ปิรามิดประชากร: เครื่องมือทำนายอนาคตที่มีประสิทธิภาพ - คิม เพรสซอฟ
-
0:07 - 0:11รัสเซีย ประเทศที่มีพื้นที่ใหญ่ที่สุดในโลก
-
0:11 - 0:14มีประชากรเท่าๆ กับไนจีเรีย
-
0:14 - 0:16ที่มีขนาดพื้นที่เพียง 1/16 ของรัสเซีย
-
0:16 - 0:18แต่ความคล้ายคลึงนี้คงจะไม่อยู่ไปตลอด
-
0:18 - 0:21เมื่อประชากรของประเทศหนึ่งเพิ่มอย่างรวดเร็ว
-
0:21 - 0:23ขณะที่อีกประเทศ ประชากรค่อยๆ ลดลง
-
0:23 - 0:26เรื่องนี้บอกอะไรเกี่ยวกับสองประเทศนี้?
-
0:26 - 0:30สถิติประชากรเป็นข้อมูลที่สำคัญที่สุดอันหนึ่ง
-
0:30 - 0:33ที่นักสังคมศาสตร์และผู้เชี่ยวชาญด้าน
นโยบายจำเป็นต้องใช้ -
0:33 - 0:35แต่การจะเข้าใจสถานะของประเทศ
-
0:35 - 0:37และคาดการณ์อนาคตได้อย่างแม่นยำ
-
0:37 - 0:40ไม่เพียงแค่ต้องการข้อมูลจำนวนประชากร
-
0:40 - 0:42แต่ยังต้องรู้คุณลักษณะภายใน
-
0:42 - 0:45เช่น การกระจายตัวของอายุและเพศ
-
0:45 - 0:47แล้วเราสามารถติดตามข้อมูลทั้งหมดนี้
-
0:47 - 0:50ให้เข้าใจได้ง่ายได้อย่างไร?
-
0:50 - 0:52ข้อมูลซับซ้อนถูกทำให้แปลความได้ง่ายขึ้น
-
0:52 - 0:53ด้วยการทำให้เห็นเป็นภาพ
-
0:53 - 0:55และหนึ่งในวิธีที่นักประชากรศาสตร์นำเสนอ
-
0:55 - 0:58การกระจายตัวของประชากร
-
0:58 - 1:00ก็คือ การใช้ปิรามิดประชากร
-
1:00 - 1:02ข้อมูลถูกแบ่งออกตามเพศ
-
1:02 - 1:06เพศหญิงอยู่ด้านหนึ่ง ส่วนเพศชายอยู่อีกด้าน
-
1:06 - 1:07จำนวนประชากรถูกแสดง
-
1:07 - 1:09ในแต่ละช่วงอายุ ช่วงอายุละ 5 ปี
-
1:09 - 1:11เริ่มตั้งแต่อายุ 0-4 ปี
-
1:11 - 1:13ไปเรื่อยจนถึง ช่วงอายุ 100 ปีหรือมากกว่า
-
1:13 - 1:15แต่ละช่วงอายุก็จะถูกแบ่งเป็น
-
1:15 - 1:18ช่วงก่อนวัยเจริญพันธุ์ (0-14ปี)
-
1:18 - 1:20ช่วงวัยเจริญพันธุ์ (15-44ปี)
-
1:20 - 1:23และช่วงหลังวัยเจริญพันธุ์ (45 ปีขึ้นไป)
-
1:23 - 1:26ปิรามิดประชากรนี้
สามารถใช้เป็นตัวทำนายแนวโน้ม -
1:26 - 1:28ของประชากรในอนาคตได้อย่างมีประสิทธิภาพ
-
1:28 - 1:30ตัวอย่างเช่น
-
1:30 - 1:31ปิรามิดประชากรของรวันดา
แสดงให้เห็นว่า -
1:31 - 1:33ประเทศอยู่ในช่วงระยะเติบโตเร็ว
-
1:33 - 1:35โดยประชากรส่วนใหญ่อยู่ในกลุ่มช่วงอายุน้อย
ตรงบริเวณฐานของปิรามิด -
1:35 - 1:37ซึ่งจะเติบโตอย่างรวดเร็วในอนาคตอันใกล้
-
1:37 - 1:40เนื่องจากการที่วัยเด็กเข้าสู่วัยเจริญพันธุ์
-
1:40 - 1:43และก็จะมีลูกของพวกเขาเอง
-
1:43 - 1:44ค่อนข้างชัดว่า
ประชากรทั้งหมดจะเพิ่มเป็นเท่าตัว -
1:44 - 1:47ในอีกไม่กี่ทศวรรษข้างหน้า
-
1:47 - 1:49ในตัวอย่างที่สอง
-
1:49 - 1:50มาดูประเทศแคนาดา
-
1:50 - 1:52ที่ซึ่งประชากรส่วนใหญ่กระจุกตัว
-
1:52 - 1:54อยู่บริเวณส่วนกลางของปิรามิด
-
1:54 - 1:55สาเหตุจากการมีประชากร
-
1:55 - 1:57ในช่วงก่อนวัยเจริญพันธุ์
-
1:57 - 1:59น้อยกว่าประชากรในช่วงวัยเจริญพันธุ์
-
1:59 - 2:01การเพิ่มของประชากรก็จะเป็นไปอย่างช้าๆ
-
2:01 - 2:03เมื่อประชากรที่เริ่มเข้าสู่วัยเจริญพันธุ์มีน้อยลง
-
2:03 - 2:07ตัวอย่างสุดท้าย คือ ประเทศญี่ปุ่น
-
2:07 - 2:09เพราะว่าประชากรส่วนใหญ่
-
2:09 - 2:11อยู่ในกลุ่มช่วงหลังวัยเจริญพันธุ์
-
2:11 - 2:13โดยมีประชากรในวัยเด็ก
-
2:13 - 2:15และวัยทำงานในจำนวนที่น้อยกว่า
-
2:15 - 2:17นั่นหมายถึง
จากอัตราการเจริญพันธุ์ในตอนนี้ -
2:17 - 2:19ประชากรจะเริ่มลดลง
-
2:19 - 2:21เป็นผลจากกลุ่มประชากรที่เข้าสู่
วัยเจริญพันธุ์มีน้อยลง -
2:21 - 2:25เปรียบเทียบปิรามิดประชากรทั้งสามอัน
-
2:25 - 2:26นำมาเรียงคู่กัน
-
2:26 - 2:28แสดงให้เห็นถึง 3 ระยะที่แตกต่างกัน
-
2:28 - 2:29ของการเปลี่ยนแปลงโครงสร้างประชากร
-
2:29 - 2:31ขณะที่ประเทศเปลี่ยนจากสังคม
ยุคก่อนอุตสาหกรรม -
2:31 - 2:33เข้าสู่ยุคอุตสาหกรรม
-
2:33 - 2:35หรือหลังยุคอุตสาหกรรม
-
2:35 - 2:37ประเทศที่เพิ่มเริ่มเปลี่ยน
-
2:37 - 2:38เข้าสู่การพัฒนาอุตสาหกรรม
-
2:38 - 2:40มักพบว่ามีการเพิ่มขึ้นของอายุขัยเฉลี่ย
-
2:40 - 2:43และการลดลงของอัตราตายในเด็ก
-
2:43 - 2:45ซึ่งผลมาจากการพัฒนาในหลายด้าน
-
2:45 - 2:47ทั้งการแพทย์ สุขอนามัย การจัดหาอาหาร
-
2:47 - 2:50ขณะที่อัตราการเกิดยังคงเดิม
-
2:50 - 2:52ซึ่งนำไปสู่การเพิ่มของประชากรอย่างรวดเร็ว
-
2:52 - 2:53ประเทศกำลังพัฒนาเข้าสู่
-
2:53 - 2:55การพัฒนาอุตสาหกรรมก่อน
-
2:55 - 2:57ก็เริ่มจะพบอัตราการเกิดที่ลดลง
-
2:57 - 2:59จากหลายปัจจัย เช่น
-
2:59 - 3:01การได้รับการศึกษา และโอกาสต่างๆ ของผู้หญิง
ที่นอกเหนือไปจากการเลี้ยงลูก -
3:01 - 3:03รวมถึงการย้ายถิ่นฐานประชากรเข้าสู่เมือง
-
3:03 - 3:05ซึ่งทำให้การมีครอบครัวขยาย
-
3:05 - 3:07มีความได้เปรียบน้อยลงในทางเศรษฐศาสตร์
-
3:07 - 3:09สุดท้าย ในประเทศอุตสาหกรรมก้าวหน้า
-
3:09 - 3:12จะเข้าสู่จุดที่
-
3:12 - 3:15อัตราการเกิดและตายต่ำทั้งคู่
-
3:15 - 3:16โดยที่จำนวนประชากรยังคงที่
-
3:16 - 3:18หรืออาจจะเริ่มลดลง
-
3:18 - 3:20ทีนี้มาดูหน้าตาของปิรามิดประชากรที่ถูกคาดการณ์
-
3:20 - 3:22ของ 3 ประเทศข้างต้น ในปี 2050
-
3:22 - 3:25ว่าบอกอะไรกับเราบ้าง
-
3:25 - 3:28เกี่ยวกับการเปลี่ยนแปลงที่ถูกคาดการณ์
-
3:28 - 3:29ของประชากรในแต่ละประเทศ
-
3:29 - 3:31และมีปัจจัยอะไรบ้าง
-
3:31 - 3:32ที่จะสามารถเปลี่ยนรูปร่างปิรามิดแห่งอนาคตนี้?
-
3:32 - 3:34ปิรามิดประชากรสามารถใช้ประโยชน์
-
3:34 - 3:37ไม่เพียงแต่การทำนายอนาคตของประเทศนั้นๆ
-
3:37 - 3:39แต่ยังเป็นที่บันทึกเหตุการณ์ในอดีตด้วย
-
3:39 - 3:41ปิรามิดประชากรของรัสเซีย
-
3:41 - 3:43ยังคงแสดงให้เห็นถึงบาดแผล
จากสงครามโลกครั้งที่ 2 -
3:43 - 3:45ซึ่งทำให้มีจำนวนประชากรสูงอายุเพศชาย
-
3:45 - 3:47ที่น้อยกว่าในเพศหญิง
-
3:47 - 3:50และการเพิ่มขึ้นอย่างกระทันหันของประชากร
-
3:50 - 3:52ที่เป็นผลจากทหารที่กลับจากสงคราม
-
3:52 - 3:54กลับมาดำเนินชีวิตตามปกติ
-
3:54 - 3:56ปิรามิดประชากรของจีน
-
3:56 - 3:58สะท้อนถึงผลของนโยบายลูกคนเดียว
-
3:58 - 4:00เมื่อ 35 ปีก่อน
-
4:00 - 4:03นโยบายเพื่อป้องกันภาวะประชากรล้นเกิน
-
4:03 - 4:04เหมือนที่เกิดกับประเทศรวันดา
-
4:04 - 4:06แต่ก็นำไปสู่การทำแท้งเพื่อเลือกเพศทารก
ด้วยเช่นกัน -
4:06 - 4:08ซึ่งทำให้มีจำนวนเด็กเพศชาย
มากกว่าเพศหญิง -
4:08 - 4:10สุดท้าย ปิรามิดประชากรของอเมริกา
-
4:10 - 4:14แสดงให้เห็นถึงยุคเบบี้บูมหลังสงครามโลกครั้งที่2
-
4:14 - 4:16อย่างที่คุณเห็น
-
4:16 - 4:19ปิรามิดประชากรบอกอะไรเรามากมาย
-
4:19 - 4:21เกี่ยวกับประเทศหนึ่ง
-
4:21 - 4:23มากกว่าแค่เพียงสถิติตัวเลข
-
4:23 - 4:24มันยังแสดงถึงเรื่องในอดีต
-
4:24 - 4:25รวมถึงทิศทางที่ประเทศกำลังมุ่งไป
-
4:25 - 4:27โดยอาศัยภาพเพียงภาพเดียว
-
4:27 - 4:28ทุกวันนี้ในโลกมีการเชื่อมต่อระหว่างกันมากมาย
-
4:28 - 4:30การเผชิญปัญหาต่างๆ เช่น การขาดแคลนอาหาร
-
4:30 - 4:32ภัยคุกคามต่อนิเวศวิทยา
และความไม่เท่าเทียมทางเศรษฐกิจ -
4:32 - 4:34มันจึงสำคัญเป็นอย่างมาก
-
4:34 - 4:37สำหรับทั้งนักวิทยาศาสตร์และผู้กำหนดนโยบาย
-
4:37 - 4:38ที่จะมีความเข้าใจที่ลึกซึ้งเกี่ยวกับ
-
4:38 - 4:41ประชากรและปัจจัยที่มีผลกระทบต่อมัน
- Title:
- ปิรามิดประชากร: เครื่องมือทำนายอนาคตที่มีประสิทธิภาพ - คิม เพรสซอฟ
- Description:
-
สถิติประชากรเปรียบเสมือนกับลูกแก้วคริสตัล เมื่อเพ่งพินิจดู มันจะสามารถช่วยทำนายอนาคตของประเทศนั้นได้ (รวมถึงบอกใบ้เรื่องราวในอดีตด้วยเช่นกัน) คิม เพรสซอฟ ได้อธิบายถึงวิธีการใช้กราฟที่ชื่อว่า ปิรามิดประชากร ในการช่วยนักสังคมศาสตร์และนักวางแผนนโยบาย ในการทำความเข้าใจเกี่ยวกับสถิติประชากร โดยใช้ตัวอย่างปิรามิดประชากรของประเทศที่แตกต่างกัน 3 ประเทศในการอธิบาย
- Video Language:
- English
- Team:
closed TED
- Project:
- TED-Ed
- Duration:
- 05:02
![]() |
Kelwalin Dhanasarnsombut edited Thai subtitles for Population pyramids: Powerful predictors of the future - Kim Preshoff | |
![]() |
Kelwalin Dhanasarnsombut edited Thai subtitles for Population pyramids: Powerful predictors of the future - Kim Preshoff | |
![]() |
Kelwalin Dhanasarnsombut edited Thai subtitles for Population pyramids: Powerful predictors of the future - Kim Preshoff | |
![]() |
Kelwalin Dhanasarnsombut approved Thai subtitles for Population pyramids: Powerful predictors of the future - Kim Preshoff | |
![]() |
Sritala Dhanasarnsombut accepted Thai subtitles for Population pyramids: Powerful predictors of the future - Kim Preshoff | |
![]() |
Sritala Dhanasarnsombut edited Thai subtitles for Population pyramids: Powerful predictors of the future - Kim Preshoff | |
![]() |
Sritala Dhanasarnsombut edited Thai subtitles for Population pyramids: Powerful predictors of the future - Kim Preshoff | |
![]() |
Pongsakorn Puavaranukroh edited Thai subtitles for Population pyramids: Powerful predictors of the future - Kim Preshoff |