แผ่นปะวัคซีนไร้เข็มที่ปลอดภัยและถูกกว่า
-
0:00 - 0:02เป็นเกียรติมากครับที่ได้มาที่นี่
-
0:02 - 0:04ณ กรุงเอดินบะระ สกอตแลนด์
-
0:04 - 0:07ถิ่นที่กำเนิดของเข็มและหลอดฉีดยา
-
0:07 - 0:10ห่างออกไปจากตรงนี้ไม่ถึงไมล์
-
0:10 - 0:12ในปี ค.ศ. 1853 ชาวสกอตคนหนึ่ง
-
0:12 - 0:14ได้จดสิทธิบัตรฉบับแรกๆ ของเขา
สำหรับเข็มและหลอดฉีดยา -
0:14 - 0:16ชื่อของเขาคือ อเล็กซานเดอร์ วูด
-
0:16 - 0:20และที่นั่นก็คือ ราชวิทยาลัยแพทย์แห่งกรุงเอดินบะระ
-
0:20 - 0:22นี่คือสิทธิบัตรที่ว่า
-
0:22 - 0:25สิ่งที่กระตุกความคิดผมเมื่อเห็นมันในวันนี้
-
0:25 - 0:27ก็คือ มันเกือบที่จะเหมือน
-
0:27 - 0:29กับเข็มที่เราใช้ในปัจจุบัน
-
0:29 - 0:33ถึงแม้ว่ามันมีอายุ 160 ปี
-
0:33 - 0:35เรามาพูดถึงเรื่องของวัคซีนกัน
-
0:35 - 0:37วัคซีนส่วนใหญ่นั้นถูกให้
-
0:37 - 0:42ผ่านเข็มและหลอดฉีดยา
เทคโนโลยีอายุ 160 ปี -
0:42 - 0:43แล้วจะว่าไป
-
0:43 - 0:47วัคซีนก็เป็นเทคโนโลยีที่ประสบความสำเร็จในหลายระดับ
-
0:47 - 0:51ถ้าไม่นับเรื่องน้ำสะอาดและสุขอนามัยที่ดี
-
0:51 - 0:55วัคซีนนั้นเป็นเทคโนโลยีสำคัญที่สุด
-
0:55 - 0:58ที่ได้ช่วยยืดชีวิตของเรา
-
0:58 - 1:00มันเป็นผลงานที่ยากจะหาใครต่อกรได้
-
1:00 - 1:02แต่ก็เช่นเดียวกับเทคโนโลยีอื่นๆ
-
1:02 - 1:04วัคซีนมีจุดอ่อนของมัน
-
1:04 - 1:07และเข็มกับหลอดฉีดยา
-
1:07 - 1:09ก็เป็นกุญแจสำคัญของจุดอ่อนนั้น
-
1:09 - 1:12ของเทคโนโลยีเก่าๆ นี้
-
1:12 - 1:14เรามาเริ่มจากจุดที่เห็นได้ชัดก่อน
-
1:14 - 1:17พวกเราหลายๆ คนไม่ชอบเข็มและหลอดฉีดยา
-
1:17 - 1:19ผมก็ด้วยครับ
-
1:19 - 1:23แต่อย่างไรก็ดี ร้อยละ 20 ของประชากร
-
1:23 - 1:25มีพฤติกรรมที่เรียกว่า อาการกลัวเข็ม
-
1:25 - 1:27นั่นมันยิ่งกว่าไม่ชอบเข็มเสียอีก
-
1:27 - 1:29นั่นจะทำให้คนหลีกเลี่ยงการรับวัคซีน
-
1:29 - 1:31เพราะว่ากลัวเข็ม
-
1:31 - 1:35และนั้นก็เป็นปัญหาต่อการขยายการใช้วัคซีน
-
1:35 - 1:37ทีนี้ อีกเรื่องสำคัญที่เกี่ยวข้องกัน
-
1:37 - 1:39ก็คือ การเกิดแผลจากการใช้เข็ม
-
1:39 - 1:41และองค์การอนามัยโลกรายงานว่า
-
1:41 - 1:45มีการเสียชีวิตประมาณ 1.3 ล้านรายต่อปี
-
1:45 - 1:48ที่เกิดขึ้นเพราะการติดเชื้อ
-
1:48 - 1:49จากแผลที่เกิดจากการใช้เข็ม
-
1:49 - 1:52นี่คือ การเสียชีวิตก่อนวัยอันควร
-
1:52 - 1:55ครับ มันมีสองสิ่งที่คุณอาจเคยได้ยิน
-
1:55 - 1:56แต่เข็มและหลอดฉีดยา
-
1:56 - 1:59ยังมีข้อด้อยอีกสองอย่างที่คุณอาจไม่เคยได้ยิน
-
1:59 - 2:01อย่างแรกก็คือ มันอาจลดประสิทธิภาพ
-
2:01 - 2:02ของวัคซีนแบบใหม่
-
2:02 - 2:05ในเรื่องของการตอบสนองทางภูมิคุ้มกัน
-
2:05 - 2:08และอย่างที่สองก็คือ มันอาจเป็นตัวการ
-
2:08 - 2:12ของปัญหาเรื่องการขนส่งด้วยระบบแช่เย็น
ที่ผมจะเล่าให้คุณฟังเช่นกัน -
2:12 - 2:14ผมจะเล่าให้คุณฟังเกี่ยวกับงานบางส่วน
-
2:14 - 2:16ที่ทีมของผมและผมกำลังวิจัยกันอยู่ในออสเตรเรีย
-
2:16 - 2:18ณ มหาวิทยาลัยควีนส์แลนด์
-
2:18 - 2:22เป็นเทคโนโลยีที่ออกแบบมา
เพื่อที่จะต่อกรปัญหาทั้งสี่ -
2:22 - 2:26และเทคโนโลยีนั้นก็เรียกว่า นาโนแพทช์ (Nanopatch)
-
2:26 - 2:33นี่คือตัวอย่างของนาโนแพทช์
-
2:33 - 2:34เมื่อมองด้วยตาเปล่า
-
2:34 - 2:37มันเหมือนจะเป็นเพียงผืนสี่เหลี่ยม
-
2:37 - 2:40ที่เล็กว่าแสตมป์
-
2:40 - 2:42แต่ภายใต้กล้องจุลทรรศน์
-
2:42 - 2:45สิ่งที่คุณเห็นคือหนามเล็กๆ เป็นพันๆ
-
2:45 - 2:47ที่ไม่สามารถเห็นได้ด้วยตาเปล่า
-
2:47 - 2:49และมันก็มีปลายแหลมนั่นประมาณ 4,000 อัน
-
2:49 - 2:52บนผื่นสี่เหลี่ยมนี้ เมื่อเปรียบเทียบกับเข็ม
-
2:52 - 2:55และผมได้ออกแบบปลายแหลมเหล่านั้น
-
2:55 - 2:59ให้ทำหน้าที่สำคัญ
ซึ่งก็คือทำงานร่วมกับระบบภูมิคุ้มกันของผิวหนัง -
2:59 - 3:01นั่นเป็นหน้าที่ที่สำคัญมากๆ
-
3:01 - 3:02ที่เป็นคุณสมบัติของนาโนแพทช์
-
3:02 - 3:05เราสร้างนาโนแพทช์
-
3:05 - 3:07ด้วยเทคโนโลยี
-
3:07 - 3:10ที่เรียกว่า deep reactive ion etching
-
3:10 - 3:12และเทคนิคดังกล่าวก็เป็นเทคนิค
-
3:12 - 3:13ที่ได้มาจากอุตสาหกรรมผลิตอุปกรณ์กึ่งตัวนำ
-
3:13 - 3:15ฉะนั้นมันจึงใช้ทุนต่ำ
-
3:15 - 3:17และสามารถที่จะทำออกมาได้เป็นจำนวนมาก
-
3:17 - 3:22ทีนี้ เราก็เคลือบวัคซีนแบบแห้ง
ไว้บนปลายแหลมของนาโนแพทช์ -
3:22 - 3:24และวางมันลงบนผิวหนัง
-
3:24 - 3:29รูปแบบการใช้ที่ง่ายที่สุด
-
3:29 - 3:31คือการใช้นิ้วของเรานี่แหละ
-
3:31 - 3:33แต่นิ้วของเราก็มีข้อจำกัด
-
3:33 - 3:35เราก็เลยมีอุปกรณ์สำหรับมัน
-
3:35 - 3:37และมันก็เป็นอุปกรณ์ง่ายๆ
-
3:37 - 3:39จะเรียกว่านิ้วพิเศษก็ได้
-
3:39 - 3:42มันเป็นอุปกรณ์ที่งานด้วยสปริง
-
3:42 - 3:46เมื่อเราวางนาโนแพทช์ลงไปบนผิวหนัง
-
3:46 - 3:48(คลิ๊ก)
-
3:48 - 3:51มีบางอย่างที่เกิดขึ้นในทันที
-
3:51 - 3:55อย่างแรก ปลายแหลมบนนาโนแพทช์
-
3:55 - 3:56ผ่านผิวหนังหนาๆ ชั้นนอกลงไป
-
3:56 - 3:59และวัคซีนก็ถูกปล่อยออกมาอย่างรวดเร็ว
-
3:59 - 4:01ในเพียงไม่ถึงนาที
-
4:01 - 4:03จากนั้นเรานำสามารถเอานาโนแพทช์ออกได้
-
4:03 - 4:05และทิ้งมันไป
-
4:05 - 4:11และอันที่จริง เราสามารถที่จะนำอุปกรณ์ช่วย
กลับมาใช้ใหม่ได้ -
4:11 - 4:14นั่นก็คงทำให้คุณรู้จักนาโนแพทช์มากขึ้น
-
4:14 - 4:17และคุณก็คงได้เห็นจุดเด่นหลักๆ ของมันในทันที
-
4:17 - 4:18เราได้บอกว่ามันไร้เข็ม
-
4:18 - 4:21ปลายแหลมเหล่านี้ที่คุณมองไม่เห็น
-
4:21 - 4:22และแน่นอน เราสามารถที่จะหลีกเลี่ยง
-
4:22 - 4:26อาการกลัวเข็มได้ด้วย
-
4:26 - 4:27ตอนนี้ ถ้าเราย้อนกลับไปคิดเกี่ยวกับ
-
4:27 - 4:31จุดเด่นอีกสองข้อที่สำคัญมากๆ
-
4:31 - 4:35อย่างหนึ่งก็คือมันเพิ่มการตอบสนองของภูมิคุ้มกัน
ผ่านวิธีการให้วัคซีน -
4:35 - 4:38และอย่างที่สองก็คือ กำจัดระบบระบบแช่เย็น
-
4:38 - 4:41เอาล่ะ มาเริ่มที่อย่างแรกก่อน
แนวคิดเรื่องการตอบสนองของภูมิคุ้มกัน -
4:41 - 4:43มันต้องใช้เวลาสักนิดก่อนที่จะเข้าใจ
-
4:43 - 4:47แต่ผมจะลองอธิบายแบบง่ายๆ ครับ
-
4:47 - 4:48ถ้าผมลองย้อนกลับไป และอธิบายให้คุณฟังง่ายๆ
-
4:48 - 4:52ว่าวัคซีนทำงานอย่างไร
-
4:52 - 4:54วัคซีนทำงานโดย การนำสิ่งที่เรียกว่าแอนติเจน
-
4:54 - 4:57เข้าสู่ร่างกายของเรา
-
4:57 - 5:00ซึ่งแอนติเจนนั้น คือรูปแบบของเชื้อโรคที่ไม่มีอันตราย
-
5:00 - 5:02ทีนี้ เชื้อโรคที่ไม่อันตราย เจ้าแอนติเจนนั่น
-
5:02 - 5:05หลอกร่างกายของเราให้เพิ่มการตอบสนองของภูมิคุ้มกัน
-
5:05 - 5:09เรียนรู้และจดจำ ว่าจะจัดการอย่างไรกับผู้บุกรุก
-
5:09 - 5:12เมื่อผู้บุกรุกตัวจริงเข้ามา
-
5:12 - 5:13ร่างกายสามารถที่จะตอบสนองทางภูมิคุ้มกัน
-
5:13 - 5:15ที่เกี่ยวข้องกับวัคซีน
-
5:15 - 5:17และยับยั้งการเกิดโรค
-
5:17 - 5:19มันทำเช่นนั้นได้อย่างมีประสิทธิภาพ
-
5:19 - 5:21ทีนี้ วิธีการที่เราทำกันในปัจจุบัน
ด้วยเข็มและหลอดฉีดยา -
5:21 - 5:23ก็คือ วัคซีนส่วนใหญ่นั้นถูกให้ด้วยวิธีนั้น
-
5:23 - 5:25โดยใช้เทคโนโลยีเก่า และเข็ม
-
5:25 - 5:30แต่มันอาจเป็นที่โต้แย้งได้ว่า
เข็มนั้นลดประสิทธิภาพของการตอบสนองของภูมิคุ้มกัน -
5:30 - 5:34มันพลาดจุดที่ภูมิคุ้มกันโปรดปรานในผิวหนัง
-
5:34 - 5:37เพื่อที่จะอธิบายแนวคิดนี้
-
5:37 - 5:39พวกเราต้องเดินทางลงไปยังผิวหนัง
-
5:39 - 5:42เริ่มจากหนึ่งในปลายแหลมพวกนั้น
-
5:42 - 5:44และการวางนาโนแพทช์ลงบนผิวหนัง
-
5:44 - 5:47และพวกเราก็เห็นข้อมูลรูปแบบนี้
-
5:47 - 5:48ทีนี้ นี่คือข้อมูลจริงๆ
-
5:48 - 5:51สิ่งที่เราเห็นคือ ปลายแหลมหนึ่ง
-
5:51 - 5:53จากนาโนแพทช์ที่วางลงบนผิวหนัง
-
5:53 - 5:55และชั้นสีต่างๆ กัน
-
5:55 - 5:56เพื่อที่จะให้คุณเข้าใจถึงขนาด
-
5:56 - 5:58ถ้าเอาเข็มมาแสดงตรงนี้ มันอาจจะดูใหญ่เกินไป
-
5:58 - 6:00มันน่าจะมีขนาดใหญ่เป็น 10 เท่า
-
6:00 - 6:03ของขนาดจอ และลึกกว่า 10 เท่าเช่นกัน
-
6:03 - 6:05มันเกินกรอบนี้
-
6:05 - 6:08คุณเห็นได้ทันทีว่าเรามีปลายแหลมเหล่านี้ในผิวหนัง
-
6:08 - 6:11ชั้นสีแดงเป็นชั้นหนาของผิวหนังชั้นนอกที่ตายแล้ว
-
6:11 - 6:14แต่ชั้นสีน้ำตาลและบานเย็น
-
6:14 - 6:17เต็มไปด้วยเซลล์ภูมิคุ้มกัน
-
6:17 - 6:19ดังเช่นตัวอย่างนี้ ในชั้นสีน้ำตาล
-
6:19 - 6:21มีเซลล์ชนิดหนึ่งที่เรียกว่า แลงเกอร์ฮานเซลล์
-
6:21 - 6:23ทุกๆ ตารางมิลลิเมตรของร่างกายของเรา
-
6:23 - 6:26เต็มไปด้วยแลงเกอร์ฮานเซลล์เหล่านั้น
-
6:26 - 6:29เซลล์ภูมิคุ้มกันเหล่านั้นและเซลล์อื่นๆ ด้วย
-
6:29 - 6:30ที่เราไม่ได้ย้อมสีให้เห็นในภาพนี้
-
6:30 - 6:33แต่คุณคงจินตนาการได้ว่า นาโนแพทช์
-
6:33 - 6:34ทะลวงเข้าไปถึงจริงๆ
-
6:34 - 6:38เราพุ่งเป้าไปยังเซลล์ที่ว่านี้เป็นพันๆ
-
6:38 - 6:40ที่อยู่บนผิวหนังช่วงแคบๆ
-
6:40 - 6:43ไม่เกินกว่าความกว้างของเส้นผม
-
6:43 - 6:47เรื่องที่ว่าชายผู้ประดิษฐ์สิ่งนั้น
และออกแบบมันให้ทำงานนั้น -
6:47 - 6:51ผมคิดว่ามันน่าตื่นเต้น ทำไมน่ะหรือ
-
6:51 - 6:52จะเป็นยังไง ถ้าคุณได้กำหนดเซลล์เป้าหมาย
-
6:52 - 6:55ในโลกของวัคซีน นั่นหมายความว่าอย่างไร
-
6:55 - 6:58โลกของวัคซีนนั้นเริ่มที่จะดีขึ้นเรื่อยๆ
-
6:58 - 6:59มันเป็นระบบระเบียบมากขึ้น
-
6:59 - 7:02แต่อย่างไรก็ดี คุณยังไม่รู้จริงๆ หรอก
-
7:02 - 7:03ว่าวัคซีนจะใช้การได้หรือเปล่า
-
7:03 - 7:05จนกว่าคุณจะถลกแขนเสื้อขึ้น
-
7:05 - 7:07และให้วัคซีน และรอ
-
7:07 - 7:10มันเป็นเหมือนเกมส์เสี่ยงโชค แม้กระทั่งในปัจจุบัน
-
7:10 - 7:12ดังนั้น เราต้องเล่นเกมส์เสี่ยงดวงนั้น
-
7:12 - 7:15เรานำวัคซีนโรคหวัดมา
-
7:15 - 7:16เราเคลือบมันบนนาโนแพทช์
-
7:16 - 7:19และเราวางแผ่นนาโนแพทช์บนผิวหนัง
-
7:19 - 7:20และเราก็รอ
-
7:20 - 7:22นี่คือ ภายในสัตว์ที่มีชีวิต
-
7:22 - 7:24เรารอหนึ่งเดือน
-
7:24 - 7:26และนี่คือสิ่งที่เราค้นพบ
-
7:26 - 7:28นี่เป็นผลการทดลอง
ที่แสดงถึงการตอบสนองทางภูมิคุ้มกัน -
7:28 - 7:31ที่เราได้จากนาโนแพทช์
-
7:31 - 7:34เทียบกับที่ได้จากการฉีดยาให้กับกล้ามเนื้อ
ด้วยเข็มและหลอดฉีดยา -
7:34 - 7:38ที่แกนนอน แสดงขนาดของยาในหน่วยนาโนกรัม
-
7:38 - 7:41ที่แกนตั้ง แสดงระดับการตอบสนองทางภูมิคุ้มกัน
-
7:41 - 7:46และเส้นประ บ่งบอกระดับการป้องกัน
-
7:46 - 7:49เหนือขึ้นไปจากเส้นนั้น ถือว่ามันให้การป้องกันได้
-
7:49 - 7:52แต่ถ้ามันอยู่ใต้นั้น แสดงว่ามันไม่ได้ผล
-
7:52 - 7:54ดังนั้น เส้นแดงนั้นเกือบจะอยู่ใต้เส้นประนั่น
-
7:54 - 7:58และเมื่อใช้เข็ม เรากระตุ้นจนถึงระดับการป้องกัน
ได้เพียงจุดเดียวเท่านั้น -
7:58 - 8:01ด้วยปริมาณยาสูงถึง 6000 นาโนกรัม
-
8:01 - 8:03แต่ลองสังเกตความแตกต่างที่ชัดเจน
-
8:03 - 8:06จากเส้นสีฟ้า
-
8:06 - 8:08นั่นเป็นสิ่งที่เราได้จากการใช้นาโนแพทช์
-
8:08 - 8:10ปริมาณยาที่ใช้สำหรับนาโนแพทช์นั้น
-
8:10 - 8:13ให้ข้อมูลทางการตอบสนองทางภูมิคุ้มกัน
ที่ต่างไปอย่างสิ้นเชิง -
8:13 - 8:15นี่เป็นเหมือนโอกาสทอง
-
8:15 - 8:18อยู่ดีๆ เราก็ได้คานงัดใหม่เอี่ยม
-
8:18 - 8:19ในโลกแห่งวัคซีน
-
8:19 - 8:21เราผลักมันไปทางหนึ่ง
-
8:21 - 8:23เราก็จะใช้วัคซีนที่มีประสิทธิภาพ
และให้การป้องกันได้ -
8:23 - 8:25แต่ราคาแพง
-
8:25 - 8:28ด้วยปริมาณยาที่น้อยกว่าการใช้เข็ม 100 เท่า
-
8:28 - 8:32นั่นจะทำให้ค่าใช้จ่ายสำหรับวัคซีนลดจาก 10 ดอลล่าร์
เป็น 10 เซนต์ทันที -
8:32 - 8:35และนั่นก็สำคัญอย่างมากต่อประเทศกำลังพัฒนา
-
8:35 - 8:37แต่อีกมุมมองหนึ่งสำหรับสิ่งนี้คือ
-
8:37 - 8:40เราสามารถจะนำวัคซีนซึ่งตอนนี้ยังไร้ประสิทธิภาพ
-
8:40 - 8:41แล้วทำให้มันเลยเส้นนั้นขึ้นไป
-
8:41 - 8:43และทำให้พวกมันมีคุณสมบัติในการปกป้อง
-
8:43 - 8:45และแน่ล่ะครับ ในโลกของวัคซีน
-
8:45 - 8:47นั่นมันก็สำคัญ
-
8:47 - 8:48ลองคิดดูถึงโรคร้ายทั้งสาม
-
8:48 - 8:51เอชไอวี มาลาเรีย วัณโรค
-
8:51 - 8:53พวกมันคร่าประมาณ 7 ล้านชีวิตต่อปี
-
8:53 - 8:57และไม่มีวัคซีนไหนที่ได้ผลกับพวกมัน
-
8:57 - 8:59ดังนั้น ด้วยคานงัดใหม่ที่เราได้จากนาโนแพทช์
-
8:59 - 9:01เราน่าจะช่วยให้มันเกิดขึ้นได้
-
9:01 - 9:06เราสามารถที่จะกดคานนั้นให้ช่วยยกว่าที่วัคซีนเหล่านี้
ให้พ้นเส้นกำกับ -
9:06 - 9:08และแน่นอนครับ พวกเราได้ทำวิจัยในห้องทดลอง
-
9:08 - 9:09กับวัคซีนต่างๆ ก็เห็นผลลัพธ์คล้ายๆ กัน
-
9:09 - 9:12ได้กราฟคล้ายๆ กันนี้
-
9:12 - 9:16กับที่เราทดสอบกับวัคซีนโรคหวัด
-
9:16 - 9:18ผมอยากจะเปลี่ยนมาพูดถึง
-
9:18 - 9:21ข้อด้อยอีกอย่างของวัคซีนในปัจจุบัน
-
9:21 - 9:25และนั่นก็คือ ความจำเป็นของระบบให้ความเย็น
-
9:25 - 9:28อย่างชื่อของมันเลยครับ ระบบให้ความเย็น
-
9:28 - 9:30มันจำเป็นที่วัคซีนจะต้องอยู่ในสภาพที่เหมาะสม
ตั้งแต่การผลิต -
9:30 - 9:33ตลอดไปจนถึงตอนนำไปใช้
-
9:33 - 9:36มันต้องถูกแช่เย็น
-
9:36 - 9:40ครับ นั่นเป็นอุปสรรค์ในการขนส่งที่ท้าทาย
-
9:40 - 9:42แต่เรามีวีธีการครับ
-
9:42 - 9:47นี่ค่อนข้างจะสุดโต่งทีเดียว
-
9:47 - 9:50แต่มันช่วยให้คุณจินตนาการออก
-
9:50 - 9:52โดยเฉพาะในที่ซึ่งยากแก่การเข้าถึง
-
9:52 - 9:55เครื่องมือต่างๆ ที่จำเป็น
-
9:55 - 9:57ต่อการแช่เย็นวัคซีน
-
9:57 - 10:01ถ้าวัคซีนอุ่นเกินไป วัคซีนก็จะเสื่อมสภาพ
-
10:01 - 10:03แต่น่าสนใจครับ ถ้ามันเย็นเกินไป
-
10:03 - 10:05วัคซีนก็เสื่อมสภาพได้เหมือนกัน
-
10:05 - 10:09เอาล่ะ เดิมพันเราสูงมากครับ
-
10:09 - 10:11องค์อนามัยโลกคาดว่าในทวีปแอฟริกา
-
10:11 - 10:14ประเมินว่า กว่าครึ่งของวัคซีนที่ใช้
-
10:14 - 10:16มีประสิทธิภาพไม่สมบูรณ์
-
10:16 - 10:19เพราะว่า ในบางช่วงระบบแช่เย็นเสีย
-
10:19 - 10:21ดังนั้นมันจึงเป็นปัญหาใหญ่
และมันก็เกี่ยวข้องกับเข็มและหลอดฉีดยา -
10:21 - 10:27เพราะว่ามันเป็นวัคซีนในรูปของเหลว
และเมื่อมันเป็นของเหลว มันก็ต้องแช่เย็น -
10:27 - 10:29คุณสมบัติสำคัญของนาโนแพทช์ ก็คือ
-
10:29 - 10:31วัคซีนนั้นแห้ง
-
10:31 - 10:34และเมื่อมันแห้ง มันก็ไม่ต้องแช่เย็น
-
10:34 - 10:36ที่ห้องทดลองของผม เราได้แสดงให้เห็นว่า
-
10:36 - 10:39เราสามารถเก็บวัคซีนไว้ที่ 23 องศาเซลเซียส
-
10:39 - 10:43ได้นานกว่าหนึ่งปี โดยไม่เสียประสิทธิภาพเลย
-
10:43 - 10:45นั่นเป็นการพัฒนาที่สำคัญยิ่งครับ
-
10:45 - 10:52(เสียงปรบมือ)
-
10:52 - 10:54พวกเราดีใจ เหมือนกันครับ
-
10:54 - 10:59ที่เราได้พิสูจน์การทำงานของนาโนแพทช์
-
10:59 - 11:01อย่างถึ่ถ้วนในสภาพแวดล้อมของห้องทดลอง
-
11:01 - 11:05และในฐานะนักวิทยาศาสตร์
ผมชอบครับ และผมก็รักวิทยาศาสตร์ -
11:05 - 11:08อย่างไรก็ดี ในฐานะวิศวกร
-
11:08 - 11:09ในฐานะวิศวกรชีวการแพทย์
-
11:09 - 11:12และในฐานะคนคนหนึ่ง
-
11:12 - 11:13ผมคงจะไม่พอใจหรอกครับ
-
11:13 - 11:16จนกว่าเราจะได้นำมันออกไปใช้นอกห้องทดลอง
-
11:16 - 11:18และให้มันเข้าถึงคนจำนวนมาก
-
11:18 - 11:21โดยเฉพาะคนที่ต้องการมันมากที่สุด
-
11:21 - 11:24ดังนั้น เราได้เริ่มต้นการเดินทางนี้
-
11:24 - 11:27และเราได้เริ่มต้นการเดินทางนี้ในวิถึที่ต่างออกไป
-
11:27 - 11:30เราเริ่มต้นที่ปาปัว นิว กินี
-
11:30 - 11:36เอาล่ะ ปาปัว นิว กินี เป็นตัวอย่างของประเทศกำลังพัฒนา
-
11:36 - 11:39มันมีขนาดใหญ่พอๆ กับฝรั่งเศส
-
11:39 - 11:42แต่มีปัญหาจากอุปสรรค์สำคัญมากมาย
-
11:42 - 11:46ที่ปรากฏอยู่ในโลกของวัคซีนในปัจจุบัน
-
11:46 - 11:47มีเรื่องการขนส่ง
-
11:47 - 11:52ภายในประเทศนี้ มีตู้เย็นที่ใช้แช่วัคซีนเพียง 800 ตู้
-
11:52 - 11:56มีหลายตู้ที่เก่าแล้ว เช่นตู้นี้ในพอร์ต มอเรสบี
หลายๆ ตู้ก็กำลังจะพัง -
11:56 - 11:59และอีกหลายตู้ก็ไม่ได้อยู่ทางเหนือ
พื้นที่ที่พวกมันเป็นที่ต้องการ -
11:59 - 12:00นั่นคือความท้าทาย
-
12:00 - 12:06นอกจากนั้น ปาปัว นิว กินี ยังมีการเกิดโรคเอชพีวี
มากที่สุดในโลก -
12:06 - 12:10ฮิวเมน พาปิโลมาไวรัส (human papillomavirus)
ปัจจัย [ที่ทำให้เกิดความเสี่ยง] โรคมะเร็งปากมดลูก -
12:10 - 12:12ถึงกระนั้น วัคซีนก็ยังไม่แพร่หลาย
-
12:12 - 12:14เพราะว่ามันแพงเกินไป
-
12:14 - 12:17จากสองเหตุผลนั้น และคุณสมบัติของนาโนแพทช์
-
12:17 - 12:20พวกเราลงภาคสนามและนำนาโนแพทช์ไปทดสอบ
-
12:20 - 12:22ที่ปาปัว นิว กินี
-
12:22 - 12:26และเราจะติดตามผลนั้นในอีกไม่ช้า
-
12:26 - 12:30ครับ การทำงานแนวนี้มันไม่ง่ายเลย
-
12:30 - 12:31มันท้าทายครับ
-
12:31 - 12:34แต่ไม่มีสิ่งใดอื่นในโลกนี้ที่ผมควรจะทำ
-
12:34 - 12:36และเมื่อเรามองไปเบื้องหน้า
-
12:36 - 12:40ผมอยากจะแบ่งปันความคิดกับคุณ
-
12:40 - 12:44มันเป็นความคิดเกี่ยวกับอนาคต
-
12:44 - 12:46ที่ซึ่งอัตราการตาย 17 ล้านรายต่อปี
-
12:46 - 12:48จากโรคคิดต่อที่เรากำลังประสบในขณะนี้
-
12:48 - 12:51เป็นหมายเหตุทางประวัติศาสตร์
-
12:51 - 12:53และเป็นหมายเหตุทางประวัติศาสตร์ที่ประสบความสำเร็จได้
-
12:53 - 12:57จากวัคซีนที่มีพัฒนาไปอย่างมาก
-
12:57 - 12:59ครับ ผมยืนอยู่ตรงนี้ในวันนี้ต่อหน้าพวกคุณ
-
12:59 - 13:01ในสถานที่กำเนิดของเข็มและหลอดฉีดยา
-
13:01 - 13:03อุปกรณ์ที่มีอายุ 160 ปี
-
13:03 - 13:06ผมนำเสนอวิธีการใหม่
-
13:06 - 13:08ที่อาจช่วยให้สิ่งนั้นเกิดขึ้นได้จริงๆ
-
13:08 - 13:12และมันก็คือ นาโนแพทช์
ซึ่งมีคุณสมบัติปลอดเข็ม ปลอดความเจ็บปวด -
13:12 - 13:16ไม่ต้องพึ่งพาระบบให้ความเย็น
และคุณสมบัติกระตุ้นภูมิคุ้มกันที่ดีขึ้น -
13:16 - 13:18ขอบคุณครับ
-
13:18 - 13:21(เสียงปรบมือ)
- Title:
- แผ่นปะวัคซีนไร้เข็มที่ปลอดภัยและถูกกว่า
- Speaker:
- มาร์ค เคนเดล (Mark Kendall)
- Description:
-
ร้อยหกสิบปีหลังจากการประดิษฐ์เข็มและหลอดฉีดยา เรายังคงใช้มันในการฉีดวัคซีน ถึงเวลาแล้วที่จะพัฒนา วิศวกรชีวการแพทย์ มาร์ค เคนแดล สาธิตการใช้นาโนแพทช์ วัคซีนแผ่นสี่เหลี่ยมขนาดหนึ่งคูณหนึ่งเซนติเมตรที่สามารถปะลงบนผิวหนังได้โดยไม่ทำให้เกิดความเจ็บปวด เขาได้แสดงให้เห็นว่าแผนซิลิโคนเล็กๆ นี้สามารถเอาชนะข้อด้อยหลักทั้งสี่อของเข็มและหลอดฉีดยาในปัจจุบันได้อย่างไร ด้วยค่าใช้จ่ายเพียงน้อยนิด
- Video Language:
- English
- Team:
closed TED
- Project:
- TEDTalks
- Duration:
- 13:50
![]() |
Kelwalin Dhanasarnsombut approved Thai subtitles for Demo: A needle-free vaccine patch that's safer and way cheaper | |
![]() |
Kelwalin Dhanasarnsombut commented on Thai subtitles for Demo: A needle-free vaccine patch that's safer and way cheaper | |
![]() |
Kelwalin Dhanasarnsombut edited Thai subtitles for Demo: A needle-free vaccine patch that's safer and way cheaper | |
![]() |
Kelwalin Dhanasarnsombut edited Thai subtitles for Demo: A needle-free vaccine patch that's safer and way cheaper | |
![]() |
Pongsapak Vanichrundorn accepted Thai subtitles for Demo: A needle-free vaccine patch that's safer and way cheaper | |
![]() |
Pongsapak Vanichrundorn commented on Thai subtitles for Demo: A needle-free vaccine patch that's safer and way cheaper | |
![]() |
Pongsapak Vanichrundorn edited Thai subtitles for Demo: A needle-free vaccine patch that's safer and way cheaper | |
![]() |
Kelwalin Dhanasarnsombut edited Thai subtitles for Demo: A needle-free vaccine patch that's safer and way cheaper |
Pongsapak Vanichrundorn
แก้ไขนิดหน่อยนะครับ
Kelwalin Dhanasarnsombut
Appriciate your revision. Allow me to fix few words :)
Thank you and wish we can work together in the future. -Note