-
คุรุทางจิตวิญญาณที่ยิ่งใหญ่ของโลก
-
ตราบโบราณถึงปัจจุบัน
-
ต่างเห็นตรงกันว่า ความจริงแท้แห่งการดำรงอยู่
-
ไม่ได้เป็นสมบัติเฉพาะ
-
ของศาสนาใดศาสนาหนึ่ง
-
หรือวัฒนธรรมทางจิตวิญญาณ
-
แต่สามารถค้นพบได้ ภายในหัวใจของทุกๆ คน
-
กวีรูมิ กล่าวว่า
-
" หากพระจันทร์ไม่เคยขึ้นและตกฉันใด
-
จิตวิญญาณก็ไม่เคยห่างหายไปจากเราเช่นกัน
-
อย่าได้กล่าวว่ามันอยู่ที่นี่หรือที่นั่น
-
ทุกสรรพสิ่งสร้างคือสิ่งนั้น
-
ผู้ที่มีตาภายใน ย่อมมองเห็น "
-
ในเรื่องหอคอยบาเบิล
-
มนุษยชาติได้ถูกแบ่งแยกให้ต่างภาษา
-
ต่างความเชื่อ วัฒนธรรม และความสนใจ
-
บาเบล แปลตามตัวอักษรหมายถึง "ประตูของพระเจ้า"
-
ประตูนั้นก็คือ จิตนึกคิดของเรา
-
คือโครงสร้างของความคิดเราที่สร้างขึ้น
-
สำหรับผู้ที่ตระหนักถึงธรรมชาติที่แท้จริงของตน
-
แก่นแท้ของเขาจะอยู่พ้นไปจากชื่อและรูปลักษณ์ต่างๆ
-
เขาย่างก้าวไปสู่ความลึกลับที่ยิ่งใหญ่
-
ที่อยู่ข้ามพ้นประตูนั้นไป
-
ในอุปมาโบราณ อุปมาเรื่องช้าง
-
ซึ่งถูกเพื่อเปรียบเทียบให้เห็นว่า
-
แท้จริงแล้ว ความเชื่อที่แตกต่างนั้น
-
ล้วนชี้ไปสู่ความจริงแท้ที่ยิ่งใหญ่เดียวกัน
-
คนตาบอดกลุ่มนึง ต่างพากันสัมผัสส่วนต่างๆ ของช้าง
-
แล้วเกิดความรู้สึกที่ต่างกันไปว่า ช้างคืออะไร
-
คนที่ยืนอยู่ที่ขาช้าง อธิบายว่า "ช้างเหมือนต้นไม้"
-
คนที่อยู่ตรงหาง ก็บอกว่า "ช้างเหมือนเชือก"
-
"ช้างเหมือนหอก" คนที่ยืนตรงงาบอก
-
คนที่สัมผัสหูช้าง ก็บอกว่า "ช้างเหมือนพัด"
-
คนที่สัมผัสข้างตัวช้าง ยืนกรานว่า "ช้างเหมือนกำแพง"
-
ปัญหาก็คือ เราสัมผัสเพียงเสี้ยวส่วนหนึ่งของช้าง
-
แล้วก็เชื่อประสบการณ์ของเรา
-
เป็นความจริงหนึ่งเดียวที่ถูกต้อง
-
โดยเราไม่ได้รับรู้ หรือยอมรับในประสบการณ์ของคนอื่น
-
ซึ่งเป็นหลากหลายแง่มุมแห่งความจริงของสัตว์ตัวเดียวกัน
-
"ปรัชญาอมตะ" คือการทำความเข้าใจว่า
-
ทุกอารยธรรมทางจิตวิญญาณ และทุกศาสนา
-
ล้วนนำไปสู่ความจริงหนึ่งเดียวอันเป็นสากลร่วมกัน
-
รหัสนัย หรือ ความจริงที่ข้ามพ้นตัวตน
-
คือรากฐานสำคัญ ที่ทำให้ความรู้ทางจิตวิญญาณ
-
และคำสอนต่างๆ ได้เจริญงอกงามขึ้น
-
สวามี วิเวกอนันดา ได้สรุป "คำสอนอมตะ" เขากล่าวว่า
-
"จุดหมายของทุกศาสนา
-
คือการตระหนักรู้ถึงพระเจ้าในจิตวิญญาณ
-
นั่นคือ หนึ่่งศาสนาสากลเดียวกัน "
-
ในภาพยนตร์เรื่องนี้ เราใช้คำว่า พระเจ้า
-
ก็เพื่ออุปมาถึง การก้าวข้ามตัวตน
-
ไปสู่ความลี้ลับอันยิ่งใหญ่
-
ที่อยู่เหนือข้อจำกัดทางความคิดของอัตตา
-
การตระหนักถึงตัวตนที่แท้จริง หรือตัวตนภายใน
-
คือ การตระหนักถึงธรรมชาติแท้อันศักดิ์สิทธิ์
-
ทุกจิตวิญญาณมีศักยภาพ
-
ในการยกระดับจิตสำนึกให้สูงขี้น
-
เพื่อการตื่นขึ้นจากหลับใหล
-
และการยึดมั่นในตัวตน
-
นักเขียนผู้เปี่ยมวิสัยทัศน์ อัลดัส ฮักซเลย์
-
ผู้เขียนหนังสือ "โลกใหม่ที่กล้าหาญ"
-
ได้เขียนหนังสืออีกเล่มหนึ่ง ชื่อว่า"ปรัชญาอมตะ "
-
เขาเขียนถึงคำสอนหนึ่ง
-
ซึ่งเวียนกลับมาซ้ำๆ ตลอดประวัติศาสตร์
-
ในวัฒนธรรมที่เกิดการตระหนักรู้ความจริงขึ้น
-
เขาเขียนว่า
-
"ปรัชญาอมตะ ได้แสดงไว้อย่างชัดเจน
-
ในภาษาสันสกฤต
-
"Tat Tvam Asi" หมายถึง
-
"เธอ คือ สิ่งนั้น" (You are That.)
-
อัตมัน (Atman) หรือตัวตนนิรันดร์
-
คือ หนึ่งเดียวกับพรหมมัน
-
เป็นหลักสูงสุดของทุกการดำรงอยู่
-
และเป็นจุดหมายของมนุษย์ทุกคน
-
คือการค้นพบความจริงเพื่อตัวเขาเอง
-
เพื่อค้นพบความจริงแท้ที่เขาหรือเธอเป็นจริงๆ
-
แต่ละอารยธรรม ก็เหมือนเหลี่ยมแต่ละด้านของอัญมณี
-
ที่ส่องประกายเอกลักษณ์ของความจริงเดียวกัน
-
ขณะเดียวกัน ก็สะท้อนและส่องสว่างถึงกันและกัน
-
ไม่ว่าการใช้ภาษาและกรอบแนวคิดใด
-
ทุกๆ ศาสนา ล้วนสะท้อนถึงคำสอนอมตะ
-
ซึ่งระบุถึงการเชื่อมโยงเข้าสู่บางสิ่งที่ยิ่งใหญ่กว่า
-
บางสิ่งที่อยู่เหนือเรา
-
มันเป็นไปได้ที่จะเรียนรู้และบูรณาการคำสอนต่างๆ
-
จากหนึ่งหรือหลายที่มา
-
โดยไม่ระบุถึงความเป็นตัวตนในแต่ความเชื่อ
-
มีคำกล่าวว่า คำสอนทางจิตวิญญาณที่แท้จริงทั้งหมด
-
เป็นเพียงนิ้วที่ชี้ไปยังความจริงแห่งการก้าวข้ามตัวตน
-
ซึ่งหากเรายึดมั่นเพียงบางคำสอนที่เรารู้สึกสบายใจ
-
เราจะเกิดอุปสรรคในวิวัฒนาการทางจิตวิญญาณ
-
เพื่อเข้าถึงความจริงที่อยู่เหนือแนวคิดใดๆ
-
เราต้องปล่อยวางเกาะเกี่ยวและการยึดมั่นต่างๆ
-
ปล่อยวางทุกแนวคิดทางศาสนา
-
จากมุมมองของอัตตา
-
นิ้วที่ชี้ชวนให้คุณเข้าสู่สมาธิ
-
เหมือนการนำพาคุณมุ่งสู่
-
หุบเหวที่ลึกสุดหยั่งถึง
-
นักบุญจอห์นออฟเดอะครอส กล่าวว่า
-
"ถ้าหากผู้ใดต้องการมั่นใจในเส้นทางที่เหยียบย่าง
-
จงปิดตาเสีย และย่างก้าวในความมืด"
-
สมาธิ เริ่มต้นด้วยการกระโจนลงสู่ความไม่รู้
-
ปรัชญาโบราณกล่าวว่า เพื่อให้เข้าถึงสมาธิที่แท้จริง
-
เขาผู้นั้นจะต้องเปลี่ยนการรับรู้
-
จากวัตถุที่ถูกรู้
-
จากทุกปรากฏการณ์ภายนอก
-
จากความคิดตัดสิน และความรู้สึก
-
มาตระหนักรู้ "จิตรู้"
-
มายังแหล่งกำเนิดภายใน
-
ใจ หรือ แก่นแท้ แห่งการดำรงอยู่
-
ในภาพยนตร์นี้ เมื่อเราใช้คำว่า สมาธิ
-
เราหมายถึงการก้าวข้ามตัวตน
-
ไปสู่สมาธิขั้นสูงสุด
-
ซึ่งเรียกว่า Nirvikalpa สมาธิ
-
ใน Nirvikalpa สมาธิ
-
เป็นการสงบระงับการกระทำของตัวตน
-
หยุดการแสวงหาและการกระทำทั้งหมด
-
เราเพียงกล่าวถึงสิ่งที่หายไปเมื่อเราเข้าใกล้
-
และสิ่งที่ปรากฏกลับมา เมื่อเราย้อนกลับมาจากจุดนั้น
-
มันไม่มีทั้ง การรับรู้ หรือ ไม่รับรู้
-
ไม่ใช่ "วัตถุ" หรือ "ความว่าง"
-
ไม่ใช่ สติรู้ตัว หรือ ไม่รู้ตัว
-
เป็นความจริงแท้ ยากหยั่งถึง
-
และไม่อาจรู้ได้ด้วยความคิด
-
เมื่อจิตกลับมาสู่ระดับของตัวตนอีกครั้ง
-
จะเกิดภาวะยากรู้ได้
-
คล้ายการเกิดใหม่
-
และทุกสิ่งกลายเป็นใหม่อีกครั้ง
-
เราถูกทิ้งไว้ท่ามกลางกลิ่นอายอันศักดิ์สิทธิ์
-
ซึ่งยังคงอบอวลอยู่กับเรา
-
ไปตลอดเส้นทางเติบโตทางจิตวิญญาณของเรา
-
มีสมาธิหลายประเภทที่ถูกอธิบายไว้ในอารยธรรมโบราณ
-
และภาษาก็ได้สร้างความสับสนมาอย่างยาวนาน
-
เราใช้คำว่า สมาธิ เพื่อชี้ถึงการก้าวข้ามตัวตนเพื่อหลอมรวม
-
เราใช้คำจากอารยธรรมอื่นเพื่อให้เข้าใจง่ายขึ้น
-
สมาธิ เป็นภาษาสันสกฤตโบราณ
-
พบได้ในคัมภีร์พระเวท โยคะ และปรัชญาสางขยะของอินเดีย
-
และได้แผ่ขยายไปยังหลายวัฒนธรรมทางจิตวิญญาณอื่นๆ
-
สมาธิ เป็นองค์ที่ 8
-
ในโยคะทั้ง 8 ของปตัญชลีมหาโยคี
-
และเป็นมรรคที่ 8
-
ในอริยมรรคมีองค์ 8 ของพระพุทธเจ้า
-
พระพุทธองค์ใช้คำว่า "นิพพาน"
-
หมายถึงการสิ้นสุดของ "วนา"
-
หรือสิ้นสุดการทำงานของอัตตา
-
ปตัญชลีมหาโยคี ได้อธิบาย โยคะ หรือ สมาธิ
-
ว่าเป็น "chitta vritti nirodha"
-
ในภาษาสันสกฤตหมายถึง
-
"การสิ้นสุดของวังน้ำวน
-
หรือกลเกลียวของจิตใจ"
-
เป็นการปลดเปลื้องจิตรู้ให้เป็นอิสระ
-
จากกรงขังของตัวตน
-
ที่ถูกเสกสร้างขึ้นผ่านความคิด
-
สมาธิไม่ได้มุ่งไปสู่การสร้างหลักคิดใดๆ
-
เพราะการตระหนักรู้นี้
-
จะต้องอาศัยการละวางความคิด
-
ศาสนาต่างๆ ได้ใช้ถ้อยคำที่หลากหลาย
-
เพื่ออธิบายถึง การเชื่อมโยงอันศักดิ์สิทธิ์
-
ที่จริงแล้ว คำว่า ศาสนา
-
ก็หมายถึงสิ่งที่คล้ายคลึงกัน
-
ในภาษาละติน "religare" หมายถึง
-
การผูกโยงอีกครั้ง หรือการกลับมาเชื่อมต่อ
-
เป็นความหมายเดียวกับคำว่าโยคะ
-
หมายถึงการเชื่อมต่อ
-
หลอมรวมทางโลกสู่การก้าวข้ามตัวตน
-
ในอิสลาม ก็ได้สะท้อนผ่านความหมาย
-
ในภาษาอาหรับโบราณ คำว่า อิสลาม
-
ซึ่งหมายถึง การนอบน้อม หรือการวิงวอนต่อพระเจ้า
-
ซึ่งหมายถึง การถ่อมตนอย่างหมดจด
-
หรือการยอมศิโรราบของตัวตน
-
ในคริสเตียนรหัสยิก เช่น นักบุญฟรานซิสแห่งอัสซีซี
-
นักบุญเทเรซ่าแห่งอาวีล่า
-
และ นักบุญจอห์นแห่งเดอะครอส
-
ได้อธิบายถึงการเชื่อมโยงกับพระเจ้า
-
อาณาจักรของพระองค์อยู่ในตัวเรา
-
ในพระวรสารโธมัส พระเยซูได้กล่าวว่า
-
"อาณาจักรพระเจ้าไม่ได้อยู่ที่นี่หรือที่นั่น
-
แท้จริงแล้วอาณาจักรของพระบิดาได้สถิตย์อยู่ทั่วผืนโลก
-
ทว่าผู้คนกลับมองไม่เห็น
-
ผลงานของนักปรัชญาชาวกรีก
-
เช่น Plato Plotinus Parmenides และ Heraclitus
-
เมื่อมองผ่านมุมมองของคำสอนอมตะ
-
ก็ล้วนมุ่งไปสู่ภูมิปัญญาเดียวกัน
-
Plotinus สอนว่า ที่สุดของความพยายามของมนุษย์
-
คือ การนำพาจิตวิญญาณของมนุษย์
-
มุ่งสู่จุดสูงสุดของความสมบูรณ์แบบ
-
และเชื่อมโยงกับความเป็นหนึ่งเดียว
-
ผู้นำจิตวิญญาณชนเผ่าลาโกตา แบลค เอลก์ กล่าวว่า
-
"สันติสุขอันดับแรก ซึ่งที่สำคัญที่สุด
-
คือสิ่งที่เกิดขึ้นในจิตวิญญาณมนุษย์
-
เมื่อเขาตระหนักถึงความสัมพันธ์ของเขา
-
กับความเป็นหนึ่งเดียวกับจักรวาล และพลังทั้งหมด
-
และเมื่อพวกเขาตระหนักรู้ว่า
-
ณ ใจกลางของจักรวาลเป็นที่สถิตของวิญญาณที่ยิ่งใหญ่
-
และใจกลางนี้ มีอยู่จริงในทุกหนแห่ง
-
มันอยู่ภายในเราทุกคน
-
บนทางสู่การตื่นรู้ หากปราศจากการเข้าถึงสมาธิ
-
จะเกิดเป็นสองขั้วปรากฏเสมอ
-
มีสองประตูบานที่คนจะสามารถผ่านเข้าไป
-
สองมิติ
-
หนึ่งไปสู่ จิตรู้อันประภัสสร
-
อีกหนึ่งไปสู่ ปรากฏการณ์ในโลก (ส่งจิตออกนอก)
-
ทางสูงขึ้น ไปสู่ ความจริงแท้
-
และทางไหลลง ไปสู่ มายา และปรากฏการณ์ทั้งหมด
-
ทั้งที่มองเห็นและมองไม่เห็น
-
ความสัมพันธ์ระหว่าง สิ่งสัมพัทธ์และความจริงแท้
-
สามารถสรุปได้ในคำพูดของ ศรี นิสาการาทา มหาราช
-
ปัญญา คือการตระหนักรู้ว่า "ฉันไม่เป็นอะไรเลย"
-
ความรัก คือการตระหนักรู้ว่า "ฉันเป็นทุกสิ่ง"
-
ระหว่างสองสิ่งนี้ ชีวิตฉัน...ดำเนินไป"
-
สิ่งที่เกิดจากการหลอมรวมนี้ คือ จิตสำนึกใหม่
-
บางสิ่งได้กำเนิดขึ้นจากการสมรส
-
หรือหลอมรวมกันของแต่ละด้าน
-
หรือการล่มสลายของทวิภาวะ
-
แต่กระนั้น สิ่งที่เกิดขึ้นก็ไม่ใช่สิ่งๆ ใด
-
และมันก็ไม่เคยมีการเกิด
-
ดอกไม้แห่งการตระหนักรู้ได้สร้างบางสิ่งใหม่
-
สร้างสิ่งที่คุณอาจเรียกว่า
-
ตรีเอกภาวะอมตะ
-
พระเจ้าพระบิดา
-
ตัวตนสูงสุดอัน ไม่อาจรู้ได้ และไร้การเปลี่ยนแปลง
-
ได้ถูกหลอมรวมเข้ากับพระมารดาศักดิ์สิทธิ์
-
อันเป็นทุกสรรพสิ่งที่ล้วนแปรเปลี่ยน
-
การหลอมรวมนี้ได้สร้างการเปลี่ยนแปลงในระดับธรรมธาตุ
-
เป็นทั้งการดับสูญและการกำเนิดใหม่
-
ในคัมภีร์พระเวท การหลอมรวมอันศักดิ์สิทธิ์นี้
-
ได้ถูกถ่ายทอดเป็น สองพลังรากฐาน
-
ศิวะ และ ศักติ
-
ชื่อและโฉมหน้าของพระเจ้า
-
ล้วนเปลี่ยนไปตามประวัติศาสตร์
-
แต่คุณลักษณะพื้นฐานนั้นไม่เปลี่ยนแปลง
-
สิ่งที่เกิดจากการรวมกันเป็นหนึ่งเดียวนี้
-
คือ จิตสำนึกใหม่อันศักดิสิทธิ์
-
เป็นวิถีใหม่แห่งการดำรงชีวิตในโลก
-
พลังงานสากลที่ปราศจากใจกลาง
-
และไร้ข้อจำกัดใดๆ
-
เป็นความรักที่บริสุทธิ์
-
ไม่มีการได้มา หรือสูญเสียไป
-
เพราะมันช่างว่างเปล่าอย่างสิ้นเชิง
-
แต่ทว่า เต็มบริบูรณ์อย่างแท้จริง
-
ไม่ว่าจะเป็น สำนักรหัสยิกของเมโสโปเตเมีย
-
อารยธรรมทางจิตวิญญาณของบาบิโลนและอัสสิเรีย
-
ศาสนาของชาวอียิปต์โบราณ
-
นิวเบียน และเคมเมติค
-
วัฒนธรรมโบราณของแอฟริกา
-
พ่อมดหมอผี และชนพื้นเมืองทั่วโลก
-
นิกายรหัสยิกแห่งกรีกโบราณ
-
ไญยนิยม
-
ผู้ข้ามพ้นทวิภาวะ
-
ชาวพุทธ
-
ลิทธิเต๋า
-
ยิว
-
ลัทธิบูชาไฟ (Zoroastrians)
-
เชน
-
มุสลิม
-
หรือ คริสเตียน
-
เราจะพบความเป็นหนึ่งเดียวกัน
-
ในการตระหนักรู้สูงสุดทางจิตวิญญาณ
-
อันเป็นเส้นทางเดียวกัน
-
เพื่อการเข้าถึงสมาธิที่แท้จริง
-
แท้จริงแล้วคำว่า สมาธิ
-
หมายถึง
-
การตระหนักรู้ถึงความเหมือน
-
หรือ ความเป็นหนึ่งเดียวในทุกสิ่ง
-
ซึ่งหมายถึงการหลอมรวม
-
การเชื่อมโยงเป็นหนึ่งเดียวของตัวตนของคุณ
-
แต่อย่าเข้าใจผิดว่า
-
การมีความรู้ทางสติปัญญา
-
จะทำให้เกิดการตระหนักรู้ในสมาธิ
-
มันคือความเงียบสงบ ความว่างเปล่าของคุณ
-
ที่หลอมรวมทุกระดับของพลวัตรแห่งชีวิต
-
โดยผ่านคำสอนโบราณเกี่ยวกับสมาธิ
-
มนุษยชาติสามารถเริ่มเข้าใจถึงที่มาเดียวกัน
-
ของทุกศาสนา และสามารถผสานรวมกันอีกครั้ง
-
ไปกับเกลียวพลวัตรของชีวิต
-
พระวิญญาณ ธรรมะ หรือเต๋า
-
เกลียวพลวัตรนี้ คือ สะพานที่ทอดตัวยาว
-
จากจักรวาลภายใน ไปสู่จักรวาลภายนอก
-
จากดีเอ็นเอของคุณ
-
สู่ใจกลางของพลังงาน ซึ่งแผ่ขยายผ่านจักระต่างๆ
-
ไปยังเกลียวแขนของกาแลคซี่
-
ทุกระดับของจิตวิญญาณ
-
ถูกสำแดงผ่านเกลียวพลวัตร
-
เหมือนกิ่งก้านแห่งวิวัฒนาการ
-
มีชีวิต สำรวจ
-
สมาธิ คือการตระหนักรู้ถึงความว่างเปล่า
-
ในทุกระดับของตัวตน
-
เปลือกชั้นต่างๆ ของจิตวิญญาณ
-
เกลียวพลวัตร คือการสืบต่ออย่างไร้จุดจบของทวิภาวะ
-
และ วัฏจักรของชีวิตและความตาย
-
ในขณะที่เราหลงลืม ถึงการเชื่อมต่อกับแหล่งกำเนิด
-
เลนส์ที่เรามองผ่านชีวิตเรานั้น มีขนาดเล็กมาก
-
และคิดว่าเราเป็นแค่สิ่งมีชีวิตเล็กๆ
-
ที่คืบคลานไปบนโลก
-
จนกว่าเราจะบรรลุการเดินทาง
-
หวนคืนสู่แหล่งกำเนิด
-
สู่ ใจกลาง อันดำรงอยู่ ณ ทุกแห่งหน
-
จวงจื่อ กล่าวว่า
-
"เมื่อไร้การแบ่งแยก ระหว่าง สิ่งนี้ และ สิ่งนั้น
-
นั่นคือ ภาวะสงบนิ่งแห่งเต๋า
-
ณ จุดนิ่งแห่งใจกลางของเกลียวพลวัตร
-
เราจักเห็นความเป็นอนันต์ ในสรรพสิ่งทั้งหมดได้ "
-
ในมนตราโบราณ "โอม มณี ปัทเม ฮุม"
-
มีความหมายทางกวี
-
เมื่อผู้ตื่นรู้ ตระหนักรู้ถึงมณีภายในดอกบัว
-
ธรรมชาติแท้ของเธอได้ตื่นขึ้นในจิตวิญญาณ
-
ในโลกนี้ และเป็นอย่างที่โลกเป็น
-
จากปรัชญาเฮอร์เมติค ที่กล่าวว่า
-
"เบื้องล่าง เป็นเช่น เบื้องบน
-
เบื้องบน เป็นเช่น เบื้องล่าง"
-
เราอาจใช้อุปมาดังกล่าว เพื่อทำเข้าใจ
-
ความสัมพันธ์ระหว่าง จิต และ ความสงบนิ่ง
-
สัมพัทธภาพ และ ความจริงแท้
-
เพื่อทำเข้าใจนอกกรอบความคิดเกี่ยวกับ
-
การเข้าถึงธรรมชาติของสมาธิ
-
คือใช้การอุปมาของหลุมดำ
-
โดยทั่วไปแล้ว หลุมดำ แสดงถึงอาณาเขตของอวกาศ
-
ของสนามพลังแรงโน้มถ่วงที่มีพลังสูงมาก
-
จนแสงหรือวัตถุใดๆ ไม่อาจหลุดรอดไปได้
-
ทฤษฏีใหม่บนสมมุติฐานว่า
-
วัตถุทั้งหมด ตั้งแต่จุลอนุภาคที่เล็กที่สุด
-
ถึง การก่อตัวอย่างมหึมาของจักรวาล
-
ล้วนมีหลุมดำ
-
หรือ ภาวะเอกฐานอันลึกลับอยู่ ณ ใจกลาง
-
ในการอุปมานี้
-
เราจะให้นิยามใหม่ของหลุมดำ
-
เป็นศูนย์กลางที่ดำรงอยู่ ณ ทุกหนแห่ง
-
ในทางเซน
-
มีหลายบทกวีและปริศนาธรรม
-
ที่นำพาเราไปเผชิญหน้ากับ
-
ประตูที่ไร้ประตู
-
เราต้องผ่าน ประตูที่ไร้ประตูนี้
-
เพื่อเข้าถึงสมาธิ
-
ณ ขอบฟ้าเหตุการณ์ เป็นพื้นที่ของเวลาและอวกาศ
-
ที่ซึ่งปรากฏการณ์ต่างๆ ไม่อาจส่งออกมา
-
ถึงผู้สังเกตการณ์ภายนอกได้
-
นั่นหมายความว่า อะไรก็ตามที่เกิดขึ้น
-
เหนือขอบฟ้าเหตุการณ์
-
จะเป็นสิ่งที่คุณไม่อาจรับรู้ได้
-
คุณอาจกล่าวได้ว่า
-
ขอบฟ้าเหตุการณ์ของหลุมดำ
-
คืออุปมาถึง ประตูที่ไร้ประตู
-
มันเป็นธรณีประตูระหว่าง
-
การมีตัวตน และ ไม่มีตัวตน
-
มันไม่มี "ตัวฉัน" ที่ผ่านเส้นขอบฟ้าเหตุการณ์ไปได้
-
ในใจกลางของหลุมดำ คือ มิติของภาวะเอกฐาน
-
ที่บรรจุไว้ด้วยมวลของดวงอาทิตย์นับพันล้านดวง
-
ในพื้นที่สุดแสนเล็กอันไม่อาจจินตนาการได้
-
ทว่า มีค่ามวลที่เป็นอนันต์
-
คือ เป็นทั้งเอกภพ
-
ที่บรรจุอยู่ในบางสิ่งที่เล็กกว่าเม็ดทราย
-
ภาวะเอกฐาน คือ บางสิ่งที่ล้ำลึกเหนือเวลาและพื้นที่
-
ซึ่ง ตามทฤษฎีทางฟิสิกส์แล้ว
-
การเคลื่อนไหวเป็นไปไม่ได้
-
การมีอยู่ของสรรพสิ่งก็เป็นไปไม่ได้
-
ไม่ว่ามันจะเป็นอะไรก็ตาม
-
มันไม่ได้เป็นสิ่งที่อยู่ในโลกของการรับรู้
-
แต่กระนั้น ก็ไม่อาจบอกว่า มันเป็นความสงบนิ่งเงียบ
-
มันอยู่เหนือ ความสงบนิ่ง และ เคลื่อนไหว
-
เมื่อเธอตระหนักรู้ ณ ใจกลาง
-
ว่ามันคือ ทุกที่และไม่ใช่สักที่
-
ทวิภาวะก็สิ้นสุดลง
-
ทั้ง รูป และ ความว่าง
-
กาลเวลา และ ไร้กาลเวลา
-
บางคนอาจเรียกว่า เป็นเคลื่อนไหวที่สงบนิ่ง
-
หรือ ตถาคตครรภ์แห่งความว่าง
-
ณ ศูนย์กลางของที่สุดแห่งความมืดมิด
-
คุรุแห่งเต๋า ท่านเล่าจื๊อกล่าวไว้ว่า
-
"ความมืดในความมืดมิด
-
คือ ประตูสู่ความเข้าใจทั้งปวง "
-
นักเขียนและนักปรัชญาเปรียบเทียบ
-
โจเซฟ แคมป์เบล
-
ได้อธิบายถึงสัญลักษณ์ที่ปรากฏซ้ำๆ
-
ซึ่งเป็นส่วนหนึ่งของ ปรัชญาอมตะ
-
เขาเรียกว่า the Axis Mundi
-
คือ จุดศูนย์กลาง หรือ ภูเขาที่สูงที่สุด
-
คือ แกนกลาง ที่สรรพสิ่งโคจรอยู่รอบ
-
ณ จุดที่ความสงบนิ่งและเคลื่อนไหวอยู่ร่วมกัน
-
ณ จุดศูนย์กลางนี้
-
ต้นไม้อันแข็งแกร่งและสมบูรณ์ได้ถูกตระหนักรู้
-
ดุจต้นศรีมหาโพธิ์ ที่เชื่อมต่อทุกๆ โลกทั้งหมด
-
เหมือนดวงอาทิตย์กำลังถูกกลืนหายไปในหลุมดำ
-
เมื่อคุณเข้าใกล้ความจริงที่ยิ่งใหญ่
-
ชีวิตคุณจะเริ่มโคจรรอบสิ่งนั้น
-
และตัวตนคุณ...จะเริ่มสลายไป
-
ในขณะที่คุณเคลื่อนเข้าใกล้จิตเดิมแท้
-
มันอาจน่ากลัว สำหรับตัวตนที่ถูกสร้างขึ้น
-
ผู้พิทักษ์ประตูอยู่ที่นั่น เพื่อทดสอบผู้ที่เดินทางมาถึง
-
จงพร้อมที่จะเผชิญหน้ากับสิ่งคุณกลัวที่สุด
-
ขณะเดียวกัน จงน้อมรับในพลังภายในตน
-
เพื่อส่องแสงไปยังความน่ากลัวของความไม่รู้
-
และ ความงามที่ซุกซ่อนอยู่ภายใน
-
ถ้าความคิดของคุณหยุดเคลื่อนไหว
-
ไร้ซึ่งตัวตนผู้คอยตอบสนอง
-
ปรากฏการณ์ทั้งหมดที่ถูกสร้างขึ้นจากจิตไร้สำนึก
-
จะเพียงปรากฏขึ้นและผ่านไป
-
นี่เป็นจุดสำคัญในการเดินทางจิตวิญญาณ
-
ที่ซึ่ง ศรัทธา เป็นสิ่งที่จำเป็นมากที่สุด
-
ศรัทธาในที่นี้หมายถึงอะไร ?
-
ศรัทธา แตกต่างจาก ความเชื่อ
-
ความเชื่อ คือการยอมรับบางสิ่งในระดับของความคิด
-
เพื่อสร้างสบายใจและมั่นใจ
-
ความเชื่อเป็นวิธีทางความคิดเพื่อใช้แปะป้าย
-
หรือควบคุมประสบการณ์
-
ศรัทธาเป็นในทางตรงกันข้าม
-
ศรัทธา คือ การอยู่ในสภาวะที่แม้ไม่รู้อะไรเลย
-
แต่ยอมรับได้ ไม่ว่าอะไรจะเกิดขึ้นจากจิตไร้สำนึก
-
ศรัทธายอมศิโรราบ ต่อการแรงดึงดูดของเอกภาวะ
-
สู่การสลายของอัตตา หรือถอดถอนตัวตน
-
เพื่อผ่าน "ประตูที่ไร้ประตู"
-
วิวัฒนาการและโครงสร้างของกาแลคซี่
-
มีส่วนสัมพันธ์อย่างใกล้ชิดกับหลุมดำ
-
เช่นเดียวกับ วิวัฒนาการของคุณที่เชื่อมโยงกับตัวตนดั้งเดิม
-
คือ เอกภาวะซึ่งเป็นธรรมชาติที่แท้จริงของคุณ
-
เราไม่สามารถเห็นหลุมดำ
-
แต่เราสามารถรู้เกี่ยวกับมันได้
-
โดยสังเกตสิ่งที่โคจรกอยู่รอบๆ มัน
-
ในปฏิสัมพันธ์กับความเป็นจริงทางกายภาพ
-
เหมือนกับที่เราไม่สามารถเห็นธรรมชาติที่แท้จริงของเรา
-
จิตเดิมแท้ไม่ใช่วัตถุสิ่งของ
-
แต่เราเห็นถึงสภาวะแห่งการรู้แจ้งได้
-
ดังอาจารย์เซน ซูซูกิ ได้กล่าวไว้
-
"แท้จริงแล้ว ไม่มีตัวตนผู้รู้แจ้ง
-
มีเพียงสภาวะแห่งการรู้แจ้งเท่านั้น"
-
เราไม่อาจมองเห็นม้นได้
-
เหมือนกับดวงตาที่ไม่อาจมองเห็นตัวมันเองได้
-
เราไม่สามารถมองเห็นได้
-
เพราะมันคือสิ่งที่ทำให้การมองเห็นเป็นไปได้
-
เช่นเดียวกับหลุมดำ สมาธิ ไม่ใช่ความไม่มีอะไร
-
และก็ไม่ได้เป็นสิ่งใด
-
มันเป็นสิ้นสลายของทวิภาวะ
-
ทั้ง ความมี และ ความไม่มี
-
มันไม่มีประตูเพื่อผ่านเข้าสู่ความจริงที่ยิ่งใหญ่
-
แต่มีเส้นทางที่ไร้ที่สิ้นสุด
-
เส้นทาง ธรรมะ ที่เหมือนเกลียวพลวัตรที่ไร้จุดจบ
-
ที่ไม่มีทั้งจุดเริ่มต้นและสิ้นสุด
-
ไม่มีผู้ใดสามารถผ่านประตูที่ไร้ประตู
-
ไม่มีความคิดของผู้ใดที่จะหาวิธีได้
-
และไม่มีทางเป็นไปได้
-
ไม่มีผู้ใดสามารถผ่านประตูที่ไร้ประตูได้
-
ดังนั้น จง ไม่ เป็น ผู้ใด
-
. . . อ นั ต ต า . . .
-
. . . ค ว า ม ว่ า ง . . .
-
. . . สุ ญ ญ ต า . . .
-
. . . ห นึ่ ง เ ดี ย ว กั น . . .
-
สมาธิ เป็นเส้นทางที่ไร้เส้นทาง
-
เป็นกุญแจสำคัญ
-
เป็นการสิ้นสุดการยึดมั่นในตัวตนที่สร้างขึ้น
-
ที่แบ่งแยกโลกภายในและโลกภายนอก
-
มีคำอธิบายหลายรูปเพื่อแสดงถึง
-
เปลือกหรือชั้นโครงสร้างของอัตตา
-
ยกตัวอย่างอันหนึ่งที่เก่าแก่มาก
-
ในคัมภีร์อุปนิษัท กล่าวถึงเปลือกที่ครอบอัตมัน
-
หรือจิตวิญญาณไว้ เรียกว่า โคชะ (koshas)
-
แต่ละโคชะเปรียบเหมือนกระจก
-
เป็นชั้นของโครงสร้างอัตตา
-
เหมือนผ้าคลุมมายาที่บดบังเราไว้
-
จากการตระหนักรู้ในธรรมชาติแท้ของเรา
-
เมื่อเราเผลอหลงยึดมั่นกับมัน
-
คนส่วนใหญ่เห็นเพียงภาพสะท้อน
-
และเชื่อว่านั่นคือใครที่เขาเป็น
-
กระจกหนึ่งสะท้อนถึงชั้นของสัตว์
-
คือ กายภาพทางร่างกาย
-
กระจกอีกอันสะท้อนถึง จิต ความคิด
-
สัญชาตญาณ และการรับรู้ของคุณ
-
อีกหนึ่ง คือ พลังงานภายในหรือปราณ
-
ซึ่งคุณรู้สึกได้ เมื่อหันกลับมารับรู้ภายใน
-
อีกกระจกนึง สะท้อนถึงระดับของปัญญา
-
เป็นจิตที่สูงขึ้น หรือระดับของปัญญาญาณ
-
และยังมีระดับที่ก้าวข้ามตัวตน หรือปิติสุขเหนือทวิภาวะ
-
ซึ่งสามารถสัมผัสได้เมื่อเข้าสู่สมาธิ
-
ยังมีกระจกอีกนับไม่ถ้วน หลายแง่มุมของตัวตน
-
ทำให้คนเราแตกต่าง และเปลี่ยนแปลงอย่างต่อเนื่อง
-
คนส่วนใหญ่ยังไม่ค้นพบแม้ในชั้นพลังปราณ
-
ชั้นของจิตที่สูงกว่า และชั้นปิติสุขเหนือทวิภาวะ
-
พวกเขาไม่รู้ด้วยซ้ำว่า มันมีอยู่จริง
-
ระดับชั้นเหล่านี้ก่อร่างเป็นชีวิตของคุณ
-
แต่คุณยังมองไม่เห็นมัน
-
ที่จริงแล้ว กระจกที่ซ่อนอยู่เหล่านี้
-
บ่งบอกชีวิตเราได้มากกว่าสิ่งที่ตามองเห็น
-
ที่มองไม่เห็น ก็เพราะคนส่วนใหญ่
-
ยังไม่สามารถมี "สติ-รู้สึกตัว" ได้เต็มที่
-
เฉกเช่น ตาข่ายแห่งพระอินทร์ (Indra's net of Jewels)
-
กระจกทั้งหมดสะท้อนถึงกันและกัน
-
มีการสะท้อนและเห็นถึงกันอย่างไม่มีที่สิ้นสุด
-
การเปลี่ยนแปลงในชั้นหนึ่ง
-
ย่อมส่งผลกระทบต่อทุกชั้นพร้อมๆ กัน
-
กระจกบางชั้น อาจถูกทอดทิ้งในเงามืด
-
เว้นว่าเราจะโชคดีมีผู้ช่วยชี้แนะให้เรา
-
ได้พบแสงสว่างและมองเห็นมัน
-
ความจริง คือ เราไม่รู้ ว่า เราไม่รู้อะไร
-
เอาล่ะ ลองจินตนาการว่า
-
คุณได้ทุบกระจกทั้งหมดให้แตก
-
มันไม่เหลืออะไรมาสะท้อน ให้คุณเห็นตัวคุณอีกต่อไป
-
แล้วคุณล่ะ...อยู่ที่ไหน?
-
เมื่อจิตใจสงบ
-
กระจกยุติการสะท้อน
-
ไม่มี "ผู้เห็น" และ "สิ่งที่ถูกเห็น" อีกต่อไป
-
อย่าเข้าใจผิดว่า จิตต้นกำเนิดเป็นความว่างที่ไม่มีอะไรเลย
-
ตัวตนดั้งเดิม ไม่ได้เป็นบางสิ่งก็จริง
-
แต่ก็ไม่ใช่ว่า ไม่มีอะไรเลย
-
แหล่งกำเนิด ไม่ใช่สิ่งใดๆ
-
มันคือความว่าง หรือ ความสงบนิ่ง
-
มันคือ ความว่างอันเป็นแหล่งกำเนิดของทุกสรรพสิ่ง
-
สรรพสิ่ง ถูกตระหนักรู้ว่า
-
แท้จริงแล้วเป็น ความว่าง
-
ความว่าง ถูกตระหนักรู้ว่า
-
แท้จริงแล้วเป็นเป็น สรรพสิ่ง
-
จิตต้นกำเนิดนี้ คือ มหาสุญญตา
-
ตถาคตครรภ์ที่ให้กำเนิดทุกความเป็นไปได้
-
สมาธิ คือ การตื่นรู้ขึ้นของจิตที่ไร้ตัวตน
-
เหมือนในความฝัน
-
เมื่อตื่นขึ้นมา คุณย่อมตระหนักรู้ว่า
-
ทุกสิ่งในฝัน
-
เป็นเพียงความคิดของคุณเท่านั้น
-
ในสมาธิ เธอได้ตระหนักรู้ว่า
-
ทุกๆ สิ่งในโลกล้วนเกิดขึ้น
-
ในระดับของระดับพลังงานต่างๆ ในจิตรับรู้
-
ทั้งหมดล้วนเป็นกระจกในกระจก
-
เป็นความฝันในความฝัน
-
ตัวตน ที่คุณคิดมาตลอดว่า คุณเป็น
-
จึงเป็นทั้ง ความฝัน และ ผู้หลับฝัน
-
ทุกสิ่งที่เราพูดในภาพยนตร์นี้
-
ฟังแล้วก็ปล่อยมันไป
-
อย่าจับมันด้วยความคิด
-
จิตวิญญาณกำลังหลับฝัน
-
ความฝัน ที่ฝันถึง ความเป็นตัวคุณ
-
ในฝัน ทุกสิ่งย่อมเปลี่ยนแปลง
-
แต่มันเป็นไปได้ ที่จะตระหนักรู้ถึงสิ่งที่ไร้การเปลี่ยนแปลง
-
การตระหนักรู้นี้ ไม่อาจเข้าใจได้ด้วยความคิดอันจำกัด
-
เมื่อเรากลับจากสมาธิ Nirvikalpa
-
กระจกก็เริ่มสะท้อนให้เห็นอีกครั้ง
-
และตระหนักรู้แล้วว่า
-
โลกที่คุณคิดว่าคุณกำลังอาศัยอยู่
-
แท้จริงแล้วคือ "ตัวคุณ"
-
ไม่ใช่ตัวตนอันจำกัด ซึ่งเป็นแค่การสะท้อนกันชั่วคราว
-
แต่คุณตระหนักรู้ว่าธรรมชาติแท้ภายในคุณ
-
แหล่งกำเนิดของความเป็นทั้งหมด
-
นี้คือรุ่งอรุณแห่งปัญญา
-
เป็นตัวอ่อน
-
เป็นปัญญา "prajna" หรือ "gnosis"
-
เป็นสิ่งที่เกิดขึ้นจากสมาธิที่แท้
-
จากวารสารของโยบ
-
Chokhma หรือปัญญานั้น มาจากความว่าง
-
ปัญญาซึ่งทั้งขนาดเล็กอย่างอนันต์
-
แต่สามารถโอบอุ้มความเป็นทั้งหมดไว้
-
แต่เป็นสิ่งไม่อาจที่เข้าใจได้
-
จนกว่ารูปทรงและรูปลักษณ์จากพระราชวังแห่งกระจก
-
ที่เรียกว่า "ไบนะห์" (binah)
-
ครรภ์กำเนิดจากการแกะสลักโดยปัญญาชั้นสูง
-
เพื่อก่อเกิดเป็นรูปลักษณ์ของตัวอ่อน
-
ของจิตวิญญาณแห่งพระเจ้า
-
[เพลง] "Abwoon d'bashmaya" by Indiajiva
-
การมีอยู่ของกระจก
-
หรือการมีอยู่ของจิตนั้น ไม่ใช่ปัญหา
-
ตรงกันข้าม
-
จุดผิดพลาดในการรับรู้ของมนุษย์
-
คือเราไปยึดมั่นว่า ตัวเราคือสิ่งเหล่านั้น
-
ภาพลวงตาที่จำกัดตัวตนของเราไว้ คือ มายา
-
ในโยคะสูตร กล่าวไว้ว่า
-
การเข้าถึงสมาธิ จะต้องเฝ้าดู "สิ่งที่ถูกรู้"
-
จนกว่า "สิ่งที่ถูกรู้" หายไป
-
จนกว่าคุณได้หายไปในมัน
-
หรือ มันได้หายไปในคุณ
-
แม้ภาษาในปรัชญาความเชื่อต่าง ๆ นั้นแตกต่างกัน
-
ที่สุดแล้ว ทั้งหมดล้วนชี้ไปยังจุดจบของการยึดมั่นในตัวตน
-
และการยึดตัวตนเป็นศูนย์กลาง
-
พระพุทธเจ้าทรงสอนผ่านวิธีการตัดทอน
-
ทรงสอนให้พิจารณาตรงไปที่การทำงานของตัวตน
-
ท่านไม่ได้บอกว่าสมาธิคืออะไร
-
นอกจากว่ามันเป็นการดับทุกข์
-
ในสายเวทานตะ
-
มีคำว่า "Neti Neti"
-
หมายถึง "ไม่ใช่สิ่งนี้ และไม่ใช่สิ่งนั้น"
-
ผู้คนที่อยู่บนทางแห่งการตระหนักรู้ตนเอง
-
ได้สำรวจถึงธรรมชาติแท้จริงในตน
-
หรือ ธรรมชาติของพรหมมัน
-
ผ่านการค้นพบแรกสุด ก็คือ สิ่งที่พวกเขาไม่ได้เป็น
-
เช่นกันในศาสนาคริสต์
-
เซนต์เทเรซาแห่งอวิลา ได้อธิบายการภาวนา
-
โดยการตัดหรือละออก หรือ (via negativa)
-
การภาวนาในความเงียบ
-
ศิโรราบ และ หลอมรวม
-
อันเป็นหนทางเดียวที่จะเข้าถึงสัจจะแท้
-
เมื่อผ่านกระบวนการค่อยๆ สละวาง
-
ทิ้งทุกๆ สิ่งที่ไม่แน่นอน
-
ทิ้งทุกๆ สิ่งที่เปลี่ยนแปลง
-
จิตใจ
-
อัตตาที่สร้างขึ้น
-
และปรากฏการณ์ทั้งหมด
-
รวมทั้งเปลือกของตัวตนที่ซ่อนอยู่
-
จิตไร้สำนึก จำต้องกลายเป็นโปร่งใส
-
เพื่อสะท้อนให้เห็นถึงแหล่งกำเนิดที่เป็นหนึ่งเดียว
-
หากในส่วนลึก ยังมีการทำงานของตัวตนที่ยังไม่ถูกรับรู้
-
ชีวิตเราก็ยังถูกกักขังในเขาวงกต
-
ที่เกิดมาจากตัวตนที่ยังไม่ถูกค้นพบ
-
เมื่อทุกเปลือกชั้นของตัวตน ถูกเผยให้เห็นเป็นความว่าง
-
เขาผู้นั้นจะเป็นอิสระจากตัวตน
-
อิสระจากความคิดทั้งหมด
-
จุดเปลี่ยนสำคัญทางจิตวิญญาณของคุณ
-
เกิดขึ้นเมื่อคุณตระหนักรู้ว่า
-
"คุณไม่รู้ว่าคุณคือใคร ?"
-
ใคร...ที่กำลังรู้การหายใจ
-
ใคร...ที่กำลังรู้รส
-
ใคร...ที่กำลังสวดมนต์
-
ประกอบพิธีกรรม
-
เต้นรำ
-
ร้บรู้ภูเขา
-
" เห็น ... ผู้เห็น "
-
" รู้ ... ผู้รู้ "
-
ครั้งแรกเมื่อ คุณ "เห็น-ผู้เห็น"
-
คุณจะเห็นเพียงตัวตนปลอมที่ถูกสร้างขึ้น
-
แต่เมื่อคุณหมั่นเห็นบ่อยๆ มันจะกลายเป็นเส้นทาง
-
จงสำรวจโดยตรงว่า ใคร หรือ สิ่งใด...เป็นผู้รู้
-
ไม่กระพริบตา
-
แน่วแน่
-
และทะลุทะลวง
-
ด้วยพลังทั้งหมดของการดำรงอยู่ของคุณ
-
คเต คเต
" จงไป จงไป "
-
ปาระ คเต
" จงไปเถิด "
-
ปาราสัง คเต
" จงไปให้ถึง "
-
โพธิ สวาหา
" อันฝั่งฝาก แห่ง การตื่นรู้ นั้น...เทอญ " "
-
มันไม่มี ตัวตน..ที่ตื่นรู้
-
มันไม่มี ตัวคุณ...ที่ตื่นรู้
-
มันคือการตื่นจากภาพมายา ของตัวตนอันแบ่งแยก
-
ตื่นจากความฝันที่จำกัดคุณไว้
-
ซึ่งหากพูดไปก็ไร้ความหมาย
-
เราต้องละวางตัวตน
-
เพื่อการตระหนักรู้ ตรงสู่ความจริงที่เป็น
-
เมื่อตระหนักรู้แล้ว ก็ไม่มีอะไรให้พูดให้กล่าวถึง
-
เพราะทันทีที่คุณพูด
-
คุณก็กลับมาใช้ความคิด
-
กระทั่งผมเอง ก็ได้กล่าวมากไปเสียแล้ว
-
ปกติแล้ว มีจิตสำนึกรู้ 3 ระดับ
-
ตื่น
-
ฝัน
-
และ หลับลึก
-
บางครั้ง สมาธิ ถูกจัดเป็นระดับที่ 4
-
เป็นฐานแห่งจิตรับรู้
-
คือจิตตื่นรู้ดั้งเดิม
-
ที่สามารถเป็นจิตรู้ในปัจจุบันอย่างต่อเนื่อง
-
ควบคู่ไปกับจิตสำนึกในระดับอื่นๆ
-
ในสายเวทานตะ เรียกสิ่งนี้ว่า Turiya
-
นิยามอื่นของ Turiya
-
คือ จิตแห่งพระคริสต์
-
จิตแห่งพระกฤษณะ
-
ธรรมชาติแห่งพุทธะ หรือ สหจะสมาธิ
-
ใน สหจะสมาธิ จิตดั่งเดิมสามารดำรงอยู่ในปัจจุบัน
-
พร้อมไปกับการทำงานตามปกติของมนุษย์
-
คือ ความสงบอันไม่เคลื่อนไหว
-
ณ ใจกลางของพลวัตรแห่งการเปลี่ยนแปลง
-
ความคิด ความรู้สึก
-
การรับรู้ และ พลังงาน
-
ปรากฏหมุนเวียน และโคจรอยู่รอบ
-
แต่ระดับของความสงบนิ่ง หรือ ความเป็นฉัน (I-am-ness)
-
ดำรงอยู่ท่ามกลางทุกกิจกรรมที่เกิดขึ้น
-
เหมือนเช่นในการปฏิบัติสมาธิภาวนา
-
มันเป็นไปได้ที่ ตัวตนเดิมแท้นั้นยังดำรงอยู่ แม้ในภาวะหลับลึก
-
ในขณะที่นอนหลับลึก การตระหนักรู้ในความ "เป็น" (I am)
-
ไม่มีการมา ไม่มีการไป
-
แม้ในการเปลี่ยนระดับของจิตรับรู้
-
นี่คือ การนอนหลับของโยคี
-
ในบทเพลงแห่งเพลง หรือบทเพลงแห่งโซโลมอน
-
จากคัมภีร์ฮีบรู ฉบับพันธะสัญญาเดิมกล่าวว่า
-
"ข้านอนหลับ แต่ใจข้าตื่นอยู่"
-
การตระหนักรู้ เข้าถึงจิตที่ไร้ตัวตนนี้
-
ถูกสะท้อนในถ้อยคำของพระคริสต์เมื่อตรัสว่า
-
"แม้ก่อนอับราฮัมเกิด
-
...เราดำรงอยู่"
-
จิตหนึ่งนี้เอง ที่ได้ส่องแสงผ่านใบหน้ามากมาย
-
ผ่านรูปลักษณ์นับไม่ถ้วน
-
ตอนแรก มันคล้ายเปลวไฟบางเบา
-
ที่ผุดจากกระแสสัมผัสในตัวคุณ
-
จิตสำนึกบุรุษ เข้าสู่การตระหนักรู้อย่างศิโรราบ
-
และเปิดรับต่อพลังงานสตรี
-
มันทั้งบอบบางและหายไปโดยง่าย
-
ผู้นั้นจึงต้องใส่ใจอย่างยิ่งในการปกป้อง
-
และรักษาไว้จนกว่ามันจะเติบโหญ่
-
สมาธิ เป็นทั้งสภาวะนิรันดร์ของจิตรู้
-
และสภาวะแห่งลำดับของการพัฒนา
-
เป็นบางสิ่งที่เป็นธรรมชาติ และเติบโตผ่านเวลา
-
เมื่อเราเจริญในสมาธิมากขึ้นๆ
-
ในปัจจุบันขณะ อย่างไร้กาลเวลา
-
ผู้นั้นจะเข้าถึงเส้นทางที่ตรงไปยัง ใจ
-
จิตวิญญาณ หรือ อัตมัน
-
และ ตัวตนที่สร้างขึ้นเบาบางลง
-
นี่คือวิธีที่เราจะเป็นอิสระจากจิตที่หลง
-
อิสระจากกับดักของความคิด
-
กระแสภายในจะเปลี่ยนไป
-
พลังงานจะไม่ไหลไปสู่ตัวตนเก่าที่จิตสร้างขึ้น
-
กล่าวคือ เขาจะไม่หลงไปยึดในตัวตนที่จิตสร้างขึ้น
-
ผ่านโลกภายนอก...อีกต่อไป
-
เพื่อตระหนักรู้ถึงสมาธิ ต้องอาศัยความพยายามอย่างยิ่งยวด
-
ในการศิโรราบอย่างสิ้นเชิงต่อจิตหนึ่ง
-
และศิโรราบอย่างยินยอม
-
พร้อมด้วยความเพียร
-
และพลังงานทั้งหมดของเขา
-
เป็นสมดุลของความพยายามและศิโรราบ
-
หยินและหยาง
-
เป็นความเพียรที่ปราศจากความพยายาม
-
รหัสยิกโยคีชาวอินเดีย
-
ปรามาหังสา รามากฤษณะ กล่าวไว้ว่า
-
"อย่าได้แสวงหาการรู้แจ้ง
-
จนกว่าเธอจะรู้สึกเหมือนมีไฟไหม้อยู่บนหัว
-
จนต้องรีบหาบ่อน้ำ"
-
คุณแสวงหาด้วยความเป็นทั้งหมดของคุณ
-
ในระหว่างการปฏิบัติเพื่อก้าวข้ามอัตตา
-
ต้องอาศัยความกล้าหาญ ความใส่ใจ และความอดทน
-
ดุจรักษาตัวอ่อนให้มีชีวิต
-
เพื่อไม่กลับตกไปสู่กับดับของโลก
-
มันต้องการความมุ่งมั่นที่จะสวนกระแส
-
ทนต่อการถูกกระทบในโครงสร้างสังคม
-
และกงล้อที่คอยบดขยี้ในสังสารวัฏ
-
ทุกลมหายใจ ทุกความคิด ทุกการกระทำ
-
หมั่นระลึกรู้ถึงแหล่งกำเนิด
-
สมาธิไม่อาจเข้าถึงได้ด้วยความเพียรและไร้ความเพียร
-
จงละวางทั้งความพยายามและไม่พยายาม
-
มันคือทวิภาวะที่ปรากฏอยู่ในจิตคิด
-
การตระหนักรู้สมาธิที่แท้นั้นเรียบง่าย
-
และไม่ใช่เรื่องแปลกประหลาด
-
เหมือนดั่งที่ถูกเข้าใจผิดผ่านภาษาซึ่งเป็นทวิภาวะ
-
มีเพียงจิตต้นกำเนิดนี้เท่านั้น ที่ตื่นรู้อยู่ในโลก
-
แต่ถูกบดบังไว้ด้วยเปลือกชั้นของจิตใจ
-
เหมือนดวงอาทิตย์ถูกบดบังหลังก้อนเมฆ
-
เมื่อแต่ละเปลือกชั้นของจิตคิดหลุดหายไป
-
ตัวตนที่แท้จริงก็ถูกเปิดเผย
-
เปลือกชั้นของจิตคิดหายไป
-
ผู้คนเรียกสมาธินั้นแตกต่างกันไป
-
เรียกของประสบการณ์และปรากฏการณ์ต่างๆ กันไป
-
แต่สมาธิแท้จริงช่างเรียบง่าย
-
พอมีคนบอกว่ามันคืออะไร เข้าถึงได้อย่างไร
-
ความคิดของคุณ ก็พาคุณพลาดไปเสมอ
-
ที่จริงแล้ว สมาธิไม่ใช่ทั้งง่ายหรือยาก
-
ความคิดเท่านั้นที่ปรุงแต่งให้มันเป็น
-
เมื่อไม่มีความคิด ก็ไม่มีปัญหา
-
เพราะความคิดคือสิ่งที่ต้องยุติ ก่อนการตระหนักรู้
-
มันไม่ใช่สิ่งที่ถูกทำให้เกิดขึ้น
-
คำสอนที่ลัดสั้นของสมาธิ
-
อาจพบได้ในวลีนี้
-
" จงสงบ และ รู้ "
-
เราจะใช้คำและภาพเพื่อสื่อความสงบนิ่งได้อย่างไร?
-
เราจะถ่ายทอดความเงียบโดยใช้เสียงได้หรือ ?
-
แทนที่จะพูดถึงสมาธิให้เป็นหลักการแนวคิด
-
ภาพยนตร์นี้คือเสียงเรียกแห่งการ "ไม่กระทำ"
-
เสียงเรียกแห่งการภาวนา
-
ความเงียบภายใน
-
การภาวนาภายใน
-
เสียงเรียกเพื่อ
-
"หยุด"
-
หยุดทุกสิ่งที่ถูกขับเคลื่อนโดยความคิดของอัตตา
-
" จงสงบ และ รู้ "
-
ไม่มีใครบอกได้ว่า สิ่งใดจะปรากฏขึ้นจากความสงบนิ่ง
-
นี่คือเสียงเรียกสู่กระทำ จากหัวใจของจิตวิญญาณ
-
มันเหมือนการหวนรำลึกถึงบางสิ่งที่เก่าแก่
-
จิตวิญญาณตื่นขึ้นและจดจำตัวมันเองได้
-
มันได้ผ่านการเป็นนักเดินทางผู้หลับใหล
-
แต่ขณะนี้ ความว่างได้ตื่นขึ้นแล้ว
-
และได้ตระหนักรู้ตนเองว่าเป็นทุกสิ่งทั้งหมด
-
คุณไม่อาจจินตนาการถึงสมาธิได้
-
ด้วยความคิดอันจำกัดของอัตตา
-
เช่นเดียวกับที่คุณไม่อาจอธิบายให้คนตาบอดเข้าใจถึงสี
-
ความคิดของคุณไม่อาจรู้ ความคิดไม่อาจสร้างมันขึ้น
-
การตระหนักรู้ในสมาธิคือการเห็นที่แตกต่าง
-
มันไม่ใช่การเห็น "สิ่งที่ถูกเห็น"
-
แต่เป็นการตระหนักรู้ "ผู้เห็น"
-
นักบุญฟรานซิสแห่งอัสซีซี กล่าวไว้ว่า
-
" สิ่งที่เธอกำลังมองหา คือ สิ่งที่กำลังมองอยู่ "
-
เมื่อคุณได้เห็นดวงจันทร์
-
คุณย่อมจำมันได้ในทุกการสะท้อน
-
ตัวตนที่แท้จริง อยู่ตรงนั้นเสมอมา
-
มันอยู่ในทุกๆ สิ่ง
-
แค่คุณยังไม่ได้ตระหนักรู้ถึงการมีอยู่ของมัน
-
เมื่อคุณตระหนักรู้ และดำเนินชีวิต
-
ด้วยจิตเดิมแท้ที่อยู่เหนือความคิดและความรู้สึก
-
คุณจะเริ่มสัมผัสความอัศจรรย์
-
ในแทบทุกปรากฏการณ์ของชีวิต
-
เรากลายเป็นความอัศจรรย์
-
ไม่ต้องพยายามเป็นอิสระจากความอยาก
-
เพราะความพยายามเป็นอิสระ ก็เป็นความอยาก
-
คุณไม่อาจพยายามสงบนิ่ง
-
เพราะทุกความพยายาม ก็คือการเคลื่อนไหว
-
เพียงตระหนักรู้ถึงความสงบ อันเป็นสิ่งที่มีอยู่แล้ว
-
" จงสงบ และ รู้ "
-
เมื่อการให้ค่าทั้งหมดยุติ จิตเดิมแท้ก็เผยตัวออกมา
-
แต่ก็ไม่ควรยึดมั่นแม้จิตเดิมแท้
-
ความเป็นจริงที่ยิ่งใหญ่
-
เต๋านั้น
-
ไม่ใช่หนึ่ง
-
ไม่ใช่สอง
-
ท่านรามานามหาฤษี กล่าวไว้ว่า
-
"จิตเดิมแท้มีเพียงหนึ่ง
-
หากมันจำกัด
-
มันคืออัตตา
-
หากมันไร้จำกัด
-
มันคือ อนันตะ และความจริงอันยิ่งใหญ่"
-
หากคุณเชื่อในสิ่งที่ถูกกล่าวไว้ คุณก็ยังพลาดอยู่
-
หากคุณไม่เชื่อ คุณก็พลาดมันไปเช่นกัน
-
การเชื่อและไม่เชื่อนั้น ทำงานในระดับของจิตคิด
-
มันต้องการการรู้
-
หากคุณเข้าสู่การสำรวจด้วยตนเอง
-
พิจารณาในแง่มุมทั้งหมดของความเป็นคุณ
-
ค้นหาว่า "ใคร" เป็นผู้สำรวจค้นหา
-
ถ้าคุณพร้อมใช้ชีวิตบนหลักการที่ว่า
-
"ไม่ใช่ความอยากของฉัน แต่เป็นความสำเร็จจากเบื้องบน"
-
หากคุณยินดีที่เดินทางผ่านเหนือความรู้ทั้งมวลแล้ว
-
คุณก็อาจตระหนักรู้ได้ ถึงสิ่งที่ผมพยายามชี้ทางให้
-
เมื่อนั้น คุณจะสามารถลิ้มรสด้วยตัวคุณเอง
-
ถึงความมหัศจรรย์ และความงามของการดำรงอยู่ที่เรียบง่าย
-
ยังมีอีกหนึ่งหนทางในชีวิตที่เป็นไปได้
-
มีบางสิ่งที่ศักดิ์สิทธิ์ ล้ำลึก
-
ที่ค้นพบได้ในความสงบส่วนลึกแห่งการดำรงอยู่ของคุณ
-
อยู่เหนือความคิด เหนือความเชื่อ
-
เหนือกฎเกณฑ์เงื่อนไข และการให้ค่าต่างๆ ทั้งหมด
-
มันไม่ต้องการเทคนิค พิธีกรรม
-
หรือการปฏิบัติใดๆ
-
ไม่มีวิธีการใดเพื่อที่จะได้รับ
-
ไม่มีระบบใด
-
ไม่มีหนทางเพื่อไปสู่หนทาง
-
ดั่งคำสอนของเซน
-
มันคือการค้นพบใบหน้าเดิมแท้ ก่อนที่คุณเกิด
-
มันไม่ใช่การเพิ่มสิ่งใดในตัวคุณ
-
มันคือการเป็นแสงสว่างแก่ตัวเธอเอง
-
แสงที่ส่องขจัดภาพลวงของอัตตา
-
หาไม่แล้ว ชีวิตก็ยังคงรอการเต็มเติม
-
ใจ ก็ยังปราศจากการผ่อนพัก
-
จนกว่า การเข้าถึงการหยุดพัก
-
ในความมหัศจรรย์ที่อยู่เหนือนามและรูปทั้งปวง
-
แปลไทยโดย
-
โครงการขับเคลื่อนสังคมแห่งการตื่นรู้สู่หนึ่งเดียวกัน
-
- We Oneness -
-
สนับสนุน โดย สสส.
-
[เพลง] โอม พระแม่ลักษมี Om Shreem Lakshmi
-
"จงนิ่ง และ รู้เถิดว่า เราคือพระเจ้า" - สดุดี 46:10
-
"เพื่อตระหนักรู้ตัวตนแท้ จงสงบนิ่ง" - รามาณา มหาฤษี
-
"ความศักดิสิทธิ์จะกล่าวกับเธอในความเงียบของใจเธอ
และจะนำทางเธอไปสู่เป้าหมายของเธอ"
- มิลร่า อัลฟาซ่า "The Mother"