วิธีการตัดสินใจให้เร็วขึ้น
-
0:00 - 0:02คุณอาจคุ้นเคยกับคำว่า FOMO
-
0:02 - 0:04[คิดค้นโดยชายคนนี้]
-
0:04 - 0:06ย่อมาจาก "ความกลัวที่จะตกกระแส"
-
0:06 - 0:07มันเป็นความรู้สึกที่เกิดขึ้น
-
0:07 - 0:10เมื่อคนอื่น ๆ ดูเหมือนว่าจะ
ทำอะไรบางอย่างได้ดี -
0:10 - 0:11กว่าสิ่งที่คุณกำลังทำอยู่
-
0:11 - 0:13แต่มันมีอีก FO ที่คุณต้องรู้
-
0:13 - 0:15และมันอันตรายกว่าเยอะมาก
-
0:15 - 0:16เรียกว่า FOBO
-
0:16 - 0:18ย่อมาจาก "ความกลัวพลาดโอกาสที่ดีกว่า"
-
0:18 - 0:21[วิถีที่เราทำงาน]
-
0:23 - 0:25เราอยู่ในโลกที่มีทางเลือกมากเกินไป
-
0:25 - 0:27แม้กระทั่งการตัดสินใจที่เคยง่าย
-
0:27 - 0:30อย่างเรื่องการเลือกร้านอาหาร
หรือการซื้อของในทุก ๆ วัน -
0:30 - 0:32เต็มไปด้วยการวิเคราะห์
ที่มากเกินความจำเป็น -
0:32 - 0:35เทคโนโลยีทำให้ปัญหา
มันรุนแรงมากขึ้น -
0:35 - 0:37หากคุณอยากซื้อ
เชือกผูกรองเท้าสีขาวออนไลน์ -
0:37 - 0:39คุณจะต้องค้นหาจากสินค้าจำนวนหลายพันชิ้น
-
0:39 - 0:41และอ่านหลายร้อยความเห็น
ที่มีต่อสินค้า -
0:41 - 0:43นั่นเป็นข้อมูลจำนวนมหาศาล
-
0:43 - 0:47เพื่อเพียงซื้อเชือกสองเส้น
ที่ถูกกว่ากาแฟลาเต้ยามเช้าเสียอีก -
0:47 - 0:49คุณมีโอกาสที่จะเกิดอาการ FOBO
เมื่อคุณรู้สึกลำบาก -
0:49 - 0:53ที่จะเลือกของสักชิ้นหนึ่ง
จากกลุ่มสิ้นค้าที่คุณภาพใกล้เคียงกัน -
0:53 - 0:55มันเป็นอาการของวัฒนธรรม
ที่เห็นคุณค่า -
0:55 - 0:58ในการสะสมและเก็บทางเลือกไว้
ให้มากที่สุดเท่าที่เป็นได้ -
0:58 - 1:00คุณอาจจะสงสัย
ว่าทำไมมันถึงส่งผลเสีย -
1:00 - 1:01มันดูขัดแย้งกับความรู้สึก
-
1:01 - 1:03มันควรจะเป็นประโยชน์ไม่ใช่หรือ
-
1:03 - 1:04ที่จะมีทางเลือกที่ดีหลาย ๆ ทางไว้เลือก
-
1:04 - 1:09ปัญหาคือ FOBO ทำให้เกิด
การอัมพาตอย่างรุนแรงจากการวิเคราะห์ -
1:09 - 1:12ที่ส่งผลเสียต่อชีวิตส่วนตัว
และชีวิตการทำงาน -
1:12 - 1:14เมื่อคุณไม่สามารถตัดสินใจ
ได้อย่างมั่นใจ -
1:14 - 1:16คุณกำลังใช้เวลาและพลังงาน
อย่างเปล่าประโยชน์ -
1:16 - 1:18โชคดีที่มันมีวิธีเอาชนะอาการ FOBO
-
1:18 - 1:19และนี่คือความลับ
-
1:19 - 1:22ในการตัดสินใจอะไรก็ตาม
คุณต้องคาดการณ์ผลได้เสีย -
1:22 - 1:24ซึ่งจะช่วยกำหนดกลยุทธ์ในการตัดสินใจของคุณ
-
1:24 - 1:26และเมื่อต้องตัดสินใจ
-
1:26 - 1:29คุณจะเจอกับการตัดสินใจ
แค่ 3 ประเภทในชีวิตของคุณ: -
1:29 - 1:32ผลได้เสียสูง ผลได้เสียต่ำ
และไม่มีผลได้เสีย -
1:32 - 1:33เริ่มจากการตัดสินใจ
ที่ไม่มีผลได้เสีย -
1:33 - 1:35ซึ่งเป็นรายละเอียดปลีกย่อยในชีวิต
-
1:35 - 1:37ที่แทบจะไม่มีคำตอบที่ผิดเลย
-
1:37 - 1:39และในไม่กี่ชั่วโมง
คุณจะจำไม่ได้แล้วว่า -
1:40 - 1:41ได้ตัดสินใจไปแล้ว
-
1:41 - 1:43ตัวอย่างที่ดีของกรณีนี้คือ
การเลือกรายการทีวีที่จะดู -
1:43 - 1:46ด้วยจำนวนหลายพันรายการ
มันง่ายมากที่จะรู้สึกกดดัน -
1:46 - 1:47ไม่ว่าคุณจะเลือกดูรายการไหน
-
1:47 - 1:50มันก็ไม่มีผลอะไร
-
1:50 - 1:52ดังนั้นการใช้เวลาไปกับ FOBO
-
1:52 - 1:54เป็นการใช้พลังงานไปอย่างเปล่าประโยชน์
-
1:55 - 1:56คุณก็เลือก ๆ ไปเถอะ
-
1:56 - 1:58เมื่อตัดสินใจเรื่องที่ไม่มีผลประโยชน์
-
1:58 - 2:00หัวใจคือการปล่อยให้จักรวาล
เป็นผู้กำหนด -
2:00 - 2:03เช่น คุณอาจจะจำกัดตัวเลือกลงเหลือสองตัว
-
2:03 - 2:04แล้วโยนเหรียญหัวก้อย
-
2:04 - 2:07หรือจะลองวิธีที่ผมชอบ -- ถามนาฬิกา
-
2:07 - 2:10กำหนดพื้นที่ครึ่งหนึ่งของนาฬิกา
ให้ตัวเลือกแต่ละตัว -
2:10 - 2:13แล้วให้เข็มวินาทีบอกคุณว่าควรจะเลือกอะไร
-
2:13 - 2:15ดูเหมือนเดี๋ยวผมจะต้องกินปลา
-
2:15 - 2:17ต่อมาคือการตัดสินใจที่มีผลได้เสียต่ำ
-
2:17 - 2:20ซึ่งส่งผลลัพธ์
แต่ไม่คอขาดบาดตาย -
2:20 - 2:22และมีผลลัพธ์
ที่ยอมรับได้หลายทาง -
2:22 - 2:25งานที่เป็นกิจวัตร เช่น
การซื้อเครื่องพิมพ์ -
2:25 - 2:29การจองโรงแรมหรือเลือกสถานที่
จัดกิจกรรมนอกสถานที่ -
2:29 - 2:31เป็นการตัดสินใจที่มีผลได้เสียต่ำ
-
2:31 - 2:32แม้จะต้องคิดบ้าง
-
2:32 - 2:35แต่ไม่ใช่การคิดตรึกตรองที่ชี้เป็นชี้ตาย
-
2:35 - 2:37และคุณมักลืมมันไปภายในไม่กี่สัปดาห์
-
2:37 - 2:39คุณสามารถให้อย่างอื่น
ช่วยคุณตัดสินใจได้เหมือนกัน -
2:39 - 2:42แต่ก็ต้องการการคิดตรึกตรองบ้าง
-
2:42 - 2:43เพราะยังมีผลได้เสียอยู่บ้าง
-
2:43 - 2:45แบบนี้ คุณสามารถให้คนอื่นตัดสินใจแทนได้
-
2:45 - 2:47กำหนดเกณฑ์บางอย่าง
-
2:47 - 2:49เลือกคนที่จะช่วยตัดสินใจ
-
2:49 - 2:50และฟังคำแนะนำของเขา
-
2:50 - 2:52พยายามหลีกเลี่ยงความอยาก
ที่จะถามหารายละเอียด -
2:52 - 2:54เป้าหมายของคุณคือ
การตัดสินใจให้เสร็จ -
2:54 - 2:56ไม่ใช่อ้อยอิ่งไปเรื่อย ๆ
-
2:56 - 2:58ตอนนี้คุณจัดการกับการตัดสินใจ
ที่ผลได้เสียต่ำและไม่มีผลได้เสียไปแล้ว -
2:58 - 3:00คุณมีเวลาและพื้นที่ที่ต้องใช้
-
3:00 - 3:02ในการตัดสินใจ
ที่มีผลได้เสียสูง -
3:02 - 3:04เช่น 'ฉันควรซื้อบ้านหลังไหนดี'
-
3:04 - 3:06หรือ 'ฉันควรรับงานไหน'
-
3:06 - 3:09เพราะว่าผลได้เสียสูง
และส่งผลระยะยาว -
3:09 - 3:11คุณจะต้องการการตัดสินใจที่ถูกที่สุด
-
3:11 - 3:14ก่อนที่จะเริ่ม
เรามากำหนดหลักการพื้นฐานสองสามข้อ -
3:14 - 3:15เพื่อช่วยในกระบวนการตัดสินใจ
-
3:15 - 3:18อย่างแรก ลองคิดถึง
สิ่งที่สำคัญที่สุดสำหรับคุณ -
3:18 - 3:19และกำหนดเกณฑ์ตามสิ่งเหล่านั้น
-
3:19 - 3:21สอง รวบรวมข้อมูลข้อเท็จจริง
-
3:21 - 3:24ให้แน่ใจว่าคุณได้รวบรวมข้อมูล
เกี่ยวกับทางเลือกทั้งหมด -
3:24 - 3:25เพื่อที่คุณจะมั่นใจ
-
3:25 - 3:27ว่าได้คิดตัดสินใจอย่างรอบด้าน
-
3:27 - 3:29และสาม จำไว้ว่าโดยธรรมชาติ FOBO
-
3:29 - 3:31จะเกิดขึ้นเมื่อคุณต้องเลือกหนึ่งตัวเลือก
-
3:31 - 3:34จากกลุ่มของตัวเลือก
ที่ล้วนยอมรับได้ -
3:34 - 3:36ฉะนั้น ไม่ว่าคุณจะเลือกอะไร
-
3:36 - 3:38ก็มั่นใจได้ว่าข้อเสียก็จะน้อย
-
3:38 - 3:41ตอนนี้คุณได้กำหนดเกณฑ์พื้นฐานแล้ว
-
3:41 - 3:42เริ่มกระบวนการกันได้
-
3:42 - 3:45เริ่มจากใช้สัญชาตญาณ
ในการเลือกตัวเลือกตัวเต็ง -
3:45 - 3:47จากนั้นเปรียบเทียบตัวเลือกทุกตัว
แบบตัวต่อตัว -
3:47 - 3:49กับตัวเต็ง ทีละตัว
-
3:49 - 3:52ทุกครั้ง เลือกตัวเลือกที่ดีกว่า
โดยพิจารณาจากเกณฑ์ที่กำหนดไว้ -
3:52 - 3:53แล้วตัดอีกอันหนึ่งทิ้งไป
-
3:53 - 3:55นี่คือทริคในการหลีกเลี่ยงอาการ FOBO
-
3:55 - 3:58เมื่อคุณตัดตัวเลือกทิ้ง
คุณต้องกำจัดมันไปถาวร -
3:58 - 4:00หากคุณย้อนกลับไป
ที่ตัวเลือกที่ถูกตัดอยู่เรื่อย ๆ -
4:00 - 4:01ก็จะเสี่ยงต่อการติดอยู่ตรงนั้น
-
4:01 - 4:05ทำกระบวนการแบบนี้ไปเรื่อย ๆ
จนได้ตัวเลือกสุดท้าย -
4:05 - 4:06ถ้าคุณทำตามกระบวนการนี้
-
4:06 - 4:09สุดท้าย คุณก็จะตัดสินใจได้ด้วยตัวเอง
-
4:09 - 4:11ในกรณีที่คุณเกิดติดขึ้นมา
ซึ่งเกิดน้อยมาก -
4:11 - 4:12คุณอาจจะเอาการตัดสินใจขั้นสุดท้าย
-
4:12 - 4:15ไปให้กลุ่มคนที่คุณเชื่อถือ
-
4:15 - 4:18และมีคุณสมบัติที่จะช่วยแนะนำ
-
4:18 - 4:19ในเรื่องดังกล่าว
-
4:19 - 4:22รวบรวมคนไม่เกินห้าคน
จำนวนคี่จะดีที่สุด -
4:22 - 4:24เพื่อที่คุณจะได้มีคนตัดสินเมื่อจำเป็น
-
4:25 - 4:27เมื่อคุณตัดสินใจได้แล้ว
ความท้าทายก็ยังมีอยู่ -
4:28 - 4:29คุณจะต้องตั้งใจ
-
4:29 - 4:33ผมสัญญาไม่ได้ว่าคุณจะรู้ว่า
คุณตัดสินใจได้สมบูรณ์แบบ -
4:33 - 4:34แต่ผมบอกได้ว่า:
-
4:34 - 4:36สัดส่วนที่มีนัยสำคัญ
ของชาวโลก -
4:36 - 4:38จะไม่ต้องกังวลเรื่อง FOBO
อีกต่อไป -
4:38 - 4:41ไม่เหมือนกับคนหลายพันล้านคน
ที่มีตัวเลือกเพียงน้อยนิด ถ้ามีนะครับ -
4:41 - 4:44ด้วยเหตุของสงคราม ความยากจน และโรคภัย
-
4:44 - 4:47คุณมีโอกาสมากมายที่จะใช้ชีวิตอย่างไม่ลังเล
-
4:47 - 4:49คุณอาจจะไม่ได้ทุกอย่างที่ต้องการ
-
4:49 - 4:51แต่การที่คุณมีโอกาสได้ตัดสินใจ
คือที่สิ่งทรงพลังแล้ว -
4:51 - 4:53จริง ๆ มันคือของขวัญ
-
4:53 - 4:54ใช้มันให้เต็มที่ครับ
- Title:
- วิธีการตัดสินใจให้เร็วขึ้น
- Speaker:
- แพทริค แมคกินนิส
- Description:
-
ในโลกที่เต็มไปด้วยรีวิวและความเห็น มันง่ายมากที่จะเกิดอาการอัมพาตจากการตัดสินใจไม่ได้ แพทริค แมคกินนิส นักลงทุนและนักเขียน ได้แบ่งปันเรื่องราวของความอันตรายของ "FOBO" -- ความกลัวที่จะพลาดทางเลือกที่ดีกว่า -- และการเอาชนะมัน
- Video Language:
- English
- Team:
closed TED
- Project:
- TED Series
- Duration:
- 04:55
![]() |
Sakunphat Jirawuthitanant approved Thai subtitles for How to make faster decisions | |
![]() |
Sakunphat Jirawuthitanant accepted Thai subtitles for How to make faster decisions | |
![]() |
Sakunphat Jirawuthitanant edited Thai subtitles for How to make faster decisions | |
![]() |
Dollaya Piumsuwan edited Thai subtitles for How to make faster decisions | |
![]() |
Dollaya Piumsuwan edited Thai subtitles for How to make faster decisions | |
![]() |
Dollaya Piumsuwan edited Thai subtitles for How to make faster decisions | |
![]() |
Dollaya Piumsuwan edited Thai subtitles for How to make faster decisions | |
![]() |
Dollaya Piumsuwan edited Thai subtitles for How to make faster decisions |