< Return to Video

คำพูดแฝงนัยคืออะไร - คริสโอเฟอร์ วอร์มเมอร์ (Christopher Warner)

  • 0:15 - 0:17
    อากาศดีจังนะวันนี้
  • 0:17 - 0:19
    ทำได้ดีมาก
  • 0:19 - 0:23
    คุณเป็นนักกีฬาที่ยอดเยี่ยม
  • 0:23 - 0:25
    คำพูดเหล่านี้เป็นคำชม ใช่ไหม
  • 0:25 - 0:28
    ก็อาจจะใช่
  • 0:28 - 0:29
    ขึ้นอยู่กับความคิดของคนพูด
  • 0:29 - 0:31
    แล้วก็โทนเสียงที่เขาใช้ในประโยคเหล่านี้
  • 0:31 - 0:34
    อาจจะเป็นคำชมจริงๆ
  • 0:34 - 0:35
    หรือในอีกนัยหนึ่งอาจจะเป็น
  • 0:35 - 0:38
    คำที่ทำร้ายและเสียดสีเรา
  • 0:38 - 0:41
    เพียงความเห็นของคนพูดเปลี่ยนไปสักหน่อย
  • 0:41 - 0:45
    ก็จะกลายเป็นสิ่งที่เราเรียกว่าคำพูดแฝงนัย
  • 0:45 - 0:49
    ดังนั้นถ้ามีใครพูดว่า อากาศดีจังนะวันนี้
  • 0:49 - 0:52
    มันก็อาจจะเป็นไปได้ว่า คนพูดหมายความตามนั้นจริงๆ
  • 0:52 - 0:53
    ถ้าพระอาทิตย์กำลังส่องแสง
  • 0:53 - 0:55
    นกกำลังส่งเสียงร้องจิ๊บๆ
  • 0:55 - 0:57
    ลมสงบ
  • 0:57 - 0:58
    แต่ถ้าสภาพอากาศเข้าขั้นเลวร้าย
  • 0:58 - 0:59
    เมฆดำทะมึนไปหมด
  • 0:59 - 1:01
    ลมก็พัดราวกับมีพายุ
  • 1:01 - 1:05
    แล้วมีใครสักคนพูดว่า อากาศดีจังนะวันนี้
  • 1:05 - 1:08
    เขาอาจจะไม่ได้หมายความตามนั้น
  • 1:08 - 1:11
    เขาอาจจะอยากบอกว่าอากาศแย่มาก
  • 1:11 - 1:13
    แต่เขาแค่พูดตรงกันข้าม
  • 1:13 - 1:15
    นั่นก็คือการประชด
  • 1:15 - 1:18
    เมื่อผู้พูดพูดตรงกันข้ามกับความหมายที่เค้าต้องการจะสื่อ
  • 1:18 - 1:19
    ผมรู้ว่าคุณกำลังคิดอะไรอยู่
  • 1:19 - 1:20
    นี่มันไม่ใช่การเสียดสีหรอ
  • 1:20 - 1:22
    ผู้พูดตั้งใจแดกดันรึเปล่า
  • 1:22 - 1:23
    ก็ใช่
  • 1:23 - 1:26
    แต่เมื่อคนพูดพูดในสิ่งที่ตรงกันข้ามกับสิ่งที่เค้า
    ต้องการจะบอก
  • 1:26 - 1:28
    นั่นคือการแฝงนัยประชด
  • 1:28 - 1:30
    แต่เมื่อผู้พูด ทำยิ่งกว่าการประชด
  • 1:30 - 1:32
    คือตั้งใจพูดตรงกันข้ามกับสิ่งที่เค้าต้องการสื่อ
  • 1:32 - 1:35
    และตั้งใจทำร้าย ให้คนอื่นๆเจ็บใจ
  • 1:35 - 1:37
    หรือ ตั้งใจล้อเลียนอะไรบางอย่าง
  • 1:37 - 1:39
    นั่นแหละ คือการแดกดัน
  • 1:39 - 1:40
    ลองดูตัวอย่างที่สอง
  • 1:40 - 1:42
    "งานนี้ยอดเยี่ยมมาก"
  • 1:42 - 1:44
    ถ้าใครสักคนกำลังทำความฝันตลอดชีวิตได้สำเร็จ
  • 1:44 - 1:45
    ยอดเยี่ยมมาก
  • 1:45 - 1:47
    หรือ ใครกำลังชนะการแข่งขันกีฬา
  • 1:47 - 1:48
    ยอดเยี่ยม
  • 1:48 - 1:50
    แต่ถ้าใครขับรถชนท้ายรถอีกคัน
  • 1:50 - 1:53
    อันนี้ไม่เยี่ยม
  • 1:53 - 1:56
    ดังนั้นเวลาที่ผู้โดยสารพูดว่า "งานนี้ยอดเยี่ยมไปเลย"
  • 1:56 - 1:58
    เขาอาจจะหมายความตรงกันข้ามกับคำพูด
  • 1:58 - 2:00
    ด้วยความตั้งใจที่จะแหย่
  • 2:00 - 2:04
    การพูดจาประชดกลายเป็นการเสียดสี
  • 2:04 - 2:06
    "คุณเป็นนักกีฬาที่มีความสามารถ"
    ถ้าพูดกับนักกีฬาโอลิมปิก
  • 2:06 - 2:09
    ก็หมายความตรงตามนั้น ไม่มีการประชด
  • 2:09 - 2:12
    แต่ถ้าพูดกับ เด็กซุ่มซ่าม ที่สะดุดหกล้ม
    ในขั่วโมงภาษาอังกฤษ
  • 2:12 - 2:14
    ทำหนังสือและกล่องดินสอหล่นกระจายไปทั่วห้อง
  • 2:14 - 2:18
    นี่ต่างหากที่ถือว่าเป็นการประชดประชันอย่างรุนแรง
  • 2:18 - 2:21
    เพราะสิ่งที่พูดไม่ใช่สิ่งที่คุณตั้งใจจะสื่อ
  • 2:21 - 2:24
    นั่นแหละคือการใช้คำพูดแฝงนัย
  • 2:24 - 2:25
    คุณพูดตรงกันข้ามกับสิ่งที่คุณต้องการจะสื่อ
  • 2:25 - 2:27
    นอกจากนั้น เนื่องจากคุณมีจุดประสงค์
  • 2:27 - 2:29
    ที่จะล้อเลียนบุคคลที่น่าสงสาร
  • 2:29 - 2:32
    คุณไม่เพียงแต่ใช้คำพูดประชด
  • 2:32 - 2:34
    แต่ยังเสียดสีทำร้ายความรู้สึกเขาด้วย
  • 2:34 - 2:35
    แต่ว่า เราควรระวังไว้
  • 2:35 - 2:39
    เพราะการเสียดสีนั้นถือเป็นส่วนหนึ่ง
    ของการใช้คำพูดประชดประชัน
  • 2:39 - 2:42
    แต่การพูดประชดอาจจะไม่ได้ตั้งใจเสียดสีก็ได้
  • 2:42 - 2:44
    คำพูดประชด หมายถึงการใช้
  • 2:44 - 2:47
    สิ่งที่มีความหมายตรงกันข้าม สื่อถึงสิ่งที่ต้องการพูด
  • 2:47 - 2:50
    ในขณะที่การเสียดสีนั้น มีทัศนคติที่ค่อนข้างมุ่งร้าย
  • 2:50 - 2:51
    แต่ก็มีบางครั้ง
  • 2:51 - 2:54
    ที่มีความหมายแทรกอยู่อีกชั้นหนึ่ง
  • 2:54 - 2:57
    โดยไม่ได้เสียดสี
  • 2:57 - 2:59
    เอาล่ะ พวกคุณลองออกไปทดสอบดูข้างนอก
  • 2:59 - 3:03
    แล้วลองหาตัวอย่าง
    ของการใช้คำพูดประชดหรือเสียดสี
  • 3:03 - 3:04
    โชคดีล่ะ
  • 3:04 - 3:07
    จริงๆนะ ผมหมายความตามนั้น ขอให้โชคดี
  • 3:07 - 3:08
    จริงนะ จริง ๆ
  • 3:08 - 3:11
    เราขอให้คุณโชคดีในการทำเรื่องยากๆเหล่านี้
  • 3:11 - 3:14
    โอเค โชคดี
  • 3:14 - 3:15
    คุณทำได้น่ะ
  • 3:15 - 3:17
    ไม่ได้พูดประชด
Title:
คำพูดแฝงนัยคืออะไร - คริสโอเฟอร์ วอร์มเมอร์ (Christopher Warner)
Speaker:
Christopher Warner
Description:

ชมบทเรียนเต็มได้ที่: http://ed.ted.com/lessons/what-is-verbal-irony-christopher-warner

ถ้ามองอย่างผิวเผินเส้นแบ่งระหว่างการ ประชด การเสียดสี หรืย คำชมก็ดูจะแยกออกจากกันได้ยาก บางทีอาจจะเป็นได้ทั้งสามอย่างขึ้นอยู่กับสถานการณ์ บทสุดท้ายของเรื่องชุด irony คริสโตเฟอร์ วอร์เนอร์ เอาเรื่องที่อยู่ใกล้ตัวเรา และใช้บ่อยที่สุด อย่างการพูดขัดแย้งแฝงนัย มาเล่าให้เราฟัง

บทเรียน โดย Christopher Warner, แอนิเมชั่น โดย Ben Pearce.

more » « less
Video Language:
English
Team:
closed TED
Project:
TED-Ed
Duration:
03:29
TED Translators admin edited Thai subtitles for What is verbal irony?
Kelwalin Dhanasarnsombut edited Thai subtitles for What is verbal irony?
Kelwalin Dhanasarnsombut edited Thai subtitles for What is verbal irony?
Unnawut Leepaisalsuwanna approved Thai subtitles for What is verbal irony?
Unnawut Leepaisalsuwanna edited Thai subtitles for What is verbal irony?
Unnawut Leepaisalsuwanna edited Thai subtitles for What is verbal irony?
Kelwalin Dhanasarnsombut accepted Thai subtitles for What is verbal irony?
Kelwalin Dhanasarnsombut commented on Thai subtitles for What is verbal irony?
Show all

Thai subtitles

Revisions Compare revisions