< Return to Video

พื้นฐานแอนิเมชั่น: ภาพลวงตาของการเคลื่อนไหว - TED-Ed

  • 0:15 - 0:18
    นำชุดภาพนิ่งที่ต่อเนื่องกันมา
  • 0:18 - 0:20
    มองดูพวกมันทีละภาพ
  • 0:24 - 0:25
    เร็วขึ้น
  • 0:28 - 0:30
    ทีนี้เอาจังหวะเว้นออกไป
  • 0:30 - 0:31
    เร็วขึ้นอีก
  • 0:33 - 0:34
    รอสักครู่ ...
  • 0:36 - 0:38
    เย่!
  • 0:38 - 0:39
    ภาพเคลื่อนไหว!
  • 0:40 - 0:41
    ทำไมถึงเป็นเช่นนั้น
  • 0:41 - 0:45
    ลองคิดดูสักนิด เราก็จะรู้ว่า
    เรากำลังมองชุดภาพนิ่งอยู่
  • 0:45 - 0:46
    แต่ถ้าเราเห็นพวกมันเปลี่ยนไปอย่างรวดเร็วพอ
  • 0:47 - 0:50
    มันจะเกิดภาพลวงตาเป็นภาพเดี่ยวที่คงอยู่
  • 0:50 - 0:52
    ที่ค่อย ๆ เปลี่ยนรูปร่างและตำแหน่ง
  • 0:53 - 0:56
    ผลที่เกิดขึ้นนี้คือพื้นฐาน
    ของเทคโนโลยีภาพเคลื่อนไหวทั้งหมด
  • 0:56 - 0:58
    ตั้งแต่จอ LED ในปัจจุบัน
  • 0:58 - 1:01
    ไปจนถึงบรรพบุรุษรังสีคาโทด
    จากศตวรรษที่ 20 ของมัน
  • 1:01 - 1:04
    จากการฉายฟิล์มภาพยนต์ในโรงหนัง
    ไปจนถึงของเล่นใหม่ ๆ
  • 1:04 - 1:07
    ยิ่งกว่านั้น ว่ากันว่า
    มันมีมาตั้งแต่สมัยยุคหิน
  • 1:07 - 1:09
    เมื่อคนเริ่มวาดภาพในถ้ำ
  • 1:10 - 1:13
    ปรากฏการณ์การรับรู้การเคลื่อนไหว
    ของภาพต่อเนื่องที่ปรากฏนี้
  • 1:13 - 1:15
    เกิดจากลักษณะการรับรู้ของมนุษย์เรา
  • 1:15 - 1:19
    ที่แต่เดิมเรียกว่า "ภาพติดตา"
  • 1:19 - 1:20
    คำที่ถูกประดิษฐ์ขึ้น
  • 1:20 - 1:23
    โดยแพทย์ลูกครึ่งชาวอังกฤษสวิส
    ชื่อว่า ปีเตอร์ มาร์ค โรเก็ต
  • 1:23 - 1:24
    ช่วงต้นศตวรรษที่ 19
  • 1:24 - 1:27
    เขาใช้คำดังกล่าว
    อธิบายความผิดปกติของตา
  • 1:27 - 1:29
    ที่ทำให้เห็นวัตถุที่กำลังเคลื่อนที่
  • 1:29 - 1:32
    หยุดอยู่นิ่งเมื่อถึงความเร็วที่จุดหนึ่ง
  • 1:32 - 1:36
    ไม่นานหลังจากนั้น
    คำดังกล่าวถูกใช้อธิบายสิ่งที่ตรงข้ามกัน
  • 1:36 - 1:38
    นั่นคือการเคลื่อนที่ที่ปรากฏขึ้นของภาพนิ่ง
  • 1:38 - 1:42
    โดยโจเซฟ พลาทัว แพทย์ชาวเบลเยี่ยม
    ผู้ประดิษฐ์ฟีนากิสสโตสโคป
  • 1:42 - 1:46
    เขาบอกว่าการคงอยู่ของภาพ
    เป็นผลจากภาพติดตาที่ต่อเนื่องกัน
  • 1:46 - 1:49
    ซึ่งถูกคงไว้และถูกรวมกันในจอตา
  • 1:49 - 1:53
    ทำให้เราเชื่อว่าสิ่งที่เรากำลังมองอยู่
    เป็นวัตถุเดี่ยวที่กำลังเคลื่อนไหว
  • 1:53 - 1:56
    คำอธิบายนี้ได้รับการยอมรับแพร่หลาย
    เป็นเวลาหลายทศวรรษต่อมา
  • 1:56 - 1:58
    จนถึงช่วงเปลี่ยนผ่านของศตวรรษที่ 20
  • 1:58 - 2:01
    เมื่อบางคนเริ่มที่จะตั้งคำถามว่า
    มันเกิดอะไรขึ้นในเชิงสรีรวิทยา
  • 2:01 - 2:04
    ในปี ค.ศ. 1912 แมกซ์ เวอร์ ไธเมอร์
    นักจิตวิทยาชาวเยอรมัน
  • 2:04 - 2:07
    วางกรอบสถานะหลักพื้นฐาน
    ของการเคลื่อนไหวที่ปรากฏ
  • 2:07 - 2:09
    โดยใช้ภาพลวงตาง่าย ๆ
  • 2:09 - 2:11
    การทดลองเหล่านี้ ทำให้เขาสรุปได้ว่า
  • 2:11 - 2:15
    ปรากฏการณ์นี้เกิดขึ้นเนื่องจาก
    กระบวนการซึ่งเกิดอยู่หลังจอตา
  • 2:16 - 2:18
    ในปี ค.ศ. 1915 ฮิวโก มวนสเตอร์เบิร์ก
  • 2:18 - 2:20
    ผู้บุกเบิกสาขาจิตวิทยาประยุกต์
    ลูกครึ่งชาวเยอรมัน-อเมริกัน
  • 2:20 - 2:23
    ก็ระบุว่าการเคลื่อนไหวที่ปรากฏขึ้น
    ของภาพที่ต่อเนื่องกัน
  • 2:23 - 2:25
    ไม่ได้เกิดจากการที่มันถูกคงเอาไว้ในตา
  • 2:26 - 2:28
    แต่มันถูกเพิ่มเข้าไปโดยการกระทำของสมอง
  • 2:30 - 2:32
    อีกศตวรรษต่อมา การทดลองโดยนักสรีรวิทยา
  • 2:32 - 2:34
    ได้ยืนยันผลสรุปของพวกเขา
  • 2:35 - 2:37
    ด้วยความเกี่ยวข้องกับภาพลวงตา
    ของภาพที่เคลื่อนไหว
  • 2:37 - 2:40
    ทำให้ภาพติดตา
    ไม่ได้เกี่ยวกับการมองเห็นสักเท่าไร
  • 2:40 - 2:42
    แต่เกี่ยวกับการถูกตีความในสมองมากกว่า
  • 2:42 - 2:45
    นักวิจัยได้แสดงให้เห็นว่ามุมมองที่ต่างกัน
    ของสิ่งที่ตามองเห็น
  • 2:45 - 2:49
    เช่น รูปร่าง สี ความลึก และการเคลื่อนไหว
  • 2:49 - 2:51
    ถูกส่งต่อไปยังบริเวณที่แตกต่างกัน
    ของคอร์เท็กซ์ส่วนการมองเห็น
  • 2:51 - 2:53
    ผ่านวิถีที่แตกต่างกันจากจอตา
  • 2:53 - 2:55
    มันเป็นปฏิสัมพันธ์ต่อเนื่อง
  • 2:55 - 2:57
    ของการคำนวณต่าง ๆ
    ในคอร์เท็กซ์ส่วนการมองเห็น
  • 2:57 - 2:59
    ที่เชื่อมมุมมองต่าง ๆ เหล่านั้นเข้าด้วยกัน
  • 2:59 - 3:01
    และตกตะกอนมาเป็นความเข้าใจ
  • 3:01 - 3:03
    สมองของเราทำงานตลอดเวลา
  • 3:03 - 3:06
    ประสานสิ่งที่เราเห็น ได้ยิน ได้กลิ่น
    และสัมผัส
  • 3:06 - 3:07
    เป็นประสบการณ์ที่มีความหมาย
  • 3:07 - 3:10
    ในแต่ละวินาทีที่กำลังดำเนินอยู่
  • 3:10 - 3:13
    ฉะนั้น เพื่อที่จะสร้างภาพลวงตา
    ของการเคลื่อนไหวของภาพต่อเนื่อง
  • 3:13 - 3:15
    เราต้องกำหนดให้เวลาระหว่างช่วง
  • 3:15 - 3:18
    ใกล้เคียงกับความเร็วที่สมองของเรา
    ใช้ประมวลสิ่งที่กำลังเกิดขึ้น
  • 3:19 - 3:22
    แล้วสิ่งที่กำลังเกิดขึ้นสำหรับสมอง
    มีความเร็วแค่ไหนกัน
  • 3:22 - 3:23
    เราสามารถรู้ได้คร่าว ๆ
  • 3:23 - 3:26
    โดยการวัดว่า
    ภาพจะต้องเปลี่ยนไปเร็วแค่ไหน
  • 3:26 - 3:27
    เพื่อให้ภาพลวงตาเกิดขึ้น
  • 3:27 - 3:30
    ลองมาดูกันว่า เราจะรู้ไหม
    ถ้าเราลองทำการทดลองอีกครั้ง
  • 3:30 - 3:34
    นี่คือลำดับภาพที่ปรากฏ
    ในอัตราหนึ่งภาพต่อสองวินาที
  • 3:34 - 3:36
    โดยมีช่วงมืดหนึ่งวินาทีขั้นอยู่
  • 3:36 - 3:38
    ด้วยอัตราเร็วนี้
  • 3:38 - 3:40
    และช่วงเว้นที่แยกระหว่างภาพ
  • 3:40 - 3:42
    เราไม่ได้รับรู้ถึงการเคลื่อนไหว
  • 3:42 - 3:44
    เมื่อเราลดช่วงเว้น
  • 3:44 - 3:47
    เราเห็นการเปลี่ยนตำแหน่งเล็กน้อยได้ชัดขึ้น
  • 3:47 - 3:49
    และเราก็จะเริ่มเห็นการเคลื่อนไหวบ้าง
  • 3:50 - 3:51
    ระหว่างภาพที่แตกต่างกัน
  • 3:51 - 3:53
    หนึ่งภาพต่อวินาที
  • 3:56 - 3:57
    สองภาพต่อวินาที
  • 3:59 - 4:01
    สี่ภาพต่อวินาที
  • 4:02 - 4:05
    ที่นี้เราเริ่มรู้สึกได้ถึงการเคลื่อนไหว
  • 4:05 - 4:07
    แต่มันก็ยังไม่เนียนเท่าไร
  • 4:07 - 4:10
    เรายังรู้สึกอยู่ดีว่า
    เรากำลังมองภาพที่ไม่ต่อเนื่องกันอยู่
  • 4:10 - 4:12
    ลองมาทำให้เร็วขึ้นเป็น แปดภาพต่อวินาที
  • 4:14 - 4:16
    12 ภาพต่อวินาที
  • 4:17 - 4:18
    เหมือนว่าเราจะได้แล้ว
  • 4:21 - 4:25
    ที่ 24 ภาพต่อวินาที
    การเคลื่อนที่ดูแนบเนียนกว่าอีก
  • 4:25 - 4:27
    นี่คือความเร็วสูงสุดตามมาตรฐาน
  • 4:28 - 4:31
    ฉะนั้น จุดที่เราสูญเสียการรับรู้ความไม่ต่อเนื่อง
  • 4:31 - 4:32
    และเริ่มเห็นภาพเคลื่อนไหว
  • 4:32 - 4:35
    เริ่มที่ราว ๆ แปด ถึง 12 ภาพต่อวินาที
  • 4:36 - 4:39
    นี่คือสภาพแวดล้อม
    ที่วิทยาศาสตร์ได้บอกเราว่า
  • 4:39 - 4:41
    มันเป็นกรอบความสามารถการรับรู้ของเรา
  • 4:41 - 4:42
    ในการมองเห็นภาพที่ไม่ต่อเนื่องกัน
  • 4:42 - 4:45
    หรือพูดได้ว่าเรากำลังพ่าย
    ต่อความสามารถในการการรับรู้
  • 4:45 - 4:47
    ที่ช่วงเว้นประมาณ
    100 มิลลิวินาทีต่อภาพ
  • 4:47 - 4:50
    ซึ่งเท่ากับอัตราภาพ
    ที่ประมาณสิบภาพต่อวินาที
  • 4:50 - 4:52
    เมื่ออัตราภาพเพิ่มขึ้น
  • 4:52 - 4:54
    เราสูญเสียความสามารถในการรับรู้
    ความไม่ต่อเนื่องอย่างสิ้นเชิง
  • 4:54 - 4:57
    และเชื่อว่าภาพลวงตา
    เป็นความจริงได้อย่างสนิทใจกว่า
Title:
พื้นฐานแอนิเมชั่น: ภาพลวงตาของการเคลื่อนไหว - TED-Ed
Description:

ชมบทเรียนเต็มได้ที่: http://ed.ted.com/lessons/animation-basics-the-optical-illusion-of-motion-ted-ed

นักสร้างภาพเคลื่อนไหวปลุกชีวิตให้ภาพนิ่งได้อย่างไร ภาพเหล่านี้เคลื่อนที่ได้จริง ๆ หรือพวกมันก็แค่ภาพลวงตา TED-Ed นำคุณสู่เบื้องหลังเพื่อเผยถึงความลับของการเคลื่อนไหวในภาพยนต์

บทเรียนและแอนิเมชั่นโดย TED-Ed

more » « less
Video Language:
English
Team:
closed TED
Project:
TED-Ed
Duration:
05:12

Thai subtitles

Revisions