< Return to Video

ประสาทวิทยาแห่งจินตนาการ - อันเดรย์ วิเชดสกี (Andrey Vyshedskiy)

  • 0:08 - 0:12
    ลองนึกดูสักเดี๋ยวสิ
    เป็ดที่สอนวิชาภาษาฝรั่งเศส
  • 0:12 - 0:15
    การแข่งขันปิงปองในวงโคจรรอบ ๆ หลุมดำ
  • 0:15 - 0:18
    โลมากำลังเลี้ยงลูกสับปะรด
  • 0:18 - 0:21
    คุณอาจไม่เคยเห็นสิ่งเหล่านี้จริง ๆ
  • 0:21 - 0:24
    แต่คุณก็สามารถจินตนาการตามได้โดยทันที
  • 0:24 - 0:28
    สมองของคุณผลิตภาพ
    ที่คุณไม่เคยเห็นมาก่อนได้อย่างไร
  • 0:28 - 0:29
    นั่นอาจฟังดูไม่ยากเลย
  • 0:29 - 0:32
    แต่นั่นเป็นเพียงเพราะ
    เราคุ้นเคยกับมันเป็นอย่างดี
  • 0:32 - 0:35
    กลายเป็นว่า อันที่จริงแล้ว
    นี่เป็นปัญหาที่ซับซ้อน
  • 0:35 - 0:39
    ที่ต้องการการเชื่อมต่อสุดอัศจรรย์
    ภายในสมองของคุณ
  • 0:39 - 0:42
    นั่นเป็นเพราะว่า เพื่อรังสรรค์ภาพใหม่
    อันแปลกตาเหล่านี้
  • 0:42 - 0:47
    สมองของคุณจะต้องนำชิ้นส่วนที่คุ้นเคย
    มาประกอบเข้าด้วยกันในแบบใหม่
  • 0:47 - 0:50
    เหมือนกับภาพปะติด
    ที่เกิดจากส่วนต่าง ๆ ของภาพถ่าย
  • 0:50 - 0:53
    สมองจะต้องเล่นกับทะเล
    แห่งสัญญาณไฟฟ้านับล้าน
  • 0:53 - 0:58
    โดยนำพวกมันทั้งหมด
    ไปยังปลายทางให้ถูกเวลา
  • 0:58 - 1:00
    เมื่อคุณมองดูที่วัตถุ
  • 1:00 - 1:04
    เซลล์ประสาทนับพัน
    ในคอร์เทกซ์ส่วนหลังก็ทำงาน
  • 1:04 - 1:07
    เซลล์ประสาทเหล่านี้เข้ารหัส
    ลักษณะต่าง ๆ ของวัตถุ เช่น
  • 1:07 - 1:11
    ความแหลม, ผลไม้, สีน้ำตาล,
    สีเขียว และสีเหลือง
  • 1:11 - 1:16
    การส่งสัญญาณที่สอดประสานกันนี้
    เน้นการเชื่อมต่อระหว่างชุดของเซลล์ประสาท
  • 1:16 - 1:20
    โดยเชื่อมต่อพวกมันเข้าด้วยกัน
    ดังที่เรียกว่า กลุ่มเซลล์ประสาท
  • 1:20 - 1:22
    ในกรณีก็คือ สับปะรดหนึ่งผล
  • 1:22 - 1:25
    ในประสาทวิทยา เราเรียกสิ่งนี้ว่า
    "หลักการของเฮบบ์" (Hebbian principle)
  • 1:25 - 1:29
    เซลล์ประสาทที่ส่งสัญญาณด้วยกัน
    มาเชื่อมต่อเข้าด้วยกัน
  • 1:29 - 1:31
    ถ้าคุณพยายามจินตนาการ
    ถึงสับปะรดในเวลาต่อมา
  • 1:31 - 1:36
    กลุ่มเซลล์ประสาททั้งหมดนี้ก็จะทำงาน
    และรวมภาพทางความคิดที่สมบูรณ์ขึ้นมา
  • 1:36 - 1:39
    โลมาถูกเข้ารหัสด้วยกลุ่มเซลล์ประสาท
    ที่แตกต่างกันไป
  • 1:39 - 1:41
    อันที่จริง วัตถุทุกอย่างที่คุณเคยเห็น
  • 1:41 - 1:45
    ถูกเข้ารหัสโดยกลุ่มเซลล์ประสาท
    ที่มีความเกี่ยงข้องกับมัน
  • 1:45 - 1:49
    เซลล์ประสาทถูกเชื่อมโยงเข้าด้วยกัน
    โดยการส่งสัญญาณที่สอดคล้องกัน
  • 1:49 - 1:53
    แต่หลักการนี้ไม่ได้อธิบาย
    จำนวนที่ไม่จำกัดของวัตถุ
  • 1:53 - 1:57
    ที่เราสามารถเนรมิตจินตภาพขึ้นมาได้
    โดยไม่ต้องเห็นมันมาก่อน
  • 1:57 - 2:02
    กลุ่มเซลล์ประสาทสำหรับกรณีของโลมา
    ที่เลี้ยงลูกสับปะรดอยู่นั้น ไม่ได้มีอยู่
  • 2:02 - 2:05
    แล้วคุณจินตนาการถึงมันได้อย่างไร
  • 2:05 - 2:08
    สมมติฐานหนึ่งที่เรียกว่า
    "ทฤษฎีการสังเคราะห์ทางความคิด"
  • 2:08 - 2:11
    กล่าวว่า เวลาเป็นกุญแจสำคัญ
    เช่นเดียวกับทฤษฎีก่อนหน้านี้
  • 2:11 - 2:14
    ถ้ากลุ่มเซลล์ประสาท
    สำหรับโลมาและสับปะรด
  • 2:14 - 2:16
    ถูกกระตุ้นในคราวเดียวกัน
  • 2:16 - 2:21
    เราสามารถรับรู้วัตถุทั้งสองได้
    ในลักษณะที่เป็นภาพเดียวกัน
  • 2:21 - 2:24
    แต่บางสิ่งในสมองของคุณ
    จะต้องประสานการส่งสัญญาณ
  • 2:24 - 2:28
    บริเวณที่น่าจะมีบทบาทก็คือ
    คอร์เทกซ์ส่วนพรีฟรอนทอล
  • 2:28 - 2:31
    ซึ่งเป็นสมองส่วนที่ทำงานเกี่ยวข้อง
    กับการจดจำที่ซับซ้อนทั้งหมด
  • 2:31 - 2:35
    เซลล์ประสาทในคอร์เทกซ์ส่วนพรีฟรอนทอล
    เชื่อมต่อกับคอร์เทกซ์ส่วนหลัง
  • 2:35 - 2:40
    ด้วยใยประสาท ซึ่งเป็นเซลล์ยาว ๆ
    เหมือนกับเส้นใยที่ยื่นแขนงออกไป
  • 2:40 - 2:44
    ทฤษฎีการสังเคราะห์ทางความคิดเสนอว่า
    เช่นเดียวกับที่นักเชิดหุ่นกระบอกดึงคันชักหุ่น
  • 2:44 - 2:48
    เซลล์ประสาทในคอร์เทกซ์ส่วนพรีฟรอนทอล
    จะส่งสัญญาณไฟฟ้า
  • 2:48 - 2:50
    ลงไปตามใยประสาท
  • 2:50 - 2:53
    ไปยังกลุ่มเซลล์ประสาททั้งหลาย
    ในคอร์เทกซ์ส่วนหลัง
  • 2:53 - 2:56
    สิ่งนี้กระตุ้นพวกมันไปพร้อม ๆ กัน
  • 2:56 - 2:59
    ถ้ากลุ่มเซลล์ประสาท
    ถูกกระตุ้นการทำงานในคราวเดียวกัน
  • 2:59 - 3:04
    คุณก็จะได้สัมผัสกับภาพประกอบ
    ราวกับว่าคุณได้เห็นมันจริง ๆ
  • 3:04 - 3:07
    การประสานงานอย่างจงใจ
    ในภาวะที่เรามีสติรู้สึกตัว
  • 3:07 - 3:10
    ของกลุ่มเซลล์ประสาทต่าง ๆ
    โดยคอร์เทกซ์ส่วนพรีฟรอนทอลนี้
  • 3:10 - 3:12
    เรียกว่า การสังเคราะห์ทางความคิด
  • 3:12 - 3:14
    เพื่อที่จะใช้งาน
    การสังเคราะห์ทางความคิดนี้
  • 3:14 - 3:19
    สัญญาณน่าจะต้องไปถึง
    กลุ่มเซลล์ประสาททั้งสองในเวลาเดียวกัน
  • 3:19 - 3:21
    ปัญหาก็คือ เซลล์ประสาทบางเซลล์
  • 3:21 - 3:25
    อยู่ไกลจากคอร์เทกซ์ส่วนพรีฟรอนทอล
    ออกไปมากเมื่อเทียบกับเซลล์ประสาทอื่น
  • 3:25 - 3:28
    ถ้าสัญญาณเดินทางไปตามใยประสาท
    ในอัตราความเร็วที่เท่ากัน
  • 3:28 - 3:31
    พวกมันก็จะไปถึงไม่พร้อมกัน
  • 3:31 - 3:34
    คุณไม่สามารถเปลี่ยนความยาว
    ของการเชื่อมต่อได้
  • 3:34 - 3:37
    แต่สมองของคุณ โดยเฉพาะอย่างยิ่ง
    ขณะที่กำลังพัฒนาอยู่ในช่วงวัยเด็ก
  • 3:37 - 3:41
    มีวิธีการเปลี่ยนความเร็วการนำสัญญาณ
  • 3:41 - 3:46
    ใยประสาทถูกหุ้มอยู่ในสารจำพวกไขมัน
    ที่เรียกว่า "ไมอิลิน"
  • 3:46 - 3:47
    ไมอิลินนั้นเป็นฉนวน
  • 3:47 - 3:52
    และเร่งความเร็วสัญญาณไฟฟ้า
    ให้เผ่นลงไปตามใยประสาท
  • 3:52 - 3:56
    ใยประสาทบางแห่ง
    มีชั้นไมอิลินมากถึง 100 ชั้น
  • 3:56 - 3:58
    บางบริเวณอาจมีเพียงไม่กี่ชั้น
  • 3:58 - 4:00
    ใยประสาทชนิดที่มีชั้นไมอิลินหนา
  • 4:00 - 4:04
    สามารถที่จะนำสัญญาณ
    ได้เร็วกว่าใยประสาทที่มีชั้นไมอิลินบางกว่า
  • 4:04 - 4:07
    ถึง 100 เท่าหรือมากกว่านั้น
  • 4:07 - 4:10
    ในปัจจุบันนักวิทยาศาสตร์บางคนคิดว่า
    การสร้างชั้นไมอิลินที่แตกต่างกันนี้
  • 4:10 - 4:14
    อาจเป็นกุญแจสำคัญที่ทำให้เวลา
    ในการส่งสัญญาณในสมองมีความเป็นเอกภาพ
  • 4:14 - 4:17
    และส่งผลต่อความสามารถ
    ในการสังเคราะห์ทางความคิดของเรา
  • 4:17 - 4:20
    การสร้างชั้นไมอิลินส่วนใหญ่
    เกิดขึ้นในวัยเด็ก
  • 4:20 - 4:22
    ฉะนั้น ครั้งยังวัยเยาว์
  • 4:22 - 4:26
    จินตนาการอันสุดบรรเจิดของเรา
    อาจมีบทบาทในการก่อร่างสร้างสมองของเรา
  • 4:26 - 4:28
    ซึ่งเส้นการเชื่อมต่อที่ถูกห่อหุ้มด้วยชั้นไมอิลิน
    อย่างประณีตบรรจง
  • 4:28 - 4:32
    สามารถประดิษฐ์มโหรีแห่งความสร้างสรรค์
    ไปชั่วชีวิตของเราได้
Title:
ประสาทวิทยาแห่งจินตนาการ - อันเดรย์ วิเชดสกี (Andrey Vyshedskiy)
Speaker:
Andrey Vyshedskiy
Description:

ชมบทเรียนเต็มที่: http://ed.ted.com/lessons/the-neuroscience-of-imagination-andrey-vyshedskiy

ลองนึกดูสักเดี๋ยวสิ เป็ดที่สอนวิชาภาษาฝรั่งเศส การแข่งขันปิงปองในวงโคจรรอบ ๆ หลุมดำ โลมากำลังเลี้ยงลูกสับปะรด คุณอาจไม่เคยเห็นสิ่งเหล่านี้จริง ๆ แต่คุณสามารถจินตนาการตามได้โดยทันที สมองของคุณผลิตภาพที่คุณไม่เคยเห็นมาก่อนได้อย่างไร อันเดรย์ วิเชดสกี ให้รายละเอียดเกี่ยวกับประสาทวิทยาแห่งจินตนาการ

บทเรียนโดย Andrey Vyshedskiy, แอนิเมชันโดย Tomás Pichardo-Espaillat

more » « less
Video Language:
English
Team:
closed TED
Project:
TED-Ed
Duration:
04:49
Kelwalin Dhanasarnsombut approved Thai subtitles for The neuroscience of imagination Mar 27, 2017, 1:47 AM
Retired user accepted Thai subtitles for The neuroscience of imagination Mar 26, 2017, 12:34 PM
Retired user edited Thai subtitles for The neuroscience of imagination Mar 26, 2017, 12:34 PM
Kelwalin Dhanasarnsombut edited Thai subtitles for The neuroscience of imagination Mar 26, 2017, 11:57 AM
Retired user declined Thai subtitles for The neuroscience of imagination Mar 24, 2017, 1:05 PM
Retired user edited Thai subtitles for The neuroscience of imagination Mar 24, 2017, 1:05 PM
Retired user edited Thai subtitles for The neuroscience of imagination Mar 24, 2017, 12:12 PM
Retired user edited Thai subtitles for The neuroscience of imagination Mar 24, 2017, 11:23 AM
Show all

Thai subtitles

Revisions

  • Revision 8 Edited
    Retired user Mar 26, 2017, 12:34 PM