-
หลักสี่มีศูนย์ราชการ
-
แล้วหลักหนึ่ง หลักสอง หลักสามล่ะ
-
อยู่ที่ไหน มีอะไร
-
สวัสดีค่ะ วิวจากแชนเนล Point of View ค่ะ
-
กลับมาพบกันอีกครั้งนะคะในรายการวิวเอ๋ยบอกข้าเถิดค่ะ
-
รายการที่วิวจะมาตอบคำถามทุกคน
-
ผ่านแฮชแท็กวิวเอ๋ยบอกข้าเถิดนะคะ
-
ซึ่งวันนี้เราได้รับคำถามที่น่าสนใจมากๆเลยค่ะ
-
มาจากคุณ Awat นะคะ เขาถามมาว่า
-
หลักหนึ่ง หลักสอง หลักสามอยู่ที่ไหน
-
วงเล็บเขตหลักสี่นะคะ
-
แปลง่ายๆก็คือ มันมีหลักสี่
-
แล้วหลักหนึ่ง หลักสอง หลักสามล่ะ อยู่ที่ไหน
-
ต้องบอกว่าคำถามนี้เป็นคำถามที่น่าสนใจมากๆค่ะ
-
น่าสนใจถึงขนาดที่ว่าต่อให้เขาลืมติดแฮชแท็กเนี่ย
-
วิวก็ต้องเอามาตอบออกคลิปอยู่ดีนั่นแหละค่ะ
-
ดังนั้นนะคะ พอเห็นคำถามนี้เข้าไป
-
วิวก็จะต้องไปค้นหาข้อมูลอะไรต่างๆ
-
เพื่อมาตอบให้ทุกคนฟัง
-
ที่สำคัญวันนี้วิวไม่ได้จะแค่มาตอบว่า
-
หลักหนึ่ง หลักสอง หลักสามอยู่ไหนนะคะ แต่ว่า
-
วิวจะมาตอบครบทุกหลักเลยทีเดียวค่ะว่า
-
แต่ละหลักอยู่ที่ไหนบ้างนะคะ
-
ดังนั้นพร้อมจะไปฟังเรื่องราวที่ทั้ง
-
สนุกแล้วก็ได้สาระกันรึยังคะ
-
ถ้าพร้อมกันแล้วก็ไปฟังกันเลยค่ะ
-
หลายคนนะคะเมื่อพูดถึงคำว่าหลักสี่เนี่ยก็จะนึกว่า
-
หลักสี่เป็นชื่อเฉพาะค่ะ แล้วก็ไม่ได้คิดว่า
-
เอ๊ มันจะต้องมีหลักหนึ่ง หลักสอง หลักสามอะไรนะคะ
-
แต่สำหรับคนที่คิดมากหน่อย
-
แล้วคิดว่ามันจะต้องมีหลักหนึ่ง หลักสอง หลักสามเนี่ย
-
ก็น่าจะสงสัยกันค่ะว่า
-
เอ๊ แล้วหลักนี่มันหลักอะไร ใช่หลักกิโลเมตรรึเปล่า
-
เพราะว่าพูดถึงหลักแล้วพูดถึงเส้นทาง
-
พูดถึงอะไรที่มันมีการเรียงกันเนี่ย
-
ก็น่าจะนึกถึงหลักกิโลเมตรใช่ไหมคะ
-
ส่วนเด็กๆคนไหนที่อาจจะเกิดมาในยุคของ GPS
-
หรือว่าเกิดมาในยุค Google Map
-
แล้วก็ไม่ได้มีโอกาสขับรถด้วยตัวเอง
-
อาจจะไม่รู้จักหลักกิโลเมตรนะคะ
-
หลักกิโลเมตรเนี่ยคือสิ่งของหน้าตาแบบนี้
-
ซึ่งมันจะตั้งอยู่บริเวณริมถนนค่ะ
-
เวลาที่เราขับรถออกไปต่างจังหวัด
-
เราจะเห็นหลักกิโลเมตร
-
หน้าตาแบบนี้ตั้งอยู่ตลอดทางเลยค่ะ
-
ทุกๆ 1 กิโลเมตรนะคะ
-
เพื่อเป็นการบอกระยะทางให้กับรถยนต์สมัยก่อนนะคะ
-
เวลาขับรถไปเนี่ย สมัยก่อนเขาไม่มี GPS กันใช่ไหม
-
เขาจะได้รู้ว่าอ๋อ ตอนนี้ขับผ่านมาแล้วอีก 1 กิโลนะ
-
ตอนนี้ขับผ่านมาแล้วอีก 1 กิโลนะคะ
-
เราจะเห็นจากการบอกทางกันค่ะ
-
บางทีเนี่ย เราก็จะเห็นคุณพ่อคุณแม่ชอบบอกทางกัน เช่น
-
เอ่อ เราจะไปบางนาตราดกิโลเมตรที่ 18
-
อะไรอย่างนี้ก็คือตรงกับหลักกิโลเมตรที่
-
เขียนเลข 18 ไว้นั่นเองค่ะ
-
แล้วทีนี้ถามว่าเขตหลักสี่ของเราเกี่ยวข้องอะไรกับ
-
หลักกิโลเมตรที่ 4 รึเปล่านะ
-
เกี่ยวอะไรกับถนนทางหลวงไหนรึเปล่า
-
วันนี้วิวจะมาเล่าเกี่ยวกับ
-
หลักกิโลเมตรที่ 0 ที่เป็นจุดเริ่มต้นของ
-
ทางหลวงแผ่นดินของไทยที่อยู่บริเวณหัวถนนดินสอ
-
บริเวณใกล้ๆกับอนุสาวรีย์ประชาธิปไตยรึเปล่านะ
-
ก็บอกเลยว่าไม่ใช่ค่ะ
-
เพราะว่าเรื่องราวของหลักกิโลเมตรเนี่ยนะคะ
-
มันเริ่มต้นขึ้นในสมัยที่คนเนี่ย
-
เดินทางคมนาคมด้วย
-
การคมนาคมทางบกเป็นหลักค่ะ
-
ก็คือขับรถยนต์เป็นหลักนั่นเอง
-
แล้วก็เกิดขึ้นในสมัยของจอมพล ป พิบูลสงครามนะคะ
-
แต่หลักสี่เนี่ยเกิดขึ้นก่อนหน้านั้นนานแสนนานมากค่ะ
-
เพราะว่าเกิดขึ้นตั้งแต่ในสมัย
-
พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 5 นะคะ
-
ซึ่งในสมัยนั้นเนี่ย การคมนาคมของคนไทยค่ะ
-
ใช้การคมนาคมทางน้ำเป็นหลักนะคะ
-
ก็คือเราพายเรือ เรานั่งเรือกลไฟกัน
-
เรานั่งเรือเมล์กันนะคะ
-
ใช่ค่ะ ในสมัยก่อนมันมีเรือเมล์ด้วยนะคะทุกคน
-
ทีนี้เนื่องจากในสมัยก่อนเนี่ย
-
เขาเดินทางคมนาคมทางน้ำเป็นหลักใช่ไหมคะ
-
แน่นอนว่าก็จะต้องมีการขุดคลองเกิดขึ้นค่ะ
-
เหมือนสมัยนี้เราขับรถเป็นหลัก
-
เราขับรถไป เราไม่มีถนนไม่ได้
-
เราก็ต้องตัดถนนถูกต้องไหม
-
สมัยก่อนเราจะพายเรือไป ตรงไหนไม่มีคลอง
-
เราก็จะต้องขุดคลองเพิ่มเติมค่ะ
-
ดังนั้นในสมัยตั้งแต่ต้นรัตนโกสินทร์เป็นต้นมาเนี่ย
-
มีการขุดคลองเกิดขึ้นมากมายหลายหลากเต็มไปหมดค่ะ
-
เพื่อที่ว่าคนเนี่ยจะได้สามารถเดินทางคมนาคมได้
-
นอกจากคมนาคมได้แล้วเนี่ย
-
การขุดคลองยังมีประโยชน์ด้านการเกษตรอีกนะคะ
-
เพราะว่าบางที่เนี่ยเป็นพื้นที่ป่า เป็นพื้นที่รกร้างใช่ไหม
-
คนไม่สามารถเข้าไปทำอาชีพอะไรต่างๆได้ค่ะ
-
เพราะว่าหนึ่ง เดินทางไปไม่ได้
-
สอง สมมติไปทำนาปลูกข้าวอะไรต่างๆเนี่ย
-
ก็ไม่สามารถหาน้ำมาทำการเกษตรได้นะคะ
-
ดังนั้นก็เลยมีการนิยมขุดคลองกันขึ้นมามากมายค่ะ
-
รวมถึงในสมัยรัชกาลที่ 5 ด้วย
-
ที่มีการขุดคลองเกิดขึ้นเยอะแยะเต็มไปหมดเลยนะคะ
-
ทีนี้ค่ะ แม้ว่าในสมัยรัชกาลที่ 5
-
จะมีการขุดคลองเกิดขึ้นมากมายนะคะ
-
แต่ว่าคลองสายแรกที่ขุดขึ้นในสมัยรัชกาลที่ 5 เนี่ย
-
เป็นคลองสำคัญมากๆค่ะ เพราะว่า
-
เป็นคลองที่ขุดขึ้นนะคะ
-
เพื่อการเดินทางในเส้นทางที่ค่อนข้างจะสำคัญ
-
แล้วก็มีคนใช้ค่อนข้างมากเลยทีเดียวค่ะ
-
แล้วก็ที่ผ่านมาเนี่ย
-
เป็นการเดินทางที่คดเคี้ยวมากนะคะ
-
การเดินทางนั้นนะคะก็คือ
-
การเดินทางระหว่างกรุงศรีอยุธยาค่ะ
-
ซึ่งเป็นเมืองหลวงเก่า
-
กับกรุงเทพมหานครนะคะ
-
ซึ่งเป็นเมืองหลวงใหม่นั่นเอง
-
แต่เดิมเนี่ยเวลาจะเดินทางระหว่าง
-
กรุงศรีอยุธยากับกรุงเทพเนี่ยนะคะ
-
ก็ต้องบอกว่าเขาใช้เส้นทางผ่าน
-
แม่น้ำเจ้าพระยาค่ะซึ่ง
-
ถ้าเราดูจากแผนที่นี้ เราก็จะเห็นว่าแม่น้ำเจ้าพระยาเนี่ย
-
มีลักษณะค่อนข้างจะคดเคี้ยวนะคะ
-
ดังนั้นแม้ว่าจะเป็นแม่น้ำสายใหญ่
-
แต่ถ้าสมมติว่าจะต้องล่องตามแม่น้ำเจ้าพระยามาเนี่ย
-
กว่าจะโค้งที่หนึ่ง โค้งที่สอง
-
โค้งที่สาม โค้งที่สี่
-
กว่าจะมาถึงกรุงเทพเรียกได้ว่าใช้เวลานานมากๆค่ะ
-
ก็เลยมีแนวคิดขึ้นมาว่า เอ๊
-
หรือว่าเราควรจะมีคลองที่ตัดตรงเปรี๊ยะขึ้นไปเลยนะคะ
-
ที่จะทำให้เราสามารถเดินทางจาก
-
อยุธยาเนี่ยมาที่กรุงเทพได้อย่างง่ายดายค่ะ
-
ดังนั้นก็เลยเกิดแนวคิดที่จะขุดคลองนี้ขึ้นนะคะ
-
จริงๆแล้วเนี่ยนะคะ จากหลักฐานค่ะ มีคนสันนิษฐานว่า
-
แนวคิดเรื่องการขุดคลองเปรมประชากรเนี่ย
-
อาจจะไม่ได้เริ่มตั้งแต่ในสมัยรัชกาลที่ 5 ค่ะ
-
แต่ว่าเริ่มต้นมาตั้งแต่สมัยรัชกาลที่ 4 นะคะเพราะว่า
-
ในหนังสือจดหมายเหตุ The Bangkok Recorder เล่มที่ 1
-
เมื่อปีคริสต์ศักราช 1865
-
หรือว่าพุทธศักราช 2408 เนี่ย
-
ก็มีการกล่าวถึงคลองแห่งนี้ไว้ด้วยนะคะ
-
โดยเป็นงานเขียนของหมอบรัดเลย์หรือว่า
-
นายแพทย์แดน บีช บรัดเลย์นั่นเอง คนดังจริงๆนะคะ
-
เขาเขียนเอาไว้ว่า
-
ข้าพเจ้าเจ้าของหนังสือ Bangkok Recorder ได้ยินว่า
-
พระเจ้าแผ่นดินกรุงสยามทรงพระกรุณา
-
จะให้ขุดคลองตั้งแต่วัดพระนางเชิง
-
ตัดท้องทุ่งดอนเมืองตรงตลอดมาโดยลำดับ
-
มาออกตรงวัดโสมนัสวิหาร
-
ข้าพเจ้ามีความยินดีด้วยหนักหนา
-
ข้าพเจ้าพิจารณาเห็นว่า
-
ถ้าขุดคลองตลอดไปได้แล้ว
-
ก็จักเป็นคุณประโยชน์แก่บ้านเมืองเป็นอันมาก
-
เพราะพวกราษฎรจะได้อาศัยทำนา
-
ครั้นเนื้อนาเกิดทวีมากขึ้นแล้ว
-
ก็จะเป็นประโยชน์ทั้งสองฝ่าย
-
ดังนั้นเป็นไปได้นะคะว่าคลองเปรมประชากรเนี่ย
-
อาจจะมาจากพระราชดำริของ
-
พระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 4
-
ในสมัยปลายรัชกาลค่ะ
-
แต่แนวคิดนี้ก็มาเกิดจริงขึ้นในสมัยรัชกาลที่ 5 หรือว่า
-
พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวนั่นเอง
-
ซึ่งพอมีแนวคิดนี้ขึ้นมานะคะ
-
แน่นอนว่าก็ต้องมีการมาร์คจุดค่ะ
-
ว่าจะขุดคลองจากตรงไหนไปตรงไหนดี
-
ที่จะเป็นตรงที่ตัดตรงที่สุดนะคะ
-
ในที่สุดเขาก็เลือกได้ค่ะว่าเขาจะขุดเชื่อมบริเวณ
-
แม่น้ำเจ้าพระยานะคะที่บริเวณบางปะอินค่ะ
-
เชื่อมตรงมานะคะ มีการเลี้ยวเล็กน้อยค่ะแล้วก็
-
มาสุดที่บริเวณคลองผดุงกรุงเกษม
-
ที่เพิ่งขุดขึ้นใหม่ในสมัยรัชกาลที่ 4 ค่ะ
-
ทีนี้ก็จะสามารถเดินทางจาก
-
กรุงเทพไปที่อยุธยาได้สะดวกแล้วนะคะ
-
หลังจากที่มีแนวคิดนี้ขึ้นมานะคะ
-
แน่นอนว่าก็จะต้องมีการใช้เงินในการขุดคลองใช่ไหม
-
พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 5 นะคะ
-
ทรงใช้พระราชทรัพย์ส่วนพระองค์ค่ะ
-
ถึง 2,544 ชั่ง 2 ตำลึงนะคะ
-
หรือถ้าคิดเป็นเงินบาทนี่ก็เท่ากับ
-
203,502 บาท
-
ซึ่งในสมัยนั้นเนี่ยถือว่าเป็นเงินที่เยอะมากๆ
-
มากๆ มากๆ เลยทีเดียวนะคะ
-
นึกสภาพว่าข้าวจานนึงนี่แค่ประมาณแบบ
-
ไม่ถึงสลึงอะไรอย่างนี้นะคะ
-
พระราชทานให้เป็นทุนทรัพย์ในการขุดคลองสายนี้ค่ะ
-
แล้วพระองค์เนี่ยนะคะก็โปรดเกล้าให้
-
สมเด็จเจ้าพระยาบรมมหาศรีสุริยวงศ์ หรือว่าช่วง บุนนาค
-
คนที่เป็นผู้สำเร็จราชการแทนที่เราคุ้นชื่อกันดีนั่นแหละค่ะ
-
ให้เป็นผู้อำนวยการขุดคลองนะคะ
-
รวมไปถึงเจ้าพระยาสุรวงศ์ไวยวัฒน์นะคะ
-
หรือว่าวร บุนนาคซึ่งเป็นบุตรชายของช่วง บุนนาคเนี่ยนะคะ
-
ก็เป็นแม่กองในการขุดค่ะ
-
นอกจากนี้นะคะคณะทำงานอีกคนนึงก็คือ
-
พระชลธารวินิจฉัยหรือว่ากัปตัน ฉุนนั่นเองนะคะ
-
เป็นคนที่ปักหมายกรุยค่ะ
-
ก็คือเป็นคนปักหมายว่า
-
จะกรุยทางไปทางไหนว่าอย่างนั้นเถอะ
-
นอกจากนี้ก็มีการจ้างแรงงานชาวจีนนะคะ เป็นคนขุดค่ะ
-
หลังจากที่มีทุนทรัพย์แล้ว
-
รู้แล้วว่าใครจะเป็นคนควบคุมการขุดต่างๆนะคะ
-
ถามว่าในสมัยนั้นเนี่ยที่เขาไม่มีภาพถ่ายทางอากาศ
-
ไม่มีดาวเทียม ไม่มีโดรนขึ้นไปสำรวจ
-
เขาทำยังไงคะ ที่จะขุดคลองตรงที่สุด
-
ก็ต้องบอกว่าเขามีเทคนิคอยู่ค่ะ
-
เขาใช้ปืนใหญ่นะคะ
-
มาแล้วก็เอาปืนใหญ่มาตั้งให้ฉากกับพื้นค่ะ
-
แล้วก็ยิงออกไปตรงๆนะคะ ปึ้งออกไป
-
ซึ่งลูกปืนเนี่ยมันก็จะวิ่งเป็นเส้นตรงค่ะ
-
ต่างจากปกตินะคะที่ถ้าสมมติว่าเราเชิดปืนใหญ่ขึ้น
-
มันก็จะวิ่งเป็นวิถีโพรเจกไทล์ถูกไหม
-
พอตั้งปืนใหญ่เป็นลักษณะตรง
-
ยิงลูกปืนออกไปตรงๆแล้วเนี่ย
-
เขาก็กะว่าลูกปืนตกลงที่ตรงไหนนะคะ
-
ก็ขุดตรงนั้นนี่ล่ะค่ะ
-
เสร็จแล้วก็เอาปืนใหญ่ไปตั้งตรงนั้นต่อ
-
แล้วก็ยิงออกไปต่อนะคะ ขุดเชื่อมจุดไปเรื่อยๆค่ะ
-
ดังนั้นนะคะเขาก็เลยได้คลองที่มีลักษณะเป็นเส้นตรงมากๆ
-
ตามที่ต้องการค่ะ
-
ซึ่งคลองสายนี้นะคะก็ดำเนินการขุดตั้งแต่ปี
-
พ.ศ. 2412 ถึง 2413 ค่ะ
-
ใช้เวลาขุดทั้งหมด 18 เดือนนะคะ
-
ในที่สุดหลังจากที่คลองเสร็จแล้วก็มีการ
-
เฉลิมฉลองกันต่างๆมากมาย
-
และก็มีการพระราชทานชื่อคลองสายนี้ค่ะว่าคลอง
-
เปรมประชากรนะคะ ประมาณว่า
-
ประชากรเนี่ยก็อิ่มเอมเปรมใจ
-
มีความสุขเริงร่ากันต่างๆที่มีคลองสายนี้ไว้
-
และนอกจากนี้นะคะก็ยังเป็นการเปิดพื้นที่ทำกินใหม่
-
เพราะว่าตัดผ่านป่าที่มีแต่โขลงช้างป่า
-
ในสมัยก่อนไปบุกร้างถ่างดงอะไรยากด้วยนะคะ
-
ซึ่งทั้งหมดนี้เกี่ยวข้องอะไรกับเรื่องหลักสี่ที่วิวจะเล่าให้ฟัง
-
ก็ต้องบอกว่าเหมือนจะนอกเรื่องมาไกล
-
แต่ว่าหลักต่างๆที่วิวจะเล่าให้ฟังเนี่ย
-
ก็ตั้งอยู่บนคลองเปรมประชากรสายนี้นี่ล่ะค่ะ
-
เพราะว่าการเดินทางด้วยคลองเนี่ย
-
ก็เหมือนการเดินทางด้วยรถยนต์นี่แหละ
-
ไม่ใช่ว่าคนสมัยก่อนเขาพายเรือกันคล่องแคล่ว
-
แล้วเขาจะรู้ว่าจ้วงไป 10 ที ตอนนี้จ้วงไป 1 กิโลเมตรแล้ว
-
หรือว่าตอนนี้จ้วงไป 20 ที จ้วงไป 2 กิโลเมตรแล้ว
-
มันก็จะต้องมีการวางหลักในคลองเหมือนกันค่ะ
-
เพื่อที่จะได้บอกทางว่าเออ ตอนนี้เรามาถึงตรงนี้แล้วนะ
-
ต้องพายไปอีกไกลเท่าไหร่ถึงจะไปถึงตรงนั้น
-
อ๋อ ตรงนี้พายมาถึงกิโลเมตรที่เท่านี้จะตรงกับหมู่บ้านนั้น
-
เดินออกจากคลองไปนิดหน่อยก็เจอแล้วประมาณนี้นะคะ
-
ดังนั้นในคลองเปรมประชากรนะคะเขาก็เลยต้องมีการ
-
วางหลักเอาไว้เพื่อที่จะเป็นการบอกระยะทางค่ะ
-
โดยวางเอาไ้ว้แต่ละหลักนะคะ
-
ห่างกันทั้งหมด 100 เส้นค่ะ
-
หรือว่าเท่ากับประมาณ
-
4 กิโลเมตรในสมัยปัจจุบันนั่นเองนะคะ
-
ซึ่งก็บอกเลยนะคะว่าตลอดระยะทางของ
-
คลองเปรมประชากรเนี่ยมีหลักอยู่ทั้งหมด
-
13 หลักด้วยกันค่ะ
-
อยากรู้กันไหมว่าแต่ละหลักเนี่ยอยู่ตรงไหนบ้าง
-
เราไปฟังกันดีกว่าค่ะ
-
จากแผนที่นะคะจะเห็นว่า
-
คลองเปรมประชากรเนี่ยเริ่มต้นจากบริเวณ
-
คลองผดุงกรุงเกษมค่ะ
-
โดยเชื่อมต่อกันบริเวณแถวๆทำเนียบรัฐบาลนะคะ
-
ดังนั้นเสาหลักที่ 1 ก็จะปักอยู่บริเวณนี้นี่แหละค่ะ
-
ถัดเลยไปอีก 100 เส้นนะคะ หลักที่ 2 จะตั้งอยู่บริเวณ
-
สถานีสูบน้ำบางซื่อที่เขตบางซื่อค่ะ
-
ส่วนหลักที่ 3 นะคะตั้งอยู่บริเวณ
-
ชุมชนวัดเสมียนนารี เขตจตุจักรค่ะ
-
ก็วัดเสมียนนารีที่เขาชอบเล่าเรื่องผีกันนั่นแหละค่ะ
-
และแล้วนะคะก็มาถึงหลักที่ 4
-
ที่เป็นที่มาของชื่อเขตหลักสี่นะคะ
-
ตั้งอยู่ที่ไหนไม่ได้เลยค่ะนอกจากบริเวณ
-
วัดหลักสี่หรือว่าชุมชนหลักสี่นั่นเองค่ะ
-
ถัดจากหลักสี่ไปนะคะ หลักที่ 5
-
ตั้งอยู่บริเวณชุมชนดอนเมือง เขตดอนเมืองค่ะ
-
ซึ่งพอมาถึงตรงนี้เนี่ย คลองก็จะหักเลี้ยวซ้ายนิดนึงนะคะ
-
เพื่อที่ว่ามันจะได้ไปบรรจบกับแม่น้ำเจ้าพระยา
-
ที่บริเวณบางปะอินได้ค่ะ
-
ถัดมาที่หลักที่ 6 นะคะ
-
หลักนี้อยู่แถวๆวัดรังสิต จังหวัดปทุมธานีค่ะ
-
ซึ่งหลักหกเนี่ยก็เป็นที่มาของ
-
ชื่อตำบลหลักหกบริเวณนี้ด้วยนะคะ
-
ก็เป็นอีกหนึ่งหลักนะคะ
-
นอกจากหลักสี่ที่ยังมีชื่อหลงเหลืออยู่ค่ะ
-
เลยจากหลักหกไปนะคะ หลักที่ 7 อยู่ที่วัดเปรมประชากร
-
ตำบลบางพูน อำเภอเมือง จังหวัดปทุมธานีค่ะ
-
เห็นไหมคะว่าขนาดชื่อวัด
-
ยังตั้งตามชื่อคลองเปรมประชากรเลยค่ะ
-
ส่วนหลักแปดนะคะตั้งอยู่บริเวณศูนย์พัฒนาเด็ก
-
แยกคลองบางสิงห์ ตำบลสวนพริกไทย
-
อำเภอเมือง จังหวัดปทุมธานีค่ะ
-
ถัดไปหลักที่ 9 นะคะอยู่บริเวณวัดเวฬุวัน
-
ตำบลบางพูด อำเภอเมือง จังหวัดปทุมธานีค่ะ
-
ส่วนหลักสิบเนี่ยนะคะ เด็กธรรมศาสตร์จะคุ้นกันหน่อยค่ะ
-
เพราะว่าตั้งอยู่บริเวณสถานีรถไฟเชียงรากน้อยนะคะ
-
ตำบลคลองหนึ่ง อำเภอคลองหลวง จังหวัดปทุมธานีค่ะ
-
ถัดจากหลักสิบไปนะคะ หลักที่ 11
-
ตั้งอยู่บริเวณวัดโพธิ์นิ่มรัตตาราม
-
หรือว่าเรียกชื่อเล่นว่าวัดคลองขุดนะคะ
-
เห็นไหมคะว่าชื่อเล่นวัดเนี่ยก็พูดถึง
-
ประวัติศาสตร์การขุดคลองเปรมประชากรนี่แหละค่ะ
-
ซึ่งวัดนี้นะคะก็ตั้งอยู่บริเวณตำบลเชียงรากน้อย
-
อำเภอสามโคก จังหวัดปทุมธานีค่ะ
-
ส่วนหลักที่ 12 เนี่ยนะคะน่าจะอยู่แถวๆเชียงรากน้อย
-
บริเวณจุดตัดระหว่างถนนกาญจนาภิเษก
-
กับถนนเลียบคลองเปรมประชากรนี่แหละค่ะ
-
ส่วนหลักที่ 13 นะคะ หลักสุดท้าย
-
ตั้งอยู่บริเวณสถานีสูบน้ำบางปะอินเหนือ
-
ตำบลบางกระสั้น อำเภอบางปะอิน
-
จังหวัดพระนครศรีอยุธยาค่ะ
-
ซึ่งหลักนี้ถือเป็นจุดสิ้นสุดของ
-
คลองเปรมประชากรนะคะที่ไปบรรจบกับ
-
แม่น้ำเจ้าพระยาที่บริเวณนี้นั่นเองค่ะ
-
เป็นไงกันบ้างคะ ฟังเรื่องราวของทั้ง 13 หลักไปแล้ว
-
ต้องบอกว่าในสมัยปัจจุบันเนี่ย
-
หลักเหล่านี้สูญหายสูญสิ้นไปตามกาลเวลาแล้วค่ะ
-
บางหลักอาจจะจมอยู่ใต้โคลนหรืออะไรบ้าง
-
แต่ว่าปัจจุบันนี้ถ้าไปเดินดูก็จะไม่เห็นหลักเหล่านี้แล้วนะคะ
-
เหลือแค่ชื่อของบางหลัก เช่น หลักสี่กับหลักหกค่ะ
-
ซึ่งในเวลาต่อมาเนี่ยมีการสร้างทางรถไฟขึ้นนะคะ
-
ดังนั้นเขาก็เลยมีการตั้งสถานีรถไฟขึ้นค่ะ
-
บริเวณหลักสี่กับหลักหกนะคะแล้วก็
-
เอาชื่อหลักสี่กับหลักหกมาตั้งเป็นชื่อสถานีรถไฟนั่นเอง
-
หลักจากนั้นนะคะชุมชนบริเวณสถานีรถไฟหลักสี่กับหลักหก
-
ก็เลยได้ชื่อว่าชุมชนหลักสี่แล้วก็ชุมชนหลักหก
-
ทำให้ชื่อของทั้งสองหลักนี้
-
เหลืออยู่ถึงปัจจุบันนี้ค่ะ
-
ส่วนใครเนี่ยที่อยากรู้มากๆว่า
-
เอ๊ย แล้วหลักที่มันอยู่ในน้ำเนี่ยหน้าตาเป็นยังไงนะคะ
-
ก็ต้องบอกว่าถึงของคลองเปรมประชากรจะไม่เหลืออยู่นะคะ
-
แต่ว่าในคลองสายอื่นๆเนี่ย
-
เขาก็มีการปักหลักเอาไว้เหมือนกันค่ะ
-
ดังนั้นเราสามารถไปดูได้ที่ 2 คลองด้วยกันนะคะ
-
ที่มันยังเหลืออยู่ นั่นก็คือ
-
คลองภาษีเจริญแล้วก็คลองดำเนินสะดวกค่ะ
-
ซึ่งเราจะเห็นนะคะว่าเสาพวกนี้
-
มีการสลักเลขหลักเอาไว้นะ ด้วยทั้ง
-
เลขโรมัน เลขไทย แล้วก็เลขจีนด้วยค่ะ
-
เรียกได้ว่า 3 ภาษากันไปเลยทีเดียวนะคะ
-
เป็นไงกันบ้างคะนี่ก็คือคำตอบของคำถามที่ถามมาว่า
-
หลักหนึ่ง หลักสอง แล้วก็หลักสามอยู่ที่ไหนค่ะ
-
แอบแถมให้ไปจนถึงหลักที่ 13 เลยทีเดียวนะคะ
-
เอาเป็นว่าถ้าใครชื่นชอบคลิปนี้อย่าลืม
-
กดไลก์เป็นกำลังใจให้วิวแล้วก็
-
กดแชร์เพื่อชวนเพื่อนๆมาดูด้วยกันค่ะ
-
ส่วนใครที่ฟังแล้วมีคำถามอยากถามวิวเหมือนกันนะคะ
-
ไม่ว่าจะเป็นเรื่องที่มีสาระหรือว่าเรื่องที่ไม่มีสาระเนี่ย
-
ก็อย่าลืมติดแฮชแท็กวิวเอ๋ยบอกข้าเถิดค่ะ
-
เพื่อที่ว่าวิวจะได้เห็นคำถามเหล่านี้ง่ายๆนะคะ
-
แล้วก็ถ้าสมมติว่าเป็นคำถามที่น่าสนใจพอ
-
คุณก็จะได้รับคำตอบเป็นคลิปวิดีโอแบบนี้นี่แหละค่ะ
-
สำหรับวันนี้ลาไปก่อนแล้วกันนะคะทุกคน
-
บ๊ายบาย
-
สวัสดีค่ะ
-
หลายคนน่าจะสนใจตัวตุ๊กตา
-
ที่อยู่ตรงไมโครโฟนของวิวตอนนี้ใช่ไหมคะ
-
แล้วก็หลายคนถามมาหลายครั้งแล้วแหละว่าแบบ
-
เฮ้ย เห็นประจำในคลิปเลย
-
เห็นเป็นแบบว่าอยู่ตรงนั้นบ้าง ตรงนี้บ้าง
-
เห็นเป็นลายเซ็นวิวบ้าง
-
ทำสติกเกอร์ไลน์ไหม บอกเลยว่าทำนะคะ
-
แล้วก็มีขายมาซักพักแล้ว
-
แต่ว่าหลังๆนี่อาจจะไม่ค่อยได้มา
-
ประชาสัมพันธ์ออกวิดีโอค่ะ
-
ดังนั้นถ้าสมมติว่าใครสนใจ
-
อยากซื้อสติกเกอร์ไลน์
-
ลาย Point of View The Glasses Girl นะคะ
-
ก็สามารถไปเสิร์ชได้ใน Line Creator Store เลยค่ะ
-
หรือว่าลิงก์อยู่ด้านล่างนะคะ ใต้วิดีโอเลย
-
วันนี้ลาไปก่อนแล้วกันค่ะทุกคน
-
บ๊ายบาย
-
สวัสดีค่ะ