า 00:08:17.516 --> 00:08:19.459 "ฉันคงไม่เหมาะที่จะทำงานวิจัยมะเร็ง 00:08:19.459 --> 00:08:22.195 ไม่เหมาะจะเป็นนักฟิสิกส์ ไม่เหมาะจะเป็นนักคณิตศาสตร์" 00:08:22.195 --> 00:08:24.662 ผมเดาว่ามันจะออกมาในรูปนั้น 00:08:24.686 --> 00:08:28.512 แต่ถ้าคุณได้โอกาสที่จะเรียนรู้ ในกรอบการเรียนให้เชี่ยวชาญแล้ว 00:08:28.536 --> 00:08:31.953 ถ้ามีโอกาสที่จะจัดการตัวเอง ในด้านการเรียนรู้ 00:08:31.977 --> 00:08:33.573 และถ้าคุณทำโจทย์ผิด 00:08:33.597 --> 00:08:36.389 นำมันมาใช้ มองความผิดพลาด เป็นจังหวะแห่งการเรียนรู้ 00:08:36.413 --> 00:08:40.370 ตัวเลขนั้น เปอร์เซ็นต์ของผู้คน ที่สามารถเชี่ยวชาญแคลคูลัส 00:08:40.394 --> 00:08:42.154 หรือเข้าใจชีวเคมี 00:08:42.178 --> 00:08:44.680 คงมีตัวเลขเข้าใกล้ 100 เปอร์เซ็นต์ขึ้นอีกมาก NOTE Paragraph 00:08:45.601 --> 00:08:48.458 และนี่ไม่ใช่แค่สิ่งที่ "ทำได้ก็ดีนะ" 00:08:49.019 --> 00:08:51.082 ผมคิดว่ามันเป็นสิ่งที่จำเป็นต่อสังคม 00:08:51.511 --> 00:08:55.362 เรากำลังออกจากยุคที่คุณเรียกว่า ยุคอุตสาหกรรม 00:08:55.386 --> 00:08:59.190 และเรากำลังก้าวเข้าสู่การปฏิวัติสารสนเทศ 00:08:59.646 --> 00:09:01.820 เห็นได้ชัดว่าการเปลี่ยนแปลงกำลังเกิดขึ้น 00:09:01.844 --> 00:09:03.957 ในยุคอุตสาหกรรม สังคมมีโครงสร้างเป็นปิรามิด 00:09:03.981 --> 00:09:08.633 ที่ฐานของปิรามิด คือชนชั้นใช้แรงงานจำนวนมาก 00:09:09.085 --> 00:09:12.418 ส่วนกลางของปิรามิด คุณมีกลุ่มคนที่ทำงานประมวลข้อมูล 00:09:12.442 --> 00:09:14.040 เป็นกลุ่มชนชั้นกลาง 00:09:14.064 --> 00:09:17.738 และที่ส่วนยอดของปิรามิด จะเป็นเหล่าเจ้าของทุน 00:09:17.762 --> 00:09:19.761 เจ้าของกิจการทั้งหลาย 00:09:19.785 --> 00:09:21.507 และชนชั้นผู้สร้างสรรค์ 00:09:21.904 --> 00:09:23.700 แต่เรารู้กันแล้วว่ากำลังเกิดอะไรขึ้น 00:09:23.724 --> 00:09:25.739 ขณะที่เรากำลังเข้าสู่ยุคปฏิวัติสารสนเทศ 00:09:25.763 --> 00:09:28.716 ด้านล่างของปิรามิดกำลังถูก ยึดครองด้วยเครื่องอัตโนมัติ 00:09:28.740 --> 00:09:31.065 รวมไปถึงกลุ่มชนชั้นกลาง ที่ทำงานประมวลข้อมูล 00:09:31.089 --> 00:09:32.715 นั่นเป็นสิ่งที่คอมพิวเตอร์ทำได้ดี NOTE Paragraph 00:09:32.739 --> 00:09:34.586 ดังนั้น สังคมของเราเผชิญกับคำถามว่า 00:09:34.586 --> 00:09:37.372 ประสิทธิผลใหม่ ๆ ทั้งหลาย ที่กำลังเกิดขึ้นเพราะเทคโนโลยีนี้ 00:09:37.372 --> 00:09:38.956 ใครบ้างที่จะมีส่วนในเรื่องนี้? 00:09:38.956 --> 00:09:41.625 หรือจะเป็นแค่เพียงคนกลุ่มที่ อยู่บนยอดของปิรามิดเท่านั้น 00:09:41.625 --> 00:09:43.550 แล้วคนอื่น ๆ ที่เหลือทั้งหมดจะทำอะไร? 00:09:43.550 --> 00:09:44.866 พวกเขาจะอยู่กันอย่างไร? 00:09:44.866 --> 00:09:47.410 หรือว่าเราจะทำอะไรบางอย่าง ที่มันทะเยอทะยานกว่านี้? 00:09:47.581 --> 00:09:50.691 เราจะพยายามพลิกปิรามิด กลับหัวกันหน่อยมั้ย 00:09:50.715 --> 00:09:52.716 จะได้มีชนชั้นสร้างสรรค์เป็นจำนวนมาก ๆ 00:09:52.740 --> 00:09:56.421 แทบทุกคนสามารถมีส่วนร่วม ในฐานะเจ้าของกิจการ 00:09:56.445 --> 00:09:58.750 หรือศิลปิน หรือนักวิจัย? NOTE Paragraph 00:09:58.750 --> 00:10:00.860 และผมไม่คิดว่านั่นคือ โลกอุดมคติที่เกินเอื้อม 00:10:00.860 --> 00:10:03.168 ผมเชื่อจริง ๆ ว่ามันมีรากฐานจากแนวคิด 00:10:03.192 --> 00:10:05.376 ว่าถ้าเรายินยอมให้ผู้คน เข้าถึงศักยภาพตัวเอง 00:10:05.400 --> 00:10:07.364 โดยฝึกฝนเรียนรู้แนวคิดจนเชี่ยวชาญ 00:10:07.388 --> 00:10:10.965 โดยสามารถใช้สิทธิ จัดการการเรียนรู้ของตัวเอง 00:10:10.989 --> 00:10:12.331 พวกเขาจะไปถึงที่นั่นได้ 00:10:12.672 --> 00:10:16.672 และถ้าคุณลองคิดดู ในฐานะพลเมืองของโลก 00:10:16.696 --> 00:10:17.959 มันน่าตื่นเต้นมาก 00:10:17.983 --> 00:10:20.611 ลองคิดดูว่า จะเกิดความเที่ยงธรรมขึ้นขนาดไหน 00:10:20.635 --> 00:10:23.839 อารยธรรมของเราจะก้าวหน้า ไปด้วยอัตราเร็วแค่ไหน 00:10:24.339 --> 00:10:26.552 ดังนั้น ผมเชื่อมากว่ามันเป็นไปได้ 00:10:26.576 --> 00:10:30.139 ผมคิดว่ามันจะเป็นช่วงเวลา อันน่าตื่นเต้นที่จะได้มีชีวิตอยู่ NOTE Paragraph 00:10:30.163 --> 00:10:31.379 ขอบคุณครับ NOTE Paragraph 00:10:31.379 --> 00:10:36.830 (เสียงปรบมือ)