นำชุดภาพนิ่งที่ต่อเนื่องกันมา
มองดูพวกมันทีละภาพ
เร็วขึ้น
ทีนี้เอาจังหวะเว้นออกไป
เร็วขึ้นอีก
รอสักครู่ ...
เย่!
ภาพเคลื่อนไหว!
ทำไมถึงเป็นเช่นนั้น
ลองคิดดูสักนิด เราก็จะรู้ว่า
เรากำลังมองชุดภาพนิ่งอยู่
แต่ถ้าเราเห็นพวกมันเปลี่ยนไปอย่างรวดเร็วพอ
มันจะเกิดภาพลวงตาเป็นภาพเดี่ยวที่คงอยู่
ที่ค่อย ๆ เปลี่ยนรูปร่างและตำแหน่ง
ผลที่เกิดขึ้นนี้คือพื้นฐาน
ของเทคโนโลยีภาพเคลื่อนไหวทั้งหมด
ตั้งแต่จอ LED ในปัจจุบัน
ไปจนถึงบรรพบุรุษรังสีคาโทด
จากศตวรรษที่ 20 ของมัน
จากการฉายฟิล์มภาพยนต์ในโรงหนัง
ไปจนถึงของเล่นใหม่ ๆ
ยิ่งกว่านั้น ว่ากันว่า
มันมีมาตั้งแต่สมัยยุคหิน
เมื่อคนเริ่มวาดภาพในถ้ำ
ปรากฏการณ์การรับรู้การเคลื่อนไหว
ของภาพต่อเนื่องที่ปรากฏนี้
เกิดจากลักษณะการรับรู้ของมนุษย์เรา
ที่แต่เดิมเรียกว่า "ภาพติดตา"
คำที่ถูกประดิษฐ์ขึ้น
โดยแพทย์ลูกครึ่งชาวอังกฤษสวิส
ชื่อว่า ปีเตอร์ มาร์ค โรเก็ต
ช่วงต้นศตวรรษที่ 19
เขาใช้คำดังกล่าว
อธิบายความผิดปกติของตา
ที่ทำให้เห็นวัตถุที่กำลังเคลื่อนที่
หยุดอยู่นิ่งเมื่อถึงความเร็วที่จุดหนึ่ง
ไม่นานหลังจากนั้น
คำดังกล่าวถูกใช้อธิบายสิ่งที่ตรงข้ามกัน
นั่นคือการเคลื่อนที่ที่ปรากฏขึ้นของภาพนิ่ง
โดยโจเซฟ พลาทัว แพทย์ชาวเบลเยี่ยม
ผู้ประดิษฐ์ฟีนากิสสโตสโคป
เขาบอกว่าการคงอยู่ของภาพ
เป็นผลจากภาพติดตาที่ต่อเนื่องกัน
ซึ่งถูกคงไว้และถูกรวมกันในจอตา
ทำให้เราเชื่อว่าสิ่งที่เรากำลังมองอยู่
เป็นวัตถุเดี่ยวที่กำลังเคลื่อนไหว
คำอธิบายนี้ได้รับการยอมรับแพร่หลาย
เป็นเวลาหลายทศวรรษต่อมา
จนถึงช่วงเปลี่ยนผ่านของศตวรรษที่ 20
เมื่อบางคนเริ่มที่จะตั้งคำถามว่า
มันเกิดอะไรขึ้นในเชิงสรีรวิทยา
ในปี ค.ศ. 1912 แมกซ์ เวอร์ ไธเมอร์
นักจิตวิทยาชาวเยอรมัน
วางกรอบสถานะหลักพื้นฐาน
ของการเคลื่อนไหวที่ปรากฏ
โดยใช้ภาพลวงตาง่าย ๆ
การทดลองเหล่านี้ ทำให้เขาสรุปได้ว่า
ปรากฏการณ์นี้เกิดขึ้นเนื่องจาก
กระบวนการซึ่งเกิดอยู่หลังจอตา
ในปี ค.ศ. 1915 ฮิวโก มวนสเตอร์เบิร์ก
ผู้บุกเบิกสาขาจิตวิทยาประยุกต์
ลูกครึ่งชาวเยอรมัน-อเมริกัน
ก็ระบุว่าการเคลื่อนไหวที่ปรากฏขึ้น
ของภาพที่ต่อเนื่องกัน
ไม่ได้เกิดจากการที่มันถูกคงเอาไว้ในตา
แต่มันถูกเพิ่มเข้าไปโดยการกระทำของสมอง
อีกศตวรรษต่อมา การทดลองโดยนักสรีรวิทยา
ได้ยืนยันผลสรุปของพวกเขา
ด้วยความเกี่ยวข้องกับภาพลวงตา
ของภาพที่เคลื่อนไหว
ทำให้ภาพติดตา
ไม่ได้เกี่ยวกับการมองเห็นสักเท่าไร
แต่เกี่ยวกับการถูกตีความในสมองมากกว่า
นักวิจัยได้แสดงให้เห็นว่ามุมมองที่ต่างกัน
ของสิ่งที่ตามองเห็น
เช่น รูปร่าง สี ความลึก และการเคลื่อนไหว
ถูกส่งต่อไปยังบริเวณที่แตกต่างกัน
ของคอร์เท็กซ์ส่วนการมองเห็น
ผ่านวิถีที่แตกต่างกันจากจอตา
มันเป็นปฏิสัมพันธ์ต่อเนื่อง
ของการคำนวณต่าง ๆ
ในคอร์เท็กซ์ส่วนการมองเห็น
ที่เชื่อมมุมมองต่าง ๆ เหล่านั้นเข้าด้วยกัน
และตกตะกอนมาเป็นความเข้าใจ
สมองของเราทำงานตลอดเวลา
ประสานสิ่งที่เราเห็น ได้ยิน ได้กลิ่น
และสัมผัส
เป็นประสบการณ์ที่มีความหมาย
ในแต่ละวินาทีที่กำลังดำเนินอยู่
ฉะนั้น เพื่อที่จะสร้างภาพลวงตา
ของการเคลื่อนไหวของภาพต่อเนื่อง
เราต้องกำหนดให้เวลาระหว่างช่วง
ใกล้เคียงกับความเร็วที่สมองของเรา
ใช้ประมวลสิ่งที่กำลังเกิดขึ้น
แล้วสิ่งที่กำลังเกิดขึ้นสำหรับสมอง
มีความเร็วแค่ไหนกัน
เราสามารถรู้ได้คร่าว ๆ
โดยการวัดว่า
ภาพจะต้องเปลี่ยนไปเร็วแค่ไหน
เพื่อให้ภาพลวงตาเกิดขึ้น
ลองมาดูกันว่า เราจะรู้ไหม
ถ้าเราลองทำการทดลองอีกครั้ง
นี่คือลำดับภาพที่ปรากฏ
ในอัตราหนึ่งภาพต่อสองวินาที
โดยมีช่วงมืดหนึ่งวินาทีขั้นอยู่
ด้วยอัตราเร็วนี้
และช่วงเว้นที่แยกระหว่างภาพ
เราไม่ได้รับรู้ถึงการเคลื่อนไหว
เมื่อเราลดช่วงเว้น
เราเห็นการเปลี่ยนตำแหน่งเล็กน้อยได้ชัดขึ้น
และเราก็จะเริ่มเห็นการเคลื่อนไหวบ้าง
ระหว่างภาพที่แตกต่างกัน
หนึ่งภาพต่อวินาที
สองภาพต่อวินาที
สี่ภาพต่อวินาที
ที่นี้เราเริ่มรู้สึกได้ถึงการเคลื่อนไหว
แต่มันก็ยังไม่เนียนเท่าไร
เรายังรู้สึกอยู่ดีว่า
เรากำลังมองภาพที่ไม่ต่อเนื่องกันอยู่
ลองมาทำให้เร็วขึ้นเป็น แปดภาพต่อวินาที
12 ภาพต่อวินาที
เหมือนว่าเราจะได้แล้ว
ที่ 24 ภาพต่อวินาที
การเคลื่อนที่ดูแนบเนียนกว่าอีก
นี่คือความเร็วสูงสุดตามมาตรฐาน
ฉะนั้น จุดที่เราสูญเสียการรับรู้ความไม่ต่อเนื่อง
และเริ่มเห็นภาพเคลื่อนไหว
เริ่มที่ราว ๆ แปด ถึง 12 ภาพต่อวินาที
นี่คือสภาพแวดล้อม
ที่วิทยาศาสตร์ได้บอกเราว่า
มันเป็นกรอบความสามารถการรับรู้ของเรา
ในการมองเห็นภาพที่ไม่ต่อเนื่องกัน
หรือพูดได้ว่าเรากำลังพ่าย
ต่อความสามารถในการการรับรู้
ที่ช่วงเว้นประมาณ
100 มิลลิวินาทีต่อภาพ
ซึ่งเท่ากับอัตราภาพ
ที่ประมาณสิบภาพต่อวินาที
เมื่ออัตราภาพเพิ่มขึ้น
เราสูญเสียความสามารถในการรับรู้
ความไม่ต่อเนื่องอย่างสิ้นเชิง
และเชื่อว่าภาพลวงตา
เป็นความจริงได้อย่างสนิทใจกว่า