หลักสี่มีศูนย์ราชการ แล้วหลักหนึ่ง หลักสอง หลักสามล่ะ อยู่ที่ไหน มีอะไร สวัสดีค่ะ วิวจากแชนเนล Point of View ค่ะ กลับมาพบกันอีกครั้งนะคะในรายการวิวเอ๋ยบอกข้าเถิดค่ะ รายการที่วิวจะมาตอบคำถามทุกคน ผ่านแฮชแท็กวิวเอ๋ยบอกข้าเถิดนะคะ ซึ่งวันนี้เราได้รับคำถามที่น่าสนใจมากๆเลยค่ะ มาจากคุณ Awat นะคะ เขาถามมาว่า หลักหนึ่ง หลักสอง หลักสามอยู่ที่ไหน วงเล็บเขตหลักสี่นะคะ แปลง่ายๆก็คือ มันมีหลักสี่ แล้วหลักหนึ่ง หลักสอง หลักสามล่ะ อยู่ที่ไหน ต้องบอกว่าคำถามนี้เป็นคำถามที่น่าสนใจมากๆค่ะ น่าสนใจถึงขนาดที่ว่าต่อให้เขาลืมติดแฮชแท็กเนี่ย วิวก็ต้องเอามาตอบออกคลิปอยู่ดีนั่นแหละค่ะ ดังนั้นนะคะ พอเห็นคำถามนี้เข้าไป วิวก็จะต้องไปค้นหาข้อมูลอะไรต่างๆ เพื่อมาตอบให้ทุกคนฟัง ที่สำคัญวันนี้วิวไม่ได้จะแค่มาตอบว่า หลักหนึ่ง หลักสอง หลักสามอยู่ไหนนะคะ แต่ว่า วิวจะมาตอบครบทุกหลักเลยทีเดียวค่ะว่า แต่ละหลักอยู่ที่ไหนบ้างนะคะ ดังนั้นพร้อมจะไปฟังเรื่องราวที่ทั้ง สนุกแล้วก็ได้สาระกันรึยังคะ ถ้าพร้อมกันแล้วก็ไปฟังกันเลยค่ะ หลายคนนะคะเมื่อพูดถึงคำว่าหลักสี่เนี่ยก็จะนึกว่า หลักสี่เป็นชื่อเฉพาะค่ะ แล้วก็ไม่ได้คิดว่า เอ๊ มันจะต้องมีหลักหนึ่ง หลักสอง หลักสามอะไรนะคะ แต่สำหรับคนที่คิดมากหน่อย แล้วคิดว่ามันจะต้องมีหลักหนึ่ง หลักสอง หลักสามเนี่ย ก็น่าจะสงสัยกันค่ะว่า เอ๊ แล้วหลักนี่มันหลักอะไร ใช่หลักกิโลเมตรรึเปล่า เพราะว่าพูดถึงหลักแล้วพูดถึงเส้นทาง พูดถึงอะไรที่มันมีการเรียงกันเนี่ย ก็น่าจะนึกถึงหลักกิโลเมตรใช่ไหมคะ ส่วนเด็กๆคนไหนที่อาจจะเกิดมาในยุคของ GPS หรือว่าเกิดมาในยุค Google Map แล้วก็ไม่ได้มีโอกาสขับรถด้วยตัวเอง อาจจะไม่รู้จักหลักกิโลเมตรนะคะ หลักกิโลเมตรเนี่ยคือสิ่งของหน้าตาแบบนี้ ซึ่งมันจะตั้งอยู่บริเวณริมถนนค่ะ เวลาที่เราขับรถออกไปต่างจังหวัด เราจะเห็นหลักกิโลเมตร หน้าตาแบบนี้ตั้งอยู่ตลอดทางเลยค่ะ ทุกๆ 1 กิโลเมตรนะคะ เพื่อเป็นการบอกระยะทางให้กับรถยนต์สมัยก่อนนะคะ เวลาขับรถไปเนี่ย สมัยก่อนเขาไม่มี GPS กันใช่ไหม เขาจะได้รู้ว่าอ๋อ ตอนนี้ขับผ่านมาแล้วอีก 1 กิโลนะ ตอนนี้ขับผ่านมาแล้วอีก 1 กิโลนะคะ เราจะเห็นจากการบอกทางกันค่ะ บางทีเนี่ย เราก็จะเห็นคุณพ่อคุณแม่ชอบบอกทางกัน เช่น เอ่อ เราจะไปบางนาตราดกิโลเมตรที่ 18 อะไรอย่างนี้ก็คือตรงกับหลักกิโลเมตรที่ เขียนเลข 18 ไว้นั่นเองค่ะ แล้วทีนี้ถามว่าเขตหลักสี่ของเราเกี่ยวข้องอะไรกับ หลักกิโลเมตรที่ 4 รึเปล่านะ เกี่ยวอะไรกับถนนทางหลวงไหนรึเปล่า วันนี้วิวจะมาเล่าเกี่ยวกับ หลักกิโลเมตรที่ 0 ที่เป็นจุดเริ่มต้นของ ทางหลวงแผ่นดินของไทยที่อยู่บริเวณหัวถนนดินสอ บริเวณใกล้ๆกับอนุสาวรีย์ประชาธิปไตยรึเปล่านะ ก็บอกเลยว่าไม่ใช่ค่ะ เพราะว่าเรื่องราวของหลักกิโลเมตรเนี่ยนะคะ มันเริ่มต้นขึ้นในสมัยที่คนเนี่ย เดินทางคมนาคมด้วย การคมนาคมทางบกเป็นหลักค่ะ ก็คือขับรถยนต์เป็นหลักนั่นเอง แล้วก็เกิดขึ้นในสมัยของจอมพล ป พิบูลสงครามนะคะ แต่หลักสี่เนี่ยเกิดขึ้นก่อนหน้านั้นนานแสนนานมากค่ะ เพราะว่าเกิดขึ้นตั้งแต่ในสมัย พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 5 นะคะ ซึ่งในสมัยนั้นเนี่ย การคมนาคมของคนไทยค่ะ ใช้การคมนาคมทางน้ำเป็นหลักนะคะ ก็คือเราพายเรือ เรานั่งเรือกลไฟกัน เรานั่งเรือเมล์กันนะคะ ใช่ค่ะ ในสมัยก่อนมันมีเรือเมล์ด้วยนะคะทุกคน ทีนี้เนื่องจากในสมัยก่อนเนี่ย เขาเดินทางคมนาคมทางน้ำเป็นหลักใช่ไหมคะ แน่นอนว่าก็จะต้องมีการขุดคลองเกิดขึ้นค่ะ เหมือนสมัยนี้เราขับรถเป็นหลัก เราขับรถไป เราไม่มีถนนไม่ได้ เราก็ต้องตัดถนนถูกต้องไหม สมัยก่อนเราจะพายเรือไป ตรงไหนไม่มีคลอง เราก็จะต้องขุดคลองเพิ่มเติมค่ะ ดังนั้นในสมัยตั้งแต่ต้นรัตนโกสินทร์เป็นต้นมาเนี่ย มีการขุดคลองเกิดขึ้นมากมายหลายหลากเต็มไปหมดค่ะ เพื่อที่ว่าคนเนี่ยจะได้สามารถเดินทางคมนาคมได้ นอกจากคมนาคมได้แล้วเนี่ย การขุดคลองยังมีประโยชน์ด้านการเกษตรอีกนะคะ เพราะว่าบางที่เนี่ยเป็นพื้นที่ป่า เป็นพื้นที่รกร้างใช่ไหม คนไม่สามารถเข้าไปทำอาชีพอะไรต่างๆได้ค่ะ เพราะว่าหนึ่ง เดินทางไปไม่ได้ สอง สมมติไปทำนาปลูกข้าวอะไรต่างๆเนี่ย ก็ไม่สามารถหาน้ำมาทำการเกษตรได้นะคะ ดังนั้นก็เลยมีการนิยมขุดคลองกันขึ้นมามากมายค่ะ รวมถึงในสมัยรัชกาลที่ 5 ด้วย ที่มีการขุดคลองเกิดขึ้นเยอะแยะเต็มไปหมดเลยนะคะ ทีนี้ค่ะ แม้ว่าในสมัยรัชกาลที่ 5 จะมีการขุดคลองเกิดขึ้นมากมายนะคะ แต่ว่าคลองสายแรกที่ขุดขึ้นในสมัยรัชกาลที่ 5 เนี่ย เป็นคลองสำคัญมากๆค่ะ เพราะว่า เป็นคลองที่ขุดขึ้นนะคะ เพื่อการเดินทางในเส้นทางที่ค่อนข้างจะสำคัญ แล้วก็มีคนใช้ค่อนข้างมากเลยทีเดียวค่ะ แล้วก็ที่ผ่านมาเนี่ย เป็นการเดินทางที่คดเคี้ยวมากนะคะ การเดินทางนั้นนะคะก็คือ การเดินทางระหว่างกรุงศรีอยุธยาค่ะ ซึ่งเป็นเมืองหลวงเก่า กับกรุงเทพมหานครนะคะ ซึ่งเป็นเมืองหลวงใหม่นั่นเอง แต่เดิมเนี่ยเวลาจะเดินทางระหว่าง กรุงศรีอยุธยากับกรุงเทพเนี่ยนะคะ ก็ต้องบอกว่าเขาใช้เส้นทางผ่าน แม่น้ำเจ้าพระยาค่ะซึ่ง ถ้าเราดูจากแผนที่นี้ เราก็จะเห็นว่าแม่น้ำเจ้าพระยาเนี่ย มีลักษณะค่อนข้างจะคดเคี้ยวนะคะ ดังนั้นแม้ว่าจะเป็นแม่น้ำสายใหญ่ แต่ถ้าสมมติว่าจะต้องล่องตามแม่น้ำเจ้าพระยามาเนี่ย กว่าจะโค้งที่หนึ่ง โค้งที่สอง โค้งที่สาม โค้งที่สี่ กว่าจะมาถึงกรุงเทพเรียกได้ว่าใช้เวลานานมากๆค่ะ ก็เลยมีแนวคิดขึ้นมาว่า เอ๊ หรือว่าเราควรจะมีคลองที่ตัดตรงเปรี๊ยะขึ้นไปเลยนะคะ ที่จะทำให้เราสามารถเดินทางจาก อยุธยาเนี่ยมาที่กรุงเทพได้อย่างง่ายดายค่ะ ดังนั้นก็เลยเกิดแนวคิดที่จะขุดคลองนี้ขึ้นนะคะ จริงๆแล้วเนี่ยนะคะ จากหลักฐานค่ะ มีคนสันนิษฐานว่า แนวคิดเรื่องการขุดคลองเปรมประชากรเนี่ย อาจจะไม่ได้เริ่มตั้งแต่ในสมัยรัชกาลที่ 5 ค่ะ แต่ว่าเริ่มต้นมาตั้งแต่สมัยรัชกาลที่ 4 นะคะเพราะว่า ในหนังสือจดหมายเหตุ The Bangkok Recorder เล่มที่ 1 เมื่อปีคริสต์ศักราช 1865 หรือว่าพุทธศักราช 2408 เนี่ย ก็มีการกล่าวถึงคลองแห่งนี้ไว้ด้วยนะคะ โดยเป็นงานเขียนของหมอบรัดเลย์หรือว่า นายแพทย์แดน บีช บรัดเลย์นั่นเอง คนดังจริงๆนะคะ เขาเขียนเอาไว้ว่า ข้าพเจ้าเจ้าของหนังสือ Bangkok Recorder ได้ยินว่า พระเจ้าแผ่นดินกรุงสยามทรงพระกรุณา จะให้ขุดคลองตั้งแต่วัดพระนางเชิง ตัดท้องทุ่งดอนเมืองตรงตลอดมาโดยลำดับ มาออกตรงวัดโสมนัสวิหาร ข้าพเจ้ามีความยินดีด้วยหนักหนา ข้าพเจ้าพิจารณาเห็นว่า ถ้าขุดคลองตลอดไปได้แล้ว ก็จักเป็นคุณประโยชน์แก่บ้านเมืองเป็นอันมาก เพราะพวกราษฎรจะได้อาศัยทำนา ครั้นเนื้อนาเกิดทวีมากขึ้นแล้ว ก็จะเป็นประโยชน์ทั้งสองฝ่าย ดังนั้นเป็นไปได้นะคะว่าคลองเปรมประชากรเนี่ย อาจจะมาจากพระราชดำริของ พระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 4 ในสมัยปลายรัชกาลค่ะ แต่แนวคิดนี้ก็มาเกิดจริงขึ้นในสมัยรัชกาลที่ 5 หรือว่า พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวนั่นเอง ซึ่งพอมีแนวคิดนี้ขึ้นมานะคะ แน่นอนว่าก็ต้องมีการมาร์คจุดค่ะ ว่าจะขุดคลองจากตรงไหนไปตรงไหนดี ที่จะเป็นตรงที่ตัดตรงที่สุดนะคะ ในที่สุดเขาก็เลือกได้ค่ะว่าเขาจะขุดเชื่อมบริเวณ แม่น้ำเจ้าพระยานะคะที่บริเวณบางปะอินค่ะ เชื่อมตรงมานะคะ มีการเลี้ยวเล็กน้อยค่ะแล้วก็ มาสุดที่บริเวณคลองผดุงกรุงเกษม ที่เพิ่งขุดขึ้นใหม่ในสมัยรัชกาลที่ 4 ค่ะ ทีนี้ก็จะสามารถเดินทางจาก กรุงเทพไปที่อยุธยาได้สะดวกแล้วนะคะ หลังจากที่มีแนวคิดนี้ขึ้นมานะคะ แน่นอนว่าก็จะต้องมีการใช้เงินในการขุดคลองใช่ไหม พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 5 นะคะ ทรงใช้พระราชทรัพย์ส่วนพระองค์ค่ะ ถึง 2,544 ชั่ง 2 ตำลึงนะคะ หรือถ้าคิดเป็นเงินบาทนี่ก็เท่ากับ 203,502 บาท ซึ่งในสมัยนั้นเนี่ยถือว่าเป็นเงินที่เยอะมากๆ มากๆ มากๆ เลยทีเดียวนะคะ นึกสภาพว่าข้าวจานนึงนี่แค่ประมาณแบบ ไม่ถึงสลึงอะไรอย่างนี้นะคะ พระราชทานให้เป็นทุนทรัพย์ในการขุดคลองสายนี้ค่ะ แล้วพระองค์เนี่ยนะคะก็โปรดเกล้าให้ สมเด็จเจ้าพระยาบรมมหาศรีสุริยวงศ์ หรือว่าช่วง บุนนาค คนที่เป็นผู้สำเร็จราชการแทนที่เราคุ้นชื่อกันดีนั่นแหละค่ะ ให้เป็นผู้อำนวยการขุดคลองนะคะ รวมไปถึงเจ้าพระยาสุรวงศ์ไวยวัฒน์นะคะ หรือว่าวร บุนนาคซึ่งเป็นบุตรชายของช่วง บุนนาคเนี่ยนะคะ ก็เป็นแม่กองในการขุดค่ะ นอกจากนี้นะคะคณะทำงานอีกคนนึงก็คือ พระชลธารวินิจฉัยหรือว่ากัปตัน ฉุนนั่นเองนะคะ เป็นคนที่ปักหมายกรุยค่ะ ก็คือเป็นคนปักหมายว่า จะกรุยทางไปทางไหนว่าอย่างนั้นเถอะ นอกจากนี้ก็มีการจ้างแรงงานชาวจีนนะคะ เป็นคนขุดค่ะ หลังจากที่มีทุนทรัพย์แล้ว รู้แล้วว่าใครจะเป็นคนควบคุมการขุดต่างๆนะคะ ถามว่าในสมัยนั้นเนี่ยที่เขาไม่มีภาพถ่ายทางอากาศ ไม่มีดาวเทียม ไม่มีโดรนขึ้นไปสำรวจ เขาทำยังไงคะ ที่จะขุดคลองตรงที่สุด ก็ต้องบอกว่าเขามีเทคนิคอยู่ค่ะ เขาใช้ปืนใหญ่นะคะ มาแล้วก็เอาปืนใหญ่มาตั้งให้ฉากกับพื้นค่ะ แล้วก็ยิงออกไปตรงๆนะคะ ปึ้งออกไป ซึ่งลูกปืนเนี่ยมันก็จะวิ่งเป็นเส้นตรงค่ะ ต่างจากปกตินะคะที่ถ้าสมมติว่าเราเชิดปืนใหญ่ขึ้น มันก็จะวิ่งเป็นวิถีโพรเจกไทล์ถูกไหม พอตั้งปืนใหญ่เป็นลักษณะตรง ยิงลูกปืนออกไปตรงๆแล้วเนี่ย เขาก็กะว่าลูกปืนตกลงที่ตรงไหนนะคะ ก็ขุดตรงนั้นนี่ล่ะค่ะ เสร็จแล้วก็เอาปืนใหญ่ไปตั้งตรงนั้นต่อ แล้วก็ยิงออกไปต่อนะคะ ขุดเชื่อมจุดไปเรื่อยๆค่ะ ดังนั้นนะคะเขาก็เลยได้คลองที่มีลักษณะเป็นเส้นตรงมากๆ ตามที่ต้องการค่ะ ซึ่งคลองสายนี้นะคะก็ดำเนินการขุดตั้งแต่ปี พ.ศ. 2412 ถึง 2413 ค่ะ ใช้เวลาขุดทั้งหมด 18 เดือนนะคะ ในที่สุดหลังจากที่คลองเสร็จแล้วก็มีการ เฉลิมฉลองกันต่างๆมากมาย และก็มีการพระราชทานชื่อคลองสายนี้ค่ะว่าคลอง เปรมประชากรนะคะ ประมาณว่า ประชากรเนี่ยก็อิ่มเอมเปรมใจ มีความสุขเริงร่ากันต่างๆที่มีคลองสายนี้ไว้ และนอกจากนี้นะคะก็ยังเป็นการเปิดพื้นที่ทำกินใหม่ เพราะว่าตัดผ่านป่าที่มีแต่โขลงช้างป่า ในสมัยก่อนไปบุกร้างถ่างดงอะไรยากด้วยนะคะ ซึ่งทั้งหมดนี้เกี่ยวข้องอะไรกับเรื่องหลักสี่ที่วิวจะเล่าให้ฟัง ก็ต้องบอกว่าเหมือนจะนอกเรื่องมาไกล แต่ว่าหลักต่างๆที่วิวจะเล่าให้ฟังเนี่ย ก็ตั้งอยู่บนคลองเปรมประชากรสายนี้นี่ล่ะค่ะ เพราะว่าการเดินทางด้วยคลองเนี่ย ก็เหมือนการเดินทางด้วยรถยนต์นี่แหละ ไม่ใช่ว่าคนสมัยก่อนเขาพายเรือกันคล่องแคล่ว แล้วเขาจะรู้ว่าจ้วงไป 10 ที ตอนนี้จ้วงไป 1 กิโลเมตรแล้ว หรือว่าตอนนี้จ้วงไป 20 ที จ้วงไป 2 กิโลเมตรแล้ว มันก็จะต้องมีการวางหลักในคลองเหมือนกันค่ะ เพื่อที่จะได้บอกทางว่าเออ ตอนนี้เรามาถึงตรงนี้แล้วนะ ต้องพายไปอีกไกลเท่าไหร่ถึงจะไปถึงตรงนั้น อ๋อ ตรงนี้พายมาถึงกิโลเมตรที่เท่านี้จะตรงกับหมู่บ้านนั้น เดินออกจากคลองไปนิดหน่อยก็เจอแล้วประมาณนี้นะคะ ดังนั้นในคลองเปรมประชากรนะคะเขาก็เลยต้องมีการ วางหลักเอาไว้เพื่อที่จะเป็นการบอกระยะทางค่ะ โดยวางเอาไ้ว้แต่ละหลักนะคะ ห่างกันทั้งหมด 100 เส้นค่ะ หรือว่าเท่ากับประมาณ 4 กิโลเมตรในสมัยปัจจุบันนั่นเองนะคะ ซึ่งก็บอกเลยนะคะว่าตลอดระยะทางของ คลองเปรมประชากรเนี่ยมีหลักอยู่ทั้งหมด 13 หลักด้วยกันค่ะ อยากรู้กันไหมว่าแต่ละหลักเนี่ยอยู่ตรงไหนบ้าง เราไปฟังกันดีกว่าค่ะ จากแผนที่นะคะจะเห็นว่า คลองเปรมประชากรเนี่ยเริ่มต้นจากบริเวณ คลองผดุงกรุงเกษมค่ะ โดยเชื่อมต่อกันบริเวณแถวๆทำเนียบรัฐบาลนะคะ ดังนั้นเสาหลักที่ 1 ก็จะปักอยู่บริเวณนี้นี่แหละค่ะ ถัดเลยไปอีก 100 เส้นนะคะ หลักที่ 2 จะตั้งอยู่บริเวณ สถานีสูบน้ำบางซื่อที่เขตบางซื่อค่ะ ส่วนหลักที่ 3 นะคะตั้งอยู่บริเวณ ชุมชนวัดเสมียนนารี เขตจตุจักรค่ะ ก็วัดเสมียนนารีที่เขาชอบเล่าเรื่องผีกันนั่นแหละค่ะ และแล้วนะคะก็มาถึงหลักที่ 4 ที่เป็นที่มาของชื่อเขตหลักสี่นะคะ ตั้งอยู่ที่ไหนไม่ได้เลยค่ะนอกจากบริเวณ วัดหลักสี่หรือว่าชุมชนหลักสี่นั่นเองค่ะ ถัดจากหลักสี่ไปนะคะ หลักที่ 5 ตั้งอยู่บริเวณชุมชนดอนเมือง เขตดอนเมืองค่ะ ซึ่งพอมาถึงตรงนี้เนี่ย คลองก็จะหักเลี้ยวซ้ายนิดนึงนะคะ เพื่อที่ว่ามันจะได้ไปบรรจบกับแม่น้ำเจ้าพระยา ที่บริเวณบางปะอินได้ค่ะ ถัดมาที่หลักที่ 6 นะคะ หลักนี้อยู่แถวๆวัดรังสิต จังหวัดปทุมธานีค่ะ ซึ่งหลักหกเนี่ยก็เป็นที่มาของ ชื่อตำบลหลักหกบริเวณนี้ด้วยนะคะ ก็เป็นอีกหนึ่งหลักนะคะ นอกจากหลักสี่ที่ยังมีชื่อหลงเหลืออยู่ค่ะ เลยจากหลักหกไปนะคะ หลักที่ 7 อยู่ที่วัดเปรมประชากร ตำบลบางพูน อำเภอเมือง จังหวัดปทุมธานีค่ะ เห็นไหมคะว่าขนาดชื่อวัด ยังตั้งตามชื่อคลองเปรมประชากรเลยค่ะ ส่วนหลักแปดนะคะตั้งอยู่บริเวณศูนย์พัฒนาเด็ก แยกคลองบางสิงห์ ตำบลสวนพริกไทย อำเภอเมือง จังหวัดปทุมธานีค่ะ ถัดไปหลักที่ 9 นะคะอยู่บริเวณวัดเวฬุวัน ตำบลบางพูด อำเภอเมือง จังหวัดปทุมธานีค่ะ ส่วนหลักสิบเนี่ยนะคะ เด็กธรรมศาสตร์จะคุ้นกันหน่อยค่ะ เพราะว่าตั้งอยู่บริเวณสถานีรถไฟเชียงรากน้อยนะคะ ตำบลคลองหนึ่ง อำเภอคลองหลวง จังหวัดปทุมธานีค่ะ ถัดจากหลักสิบไปนะคะ หลักที่ 11 ตั้งอยู่บริเวณวัดโพธิ์นิ่มรัตตาราม หรือว่าเรียกชื่อเล่นว่าวัดคลองขุดนะคะ เห็นไหมคะว่าชื่อเล่นวัดเนี่ยก็พูดถึง ประวัติศาสตร์การขุดคลองเปรมประชากรนี่แหละค่ะ ซึ่งวัดนี้นะคะก็ตั้งอยู่บริเวณตำบลเชียงรากน้อย อำเภอสามโคก จังหวัดปทุมธานีค่ะ ส่วนหลักที่ 12 เนี่ยนะคะน่าจะอยู่แถวๆเชียงรากน้อย บริเวณจุดตัดระหว่างถนนกาญจนาภิเษก กับถนนเลียบคลองเปรมประชากรนี่แหละค่ะ ส่วนหลักที่ 13 นะคะ หลักสุดท้าย ตั้งอยู่บริเวณสถานีสูบน้ำบางปะอินเหนือ ตำบลบางกระสั้น อำเภอบางปะอิน จังหวัดพระนครศรีอยุธยาค่ะ ซึ่งหลักนี้ถือเป็นจุดสิ้นสุดของ คลองเปรมประชากรนะคะที่ไปบรรจบกับ แม่น้ำเจ้าพระยาที่บริเวณนี้นั่นเองค่ะ เป็นไงกันบ้างคะ ฟังเรื่องราวของทั้ง 13 หลักไปแล้ว ต้องบอกว่าในสมัยปัจจุบันเนี่ย หลักเหล่านี้สูญหายสูญสิ้นไปตามกาลเวลาแล้วค่ะ บางหลักอาจจะจมอยู่ใต้โคลนหรืออะไรบ้าง แต่ว่าปัจจุบันนี้ถ้าไปเดินดูก็จะไม่เห็นหลักเหล่านี้แล้วนะคะ เหลือแค่ชื่อของบางหลัก เช่น หลักสี่กับหลักหกค่ะ ซึ่งในเวลาต่อมาเนี่ยมีการสร้างทางรถไฟขึ้นนะคะ ดังนั้นเขาก็เลยมีการตั้งสถานีรถไฟขึ้นค่ะ บริเวณหลักสี่กับหลักหกนะคะแล้วก็ เอาชื่อหลักสี่กับหลักหกมาตั้งเป็นชื่อสถานีรถไฟนั่นเอง หลักจากนั้นนะคะชุมชนบริเวณสถานีรถไฟหลักสี่กับหลักหก ก็เลยได้ชื่อว่าชุมชนหลักสี่แล้วก็ชุมชนหลักหก ทำให้ชื่อของทั้งสองหลักนี้ เหลืออยู่ถึงปัจจุบันนี้ค่ะ ส่วนใครเนี่ยที่อยากรู้มากๆว่า เอ๊ย แล้วหลักที่มันอยู่ในน้ำเนี่ยหน้าตาเป็นยังไงนะคะ ก็ต้องบอกว่าถึงของคลองเปรมประชากรจะไม่เหลืออยู่นะคะ แต่ว่าในคลองสายอื่นๆเนี่ย เขาก็มีการปักหลักเอาไว้เหมือนกันค่ะ ดังนั้นเราสามารถไปดูได้ที่ 2 คลองด้วยกันนะคะ ที่มันยังเหลืออยู่ นั่นก็คือ คลองภาษีเจริญแล้วก็คลองดำเนินสะดวกค่ะ ซึ่งเราจะเห็นนะคะว่าเสาพวกนี้ มีการสลักเลขหลักเอาไว้นะ ด้วยทั้ง เลขโรมัน เลขไทย แล้วก็เลขจีนด้วยค่ะ เรียกได้ว่า 3 ภาษากันไปเลยทีเดียวนะคะ เป็นไงกันบ้างคะนี่ก็คือคำตอบของคำถามที่ถามมาว่า หลักหนึ่ง หลักสอง แล้วก็หลักสามอยู่ที่ไหนค่ะ แอบแถมให้ไปจนถึงหลักที่ 13 เลยทีเดียวนะคะ เอาเป็นว่าถ้าใครชื่นชอบคลิปนี้อย่าลืม กดไลก์เป็นกำลังใจให้วิวแล้วก็ กดแชร์เพื่อชวนเพื่อนๆมาดูด้วยกันค่ะ ส่วนใครที่ฟังแล้วมีคำถามอยากถามวิวเหมือนกันนะคะ ไม่ว่าจะเป็นเรื่องที่มีสาระหรือว่าเรื่องที่ไม่มีสาระเนี่ย ก็อย่าลืมติดแฮชแท็กวิวเอ๋ยบอกข้าเถิดค่ะ เพื่อที่ว่าวิวจะได้เห็นคำถามเหล่านี้ง่ายๆนะคะ แล้วก็ถ้าสมมติว่าเป็นคำถามที่น่าสนใจพอ คุณก็จะได้รับคำตอบเป็นคลิปวิดีโอแบบนี้นี่แหละค่ะ สำหรับวันนี้ลาไปก่อนแล้วกันนะคะทุกคน บ๊ายบาย สวัสดีค่ะ หลายคนน่าจะสนใจตัวตุ๊กตา ที่อยู่ตรงไมโครโฟนของวิวตอนนี้ใช่ไหมคะ แล้วก็หลายคนถามมาหลายครั้งแล้วแหละว่าแบบ เฮ้ย เห็นประจำในคลิปเลย เห็นเป็นแบบว่าอยู่ตรงนั้นบ้าง ตรงนี้บ้าง เห็นเป็นลายเซ็นวิวบ้าง ทำสติกเกอร์ไลน์ไหม บอกเลยว่าทำนะคะ แล้วก็มีขายมาซักพักแล้ว แต่ว่าหลังๆนี่อาจจะไม่ค่อยได้มา ประชาสัมพันธ์ออกวิดีโอค่ะ ดังนั้นถ้าสมมติว่าใครสนใจ อยากซื้อสติกเกอร์ไลน์ ลาย Point of View The Glasses Girl นะคะ ก็สามารถไปเสิร์ชได้ใน Line Creator Store เลยค่ะ หรือว่าลิงก์อยู่ด้านล่างนะคะ ใต้วิดีโอเลย วันนี้ลาไปก่อนแล้วกันค่ะทุกคน บ๊ายบาย สวัสดีค่ะ