< Return to Video

บิลล์ เกตส์: นวัตกรรมพลังงานปราศจากคาร์บอน

  • 0:01 - 0:05
    วันนี้ผมจะพูดถึงเรื่องของพลังงานและสภาพภูมิอากาศ
  • 0:05 - 0:07
    อาจจะแปลกอยู่สักหน่อยเพราะว่า
  • 0:07 - 0:12
    งานหลักของผมที่มูลนิธิส่วนใหญ่จะเกี่ยวกับพวกวัคซีนหรือไม่ก็เมล็ดพันธุ์พืช
  • 0:12 - 0:15
    แล้วก็ออกไปในทางประดิษฐ์คิดค้นและเผยแพร่นำไปใช้
  • 0:15 - 0:20
    เพื่อช่วยให้กลุ่มคนที่จนที่สุดในโลกสองพันล้านคนมีคุณภาพชีวิตที่ดีขึ้น
  • 0:20 - 0:25
    แต่ว่าพลังงานและสภาพภูมิอากาศมีความสำคัญต่อคนกลุ่มนี้เป็นอย่างยิ่งครับ
  • 0:25 - 0:30
    จริงๆแล้ว มันสำคัญต่อพวกเขามากกว่าต่อใครในโลกก็ว่าได้
  • 0:30 - 0:35
    การที่สภาพภูมิอากาศแย่ลงย่อมหมายถึงการสูญเสียผลิตผลทางการเกษตรไปหลายปี
  • 0:35 - 0:38
    ฝนมักตกมากเกินไป หรือไม่ก็ตกไม่เพียงพอ
  • 0:38 - 0:40
    อะไรๆก็เปลี่ยนไปในทางที่
  • 0:40 - 0:44
    สภาพแวดล้อมที่แสนจะเปราะบางจะรับมือต่อไปอีกไม่ไหว
  • 0:44 - 0:49
    ซึ่งทำให้เกิดภาวะอดอยาก ความไม่แน่นอน และเกิดสถานการณ์ที่ไม่สงบ
  • 0:49 - 0:53
    ดังนั้น การเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศจะทำให้พวกเขาย่ำแย่ลง
  • 0:53 - 0:56
    ราคาพลังงานก็สำคัญสำหรับพวกเขาเช่นกัน
  • 0:56 - 0:59
    ที่จริง ถ้าเราสามารถเลือกลดราคาอะไรก็ตามลงได้เพียงอย่างเดียวเท่านั้น
  • 0:59 - 1:03
    ที่จะลดปัญหาความยากจน เท่าที่เห็น สิ่งนั่นก็คือ พลังงาน
  • 1:03 - 1:07
    จริงๆแล้ว พลังงานมีราคาถูกลงเรื่อยๆครับ
  • 1:07 - 1:13
    ที่จริง อารยธรรมเจริญก้าวหน้าได้อาศัยการพัฒนาทางพลังงานเป็นหลัก
  • 1:13 - 1:17
    การปฏิวัติเชื้อพลิงถ่านหินเป็นแรงส่งให้เกิดการปฏิวัติอุตสาหกรรม
  • 1:17 - 1:23
    แม้แต่ในช่วงทศวรรษที่ 1900 เราก็เ็ห็นได้ว่าค่าไฟฟ้าลดต่ำลงอย่างก้าวกระโดด
  • 1:23 - 1:26
    ซึ่งก็เป็นเหตุผลว่าทำไมเราถึงมีตู้เย็น เครื่องปรับอากาศ
  • 1:26 - 1:30
    เราสามารถสร้างวัสดุสมัยใหม่ต่างๆนานาและทำอะไรต่อมิอะไรได้อีกหลายอย่าง
  • 1:30 - 1:37
    กล่าวได้ว่าเราอยู่ยุคที่สะดวกสบายมีไฟฟ้าใช้อยู่ในโลกอันมั่งคั่ง
  • 1:37 - 1:44
    ก็ในเมื่อเราทำให้พลังงานมีราคาถูกลงได้ -- งั้นมาทำให้มันถูกลงอีกครึ่งหนึ่งเลยดีกว่า --
  • 1:44 - 1:46
    เรามีข้อจำกัดอย่างใหม่
  • 1:46 - 1:50
    เป็นเรื่องของ ก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ (CO2)
  • 1:50 - 1:53
    CO2 ทำให้โลกร้อนขึ้น
  • 1:53 - 1:59
    และสมการสำหรับ CO2 ความจริงแล้วเป็นอะไรที่ตรงตัวมากๆ
  • 1:59 - 2:03
    หากเรารวมปริมาณการปล่อย CO2 ทั้งหมด
  • 2:03 - 2:06
    ซึ่งเป็นตัวการทำให้อุณภูมิของโลกสูงขึ้น
  • 2:06 - 2:10
    และอุณหภูมิที่เพิ่มขึ้นก็ทำให้เกิดผลกระทบเิชิงลบ
  • 2:10 - 2:13
    ผลกระทบถึงสภาพอากาศ และที่อาจแย่ไปกว่านั้นคือ ผลกระทบทางอ้อม
  • 2:13 - 2:18
    ซึ่งเมื่อระบบนิเวศน์ไม่สามารถปรับตัวกับการเปลี่ยนแปลงที่เกิดขึ้นอย่างรวดเร็วนี้ได้
  • 2:18 - 2:21
    เราก็จะได้ออกมาเป็นระบบนิเวศน์ที่พังพินาศ
  • 2:21 - 2:24
    ผลกระทบที่เราวัดจาก
  • 2:24 - 2:28
    การเพิ่มขึ้นของ CO2 ที่ส่งผลให้อุณหภูมิเพิ่มสูงขึ้น
  • 2:28 - 2:30
    และพื้นที่ๆจะมีผลย้อนกลับแบบทบเท่าทวีคูณ
  • 2:30 - 2:33
    จะมีความไม่แน่นอนอยู่ด้วย แต่ก็ไม่มากเท่าไหร่
  • 2:33 - 2:36
    และแน่นอนว่าจะมีความไม่แน่นอนเกี่ยวกับความเสียหายที่จะเกิดจากผลกระทบ
  • 2:36 - 2:39
    แต่ว่าความเสียหายนั้นหนักหนาสาหัสมากครับ
  • 2:39 - 2:41
    ผมเคยถามนักวิทยาศาสตร์ชั้นแนวหน้าหลายครั้ง
  • 2:41 - 2:44
    ว่าพวกเราจำเป็นต้องลดการปล่อย CO2 ให้ลงไปใกล้ๆศูนย์จริงเหรอ
  • 2:44 - 2:47
    แค่ควบคุมให้ลดลงมาครึ่งหนึ่งหรือสักหนึ่งในสี่ได้ไหม?
  • 2:47 - 2:51
    คำตอบก็คือ ถ้าเราไม่ลดลงไปจนใกล้ศูนย์
  • 2:51 - 2:53
    อุณหภูมิก็จะเพิ่มขึ้นเรื่อยๆ
  • 2:53 - 2:55
    ฉะนั้น นี่เป็นความท้าทายครั้งใหญ่ครับ
  • 2:55 - 3:00
    มันแตกต่างมากกับการที่เราบอกว่าเราจะขับรถบรรทุกสูง 12 ฟุตให้ลอดใต้สะพานสูง 10 ฟุต
  • 3:00 - 3:03
    แล้วเราก็จะเข้าไปโดนบีบอัดอยู่ใต้นั้น
  • 3:03 - 3:07
    นี่เป็นอะไรที่จะต้องกำจัดให้เป็นศูนย์
  • 3:07 - 3:11
    ขณะนี้ เราปล่อยก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์มากมายในแต่ละปี
  • 3:11 - 3:13
    กว่า 26 พันล้านตัน
  • 3:13 - 3:17
    สำหรับคนอเมริกัน ก็ราวๆ 20 ตันต่อคน
  • 3:17 - 3:20
    สำหรับประชากรในประเทศยากจน ก็ต่ำกว่า 1 ตันต่อคน
  • 3:20 - 3:24
    เฉลี่ยประมาณ 5 ตันต่อทุกๆคนที่อยู่บนโลกใบนี้ครับ
  • 3:24 - 3:26
    และจะด้วยวิธีใดก็ตาม เราต้องปรับเปลี่ยน
  • 3:26 - 3:29
    ให้กลายเป็นศูนย์
  • 3:29 - 3:31
    ที่ผ่านมา CO2 เพิ่มขึ้นเรื่อยๆอย่างต่อเนื่อง
  • 3:31 - 3:36
    มีเพียงแค่การเปลี่ยนแปลงทางเศรษฐกิจหลายเหตุการณ์ที่ทำให้คงตัวอยู่บ้าง
  • 3:36 - 3:39
    ฉะนั้น เราต้องปรับจากการเพิ่มขึ้นอย่างก้าวกระโดด
  • 3:39 - 3:42
    ไปเป็นการลดลงจนกลายเป็นศูนย์
  • 3:42 - 3:44
    สมการนี้มีตัวแปรหรือปัจจัยอยู่สี่อย่างครับ
  • 3:44 - 3:46
    คูณกันไปมานิดหน่อย
  • 3:46 - 3:49
    ทางซ้ายมือนี่ก็จะเป็น CO2 ที่เราอยากทำให้กลายเป็นศูนย์
  • 3:49 - 3:53
    ซึ่งก็จะขึ้นอยู่กับจำนวนประชากร
  • 3:53 - 3:56
    กิจกรรมการอุปโภคบริโภคของแต่ละคนโดยเฉลี่ย
  • 3:56 - 3:59
    พลังงานโดยต่อเฉลี่ยต่อกิจกรรมการอุปโภคบริโภค
  • 3:59 - 4:03
    และปริมาณ CO2 ต่อหน่วยพลังงาน
  • 4:03 - 4:05
    เราลองมาดูกันทีละตัว
  • 4:05 - 4:09
    และดูว่าเราจะลดลงให้ถึงศูนย์ได้ยังไงนะครับ
  • 4:09 - 4:13
    บางที ตัวเลขตัวใดตัวหนึ่งอาจจะต้องลดลงมาให้เหลือใกล้ๆศูนย์
  • 4:13 - 4:16
    เป็นพีชคณิตระดับมัธยม
  • 4:16 - 4:18
    ทีนี้ก็ลองมาดูกัน
  • 4:18 - 4:20
    แรกสุด เรามีประชากร
  • 4:20 - 4:23
    โลกวันนี้มีประชากรอยู่ 6.8 พันล้านคน
  • 4:23 - 4:25
    ซึ่งจะเพิ่มขึ้นเป็น 9 พันล้านคน
  • 4:25 - 4:29
    ถ้าเราประสบความสำเร็จในการประดิษฐ์คิดค้นวัคซีนใหม่ใช้
  • 4:29 - 4:31
    ในการสาธารณสุข ในบริการอนามัยเจริญพันธุ์
  • 4:31 - 4:35
    เราก็จะลดอัตราการเสียชีวิตลงมาได้อีก อาจจะสักร้อยละ 10 หรือ 15
  • 4:35 - 4:39
    ซึ่งก็จะทำให้ตรงนี้เพิ่มขึ้นเป็นประมาณ 1.3
  • 4:39 - 4:42
    ปัจจัยที่สองก็คือกิจกรรมการอุปโภคบริโภค
  • 4:42 - 4:44
    อันนี้นำหน้าทุกๆอย่าง
  • 4:44 - 4:48
    อาหารที่เรากิน เสื้อผ้า ทีวี เครื่องทำความร้อน
  • 4:48 - 4:51
    พวกนี้เป็นสิ่งที่ดีๆทั้งนั้น
  • 4:51 - 4:54
    และการกำจัดความยากจนหมายถึงการให้ิสิ่งพวกนี้
  • 4:54 - 4:56
    กับแทบทุกๆคนบนโลก
  • 4:56 - 5:00
    และเป็นเรื่องดีมากที่ตัวเลขตรงนี้เพิ่มสูงขึ้น
  • 5:00 - 5:02
    สำหรับผู้ที่มีความมั่งคั่ง อาจจะพันล้านคนแรก
  • 5:02 - 5:04
    เราอาจจะงดและลดการอุปโภคบริโภคลง
  • 5:04 - 5:08
    แต่ทุกๆปี ตัวเลขตัวนี้ โดยเฉลี่ยแล้วจะเพิ่มสูงขึ้น
  • 5:08 - 5:12
    ดังนั้น ในภาพรวมแล้ว ก็จะทำให้การอุปโภคบริโภค
  • 5:12 - 5:15
    ต่อคนเพิ่มขึ้นอีกกว่าสองเท่า
  • 5:15 - 5:17
    ที่นี่ มีแต่กิจกรรมอุปโภคบริโภคขั้นมูลฐานครับ
  • 5:17 - 5:20
    เรามีแสงสว่างในบ้านสำหรับไว้ให้อ่านหนังสือทำการบ้านไหม
  • 5:20 - 5:22
    และในความเป็นจริงแล้ว เด็กๆพวกนี้ไม่มีครับ พวกเขาก็เลยต้องออกไป
  • 5:22 - 5:26
    อ่านหนังสือทำการบ้านใต้เสาไฟฟ้าริมถนน
  • 5:27 - 5:31
    ตอนนี้มาถึงประสิทธิภาพ หรือ อี (E) คือ พลังงานที่ใช้ในกิจกรรมการอุปโภคบริโภคแต่ละประเภท
  • 5:31 - 5:33
    อันนี้ ในที่สุดเราก็มีข่าวดีครับ
  • 5:33 - 5:35
    เรามีอะไรบางอย่างที่ไม่เพิ่มสูงขึ้น
  • 5:35 - 5:38
    ด้วยการประดิษฐ์คิดค้นและวิธีการใหม่ในการให้แสงสว่าง
  • 5:38 - 5:43
    ด้วยรถยนต์แบบต่างๆ ด้วยวิธีการก่อสร้างอาคารหลายๆวิธี
  • 5:43 - 5:46
    มีอะไรมากมายที่เราสามารถทำให้
  • 5:46 - 5:50
    เกิดการใช้พลังงานให้น้อยที่สุดได้
  • 5:50 - 5:53
    กิจกรรมบางอย่างอาจจะลดการใช้พลังงานลงได้ถึงร้อยละ 90
  • 5:53 - 5:56
    กิจกรรมอื่นๆเช่น เราผลิตปุ๋ยอย่างไร
  • 5:56 - 5:58
    หรือเราเดินทางทางอากาศอย่างไร
  • 5:58 - 6:02
    ซึ่งมีช่องให้เราปรับปรุงได้น้อยกว่ามาก
  • 6:02 - 6:04
    ดังนั้น ภาพรวมตรงนี้ ถ้าเราคิดในแง่ดี
  • 6:04 - 6:11
    เราอาจจะลดลงมาได้ 1/3 หรือบางทีอาจจะ 1/6
  • 6:11 - 6:14
    แต่สำหรับปัจจัย 3 ตัวแรก
  • 6:14 - 6:19
    เราเริ่มจากอย่างเก่งก็ 26 พันล้าน มาเป็นอาจจะสัก 13 พันล้าน
  • 6:19 - 6:21
    ซึ่งนั่นก็ไม่ใช่การตัดทิ้งออกไปไหน
  • 6:21 - 6:23
    คราวนี้ลองมาดูปัจจัยตัวที่สี่
  • 6:23 - 6:25
    ซึ่งจะเป็นหัวใจหลัก
  • 6:25 - 6:31
    นี่เป็นปริมาณ CO2 ที่ปล่อยจากพลังงานแต่ละหน่วย
  • 6:31 - 6:35
    คำถามก็คือ เราสามารถทำให้กลายเป็นศูนย์ได้จริงๆหรือเปล่า?
  • 6:35 - 6:37
    ถ้าเราใช้ถ่านหิน คำตอบคือ ไม่ได้
  • 6:37 - 6:39
    ถ้าเราใช้ก๊าซธรรมชาติ ก็ไม่ได้อีก
  • 6:39 - 6:42
    เกือบจะทุกวิธีที่เราใช้ผลิตไฟฟ้าทุกวันนี้
  • 6:42 - 6:48
    ปล่อย CO2 กันหมด ยกเว้นพลังงานหมุนเวียนที่เพิ่งมีมาใหม่กับพลังงานนิวเคลียร์
  • 6:48 - 6:51
    ถ้าอย่างนั้น สิ่งที่เราต้องทำในระดับโลก
  • 6:51 - 6:54
    คือสร้างระบบขึ้นมาใหม่
  • 6:54 - 6:56
    เพราะฉะนั้น เราจำเป็นจะต้องสร้างปาฏิหาริย์ทางพลังงาน
  • 6:56 - 7:00
    เมื่อผมใช้คำว่า ปาฏิหาริย์ ผมไม่ได้หมายถึงอะไรที่เป็นไปไม่ได้นะครับ
  • 7:00 - 7:05
    ไมโครโพรเซสเซอร์ (microprocessor) คือ ปาฏิหาริย์ คอมพิวเตอร์ส่วนบุคคลคือ ปาิฏิหาริย์
  • 7:05 - 7:08
    อินเตอร์เน็ตและบริการอินเตอร์เน็ต คือ ปาฏิหาริย์
  • 7:08 - 7:13
    ถ้างั้น ก็นับได้ว่าคนที่อยู่ที่นี่ได้ร่วมสร้างปาฏิหาริย์มากมาย
  • 7:13 - 7:15
    โดยทั่วไป เราไม่มีกำหนดเวลา
  • 7:15 - 7:17
    ที่เราจะต้องสร้างปาฏิหาริย์ให้สำเร็จภายในวันเวลาที่ระบุ
  • 7:17 - 7:21
    โดยทั่วไป เราก็แค่รอๆดูๆไป ปาฏิหาริย์บางอย่างก็มาเอง บางอย่างก็ไม่
  • 7:21 - 7:25
    แต่นี่เป็นกรณีที่พวกเราจะต้องช่วยกันขับเคลื่อนเต็มอัตรากำลัง
  • 7:25 - 7:30
    เพื่อสร้างปาฏิหาริย์ให้เกิดขึ้นให้ได้ในเวลาจำกัดจำเขี่ย
  • 7:30 - 7:33
    ผมเคยนึกอยู่ว่าผมจะจับสาระของมันจริงๆออกมานำเสนอได้ยังไง
  • 7:33 - 7:35
    พอจะมีตัวอย่างที่ธรรมชาติสร้างไว้อยู่บ้างไหม
  • 7:35 - 7:40
    พอจะมีการสาธิตแบบไหนที่จะดึงจินตนาการของผู้คนที่นี่ออกมา
  • 7:40 - 7:44
    ผมนึกย้อนไปสักปีนึงที่ผ่านมาตอนที่ผมเอายุงมาด้วย
  • 7:44 - 7:46
    แล้วจะด้วยอะไรก็แล้วแต่ ผู้คนสนุกสนานกับมันมาก
  • 7:46 - 7:48
    (เสียงหัวเราะ)
  • 7:48 - 7:51
    มันทำให้พวกเขาได้มีส่วนร่วมรู้คิดว่า
  • 7:51 - 7:54
    มีคนที่ใช้ชีวิตอยู่กับสภาพที่มีแต่ยุง
  • 7:54 - 7:59
    ถ้างั้น พอถึงเรื่องพลังงาน เท่าที่ผมพอจะนึกออกก็คืออันนี้
  • 7:59 - 8:02
    ผมตกลงใจว่า การปล่อยหิ่งห้อย
  • 8:02 - 8:06
    จะเป็นการที่ผมมีส่วนร่วมในการพิทักษ์รักษาสิ่งแวดล้อมของที่นี่ในปีนี้
  • 8:06 - 8:09
    เพราะงั้น เรามีหิ้งห้อยจากธรรมชาติอยู่นี่จำนวนนึง
  • 8:09 - 8:12
    เขาบอกผมว่ามันไม่กัดครับ ในความเป็นจริงแล้ว มันอาจจะไม่แม้กระทั่งออกจากขวดนี่
  • 8:12 - 8:15
    (เสียงหัวเราะ)
  • 8:15 - 8:20
    มีวิธีแก้ปัญหาที่มีกลเม็ดเด็ดพรายอย่างอันเีนี่ยอยู่เต็มไปหมดครับ
  • 8:20 - 8:22
    แต่ก็ไม่ได้ช่วยอะไรขึ้นมาสักเท่าไหร่
  • 8:22 - 8:26
    เราจำเป็นต้องหาวิธีแก้ปัญหา จะวิธีเดียวหรือหลายๆวิธี
  • 8:26 - 8:30
    ในระดับมหภาค
  • 8:30 - 8:32
    และก็ต้องเชื่อถือได้อย่างมากด้วย
  • 8:32 - 8:35
    และถึงแม้ว่าจะมีหลายๆหนทางที่คนเราหากันอยู่
  • 8:35 - 8:39
    ผมเห็นจริงๆแค่ห้าหนทางที่จะแก้ปัญหาในระดับใหญ่ได้
  • 8:39 - 8:44
    ที่ผมยังไม่ได้พูดถึงก็คือ คลื่นสมุทร ความร้อนใต้พิภพ นิวเคลียร์ฟิวชั่น เชื้อเพลิงชีวภาพ
  • 8:44 - 8:46
    หนทางพวกนี้อาจจะมีส่วนในการแก้ปัญหา
  • 8:46 - 8:48
    และถ้าหนทางพวกนี้มีส่วนแก้ปัญหามากกว่าที่ผมคิดไว้ ดีกว่าที่คิดไว้มากๆ
  • 8:48 - 8:50
    แต่จุดสำคัญ
  • 8:50 - 8:54
    คือ เราจะต้องหาทางนำแต่ละหนทางทั้งห้าไปใช้
  • 8:54 - 8:58
    และเราจะต้องไม่เลิกล้มอันใดอันหนึ่งเพียงเพราะมันดูน่าพรั่นพรึง
  • 8:58 - 9:02
    เพราะว่าหนทางเหล่านี้ต่างก็มีความท้าทายที่มีนัยยะสำคัญด้วยกันทั้งนั้น
  • 9:02 - 9:04
    ก่อนอื่น เราลองมาดูการเผาไหม้เชื้อเพลิงฟอสซิล
  • 9:04 - 9:08
    ไม่ว่าจะเป็นการเผาไหม้ถ่านหินหรือการเผาไหม้ก๊าซธรรมชาติ
  • 9:08 - 9:11
    สิ่งที่เราต้องทำอาจจะดูง่ายๆแต่จริงๆแล้วไม่ง่ายเลยครับ
  • 9:11 - 9:17
    นั่นก็คือจะต้องเอา CO2 ทั้งหมดหลังจากที่เราเผาไหม้ออกมาจากปล่องควัน
  • 9:17 - 9:20
    อัดความดันทำให้กลายเป็นของเหลวแล้วเอาไปเก็บไปที่ไหนสักแห่ง
  • 9:20 - 9:22
    แล้วก็หวังว่ามันจะอยู่อย่างนั้นไปเรื่อยๆ
  • 9:22 - 9:26
    ตอนนี้เรามีโครงการนำร่องแล้วที่ทำแบบนี้แล้วที่ทำได้ในอัตราร้อยละ 60 - 80
  • 9:26 - 9:30
    แต่การจะทำให้ได้เต็มที่ร้อยเปอร์เซ็นต์เป็นเรื่องยากมาก
  • 9:30 - 9:36
    แล้วการที่จะตกลงกันได้ว่าจะเอา CO2 พวกนี้ไปไว้ไหนก็เป็นเรื่องยากอีก
  • 9:36 - 9:39
    แต่ที่ยากที่สุดก็คือประเด็นในระยะยาว
  • 9:39 - 9:41
    ใครหละจะแน่ใจ?
  • 9:41 - 9:45
    ใครหละจะมารับประกันสิ่งที่ขนาดใหญ่เป็นพันล้านเท่ากว่า
  • 9:45 - 9:49
    ขยะประเภทใดที่เราพอจะนึกออกที่มาจากนิวเคลียร์หรือจากอย่างอื่นๆ
  • 9:49 - 9:52
    มันจะมีปริมาตรใหญ่มาก
  • 9:52 - 9:54
    ดังนั้น นั่นเป็นอันหนึ่งที่ยากสาหัสอยู่
  • 9:54 - 9:56
    อันต่อไปก็คือพลังงานนิวเคลียร์
  • 9:56 - 9:59
    ซึ่งมีปัญหาอยู่ 3 ข้อใหญ่
  • 9:59 - 10:03
    ต้นทุนสูง โดยเฉพาะอย่างยิ่งในประเทศที่กฏระเบียบเคร่งครัด
  • 10:03 - 10:07
    ประเด็นความปลอดภัย ความรู้สึกสบายใจจริงๆว่าจะไม่มีอะไรผิดพลาดเกิดขึ้น
  • 10:07 - 10:10
    ถึงแม้ว่าเราจะมีคนเป็นผู้ควบคุมการทำงานของเครื่อง
  • 10:10 - 10:13
    เชื้อเพลิงจะไม่ถูกนำไปใช้ทำเป็นขีปนาวุธ
  • 10:13 - 10:15
    ข้อต่อไปก็คือเราจะทำยังไงกับกากนิวเคลียร์
  • 10:15 - 10:18
    ถึงแม้ว่ามันจะมีปริมาณไม่มาก แต่ก็มีความประพรั่นหวั่นวิตกเกี่ยวกับเรื่องนี้
  • 10:18 - 10:20
    ผู้คนจะต้องรู้สึกดีรู้สึกสบายใจเกี่ยวกับพลังงานนิวเคลียร์เสียก่อน
  • 10:20 - 10:25
    ปัญหาใหญ่ทั้งสามอาจจะมีหนทางแก้ไข
  • 10:25 - 10:27
    และเพราะฉะนั้น จึงควรจะได้รับการแก้ไข
  • 10:27 - 10:30
    สามหนทางท้ายสุด ผมรวมไว้เป็นกลุ่มเดียวกัน
  • 10:30 - 10:34
    เป็นกลุ่มที่มักจะเรียกกันว่าแหล่งพลังงานหมุนเวียน
  • 10:34 - 10:38
    จริงๆแล้ว -- ถึงแม้ว่ามีข้อดีที่ไม่ต้องใช้เชื้อเพลิง --
  • 10:38 - 10:40
    มันก็มีข้อเสียอยู่บางประการ
  • 10:40 - 10:46
    ข้อแรกก็คือความเข้มข้นพลังงานจากเทคโนโลยีพวกนี้รวมกันแล้ว
  • 10:46 - 10:48
    ยังน้อยกว่าที่ได้จากโรงไฟฟ้าอยู่มากครับ
  • 10:48 - 10:52
    นี่ฟาร์มพลังงาน เรากำลังพูดกันถึงพื้นที่หลายๆไร่
  • 10:52 - 10:57
    เป็นพันๆเท่าของที่เราใช้สำหรับโรงไฟฟ้าโดยปรกติ
  • 10:57 - 11:00
    แล้วมันก็เป็นแหล่งพลังงานที่ไม่มีความต่อเนื่อง
  • 11:00 - 11:03
    พระอาทิตย์ไม่ได้ส่องแสงตลอดทั้งวัน ไม่ได้ส่องแสงทุกวี่ทุกวัน
  • 11:03 - 11:06
    ลมก็คล้ายคลึงกันก็คือไม่ได้พัดอยู่ตลอดเวลา
  • 11:06 - 11:08
    ฉะนั้น ถ้าเราขึ้นอยู่กับแหล่งพลังงานพวกนี้
  • 11:08 - 11:11
    เราก็ต้องมีวิธีที่จะผลิตพลังงาน
  • 11:11 - 11:14
    ในช่วงที่ขาดแคลนพลังงานจากแหล่งหมุนเวียน
  • 11:14 - 11:17
    ดังนั้น เราก็ประสบกับความท้าทายด้านต้นทุน
  • 11:17 - 11:19
    เราเจอความท้าทายในด้านการจ่ายไฟ
  • 11:19 - 11:22
    ยกตัวอย่างเป็นต้นว่า แหล่งพลังงานอยู่นอกประเทศ
  • 11:22 - 11:24
    เราก็ต้องมีไม่เฉพาะแต่เทคโนโลยี
  • 11:24 - 11:29
    แต่เราต้องมาจัดการกับความเสี่ยงที่มีแหล่งพลังงานมาจากที่อื่น
  • 11:29 - 11:31
    และท้ายสุดก็คือการจัดเก็บเชื้อเพลิง
  • 11:31 - 11:34
    เพื่อให้เห็นครบมิติ ผมก็เลยลองไปสำรวจดู
  • 11:34 - 11:37
    แบตเตอรี่ทุกประเภทในท้องตลาด
  • 11:37 - 11:41
    ที่ใช้กับรถยนต์ กับคอมพิวเตอร์ กับโทรศัพท์ กับไฟฉาย กับทุกสิ่งทุกอย่าง
  • 11:41 - 11:46
    แล้วเปรียบเทียบกับปริมาณของพลังงานไฟฟ้าที่ใช้ทั้งโลก
  • 11:46 - 11:50
    ผมพบว่าแบตเตอรี่ทั้งหมดที่เรามีอยู่ตอนนี้
  • 11:50 - 11:54
    กักเก็บพลังงานได้เพียงแค่ 10 นาทีของพลังงานทั้งหมดที่เราใช้อยู่
  • 11:54 - 11:57
    ดังนั้น ในความเป็นจริงแล้ว เราจะต้องให้มีการพัฒนาครั้งยิ่งใหญ่เกิดขึ้นให้ได้
  • 11:57 - 12:01
    พัฒนาอะไรที่ดีกว่าเป็นร้อยเท่า
  • 12:01 - 12:03
    กว่าแนวทางที่เรามีอยู่ตอนนี้
  • 12:03 - 12:07
    ไม่ใช่เรื่องเป็นไปไม่ไ้ด้ แต่ก็ไม่ใช่อะไรที่ง่ายเลย
  • 12:07 - 12:11
    นี่แสดงให้เห็นว่าถ้าเราจะใช้แหล่งพลังงานที่ไม่ต่อเนื่อง
  • 12:11 - 12:15
    ให้ได้มากกว่าเอาว่าร้อยละ 20 - 30 ที่เราใช้กันอยู่
  • 12:15 - 12:17
    ถ้าเราจะพึ่งพาแหล่งพลังงานไม่ต่อเนื่องอย่างเต็มร้อย
  • 12:17 - 12:22
    เราจะต้องมีแบตเตอรี่ที่ปาฏิหาริย์อย่างไม่น่าเชื่อ
  • 12:23 - 12:26
    เอาหล่ะครับ เราจะก้าวไปในหนทางไหน แนวทางไหนเป็นแนวทางที่ถูกต้อง
  • 12:26 - 12:30
    นี่ใช่โครงการแมนฮัตตัน (Manhattan project) หรือเปล่า อะไรที่จะทำให้เราไปถึงจุดมุ่งหมาย
  • 12:30 - 12:35
    แบบนี้ครับ เราจะต้องมีบริษัทหลายๆบริษัทช่วยกันพัฒนาด้านนี้ขึ้น ต้องเป็นร้อยๆครับ
  • 12:35 - 12:38
    ในแต่ละหนทางทั้งห้านี้ เราต้องมีอย่างน้อยสักร้อยคน
  • 12:38 - 12:42
    แล้วก็คนพวกนี้ส่วนใหญ่ เราก็จะมองว่าเขาทำอะไรเพี้ยนๆ ซึ่งก็ดีแล้วครับ
  • 12:42 - 12:45
    ผมคิดว่า ในกลุ่ม TED ที่นี่
  • 12:45 - 12:49
    เราก็มีหลายคนที่ได้เริ่มทำอะไรพวกนี้ไปแล้ว
  • 12:49 - 12:53
    บิลล์ กรอสส์ (ฺBill Gross) ทำหลายบริษัทเลย รวมถึงอันนึงที่ชื่อ อีโซลาร์ (eSolar)
  • 12:53 - 12:55
    ที่มีเทคโนโลยีอุณหภาพรังสีอาทิตย์ (solar thermal) ที่เยี่ยมยอด
  • 12:55 - 12:59
    วินนอด โคสลา (Vinod Khosla) ได้ลงทุนในหลายสิบบริษัท
  • 12:59 - 13:03
    ที่ได้พัฒนาอะไรเจ๋งๆออกมาและมีอะไรที่น่าสนใจที่อาจจะทำออกมาได้อีกเยอะ
  • 13:03 - 13:05
    ผมเองก็กำลังให้การสนับสนุน
  • 13:05 - 13:09
    นาธาน มีห์ร์โวลด์ (Nathan Myhrvold) กับผมจริงๆแล้วได้ให้การสนับสนุนบริษัทหนึ่ง
  • 13:09 - 13:13
    ที่ อาจจะน่าแปลกสักหน่อย ที่พัฒนาไปในด้านนิวเคลียร์ครับ
  • 13:13 - 13:17
    มีนวัตกรรมอยู่บ้างในด้านนิวเคลียร์: นวัตกรรมมอดุลาร์เป็นแบบสารเหลว
  • 13:17 - 13:21
    จริงๆแล้ว นวัตกรรมในอุตสาหกรรมนี้หยุดมาได้สักพักใหญ่
  • 13:21 - 13:26
    ฉะนั้น ความคิดที่ว่ามีแนวคิดดีๆอยู่รายรอบก็ไม่ใช่เรื่องน่าแปลกอะไรเลย
  • 13:26 - 13:32
    แนวคิดแบบเทร์ราพาวเวอร์ (Terrapower) เป็นแบบนี้ครับ แทนที่เราจะใช้ยูเรเนียมส่วนหนึ่งเป็นเชื้อเพลิง
  • 13:32 - 13:35
    คือส่วนที่มีร้อยละ 1 ซึ่งก็คือ ยูเรเนียม235 (U235)
  • 13:35 - 13:40
    เราก็เลือกส่วนที่มีร้อยละ 99 มาเป็นเชื้อเพลิงจะดีกว่า นั่นคือ ยูเรเนียม238 (U238)
  • 13:40 - 13:42
    เป็นแนวคิดที่บ้าบิ่นเอาเรื่อง
  • 13:42 - 13:45
    ในความเป็นจริง คนพูดกันเรื่องนี้มานานแล้วครับ
  • 13:45 - 13:49
    แต่พวกเขาไม่สามารถทำแบบจำลองที่ถูกต้องเพื่อศึกษาว่าัมันทำงานได้จริงหรือไม่
  • 13:49 - 13:52
    พองั้น ก็เนื่องด้วยว่ามีซูเปอร์คอมพิวเตอร์สมัยใหม่ขึ้นมา
  • 13:52 - 13:54
    ที่ในตอนนี้เราสามารถศึกษาจำลองเพื่อตอบว่า ได้
  • 13:54 - 14:00
    ด้วยกรรมวิธีทางวัสดุที่ถูกต้อง ดูเหมือนว่ามันจะต้องทำงานได้จริง
  • 14:00 - 14:03
    และก็เพราะว่าเรานำส่วนที่เป็นร้อยละ 99 มาเป็นเชื้อเพลิง
  • 14:03 - 14:07
    เราจะทำให้ต้นทุนดูดีขึ้นอย่างมาก
  • 14:07 - 14:11
    จริงๆแล้วเราเผาไหม้กากนิวเคลียร์ และสิ่งที่เราเอามาใช้เป็นเชื้อเพลิงได้จริงก็คือ
  • 14:11 - 14:14
    กากนิวเคลียร์ทั้งหมดที่เหลือออกมาจากเตาปฏิกรณ์ทุกวันนี้
  • 14:14 - 14:19
    ดังนั้น แทนที่จะต้องไปกังวลอะไรกับมัน เราก็แค่เอามากลับใช้ใหม่ เยี่ยมไปเลยครับ
  • 14:19 - 14:23
    มันเผาไหม้ได้มาเป็นยูเรเนียมนี่ ก็คล้ายๆกับเทียนไขอะไรแบบนั้น
  • 14:23 - 14:27
    เราจะเห็นเป็นท่อนๆตรงนี้ มักจะเรียกกันว่า เตาปฏิกรณ์คลื่นเคลื่อนที่ (traveling wave reactor)
  • 14:27 - 14:31
    ในแง่ของเชื้อเพลิง นี่เป็นการแก้ไขปัญหาอย่างแท้จริงครับ
  • 14:31 - 14:34
    ผมมีรูปของสถานที่หนึ่งในเคนตักกี้
  • 14:34 - 14:36
    นี่เป็นกากนิวเคลียร์ ส่วนที่เป็นร้อยละ 99 นั่นแหละครับ
  • 14:36 - 14:38
    เป็นส่วนที่เอาออกมาหลังจากใช้ในการเผาไหม้เสร็จสิ้นแล้ว
  • 14:38 - 14:40
    เรียกกันว่า ยูเรเนียมด้อยสมรรถนะ (depleted uranium)
  • 14:40 - 14:43
    เอามาใช้ผลิตพลังงานสำหรับใช้ในอเมริกาได้อีกเป็นร้อยๆปี
  • 14:43 - 14:46
    และถ้าใช้กระบวนการหล่อเย็นด้วยน้ำทะเลซึ่งเป็นกระบวนการง่ายๆและค่าใช้จ่ายไม่สูง
  • 14:46 - 14:51
    เราก็จะมีเชื้อเพลิงที่จะใช้ไปตลอดชั่วอายุขัยของโลกใบนี้ครับ
  • 14:51 - 14:55
    ดังนั้นก็รู้กันนะครับว่าเรายังมีเรื่องท้าท้ายรอเราอยู่อีกมาก
  • 14:55 - 15:00
    แต่นี่เป็นตัวอย่างหนึ่งของแนวคิดอีกเป็นร้อยเป็นพัน
  • 15:00 - 15:03
    ที่บ่งว่าเราจะต้องพัฒนาไปข้างหน้า
  • 15:03 - 15:06
    ลองมาคิดกันดูครับว่าเราควรจะตรวจสอบดูความก้าวหน้าได้ยังไงด้วยตัวเราเอง
  • 15:06 - 15:09
    รายงานความก้าวหน้าของเราควรจะหน้าตาเป็นยังไง
  • 15:09 - 15:12
    ลองไปดูกันที่จุดมุ่งหมายที่เราต้องไปให้ถึงเสียก่อน
  • 15:12 - 15:14
    แล้วก็ลองย้อนกลับมาดูช่วงตรงกลาง
  • 15:14 - 15:19
    พอถึงปี ค.ศ.2050 (พ.ศ.2593) เราคงได้ยินหลายๆคนบอกว่าจะลดลงให้ได้ร้อยละ 80
  • 15:19 - 15:23
    สำคัญมากเลยนะครับที่เราต้องทำให้ได้ตามนั้น
  • 15:23 - 15:27
    ส่วนอีกร้อยละ 20 นั่นจะเป็นในประเทศยากจน
  • 15:27 - 15:29
    แ้ล้วก็ภาคการเกษตร
  • 15:29 - 15:33
    หวังว่าตอนนั้น เราจะไม่มีก๊าซฯ ที่เกิดจากภาคป่าไม้ จากอุตสาหกรรมซีเมนต์
  • 15:33 - 15:36
    ดังนั้นจะลดให้ได้ร้อยละ 80
  • 15:36 - 15:40
    กลุ่มประเทศพัฒนาแล้ว ร่วททั้งประเทศอย่างเช่น จีน
  • 15:40 - 15:45
    จะต้องมาร่วมกันปรับเปลี่ยนกรรมวิธีการผลิตไฟฟ้า
  • 15:45 - 15:51
    งั้น อีกด้านหนึ่งที่ต้องดูก็คือ ต้องดูว่าเราใช้เทคโนโลยีที่ไม่ปล่อยก๊าซเรือนกระจกกันไหม
  • 15:51 - 15:53
    ที่ผ่านมา เราได้ใช้เทคโนโลยีแบบนี้ในประเทศพัฒนาแล้วทุกประเทศหรือยัง
  • 15:53 - 15:56
    และเราได้ถ่ายทอดเทคโนโลยีนี้ไปที่อื่นแล้วหรือไม่
  • 15:56 - 15:58
    นี่เป็นเรื่องสำคัญเอามากๆเลยครับ
  • 15:58 - 16:02
    เป็นหัวใจสำคัญในรายงานความก้าวหน้าที่เราว่ากันอะนะครับ
  • 16:02 - 16:07
    คราวนี้ ย้อนกลับมาจากตรงนั้น ความก้าวหน้าในปี ค.ศ.2020 (พ.ศ.2563) ควรจะเป็นยังไง
  • 16:07 - 16:09
    อีกครั้งครับ ที่ควรจะดูที่สองตัวแปรหลัก
  • 16:09 - 16:13
    เราควรจะดูที่ประสิทธิภาพพลังงานเป็นจุดเริ่มต้นในการลดการปล่อย CO2
  • 16:13 - 16:16
    ยิ่งเราปล่อย CO2 น้อยเท่าไหร่ ปริมาณรวมของ CO2 ก็จะน้อยลงเท่านั้น
  • 16:16 - 16:18
    และก็จะส่งผลให้อุณหภูมิเพิ่มขึ้นน้อยลงตามไปด้วย
  • 16:18 - 16:21
    แต่เนื่องด้วยเหตุบางอย่าง ความก้าวหน้าของเราที่จุดนี้
  • 16:21 - 16:25
    การทำอะไรที่ไม่ได้ส่งให้เราสามารถลดการปล่อยก๊าซฯได้มาก
  • 16:25 - 16:29
    มีความสำคัญเท่ากับหรือบางทีอาจจะำสำคัญน้อยกว่าการทำอีกแบบหนึ่งนิดหน่อย
  • 16:29 - 16:33
    ซึ่งก็คือนวัตกรรมความก้าวหน้าด้านพลังงานนั่นเองครับ
  • 16:33 - 16:36
    ความก้าวหน้าพวกนี้ เราต้องขับเคลื่อนอย่างเต็มกำลัง
  • 16:36 - 16:39
    เราอาจจะวัดความก้าวหน้าจากจำนวนบริษัท
  • 16:39 - 16:42
    จากโครงการนำร่อง จากกฏข้อบังคับที่มีการปรับเปลี่ยน
  • 16:42 - 16:45
    มีหนังสือดีๆหลายเล่มที่เขียนเกี่ยวกับเรื่องนี้
  • 16:45 - 16:48
    หนังสือของอัล กอร์ (Al Gore) ที่ชื่อ "ทางเลือกของเรา (Our Choice)"
  • 16:48 - 16:51
    และหนังสือของเดวิด แม็คเคย์ (David McKay) ชื่อ "พลังงานยั่งยืนที่ไม่ทำให้อากาศร้อน (Sustainable Energy Without the Hot Air)"
  • 16:51 - 16:54
    บรรดาผู้เขียนได้อธิบายอย่างรอบด้านและยังสร้างกรอบแนวคิด
  • 16:54 - 16:56
    ให้สามารถมาถกประเด็นกันได้ในวงกว้าง
  • 16:56 - 16:59
    เพราะเราต้องมีการสนับสนุนจากคนในวงกว้างในเรื่องนี้
  • 16:59 - 17:01
    มีอะไรมากมายที่จะต้องมาสอดประสานกัน
  • 17:01 - 17:03
    นี่เป็นความเจตจำนงค์อันหนึ่งครับ
  • 17:03 - 17:07
    มันเป็นเจตจำนงค์อันแรงกล้าว่าพวกเราจะพัฒนาเทคโนโลยีนี้ขึ้นมา
  • 17:07 - 17:10
    ถ้าคุณให้ผมขอพรได้เพียงหนึ่งข้อในตลอด 50 ปีต่อจากนี้
  • 17:10 - 17:12
    ผมอาจจะเลือกว่าจะให้ใครเป็นประธานาธิบดีก็ได้
  • 17:12 - 17:15
    ผมอาจจะเลือกวัคซีน ซึ่งก็เป็นสิ่งที่ผมรัก
  • 17:15 - 17:17
    หรือผมอาจจะเลือกว่ามีสิ่งนี้
  • 17:17 - 17:21
    สิ่งที่ใช้ต้นทุนเพียงครึ่งเดียวและไม่ปล่อย CO2 ออกมาเลย
  • 17:21 - 17:23
    นี่แหละครับเป็นพรข้อที่ผมจะเลือก
  • 17:23 - 17:25
    นี่เป็นสิ่งเดียวที่สร้างความเปลี่ยนแปลงมากที่สุด
  • 17:25 - 17:27
    ถ้าเราไม่ได้พรสมตามความปรารถนาของเรา
  • 17:27 - 17:31
    ความแบ่งแยกระหว่างคนที่คิดอะไรแบบเฉพาะหน้ากับคนที่คิดแบบระยะยาวจะห่างกันมากขึ้น
  • 17:31 - 17:34
    ระหว่าง อเมริกา กับ จีน ระหว่างประเทศยากจนกับประเทศร่ำรวย
  • 17:34 - 17:39
    และเกือบจะทุกๆชีวิตของคนสองพันล้านคนจะเลวร้ายลงไปอีกมาก
  • 17:39 - 17:41
    ดังนั้น เราจะต้องทำอะไรบ้างครับ
  • 17:41 - 17:46
    อะไรที่ผมกำลังวิงวอนขอร้องพวกคุณให้ก้าวออกมาแล้วเดินไปข้างหน้า
  • 17:46 - 17:49
    เราจะต้องมีงบประมาณวิจัยและพัฒนามากกว่านี้
  • 17:49 - 17:51
    เมื่อประเทศต่างๆไปประชุมร่วมกันในสถานที่อย่างกรุงโคเปนเฮเกน
  • 17:51 - 17:54
    พวกเขาไม่น่าจะแค่ถกประเด็นกันเฉพาะเกี่ยวกับ CO2
  • 17:54 - 17:56
    พวกเขาควรจะต้องถกประเด็นเรื่องแผนนวัตกรรม
  • 17:56 - 18:01
    และพวกคุณจะตกใจมากกับงบประมาณใช้จ่ายที่น้อยอย่างน่าขัน
  • 18:01 - 18:03
    ในแนวทางนวัตกรรมพวกนี้
  • 18:03 - 18:07
    เราจำเป็นต้องมีการจูงใจด้วยกลไกตลาด มีภาษีคาร์บอน มีระบบการซื้อขายแลกเปลี่ยนสิทธิการปล่อยก๊าซเรือนกระจก
  • 18:07 - 18:10
    มีสิ่งที่คอยส่งสัญญาณราคาออกไป
  • 18:10 - 18:12
    เราจำเป็นต้องส่งสาส์นนี้ออกไป
  • 18:12 - 18:15
    เราจำเป็นต้องให้การอภิปรายนี้มีเหตุมีผลขึ้น เป็นการอภิปรายที่สามารถยอมรับได้มากขึ้น
  • 18:15 - 18:18
    รวมไปถึงขั้นตอนต่างๆที่รัฐบาลจะต้องทำ
  • 18:18 - 18:22
    นี่เป็นความประสงค์ที่สำคัญประการหนึ่ง แต่เป็นประการที่ผมเชื่อว่าเราทำให้สัมฤทธิ์ผลได้
  • 18:22 - 18:24
    ขอบคุณครับ
  • 18:24 - 18:35
    (เสียงปรบมือ)
  • 18:35 - 18:37
    ขอบคุณครับ
  • 18:37 - 18:39
    คริส แอนเดอร์สัน (Chris Anderson): ขอบคุณฮะ ขอบคุณครับ
  • 18:39 - 18:44
    (เสียงปรบมือ)
  • 18:44 - 18:50
    ขอบคุณครับ จะขอทำความเข้าใจนิดนึงเกี่ยวกับเทร์ร่าพาวเวอร์ ใช่ไหมครับ
  • 18:50 - 18:55
    ผมหมายถึงแบบนี้ครับ ก่อนอื่น คุณพอจะบอกได้ไหมครับว่าการลงทุนมีขนาดประมาณไหน
  • 18:55 - 18:59
    บิลล์ เกตส์: ทำซอฟต์แวร์ขึ้นมา ซื้อซูเปอร์คอมพิวเตอร์
  • 18:59 - 19:01
    จ้างนักวิทยาศาสตร์มือเยี่ยมๆ ซึ่งพวกผมก็ทำไปแล้ว
  • 19:01 - 19:04
    ก็ตกอยู่แค่หลักสิบล้านดอลลาร์
  • 19:04 - 19:07
    และถ้าถึงตอนที่พวกผมทดสอบตัววัสดุนี้ที่เตาปฏิกรณ์ที่รัสเซีย
  • 19:07 - 19:11
    เพื่อความแน่ใจว่าวัสดุตัวนี้ทำงานได้ไม่มีผิดพลาด
  • 19:11 - 19:13
    ตอนนั้น เราก็น่าจะพูดกันถึงแค่หลักร้อยล้านดอลลาร์เท่านั้นแหละครับ
  • 19:13 - 19:16
    เรื่องยากก็คือการสร้างเตาปฏิกรณ์นำร่อง
  • 19:16 - 19:21
    ต้องหาทุนกันเป็นพันล้าน ต้องเข้าไปคุยกับผู้ออกกฏของรัฐ ต้องหาสถานที่ตั้ง
  • 19:21 - 19:23
    ที่จะสร้างเตาปฏิกรณ์เตาแรกขึ้นมา
  • 19:23 - 19:27
    ถ้าพอเราสร้างเตาปฏิกรณ์แรกขึ้นมาแล้วแล้วถ้ามันทำงานได้อย่างที่โฆษณาไว้
  • 19:27 - 19:31
    คราวนี้ก็หนทางสว่างไสวแล้วครับ เพราะว่าเศรษฐศาสตร์ที่เกี่ยวข้องและความเข้มข้นพลังงาน
  • 19:31 - 19:33
    ต่างจากไฟฟ้านิวเคลียร์ที่เรารู้จักอย่างมากเชียวหละครับ
  • 19:33 - 19:37
    คริส: ถ้างั้น ให้เข้าใจถูกต้องก็คือ จะมีการสร้างลึกลงไปใต้ดิน
  • 19:37 - 19:41
    เกือบจะคล้ายกับท่อบรรจุเชื้อเพลิงนิวเคลียร์ชนิดแนวตั้ง
  • 19:41 - 19:43
    ของยูเรเนียมที่เผาไหม้แล้วประมาณนั้น
  • 19:43 - 19:46
    แล้วก็เป็นปฏิกิริยาที่เริ่มจากด้านบนแล้วค่อยๆเลื่อนลงมาข้างล่าง อย่างนั้นใช่ไหมครับ?
  • 19:46 - 19:49
    บิลล์: ถูกต้องเลยครับ ทุกวันนี้ เรายังต้องเติมเชื้อเพลิงในเตาปฏิกรณ์อยู่
  • 19:49 - 19:52
    ฉะนั้นเราก็เลยมีคนอยู่ส่วนหนึ่งแล้วก็การควบคุมงานอีกส่วนหนึ่งที่อาจเกิดความผิดพลาดได้
  • 19:52 - 19:55
    อะไรก็ตามถ้าเราต้องเปิดเตาแล้วย้ายนั่นนี่เข้าออก
  • 19:55 - 19:57
    เป็นอะไรที่ไม่ดีเลยครับ
  • 19:57 - 20:02
    ดังนั้น ถ้าเรามีเชื้อเพลิงที่ราคาถูกมากๆที่ใช้ไปได้นานถึง 60 ปี
  • 20:02 - 20:04
    คิดว่ามันเหมือนกับท่อนไม้ก็แล้กัน
  • 20:04 - 20:07
    ใส่เข้าไปแล้วก็ไม่ต้องไปวุ่นวายอะไรกับมันอีก
  • 20:07 - 20:12
    มันก็อยู่ในนั้น เผาไหม้ไป 60 ปี แล้วก็จบอยู่ตรงนั้น
  • 20:12 - 20:16
    คริส: มันก็คือโรงไฟฟ้านิวเคลียร์ที่มาพร้อมกระบวนการกำจัดกากนิวเคลียร์อยู่ภายในตัว
  • 20:16 - 20:18
    บิลล์: ใช่ครับ สิ่งที่เกิดขึ้นกับกากนิวเคลียร์
  • 20:18 - 20:23
    เราอาจปล่อยมันไว้ในนั้น -- กากนิวเคลียร์มีน้อยมากครับด้วยแนวทางแบบนี้นะครับ --
  • 20:23 - 20:25
    จากนั้นเราก็เอามันไป
  • 20:25 - 20:28
    ใส่ในเตาใหม่แล้วก็เผาไหม้ต่อ
  • 20:28 - 20:32
    แล้วเราก็เริ่มต้นด้วยการใช้กากนิวเคลียร์ที่มีอยู่ในปัจจุบัน
  • 20:32 - 20:36
    ที่แช่นิ่งอยู่ในสระหล่อเย็นหรือไม่ก็อยู่ในหีบเก็บกากที่เตาปฏิกรณ์
  • 20:36 - 20:38
    นั่นแหละจะเป็นเชื้อเพลิงที่เราจะเริ่มด้วย
  • 20:38 - 20:41
    ดังนั้น สิ่งที่เป็นปัญหาจากเตาปฏิกรณ์อื่น
  • 20:41 - 20:43
    ก็จะกลายเป็นเชื้อเพลิงสำหรับเตาของพวกผม
  • 20:43 - 20:46
    ซึ่งก็หมายความว่าเราลดปริมาณกากนิวเคลียร์ได้อย่างมากมาย
  • 20:46 - 20:48
    เมื่อเราเข้าสู่กระบวนการแบบของผม
  • 20:48 - 20:50
    คริส: แต่ในบรรดาที่คุณไปบรรยายมาแล้วทั่วโลก
  • 20:50 - 20:52
    ถึงความเป็นไปได้ตรงนี้
  • 20:52 - 20:55
    ที่ไหนที่ให้ความสนใจมากที่สุดที่จะทำอะไรแบบนี้ขึ้นมาจริงๆครับ?
  • 20:55 - 20:58
    บิลล์: อืม...พวกผมยังไม่ได้ชี้เฉพาะเรื่องสถานที่
  • 20:58 - 21:06
    และมันมีกฏเกณฑ์การเปิดเผยข้อมูลที่น่าสนใจเกี่ยวกับอะไรก็ตามที่ถือว่าเป็น นิวเคลียร์
  • 21:06 - 21:08
    ก็มีที่แสดงเจตจำนงค์ให้ความสนใจกันก็เยอะครับ
  • 21:08 - 21:12
    คนของเราไปที่รัสเซีย อินเดีย จีน
  • 21:12 - 21:14
    ผมเองก็กลับมาที่นี่เพื่อมาพบท่านรัฐมนตรีพลังงาน
  • 21:14 - 21:18
    หารือกันหนะครับว่าแนวทางนี้จะสอดรับกับแผนพลังงานได้ยังไงบ้าง
  • 21:18 - 21:21
    ผมก็เลยมองอนาคตไปในทางบวกครับ ฝรั่งเศสกับญี่ปุ่นก็มีดำเนินการในแนวนี้ด้วยนะครับ
  • 21:21 - 21:25
    ศึกษาพัฒนากันไปในรูปแบบต่างๆนานาตามนี้
  • 21:25 - 21:29
    นับเป็นการพัฒนาที่สำคัญ คล้ายกับเตาปฏิกรณ์แบบนิวตรอนเร็ว (FBR)
  • 21:29 - 21:31
    ที่หลายๆประเทศนำไปสร้าง
  • 21:31 - 21:36
    ดังนั้น ใครก็ตามที่ได้เคยสร้างเตา FBR ก็มีคุณสมบัติเข้าข่ายเป็นที่สร้างเตาแบบของผมได้
  • 21:36 - 21:41
    คริส: ฉะนั้น ในความคิดของคุณ ระยะเวลาและความน่าจะเป็น
  • 21:41 - 21:44
    ที่จะมีเตาแบบนี้ขึ้นมาจริงๆเป็นเท่าไหร่ครับ?
  • 21:44 - 21:49
    บิลล์: อืม...เราน่าจะต้องใช้...จะสร้างเครื่องผลิตกระแสไฟฟ้าขนาดใหญ่อย่างนี้ได้
  • 21:49 - 21:51
    ซึ่งราคาถูกมากครับ
  • 21:51 - 21:55
    เรามีเวลา 20 ปีในการก่อสร้าง และอีก 20 ปีในการเดินเครื่อง
  • 21:55 - 22:00
    นี่เป็นเหมือนกับกำหนดเวลาที่แบบจำลองทางสิ่งแวดล้อม
  • 22:00 - 22:02
    เสนอผลออกมาว่าเราจะต้องทำให้ได้
  • 22:02 - 22:07
    แล้วคุณรู้ไหมว่าเทร์ร่าพาวเวอร์ ถ้าทุกอย่างราบรื่นนะครับซึ่งก็ถือว่าขอมากโขอยู่
  • 22:07 - 22:09
    จะถึงเป้าหมายนั้นได้ง่ายๆเลยครับ
  • 22:09 - 22:12
    และตอนนี้ก็โชคดีที่มีบริษัทนับสิบ
  • 22:12 - 22:14
    จริงๆแล้วเราต้องให้มีเป็นร้อย
  • 22:14 - 22:16
    ที่ ก็คล้ายกันครับ ถ้าผลวิจัยวิทยาศาสตร์เป็นไปได้ด้วยดี
  • 22:16 - 22:19
    ถ้างบประมาณสร้างโรงไฟฟ้านำร่องไม่มีปัญหา
  • 22:19 - 22:21
    ก็จะมาแข่งขันกันกับเทคโนโลยีนี้
  • 22:21 - 22:23
    ที่ดีที่สุดก็คือหลายๆบริษัทสัมฤทธิ์ผล
  • 22:23 - 22:26
    เพราะถ้างั้นเราสามารถใช้ผลที่สัมฤทธิ์แล้วมาประกอบรวมกันได้
  • 22:26 - 22:28
    แน่นอนว่าเราต้องให้มีหนึ่งบริษัทที่ประสบผลสัมฤทธิ์ให้ได้
  • 22:28 - 22:31
    คริส: ถ้ามองกันที่ความเป็นไปได้ของการเปลี่ยนแปลงครั้งใหญ่
  • 22:31 - 22:34
    นี่ถือว่าเป็นอะไรที่ใหญ่ที่สุดที่คุณคิดว่ามีอยู่ในตอนนี้ไหมครับ?
  • 22:34 - 22:38
    บิลล์: ความก้าวล้ำในด้านพลังงานมีความสำคัญอย่างยิ่งครับ
  • 22:38 - 22:40
    มันจะสร้างการเปลี่ยนแปลงครั้งใหญ่ แม้ว่าจะไม่มีข้อจำกัดด้านสิ่งแวดล้อม
  • 22:40 - 22:45
    แต่ข้อจำกัดด้านสิ่งแวดล้อมก็ยิ่งทำให้มันดูยิ่งใหญ่เข้าไปอีก
  • 22:45 - 22:48
    ในวงการนิวเคลียร์ มีนวัตกรรมอื่นๆด้วย
  • 22:48 - 22:51
    คุณรู้ไหม เราไม่รู้จักงานชิ้นไหนของพวกเขาดีเท่ากับชิ้นนี้
  • 22:51 - 22:54
    แต่กับกลุ่มที่ใช้นวัตกรรมมอดุลาร์ ก็เป็นอีกแนวทางหนึ่ง
  • 22:54 - 22:58
    เป็นเตาปฏิกรณ์แบบสารเหลว ซึ่งค่อนข้างจะเข้าใจยาก
  • 22:58 - 23:00
    แต่บางทีพวกเขาอาจจะพูดถึงพวกผมแบบเดียวกันก็ได้ครับ
  • 23:00 - 23:03
    ก็คือว่า มีเทคนิคแนวทางหลายๆแบบ
  • 23:03 - 23:06
    แต่ความสวยงามของแบบนี้อยู่ที่โมเลกุลของยูเรเนียม
  • 23:06 - 23:10
    ให้พลังงานออกมาเป็นล้านเท่าเมื่อเทียบกับโมเลกุลของถ่านหิน
  • 23:10 - 23:13
    ดังนั้น ถ้าเราจัดการกับข้อเสีย
  • 23:13 - 23:16
    ซึ่งจริงๆก็คือกัมมันตรังสี
  • 23:16 - 23:19
    ต้นทุนทรัพยากรแฝงและต้นทุนราคา ศักยภาพ
  • 23:19 - 23:21
    ในเชิงผลกระทบต่อพื้นดินและอะไรต่างๆ
  • 23:21 - 23:25
    ก็ถือว่าเกือบจะเป็นหมวดหมู่หนึ่งในตัวมันเองอยู่แล้วครับ
  • 23:25 - 23:29
    คริส: ถ้าผลไม่ออกมาอย่างที่เราคิด แล้วจะเป็นไงต่อครับ?
  • 23:29 - 23:33
    เราต้องมาเริ่มมาตรการฉุกเฉินกันเลยหรือเปล่า
  • 23:33 - 23:36
    เืพื่อจะรักษาอุณหูมิของโลกให้เสถียร
  • 23:36 - 23:38
    บิลล์: ถ้าเกิดสถานการณ์แบบนั้น
  • 23:38 - 23:43
    จะคล้ายกับเรากินมากเกินไปจนแทบจะหัวใจวาย
  • 23:43 - 23:47
    ถ้าเป็นแบบนั้น เราจะไปไหนล่ะ? เราอาจจะต้องผ่าตัดหัวใจหรืออะไรทำนองนั้น
  • 23:47 - 23:51
    ได้มีการทำิวิจัยในด้านที่เรียกกันว่า ภูมิวิศวกรรม (geo-engineering)
  • 23:51 - 23:54
    ซึ่งเป็นการใช้เทคนิคต่างๆที่จะชะลอภาวะโลกร้อน
  • 23:54 - 23:57
    ไปข้างหน้า 20 หรือ 30 ปีพอให้เรามีเวลามาช่วยกันทำอย่างอื่นได้ทัน
  • 23:57 - 23:59
    แต่มันก็เป็นแค่นโยบายประกันภัยหนะครับ
  • 23:59 - 24:01
    หวังว่าเราจะไม่ต้องทำแบบนั้น
  • 24:01 - 24:03
    บางคนบอกว่าเราไม่ควรแม้แต่จะมีนโยบายประกันภัย
  • 24:03 - 24:05
    เพราะมันทำให้เราเฉื่อยแฉะ
  • 24:05 - 24:09
    ที่เรากินกันไม่บันยะบันยังก็เพราะเรารู้ว่าการผ่าตัดหัวใจสามารถรักษาเราได้
  • 24:09 - 24:12
    ผมไม่ค่อยแน่ใจว่านั่นเป็นวิธีที่ฉลาด ถ้าวัดกันที่ความสำคัญของปัญหา
  • 24:12 - 24:16
    แต่เดี๋ยวนี้เขาก็มีการพูดกันถึงภูมิวิศวกรรม
  • 24:16 - 24:20
    ทำนองว่า ควรเป็นตัวเลือกสำรองไว้เผื่อสถานการณ์เลวร้ายเร็วกว่าที่คิด
  • 24:20 - 24:23
    หรือถ้าหากนวัตกรรมนี้ใช้เวลานานกว่าที่คาดไว้เยอะ
  • 24:25 - 24:30
    คริส: คนที่ยังแคลงใจเกี่ยวกับโลกร้อน ถ้าคุณพูดกับพวกเขาได้ประโยคสองประโยค
  • 24:30 - 24:34
    คุณจะโน้มน้าวยังไงให้พวกเขายอมรับว่าพวกเขาเข้าใจผิด
  • 24:35 - 24:39
    บิลล์: อืม โชคร้ายที่ว่าคนที่แคลงใจเกี่ยวกับโลกร้อนมีหลายกลุ่มหลายพวก
  • 24:39 - 24:43
    พวกที่ถกกันด้วยข้อมูลทางวิทยาศาสตร์มีอยู่น้อยมากครับ
  • 24:43 - 24:46
    พวกเขาบอกด้วยหรือเปล่าว่ามีผลกระทบย้อนกลับแบบถดถอย
  • 24:46 - 24:48
    ที่เกี่ยวกับกลุ่มก้อนเมฆที่ไปชดเชยความร้อน?
  • 24:48 - 24:51
    มีอะไรน้อยมากๆที่พวกเขาหยิบยกมาพูดได้
  • 24:51 - 24:54
    แล้วอะไรพวกนั้นก็ขึ้นอยู่กับความเป็นไปได้ของนู่นนี่เยอะแยะมากมาย
  • 24:54 - 24:57
    ปัญหาหลักที่เรามีอยู่ตอนนี้จะคล้ายกับกรณีของโรคเอดส์
  • 24:57 - 25:01
    ถ้าเราทำผิดพลาดตอนนี้ เราต้องชดใช้ในภายหลังมากมาย
  • 25:01 - 25:05
    ดังนั้น เมื่อเรามีปัญหาจำเป็นเร่งด่วนทุกรูปแบบ
  • 25:05 - 25:08
    แนวคิดว่ารับความเจ็บปวดตอนนี้ที่จะได้กลับมาเป็นสิ่งที่ดีกว่าในภายหลัง
  • 25:08 - 25:11
    กับอะไรที่เป็นความเจ็บปวดที่ไม่แน่ไม่นอน
  • 25:11 - 25:17
    อันที่จริงแล้ว จากรายงานของไอพีซีซี (IPCC) นั่นก็ไม่ได้จำเป็นต้องเป็นกรณีที่เลวร้ายที่สุด
  • 25:17 - 25:19
    มีคนจากประเทศที่ร่ำรวยแล้วที่ดูรายงานของไอพีซีซี
  • 25:19 - 25:23
    แล้วบอกว่า ก็หยวนๆนะ ไม่ใช่เรื่องใหญ่เรื่องโตอะไร
  • 25:23 - 25:27
    ความเป็นจริงก็คือ มันมีส่วนที่ไม่แน่นอนร่วมอยู่ด้วยที่ควรจะผลักดันพวกเราไปทางนี้
  • 25:27 - 25:30
    แต่ความฝันของผมก็คือว่า เราทำได้แบบคุ้มทุนด้วย
  • 25:30 - 25:32
    และก็อยู่ในขีดจำกัดของการปล่อย CO2 ด้วย
  • 25:32 - 25:34
    พวกที่แคลงใจเรื่องโลกร้อนก็จะบอกอีกว่า ก็โอเค
  • 25:34 - 25:36
    ฉันไม่สนใจหรอกว่ามันจะไม่ปล่อย CO2
  • 25:36 - 25:38
    ฉันติดจะหวังด้วยซ้ำว่ามันจะปล่อย CO2
  • 25:38 - 25:42
    แต่ฉันว่าฉันก็พอจะยอมรับได้นะเพราะว่ามันถูกกว่าอะไรที่มีมาก่อน
  • 25:42 - 25:46
    (เสียงปรบมือ)
  • 25:46 - 25:50
    คริส: ถ้างั้น คุณจะมีข้อโต้ตอบยังไงกับคำแถลงของบิจอร์น ลอมบอร์ก (Bjorn Lomborg)
  • 25:50 - 25:54
    ที่ว่า โดยแท้จริงแล้วถ้าเราใช้พลังงานทั้งหมดเพื่อพยายามแก้ไขปัญหาเกี่ยวกับ CO2
  • 25:54 - 25:56
    ก็จะทำให้เราูสูญเสียเป้าหมายอื่นๆทั้งหมด
  • 25:56 - 25:59
    ที่เราพยายามแก้ไขให้โลกหมดไปจากปัญหาความยากจน มาลาเรีย และอื่นๆ
  • 25:59 - 26:03
    (และที่ว่า) นับเป็นความสูญเสียทรัพยากรโลกอย่างไม่ชาญฉลาดเลยที่จะใช้เงินไปในทางนั้น
  • 26:03 - 26:05
    ในเมื่อเราใช้ทำให้สิ่งอื่นที่ดีกว่าได้
  • 26:05 - 26:08
    บิลล์: งบประมาณวิจัยพัฒนาจริงๆแล้ว
  • 26:08 - 26:12
    เอาว่าสหรัฐอเมริกาควรจะเพิ่มงบมากกว่าที่ใช้อยู่ตอนนี้อีกหมื่นล้านดอลลาร์ต่อปี
  • 26:12 - 26:14
    นี่ไม่ใช่อะไรที่มากเกินไปนะครับ
  • 26:14 - 26:16
    แล้วก็ไม่ใช่อะไรที่ควรไปเอามาจากส่วนอื่นด้วย
  • 26:16 - 26:19
    พอเป็นเรื่องที่ต้องใช้งบสูงมากๆ แล้วก็นี่ คนที่เขามีเหตุมีผลอาจจะไม่เห็นด้วย
  • 26:19 - 26:22
    ก็เมื่อเป็นเรื่องที่ทำแล้วไม่คุ้มทุนแล้วเราก็ยังพยายามลงทุนทำอีก
  • 26:22 - 26:25
    สำหรับผม แบบนั้นแทบจะเรียกว่าสูญเปล่า
  • 26:25 - 26:28
    ยกเว้นว่าเราอยู่ใกล้แค่เอื้อมแล้วเราก็ลงทุนให้เกิดการเรียนรู้ตรงนั้นพอดี
  • 26:28 - 26:30
    ซึ่งในที่สุดก็จะกลายเป็นว่าต้นทุนถูกมาก
  • 26:30 - 26:34
    ผมเชื่อนะครับว่าเราควรจะลองหลายๆอย่างที่มีศักยภาพ
  • 26:34 - 26:36
    ที่จะมีราคา่ถูกลงไปกว่ามาก
  • 26:36 - 26:41
    ถ้าสิ่งที่เราต้องแลกมาเป็นแบบว่า มาผลิตพลังงานให้ราคาแพงสุดๆกันเถอะ
  • 26:41 - 26:43
    ถึงงั้น คนมีฐานะก็จ่ายได้อยู่ดี
  • 26:43 - 26:46
    ผมว่า พวกเราทั้งหมดที่นี่สามารถจ่ายค่าพลังงานได้มากกว่านี้ได้อีก 5 เท่า
  • 26:46 - 26:48
    โดยไม่ต้องเปลี่ยนรูปแบบชีวิต
  • 26:48 - 26:50
    หายนะจะไปตกกับคนอีกสองพันล้านคนโน่น
  • 26:50 - 26:52
    และแม้แต่ ลอมบอร์ก ก็เปลี่ยน
  • 26:52 - 26:57
    จุดยืนของเขาตอนนี้จะเป็นว่า ทำไมถึงไม่ถกประเด็นวิจัยและพัฒนาให้มากกว่านี้
  • 26:57 - 26:59
    แต่เขายังคง เพราะคำแถลงก่อนหน้านี้ของเขา
  • 26:59 - 27:01
    เขายังคงเกี่ยวดองกับพวกที่แคลงใจเรื่องโลกร้อน
  • 27:01 - 27:04
    แต่เขาได้ตระหนักแล้วว่าเป็นกลุ่มที่ค่อนข้างโดดเดี่ยว
  • 27:04 - 27:07
    ดังนั้น เขาก็เลยยกประเด็นเรื่องวิจัยและพัฒนาขึ้นมา
  • 27:07 - 27:12
    เพราะฉะนั้น มีหัวข้อที่ผมคิดว่ามีความเหมาะสม
  • 27:12 - 27:15
    ก็คือการวิัจัยและพัฒนา เป็นเรื่องไม่เข้าท่าเลยที่งบสนับสนุนช่างน้อยแสนน้อย
  • 27:15 - 27:18
    คริส: โอเคครับคุณบิลล์ ผมเดาว่าผมพูดแทนท่านผู้ฟังที่นี่
  • 27:18 - 27:21
    ผมจะบอกว่า ผมหวังจริงๆครับว่าความประสงค์ของคุณจะเป็นความจริง ขอบคุณมากครับ
  • 27:21 - 27:23
    บิลล์: ขอบคุณครับ
  • 27:23 - 27:26
    (เสียงปรบมือ)
Title:
บิลล์ เกตส์: นวัตกรรมพลังงานปราศจากคาร์บอน
Speaker:
Bill Gates
Description:

ณ งานประชุม TED2010 บิลล์ เกตส์ (ฺBill Gates) ได้เผยถึงวิสัยทัศน์ที่มีต่อพลังงานโลกในอนาคต โดยบรรยายถึงความสำคัญของ"ปาฏิหาริย์" ที่จะนำพาโลกให้รอดพ้นจากวิกฤติ ทั้งยังอธิบายว่าทำไมเขาจึงสนับสนุนเตาปฏิกรณ์นิวเคลียร์ประเภทที่แตกต่างออกไป เป้าหมายที่จะต้องทำให้ได้ก็คือ ภายในปี ค.ศ.2050 (พ.ศ.2593) การปล่อยก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์จากภาคพลังงานจะต้องเป็นศูนย์

more » « less
Video Language:
English
Team:
closed TED
Project:
TEDTalks
Duration:
27:32
Heartfelt Grace added a translation

Thai subtitles

Revisions