< Return to Video

กุญแจสู่วัคซีนมาลาเรียที่ดีกว่า

  • 0:02 - 0:06
    มีผู้ป่วย 200 ล้านคน
  • 0:06 - 0:11
    ที่ต้องทุกทรมานจากมาลาเรีย
    สายพันธุ์ฟาลซิพารัม ในแอฟริกาทุกปี
  • 0:11 - 0:14
    ส่งผลให้มีผู้เสียชีวิตกว่าครึ่งล้าน
  • 0:14 - 0:18
    ฉันอยากจะเล่าเรื่องวัคซีนมาลาเรียให้คุณฟัง
  • 0:19 - 0:24
    วัคซีนมาลาเรียที่เราประดิษฐ์ขึ้น
    ในปัจจุบันนี้ ยังดีไม่พอ
  • 0:25 - 0:26
    ทำไมน่ะหรือคะ
  • 0:26 - 0:30
    เราพยายามกันมานานกว่า 100 ปี
  • 0:31 - 0:35
    เราเริ่มตั้งแต่วันที่มีเทคโนโลยีอย่างจำกัด
  • 0:35 - 0:42
    เราสามารถเห็นได้เพียงเสี้ยวเล็ก ๆ
    ของสิ่งที่ปรสิตเป็นจริง ๆ
  • 0:42 - 0:46
    ปัจจุบัน เราถูกถาโถมด้วยเทคโนโลยี
  • 0:46 - 0:50
    ภาพถ่ายคมชัด และแพลตฟอร์มโอมิก
  • 0:50 - 0:54
    จีโนมิก ทรานส์คริปโตมิก โปรติโอมิก
  • 0:55 - 0:58
    เครื่องมือเหล่านี้ให้ภาพที่ชัดเจนขึ้น
  • 0:59 - 1:03
    ว่าจริง ๆ แล้วปรสิตมีความซับซ้อนแค่ไหน
  • 1:03 - 1:06
    อย่างไรก็ตาม ถึงมันจะเป็นอย่างนั้น
  • 1:06 - 1:12
    วิธีการออกแบบวัคซีนของเรา
    ยังคงค่อนข้างโบราณอยู่
  • 1:12 - 1:16
    การประดิษฐ์วัคซีนที่ดี
    เราจะต้องกลับไปยังพื้นฐาน
  • 1:16 - 1:21
    เพื่อทำความเข้าใจว่าร่างกายของเรา
    จัดการกับความซับซ้อนนี้อย่างไร
  • 1:22 - 1:27
    คนที่มักติดเชื้อมาลาเรีย
  • 1:27 - 1:28
    เรียนรู้ที่จะจัดการกับมัน
  • 1:29 - 1:32
    พวกเขาติดเชื้อแต่ไม่เจ็บป่วย
  • 1:33 - 1:36
    ตำราที่ถูกเข้ารหัสในแอนติบอดี
  • 1:37 - 1:41
    ทีมของฉัน
    กลับไปดูความซับซ้อนของปรสิต
  • 1:41 - 1:46
    ตรวจสอบตัวอย่างจากชาวแอฟริกา
    ที่เอาชนะมาลาเรียได้
  • 1:46 - 1:48
    เพื่อหาคำตอบสำหรับคำถามที่ว่า
  • 1:48 - 1:52
    "การตอบสนองแอนติบอดี
    ที่ประสบความสำเร็จมีหน้าตาอย่างไร"
  • 1:52 - 1:56
    เราพบโปรตีนกว่า 200 ตัว
  • 1:56 - 2:00
    ส่วนใหญ่ไม่ได้อยู่ในเป้าหมาย
    ของวัคซีนมาลาเรีย
  • 2:00 - 2:05
    คนในวงการวิจัยของฉัน
    อาจกำลังพลาดส่วนที่สำคัญของปรสิตไป
  • 2:06 - 2:12
    จนกระทั่งไม่นานมานี้ มีผู้ระบุ
    โปรตีนหนึ่งที่น่าสนใจ
  • 2:12 - 2:15
    พวกเขาทดสอบมันดู
    ว่าจะมีความสำคัญต่อวัคซีนไหม
  • 2:15 - 2:18
    โดยการศึกษากลุ่มประชากร
  • 2:18 - 2:24
    กลุ่มประชากรนี้มีผู้เข้าร่วม
    เป็นชาวบ้านแอฟริกาประมาณ 300 คน
  • 2:24 - 2:27
    ตัวอย่างจากคนเหล่านี้ถูกวิเคราะห์
  • 2:27 - 2:32
    เพื่อดูว่าแอนติบอดีที่จำเพาะต่อโปรตีนนั้น
    จะใช้คาดคะแนได้หรือไม่ว่า
  • 2:32 - 2:34
    ใครติดเชื้อมาลาเรีย
  • 2:34 - 2:36
    ใน 30 ปีที่ผ่านมา
  • 2:36 - 2:41
    การศึกษาเหล่านี้ทดสอบโปรตีนจำนวนหนึ่ง
  • 2:41 - 2:44
    ในตัวอย่างจำนวนไม่มาก
  • 2:44 - 2:46
    และมักจะทำในบริเวณหนึ่ง
  • 2:47 - 2:50
    ผลลัพธ์ที่ออกมามีความสม่ำเสมอ
  • 2:51 - 2:57
    ทีมของฉันย่นระยะเวลา 30 ปี
    ของการวิจัยแนวนี้
  • 2:57 - 3:02
    เป็นการทดลองหนึ่งที่น่าสนใจ
    ที่กินเวลาเพียงสามเดือน
  • 3:03 - 3:07
    ด้วยนวัตกรรม
    เรารวบรวม 10,000 ตัวอย่าง
  • 3:07 - 3:11
    จาก 15 บริเวณ ในเจ็ดประเทศจากทวีปแอฟริกา
  • 3:11 - 3:16
    ตลอดหลายช่วงเวลา อายุ
    และระดับการติดเชื้อมาลาเรีย
  • 3:16 - 3:18
    ที่หลากหลายในแอฟริกา
  • 3:19 - 3:24
    เราใช้เทคโนโลยีโอมิกเพื่อกำหนด
    ความสำคัญของโปรตีนจากปรสิต
  • 3:24 - 3:26
    สังเคราะห์มันในห้องทดลอง
  • 3:26 - 3:31
    และโดยสรุป
    เราสร้างปรสิตมาลาเรียไว้บนชิพ
  • 3:32 - 3:35
    เราทำการทดลองนี้ขึ้นในแอฟริกา
    เราภูมิใจมากค่ะ
  • 3:35 - 3:42
    (เสียงปรบมือ)
  • 3:42 - 3:45
    ชิพเป็นแก้วสไลด์ขนาดเล็ก
  • 3:45 - 3:47
    แต่มันทรงพลังค่ะ
  • 3:48 - 3:54
    เราได้ข้อมูลการตอบสนองแอนติบอดี
    กว่า 100 พร้อม ๆ กัน
  • 3:55 - 3:56
    เรากำลังมองหาอะไรอยู่
  • 3:57 - 4:01
    ตำราที่อยู่เบื้องหลังความสำเร็จ
    คือการตอบสนองแอนติบอดี
  • 4:01 - 4:06
    เพื่อที่เราจะได้ประเมินว่า
    วัคซีนมาลาเรียที่ดีจะทำจากอะไร
  • 4:07 - 4:09
    เรายังพยายามค้นหา
  • 4:09 - 4:12
    ว่าแอนติบอดีมีผลอย่างไรต่อปรสิต
  • 4:12 - 4:14
    พวกมันถูกฆ่าได้อย่างไร
  • 4:14 - 4:18
    พวกมันโจมตีจากหลายทิศทาง
    มีการประสานงานอะไรไหม
  • 4:18 - 4:20
    เราต้องการแอนติบอดีมากแค่ไหน
  • 4:20 - 4:26
    การศึกษาของเราระบุว่าการมีแอนติบอดี
    ชนิดเดียวเพียงนิดเดียวนั้นไม่พอ
  • 4:26 - 4:30
    ต้องใช้แอนติบอดีความเข้มข้นสูง
  • 4:30 - 4:32
    เพื่อต้านโปรตีนปรสิตที่หลากหลาย
  • 4:33 - 4:38
    เรายังได้รู้ว่าแอนติบอดีฆ่าปรสิต
    ด้วยวิธีการที่หลากหลาย
  • 4:38 - 4:44
    และการศึกษาแอนติบอดีใด ๆ แบบแยกกัน
    อาจไม่ได้สะท้อนความเป็นจริงมากพอ
  • 4:44 - 4:49
    เมื่อเราเห็นปรสิตอย่างละเอียดมากขึ้น
  • 4:49 - 4:51
    ทีมของฉันให้ความสนใจ
  • 4:51 - 4:56
    กับการทำความเข้าใจว่า
    ร่างกายของเราเอาชนะความซับซ้อน
  • 4:56 - 5:00
    เราเชื่อว่ามันน่าจะช่วยเราฟันฝ่าอุปสรรค
    และให้ความก้าวหน้าที่เราต้องการ
  • 5:00 - 5:04
    ที่จะถูกจารึกไว้ในประวัติศาสตร์มาลาเรีย
    ผ่านการฉีดวัคซีน
  • 5:05 - 5:06
    ขอบคุณค่ะ
  • 5:06 - 5:08
    (เสียงปรบมือ)
  • 5:08 - 5:10
    (เสียงเชียร์)
  • 5:10 - 5:16
    (เสียงปรบมือ)
  • 5:16 - 5:19
    โชแฮม อารัด: โอเค เราใกล้ความจริงแค่ไหน
    ในการมีวัคซีนมาลาเรีย
  • 5:20 - 5:23
    เฟธ โอเซียร์: เราอยู่ในช่วงต้นของกระบวนการ
  • 5:23 - 5:27
    ในการพยายามเข้าใจ
    ว่าเราต้องใส่อะไรเข้าไปในวัคซีน
  • 5:27 - 5:30
    ก่อนที่เราจะประดิษฐ์มันขึ้นมา
  • 5:30 - 5:34
    ฉะนั้น เรายังไม่ได้เข้าใกล้ความจริง
    แต่เรากำลังพยายามกันอยู่
  • 5:34 - 5:35
    โชแฮม: เราก็รู้สึกมีความหวัง
  • 5:35 - 5:37
    เฟธ: เรารู้สึกมีความหวังมากค่ะ
  • 5:37 - 5:41
    โชแฮม: บอกหน่อยสิคะว่า SMART
    ย่อมาจากอะไร
  • 5:41 - 5:43
    ทำไมมันถึงสำคัญ
  • 5:43 - 5:49
    เฟธ: SMART ย่อมาจาก ความร่วมมือการวิจัย
    แอนติเจนมาลาเรียตอนใต้ใต้
  • 5:49 - 5:54
    ตอนใต้ใต้ หมายถึงเราในแอฟริกา
  • 5:54 - 5:58
    ร่วมมืออย่างคู่ขนานกันไป
  • 5:58 - 6:02
    แทนที่จะเป็นการมองหาความช่วยเหลือ
    จากอเมริกาและยุโรป
  • 6:03 - 6:06
    และแอฟริกาก็มีความเข้มแข็งอยู่
  • 6:06 - 6:07
    ฉะนั้น SMART
  • 6:07 - 6:11
    นอกเหนือจากเป้าหมายที่เรามี
    ในการพัฒนาวัคซีนมาลาเรียแล้ว
  • 6:11 - 6:14
    เรายังให้การฝึกฝนนักวิทยาศาสตร์แอฟริกา
  • 6:14 - 6:17
    เพราะภาระของโรคในแอฟริกามีอยู่มาก
  • 6:17 - 6:21
    และคุณต้องการคน
    ที่จะสร้างความก้าวหน้าได้อย่างต่อเนื่อง
  • 6:21 - 6:23
    ในวิทยาศาสตร์ ในแอฟริกา
  • 6:23 - 6:25
    โชแฮม: ค่ะ แน่นอน
  • 6:25 - 6:28
    (เสียงปรบมือ)
  • 6:28 - 6:30
    เอาล่ะค่ะ คำถามสุดท้าย
  • 6:30 - 6:32
    บอกฉันหน่อยค่ะ
    ฉันรู้ว่าคุณพูดถึงมันนิดหน่อยแล้ว
  • 6:32 - 6:36
    แต่จะมีอะไรเปลี่ยนแปลงไปบ้าง
    ถ้าเรามีวัคซีนมาลาเรีย
  • 6:37 - 6:40
    เฟธ: เราจะช่วยคนได้อีกครึ่งล้านชีวิตทุกปี
  • 6:41 - 6:43
    ผู้ป่วยกว่าสองแสนราย
  • 6:43 - 6:50
    คาดว่าทุกปีแอฟริกาต้องจ่ายเงิน
    เพื่อมาลาเรีย 12 พันล้านดอลลาร์สหรัฐฯ
  • 6:50 - 6:52
    มันเกี่ยวข้องกับเศรษฐศาสตร์
  • 6:52 - 6:54
    แอฟริกาจะรุ่งเรือง
  • 6:55 - 6:56
    โชแฮม: ขอบคุณค่ะ เฟธ
  • 6:56 - 6:57
    ของคุณมากค่ะ
  • 6:57 - 6:59
    (เสียงปรบมือ)
Title:
กุญแจสู่วัคซีนมาลาเรียที่ดีกว่า
Speaker:
เฟธ โอสเซียร์ (Faith Osier)
Description:

วัคซีนมาลาเรียถูกประดิษฐ์ขึ้นมากว่าศตวรรษแล้ว ทว่าทุกปีคนหลายแสนก็ยังเสียชีวิตจากโรคดังกล่าว เราจะพัฒนาวัคซีนที่สำคัญยิ่งนี้ได้อย่างไร ในการบรรยายที่ให้ข้อมูลสำคัญนี้ นักภูมิคุ้มกันวิทยาและ TED Fellow เฟธ โอสเซียร์ แสดงให้เห็นว่าเธอรวมเอาเทคโนโลยีล้ำสมัยกับภูมิปัญญานานหลายศตวรรษมาเป็นความหวังในการสร้างวัคซีนใหม่ที่จะกำจัดมาลาเรียได้อย่างถอนรากถอนโคน

more » « less
Video Language:
English
Team:
closed TED
Project:
TEDTalks
Duration:
07:11
Kelwalin Dhanasarnsombut approved Thai subtitles for The key to a better malaria vaccine
Rawee Ma accepted Thai subtitles for The key to a better malaria vaccine
Kelwalin Dhanasarnsombut edited Thai subtitles for The key to a better malaria vaccine
Rawee Ma declined Thai subtitles for The key to a better malaria vaccine
Rawee Ma edited Thai subtitles for The key to a better malaria vaccine
Kelwalin Dhanasarnsombut edited Thai subtitles for The key to a better malaria vaccine

Thai subtitles

Revisions