< Return to Video

สิ่งประดิษฐ์เปลี่ยนประวัติศาสตร์ (ให้ดีขึ้นหรือแย่ลง) อย่างไร? - เคนเนธ ซี เดวิส

  • 0:16 - 0:19
    นี่เป็นเรื่องของสิ่งประดิษฐ์ที่เปลี่ยนโลก
  • 0:19 - 0:23
    ลองนึกถึงเครื่องที่สามารถลดเวลาทำงาน
    จาก 10 ชั่วโมงให้เหลือเพียงชั่วโมงเดียว
  • 0:23 - 0:28
    เครื่องที่มีประสิทธิภาพมาก
    ที่ทำงานแทนคนได้
  • 0:28 - 0:30
    ก็เหมือนคอมพิวเตอร์ส่วนตัวนั่นแหละ
  • 0:30 - 0:33
    แต่เครื่องจักรที่ผมกำลังจะเล่าให้คุณฟังนี้
    ไม่ได้ทำอย่างนั้นหรอกนะ
  • 0:33 - 0:37
    มันทำในสิ่งตรงกันข้ามต่างหาก
  • 0:37 - 0:44
    ตอนช่วงปลายยุค 1700 ที่อเมริกาเพิ่ง
    เริ่มเป็นสาธารณะรัฐภายใต้รัฐธรรมนูญใหม่
  • 0:44 - 0:49
    การใช้แรงงานทาสเป็นเรื่องจริง
    ของชีวิตชาวอเมริกันอันน่าโศกสลด
  • 0:49 - 0:54
    ทั้งจอร์จ วอชิงตัน และ โธมัส เจฟเฟอร์สัน
    ได้เป็นประธานาธิบดีในขณะที่มีทาสในครอบครอง
  • 0:54 - 1:01
    ทั้งที่รู้ว่าสถาบันประหลาดนี้ขัดแย้ง
    กับอุดมคติและหลักการที่เขาต่อสู้เพื่อให้ได้มา
  • 1:01 - 1:07
    แต่บุคคลทั้งสองก็เชื่อว่าการค้าทาสจะค่อย ๆ
    หมดไปเมื่อเข้าสู่ศตวรรษที่ 19
  • 1:07 - 1:11
    แน่นอนว่า พวกเขาทั้งสองคิดผิดอย่างมหันต์
  • 1:11 - 1:13
    อันเนื่องมาจากสิ่งประดิษฐ์อย่างหนึ่ง
  • 1:13 - 1:16
    เครื่องจักรที่เขาอาจจะเล่าให้คุณฟัง
    ในสมัยเรียนประถม:
  • 1:16 - 1:19
    เครื่องปั่นฝ้ายของนายเอลี่ วิทนีย์
  • 1:19 - 1:26
    นายวิทนีย์บัณฑิตจากเยลอายุ 28 ปี ผู้มายัง
    เซาท์แคโรไลน่าในปี ค.ศ.1793 เพื่อมาเป็นอาจารย์
  • 1:26 - 1:31
    คาดว่าชาวไร่ท้องถิ่นคงจะเล่าให้เขาฟัง
    ถึง
    ความยากลำบากในการทำความสะอาดใยฝ้าย
  • 1:31 - 1:36
    การแยกเมล็ดฝ้ายออกจากใยฝ้ายนั้น
    น่าเบื่อและเสียเวลา
  • 1:36 - 1:40
    ทาสที่ทำงานด้วยมือสามารถทำความสะอาดฝ้าย
    ได้เพียงหนึ่งปอนด์ต่อวัน
  • 1:40 - 1:43
    แต่การปฏิวัติอุตสาหกรรมกำลังก่อตัวขึ้น
  • 1:43 - 1:45
    และความต้องการก็มีมากขึ้น
  • 1:45 - 1:51
    โรงทอผ้าใหญ่ ๆในเกรท บริเตนและนิว อิงแลนด์
    ต่างกระหายฝ้ายเพื่อนำมาผลิตผ้า
  • 1:51 - 1:58
    ดังคำบอกเล่า วิทนีย์เกิด "ช่วง ยูรีก้า"
    และประดิษฐ์เครื่อง มาจากคำว่าเครื่องยนต์
  • 1:58 - 2:04
    จริง ๆ แล้ว เครื่องปั่นฝ้ายนั้นมีมานานนับ
    ศตวรรษแล้วในแบบเล็ก ๆ และไม่มีประสิทธิภาพ
  • 2:04 - 2:12
    ค.ศ.1794 วิทนีย์แค่ปรับเครื่องที่มีอยู่แล้ว
    และจดลิขสิทธิ์เป็น "สิ่งประดิษฐ์" ของเขา:
  • 2:12 - 2:18
    เครื่องจักรขนาดเล็กที่ใช้กลไกโคนชุดหนึ่ง
    ในการแยกเมล็ดออกจากใยฝ้าย
  • 2:18 - 2:19
    ขณะที่ข้อเหวี่ยงหมุน
  • 2:19 - 2:27
    ด้วยเครื่องนี้ และแล้วคนงานคนเดียว
    ก็สามารถแยกฝ้ายได้ 300 ถึงหนึ่งพันปอนด์ต่อวัน
  • 2:27 - 2:33
    ในปี ค.ศ.1790 ในแต่ละปีอเมริกา
    ผลิตฝ้ายได้ 3,000 เบล
  • 2:33 - 2:36
    หนึ่งเบล เท่ากับประมาณ 500 ปอนด์
  • 2:36 - 2:40
    มาถึงปี ค.ศ.1801 เมื่อมีการใช้
    เครื่องปั่นฝ้ายอย่างแพร่หลาย
  • 2:40 - 2:44
    ผลผลิตฝ้ายได้เพิ่มขึ้นเป็นหนึ่งแสนเบลต่อปี
  • 2:44 - 2:47
    ภายหลังจากการทำลายล้างของสงคราม
    ในปี ค.ศ.1812
  • 2:47 - 2:52
    ผลผลิตได้เพิ่มเป็นสี่แสนเบลต่อปี
  • 2:52 - 2:57
    เนื่องจากอเมริกากำลังขยายพื้นที่
    จากการซื้อที่ดินในหลุยเซียน่าในปี ค.ศ.1803
  • 2:57 - 3:03
    ผลผลิตรายปีจึงพุ่งขึ้นไปสูงถึงสี่ล้านเบล
    ฝ้ายกลายเป็นราชาไปแล้ว
  • 3:03 - 3:08
    มันมากเกินมูลค่าของผลผลิตอื่น ๆ
    ของอเมริกามารวมกัน
  • 3:08 - 3:12
    ประมาณได้เท่ากับสามในห้าของผลผลิต
    ทางเศรษฐกิจทั้งหมดของอเมริกา
  • 3:12 - 3:17
    แต่แทนที่เครื่องปั่นฝ้ายจะช่วย
    ลดความต้องการแรงงาน มันกลับเร่งให้ต้องการมากขึ้น
  • 3:17 - 3:21
    เพราะต้องใช้แรงงานทาสมากขึ้น
    ในการปลูกและเก็บเกี่ยวราชาฝ้ายนั่นเอง
  • 3:21 - 3:28
    เครื่องปั่นฝ้ายและอุปสงค์ของโรงงานทางเหนือ
    และอังกฤษเปลี่ยนทิศการค้าทาสอเมริกัน
  • 3:28 - 3:35
    ในปี ค.ศ.1790 ในการสำรวจประชากร
    อย่างเป็นทางการครั้งแรกของอเมริกา มีทาส 700,000 คน
  • 3:35 - 3:40
    มาถึงปี ค.ศ.1810 สองปีภายหลังจาก
    การประกาศห้ามค้าทาสในอเมริกา
  • 3:40 - 3:43
    จำนวนทาสได้พุ่งสูงขึ้นถึงกว่าหนึ่งล้านคน
  • 3:43 - 3:50
    ในช่วง 50 ปีต่อมา จำนวนทาสได้ปะทุ
    ไปถึงเกือบสี่ล้านคนในปี ค.ศ.1860
  • 3:50 - 3:53
    ก่อนปีสงครามกลางเมือง
  • 3:56 - 4:00
    ส่วนวิทนีย์ เขาได้เผชิญชะตาเดียวกับ
    นักประดิษฐ์จำนวนมาก
  • 4:00 - 4:06
    แม้จะมีการจดสิทธิบัตร แต่ชาวไร่อื่น
    ก็เลียนแบบเครื่องเขาได้โดยง่าย หรือทำให้ดีขึ้นไป
  • 4:06 - 4:09
    คุณอาจจะพูดได้ว่าแบบของเขาถูกลอกเลียน
  • 4:09 - 4:14
    วิทนีย์สร้างรายได้เพียงน้อยนิด
    จากอุปกรณ์ที่ได้เปลี่ยนอเมริกานี้
  • 4:14 - 4:17
    แต่ในภาพที่กว้างขึ้น และคำถามที่ใหญ่ขึ้น
  • 4:17 - 4:20
    เราจะตัดสินเครื่องปั่นฝ้ายอย่างไรดี
  • 4:20 - 4:24
    ประวัติศาสตร์ได้พิสูจน์ให้เห็นว่า
    สิ่งประดิษฐ์สามารถเป็นดาบสองคม
  • 4:24 - 4:27
    มันมักจะมาพร้อมกับผลที่ไม่ตั้งใจจะให้เกิด
  • 4:27 - 4:34
    โรงงานในยุคปฏิวัติอุตสาหกรรมผลักดัน
    นวัตกรรมและความเจริญทางเศรษฐกิจในอเมริกา
  • 4:34 - 4:37
    แต่มันก็ต้องพึ่งแรงงานเด็ก
  • 4:37 - 4:43
    นำไปสู่เหตุสลดไฟไหม้ไทรแองเกิ้ลเชิร์ตเวสต์
    คร่าชีวิตสตรีมากกว่า 100 คนในปี ค.ศ.1911
  • 4:45 - 4:48
    ผ้าอ้อมสำเร็จรูปทำให้ชีวิตพ่อแม่ง่ายขึ้น
  • 4:48 - 4:51
    แต่ทำลายงานบริการซักส่งผ้าอ้อม
  • 4:51 - 4:55
    และเราอยากจะเห็นกองขยะเต็มล้นไปด้วย
    ผ้าอ้อมสกปรกอย่างนั้นหรือ
  • 4:55 - 5:01
    และแน่นอน สมการมหัศจรรย์ของไอน์สไตน์
    ได้เปิดโลกแห่งความเป็นไปได้มากมาย
  • 5:01 - 5:04
    แต่หากหนึ่งในนั้นคือฮิโรชิม่าล่ะ
Title:
สิ่งประดิษฐ์เปลี่ยนประวัติศาสตร์ (ให้ดีขึ้นหรือแย่ลง) อย่างไร? - เคนเนธ ซี เดวิส
Description:

ชมบทเรียนเต็มได้ที่: http://ed.ted.com/lessons/how-inventions-change-history-for-better-and-for-worse-kenneth-c-davis
เครื่องปั่นฝ้ายที่ถูกประดิษฐ์ขึ้นในปี ค.ศ. 1793 ได้เปลี่ยนประวัติศาสตร์ทั้งทางดีและร้าย โดยการที่มันช่วยให้มือที่ทำงานเพียงมือเดียวสามารถทำงานของสิบมือได้ มันจึงเป็นกำลังสร้างอุตสาหกรรมใหม่ที่นำความร่ำรวยและอำนาจมาให้อเมริกาทางใต้ - แต่ที่น่าเศร้าคือ มันได้ทวีจำนวนและยืดเวลาของการใช้แรงงานทาสด้วย เคนเนธ ซี เดวิสสรรเสริญนวัตกรรม แต่ในขณะเดียวกันก็เตือนเราถึงผลอันไม่ตั้งใจที่ตามมาด้วย
บทเรียนโดย เคนเนธ ซี เดวิส อะนิแมนชั่นโดย ซันนี บราวน์

more » « less
Video Language:
English
Team:
closed TED
Project:
TED-Ed
Duration:
05:15

Thai subtitles

Revisions