1 00:00:06,791 --> 00:00:08,526 คุณนอนไม่ค่อยพอใช่ไหม 2 00:00:08,526 --> 00:00:10,299 รู้สึกหงุดหงิดหรือโมโหง่าย 3 00:00:10,299 --> 00:00:11,839 ลืมเรื่องเล็กๆ น้อยๆ 4 00:00:11,839 --> 00:00:14,602 รู้สึกว่าชีวิตยุ่งวุ่นวายและโดดเดี่ยว 5 00:00:14,602 --> 00:00:16,567 ไม่ต้องห่วง เราต่างผ่านจุดนั้นกันมาแล้ว 6 00:00:16,567 --> 00:00:18,779 คุณแค่มีความเครียดเท่านั้นเอง 7 00:00:18,779 --> 00:00:20,967 ความเครียดไม่ใช่สิ่งที่แย่เสมอไป 8 00:00:20,967 --> 00:00:24,178 มันสามารถทำให้เกิดพลังงานพิเศษ และมีสมาธิมากๆ 9 00:00:24,178 --> 00:00:26,589 เหมือนเวลาที่คุณแข่งกีฬา 10 00:00:26,589 --> 00:00:28,516 หรือพูดในที่สาธารณะ 11 00:00:28,516 --> 00:00:30,086 แต่หากมีความครียดต่อเนื่อง 12 00:00:30,086 --> 00:00:33,105 ความเครียดต่อเนื่องทั้งกลางวันกลางคืน 13 00:00:33,105 --> 00:00:36,932 มันจะค่อยๆ เปลี่ยนแปลงสมองของคุณ 14 00:00:36,932 --> 00:00:38,152 อาการเครียดเรื้อรัง 15 00:00:38,152 --> 00:00:41,235 เช่น การทำงานมากเกินไป หรือความขัดแย้งที่บ้าน 16 00:00:41,235 --> 00:00:42,778 จะส่งผลกระทบต่อขนาดของสมอง 17 00:00:42,778 --> 00:00:43,966 โครงสร้างของสมอง 18 00:00:43,966 --> 00:00:45,249 และการทำงานของสมอง 19 00:00:45,249 --> 00:00:48,249 ลึกลงไปถึงการทำงานระดับยีนส์ของคุณ 20 00:00:48,249 --> 00:00:49,980 ความเครียด เริ่มจากสิ่งที่เรียกว่า 21 00:00:49,980 --> 00:00:53,606 ไฮโพทาลามัส ต่อมพิทูอิทาลี กับ ต่อมหมวกไต 22 00:00:53,606 --> 00:00:55,698 ปฎิกิริยาต่อเนื่อง 23 00:00:55,698 --> 00:00:59,579 ระหว่างต่อมไร้ท่อที่สมองและที่ไต 24 00:00:59,579 --> 00:01:02,500 ซึ่งควบคุมร่างกายในการตอบสมองต่อความเครียด 25 00:01:02,500 --> 00:01:04,904 เมื่อสมองของคุณรับรู้ถึงสภาวะที่ตึงเครียด 26 00:01:04,904 --> 00:01:08,856 ระบบดังกล่าว (แกน HPA) จะถูกกระตุ้นให้ทำงาน 27 00:01:08,856 --> 00:01:15,022 และหลั่งฮอร์โมนคอร์ติซอลที่จะ กระตุ้นร่างกายให้ตื่นตัว 28 00:01:15,022 --> 00:01:18,331 แต่การมีคอร์ติซอลในระดับสูงเป็นเวลานาน 29 00:01:18,331 --> 00:01:20,826 จะทำความเสียหายให้กับสมองอย่างมาก 30 00:01:20,826 --> 00:01:24,262 เช่น ความเครียดเรื้องรังจะทำให้การทำงาน 31 00:01:24,262 --> 00:01:28,277 และจำนวนการเชื่อมต่อของเซลล์สมอง ในอมิกดาลา (Amygdala) เพิ่มขึ้น 32 00:01:28,277 --> 00:01:30,489 ซึ่งเป็นส่วนที่ทำงานเกี่ยวกับความหวาดกลัว 33 00:01:30,489 --> 00:01:32,413 และในขณะที่คอร์ติซอลมีปริมาณเพิ่มขึ้น 34 00:01:32,413 --> 00:01:34,760 สัญญาณประสาทในอิปโปแคมปัส 35 00:01:34,760 --> 00:01:39,421 ซึ่งเป็นสมองส่วนที่เกี่ยวกับการเรียนรู้ ความจำ และความเครียด 36 00:01:39,421 --> 00:01:41,054 ถูกบั่นทอนการทำงานลง 37 00:01:41,054 --> 00:01:45,229 นอกจากนี้สมองส่วนฮิปโปแคมปัสยังไปยับยั้ง การทำงานของสมดุลฮอร์โมนข้างต้น 38 00:01:45,229 --> 00:01:46,511 เมื่อสมดุลฮอร์โมนเสียไป 39 00:01:46,511 --> 00:01:49,982 ทำให้ความสามารถในการควบคุมความเครียดแย่ลง 40 00:01:49,982 --> 00:01:51,322 เพียงเท่านี้ยังไม่หมด 41 00:01:51,322 --> 00:01:55,880 คอร์ติซอลยังสามารถทำให้ขนาดของสมองฝ่อลงได้ 42 00:01:55,880 --> 00:02:00,703 หากคอร์ติซอลมากเกินไป จะทำให้สัญญาณประสาทลดลงอีกด้วย 43 00:02:00,703 --> 00:02:03,267 และการฝ่อของสมองส่วนหน้า 44 00:02:03,267 --> 00:02:06,871 ซึ่งเป็นส่วนที่ทำหน้าที่เกี่ยวกับการจดจ่อ 45 00:02:06,871 --> 00:02:08,253 การพิจารณาต่างๆ 46 00:02:08,253 --> 00:02:09,379 การตัดสินใจ 47 00:02:09,379 --> 00:02:11,620 การมีปฎิสัมพันธ์กับสังคม 48 00:02:11,620 --> 00:02:16,437 มันยังทำให้การเพิ่มของเซลล์สมองใหม่ ในฮิปโปแคมปัสลดลงอีกด้วย 49 00:02:16,437 --> 00:02:19,925 นี่หมายความว่า ความเครียดเรื้อรังอาจทำให้การเรียนรู้แย่ลง 50 00:02:19,925 --> 00:02:21,401 จดจำสิ่งต่างๆ แย่ลง 51 00:02:21,401 --> 00:02:24,324 และนำไปสู่ปัญหาทางจิตใจอื่นๆ ได้อีก 52 00:02:24,324 --> 00:02:28,875 เช่น โรคซึมเศร้า และสุดท้าย โรคอัลไซเมอร์ 53 00:02:28,875 --> 00:02:33,181 ผลกระทบจากความเครียด อาจส่งผลลงลึกถึงระดับดีเอ็นเอของสมอง 54 00:02:33,181 --> 00:02:34,497 ผลวิจัยแสดงให้เห็นว่า 55 00:02:34,497 --> 00:02:38,706 การเลี้ยงดูลูกหนูของแม่หนู 56 00:02:38,706 --> 00:02:43,878 ส่งผลต่อการตอบสนองต่อความเครียด ของลูกหนูเมื่อโตขึ้น 57 00:02:43,878 --> 00:02:48,336 ลูกหนูที่ผ่านการดูแลอย่างดีจากแม่ ไวต่อความเครียดน้อยกว่า 58 00:02:48,336 --> 00:02:51,769 เพราะว่าสมองได้พัฒนาตัวรับคอร์ติซอลมากขึ้น 59 00:02:51,769 --> 00:02:54,757 ซึ่งจะจับคอร์ติซอลไว้ไม่ให้ออกฤทธิ์ได้ดี 60 00:02:54,757 --> 00:02:58,223 ส่วนลูกหนูที่แม่ไม่ดูแล มีพฤติกรรมตรงกันข้าม 61 00:02:58,223 --> 00:03:01,910 ทำให้มีความไวต่อความเครียดเมื่อโตขึ้น 62 00:03:01,910 --> 00:03:04,675 เราพิจารณาสิ่งเหล่านี้เป็น การเปลี่ยนแปลงเหนือพันธุกรรม 63 00:03:04,675 --> 00:03:07,524 ส่งผลให้มียีนส์แสดงออกมา 64 00:03:07,524 --> 00:03:10,514 โดยที่ไม่มีการเปลี่ยนเปลงรหัสพันธุกรรม 65 00:03:10,514 --> 00:03:14,361 การเปลี่ยนแปลงเหล่านี้ สามารถแก้ไขโดยเปลี่ยนแม่ที่เลี้ยงดู 66 00:03:14,361 --> 00:03:16,123 แต่ผลที่น่าสนใจ คือ 67 00:03:16,123 --> 00:03:19,788 การเปลี่ยนเปลงเหนือพันธุกรรมที่เกิดจาก แม่หนูที่ไม่เลี้ยงดูลูกเพียงตัวเดียว 68 00:03:19,788 --> 00:03:23,622 จะถูกส่งไปยังลูกหลานของหนูอีกหลายรุ่น 69 00:03:23,622 --> 00:03:28,077 กล่าวคือ ผลดังกล่าวสืบทอดตามพันธุกรรมได้ 70 00:03:28,077 --> 00:03:30,417 แต่มันก็ไม่ใช่เรื่องร้ายซะทีเดียว 71 00:03:30,417 --> 00:03:34,817 ยังมีอีกหลายวิธีที่จะแก้ไขผลที่คอร์ติซอล มีต่อสมองที่มีความเครียด 72 00:03:34,817 --> 00:03:38,713 อาวุธชั้นดีที่จะใช้ต่อสู้ คือ การออกกำลังกายและทำสมาธิ 73 00:03:38,713 --> 00:03:40,376 ซึ่งเกี่ยวข้องกับการหายใจลึกๆ 74 00:03:40,376 --> 00:03:43,521 การรู้ตัวและรับรู้ จดจ่อต่อสิ่งรอบตัว 75 00:03:43,521 --> 00:03:46,255 กิจกรรมทั้งสองอย่าง จะช่วยลดความเครียด 76 00:03:46,255 --> 00:03:49,525 และเพิ่มขนาดของสมองส่วนฮิปโปแคมปัส 77 00:03:49,525 --> 00:03:51,770 ซึ่งจะส่งผลให้มีความจำดีขึ้น 78 00:03:51,770 --> 00:03:54,470 ดังนั้น จงอย่ารู้สึกแย่กับความกดดันในชีวิต 79 00:03:54,470 --> 00:03:59,228 จงควบคุมความเครียด ก่อนที่ความเครียดจะควบคุมคุณ