< Return to Video

งานในอนาคต หน้าตาจะเป็นยังไง?

  • 0:00 - 0:03
    นักเขียน จอร์จ เอเลียต (George Eliot) เตือนพวกเราเอาไว้ว่า
  • 0:03 - 0:07
    ในท่ามกลางความผิดพลาดทุกรูปแบบ
    การทำนายถือว่าเปล่าประโยชน์ที่สุด
  • 0:08 - 0:10
    บุคคลที่พวกเราทุกคนรับรู้กันในฐานะ
  • 0:10 - 0:14
    ของคู่เหมือนของเธอในศตวรรษที่ 20 ซึ่งก็คือโยกี เบอร์รา (Yogi Berra) เห็นด้วยเช่นนั้น
  • 0:14 - 0:16
    เขาพูดว่า "มันยากที่จะทำนาย
  • 0:16 - 0:18
    โดยเฉพาะอย่างยิ่งเกี่ยวกับอนาคต"
  • 0:18 - 0:20
    ผมกำลังจะละเลยคำเตือนเหล่านั้น
  • 0:20 - 0:22
    แล้วทำการทำนายอะไรบางอย่างที่เฉพาะเจาะจงเอามากๆ
  • 0:22 - 0:25
    ในโลกที่พวกเรากำลังสร้างอย่างเร็วๆนี้
  • 0:25 - 0:27
    เรากำลังจะเห็นสิ่งต่างๆ
  • 0:27 - 0:28
    ที่ดูราวกับนิยายวิทยาศาสตร์มากขึ้นเรื่อยๆ
  • 0:28 - 0:31
    และก็จะสิ่งที่ดูเหมือนงานอาชีพน้อยลงเรื่อยๆ
  • 0:31 - 0:34
    รถของพวกเรากำลังจะขับเคลื่อนได้เองในเร็ววันนี้
  • 0:34 - 0:37
    ซึ่งหมายความว่าเรากำลังจะต้องการคนขับรถบรรทุกน้อยลง
  • 0:37 - 0:39
    เรากำลังจะใช้ Siri เชื่อมต่อกับ Watson
  • 0:39 - 0:42
    ในการทำงานอัตโนมัติหลายๆอย่าง
  • 0:42 - 0:44
    ที่ตอนนี้กำลังดำเนินการโดยตัวแทนฝ่ายบริการลูกค้า
  • 0:44 - 0:47
    และผู้ระบุปัญหา (troubleshooters) และผู้วินิจฉัยปัญหา (diagnosers)
  • 0:47 - 0:49
    และพวกเราได้นำ R2D2 ไปใช้แล้ว
  • 0:49 - 0:52
    ทาสีเขาด้วยสีส้ม แล้วเอาเขาไปทำงาน
  • 0:52 - 0:55
    แบกชั้นต่างๆไปรอบๆโกดัง
  • 0:55 - 0:57
    ซึ่งหมายความว่าเราต้องการคนน้อยลงมาก
  • 0:57 - 0:59
    ในการเดินขึ้นและลงทางเดินเหล่านั้น
  • 0:59 - 1:03
    ตอนนี้ เป็นเวลา 200 ปีแล้ว
  • 1:03 - 1:05
    ผู้คนได้พากันพูดอย่างเดียวกันเป๊ะกับที่ผมกำลังบอกพวกคุณ
  • 1:05 - 1:08
    ยุคของการว่างงานเพราะเทคโนโลยีได้มาถึงแล้ว
  • 1:08 - 1:10
    เริ่มด้วยการที่กลุ่ม Luddites ทำลายเครื่องทอผ้าในอังกฤษ
  • 1:10 - 1:12
    เมื่อประมาณสองศตวรรษที่แล้ว
  • 1:12 - 1:14
    และพวกเขาก็คาดผิดไป
  • 1:14 - 1:16
    ระบบเศรษฐกิจของพวกเราในโลกพัฒนาแล้ว
  • 1:16 - 1:18
    ได้ดำเนินควบคู่ไปกับบางอย่าง
  • 1:18 - 1:20
    ที่ใกล้เคียงกับการจ้างงานอย่างเต็มที่
  • 1:20 - 1:21
    ซึ่งนำมาสู่คำถามสำคัญที่ว่า
  • 1:21 - 1:24
    ทำไมคราวนี้มันถึงแตกต่าง ถ้าหากว่ามันเป็นอย่างนั้นจริง
  • 1:24 - 1:27
    เหตุผลที่มันแตกต่างก็คือว่า ในช่วงเมื่อไม่กี่ปีที่ผ่านมานี้
  • 1:27 - 1:29
    เครื่องจักรของพวกเราได้เริ่มแสดงให้เห็นความสามารถ
  • 1:29 - 1:31
    ที่พวกมันไม่เคยมีมาก่อน:
  • 1:31 - 1:35
    เข้าใจ พูด ฟัง เห็น
  • 1:35 - 1:39
    ตอบ เขียน และพวกมันกำลังเรียนรู้ทักษะใหม่ๆ
  • 1:39 - 1:41
    ยกตัวอย่างเช่น หุ่นยนต์ฮิวแมนนอยด์แบบเคลื่อนที่
  • 1:41 - 1:43
    ยังอยู่ในระดับเริ่มต้นมากๆ
  • 1:43 - 1:45
    แต่หน่วยวิจัยของกระทรวงกลาโหม
  • 1:45 - 1:47
    เพิ่งประกาศการแข่งขัน
  • 1:47 - 1:49
    ที่มีพวกมันทำสิ่งต่างๆเหล่านี้
  • 1:49 - 1:51
    และถ้าสถิติการติดตามบ่งบอกอะไรได้บ้าง
  • 1:51 - 1:53
    การแข่งขันนี้กำลังจะประสบความสำเร็จ
  • 1:53 - 1:57
    ดังนั้น ตอนที่ผมมองไปรอบๆ ผมคิดว่าวันนั้นไม่ได้อยู่ไกลเกินไปอีกแล้ว
  • 1:57 - 1:59
    วันที่พวกเรากำลังจะมีแอนดรอยด์
  • 1:59 - 2:02
    ทำงานหลายๆอย่างที่พวกเรากำลังทำกันอยู่ตอนนี้
  • 2:02 - 2:05
    และพวกเรากำลังสร้างโลกที่จะ
  • 2:05 - 2:09
    เต็มไปด้วยเทคโนโลยีมากขึ้นๆและงานที่น้อยลงๆ
  • 2:09 - 2:11
    มันเป็นโลกที่เอริก บรินโจล์ฟสัน (Erik Brynjolfsson)และผมเรียกมันว่า
  • 2:11 - 2:13
    "ยุคเครื่องจักรกลใหม่"
  • 2:13 - 2:15
    สิ่งหนึ่งที่ต้องจำให้ขึ้นใจก็คือ
  • 2:15 - 2:18
    นี่เป็นข่าวดีอย่างยิ่งยวด
  • 2:18 - 2:21
    นี่เป็นข่าวเศรษฐกิจที่ดีที่สุดบนโลกใบนี้ในทุกวันนี้
  • 2:21 - 2:24
    ไม่ใช่ว่ามันมีการแข่งขันมากมาย ใช่มั้ยครับ
  • 2:24 - 2:26
    นี่เป็นข่าวเศรษฐกิจที่ดีที่สุดในทุกวันนี้
  • 2:26 - 2:28
    ด้วยเหตุผลหลักๆสองอย่าง
  • 2:28 - 2:31
    อย่างแรกคือ ความก้าวหน้าทางเทคโนโลยีคือสิ่งที่ทำให้เราสามารถ
  • 2:31 - 2:35
    ดำเนินความเร็วเท่ากับการวิ่งอันน่าทึ่งของพวกเรานี้ต่อไป
  • 2:35 - 2:37
    การพัฒนาอย่างรวดเร็วซึ่งผลลัพธ์เพิ่มขึ้นไปพร้อมกับเวลาที่ดำเนินไป
  • 2:37 - 2:41
    ในขณะเดียวกัน ราคาก็ลดลง
  • 2:41 - 2:45
    และปริมาณและคุณภาพก็เพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่อง
  • 2:45 - 2:47
    ตอนนี้ บางคนมองมาตรงนี้และพูดเกี่ยวกับ
  • 2:47 - 2:48
    แนวคิดวัตถุนิยมอันตื้นเขิน
  • 2:48 - 2:51
    แต่นั่นเป็นหนทางที่ผิดอย่างสิ้นเชิงในการมองมัน
  • 2:51 - 2:53
    นี่มันเยอะมาก ซึ่งเป็นสิ่งที่
  • 2:53 - 2:56
    เราต้องการให้ระบบเศรษฐกิจของเราทำให้เกิดขึ้น
  • 2:56 - 3:00
    เหตุผลที่สองคือ ยุคเครื่องจักรกลใหม่
  • 3:00 - 3:02
    เป็นข่าวดียิ่งยวดที่ว่า เมื่อแอนดรอยด์
  • 3:02 - 3:05
    เริ่มทำงานต่างๆ เราก็ไม่ต้องทำมันอีกต่อไป
  • 3:05 - 3:09
    และเราก็จะเป็นอิสระจากงานกรรมกรแบกหามหนักหน่วงต่างๆ
  • 3:09 - 3:11
    ตอนนี้ เมื่อผมพูดถึงเรืองนี้กับเพื่อนของผม
  • 3:11 - 3:14
    ที่แคมบริดจ์และซิลิคอน วัลเลย์ พวกเขาพูดว่า
  • 3:14 - 3:16
    "ยอดเยี่ยม ไม่มีงานแบกหาม ไม่มีงานหนักอีกต่อไป
  • 3:16 - 3:18
    นี่มันให้โอกาสเราได้จินตนาการ
  • 3:18 - 3:20
    สังคมแบบที่แตกต่างไปจากเดิมอย่างสิ้นเชิงเลยนะ
  • 3:20 - 3:23
    สังคมแบบที่ผู้สร้างและผู้ค้นพบ
  • 3:23 - 3:25
    และผู้ปฏิบัติและผู้สร้างสรรค์
  • 3:25 - 3:28
    มารวมด้วยกันกับผู้อุปถัมภ์และผู้สนับสนุนทางการเงินของพวกเขา
  • 3:28 - 3:31
    เพื่อพูดเกี่ยวกับประเด็นต่างๆ ให้ความบันเทิง ให้ความกระจ่าง
  • 3:31 - 3:33
    กระตุ้นความคิด ซึ่งกันและกัน"
  • 3:33 - 3:38
    มันเป็นสังคมแบบที่ดูคล้ายคลึงกับ TED Conference มากทีเดียว
  • 3:38 - 3:40
    และมันก็ยังมีข้อเท็จจริงมหาศาลอยู่ตรงนี้ด้วย
  • 3:40 - 3:43
    พวกเรากำลังเห็นการเบ่งบานอย่างน่าอัศจรรย์กำลังเกิดขึ้น
  • 3:43 - 3:45
    ในโลกที่การสร้างวัตถุ
  • 3:45 - 3:49
    ง่ายพอๆกับการปรินท์เอกสาร
  • 3:49 - 3:51
    เรามีความเป็นไปได้ใหม่ๆที่น่าทึ่งทั้งหลาย
  • 3:51 - 3:54
    ผู้คนที่เคยเป็นช่างฝีมือและนักทำงานอดิเรก
  • 3:54 - 3:56
    กลายมาเป็นผู้สร้าง และพวกเขาก็รับผิดชอบ
  • 3:56 - 3:59
    ต่อนวัตกรรมจำนวนมหาศาล
  • 3:59 - 4:01
    และศิลปินทั้งหลายที่เคยถูกจำกัดมาก่อน
  • 4:01 - 4:04
    ตอนนี้สามารถทำสิ่งต่างๆที่ไม่เคยเป็นไปได้
  • 4:04 - 4:06
    สำหรับพวกเขามาก่อน
  • 4:06 - 4:08
    เพราะงั้นนี่เป็นช่วงเวลาแห่งการเบ่งบานอันยิ่งใหญ่
  • 4:08 - 4:10
    และยิ่งผมมองไปรอบๆ ผมก็ยิ่งเชื่อมั่นมากขึ้นเรื่อยๆ
  • 4:10 - 4:12
    ["เทคโนโลยีคือของขวัญจากพระเจ้า หลังจากของขวัญแห่งชีวิตแล้ว บางทีนี่อาจจะเป็นของขวัญที่ยิ่งใหญ่ที่สุดของพระเจ้าก็ได้ มันเป็นมารดาแห่งความศิวิไลซ์ของศิลปะและวิทยาศาสตร์" -- ฟรีแมน ไดสัน (Freeman Dyson)]
  • 4:12 - 4:14
    ว่าคำพูดนี้ จากนักฟิสิกส์ ฟรีแมน ไดสัน (Freeman Dyson)
  • 4:14 - 4:16
    ไม่ใช่คำพูดที่เกินจริงเลย
  • 4:16 - 4:19
    นี่เป็นเพียงคำกล่าวพื้นๆของข้อเท็จจริง
  • 4:19 - 4:21
    พวกเรากำลังอยู่กึ่งกลางของช่วงเวลาอันน่าทึ่ง
  • 4:22 - 4:25
    นี่นำมาสู่คำถามที่ยิ่งใหญ่อีกคำถามหนึ่ง:
  • 4:25 - 4:28
    มันจะมีอะไรผิดที่ผิดทางไปได้เล่าในโลกยุคเครื่องจักรกลใหม่นี้
  • 4:28 - 4:31
    ใช่มั้ยครับ เยี่ยมเลย พอล่ะ งอกงาม กลับบ้าน
  • 4:31 - 4:34
    พวกเรากำลังจะเผชิญหน้ากับความท้าทายที่ยุ่งเหยิงสองชุด
  • 4:34 - 4:36
    ในขณะที่เรากำลังมุ่งหน้าลึกเข้าไปสู่อนาคตที่พวกเรากำลังสร้าง
  • 4:36 - 4:40
    ชุดแรกคือ ทางด้านเศรษฐกิจ และมันได้ถูกสรุปเอาไว้อย่างดูดี
  • 4:40 - 4:43
    ในแบบของเรื่องราวจอมปลอม เกี่ยวกับการไปๆมาๆ
  • 4:43 - 4:46
    ระหว่างเฮนรี่ ฟอร์ด ที่สอง (Henry Ford II)
    และวอลเตอร์ รูเธอร์ (Walter Reuther)
  • 4:46 - 4:48
    ซึ่งเป็นหัวหน้าสหภาพคนงานรถยนต์
  • 4:48 - 4:51
    พวกเขากำลังเดินชมหนึ่งในโรงงานที่ทันสมัยแห่งใหม่ทั้งหลาย
  • 4:51 - 4:53
    และฟอร์ดก็หันมาหยอกเล่นกับรูเธอร์ว่า
  • 4:53 - 4:56
    "เฮ้ วอลเตอร์ คุณจะทำให้เจ้าหุ่นยนต์พวกนี้
  • 4:56 - 4:57
    จ่ายค่าสมาชิกสหภาพได้ยังไงเหรอ"
  • 4:57 - 4:59
    และรูเธอร์ก็โต้กลับไปว่า "เฮ้ เฮนรี่
  • 4:59 - 5:04
    แล้วคุณจะทำยังไงให้พวกเขาซื้อรถยนต์ได้ล่ะ"
  • 5:04 - 5:07
    ปัญหาของรูเธอร์ในเรื่องเล่านี้
  • 5:07 - 5:11
    ก็คือว่า มันยากที่จะนำเสนอแรงงานของคุณในระบบเศรษฐกิจ
  • 5:11 - 5:13
    ที่เต็มไปด้วยเครื่องจักรกล
  • 5:13 - 5:15
    และเราเห็นสิ่งนี้ได้ชัดมากในสถิติ
  • 5:15 - 5:17
    ถ้าคุณดูช่วง 2-3 ทศวรรษที่ผ่านมา
  • 5:17 - 5:21
    ที่ผลการคืนทุน ในอีกความหมายหนึ่งคือ กำไรของบริษัท
  • 5:21 - 5:23
    เราเห็นว่ามันกำลังเพิ่มสูงขึ้น
  • 5:23 - 5:25
    และเเราเห็นว่ามันกำลังอยู่ที่ระดับสูงสุดตลอดกาลตอนนี้
  • 5:25 - 5:27
    ถ้าเรามองที่ผลตอบแทนต่อแรงงาน ในอีกความหมายหนึ่งคือ
  • 5:27 - 5:29
    ค่าจ้างทั้งหมดที่ได้จ่ายออกไปในระบบเศรษฐกิจ
  • 5:29 - 5:32
    เราจะเห็นมันที่จุดต่ำสุดตลอดกาล
  • 5:32 - 5:35
    และมุ่งไปยังทิศทางตรงกันข้ามอย่างรวดเร็ว
  • 5:35 - 5:37
    ดังนั้น นี่มันเป็นข่าวร้ายสำหรับรูเธอร์อย่างเห็นได้ชัด
  • 5:37 - 5:40
    มันอาจจะดูเหมือนว่าเป็นข่าวดีมากๆสำหรับฟอร์ด
  • 5:40 - 5:42
    แต่จริงๆแล้วมันก็ไม่นะ ถ้าคุณต้องการจะขาย
  • 5:42 - 5:46
    สินค้าที่ค่อนข้างจะแพงเป็นจำนวนมากต่อผู้คน
  • 5:46 - 5:49
    คุณจะต้องมีชนชั้นกลางที่มีขนาดใหญ่ มั่นคง และมั่งคั่ง
  • 5:49 - 5:52
    เรามีสิ่งนี้ในอเมริกา
  • 5:52 - 5:54
    ก็แค่ช่วงประมาณหลังสงครามเท่านั้น
  • 5:54 - 5:59
    แต่เป็นที่ชัดเจนว่าชนชั้นกลางได้ตกอยู่ภายใต้
    ภัยคุกคามอันยิ่งใหญ่อยู่ตอนนี้
  • 5:59 - 6:00
    เราต่างรู้สถิติมากมาย
  • 6:00 - 6:02
    แต่ก็เพียงเพื่อที่จะซ้ำรอยมันอีก
  • 6:02 - 6:05
    รายได้มัธยฐานของอเมริกาได้ลดลง
  • 6:05 - 6:07
    ในช่วง 15 ปีที่ผ่านมา
  • 6:07 - 6:09
    และเรากำลังอยู่ในอันตรายของการติดกับ
  • 6:09 - 6:13
    ในวงจรอุบาทว์ที่ความไม่เสมอภาคและการแบ่งแยก
  • 6:13 - 6:16
    เพิ่มสูงขึ้นอย่างต่อเนื่องตลอดเวลา
  • 6:16 - 6:18
    ความท้าทายทางสังคมที่ดำเนินมา
  • 6:18 - 6:21
    กับความไม่เสมอภาคแบบนั้นควรจะได้รับความสนใจ
  • 6:21 - 6:24
    มีความท้าทายทางสังคมที่จริงๆแล้วผมไม่ได้กังวลมากนัก
  • 6:24 - 6:27
    และมันก็แสดงออกมาเป็นภาพได้ประมาณนี้
  • 6:27 - 6:29
    นี่ไม่ใช่ปัญหาทางสังคม
  • 6:29 - 6:31
    ที่ผมกังวลอยู่
  • 6:31 - 6:33
    เราไม่เคยขาดการมองโลกในแง่ร้าย
  • 6:33 - 6:37
    เกี่ยวกับว่าอะไรจะเกิดขึ้นถ้าเครื่องจักรกลของเรา
    ตระหนักรู้ได้ด้วยตัวเอง
  • 6:37 - 6:40
    แล้วพวกมันก็ลุกฮือขึ้นแล้วร่วมมือกันโจมตีพวกเรา
  • 6:40 - 6:41
    ผมจะเริ่มกังวลเรื่องพวกนี้ ก็ในวันที่คอมพิวเตอร์ของผม
  • 6:41 - 6:45
    หวาดระแวงปรินต์เตอร์ของผมนู่นแหละ
  • 6:45 - 6:48
    (เสียงหัวเราะ) (เสียงปรบมือ)
  • 6:48 - 6:51
    ดังนั้น นี่ไม่ใข่ชุดความท้าทายที่เราต้องกังวลกับมันมากๆ
  • 6:51 - 6:54
    ในการที่จะบอกคุณถึงความท้าทายทางสังคมนี้ที่
  • 6:54 - 6:56
    กำลังจะเกิดขึ้นในยุคเครื่องจักรกลใหม่
  • 6:56 - 7:00
    ผมจะเล่าเรื่องของคนทำงานชาวอเมริกันแบบทั่วไปสองคน
  • 7:00 - 7:02
    และเพื่อที่จะทำให้พวกเขาดูทั่วไปจริงๆ
  • 7:02 - 7:04
    มานึกภาพพวกเขาทั้งคู่เป็นคนผิวขาวกัน
  • 7:04 - 7:08
    และคนแรกเป็นบัณฑิตจากมหาวิทยาลัย
  • 7:08 - 7:11
    มีความเป็นมืออาชีพ มีความคิดสร้างสรรค์ เป็นผู้จัดการ
  • 7:11 - 7:14
    เป็นวิศวกร หมอ ทนาย เป็นตนทำงานอะไรประมาณนั้น
  • 7:14 - 7:16
    เราจะเรียกเขาว่า "เท็ด"
  • 7:16 - 7:18
    เขาอยู่ตรงจุดสูงสุดของชนชั้นกลางชาวอเมริกัน
  • 7:18 - 7:21
    คู่แข่งของเขาไม่ได้จบมหาวิทยาลัย
  • 7:21 - 7:24
    ทำงานเป็นคนใช้แรงงาน ทำงานเป็นเสมียน
  • 7:24 - 7:28
    ทำงานระดับล่างของคนงานคอปกขาว (White-collar) หรือ
    คอปกน้ำเงิน (Blue Collar) ในระบบเศรษฐกิจ
  • 7:28 - 7:30
    เราจะเรียกเขาว่า "บิล"
  • 7:30 - 7:32
    และถ้าคุณย้อนกลับไปประมาณ 50 ปีก่อน
  • 7:32 - 7:36
    บิลและเท็ดต่างใช้ชีวิตที่เหมือนกันมากๆ
  • 7:36 - 7:38
    ยกตัวอย่างเช่น ในปี 1960 พวกเขาทั้งคู่มีแนวโน้มที่จะ
  • 7:38 - 7:42
    ทำงานเต็มเวลา ทำงานอย่างน้อย 40 ชั่วโมงต่อสัปดาห์
  • 7:42 - 7:45
    แต่ตามที่นักวิจัยทางสังคม ชาร์ลส์ เมอร์เรย์ (Charles Murray)
    ได้เก็บข้อมูลเอาไว้
  • 7:45 - 7:48
    ตอนที่พวกเราได้เริ่มนำเอา
    ระบบอัตโนมัติเข้ามาใช้ในระบบเศรษฐกิจ
  • 7:48 - 7:52
    และปี 1960 เป็นปีที่คอมพิวเตอร์เริ่มจะถูกใช้ในการทำธุรกิจ
  • 7:52 - 7:55
    ตอนที่พวกเราได้ค่อยๆอัดฉีดเทคโนโลยี
  • 7:55 - 7:58
    และเครื่องอัตโนมัติ และเครื่องดิจิตอล เข้าไปในระบบเศรษฐกิจ
  • 7:58 - 8:01
    โชคชะตาของบิลและเท็ดได้แตกต่างกันออกไปมาก
  • 8:01 - 8:03
    ภายใต้กรอบเวลานี้ เท็ดยังคงทำงาน
  • 8:03 - 8:06
    เต็มเวลาอย่างต่อเนื่อง แต่บืลไม่
  • 8:06 - 8:10
    ในหลายๆกรณี บิลได้ออกจากระบบเศรษฐกิจไปอย่างสิ้นเชิง
  • 8:10 - 8:12
    และเท็ดแทบจะไม่เคยเลย
  • 8:12 - 8:15
    เวลาผ่านไป ชีวิตแต่งงานของเท็ดเป็นไปอย่างมีความสุข
  • 8:15 - 8:17
    แต่ของบิลไม่
  • 8:17 - 8:20
    และลูกๆของเท็ดเติบโตมาในบ้านที่มีทั้งพ่อและแม่
  • 8:20 - 8:24
    แต่ของบิลไม่เคยมีช่วงเวลาแบบนั้นเลย
  • 8:24 - 8:26
    มีทางอื่นอีกมั้ยที่บิลหลุดออกจากสังคม?
  • 8:26 - 8:30
    เขาจำนวนครั้งในการออกเสียงโหวตในการเลือกตั้งประธานาธิบดีครั้งต่างๆ
  • 8:30 - 8:34
    และเขาเริ่มเข้าคุกบ่อยขึ้นมาก
  • 8:34 - 8:38
    ดังนั้น ผมไม่สามารถบอกเล่าเรื่องราวแสนสุขเกี่ยวกับ
    แนวโน้มทางสังคมเหล่านี้ได้
  • 8:38 - 8:40
    และมันก็ไม่ได้มีสัญญาณอะไรที่ว่า
    มันจะย้อนกลับได้ด้วยตัวมันเอง
  • 8:40 - 8:43
    มันยังคงเป็นความจริงอีกด้วย ไม่ว่าเราจะมองไปที่
    กลุ่มชาติพันธุ์ใด
  • 8:43 - 8:45
    หรือกลุ่มประชากรไหน
  • 8:45 - 8:47
    และมันกำลังค่อยๆร้ายแรงขึ้น
  • 8:47 - 8:49
    จนถึงขั้นท่วมท้น
  • 8:49 - 8:53
    ถึงแม้ว่าจะมีความก้าวหน้าอันน่าทึ่งที่พวกเราได้ทำ
    ภายใต้การเคลือนไหวด้านสิทธิพลเมือง
  • 8:53 - 8:55
    และสิ่งที่เพื่อนๆของผมที่ซิลิคอน วัลเลย์
  • 8:55 - 9:00
    และแคมบริดจ์มองข้ามไป ก็คือว่า พวกเขาคือเท็ด
  • 9:00 - 9:04
    พวกเขาใช้ชีวิตอันแสนยุ่งและมีผลิตภาพอย่างน่าทึ่ง
  • 9:04 - 9:06
    และพวกเขาได้รับผลประโยชน์ที่เห็นได้จากการนั้น
  • 9:06 - 9:09
    ในขณะที่บิลกำลังใช้ชีวิตที่แตกต่างมาก
  • 9:09 - 9:10
    จริงๆแล้ว พวกเขาทั้งคู่ต่างเป็นเครื่องพิสูจน์ให้เห็นว่า
    โวลแตร์ (Voltaire) พูดถูกแค่ไหน
  • 9:10 - 9:12
    ["งานคุ้มกันมนุษย์จากสามอสูรร้าย: ความเบื่อหน่าย
    ความชั่วร้าย และความต้องการ -- โวลแตร์]
  • 9:12 - 9:13
    เมื่อเขาพูดถึงเรื่องผลประโยชน์ของการทำงาน
  • 9:13 - 9:17
    และข้อเท็จจริงที่ว่า มันได้คุ้มกันเราจาก 3 ไม่ใช่ 1 อสูรร้าย
  • 9:18 - 9:21
    ดังนั้น ด้วยความท้าทายเหล่านี้ เราจะทำยังไงกับพวกมันดี?
  • 9:21 - 9:24
    คู่มือเศรษฐศาสตร์ได้ระบุเอาไว้อย่างชัดเจนจนน่าประหลาดใจ
  • 9:24 - 9:27
    ตรงไปตรงมาอย่างน่าประหลาดใจ
    โดยเฉพาะอย่างยิ่งในช่วงเวลาสั้นๆ
  • 9:27 - 9:30
    พวกหุ่นยนต์ไม่ได้กำลังจะเอางานทั้งหมดของพวกเราไป
    ภายในปีหรือสองปีข้างหน้า
  • 9:30 - 9:34
    ดังนั้น คู่มือเศรษฐศาสตร์ 101 ฉบับคลาสสิค
    ก็จะยังทำงานได้พอใช้
  • 9:34 - 9:36
    สนับสนุนการเป็นผู้ประกอบการ
  • 9:36 - 9:38
    ทุ่มลงไปกับสาธารณูปโภคพื้นฐาน
  • 9:38 - 9:40
    และทำให้แน่ใจว่าเรากำลังผลิตคนที่มีทักษะที่เหมาะสม
  • 9:40 - 9:44
    จากระบบการศึกษาของเรา
  • 9:44 - 9:47
    แต่ในระยะยาว ถ้าเรากำลังเคลื่อนย้ายไปสู่ระบบเศรษฐกิจ
  • 9:47 - 9:50
    ที่เน้นเทคโนโลยีมากกว่าคน
  • 9:50 - 9:52
    และเรากำลังทำแบบนั้นอยู่ ถ้างั้นเราก็ต้องพิจารณา
  • 9:52 - 9:54
    การแทรกแซงฐานรากให้มากขึ้น
  • 9:54 - 9:57
    ยกตัวอย่างเช่น บางอย่างประมาณการประกันค่าจ้างขั้นต่ำ
  • 9:57 - 10:01
    เอาล่ะ นั่นอาจจะทำให้ใครบางคนในห้องนี้หนาวๆร้อนๆ
  • 10:01 - 10:05
    เพราะไอเดียนั้นมันเกี่ยวข้องกับพวกซ้ายจัด
  • 10:05 - 10:08
    และกับโครงการกระจายความมั่งคั่งแบบสุดโต่ง
  • 10:08 - 10:10
    ผมทำการบัานมานิดหน่อยเกี่ยวกับข้อนี้
  • 10:10 - 10:12
    และมันอาจจะทำให้ใครบางคนสบายใจมาได้บ้าง
    ที่จะรู้ว่า
  • 10:12 - 10:15
    ไอเดียการประกันค่าจ้างขั้นต่ำนั้น
  • 10:15 - 10:18
    ได้รับการต่อสู้โดยนักสังคมนิยม
    ที่ทำได้แค่พูดจนน้ำลายแตกฟอง
  • 10:18 - 10:24
    อย่างเฟรดริก ฮาเย็ก (Friedrich Hayek) ริชาร์ด นิกสัน (Richard Nixon)
    และ มิลตัน ฟรีดแมน (Milton Friedman)
  • 10:24 - 10:25
    และถ้าคุณพบว่า คุณกังวล
  • 10:25 - 10:29
    ว่าบางอย่างอย่างการประกันค่าจ้าง
  • 10:29 - 10:31
    จะยับยั้งแรงขับในการประสบความสำเร็จ
  • 10:31 - 10:33
    และทำให้เรารู้สึกพึงพอใจ
  • 10:33 - 10:36
    คุณอาจจะสนใจที่จะรู้ว่า การเคลื่อนย้ายทางสังคม
  • 10:36 - 10:38
    หนึ่งในหลายๆสิ่งที่เราให้ความสำคัญในสหรัฐฯ
  • 10:38 - 10:42
    ตอนนี้อยู่ในระดับที่ต่ำกว่าประเทศทางยุโรปเหนือทั้งหลาย
  • 10:42 - 10:45
    ที่มีตาข่ายความปลอดภัยทางสังคม (social safety nets)
    ที่ใจกว้างเอามากๆ
  • 10:45 - 10:48
    ดังนั้น คู่มือทางเศรษฐศาสตร์นั้นจริงๆก็ค่อนข้างตรงไปตรงมา
  • 10:48 - 10:51
    ด้านสังคมต่างหากที่ท้าทายกว่ามาก
  • 10:51 - 10:53
    ผมไม่รู้ว่าคู่มือนั้นจะเป็นยังไง
  • 10:53 - 10:57
    สำหรับการดึงบิลให้เข้ามามีส่วนร่วม
    และดำรงอยู่อย่างนั้นตลอดชีวิต
  • 10:57 - 10:59
    ผมรู้แค่ว่าการศึกษามีส่วนสำคัญมหาศาลสำหรับเรื่องนี้
  • 10:59 - 11:01
    ผมเผชิญเรื่องนี้ด้วยตัวเอง
  • 11:01 - 11:05
    ผมเป็นเด็กมอนเตสซอรี่ (Montessori: ระบบการศึกษาที่เน้นธรรมชาติของเด็ก) ในช่วง 2-3 ปีแรกของการเรียนของผม
  • 11:05 - 11:06
    และสิ่งที่ระบบการศึกษาแบบนั้นสอนผม
  • 11:06 - 11:08
    ก็คือว่า โลกนี้เป็นสถานที่ที่น่าสนใจ
  • 11:08 - 11:11
    และงานของผมก็คือออกไปสำรวจมัน
  • 11:11 - 11:13
    โรงเรียนนี้สิ้นสุดที่ชั้น ป.3
  • 11:13 - 11:15
    หลังจากนั้นผมก็เข้าระบบโรงเรียนรัฐบาล
  • 11:15 - 11:19
    และมันทำให้รู้สึกเหมือนกับว่า ผมถูกส่งไปกูลัก
    (Gulag: ค่ายทหารรัสเซีย)
  • 11:19 - 11:22
    เมื่อมองย้อนกลับไป ตอนนี้ผมรู้แล้วว่า งานของมัน
  • 11:22 - 11:24
    ก็คือจัดเตรียมชีวิตแบบเสมียนหรือผู้ใช้แรงงานให้ผม
  • 11:24 - 11:27
    แต่ ณ ตอนนั้น มันรู้สึกเหมือนงานของมันคือ
  • 11:27 - 11:31
    การทำให้ผมยอมจำนนต่ออะไรต่อมิอะไรที่ดำเนินไปรอบตัวผม
  • 11:31 - 11:32
    เราต้องทำให้ดีกว่านี้
  • 11:32 - 11:36
    เราต้องไม่ทำการผลิตบิลออกมาเรื่อยๆ
  • 11:36 - 11:38
    ดังนั้น เราเห็นหน่ออ่อนเขียวๆที่ว่า สิ่งต่างๆกำลังดีขึ้น
  • 11:38 - 11:41
    เราเห็นเทคโนโลยีส่งผลกระทบต่อการศึกษาอย่างลึกซึ้ง
  • 11:41 - 11:43
    และดึงผู้คนเข้ามาร่วม จากนักเรียนรู้ที่เด็กที่สุดของเรา
  • 11:43 - 11:45
    จนถึงคนที่แก่ที่สุดของเรา
  • 11:45 - 11:48
    เราเห็นนักธุรกิจที่โดดเด่นหลายคนบอกเราว่า
  • 11:48 - 11:51
    เราต้องคิดใหม่เกี่ยวกับบางอย่างที่เราเฝ้าหวงแหนมันมานาน
  • 11:51 - 11:53
    และเราเห็นความพยายามอย่างจริงจัง ต่อเนื่อง
  • 11:53 - 11:56
    และอยู่บนฐานข้อมูล ในการทำความเข้าใจ
  • 11:56 - 11:59
    ว่าจะแทรกแซงเข้าไปในชุมชนที่มีปัญหาที่สุดที่เรามีได้อย่างไร
  • 11:59 - 12:02
    ดังนั้น หน่ออ่อนสีเขียวมันอยู่ข้างนอกนั่น
  • 12:02 - 12:03
    ผมไม่อยากจะเสแสร้งแม้เพียงสักนาทีเดียว
  • 12:03 - 12:05
    ว่าสิ่งที่เรามีนั้นเพียงพอ
  • 12:05 - 12:07
    เรากำลังเผชิญหน้ากับความท้าทายที่แสนยาก
  • 12:07 - 12:10
    ยกตัวอย่างหนึ่งเช่น มีคนอเมริกันประมาณห้าล้านคน
  • 12:10 - 12:13
    ที่ว่างงานมาอย่างน้อยหกเดือน
  • 12:13 - 12:14
    เราจะไม่เข้าไปแก้ไขอะไรให้พวกเขา
  • 12:14 - 12:17
    ด้วยการส่งพวกเขากลับไปยังมอนเตสซอรี่
  • 12:17 - 12:19
    และความกังวลที่ยิ่งใหญ่ที่สุดของผมก็คือว่า
    เรากำลังสร้างโลก
  • 12:19 - 12:22
    ใบที่เรากำลังจะมีเทคโนโลยีระยิบระยับ
  • 12:22 - 12:24
    ฝังอยู่ในสังคมที่ทรุดโทรม
  • 12:24 - 12:27
    และหนุนด้วยระบบเศรษฐกิจที่สร้างความไม่เสมอภาค
  • 12:27 - 12:29
    แทนที่จะเป็นโอกาส
  • 12:29 - 12:31
    แต่จริงๆแล้ว ผมไม่ได้คิดว่านั่นคือสิ่งที่เรากำลังจะทำ
  • 12:31 - 12:33
    ผมคิดว่าเรากำลังจะทำอะไรบางอย่างที่ดีกว่านั้นมาก
  • 12:33 - 12:35
    ด้วยเหตุผลที่ตรงไปตรงมาอย่างมากอันหนึ่ง
  • 12:35 - 12:37
    ข้อเท็จจริงก็คือ ออกไปข้างนอกนั่น
  • 12:37 - 12:39
    ความจริงในยุคเครื่องจักรกลใหม่นี้
  • 12:39 - 12:42
    และการเปลี่ยนแปลงในระบบเศรษฐกิจกำลังจะ
    ถูกรับรู้อย่างกว้างขวางขึ้น
  • 12:42 - 12:45
    ถ้าเราต้องการที่จะเร่งกระบวนการ
    เราสามารถทำอะไรหลายอย่าง
  • 12:45 - 12:48
    อย่างเช่นการให้นักเศรษฐศาสตร์และผู้กำหนดนโยบายของเรา
  • 12:48 - 12:50
    ไปเล่นเกม "Jeopardy!" แข่งกับวัตสัน (Watson)
  • 12:50 - 12:54
    เราอาจส่งสภาฯไปโรดทริปอิสระ
  • 12:54 - 12:56
    และถ้าเราทำอะไรประมาณอย่างนี้มากพอ
  • 12:56 - 12:59
    การตระหนักรู้ก็จะฝังเข้าไปว่า สิ่งต่างๆกำลังจะแตกต่างไป
  • 12:59 - 13:01
    และแล้วเราก็จะออกสู่การแข่งขัน
  • 13:01 - 13:03
    เพราะผมไม่เชื่อแม้เพียงวินาทีเดียวว่า
  • 13:03 - 13:06
    เราได้ลืมวิธีการแก้ความท้าทายอันยุ่งยาก
  • 13:06 - 13:11
    หรือว่าเราได้กลายมาเป็นพวกเฉื่อยชา
    และใจแข็งเกินกว่าที่จะลอง
  • 13:11 - 13:13
    ผมเริ่มทอล์คนี้ด้วยคำพูดจากนักเขียนสองคน
  • 13:13 - 13:16
    ที่ถูกแยกออกจากกันด้วยมหาสมุทรกับศตวรรษ
  • 13:16 - 13:18
    ให้ผมจบมันด้วยคำพูดจากนักการเมืองสองคน
  • 13:18 - 13:20
    ผู้ซึ่งอยู่ห่างกันออกไปอย่างใกล้เคียง
  • 13:20 - 13:23
    วินสตัน เขอร์ชิล มาที่ MIT บ้านผม ในปี 1949
  • 13:23 - 13:25
    และเขาพุดว่า "ถ้าเราจะต้องทำให้ฝูงชน
  • 13:25 - 13:29
    จำนวนมหาศาลในทุกพื้นที่มีความอุดมสมบูรณ์
  • 13:29 - 13:32
    มันจะเป็นไปได้ก็ด้วยการพัฒนาอย่างไม่เหน็ดเหนื่อย
  • 13:32 - 13:35
    ของการผลิตเทคโนโลยีในทุกทางของเรา"
  • 13:35 - 13:37
    อับราฮัม ลินคอล์น รู้ว่ามันยังมีอีกหนึ่งองค์ประกอบ
  • 13:37 - 13:40
    เขาพูดว่า "ผมเชื่ออย่างแน่วแน่ในผู้คน
  • 13:40 - 13:43
    ถ้าหากได้รับรู้ความจริง พวกเขาเป็นที่พึ่งพิงได้
  • 13:43 - 13:45
    ยามเกิดวิกฤตชาติ
  • 13:45 - 13:48
    สิ่งสำคัญอย่างยิ่งยวดก็คือการให้ข้อเท็จจริงกับพวกเขา"
  • 13:48 - 13:51
    ตามคำพูดมองโลกในแง่ดีดังกล่าว สิ่งสำคัญที่ผมอยากจะ
    ทิ้งไว้กับคุณก็คือว่า
  • 13:51 - 13:54
    ข้อเท็จจริงของยุคเครื่องจักรกลกำลังชัดเจนขึ้นเรื่อยๆ
  • 13:54 - 13:57
    และผมมีความมั่นใจอย่างที่สุดว่าเรากำลังจะใช้มัน
  • 13:57 - 13:59
    ในการวางแผนการดีๆในการเข้าสู่
  • 13:59 - 14:02
    ระบบเศรษฐกิจอันอุดมสมบูรณ์และท้าทายที่เรากำลังสร้าง
  • 14:02 - 14:04
    ขอบคุณมากครับ
  • 14:04 - 14:08
    (เสียงปรบมือ)
Title:
งานในอนาคต หน้าตาจะเป็นยังไง?
Speaker:
แอนดรูว์ แมคอาฟี่ (Andrew McAfee)
Description:

นักเศรษฐศาสตร์ แอนดรูว์ แมกอาฟี เสนอว่า ใช่ หุ่นยนต์อาจจะเอางานต่างๆของพวกเราไป -- หรืออย่างน้อยก็งานบางอย่างที่เรารู้จักตอนนี้ ในทอล์คที่มองการณ์ไกลนี้ เขาคิดไปถึงว่างานในอนาคตจะหน้าตาเป็นยังไง และจะให้การศึกษากับคนรุ่นใหม่ในการจัดการกับอนาคตเช่นนั้นได้อย่างไร

more » « less
Video Language:
English
Team:
closed TED
Project:
TEDTalks
Duration:
14:15
Kelwalin Dhanasarnsombut approved Thai subtitles for What will future jobs look like?
Kelwalin Dhanasarnsombut edited Thai subtitles for What will future jobs look like?
Kelwalin Dhanasarnsombut edited Thai subtitles for What will future jobs look like?
Yada Sattarujawong accepted Thai subtitles for What will future jobs look like?
Yada Sattarujawong edited Thai subtitles for What will future jobs look like?
Chatthip Chaichakan edited Thai subtitles for What will future jobs look like?
Chatthip Chaichakan edited Thai subtitles for What will future jobs look like?
Chatthip Chaichakan edited Thai subtitles for What will future jobs look like?
Show all

Thai subtitles

Revisions

  • Revision 10 Edited (legacy editor)
    Kelwalin Dhanasarnsombut