-
ชีวิต อิสรภาพ และการไล่ตามความสุข
-
พวกเราดำรงชีพโดยไล่จับความสุข "อยู่ที่นั่น"
-
เสมือนกับว่ามันเป็นสินค้า
-
พวกเราเป็นทาสของความอยากและความกระหายของตนเอง
-
ความสุขไม่ใช่สิ่งที่สามารถไล่จับ
-
หรือซื้อได้เหมือนชุดสูทราคาถูก
-
นี่คือมายา
-
ภาพลวงตา
-
การละเล่นที่ไม่มีที่สิ้นสุด
-
ในประเพณีพุทธ
-
สังสารวัฏหรือวงเวียนอันไม่มีที่สิ้นสุดแห่งทุกข์
-
ถูกทำให้เป็นอมตะโดยความกระหายในความพอใจ
-
และความรังเกียจในความเจ็บปวด
-
ฟรอยด์เรียกสิ่งนี้ว่า "หลักแห่งความพอใจ"
-
ทุกสิ่งที่เราทำคือความพยายามที่จะสร้างความพอใจ
-
เพื่อให้ได้ในสิ่งที่เราต้องการ
-
หรือเพื่อผลักบางสิ่งอันไม่พึงประสงค์ที่เราไม่ต้องการ
-
แม้แต่สิ่งมีชีวิตที่เรียบง่ายอย่างโปรโตซัวน้ำจืด (paramecium) ก็ทำอย่างนี้
-
มันเรียกว่าการตอบสนองต่อสิ่งเร้า
-
ไม่เหมือนโปรโตซัวน้ำจืด มนุษย์มีทางเลือกมากกว่า
-
พวกเรามีอิสระที่จะคิด และนั่นคือแก่นของปัญหา
-
มันคือความคิดเกี่ยวกับสิ่งที่เราต้องการนั่นเอง ที่อยู่นอกเหนือการควบคุมในปัจจุบันนี้
-
สภาวะกลืนไม่เข้าคายไม่ออกในสังคมปัจจุบัน คือสิ่งที่พวกเราค้นหาเพื่อเข้าใจโลก
-
โดยไม่ใช้ความรู้สึกตัวภายในอันล้าสมัย
-
แต่โดยใช้การวัดปริมาณและคุณภาพที่พวกเรามองเห็น
-
ว่าเป็นโลกภายนอกโดยใช้วิธีการและแนวคิดแบบวิทยาศาสตร์
-
การคิดนำมาเพียงการคิดที่มากขึ้นและคำถามที่มากขึ้น
-
พวกเราค้นหาเพื่อที่จะรู้จักพลังด้านในสุดซึ่งสร้างโลก
-
และชี้นำวิถีทางของมัน
-
แต่พวกเราเข้าใจว่าแก่นสารนี้เป็นสิ่งนอกตัว
-
ไม่ใช่สิ่งมีชีวิตที่เป็นเนื้อแท้ภายในธรรมชาติของเรา
-
นักจิตวิทยาผู้โด่งดังชื่อ คาร์ล ยุง พูดว่า
-
"บุคคลผู้มองภายนอกนั้นฝัน บุคคลที่มองภายในนั้นตื่น"
-
มันไม่ผิดที่ต้องการที่จะตื่น
-
ที่จะมีความสุข
-
สิ่งที่ผิดคือการค้นหาความสุขจากภายนอก
-
ในเมื่อมันสามารถพบได้เฉพาะจากภายใน
-
ตอนที่ 4 เหนือการคิด
-
วันที่ 4 ตุลาคม 2010 ที่การประชุมเทคโคโนมี (Techonomy conference) ที่ทะเลสาบทาโฮ แคลิฟอเนีย
-
เอริก ชมิดต์ ผู้จัดการบริษัทกูเกิล (Google) ได้พูดถึงตัวเลขสถิติที่น่าตกใจ
-
ปัจจุบันนี้ทุกสองวันพวกเราผลิตข้อมูลจำนวนมากเทียบเท่ากับที่ผลิต
-
ตั้งแต่ยุครุ่งสางแห่งความศิวิไลซ์มาจนถึงปี 2003
-
ตามที่ชมิดต์พูด
-
นั่นคือข้อมูลประมาณ 5 เอกซะไบต์
-
ไม่เคยมีมาก่อนในประวัติศาสตร์มนุษย์ที่มีการคิดมากมาย
-
และมีความสับสนอลหม่านมากมายเกิดขึ้นบนโลกอย่างนี้
-
มันเป็นไปได้ไหมที่ทุกครั้งที่เราคิดถึงคำตอบของปัญหาหนึ่ง
-
เราได้สร้างปัญหาเพิ่มขึ้นจากเดิมเป็นสอง ?
-
ความคิดเหล่านี้มีอะไรดี ?
-
หากมันไม่นำพาไปสู่ความสุขที่ยิ่งใหญ่กว่า ?
-
พวกเรามีความสุขมากขึ้นหรือ ?
-
สงบมากขึ้น ?
-
เบิกบานขึ้นอันเป็นผลเนื่องมาจากความคิดเหล่านี้ ?
-
หรือมันแยกพวกเรา ?
-
ตัดขาดพวกเราจากประสบการณ์ชีวิตที่ลึกและมีความหมายยิ่งกว่า
-
การคิด การแสดงออก และการกระทำ
-
ต้องถูกทำให้สมดุลด้วย "การเป็น"
-
ไม่ว่าอย่างไร พวกเราคือผู้เป็นอยู่อย่างมนุษย์ ไม่ใช่ผู้กระทำอยู่อย่างมนุษย์
-
พวกเราต้องการความเปลี่ยนแปลง...และต้องการความเสถียรในเวลาเดียวกัน
-
หัวใจของพวกเราถูกตัดขาดจากวงก้นหอยแห่งชีวิต
-
ซึ่งเป็นกฎแห่งความเปลี่ยนแปลง
-
เมื่อจิตที่คิดของพวกเราได้นำพาเราไปยังความเสถียร
-
ความปลอดภัย และการทำให้ประสาทสัมผัสต่างๆสงบลง
-
ด้วยแรงดึงดูดที่ไม่ปกติ พวกเราดูการฆ่า สึนามิ
-
แผ่นดินไหวและสงคราม
-
พวกเราพยายามอย่างต่อเนื่องที่จะครอบครองจิตของตนโดยทำให้มันเต็มไปด้วยข่าวสาร
-
รายการทีวีหลั่งไหลมาจากทุกอุปกรณ์ที่เป็นไปได้
-
เกมส์และปริศนาต่างๆ
-
การส่งข้อความตัวอักษร
-
และเรื่องไม่เป็นสาระทุกเรื่องเท่าที่เป็นไปได้
-
พวกเราปล่อยให้ตนเองดื่มด่ำกับ
-
ภาพใหม่ๆที่หลั่งไหลมาอย่างไม่มีที่สิ้นสุด
-
ข้อมูลข่าวสารใหม่ๆ
-
วิธีใหม่ๆที่จะยั่วเย้าประสาทสัทผัสและทำให้มันสงบลง
-
เมื่อถึงเวลาแห่งการสะท้อนภายในอย่างเงียบสงบ
-
หัวใจของเราอาจบอกเราว่าชีวิตมีมากกว่าความเป็นจริงที่พวกเราเป็นอยู่ในปัจจุบัน
-
ว่าพวกเราดำรงชีวิตอยู่ในโลกแห่งปีศาจผู้หิวโหย
-
ความต้องการอันไม่มีที่สิ้นสุด และไม่เคยพอใจ
-
พวกเราสร้างความอลหม่านแห่งข้อมูลบินว่อนไปทั่วโลก
-
เพื่ออำนวยความสะดวกในการคิด
-
ส่งเสริมความคิดเกี่ยวกับการกู้โลก
-
เพื่อแก้ปัญหาที่เกิดขึ้นเพียงเพราะจิตสร้างมันขึ้นมา
-
การคิดได้สร้างความยุ่งเหยิงทั้งมวลที่พวกเรากำลังเป็นอยู่ในปัจจุบัน
-
พวกเราทำสงครามกับโรคภัยไข้เจ็บ ศัตรู และปัญหา
-
สิ่งที่ขัดแย้งกันเองก็คือสิ่งใดที่เธอต่อต้านมันจะคงอยู่
-
ยิ่งเธอต่อต้านมัน มันก็ยิ่งเข้มแข็งขึ้น
-
เหมือนการออกกำลังกล้ามเนื้อ
-
ความจริงเธอกำลังทำให้สิ่งที่เธอต้องการกำจัดแข็งแกร่งขึ้น
-
ถ้าอย่างนั้น อะไรจะเป็นสิ่งทดแทนการคิดได้ ?
-
มีกลไกอื่นใดที่มนุษย์สามารถใช้ดำรงชีพในโลกใบนี้ได้ ?
-
ในขณะที่วัฒนธรรมตะวันตกในหลายศตวรรษที่ผ่านมามุ่งไปที่การสำรวจทางกายภาพ
-
โดยใช้ความคิดและการวิเคราะห์
-
วัฒธรรมโบราณอื่นๆได้พัฒนาเทคโนโลยีเพื่อสำรวจความว่างภายในขึ้นด้วยความช่ำชองเสมอกัน
-
มันคือการสูญเสียความเชื่อมโยงกับโลกภายในของพวกเรา
-
ซึ่งสร้างความไม่สมดุลให้เกิดขึ้นบนโลกใบนี้
-
คติโบราณที่ว่า "รู้จักตนเอง"
-
ได้ถูกแทนที่ด้วยความต้องการประสบการณ์ในโลกภายนอกแห่งรูปแบบทั้งหลาย
-
การตอบคำถามที่ว่า "ฉันคือใคร ?"
-
ไม่ใช่เรื่องผิวเผินที่จะอธิบายโดยสิ่งที่เขียนอยู่ในนามบัตรของเธอ
-
ในพุทธศาสนา เธอไม่ใช่สิ่งที่บรรจุอยู่ในความรู้สึกตัวของเธอ
-
เธอไม่ได้เป็นเพียงการชุมนุมกันของความคิดหรือความเห็นต่างๆ
-
เพราะเบื้องหลังความคิดทั้งมวล ยังมีคนหนึ่งซึ่งคอยสังเกตความคิดอยู่
-
โจทย์ว่าด้วยการ "รู้จักตนเอง" คือโกอานของเซ็น
-
ปริศนาที่ตอบไม่ได้
-
ในที่สุดจิตก็จะหมดกำลังในการหาคำตอบ
-
เสมือนหมาวิ่งไล่งับหางตนเอง
-
มันเป็นเพียงเอกลักษณ์ของความถือตัวถือตน
-
ที่ต้องการหาคำตอบ
-
วัตถุประสงค์
-
ความจริงที่ว่าเธอเป็นใครนั้นไม่จำเป็นต้องมีคำตอบ
-
เพราะทุกคำถามถูกสร้างขึ้นมาจากจิตที่ถือตัวถือตน
-
เธอไม่ใช่จิตของเธอ
-
ความจริงไม่ได้อยู่ในคำตอบที่เพิ่มขึ้น แต่อยู่ในคำถามที่น้อยลง
-
อย่างที่ โจเซฟ แคมพ์เบลล์ กล่าวไว้ว่า
-
"ฉันไม่เชื่อว่าผู้คนกำลังหาความหมายของชีวิต
-
มากพอกับที่กำลังหาประสบการณ์แห่งการมีชีวิต"
-
เมื่อพระพุทธเจ้าถูกถามว่า "คุณเป็นอะไร ?"
-
ท่านตอบอย่างเรียบง่าย
-
"ฉันตื่นอยู่"
-
มันแปลว่าอะไร ที่ว่าตื่นอยู่ ?
-
พระพุทธเจ้าไม่ได้พูดโดยตรง
-
เพราะการเบ่งบานของแต่ละชีวิตแตกต่างกัน
-
แต่ท่านได้กล่าวขึ้นมาสิ่งหนึ่ง
-
มันคือการสิ้นสุดของความทุกข์
-
ศาสนาหลักทุกศาสนามีชื่อเรียกสำหรับสภาวะแห่งการตื่น
-
สวรรค์
-
นิพพาน
-
หรือโมกษะ
-
จิตที่เงียบสงบคือทั้งหมดที่เธอจำเป็นต้องมีเพื่อตระหนักรู้ในธรรมชาติแห่งกระแสนั้น
-
สิ่งอื่นทั้งมวลจะเกิดขึ้นเมื่อจิตเธอเงียบสงบ
-
ในความสงบนิ่ง พลังงานภายในจะตื่น
-
และทำงานโดยปราศจากความพยายามใดๆในส่วนของเธอ
-
อย่างที่เมธีเต๋ากล่าวว่า "ชี่เกิดตามความรู้สึกตัว"
-
ด้วยความนิ่ง บุคคลจะเริ่มได้ยินปัญญาแห่งพืชและสัตว์
-
เสียงกระซิบเงียบในความฝัน
-
แล้วบุคคลจะเรียนรู้กลไกลึกลับ
-
เมื่อความฝันเหล่านั้นกลายมาเป็นรูปแบบวัตถุ
-
ในคัมภีร์เต๋าเต๋อจิง การใช้ชีวิตเช่นนี้เรียกว่า "เว วู เว"
-
"ทำ โดยไม่ทำ"
-
พระพุทธเจ้ากล่าวถึง "ทางสายกลาง"
-
ว่าเป็นเสมือนทางนำไปสู่การตรัสรู้
-
อริสโตเติลอธิบายค่าเฉลี่ยสีทอง
-
ซึ่งเป็นค่ากลางระหว่างสุดโต่งสองอย่าง ว่าเป็นทางแห่งความงดงาม
-
ไม่พยายามมากเกินไป แต่ก็ไม่น้อยเกินไปด้วย
-
หยินและหยางในความสมดุลอันบริบูรณ์
-
ข้อคิดของเวทานต์ (คัมภีร์พระเวท) เกี่ยวกับมายาหรือภาพลวงตา
-
นั่นคือพวกเราไม่ได้รับรู้สิ่งแวดล้อมอย่างที่ตัวมันเป็น
-
แต่รับรู้ภาพสะท้อนของมัน ซึ่งสร้างขึ้นโดยความคิด
-
แน่นอนว่าความคิดของเธอทำให้เธอได้รับรู้โลกอันสั่นไหวโดยวิธีใดวิธีหนึ่ง
-
แต่ความสงบภายในของเราจำเป็นต้องไม่ขึ้นอยู่กับเหตุการณ์ภายนอก
-
ความเชื่อในโลกภายนอก โดยไม่ขึ้นอยู่กับสิ่งที่หยั่งรู้ในใจ
-
คือพื้นฐานของวิทยาศาสตร์
-
แต่ประสาทสัมผัสของเรานำพาเพียงข้อมูลทางอ้อมมาให้เรา
-
ความเข้าใจของพวกเราเกี่ยวกับโลกกายภาพที่สร้างขึ้นโดยความคิดนี้
-
ได้ถูกกรองผ่านประสาทสัมผัสเสมอ และเพราะอย่างนั้นเองจึงไม่สมบูรณ์เสมอ
-
มีสนามแห่งการสั่นสะเทือนหนึ่งเดียวที่ซ่อนอยู่ใต้ประสาทสัมผัสทั้งมวล
-
ผู้คนที่อยู่ในสภาวะ "ซินเนสทีเซีย (synesthesia)"
-
บางครั้งได้รับประสบการณ์ของสนามแห่งการสั่นสะเทือนนี้ในวิถีต่างๆกัน
-
ผู้ที่อยู่ในสภาวะซินเนสทีเซียสามารถเห็นเสียงเป็นสีหรือรูปร่างต่างๆ
-
หรือรับรู้ในประสาทสัมผัสชนิดหนึ่งกับอีกชนิดหนึ่งควบคู่กันไป
-
คำว่าซินเนสทีเซียมาจากการสังเคราะห์ (synthesis) หรือการผสมประสาทสัมผัสเข้าด้วยกัน
-
จักระทั้งหลายกับประสาทสัมผัสเป็นเสมือนดังปรึซึม (prism)
-
กลั่นกรองอนุกรมแห่งการสั่นสะเทือน
-
ทุกสิ่งในจักรวาลกำลังสั่นสะเทือน
-
แต่ในอัตราเร็วและความถี่ที่ต่างกัน
-
ดวงตาของฮอรัสสร้างขึ้นมาจากสัญลักษณ์หกอย่าง
-
แต่ละอย่างเป็นตัวแทนของประสาทสัมผัสหนึ่งชนิด
-
เหมือนระบบพระเวทโบราณ
-
ความคิดถูกพิจารณาให้เป็นประสาทสัมผัสชนิดหนึ่ง
-
"ความคิด" ถูกรับรู้ในขณะเดียวกับที่ "ความรู้สึก" ถูกรับรู้บนร่างกาย
-
พวกมันผุดขึ้นมาจากแหล่งกำเนิดความสั่นสะเทือนอันเดียวกัน
-
การคิดเป็นเพียงเครื่องมือ
-
หนึ่งในประสาทสัมผัสทั้งหก
-
แต่พวกเรากลับยกมันขึ้นไปอยู่ในสถานะอันสูงส่ง
-
จนกระทั่งพวกเราอธิบายตนเองด้วยความคิด
-
ความจริงที่ว่าพวกเราไม่ตระหนักรู้ว่าการคิดเป็นเพียงหนึ่งในหกประสาทสัมผัส
-
ช่างโดดเด่นเสียเหลือเกิน
-
การที่พวกเราหมกมุ่นอยู่ในความคิดที่พยายามจะอธิบายความคิดว่าเป็นประสาทสัมผัส
-
ก็เหมือนกับการบอกปลาเกี่ยวกับน้ำ
-
น้ำ น้ำอะไร ?
-
ในอุปนิษัท (แห่งคัมภีร์พระเวท) มีคำกล่าวว่า
-
ไม่ใช่สิ่งนั้นที่ตามองเห็นได้ แต่เป็นที่นั่นที่ใช้ตามองเห็นได้
-
รู้จักสิ่งนั้นก็เป็นพรหมาผู้เป็นนิรันดร์ และก็ไม่ใช่สิ่งที่ผู้คนที่นี่นิยม
-
ไม่ใช่สิ่งนั้นที่หูสามารถได้ยิน แต่เป็นที่นั่นที่สามารถใช้หูได้ยิน
-
รู้จักสิ่งนั้นก็เป็นพรหมาผู้เป็นนิรันดร์ และก็ไม่ใช่สิ่งที่ผู้คนที่นี่นิยม
-
ไม่ใช่สิ่งนั้นที่คำพูดทำให้กระจ่างได้ แต่เป็นที่นั่นที่ใช้คำพูดทำให้กระจ่างได้
-
รู้จักสิ่งนั้นก็เป็นพรหมาผู้เป็นนิรันดร์ และก็ไม่ใช่สิ่งที่ผู้คนที่นี่นิยม
-
ไม่ใช่สิ่งนั้นที่จิตคิดได้ แต่เป็นที่นั่นที่ใช้จิตคิดได้
-
รู้จักสิ่งนั้นก็เป็นพรหมาผู้เป็นนิรันดร์ และก็ไม่ใช่สิ่งที่ผู้คนที่นี่นิยม
-
ในทศวรรษล่าสุดที่ผ่านมา ความก้าวหน้าได้เกิดขึ้นในงานวิจัยด้านสมอง
-
นักวิทยาศาสตร์ค้นพบ "การยืดหยุ่นของสมอง (neuroplasticity)"
-
ซึ่งเป็นคำศัพท์สื่อถึงแนวคิดที่ว่าการเชื่อมเป็นสายทางกายภาพของสมอง
-
จะเปลี่ยนไปตามความคิดที่เคลื่อนที่ผ่านมัน
-
อย่างที่นักจิตวิทยาชาวแคนนาดา โดนัลด์ เฮบบ์ ได้สรุปไว้ว่า
-
"เซลประสาทที่ติดไฟขึ้นพร้อมกัน เชื่อมเป็นสายเดียวกัน"
-
เซลประสาทมักเชื่อมเป็นสายเดียวกันเมื่อบุคคลอยู่ในสภาวะที่มีความสนใจตั้งมั่น
-
ความหมายของประเด็นนี้ก็คือมันเป็นไปได้ที่จะกำกับประสบการณ์ส่วนตัวแห่งความเป็นจริงของเธอ
-
ตามตัวหนังสือ หากความคิดของเธอจัดอยู่ในจำพวกความกลัว ความกังวล ความเครียด และความเป็นลบ
-
นั่นหมายถึงเธอได้สร้างสายสำหรับเพาะความคิดเหล่านั้นให้เจริญงอกงาม
-
หากเธอกำกับความคิดของเธอให้อยู่ในจำพวกความรัก
-
ความเมตตา ความกตัญญู และความรื่นเริง
-
เธอก็ได้สร้างสายสำหรับการเกิดซ้ำของประสบการณ์เหล่านั้น
-
แต่เราจะทำอย่างนั้นได้อย่างไรในเมื่อพวกเราถูกห้อมล้อมด้วยความรุนแรงและความทุกข์
-
นี่เป็นความหลงผิดหรือความคิดที่พึงปรารถนา ?
-
การยืดหยุ่นของสมองไม่ใช่สิ่งเดียวกับความเข้าใจในยุคใหม่ (new age)
-
ที่เธอสร้างความเป็นจริงของเธอขึ้นมาด้วยการคิดบวก
-
ที่จริงมันเป็นสิ่งเดียวกับที่พระพุทธเจ้าสอนเมื่อ 2500 ปีที่แล้ว
-
วิปัสสนาภาวนา หรือการทำสมาธิลึก
-
สามารถถูกอธิบายได้ว่าเป็นการกำกับความยืดหยุ่นของสมองด้วยตนเอง
-
เธอยอมรับความเป็นจริงของเธออย่างที่มันเป็น
-
อย่างที่มันเป็นจริงๆ
-
โดยเธอรับรู้มันที่ระดับรากของประสาทสัมผัส
-
ที่ระดับการสั่นสะเทือนหรือพลังงาน
-
โดยปราศจากอคติหรืออิทธิพลของความคิด
-
ผ่านความสนใจตั้งมั่นที่ระดับรากของความรู้สึกตัว
-
การเชื่อมสายแห่งการหยั่งรู้ความเป็นจริงที่แตกต่างทั้งมวลก็ถูกสร้างขึ้น
-
พวกเราดำเนินการกลับหลังเกือบตลอดเวลา
-
พวกเราปล่อยให้ความคิดเห็นเกี่ยวกับโลกภายนอกกำหนดรูปร่างของระบบประสาทเรา
-
แต่ความสงบภายในของเราจำเป็นต้องไม่ขึ้นอยู่กับเหตุการณ์ภายนอก
-
สิ่งแวดล้อมไม่ใช่สาระ
-
มีเพียงสภาวะความรู้สึกตัวของฉันเท่านั้นที่เป็นสาระ
-
การทำสมาธิในภาษาสันสกฤตหมายถึงการเป็นอิสระจากการตรวจวัด
-
อิสระจากการเปรียบเทียบทั้งมวล
-
อิสระจากการเป็นทั้งปวง
-
เธอไม่ได้กำลังพยายามที่จะเป็นสิ่งอื่นใด
-
เธอตกลงปลงใจกับสิ่งที่เป็น
-
วิธีผุดขึ้นเหนือความทุกข์แห่งขอบเขตทางกายภาพ
-
ก็คือการอ้าแขนรับมัน
-
คือการตอบตกลงกับมัน
-
ดังนั้นมันจึงเป็นบางอย่างที่อยู่ในเธอ
-
มากกว่าที่เธอจะเป็นบางอย่างที่อยู่ในมัน
-
บุคคลจะอยู่อย่างไร
-
ความรู้สึกตัวจึงจะไม่ขัดแย้งกับสิ่งที่บรรจุอยู่ภายในมัน ?
-
บุคคลจะทำให้หัวใจแห่งความทะยานอยากอันคับแคบว่างเปล่าได้อย่างไร ?
-
มันต้องมีการปฏิวัติองค์รวมในด้านความรู้สึกตัว
-
การยกระดับอย่างถึงรากถึงโคน จากทิศทางสู่โลกภายนอกมาสู่โลกภายใน
-
มันไม่ใช่การปฏิวัติที่ดำเนินการด้วยความตั้งใจหรือความพยายามเพียงเท่านั้น
-
แต่มันเป็นการยอมจำนนด้วย
-
ยอมรับความเป็นจริงอย่างที่มันเป็น
-
รูปพระคริสต์เปิดใจ ชี้นำอย่างแรงกล้าสู่ความคิดเห็นที่ว่า
-
บุคคลต้องเปิดใจให้กับความเจ็บปวดทั้งมวล
-
บุคคลต้องยอมรับทั้งหมด หากเขาจะดำรงอยู่อย่างเปิดกว้างต่อแหล่งกำเนิดแห่งวิวัฒนาการ
-
นี่ไม่ได้หมายความว่าเธอกลายเป็นมาโซคิสต์ (masochist)
-
เธอไม่ได้แสวงหาความเจ็บปวด
-
แต่เมื่อความเจ็บปวดมาถึง ซึ่งมันเป็นสิ่งที่หลีกเลี่ยงไม่ได้
-
เธอเพียงยอมรับความเป็นจริงง่ายๆอย่างที่มันเป็น
-
แทนการทะยานอยากในความเป็นจริงอย่างอื่น
-
ชาวฮาวายมีความเชื่ออย่างยาวนาน
-
ว่าหัวใจเป็นสิ่งที่เราสามารถใช้เรียนรู้ความจริง
-
หัวใจมีปัญญาเฉพาะตัวอย่างเป็นเอกเทศพอๆกับที่สมองมี
-
ชาวอียิปต์เชื่อว่าเป็นหัวใจ ไม่ใช่สมอง
-
ที่เป็นแหล่งกำเนิดปัญญาของมนุษย์
-
หัวใจได้รับการพิจารณาให้เป็นศูนย์กลางของจิตวิญญาณและบุคลิกภาพ
-
เป็นหัวใจนี่เองที่สิ่งศักดิ์สิทธิ์ใช้พูดผ่าน
-
ถ่ายทอดความรู้แห่งหนทางที่แท้จริงให้กับชาวอียิปต์โบราณ
-
แผ่นกระดาษพาพิรัสนี้แสดงถึง "การชั่งน้ำหนักหัวใจ"
-
มันเป็นการดีที่จะก้าวเข้าสู่ชีวิตหลังความตายด้วยหัวใจที่เบา
-
มันหมายถึงเธอได้ใช้ชีวิตมาแล้วอย่างดี
-
สภาวะหนึ่งเดียวอันเป็นสากลหรือต้นแบบ
-
ที่บุคคลได้ประสบในกระบวนการแห่งการปลุกศูนย์กลางของหัวใจ
-
คือการมีประสบการณ์ในพลังงานส่วนบุคคล ในฐานะของพลังงานแห่งจักรวาล
-
เมื่อเธออนุญาตให้ตนเองรู้สึกถึงความรักนี้
-
กลายเป็นความรักนี้
-
เมื่อเธอเชื่อมต่อโลกภายในของเธอกับโลกภายนอก
-
เมื่อนั้นทั้งหมดคือหนึ่งเดียว
-
ทำอย่างไรบุคคลจึงจะได้รับประสบการณ์เสียงเพลงแห่งการโคจรของดวงดาว ?
-
ทำอย่างไรหัวใจจึงจะเปิด ?
-
รามานะ มหาฤษี กล่าวว่า
-
"พระเจ้าอยู่ในเธอ อย่างที่เป็นเธอ
-
และเธอไม่จำเป็นต้องทำสิ่งใด เพื่อให้ตระหนักรู้ในพระเจ้าหรือตระหนักรู้ในตนเอง
-
มันคือความจริงและสภาวะธรรมชาติของเธอ
-
ขอเพียงล้มเลิกการค้นหา
-
หันเหความสนใจของเธอมาสู่ภายใน
-
และสละจิตของเธอให้แก่ตัวตนเดียว
-
ที่ฉายรัศมีอยู่ในหัวใจแห่งความมีอยู่เป็นอยู่อย่างยิ่งของเธอ
-
เพื่อให้สิ่งนี้เป็นประสบการณ์ที่มีชีวิตอยู่ในปัจจุบันขณะของเธอ
-
การสำรวจตนเองเป็นวิธีที่ตรงและรวดเร็ว
-
เมื่อเธอทำสมาธิและสังเกตประสาทสัมผัสภายใน
-
ความมีชีวิตอยู่ภายในของเธอ
-
ที่จริงเธอกำลังสังเกตความเปลี่ยนแปลง
-
แรงแห่งการเปลี่ยนแปลงนี้คือการผุดขึ้นและจากไป
-
ในรูปของการเปลี่ยนแปลงพลังงาน
-
ระดับที่บุคคลเข้าร่วมหรือรู้แจ้งได้
-
คือระดับที่บุคคลได้รับความสามารถ
-
ที่จะปรับตัวเข้าสู่ทุกขณะเวลา
-
หรือที่จะเปลี่ยนสภาพกระแสแห่งมนุษย์ที่เปลี่ยนแปลงตลอดเวลา
-
ทั้งในด้านสิ่งแวดล้อม ความเจ็บปวด และความพอใจ
-
ให้กลายเป็นความผาสุก
-
ลีโอ ตอลสตอย นักเขียนนวนิยายเรื่อง "สงครามและสันติภาพ (War and Peace)" กล่าวว่า
-
"ทุกคนคิดที่จะเปลี่ยนแปลงโลก
-
แต่ไม่มีใครคิดที่จะเปลี่ยนแปลงตนเอง"
-
ดาร์วินกล่าวถึงลักษณะเฉพาะสำคัญที่สุดสำหรับการรอดชีวิตของสปีชีส์ต่างๆว่า
-
ไม่ใช่ความเข้มแข็ง หรือความเฉลียวฉลาด
-
แต่เป็นความสามารถในการปรับตัวเข้ากับความเปลี่ยนแปลง
-
บุคคลควรชำนาญในการปรับตัวสู่ความเปลี่ยนแปลง
-
นี่เป็นการตีความหมายคำสอนพระพุทธเจ้าเรื่อง "อนิจจา" ในแง่มุมหนึ่ง
-
ทุกสิ่งผุดขึ้นมาและจากไป
-
เปลี่ยนแปลง
-
เปลี่ยนแปลงตลอดเวลา
-
ความทุกข์เกิดเพียงเพราะเราไปยึดติดกับรูปแบบพิเศษอย่างใดอย่างหนึ่ง
-
เมื่อเธอเชื่อมโยงอยู่กับส่วนที่ทำหน้าที่สังเกตเห็นของเธอเอง
-
ด้วยความเข้าใจในอนิจจา
-
ความผาสุกปรากฎขึ้นในหัวใจ
-
นักบุญ นักปราชญ์ และโยคีในประวัติศาสตร์
-
อธิบายเป็นเสียงเดียวกันถึงการรวมเป็นหนึ่งเดียวอันศักดิ์สิทธ์ว่าเกิดขึ้นในใจ
-
ไม่ว่าจะเป็นงานเขียนของนักบุญยอห์นแห่งไม้กางเขน
-
บทกวีของรูมี
-
หรือการสอนแบบตันตระของอินเดีย
-
คำสอนทั้งหมดที่แตกต่างกันนี้ล้วนพยายามแสดงถึงความลึกซึ้งอันลึกลับของหัวใจ
-
ในหัวใจมีการรวมตัวกันของศิวะและศักติ
-
การแทรกซึมความเป็นบุรุษเพศเข้าไปในวงก้นหอยแห่งชีวิต
-
และความยอมจำนนแห่งสตรีเพศต่อการเปลี่ยนแปลง
-
การสังเกต
-
และการยอมรับอย่างไร้เงื่อนไขสำหรับสิ่งทั้งมวลที่เป็นอยู่
-
เพื่อเปิดหัวใจของเธอ
-
เธอต้องเปิดตัวเองสู่ความเปลี่ยนแปลง
-
การดำรงชีพอยู่ในโลกที่ดูเหมือนจับต้องได้
-
เต้นรำไปกับมัน
-
ข้องเกี่ยวกับมัน
-
ใช้ชีวิตเต็มบริบูรณ์
-
รักเต็มบริบูรณ์
-
แต่ก็รู้ว่ามันไม่ถาวร
-
และท้ายที่สุดรูปแบบทั้งมวลล้วนหลอมละลายและเปลี่ยนแปลง
-
ความผาสุกเป็นพลังงานที่ตอบสนองต่อความสงบนิ่ง
-
มันมาจากการทำความรู้สึกตัวต่อสิ่งที่บรรจุอยู่ทั้งหมดให้ว่างเปล่า
-
สิ่งที่บรรจุอยู่ในพลังความผาสุกอันเกิดจากความสงบนิ่งนี้คือความรู้สึกตัว
-
เป็นความรู้สึกตัวชนิดใหม่ของหัวใจ
-
เป็นความรู้สึกตัวที่เชื่อมโยงกับทั้งหมดที่เป็นอยู่