ประมาณ 20 ล้านรายของการตาบอดทั่วโลก เกิดจากต้อกระจก โรคที่รักษาให้หายได้ ซึ่งเกิดจากจากเลนส์รวมแสงเป็นภาพลงบนจอตา ต้อกระจกเกิดขึ้นเมื่อโปรตีนในเลนส์สูญเสีย การจัดเรียงตัวตามปกติของมัน และจับตัวกันจนทำให้สีเปลี่ยนแปลงไป หรือเกิดการขุ่น และในที่สุดก็จะบังการมองเห็นเกือบทั้งหมด ต้อกระจกอาจเกิดจากอุบัติเหตุที่ดวงตา ยาบางชนิด รังสีอัลตร้าไวโอเลต เบาหวาน การสูบบุหรี่ หรือโรคทางพันธุกรรมบางชนิด แต่สาเหตุที่พบบ่อยที่สุดคือความชรา ในอเมริกา กว่า50%ของคนที่อายุมากกว่า 80 ปี เป็นต้อกระจก มีการรักษาต้อกระจกกว่า 2,500 ปีแล้ว ในอินเดีย แต่การรักษาแบบเดียวกันนี้ อาจเกิดขึ้นก่อนหน้านั้นอีก ในอียิปต์โบราณและบาบิโลน การรักษาที่พบบ่อยที่สุดคือ การใช้เข็มเขี่ยต้อกระจก เป็นการใช้อุปกรณ์แหลมๆแทงเข้าไปในลูกตา เพื่อให้เลนส์ที่ขุ่นหลุดออก และดันมันออกไปให้พ้นทาง แม้ว่าวิธีนี้จะทำให้ปริมาณแสง เข้าไปในตามากขึ้น แต่การไม่มีเลนส์ทำให้ สายตาของผู้ป่วยมองไม่ชัด ถึงอัตราความสำเร็จจะต่ำและมีความเสี่ยง ในการเกิดอันตรายหรือติดเชื้อสูง การเขี่ยเลนส์ก็ยังมีทำกันอยู่ในบางส่วนของโลก การรักษาในช่วงหลัง มุ่งไปที่การเอาเลนส์ที่ขุ่นออก เช่น การเปิดแผลที่กระจกตา เพื่อเอาเลนส์ออก พร้อมกับถุงหุ้มเลนส์ที่หุ้มมันอยู่ ในขณะที่การประดิษฐ์คิดค้นแว่นตา ช่วยทำให้สายตากลับคืนมาบางส่วน แต่แว่นมันต้องหนามากๆเลยถึงจะมองเห็น ยิ่งกว่านั้น วิธีนี้ยังทำให้เกิดผลแทรกซ้อน เช่น อันตรายต่อจอตา หรือ เคืองตาจากไหมเย็บ แต่ในศตวรรษที่ 20 สิ่งที่ไม่คาดคิดก็ได้เกิดขึ้น ขณะที่จักษุแพทย์ เซอร์ ฮาโรลด์ ริดเลย์ รักษาผู้บาดเจ็บในสงครามโลกครั้งที่สอง เขาสังเกตว่าพลาสติคอะครีลิคจากกระจก ห้องนักบินที่แตกออกเป็นชิ้นเล็กๆ ที่ค้างอยู่ในตานักบิน ไม่ทำให้เกิดปฏิกริยาผิดปกติ นี่ทำให้เขาเสนอการผ่าตัด ใส่เลนส์แก้วตาเทียมเข้าไปในตา แทนที่ต้อกระจก และแม้ว่าจะมีการต่อต้านในตอนแรก วิธีนี้ได้กลายเป็นการรักษามาตรฐาน ในทศวรรษที่ 1980 นับแต่การค้นพบของริดเลย์ เลนส์แก้วตาเทียมได้มีการพัฒนาขึ้น อย่างมาก เลนส์สมัยใหม่สามารถใส่เข้าไปใน ถุงหุ้มเลนส์ ที่ต้อกระจกถูกนำออกมา ทำให้ตามมีสภาพใกล้เคียงธรรมชาติมากขึ้น และความสามารถการปรับ ความโค้งของเลนส์อย่างละเอียด ทำให้การผ่าตัดสามารถคืนสายตาปกติ ให้ผู้ป่วย โดยไม่ต้องใช้แว่น แน่นอนล่ะ วิธีการผ่าตัด ก็ก้าวหน้าขึ้นด้วย การผ่าตัดโดยกล้องจุลทรรศน์ ใช้เครื่องมือผ่าตัดเล็กๆหรือเลเซอร์ เพื่อเปิดแผลผ่าตัดขนาดหนึ่งหรือสองมิลลิเมตร อย่างแม่นยำที่กระจกตา ในขณะที่หัวอุปกรณ์คลื่นเสียงความถี่สูง สลายต้อกระจกและนำมันออกมา โดยเกิดความบอบช้ำกับตาน้อยมากๆ ส่วนวิธีที่ไม่ใช้เทคโนโลยีสมัยใหม่ ทำให้การผ่าตัดรวดเร็วและไม่แพง ช่วยให้มันแพร่ขยายไป ประเทศกำลังพัฒนา สถานที่อย่าง โรงพยาบาลจักษุ อาราวินในอินเดีย ได้บุกเบิกการผ่าตัดต้อกระจก จำนวนมากโดยมีค่าใช้จ่ายต่ำ เพียงแค่ หกเหรียญสหรัฐ ถ้าอย่างนั้นแล้ว ด้วยความก้าวหน้าเหล่านี้ ทำไมจึงยังมีผู้คนตาบอดมากมายในโลกล่ะ ประเด็นหลักคือการเข้าถึงบริการสุขภาพ โครงสร้างพื้นฐานที่ไม่ดี และการขาดแคลนแพทย์ เป็นปัญหาหลักในหลายพื้นที่ แต่นี่ไม่ใช่ปัญหาเดียว ในชนบทหลายแห่งที่การศึกษาน้อย การตาบอดมักถูกยอมรับว่า เป็นส่วนที่หลีกเลี่ยงไม่ได้จากความชรา ซึ่งทำให้บางคนไม่คิดหาทางรักษา ข้อมูลจึงเป็นสิ่งสำคัญ โครงการชุมชนตระหนักรู้ที่เพิ่มขึ้น และการขยายตัวของโทรศัพท์มือถือ หมายถึงว่า คนมากมายเหล่านั้น ที่อาจจะตาบอดไปตลอดชีวิตจากต้อกระจก จะสามารถเข้าถึงบริการได้ และสำหรับพวกเขา อนาคตอันสดใสก็เห็นได้อยู่ไม่ไกล