< Return to Video

อะไรคือโศกนาฏกรรมของสาธารณสมบัติ - นิโคลัส อาเมนดอลาร์

  • 0:08 - 0:12
    ลองจินตนาการ ว่าคุณอาศัยอยู่ใน
    หมู่บ้านเล็ก ๆ แห่งหนึ่ง
  • 0:12 - 0:15
    ทุกคนต่างหาปลามาเป็นอาหาร
    จากสระน้ำของหมู่บ้าน
  • 0:15 - 0:18
    คุณใช้สระน้ำนี้ร่วมกับชาวบ้านอีกสามคน
  • 0:18 - 0:23
    แรกเริ่มในสระน้ำมีปลาสิบสองตัว
    จากนั้นพวกมันเริ่มออกลูกออกหลาน
  • 0:23 - 0:28
    ปลาแต่ละคู่ จะออกลูกปลาหนึ่งตัวทุกครั้ง
  • 0:28 - 0:30
    ดังนั้น เพื่อจะให้มีปลาเหลือไว้เป็นอาหาร
    ได้มากที่สุด
  • 0:30 - 0:34
    คุณควรจะตกปลาวันละกี่ตัว
  • 0:34 - 0:37
    ลองใช้เวลาคิดเรื่องนี้
  • 0:37 - 0:40
    ให้คิดว่าลูกปลาโตเต็มวัยในทันที
  • 0:40 - 0:43
    และในสระน้ำจะมีปลามากที่สุดแค่สิบสองตัว
  • 0:43 - 0:47
    และไม่รวมปัจจัยอื่นๆ เช่น เพศของปลา
    ที่คุณจับได้
  • 0:47 - 0:51
    คำตอบคือ หนึ่งตัว และไม่ใช่แต่เฉพาะคุณ
  • 0:51 - 0:54
    วิธีที่ดีที่สุดที่จะทำให้ทุกคน
    มีอาหารกินได้นานที่สุด
  • 0:54 - 0:58
    คือ ให้ทุกคนจับปลาแค่วันละหนึ่งตัว
  • 0:58 - 1:00
    ผมจะคำนวณให้คุณดูว่าเป็นอย่างไร
  • 1:00 - 1:05
    ถ้าทุกคนในหมู่บ้านจับปลาแค่คนละหนึ่งตัว
    จะมีปลาเหลือแปดตัวในสระนำ้ทุกคืน
  • 1:05 - 1:07
    ปลาแต่ละคู่จะออกลูกคู่ละหนึ่งตัว
  • 1:07 - 1:12
    ในวันต่อไปก็จะมีปลาในสระน้ำทั้งหมด
    อีกสิบสองตัว
  • 1:12 - 1:17
    ถ้ามีใครจับปลาเกินไปแค่หนึ่งตัว
    จำนวนพ่อแม่ปลาที่จะออกลูกก็จะน้อยลง
  • 1:17 - 1:22
    แล้วประชากรปลาก็จะไม่มีวันกลับมาเท่าเดิม
  • 1:22 - 1:25
    ในที่สุดก็จะไม่มีปลาเหลืออีกเลย
  • 1:25 - 1:29
    ทิ้งให้ชาวบ้านทั้งสี่คนอดตาย
  • 1:29 - 1:32
    บ่อปลาเป็นแค่หนึ่งในปัญหาคลาสสิคที่มีมานาน
  • 1:32 - 1:35
    เรียกว่า โศกนาฏกรรมของสาธารณสมบัติ
    (the tradegy of the commons)
  • 1:35 - 1:38
    โศกนาฏกรรมของสาธารณสมบัติ
    ถูกพูดถึงครั้งแรกในจุลสาส์น
  • 1:38 - 1:42
    โดยนักเศรษฐศาสตร์วิลเลียม ฟอร์สเตอร์ ลอยด์
    ในปีค.ศ.1833
  • 1:42 - 1:45
    ในการถกปัญหาเรื่อง การกินหญ้าที่มากเกินไป
    ของปศุสัตว์
  • 1:45 - 1:48
    ในพื้นที่ส่วนรวมของหมู่บ้าน
  • 1:48 - 1:53
    กว่า 100 ปีต่อมา นักนิเวศวิทยา
    การ์เรตต์ ฮาร์ดิน นำแนวคิดมาพูดอีกครั้ง
  • 1:53 - 1:55
    เพื่อใช้อธิบายว่าจะเกิดอะไรขึ้น
    เมื่อคนหลายคนมาอยู่รวมกัน
  • 1:55 - 1:58
    และต้องแบ่งปันทรัพยากรอันมีอยู่จำกัด
  • 1:58 - 2:00
    เช่น ทุ่งเลี้ยงสัตว์
  • 2:00 - 2:01
    แหล่งหาปลา
  • 2:01 - 2:02
    พื้นที่อยู่อาศัย
  • 2:02 - 2:04
    หรือแม้แต่อากาศที่สะอาด
  • 2:04 - 2:08
    ฮาร์ดิน ให้ความเห็นว่า เหตุการณ์เหล่านี้
    เป็นความเห็นแก่ตัวในช่วงเวลาสั้น ๆ
  • 2:08 - 2:10
    ที่เป็นผลเสียต่อส่วนรวม
  • 2:10 - 2:13
    และจบลงอย่างเลวร้ายสำหรับทุกคน
  • 2:13 - 2:14
    ผลจากการเลี้ยงปศุสัตว์มากไป
  • 2:14 - 2:15
    การทำประมงเกินขนาด
  • 2:15 - 2:16
    ประชากรมากเกินไป
  • 2:16 - 2:18
    มลพิษ
  • 2:18 - 2:21
    และปัญหาทางสังคมและสิ่งแวดล้อมอื่น ๆ
  • 2:21 - 2:23
    กุญแจสำคัญของโศกนาฏกรรมของสาธารณสมบัติ
  • 2:23 - 2:29
    คือ มันสร้างโอกาสให้บุคคลใดบุคคลหนึ่ง
    สามารถทำประโยชน์ให้ตนเอง
  • 2:29 - 2:34
    ขณะที่กระจายผลกระทบทางลบออกไปในวงกว้าาง
  • 2:34 - 2:37
    เพื่อให้เข้าใจว่ามันคืออะไร
    กลับไปที่บ่อปลาของเรา
  • 2:37 - 2:40
    ชาวบ้านแต่ละคนล้วนแต่มุ่งมั่น
  • 2:40 - 2:43
    ที่จะจับปลากลับไปให้ได้มากที่สุด
  • 2:43 - 2:46
    ขณะเดียวกัน การลดลงของประชากรปลาในบ่อปลา
  • 2:46 - 2:49
    ส่งผลกระทบไปทั้งหมู่บ้าน
  • 2:49 - 2:51
    ทุกคนต่างกลัวที่จะสูญเสียปลา
    ให้กับเพื่อนบ้าน
  • 2:51 - 2:56
    ชาวประมงจึงคิดว่าผลประโยชน์ที่ดีที่สุดคือ
    ต้องจับปลากลับไปเพิ่มอีกหนึ่งตัว
  • 2:56 - 2:57
    หรือสอง
  • 2:57 - 2:59
    หรือสาม
  • 2:59 - 3:03
    โชคร้ายที่ชาวประมงคนอื่น ๆ
    ต่างก็คิดเหมือน ๆ กัน
  • 3:03 - 3:04
    และนั่นคือ โศกนาฏกรรม
  • 3:04 - 3:10
    การคิดถึงแต่ประโยชน์ส่วนตนในระยะสั้น
    ไม่เป็นประโยชน์ต่อทุกคนในระยะยาว
  • 3:10 - 3:13
    นั่นคือตัวอย่างที่ไม่ซับซ้อนของโศกนาฏกรรม
    ของสาธารณสมบัติ
  • 3:13 - 3:18
    มีให้เห็นในระบบที่สลับซับซ้อน
    มากกว่าในชีวิตจริงเช่นกัน
  • 3:18 - 3:23
    การใช้ยาปฏิชีวนะมากเกินขนาดได้นำไปสู่
    การเพื่มขึ้นของปศุสัตว์ในระยะสั้น
  • 3:23 - 3:25
    และการรักษาการเจ็บป่วยทั่วไป
  • 3:25 - 3:30
    แต่มันเป็นผลทำให้แบคทีเรียดื้อยามากขึ้น
  • 3:30 - 3:33
    ซึ่งคุกคามประชากรโดยรวม
  • 3:33 - 3:36
    โรงงานไฟฟ้าถ่านหินผลิตไฟฟ้าราคาถูก
    ให้กับผู้บริโภค
  • 3:36 - 3:39
    และสร้างผลกำไรให้กับผู้ประกอบการ
  • 3:39 - 3:41
    ซึ่งผลประโยชน์เหล่านั้นให้ผลดีในระยะสั้น
  • 3:41 - 3:47
    แต่มลพิษจากเหมืองและการเผาถ่านหินนั้น
    กระจายไปทั่วทั้งชั้นบรรยากาศ
  • 3:47 - 3:50
    และจะคงอยู่อีกเป็นพัน ๆ ปี
  • 3:50 - 3:52
    ตัวอย่างอื่นก็มีเช่นกัน
  • 3:52 - 3:53
    การทิ้งขยะเรี่ยราด
  • 3:53 - 3:54
    การขาดแคลนน้ำ
  • 3:54 - 3:55
    การทำลายป่า
  • 3:55 - 3:57
    ปัญหารถติด
  • 3:57 - 4:00
    หรือแม้กระทั่ง การซื้อน้ำขวด
  • 4:00 - 4:05
    แต่เผ่าพันธ์มนุษย์ได้พิสูจน์ถึงความสามารถ
    ในการทำสิ่งที่น่าเหลือเชื่อ
  • 4:05 - 4:07
    เราสร้างสัญญาประชาคม
  • 4:07 - 4:09
    เรามีฉันทามติ
  • 4:09 - 4:10
    เรามีการเลือกตั้งรัฐบาล
  • 4:10 - 4:12
    และเราออกกฎหมาย
  • 4:12 - 4:18
    ทั้งหมดนี้เพื่อปกป้องสิ่งที่เราเลือกสรร
    จากแรงผลักดันส่วนตัวของพวกเราเอง
  • 4:18 - 4:22
    มันไม่ง่าย และแน่นอนว่าหลายครั้ง
    สิ่งที่เราทำนั้นไม่ถูกต้อง
  • 4:22 - 4:27
    แต่เมื่อมนุษย์พยายามทำอย่างดีที่สุดได้แสดง
    ให้เห็นว่า เราสามารถแก้ไขปัญหาเหล่านั้นได้
  • 4:27 - 4:31
    และเราสามารถช่วยกันแก้ปัญหาต่อไป
    ถ้าเรายังจำบทเรียนของฮาร์ดินได้
  • 4:31 - 4:34
    เมื่อโศกนาฏกรรมของสาธารณสมบัติ เกิดขึ้น
  • 4:34 - 4:37
    อะไรที่ดีสำหรับพวกเราทุกคน
    ล้วนดีสำหรับเราทุก ๆ คน
Title:
อะไรคือโศกนาฏกรรมของสาธารณสมบัติ - นิโคลัส อาเมนดอลาร์
Description:

ชมบทเรียนเต็มที่ : https://ed.ted.com/lessons/what-is-the-tragedy-of-the-commons-nicholas-amendolare

มันเป็นไปได้หรือที่การจับปลามากเกินไป เชื้อโรคดื้อยา และภาวะโลกร้อน มาจากสาเหตุ เดียวกัน ในปีค.ศ.1968 บุรุษผู้หนึ่งชือว่า การ์เรตต์ ฮาร์ดิน (Garrett Hardin) นั่งเขียนเรียงความเกี่ยวกับประชากรที่มากเกินไป ในบทความนั้น เขาค้นพบว่ารูปแบบพฤติกรรมมนุษย์ได้อธิบายถึงปัญหาทางประวัติศาสตร์ที่ยิ่งใหญ่ที่สุดบางเรื่อง นิโคลัส อาเมนดอลาร์ (Nicholas Amendolare) ได้อธิบายถึงโศกนาฎกรรมของสาธารณสมบัตินี้

บทเรียนโดย Nicholas Amendolare อำนวยการโดย TED-Ed

more » « less
Video Language:
English
Team:
closed TED
Project:
TED-Ed
Duration:
04:58

Thai subtitles

Revisions