Return to Video

ตาบอดที่รักษาให้หายได้ - แอนดรู บาสทอรัส (Andrew Bastawrous)

  • 0:07 - 0:13
    ประมาณ 20 ล้านรายของการตาบอดทั่วโลก
    เกิดจากต้อกระจก
  • 0:13 - 0:19
    โรคที่รักษาให้หายได้
    ซึ่งเกิดจากจากเลนส์รวมแสงเป็นภาพลงบนจอตา
  • 0:19 - 0:24
    ต้อกระจกเกิดขึ้นเมื่อโปรตีนในเลนส์สูญเสีย
    การจัดเรียงตัวตามปกติของมัน
  • 0:24 - 0:28
    และจับตัวกันจนทำให้สีเปลี่ยนแปลงไป
    หรือเกิดการขุ่น
  • 0:28 - 0:30
    และในที่สุดก็จะบังการมองเห็นเกือบทั้งหมด
  • 0:30 - 0:33
    ต้อกระจกอาจเกิดจากอุบัติเหตุที่ดวงตา
  • 0:33 - 0:34
    ยาบางชนิด
  • 0:34 - 0:36
    รังสีอัลตร้าไวโอเลต
  • 0:36 - 0:37
    เบาหวาน
  • 0:37 - 0:38
    การสูบบุหรี่
  • 0:38 - 0:40
    หรือโรคทางพันธุกรรมบางชนิด
  • 0:40 - 0:43
    แต่สาเหตุที่พบบ่อยที่สุดคือความชรา
  • 0:43 - 0:48
    ในอเมริกา กว่า50%ของคนที่อายุมากกว่า 80 ปี
    เป็นต้อกระจก
  • 0:48 - 0:53
    มีการรักษาต้อกระจกกว่า 2,500 ปีแล้ว
    ในอินเดีย
  • 0:53 - 0:56
    แต่การรักษาแบบเดียวกันนี้
    อาจเกิดขึ้นก่อนหน้านั้นอีก
  • 0:56 - 0:59
    ในอียิปต์โบราณและบาบิโลน
  • 0:59 - 1:01
    การรักษาที่พบบ่อยที่สุดคือ
    การใช้เข็มเขี่ยต้อกระจก
  • 1:01 - 1:04
    เป็นการใช้อุปกรณ์แหลมๆแทงเข้าไปในลูกตา
  • 1:04 - 1:08
    เพื่อให้เลนส์ที่ขุ่นหลุดออก
    และดันมันออกไปให้พ้นทาง
  • 1:08 - 1:11
    แม้ว่าวิธีนี้จะทำให้ปริมาณแสง
    เข้าไปในตามากขึ้น
  • 1:11 - 1:16
    แต่การไม่มีเลนส์ทำให้
    สายตาของผู้ป่วยมองไม่ชัด
  • 1:16 - 1:20
    ถึงอัตราความสำเร็จจะต่ำและมีความเสี่ยง
    ในการเกิดอันตรายหรือติดเชื้อสูง
  • 1:20 - 1:23
    การเขี่ยเลนส์ก็ยังมีทำกันอยู่ในบางส่วนของโลก
  • 1:23 - 1:27
    การรักษาในช่วงหลัง
    มุ่งไปที่การเอาเลนส์ที่ขุ่นออก
  • 1:27 - 1:32
    เช่น การเปิดแผลที่กระจกตา
    เพื่อเอาเลนส์ออก
  • 1:32 - 1:35
    พร้อมกับถุงหุ้มเลนส์ที่หุ้มมันอยู่
  • 1:35 - 1:40
    ในขณะที่การประดิษฐ์คิดค้นแว่นตา
    ช่วยทำให้สายตากลับคืนมาบางส่วน
  • 1:40 - 1:43
    แต่แว่นมันต้องหนามากๆเลยถึงจะมองเห็น
  • 1:43 - 1:46
    ยิ่งกว่านั้น วิธีนี้ยังทำให้เกิดผลแทรกซ้อน
  • 1:46 - 1:48
    เช่น อันตรายต่อจอตา
  • 1:48 - 1:51
    หรือ เคืองตาจากไหมเย็บ
  • 1:51 - 1:54
    แต่ในศตวรรษที่ 20
    สิ่งที่ไม่คาดคิดก็ได้เกิดขึ้น
  • 1:54 - 1:59
    ขณะที่จักษุแพทย์ เซอร์ ฮาโรลด์ ริดเลย์
    รักษาผู้บาดเจ็บในสงครามโลกครั้งที่สอง
  • 1:59 - 2:04
    เขาสังเกตว่าพลาสติคอะครีลิคจากกระจก
    ห้องนักบินที่แตกออกเป็นชิ้นเล็กๆ
  • 2:04 - 2:09
    ที่ค้างอยู่ในตานักบิน
    ไม่ทำให้เกิดปฏิกริยาผิดปกติ
  • 2:09 - 2:15
    นี่ทำให้เขาเสนอการผ่าตัด
    ใส่เลนส์แก้วตาเทียมเข้าไปในตา
  • 2:15 - 2:17
    แทนที่ต้อกระจก
  • 2:17 - 2:19
    และแม้ว่าจะมีการต่อต้านในตอนแรก
  • 2:19 - 2:23
    วิธีนี้ได้กลายเป็นการรักษามาตรฐาน
    ในทศวรรษที่ 1980
  • 2:23 - 2:25
    นับแต่การค้นพบของริดเลย์
  • 2:25 - 2:29
    เลนส์แก้วตาเทียมได้มีการพัฒนาขึ้น
    อย่างมาก
  • 2:29 - 2:32
    เลนส์สมัยใหม่สามารถใส่เข้าไปใน
    ถุงหุ้มเลนส์
  • 2:32 - 2:34
    ที่ต้อกระจกถูกนำออกมา
  • 2:34 - 2:38
    ทำให้ตามมีสภาพใกล้เคียงธรรมชาติมากขึ้น
  • 2:38 - 2:41
    และความสามารถการปรับ
    ความโค้งของเลนส์อย่างละเอียด
  • 2:41 - 2:44
    ทำให้การผ่าตัดสามารถคืนสายตาปกติ
    ให้ผู้ป่วย
  • 2:44 - 2:46
    โดยไม่ต้องใช้แว่น
  • 2:46 - 2:50
    แน่นอนล่ะ วิธีการผ่าตัด
    ก็ก้าวหน้าขึ้นด้วย
  • 2:50 - 2:53
    การผ่าตัดโดยกล้องจุลทรรศน์
    ใช้เครื่องมือผ่าตัดเล็กๆหรือเลเซอร์
  • 2:53 - 2:58
    เพื่อเปิดแผลผ่าตัดขนาดหนึ่งหรือสองมิลลิเมตร
    อย่างแม่นยำที่กระจกตา
  • 2:58 - 3:03
    ในขณะที่หัวอุปกรณ์คลื่นเสียงความถี่สูง
    สลายต้อกระจกและนำมันออกมา
  • 3:03 - 3:06
    โดยเกิดความบอบช้ำกับตาน้อยมากๆ
  • 3:06 - 3:10
    ส่วนวิธีที่ไม่ใช้เทคโนโลยีสมัยใหม่
    ทำให้การผ่าตัดรวดเร็วและไม่แพง
  • 3:10 - 3:14
    ช่วยให้มันแพร่ขยายไป
    ประเทศกำลังพัฒนา
  • 3:14 - 3:17
    สถานที่อย่าง โรงพยาบาลจักษุ
    อาราวินในอินเดีย
  • 3:17 - 3:21
    ได้บุกเบิกการผ่าตัดต้อกระจก
    จำนวนมากโดยมีค่าใช้จ่ายต่ำ
  • 3:21 - 3:23
    เพียงแค่ หกเหรียญสหรัฐ
  • 3:23 - 3:26
    ถ้าอย่างนั้นแล้ว
    ด้วยความก้าวหน้าเหล่านี้
  • 3:26 - 3:29
    ทำไมจึงยังมีผู้คนตาบอดมากมายในโลกล่ะ
  • 3:29 - 3:32
    ประเด็นหลักคือการเข้าถึงบริการสุขภาพ
  • 3:32 - 3:35
    โครงสร้างพื้นฐานที่ไม่ดี
    และการขาดแคลนแพทย์
  • 3:35 - 3:38
    เป็นปัญหาหลักในหลายพื้นที่
  • 3:38 - 3:40
    แต่นี่ไม่ใช่ปัญหาเดียว
  • 3:40 - 3:42
    ในชนบทหลายแห่งที่การศึกษาน้อย
  • 3:42 - 3:47
    การตาบอดมักถูกยอมรับว่า
    เป็นส่วนที่หลีกเลี่ยงไม่ได้จากความชรา
  • 3:47 - 3:50
    ซึ่งทำให้บางคนไม่คิดหาทางรักษา
  • 3:50 - 3:52
    ข้อมูลจึงเป็นสิ่งสำคัญ
  • 3:52 - 3:57
    โครงการชุมชนตระหนักรู้ที่เพิ่มขึ้น
    และการขยายตัวของโทรศัพท์มือถือ
  • 3:57 - 3:58
    หมายถึงว่า คนมากมายเหล่านั้น
  • 3:58 - 4:02
    ที่อาจจะตาบอดไปตลอดชีวิตจากต้อกระจก
  • 4:02 - 4:04
    จะสามารถเข้าถึงบริการได้
  • 4:04 - 4:06
    และสำหรับพวกเขา
    อนาคตอันสดใสก็เห็นได้อยู่ไม่ไกล
Title:
ตาบอดที่รักษาให้หายได้ - แอนดรู บาสทอรัส (Andrew Bastawrous)
Description:

ชมบทเรียนฉบับเต็มได้ที่ : http://ed.ted.com/lessons/a-curable-condition-that-causes-blindness-andrew-bastawrous

ประมาณ 20 ล้านรายของการตาบอดทั้วโลกเกิดจากต้อกระจก โรคที่รักษาให้หายได้ซึ่งทำให้เลนส์ที่รวมแสงให้เกิดภาพบนจอตา แต่ว่าต้อกระจกเกิดขึ้นได้อย่างไร และเราสามารถป้องกันต้อกระจกได้อย่างไร แอนดรู บาสทอรัส เล่าความจริงเกี่ยวกับต้อกระจก

บทเรียนโดย แอนดรู บาสทอรัส แอนิเมชั่น โดย FOX Animation Domination

more » « less
Video Language:
English
Team:
closed TED
Project:
TED-Ed
Duration:
04:23

Thai subtitles

Revisions