Return to Video

ความเครียดส่งผลต่อสมองของคุณอย่างไร - มัดฮูมิตา เมอร์เจีย (Madhumita Murgia)

  • 0:07 - 0:09
    คุณนอนไม่ค่อยพอใช่ไหม
  • 0:09 - 0:10
    รู้สึกหงุดหงิดหรือโมโหง่าย
  • 0:10 - 0:12
    ลืมเรื่องเล็กๆ น้อยๆ
  • 0:12 - 0:15
    รู้สึกว่าชีวิตยุ่งวุ่นวายและโดดเดี่ยว
  • 0:15 - 0:17
    ไม่ต้องห่วง เราต่างผ่านจุดนั้นกันมาแล้ว
  • 0:17 - 0:19
    คุณแค่มีความเครียดเท่านั้นเอง
  • 0:19 - 0:21
    ความเครียดไม่ใช่สิ่งที่แย่เสมอไป
  • 0:21 - 0:24
    มันสามารถทำให้เกิดพลังงานพิเศษ
    และมีสมาธิมากๆ
  • 0:24 - 0:27
    เหมือนเวลาที่คุณแข่งกีฬา
  • 0:27 - 0:29
    หรือพูดในที่สาธารณะ
  • 0:29 - 0:30
    แต่หากมีความครียดต่อเนื่อง
  • 0:30 - 0:33
    ความเครียดต่อเนื่องทั้งกลางวันกลางคืน
  • 0:33 - 0:37
    มันจะค่อยๆ เปลี่ยนแปลงสมองของคุณ
  • 0:37 - 0:38
    อาการเครียดเรื้อรัง
  • 0:38 - 0:41
    เช่น การทำงานมากเกินไป
    หรือความขัดแย้งที่บ้าน
  • 0:41 - 0:43
    จะส่งผลกระทบต่อขนาดของสมอง
  • 0:43 - 0:44
    โครงสร้างของสมอง
  • 0:44 - 0:45
    และการทำงานของสมอง
  • 0:45 - 0:48
    ลึกลงไปถึงการทำงานระดับยีนส์ของคุณ
  • 0:48 - 0:50
    ความเครียด เริ่มจากสิ่งที่เรียกว่า
  • 0:50 - 0:54
    ไฮโพทาลามัส ต่อมพิทูอิทาลี กับ ต่อมหมวกไต
  • 0:54 - 0:56
    ปฎิกิริยาต่อเนื่อง
  • 0:56 - 1:00
    ระหว่างต่อมไร้ท่อที่สมองและที่ไต
  • 1:00 - 1:02
    ซึ่งควบคุมร่างกายในการตอบสมองต่อความเครียด
  • 1:02 - 1:05
    เมื่อสมองของคุณรับรู้ถึงสภาวะที่ตึงเครียด
  • 1:05 - 1:09
    ระบบดังกล่าว (แกน HPA) จะถูกกระตุ้นให้ทำงาน
  • 1:09 - 1:15
    และหลั่งฮอร์โมนคอร์ติซอลที่จะ
    กระตุ้นร่างกายให้ตื่นตัว
  • 1:15 - 1:18
    แต่การมีคอร์ติซอลในระดับสูงเป็นเวลานาน
  • 1:18 - 1:21
    จะทำความเสียหายให้กับสมองอย่างมาก
  • 1:21 - 1:24
    เช่น ความเครียดเรื้องรังจะทำให้การทำงาน
  • 1:24 - 1:28
    และจำนวนการเชื่อมต่อของเซลล์สมอง
    ในอมิกดาลา (Amygdala) เพิ่มขึ้น
  • 1:28 - 1:30
    ซึ่งเป็นส่วนที่ทำงานเกี่ยวกับความหวาดกลัว
  • 1:30 - 1:32
    และในขณะที่คอร์ติซอลมีปริมาณเพิ่มขึ้น
  • 1:32 - 1:35
    สัญญาณประสาทในอิปโปแคมปัส
  • 1:35 - 1:39
    ซึ่งเป็นสมองส่วนที่เกี่ยวกับการเรียนรู้
    ความจำ และความเครียด
  • 1:39 - 1:41
    ถูกบั่นทอนการทำงานลง
  • 1:41 - 1:45
    นอกจากนี้สมองส่วนฮิปโปแคมปัสยังไปยับยั้ง
    การทำงานของสมดุลฮอร์โมนข้างต้น
  • 1:45 - 1:47
    เมื่อสมดุลฮอร์โมนเสียไป
  • 1:47 - 1:50
    ทำให้ความสามารถในการควบคุมความเครียดแย่ลง
  • 1:50 - 1:51
    เพียงเท่านี้ยังไม่หมด
  • 1:51 - 1:56
    คอร์ติซอลยังสามารถทำให้ขนาดของสมองฝ่อลงได้
  • 1:56 - 2:01
    หากคอร์ติซอลมากเกินไป
    จะทำให้สัญญาณประสาทลดลงอีกด้วย
  • 2:01 - 2:03
    และการฝ่อของสมองส่วนหน้า
  • 2:03 - 2:07
    ซึ่งเป็นส่วนที่ทำหน้าที่เกี่ยวกับการจดจ่อ
  • 2:07 - 2:08
    การพิจารณาต่างๆ
  • 2:08 - 2:09
    การตัดสินใจ
  • 2:09 - 2:12
    การมีปฎิสัมพันธ์กับสังคม
  • 2:12 - 2:16
    มันยังทำให้การเพิ่มของเซลล์สมองใหม่
    ในฮิปโปแคมปัสลดลงอีกด้วย
  • 2:16 - 2:20
    นี่หมายความว่า
    ความเครียดเรื้อรังอาจทำให้การเรียนรู้แย่ลง
  • 2:20 - 2:21
    จดจำสิ่งต่างๆ แย่ลง
  • 2:21 - 2:24
    และนำไปสู่ปัญหาทางจิตใจอื่นๆ ได้อีก
  • 2:24 - 2:29
    เช่น โรคซึมเศร้า และสุดท้าย โรคอัลไซเมอร์
  • 2:29 - 2:33
    ผลกระทบจากความเครียด
    อาจส่งผลลงลึกถึงระดับดีเอ็นเอของสมอง
  • 2:33 - 2:34
    ผลวิจัยแสดงให้เห็นว่า
  • 2:34 - 2:39
    การเลี้ยงดูลูกหนูของแม่หนู
  • 2:39 - 2:44
    ส่งผลต่อการตอบสนองต่อความเครียด
    ของลูกหนูเมื่อโตขึ้น
  • 2:44 - 2:48
    ลูกหนูที่ผ่านการดูแลอย่างดีจากแม่
    ไวต่อความเครียดน้อยกว่า
  • 2:48 - 2:52
    เพราะว่าสมองได้พัฒนาตัวรับคอร์ติซอลมากขึ้น
  • 2:52 - 2:55
    ซึ่งจะจับคอร์ติซอลไว้ไม่ให้ออกฤทธิ์ได้ดี
  • 2:55 - 2:58
    ส่วนลูกหนูที่แม่ไม่ดูแล
    มีพฤติกรรมตรงกันข้าม
  • 2:58 - 3:02
    ทำให้มีความไวต่อความเครียดเมื่อโตขึ้น
  • 3:02 - 3:05
    เราพิจารณาสิ่งเหล่านี้เป็น
    การเปลี่ยนแปลงเหนือพันธุกรรม
  • 3:05 - 3:08
    ส่งผลให้มียีนส์แสดงออกมา
  • 3:08 - 3:11
    โดยที่ไม่มีการเปลี่ยนเปลงรหัสพันธุกรรม
  • 3:11 - 3:14
    การเปลี่ยนแปลงเหล่านี้
    สามารถแก้ไขโดยเปลี่ยนแม่ที่เลี้ยงดู
  • 3:14 - 3:16
    แต่ผลที่น่าสนใจ คือ
  • 3:16 - 3:20
    การเปลี่ยนเปลงเหนือพันธุกรรมที่เกิดจาก
    แม่หนูที่ไม่เลี้ยงดูลูกเพียงตัวเดียว
  • 3:20 - 3:24
    จะถูกส่งไปยังลูกหลานของหนูอีกหลายรุ่น
  • 3:24 - 3:28
    กล่าวคือ ผลดังกล่าวสืบทอดตามพันธุกรรมได้
  • 3:28 - 3:30
    แต่มันก็ไม่ใช่เรื่องร้ายซะทีเดียว
  • 3:30 - 3:35
    ยังมีอีกหลายวิธีที่จะแก้ไขผลที่คอร์ติซอล
    มีต่อสมองที่มีความเครียด
  • 3:35 - 3:39
    อาวุธชั้นดีที่จะใช้ต่อสู้ คือ
    การออกกำลังกายและทำสมาธิ
  • 3:39 - 3:40
    ซึ่งเกี่ยวข้องกับการหายใจลึกๆ
  • 3:40 - 3:44
    การรู้ตัวและรับรู้ จดจ่อต่อสิ่งรอบตัว
  • 3:44 - 3:46
    กิจกรรมทั้งสองอย่าง จะช่วยลดความเครียด
  • 3:46 - 3:50
    และเพิ่มขนาดของสมองส่วนฮิปโปแคมปัส
  • 3:50 - 3:52
    ซึ่งจะส่งผลให้มีความจำดีขึ้น
  • 3:52 - 3:54
    ดังนั้น จงอย่ารู้สึกแย่กับความกดดันในชีวิต
  • 3:54 - 3:59
    จงควบคุมความเครียด
    ก่อนที่ความเครียดจะควบคุมคุณ
Title:
ความเครียดส่งผลต่อสมองของคุณอย่างไร - มัดฮูมิตา เมอร์เจีย (Madhumita Murgia)
Speaker:
Madhumita Murgia
Description:

ดูบทเรียนเต็มได้ที่ http://ed.ted.com/lessons/how-stress-affects-your-brain-madhumita-murgia

ความเครียดไม่ใช่สิ่งที่เลวร้ายเสมอไป มันสามารถทำให้เกิดพลังงานพิเศษและมีสมาธิมากๆ เหมือนเวลาที่คุณแข่งกีฬาหรือพูดในที่สาธารณะ แต่หากมีความเครียดต่อเนื่อง มันจะส่งผลให้มีการเปลี่ยนแปลงต่อสมองของคุณ มัดฮูมิตา เมอร์เจีย เผยให้เห็นว่าความเครียดเรื้อรังส่งผลต่อขนาด โครงสร้างและการทำงานของสมองอย่างไร และลึกลงถึงระดับพันธุกรรมของคุณ

บทเรียนโดย มัดฮูมิตา เมอร์เจีย
ภาพเคลื่อนไหวโดย แอนดรูว์ ซิมเบลแมน

more » « less
Video Language:
English
Team:
closed TED
Project:
TED-Ed
Duration:
04:16
Kelwalin Dhanasarnsombut approved Thai subtitles for How stress affects your brain
Kelwalin Dhanasarnsombut edited Thai subtitles for How stress affects your brain
Kelwalin Dhanasarnsombut edited Thai subtitles for How stress affects your brain
Kelwalin Dhanasarnsombut edited Thai subtitles for How stress affects your brain
Tisa Tontiwatkul accepted Thai subtitles for How stress affects your brain
Tisa Tontiwatkul edited Thai subtitles for How stress affects your brain
Tisa Tontiwatkul edited Thai subtitles for How stress affects your brain
Tisa Tontiwatkul edited Thai subtitles for How stress affects your brain
Show all

Thai subtitles

Revisions