Return to Video

ไกลแค่ไหนถึงจะพ้นแรงโน้มถ่วง - เรเน่ ลัวเฟอร์ (Rene Laufer)

  • 0:07 - 0:09
    กว่าหกพันล้านปีแสง
  • 0:09 - 0:10
    จากผิวโลก
  • 0:10 - 0:13
    ดาวนิวตรอนที่หมุนอย่างรวดเร็ว
  • 0:13 - 0:15
    ที่มีีชื่อว่า ดาวพัลซาร์แบล็ควินโดว์
  • 0:15 - 0:19
    แผ่รังสีใส่ดาวเคราะแคระสีน้ำตาล
    ที่เป็นเพื่อนบ้านของมัน
  • 0:19 - 0:23
    ในขณะที่ดาวทั้งสอง
    โคจรรอบกันและกันทุก 9 ชั่วโมง
  • 0:23 - 0:25
    ในขณะที่ยืนอยู่บนโลก
  • 0:25 - 0:28
    คุณอาจคิดว่าคุณเป็นเพียง
    ผู้ชมการเต้นรำอันรุนแรงนี้
  • 0:28 - 0:32
    แต่อันที่จริง ดาวทั้งสองดวง
    กำลังดึงคุณเข้าหามัน
  • 0:32 - 0:33
    และคุณก็กำลังดึงกลับด้วย
  • 0:33 - 0:35
    เราถูกเชื่อมกัน แม้จะห่างกัน
    หลายล้านล้านกิโลเมตร
  • 0:35 - 0:38
    ด้วยแรงโน้มถ่วง
  • 0:38 - 0:42
    แรงโน้มถ่วงเป็นแรงดึง
    ระหว่างวัตถุทั้งสองที่มีมวล
  • 0:42 - 0:44
    วัตถุใดก็ตามที่มีมวล
  • 0:44 - 0:50
    ซึ่งหมายความว่าวัตถุใด ๆ
    ในจักรวาลจะดึงดูดวัตถุอื่น
  • 0:50 - 0:52
    ไม่ว่าดาวฤกษ์ หลุมดำ
  • 0:52 - 0:55
    มนุษย์ โทรศัพท์มือถือ และอะตอม
  • 0:55 - 0:57
    ทุกสิ่งถูกดึงเข้าหากันตลอดเวลา
  • 0:57 - 1:02
    แล้วทำไมเราถึงไม่รู้สึกถูกดึง
    ไปทุกทิศทุกทางล่ะ
  • 1:02 - 1:05
    มีเหตุผลอยู่สองอย่าง
    คือ มวลและระยะทาง
  • 1:05 - 1:10
    สมการแรกที่อธิบายแรงโน้มถ่วง
    ระหว่างวัตถุทั้งสอง
  • 1:10 - 1:14
    ถูกเขียนขึ้นโดยไอแซค นิวตัน
    ในปี ค.ศ. 1687
  • 1:14 - 1:18
    ความเข้าใจของนักวิทยาศาสตร์
    ที่มีต่อแรงโน้มถ่วงก็พัฒนาจากจุดนั้น
  • 1:18 - 1:20
    แต่กฎแรงโน้มถ่วงสากลของนิวตัน
  • 1:20 - 1:24
    ก็ยังคงใช้งานได้ดีเกือบทุกสถานการณ์
  • 1:24 - 1:25
    มันมีใจความสำคัญว่า
  • 1:25 - 1:28
    แรงโน้มถ่วงระหว่างวัตถุทั้งสอง
  • 1:28 - 1:30
    เท่ากับมวลของวัตถุหนึ่ง
  • 1:30 - 1:32
    คูณด้วยมวลของอีกวัตถุหนึ่ง
  • 1:32 - 1:34
    คูณด้วยจำนวนเล็ก ๆ จำนวนหนึ่ง
  • 1:34 - 1:36
    ที่เรียกว่า ค่าคงที่แรงโน้มถ่วง
  • 1:36 - 1:40
    และหารด้วยกำลังสอง
    ของระยะทางระหว่างวัตถุ
  • 1:40 - 1:43
    ถ้ามวลของวัตถุหนึ่งเพิ่มขึ้นเท่าตัว
  • 1:43 - 1:45
    แรงระหว่างพวกมันก็จะเพิ่มขึ้น
    เป็นเท่าตัว
  • 1:45 - 1:47
    ถ้าระยะห่างของพวกมัน
    เพิ่มขึ้นอีกเท่าตัว
  • 1:47 - 1:50
    แรงก็จะเหลือแค่หนึ่งในสี่
  • 1:50 - 1:55
    แรงโน้มถ่วงระหว่างคุณและโลก
    ดึงให้คุณเข้าใกล้ศูนย์กลางโลก
  • 1:55 - 1:58
    แรงนั้นคือน้ำหนักตัวของคุณ
  • 1:58 - 2:01
    สมมติว่า แรงนี้มีค่า 800 นิวตัน
  • 2:01 - 2:02
    เมื่อคุณยืนอยู่ที่ระดับน้ำทะเล
  • 2:02 - 2:04
    ถ้าคุณเดินทางไปยังเดธซี
  • 2:04 - 2:08
    แรงก็จะเพิ่มขึ้น
    เป็นเปอร์เซ็นต์เพียงเล็กน้อย
  • 2:08 - 2:12
    ถ้าคุณไต่ขึ้นไปบนยอดเขาเอเวอเรสต์
    แรงก็จะลดลง
  • 2:12 - 2:16
    แต่แค่เพียงเล็กน้อยเท่านั้น
  • 2:16 - 2:19
    เมื่อเราเดินทางสูงขึ้นไป
    แรงโน้มถ่วงก็ลดบทบาทของมันลง
  • 2:19 - 2:21
    แต่คุณไม่อาจหนีมันพ้นได้
  • 2:21 - 2:26
    แรงดึงดูดเกิดจากความโค้ง
    ของปริภูมิ-เวลา
  • 2:26 - 2:28
    ซึ่งคือสามมิติของปริภุมิ และเวลา
  • 2:28 - 2:32
    ซึ่งถูกทำให้บิดโค้งรอบวัตถุที่มีมวล
  • 2:32 - 2:36
    แรงโน้มถ่วงจากโลก
    ส่งผลไปถึงสถานีอวกาศนานาชาติ
  • 2:36 - 2:38
    ที่ห่างออกไป 400 กิโลเมตร
  • 2:38 - 2:41
    โดยมีแรงเกือบจะเท่าแรงต้น
  • 2:41 - 2:44
    ถ้าสถานีอวกาศตั้งอยู่นิ่ง ๆ บนเสายักษ์
  • 2:44 - 2:46
    คุณยังได้รับแรงโน้มถ่วงเก้าสิบเปอร์เซ็นต์
  • 2:46 - 2:50
    ของแรงโน้มถ่วงที่คุณได้รับบนพื้นโลก
  • 2:50 - 2:53
    นักบินอวกาศสัมผัสได้
    ถึงภาวะไร้น้ำหนัก
  • 2:53 - 2:57
    เพราะสถานีอวกาศตกลงสู่โลก
    อย่างต่อเนื่อง
  • 2:57 - 3:02
    โชคดีที่มันโคจรรอบโลก
    เร็วพอที่มันจะไม่ตกถึงพื้นโลก
  • 3:02 - 3:05
    แต่เมื่อคุณไปอยู่บนผิวดวงจันทร์
  • 3:05 - 3:08
    ที่ห่างออกไปประมาณ 400,000 กิโลเมตร
  • 3:08 - 3:10
    แรงโน้มถ่วงของโลกที่ดึงเรา
  • 3:10 - 3:15
    จะน้อยกว่า 0.03 เปอร์เซ็นต์
    ของแรงที่คุณรู้สึกบนโลก
  • 3:15 - 3:18
    แรงโน้มถ่วงเดียวที่คุณสัมผัสได้
    คือแรงที่มาจากดวงจันทร์
  • 3:18 - 3:21
    ซึ่งมีค่าประมาณหนึ่งในหก
    ของแรงบนโลก
  • 3:21 - 3:22
    ถ้าหากยังเดินทางออกไปอีก
  • 3:22 - 3:26
    แรงโน้มถ่วงของโลก
    ที่ดึงคุณก็จะน้อยลงเรื่อย ๆ
  • 3:26 - 3:29
    แต่มันไม่เคยมีค่าเป็นศูนย์
  • 3:29 - 3:31
    แม้ว่าเราจะถูกผูกไว้กับโลก
  • 3:31 - 3:38
    เราก็ถูกดึงด้วยวัตถุอื่นที่อยู่รอบ ๆ โลก
    ด้วยแรงอ่อน ๆ อยู่ดี
  • 3:38 - 3:42
    ดวงอาทิตย์ส่งแรงดึงคุณประมาณครึ่งนิวตัน
  • 3:42 - 3:45
    ถ้าคุณยืนห่างจากโทรศัพท์มือถือ
    ไปไม่กี่เมตร
  • 3:45 - 3:48
    คุณก็จะถูกดึงด้วยแรงไม่กี่พิโคนิวตัน
  • 3:48 - 3:51
    นั่นมีค่าพอ ๆ กับแรงโน้มถ่วง
  • 3:51 - 3:54
    ระหว่างคุณกับกาแล็กซี่แอนดรอมิดา
  • 3:54 - 3:57
    ซึ่งห่างออกไป 2.5 ล้านปีแสง
  • 3:57 - 4:01
    แต่มีขนาดใหญ่กว่าดวงอาทิตย์
    ประมาณล้านล้านเท่า
  • 4:01 - 4:03
    แต่เมื่อเราพูดถึงการหนีแรงโน้มถ่วง
  • 4:03 - 4:04
    มันก็มีจุดบอดอยู่เหมือนกัน
  • 4:04 - 4:08
    ถ้ามวลรอบตัวเราทั้งหมด
    ดึงเราอยู่ตลอดเวลา
  • 4:08 - 4:09
    แรงโน้มถ่วงของโลกจะเปลี่ยนไปอย่างไร
  • 4:09 - 4:12
    ถ้าเราขุดโพรงลึกลงไปจากผิวโลก
  • 4:12 - 4:16
    สมมติว่าคุณทำเช่นนั้นได้
    โดยไม่ถูกย่าง หรือโดนอัดทับซะก่อน
  • 4:16 - 4:20
    ถ้าคุณเอาแกนกลางโลก
    ที่เป็นทรงกลมสมบูรณ์ออกไป
  • 4:20 - 4:22
    ซึ่งนั่นไม่ใช่ความจริง
    แต่สมมติเอาแล้วกัน
  • 4:22 - 4:26
    คุณจะรู้สึกถึงแรงโน้มถ่วงเท่า ๆ กัน
    จากรอบด้าน
  • 4:26 - 4:28
    และคุณก็จะลอย ไร้น้ำหนัก
  • 4:28 - 4:32
    และได้รับแรงดึงเพียงเล็กน้อย
    จากวัตถุบนท้องฟ้า
  • 4:32 - 4:36
    ฉะนั้น จากการทดลองทางความคิดนี้
    คุณสามารถหนีแรงโน้มถ่วงของโลกได้
  • 4:36 - 4:39
    โดยการมุ่งสู่ใจกลางโลกนี่เอง
Title:
ไกลแค่ไหนถึงจะพ้นแรงโน้มถ่วง - เรเน่ ลัวเฟอร์ (Rene Laufer)
Speaker:
เรเน่ ลัวเฟอร์ (Rene Laufer)
Description:

ชมบทเรียนแบบเต็มได้ที่: https://ed.ted.com/lessons/how-far-would-you-have-to-go-to-escape-gravity-rene-laufer

ทุก ๆ สิ่งเหล่านี้ ดาวฤกษ์ หลุมดำ มนุษย์ โทรศัพท์มือถือ และอะตอม ถูกดึงเข้าหากันตลอดเวลาด้วยแรงโน้มถ่วง แล้วทำไมเราถึงไม่รู้สึกถูกดึงไปทุกทิศทุกทางล่ะ แล้วมีที่ใดในจักรวาลหรือไม่ที่ปราศจากแรงดึงดูด เรเน่ ลัวเฟอร์ ให้รายละเอียดเกี่ยวกับแรงโน้มถ่วงที่ใครก็หนีไม่พ้น

บทเรียนโดย Rene Laufer, กำกับโดย TED-Ed

more » « less
Video Language:
English
Team:
closed TED
Project:
TED-Ed
Duration:
04:39

Thai subtitles

Revisions